นอกจากนี้ น้ำเต้าลายยังมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ใบสดโขลก

กับสุราทาเพื่อถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ น้ำเต้าปลูกง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน จึงนิยมปลูกไว้รับประทาน เพราะปลอดสารพิษจากยาฆ่าแมลง สรรพคุณทางยา ใบแก้ตัวร้อน แก้ร้อนกระหายน้ำ แก้เริม เป็นต้น หากใครสนใจพันธุ์พืชพื้นบ้านเหล่านี้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุรางค์ ท้วมอยู่ โทร.(083) 877-3827

ฟักเขียวยักษ์ไต้หวัน

ฟักเขียวยักษ์ไต้หวัน เป็นฟักที่มีผลขนาดใหญ่ ความยาวของผลเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ความกว้างของผลประมาณ 15-20 เซนติเมตร น้ำหนักของผลเฉลี่ย 12-15 กิโลกรัม รสชาติหวานกว่าฟักไทย การปลูก สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบทำค้างให้ต้นเลื้อยขึ้น และปลูกแบบเลื้อยกับพื้นดิน

การเตรียมดินปลูก ขุดดินตากแดดไว้ ประมาณ 7-10 วัน พรวนดินขึ้นแปลงปลูกและย่อยดินให้ละเอียด ขุดหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หลุมละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 2 เมตร ระหว่างแถว ประมาณ 4-5 เมตร เพื่อให้เถามีพื้นที่เลื้อยทอดยอด จากนั้นให้หยอดเมล็ดฟักลงหลุมปลูกให้ฝังลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การให้น้ำ จะให้น้ำสม่ำเสมอ โดยสังเกตจากดินมีความชื้น และเว้นการให้น้ำได้ตามความเหมาะสมของดินฟ้าอากาศ และจะหยุดการให้น้ำเมื่อฟักเขียวเริ่มแก่ การใส่ปุ๋ย เมื่อฟักเขียวอายุได้ 10 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีทางดินเร่งการเจริญทางยอดและใบด้วยปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 และอายุได้ 20 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา หลุมละประมาณ 1 ช้อนแกง หมั่นใส่ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน ด้วยสูตร 15-15-15 รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เนื่องจากฟักเขียวยักษ์ไต้หวันมีขนาดผลใหญ่ ควรมีการฉีดปุ๋ย ฮอร์โมน และสารป้องกันกำจัดโรค- แมลง ทางใบ ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว ฟักเขียวยักษ์ไต้หวัน จะเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 85-90 วัน หลังจากเมล็ดงอก หรือพิจารณาเลือกผลที่แก่จัด ผิวผลออกสีขาวนวล ใช้มีดคมๆ ตัดขั้วผลแก่ของฟักเขียว ฟักเขียวยักษ์ไต้หวัน ใช้เพื่อการบริโภคหรือใช้เป็นพันธุ์พืชแปลกประดับตกแต่งสถานที่ได้ สนใจติดต่อ คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ โทรศัพท์. 08-1886-7398

มะเขือกินใบ

มะเขือกินใบ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ซาลานุม (Sa-lanum) เป็นพืชกลุ่มเดียวกับ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศ ซึ่งอยู่ในวงศ์ solanaceae พบทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบกิ่งก้าน มีขนาดใหญ่ ใบมันและไม่มีขน ส่วนดอกเหมือนกับมะเขือทั่วไป ใบมีอายุยืนยาวถึง 2 ปี มะเขือกินใบปลูกได้ทุกฤดูกาล

วิธีการปลูก นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะ โดยผลแก่ 1 ผล จะมีเมล็ดมากกว่า 100 เมล็ด กรณีปลูกในกระถาง ให้เริ่มปลูกจากกระถางเล็กก่อน จากนั้นเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดต้น

ดินปลูก ควรผสมปุ๋ยหมักจากเศษพืชหรือฟางข้าวเป็นหลัก ใส่ดินในกระถางไม่ควรพูน มะเขือกินใบชอบที่ร่มรำไร หากปลูกในกระถาง ควรมีหลังคาตาข่ายพรางแสงหรือซาแรน จะปลูกตามโคนต้นไม้ในบ้านหรือสวนก็ได้

อายุประมาณ 2 เดือน จะเริ่มออกดอก ควรเด็ดยอดเมื่ออายุได้เดือนครึ่ง เพื่อให้แตกยอดใหม่หรือเด็ดดอกทิ้งก่อน เพราะวัตถุประสงค์ต้องการกินใบหรือยอด หรือจากนั้นหากต้องการขยายพันธุ์สามารถทิ้งให้เกิดดอกและผลได้

การปรุงอาหาร เด็ดจากใบล่างขึ้นบน นำมาปรุงอาหารแทนผักได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน มะเขือกินใบรสชาติ อร่อย ก้านอ่อนนุ่ม กินได้ตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบแก่ ยกเว้นแก่จนใบมีสีเหลือง สนใจติดต่อได้ที่ คุณการุณย์ มะโนใจ สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา

ทุกวันนี้ ต้นทุนค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นทุกอย่าง โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมี ที่อยู่ในเกณฑ์สูง แต่ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิด กลับชะลอตัวลดลง หากผลผลิตที่ปลูกได้ ขายไม่ได้หรือขายได้ราคาต่ำ เกษตรกรก็อยู่ลำบากขึ้น เพราะรายรับไม่พอกับรายจ่าย ทางออกที่ดีที่สุดคือ ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายลง เพื่อให้มีผลกำไรเหลืออยู่ในกระเป๋าได้มากที่สุด

เกษตรกรในพื้นที่บ้านตระแบก หมู่ที่ 4 ตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ผลผลิตแต่ละปีไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณและการกระจายตัวของฝน เนื่องจากพวกเขาอาศัยอยู่นอกพื้นที่เขตชลประทาน ปลูกข้าวนาน้ำฝนได้เพียงปีละครั้ง ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิเป็นหลัก

หลายสิบปีที่ผ่านมา ชาวนาในท้องถิ่นนี้ ปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาตลอด ทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไรต่ำ เนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรม มีความเป็นกรดค่อนข้างสูง ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช

เนื่องจากเกิดจากการตกค้างของสารเคมี ปุ๋ยเคมี ที่มีการใช้อย่างไม่ระมัดระวังและต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินตายไป ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม ขาดการบำรุงดิน ดินมีอินทรียวัตถุในดินต่ำ ผลผลิตข้าวต่อไร่มีปริมาณต่ำ เฉลี่ยไร่ละ 400 กิโลกรัม เท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อปากท้องและรายได้ของเกษตรกรในวงกว้าง

ปี 2557 ชาวบ้านจึงรวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มเกษตรอินทรีย์” เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เริ่มจากหันมาทำนาอินทรีย์พร้อมกับทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นใช้เอง ประจวบเหมาะกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีโครงการ “1 ตำบล 1 ล้านบาท” เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน สร้างรายได้และลดต้นทุนการผลิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชแห่งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกฝ่าย เนื่องจากการดำเนินงานปีแรกสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 54 ตัน ขายปุ๋ยให้สมาชิกในราคา กิโลกรัมละ 4 บาท สร้างเม็ดเงินสะพัดในท้องถิ่นกว่า 2 แสนบาท รายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยทางกลุ่มฯ จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผลิตปุ๋ยในรุ่นต่อไป

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นับเป็นการปรับตัวสู้วิกฤตได้อย่างยั่งยืน เพราะได้ผลกำไรที่ดี 2 ต่อ ข้อแรกคือ ผลิตปุ๋ยใช้เอง เท่ากับลดรายจ่ายของเกษตรกร ข้อที่ 2 คือ สร้างโอกาสขายสินค้าข้าวอินทรีย์ได้มากขึ้น เนื่องจากทุกวันนี้ ทั่วโลกกำลังกำลังตื่นตัวสนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น ข้าวอินทรีย์ของชุมชนแห่งนี้ จะขายได้ราคาที่ดี และเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อทั่วโลก

สูตรปุ๋ยอินทรีย์ตำบลสลักได

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อแก้ปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม จะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเทกอง เช่น 1.มูลสัตว์ 100 กก. 2.แกลบดิบ 100 กก. 3. แกลบดำ 100 กก. 4. รำอ่อน 10 กก. 5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (ช้อนโต๊ะ) 6.น้ำหมักชีวภาพ 20 ซีซี (ช้อนโต๊ะ) 7.น้ำสะอาด 100 ลิตร

เมื่อเตรียมวัสดุครบถ้วนเกษตรกรจะนำแกลบดิบ แกลบดำ มูลสัตว์ รำละเอียด ผสมให้เข้ากันก่อน หลังจากนั้นจะผสมน้ำหมักชีวภาพกับกากน้ำตาล น้ำ 10 ลิตร ที่เตรียมไว้ ใส่บัวรดน้ำราดบนกองมูลสัตว์กับแกลบให้ชุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปุ๋ยหมักจะมีความชื้น ประมาณ 50% หมักปุ๋ยทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือผ้าใบ

เมื่อปุ๋ยเกิดความร้อนให้กลับกองปุ๋ย 1-2 ครั้ง ต่อวัน หากสังเกตพบว่า ปุ๋ยหมักเกิดราสีขาว แสดงว่าจุลินทรีย์กำลังทำการย่อยสลาย เมื่อหมักปุ๋ยครบ 7 วัน ชาวบ้านจะทำการกรอกปุ๋ยใส่กระสอบที่เตรียมไว้ อัตราบรรจุกระสอบละ 25 กก. ก่อนนำไปจัดที่โรงเก็บปุ๋ย เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

เมื่อต้องการนำปุ๋ยอินทรีย์ ไปใช้งานในแปลงนา เกษตรกรจะนำปุ๋ยอินทรีย์ไปผสมดินก่อนจึงค่อยไถกลบตอซังก่อนหว่านเมล็ดข้าว เมื่อต้นข้าวเติบโตสูงประมาณ 1 นิ้ว จึงค่อยใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อบำรุงต้น เมื่อต้นข้าวโตเต็มที่จะให้ผลผลิตที่ดี ปริมาณข้าวต่อรวงสูงมาก เมล็ดข้าวแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย

แถมเมล็ดข้าวมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของข้าวหอมมะลิเมืองสุรินทร์ ซึ่งแตกต่างจากข้าวหอมมะลิที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า เมล็ดข้าวไม่ค่อยมีกลิ่นหอมแถมเมล็ดข้าวมีสีออกคล้ำ ไม่น่ารับประทาน

การใช้ชีวิตอยู่บนความฝันของคนอื่น อาจมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ไม่มีความสุข เมื่อความฝันของตัวคุณเองถูกละเลย “คุณมุก – ณัชคิรากร ดำชมทรัพย์” เกษตรกรปริญญาโทเมืองแปดริ้ว จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชน เพื่อไล่ตามความฝันของตัวเองในฐานะเกษตรกร ที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพได้อย่างน่าทึ่ง

จบคอมพิวเตอร์ แต่ได้ดีในสายงานเกษตร คุณมุก นักศึกษาปริญญาโทรายนี้ สนใจเรียนสายเกษตร ตั้งแต่ ม. 3 ช่วงนั้นธุรกิจคอมพิวเตอร์กำลังบูม คุณแม่แนะนำให้เธอเรียนด้านคอมพิวเตอร์เพื่อให้จบแล้วมีงานทำแน่นอน คุณมุกยอมรับว่า ตอนนั้น เธอยังไม่รู้จักตัวเองมากพอ จึงตัดสินใจเรียนในสาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์ ตามความต้องการของคุณแม่ หลังเรียนจบในปี 2540 เธอทำงานกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ประมาณ 2 ปี ก็ตัดสินใจลาออกเพื่อทำอาชีพเกษตรกรที่เธอใฝ่ฝัน

จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอมีสภาพภูมิประเทศเอื้อต่อการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา คุณมุกจึงตัดสินใจเช่าบ่อกุ้งร้าง เนื้อที่ 20 ไร่ เพื่อนำมาเลี้ยงกุ้งขาว เพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป ต่อมาเจอวิกฤตราคากุ้งตกต่ำ และมีปัญหาโรคกุ้ง จึงเปลี่ยนแนวทางการลงทุนใหม่ นำปลานิลมาเลี้ยงผสมกับกุ้ง และเปิดลู่ทางการค้าขายกุ้งให้ครบวงจรมากขึ้น เช่น ขายลูกกุ้ง และรับไข่กุ้ง จากภาคใต้ มาขายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

คุณมุก บอกว่า เธอรู้จักกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ด้วยความบังเอิญ ช่วงนั้นเพื่อนรุ่นพี่รายหนึ่งในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ทำสวนกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 แต่ขายหน่อไม่ได้ เขารู้ว่า คุณมุกเก่งเรื่องการตลาด จึงฝากให้คุณมุกช่วยขายหน่อให้เขาหน่อย คุณมุกช่วยขายหน่อพันธุ์กล้วยปากช่อง 50 ของสวนดังกล่าว ในราคา หน่อละ 35 บาท และรับหน่อพันธุ์กล้วยหอมทองและกล้วยไข่มาขายควบคู่กันไป ปรากฏว่า ช่วง 1 ปี ที่ขายหน่อพันธุ์กล้วย สร้างผลกำไรที่ดี ทำให้เธอสนใจที่จะปลูกกล้วยเพื่อขายหน่อพันธุ์บ้าง

คุณมุก ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “กล้วยน้ำว้า พันธุ์ปากช่อง 50” เริ่มเป็นที่รู้จักของตลาดอย่างแพร่หลายช่วงประมาณปี 2551 กล้วยพันธุ์นี้เป็นผลงานวิจัยของ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส และคณะ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ตอบโจทย์ความต้องการตลาดได้อย่างดีเยี่ยม เพราะมีเครือขนาดใหญ่ น้ำหนักเครือมากกว่า 30 กิโลกรัม จำนวนหวีมากกว่า 10 หวี จำนวนผลต่อหวีประมาณ 18 ผล ผลกล้วยใหญ่อ้วนดี น้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม ต่อผล ไส้กลางไม่แข็ง ออกสีเหลือง เนื้อแน่น ผลสุกมีความหวาน 26 องศาบริกซ์ หากปลูกดูแลดี เกษตรกรจะมีผลกำไรจากการขายกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ประมาณ 10,000-12,000 บาท ต่อไร่

ปลูกกล้วยน้ำว้ากระจายความเสี่ยง

หลังจากทำอาชีพเลี้ยงกุ้งขาวไปได้สักพัก คุณมุก ก็เรียนรู้ว่า อาชีพการเกษตรมีความเสี่ยงสูงในเรื่องความผันผวนของราคาสินค้า เกษตรกรไม่ว่าจะทำงานเก่งสักแค่ไหน ก็มักตกม้าตายในเรื่องราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็นราคากุ้ง ราคาปลา

คุณมุก จึงตัดสินใจปลูกพืช คือ กล้วย เพื่อกระจายความเสี่ยงในการตลาด เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว คุณมุก ปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 บนเนื้อที่ 30 ไร่ ปรากฏว่า กล้วยพันธุ์นี้ ปลูกง่าย ตลาดตอบรับดีมาก จึงมองหาทำเลใหม่เพื่อขยายพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ในอนาคต

กล้วยน้ำว้า ปลูกง่าย

คุณมุก บอกว่า ปลูกกล้วยหนึ่งต้นจะได้กล้วยหนึ่งเครือ กล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น ปลูกดูแลง่าย อย่างไรก็ได้กินกล้วยแน่นอน เมื่อคุณมุกเริ่มศึกษาเรื่องกล้วยมากขึ้น จึงรู้ว่า กล้วยน้ำว้า 1 ผล ให้พลังงานถึง 100 แคลอรี่ อุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส มีเส้นใยกากอาหาร ในบรรดากล้วยทั้งหมด กล้วยน้ำว้า มีปริมาณแคลเซียมสูงสุด ยิ่งนำกล้วยน้ำว้าไปปิ้งหรือย่าง ปริมาณแคลเซียมจะยิ่งออกมาเยอะ คนไทยมีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น แทนที่จะกินนมวัว ก็หันมากินกล้วยก็ได้แคลเซียมเช่นกัน

นอกจากนี้ การบริโภคกล้วย ยังได้คุณค่าอาหารประเภทโพแทสเซียมสูงและมีโซเดียม (เกลือ) ต่ำ ในผลกล้วย จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคความดันเลือดสูงและหลอดเลือดแตกได้ ตอนนี้ โรคฮิตของคนไทย คือ โรคกรดไหลย้อน หากกินกล้วยมื้อละ 1-2 ผล ประมาณ 1 เดือน ก็หายขาดจากโรคกรดไหลย้อนได้ แถมกล้วยยังมีวิตามินบี 6 ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากบดกล้วยน้ำว้าให้เด็กทารกอายุ 4 เดือนขึ้นไป โปรตีนที่อยู่ในกล้วย คือ กรดอะมิโนอาร์จินิน และฮีสติดิน จะช่วยในการเจริญเติบโตของทารก ระยะหลัง คนไทยเริ่มหันมาตระหนักถึงคุณประโยชน์ของกล้วยว่า เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทั้งด้านอาหารและยา ยิ่งทำให้กล้วยขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้างมากขึ้น

เคล็ดลับปลูกกล้วยให้ได้ผลผลิตดี

การปลูกกล้วยให้ได้ผลผลิตที่ดี อันดับแรกต้องเริ่มจากปรับสภาพพื้นที่ปลูกให้มีความเหมาะสมเสียก่อน สำหรับสวนกล้วยของคุณมุกในอดีตเคยเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลามาก่อน เธอจึงปรับสภาพพื้นที่ใหม่เป็นแปลงยกร่อง ขนาดความกว้าง 4 เมตร แม้จะปลูกต้นกล้วยได้ปริมาณน้อย แต่ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้ดี

หลังจากเตรียมแปลงปลูกเสร็จ หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน หลังจากนั้น จึงค่อยนำหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มาปลูกในระยะห่าง 2×4 เมตร หากใครต้องการปลูกกล้วยน้ำว้ายักษ์ คุณมุก แนะนำให้ปลูกในระยะห่าง 3×4 เมตร หากใครอยากได้กล้วยหวีใหญ่ๆ ควรกำหนดระยะห่างระหว่างต้นให้มากสักหน่อย เพื่อช่วยในเรื่องคุณภาพของกล้วย

กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ปลูกดูแลรักษาง่าย ระวังอย่าให้ต้นกล้วยขาดน้ำ เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของต้นกล้วย เธอใช้ปุ๋ยหมักบำรุงต้นกล้วยเพื่อประหยัดต้นทุน หลังปลูกจะใส่ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ที่ทำจากปุ๋ยขี้ไก่ ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้วยเกิดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น โรยรอบทรงพุ่ม ประมาณต้นละ 2 กิโลกรัม

พอเข้าเดือนที่ 4-5 เป็นต้นไป คุณมุก เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยหมักจากขี้หมู และขี้แดดนาเกลือ เดือนละ 1 ครั้งเพื่อให้ต้นกล้วยได้รับธาตุอาหารประเภท ฟอสฟอรัสและ โพแทสเซียม ทั้งนี้ ต้นกล้วยจะให้ผลผลิตเร็วหรือช้า ก็ขึ้นกับสภาพภาวะอากาศและการดูแลเป็นสำคัญ สำหรับสวนกล้วยของคุณมุก เมื่อปลูกถึงเดือนที่ 7-8 ต้นกล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา รอไปอีก 3- 4 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว

คุณมุก แนะนำว่า ระหว่างที่ปลูกกล้วยในช่วงเดือนที่ 1- 8 เกษตรกรควรมองหาตลาดรับซื้อผลผลิตไว้ล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงทางการตลาด ผลผลิตกล้วยรุ่นแรกที่เก็บขาย ประมาณ 4-5 ตะกร้า คุณมุก นำไปฝากขายหน้าร้านขายอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ออกจากร้านไม่ถึง 15 นาที เจ้าของร้านโทรศัพท์มาบอกว่า กล้วยขายหมดแล้ว เพราะกล้วยสวย แม่ค้าเหมาซื้อทั้งหมด ในราคาหวีละ 25 บาท สร้างความภูมิใจให้กับเธอมาก เพราะเป็นผลผลิตรุ่นแรกที่นำออกขาย

ทุกวันนี้ คุณมุก ก็เน้นขายกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ให้กับแม่ค้าแผงในตลาดสด และแม่ค้ากล้วยทอด โดยอาศัยวิธีแนะนำตัวและแจกนามบัตรกับแม่ค้าให้รู้จักว่า สวนของเธอปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 หากแม่ค้าต้องการผลผลิตช่วงไหน โทร.สั่งซื้อได้ มีสินค้าส่งถึงมือได้ตลอด อาศัยเทคนิคการขายลักษณะนี้ ทำให้เธอมีฐานลูกค้ากระจายอยู่ในตลาดท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

แนะปลูกกล้วยตามใจตลาด

คุณมุก บอกว่า ก่อนตัดสินใจปลูกกล้วย ควรศึกษาแหล่งที่รับซื้อด้วยว่า ตลาดต้องการกล้วยพันธุ์ไหน หากตลาดต้องการซื้อกล้วยเพื่อนำไปแปรรูปในลักษณะกล้วยตาก ควรปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

หากตลาดต้องการซื้อเพื่อทำกล้วยทอด สมัครเว็บบาคาร่า กล้วยฉาบ ควรปลูกกล้วยพันธุ์ปากช่อง 50 เพราะเป็นพันธุ์กล้วยที่ให้ผลผลิตสูง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี กล้วยพันธุ์ปากช่อง 50 ที่ปลูกรุ่นแรก จะมีขนาดผลใหญ่ เท่าขวดกระทิงแดง กล้วยหนึ่งผลจะผ่าได้ 4 ชิ้น เมื่อนำไปทำกล้วยทอด แม่ค้าจะชอบมาก เพราะขายแล้วได้กำไรงาม

แนะปลูกกล้วยบนคันนา สร้างรายได้ก้อนโต

การปลูกกล้วยของแต่ละพื้นที่ ไม่เหมือนกัน คุณมุกมีโอกาสสำรวจพื้นที่การทำเกษตรในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตนาข้าว ที่มีศักยภาพในการปลูกกล้วยน้ำว้าได้มากมายมหาศาล เพียงแค่ปลูกกล้วยน้ำว้าบนคันนาสัก 1-2 กอ ต่อครัวเรือน ก็จะมีกล้วยสำหรับบริโภคในครัวเรือนและส่งขายตลาด หากใครมีผืนนา 30 ไร่ ปลูกกล้วยล้อมรอบคันนา ก็มีโอกาสสร้างรายได้ก้อนโต จากการขายหน่อกล้วย ขายผลกล้วย ป้อนเข้าตลาดสด หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป

“แต่ก่อนเคยทำไร่ข้าวโพด 20 ไร่ ต้องใช้ยาและปุ๋ยเคมีมาก อีกทั้งแรงงานหายาก เมื่อขายผลผลิตแล้ว หักลบต้นทุนกำไรไม่คุ้มค่า จึงน้อมนำเอาศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ทำการเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 2 ไร่กว่า สามารถส่งลูกเรียนจนจบปริญญา 2 คน” เป็นคำกล่าวที่ภาคภูมิใจของ คุณบุญหย่วน ดีคำวงศ์ เกษตรกรวัย 60 ปี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

เมื่อปี 2535 ได้เริ่มนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในพื้นที่ 2 ไร่กว่า บริเวณบ้านของตนเอง โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงไก่ จิ้งหรีด และกบ ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่ต้องจ้างแรงงาน ทุกอย่างที่ปลูกและเลี้ยงได้นำมาประกอบอาหารในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็จำหน่ายเป็นรายได้

ปัจจุบันทุกวันจะมีรายได้จากพืชผัก 300 บาท ในรอบเดือนมีรายได้จากการจำหน่ายจิ้งหรีด 4,000-6,000 บาท และในรอบปีจะจำหน่ายลูกกบได้กว่า 50,000 บาท พร้อมกับจำหน่ายผลไม้ในสวนอีกประมาณ 20,000 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เรื่องปุ๋ยและยาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพราะทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง รวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยสารชีวภัณฑ์และกาวดัก เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิตแบบพอเพียงและยั่งยืน