นอกจากนี้ ยังมีโรงคัดบรรจุตามระบบ GMP และ HACCP

เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่หลายแห่ง รวมถึงห้างค้าปลีกชื่อดัง นำผลผลิตกล้วยหอมทองแบรนด์ “คิง ฟรุทส์” เข้าไปวางขาย พร้อมกับยังมีคุณภาพการันตีส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ทว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ที่ทำให้คนทั้งประเทศและชาวต่างชาติรู้จัก “คิง ฟรุทส์” นั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วย แต่ต้องใช้ความพยายาม อดทน ศึกษา เอาใจใส่ ดูแล ทะนุถนอม หลายด่านเพื่อให้คุณได้ลิ้มรสชาติหวาน หอมอย่างมีความพอดี ทั้งวิธีการปลูก วิธีการผลิต และวิธีการขนส่ง เพื่อคงความอร่อยและคุณค่าสารอาหารจากสวนถึงบ้านท่าน

ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก คุณเสาวณี วิเลปะนะ กรรมการผู้จัดการคิงฟรุทส์ มาบอกเล่าเรื่องราวพร้อมถ่ายทอดประสบการณ์บนเส้นทางกล้วยหอมจนประสบความสำเร็จมาถึงวันนี้

คุณเสาวณี มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการคิงส์ฟรุทส์ มีผลิตภัณฑ์กล้วยที่ส่งขายคอนวิเนี่ยนสโตร์ และค้าปลีกใหญ่ ได้กล่าวแนะนำตัวและธุรกิจอย่างสั้นว่าคิงส์ฟรุทส์ เริ่มต้นมาจากอาชีพเกษตรกรของคุณพ่อที่ปลูกส้ม แล้วได้เปลี่ยนมาปลูกกล้วยจนทุกวันนี้เป็นเวลาเกือบ 18 ปี

จากเดิมครอบครัวมีประสบการณ์ในการทำกล้วยหอมที่เริ่มด้วยการปลูกอย่างเดียว จนต่อมาได้พัฒนามาเป็นการจำหน่ายด้วย ทั้งนี้ ด้วยการขยายตัวจึงจำเป็นต้องตั้งบริษัทในเครืออีก 3 แห่ง ได้แก่ คิงอินเตอร์ฟรุทส์ มีหน้าที่ในการปลูกกล้วยหอมแล้วส่งขายให้แก่คิงฟรุทส์ ส่วนบริษัทน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อไม่นานนี้คือ คิงฟรุทส์โปรเซสซิ่ง ที่กำหนดให้เป็นสถานที่สำหรับรองรับผลผลิตกล้วยหอมทองที่ปลูกจากชาวสวนของคิงอินเตอร์ฟรุทส์ และเครือข่ายเป็นการวางแผนการตลาดในอนาคต

คิงอินเตอร์ฟรุทส์ มีพื้นที่จำนวน 3,500 ไร่ มีการจัดการแปลงปลูกกล้วยหอมตามมาตรฐานสากลในแบบ GAP จนทุกวันนี้เป็นมาตรฐาน GLOBAL GAP พร้อมส่งขายต่างประเทศ ถือเป็นสวนหนึ่งของความสำเร็จ พร้อมกับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดกล้วยหอมเติบโตขยายตัวอันเป็นผลมาจากความใส่ใจตั้งแต่ในแปลงปลูก ด้วยการยึดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน

นอกจากนั้น ความสำคัญของคิงอินเตอร์ฟรุทส์ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรหรือทีมส่งเสริมขององค์กร เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วสะท้อนกลับไปสู่ผู้ปฏิบัติจริงหรือเกษตรกรนั่นเองที่จะได้เห็นของจริงเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้น พื้นที่จำนวน 3,500 ไร่ จึงนับเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ที่จะแสวงหาคำตอบเรื่องการปลูกกล้วยหอมทองได้อย่างมีคุณภาพจริง

อย่างไรก็ตาม คิงอินเตอร์ฟรุทส์ยังเป็นแหล่งผลิตหน่อพันธุ์ที่สามารถตัดหน่อคุณภาพจากต้นกล้วยที่ปลูกไว้ได้จำนวนมากด้วย และหน่อพันธุ์ดังกล่าวนี้จะส่งในเครือข่ายในราคาถูก

คุณเสาวณี กล่าวว่า จากคิงอินเตอร์ฟรุทส์จะส่งผลผลิตกล้วยหอมมายังคิงฟรุทส์ที่มีหน้าที่ดูแลการตลาด อีกทั้งระบบการทำงานของสององค์กรนี้จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน พร้อมกับมีมาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับสากล ไม่ว่าจะเป็น GMP และ HACCP แล้วยังมีแล็บสำหรับตรวจสอบสารเคมีที่ตกค้าง เพื่อเป็นการกลั่นกรองผลผลิตที่จะนำออกไปสู่ผู้บริโภค เพื่อให้มีความปลอดภัยเพราะมีมาตรฐานทั้งแปลงปลูกและโรงงานที่คัดบรรจุ

“ดังนั้น คู่ค้าที่มาทำสัญญาข้อตกลงจึงมีความเชื่อมั่นในระดับสูง พร้อมกับตัดสินใจได้ทันทีโดยไม่ต้องพิจารณา ฉะนั้น ไม่ว่าผลผลิตกล้วยหอมจะมาจากเครือข่ายหรือในแปลงปลูกของคิงอินเตอร์ฟรุทส์ก็จะเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ยอมรับได้”

สำหรับบริษัทน้องใหม่นั้น คุณเสาวณี เผยว่า เตรียมการมาล่วงหน้าแล้วกว่า 3 ปี เพราะวางแผนสำหรับการตั้งโรงงานตั้งแต่เริ่มมีเครือข่ายเข้ามา ดังนั้น แปลงปลูกจำนวน 3,500 ไร่ไม่มีปัญหาด้านผลสดแล้ว แต่เมื่อมีการคิดจะพัฒนาเครือข่ายไปด้วยกันก็ควรจะมีการรองรับไว้

กรรมการผู้จัดการชี้ว่า ก่อนที่คิงฟรุทส์จะมาถึงธุรกิจอย่างเช่นทุกวันนี้ก็เริ่มมาจากแผงขายกล้วยที่ตลาดไทด้วยเช่นกัน ขายมาหลายปี เพราะต้องมีประสบการณ์และความชำนาญในการคัดเกรดกล้วย จนมาคราวหนึ่งในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำส่งกล้วยไปต่างจังหวัด แต่ไม่ได้รับเงิน จากนั้นเป็นต้นมาจึงคิดว่าคงต้องหาผู้ค้าที่มีความเชื่อถือ พร้อมกับมีการทำสัญญาข้อตกลงที่ชัดเจน ที่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นเพราะตัวเองยังด้อยประสบการณ์ ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการด้านการตลาด

จนเมื่อมาถึงคราวที่ตัดสินใจวางแผนส่งกล้วยเข้าห้างค้าปลีกใหญ่ จึงต้องมีการเขียนประวัติ พร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวกับการปลูกกล้วย เพื่อนำเข้าไปเสนอห้างค้าปลีกใหญ่อย่างแม็คโคร จากนั้นมีการติดต่อกลับมาเพื่อเข้ามาดูสภาพสวนกล้วย แต่สิ่งที่พบคือสวนของเรายังไม่มีระบบการจัดการแบบมาตรฐาน

ขณะเดียวกัน ถือเป็นความโชคดีที่ทางแม็คโครเปิดอบรมผู้ค้าเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานการปลูก จึงได้นำความรู้กลับมาปรับปรุงแปลงกล้วยทุกแปลงจำนวน 20 กว่าแปลง จนเป็นที่ยอมรับของทางแม็คโครเพื่อให้ส่งกล้วยเข้ามาขาย จากนั้นตามมาด้วยห้างโลตัส พร้อมกับร้านสะดวกซื้อตามมาอีกด้วย เมื่อความต้องการเข้ามาอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการจัดการวางแผนการบ่มกล้วยเพื่อให้พร้อมรับประทานได้ทันที แล้วเป็นความสุกที่พอเหมาะด้วย

“ช่วงที่ทำกล้วยเข้าร้านสะดวกซื้อครั้งแรกต้องพัฒนาและปรับความสุกให้เหมาะสมกับการบริโภคซึ่งต้องใช้เวลาในจุดนี้ราว 1 ปีจึงเข้าที่ แต่ก่อนหน้านั้นเกิดความท้อแท้มาก คิดจะล้มเลิกหลายครั้งเพราะเจอปัญหามากมายตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ต้องคอยจดบันทึกไว้ตลอดทุกช่วงว่าแต่ละช่วงพบปัญหาอะไรบ้าง แล้วค่อยนำมาปรับแก้ไข จนถึงวันนี้ยังต้องปรับอยู่ ไม่ใช่ว่าพอทำได้แล้วจะหยุด เพราะอาชีพเกษตรกรรมจะไม่มีวันหยุดนิ่ง ต้องมีการสะสมความรู้อยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องการสร้างระบบการปลูก ระบบดูแลจัดการในโรงงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดความสูญเสียและปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาภายหน้า”

คุณเสาวณี บอกว่า ท่านที่สนใจต้องการปลูกกล้วยหอมเชิงธุรกิจ ควรหาตลาดรองรับไว้ก่อน เพราะที่ผ่านมาได้ขายหน่อออกไปเป็นจำนวนมาก จึงเป็นห่วงว่าวงจรราคากล้วยตกจะหวนกลับมาอีก ดังนั้น จึงอยากฝากว่าอย่าคิดเพียงปลูกอย่างเดียวเพราะถ้าปริมาณกล้วยล้นตลาดจะไม่มีใครรับซื้อ

คราวนี้ย้อนกลับมาที่การสร้างเครือข่ายปลูกกล้วยของคิงฟรุทส์ เนื่องจากมีคนสนใจและสอบถามกันเข้ามามากว่ามีเงื่อนไขรายละเอียดอย่างไร ขอบอกว่าที่คิงฟรุทส์ ได้สร้างเครือข่ายปลูกกล้วยไว้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. เป็นผู้ซื้อหน่อพันธุ์จากคิงฟรุทส์ ปลูกแล้วขายผลผลิตส่งคืนให้คิงฟรุทส์ กลุ่มนี้ต้องทำสัญญาและมีราคารับซื้อที่แน่นอน 2. ซื้อหน่อพันธุ์จากคิงฟรุทส์แต่ไม่ขายผลผลิต เพราะยังไม่ลังเลเรื่องราคา กลุ่มนี้จะทำข้อตกลงไว้ก่อนก็ได้ และ 3. ซื้อหน่อจากที่อื่นแต่ต้องการหาตลาดรองรับที่แน่นอน กลุ่มนี้สามารถทำข้อตกลงกันได้ เพราะถ้าปริมาณกล้วยที่คิงฟรุทส์มีไม่พอ ก็จะมองหากล้วยจากกลุ่มนี้ก่อน อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าว ในกลุ่มที่ 1 จะให้ความสำคัญมากที่สุด

อีกเหตุผลที่ต้องการชักชวนให้เกษตรกรมาซื้อหน่อของคิงฟรุทส์ เพราะมีเจตนาที่จะได้ร่วมกันวางแผนปลูกให้ถูกต้อง เป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน สามารถกำหนดปริมาณและความต้องการของตลาดให้สอดคล้องกัน เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน และที่สำคัญมีส่วนช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงอีกด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้คงเกิดคำถามว่าคิงฟรุทส์ต้องการขายหน่อกล้วยแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าธุรกิจของเราคงทำเช่นนั้นไม่ได้ อย่างที่ทราบว่าช่วงที่กล้วยมีราคาสูงมาก มีการขายหน่อถึง 40-50 บาท แต่ที่คิงฟรุทส์ขายเพียงหน่อละ 10 บาท แล้วเป็นราคาขายคงที่มาตลอด ไม่ว่ากล้วยจะถูกหรือแพง เพราะคิดว่าไม่ควรเพิ่มต้นทุนให้แก่ชาวสวน แต่ควรให้ชาวสวนมีกำไรมากดีกว่า

แปลงปลูกกล้วยของคิงฟรุทส์ ต้องมีการพักทุกปี เพราะเมื่อปลูกเพียงปีเดียวพอเก็บผลผลิตแล้วจะรื้อแปลงทิ้ง จัดการไถ แล้วตากแดดไว้อย่างน้อย 6 เดือน จึงทำให้ปลูกกล้วยในแปลงเดิมได้โดยไม่มีปัญหาคุณภาพกล้วย อย่างไรก็ตาม จะแนะนำชาวบ้านไม่ควรใช้พื้นที่เดิมปลูกกล้วยนานกว่า 2 ปี โดยไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะอาจเกิดการสะสมโรคได้ง่าย แต่ในที่สุดการคิดจะปลูกกล้วยเป็นอาชีพควรหาตลาดรองรับไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

สิ่งที่ต้องการจะฝากสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการกล้วยว่าควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวก อาทิ ในมุมมองการสร้างประโยชน์ในพื้นที่ของเราให้มากที่สุด จะมีขนาดเท่าไรไม่สำคัญ แต่ควรเปลี่ยนความคิดว่าทุกตารางนิ้วควรทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินงอกออกมา หรือควรเปลี่ยนความคิดว่าถึงเวลาที่เราต้องร่วมกัน ช่วยกันทำ อย่าทำเพียงคนเดียว รายเดียว เพราะโลกภายนอกมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงควรหาประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรเรียนรู้เรื่องการตลาดไว้

อีกทั้งเมื่อผลิตได้แล้วควรนำไปขายเองอย่ารอพึ่งคนอื่น และประการสุดท้ายคือต้องเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการปลูกพืช ควรตระหนักถึงการปลูกพืชที่มีคุณภาพ เช่น การนำระบบปลูกแบบ GAP มาใช้ หรือแนวคิดการบริหารจัดการแบบลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดินหรือปุ๋ย เพราะที่ผ่านมาบางคนหรือหลายคนมองว่าเป็นเรื่องยากแล้ววุ่นวาย แต่ขอให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เนื่องจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะสร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้คุณ

ดังนั้น แนวคิดใหม่หรือการเปลี่ยนทัศคติใหม่ต่อการทำเกษตรในยุคนี้เพื่อเป็นทางรอดให้แก่ทุกท่านด้วยหลักคิดสั้นๆ ว่า เปลี่ยนทัศนคติ สร้างมาตรฐาน ลดต้นทุน และมองหาตลาดที่แน่นอน

“อาชีพกล้วย มีการขึ้น-ลง ของราคาอยู่ตลอด ดังนั้น คนที่อยู่ในวงการกล้วยอย่าเพิ่งท้อแท้ สิ้นหวัง เพียงแต่ควรหาจุดที่เหมาะสม แล้วต้องฝากว่าควรปลูกแบบต้นทุนต่ำอย่างที่วิทยากรหลายท่านได้ย้ำมาตลอด เพราะเป็นการสร้างฐานที่มั่นคง รับมือกับราคาที่ผันผวนในอนาคตต่อไป” คุณเสาวณี กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด เลขที่ 55/12 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 โทร. (02) 159-9770, (02) 159-9772-3 แฟกซ์ (02) 159-9771

หากมองในมุมของผู้ประกอบการอย่างคิง ฟรุทส์ จะพบว่าความสำเร็จที่ได้มามิได้เกิดจากสูตรหรือทฤษฎีแต่ประการใด เพียงแต่ใช้ประสบการณ์ที่สะสมมายาวนานผสมกับความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ จึงสามารถผ่านพ้นปัญหาหรืออุปสรรคจนก้าวสู่ความสำเร็จได้อย่างภาคภูมิใจ

ในคราวหน้าท่านผู้อ่านจะได้รับทราบสาระน่ารู้เรื่องการประกอบอาชีพกล้วยจากวิทยากรท่านอื่นต่อไป ติดตามอ่านในฉบับต่อไป อินทผลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีหลากหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร โดยใบติดอยู่บนต้น 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร มีลักษณะเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกของอินทผลัมจะออกจากโคนใบ เมื่อติดผลลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและสุก ซึ่งผลจะมีสีเหลืองถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด โดยผลสุกจะนิยมนำไปตากแห้ง

การเพาะเมล็ด มีข้อดีคือขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ เจริญเติบโตได้ดี ข้อเสียคือไม่รู้เพศว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย ซึ่งอินทผลัมเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ การขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ดจึงไม่สามารถบอกได้ว่าต้นไหนเป็นเพศผู้ ต้นไหนเพศเมีย และโดยปกติอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียอยู่ที่ประมาณ 50 ต่อ 50 ถ้านำมาปลูกโดยไม่รู้เพศอาจทำให้ได้ต้นเพศผู้มีมากเกินจำเป็นในสวน โดยต้นเพศผู้ที่เหมาะสมเพียงพอควรมีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
การแยกหน่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันมาอย่างช้านานจนถึงปัจจุบัน ทั้งการขยายแปลงปลูก การค้าต้นพันธุ์ เพราะอินทผลัมเมื่อต้นอายุ 2 ปีขึ้นไป จะเริ่มสร้างหน่อแขนงขึ้นมารอบๆ ต้น มีข้อดีคือหน่อที่แยกออกมาจะเป็นพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ทุกประการ ทั้งกายภาพและพันธุกรรม รู้เพศชัดเจน ซึ่งผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ข้อเสีย ราคาหน่อจะสูง เพราะผลิตได้จำนวนจำกัด จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่ใช้หน่อจากต้นแม่พันธุ์ คือนำพันธุ์แท้มาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อที่จะได้มีต้นกล้าคุณภาพขึ้นมาเป็นทางเลือกแก้ปัญหาจากการเพาะเมล็ด และการแยกหน่อ จึงเหมาะกับการขยายพันธุ์เชิงคุณภาพได้อย่างดียิ่ง ข้อดีคือได้ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นโดยมีพันธุกรรมเหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ รู้เพศชัดเจน เป็นต้นเพศเมีย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีการกลายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่ได้เป็นสายพันธุ์มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และที่สำคัญผลผลิตที่ได้จะเหมือนกันทุกต้น

คุณปรีชา ธรรมชูเชาวรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 2 ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของอินทผลัม จึงได้นำมาทดลองปลูกภายในสวน จนประสบผลสำเร็จ จนทำให้ในเวลานี้ที่สวนของคุณปรีชามีผู้ที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และหาซื้อต้นพันธุ์กันมากเลยทีเดียว

ผู้คว่ำหวอด ในสายงานเกษตร

คุณปรีชา เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนได้ทำการเกษตรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงเป็ด ต่อมาจึงได้มาจับอาชีพเกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เฟื่องฟ้า ลีลาวดี เรียกง่ายๆ ว่า ทำการเกษตรมาอย่างชำนาญในสายงานด้านนี้กันเลยทีเดียว ต่อมาจึงได้มีความสนใจจะปลูกอินทผลัม จึงได้นำมาทดลองปลูกอย่างที่ได้คิดตั้งใจไว้

“ตอนนี้ที่สวนไม้ดอกไม้ประดับก็ยังปลูกขายอยู่ เมื่อธุรกิจทางด้านนี้เริ่มอยู่ตัว ประมาณปี 2557 ผมก็เริ่มสนใจเกี่ยวกับอินทผลัมกินผลสด เพราะเราเริ่มรู้สึกว่าไม้ดอกไม้ประดับเราเริ่มอิ่มตัว อยากที่จะทำเกี่ยวกับต้นไม้กินผลได้ ก็เลยเลือกอินทผลัม ซึ่งชอบลักษณะพิเศษตรงที่ผลของอินทผลัมสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานเมื่อเราใส่ตู้เย็นไว้ ผลอินทผลัมค่อนข้างมีคุณค่าทางโภชนาการ และที่สำคัญเป็นไม้ที่ปลูกง่าย เรื่องการดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก” คุณปรีชา บอกถึงที่มาของการปลูกอินทผลัม

เนื่องจากการปลูกอินทผลัมสามารถนำต้นพันธุ์มาปลูกได้หลายแบบ คือ ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด และต้นพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในช่วงแรกที่ทดลองปลูกนั้น คุณปรีชา บอกว่า ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูก ประมาณ 200 ต้น ได้อินทผลัมที่เป็นตัวผู้ 130 ต้น และเป็นตัวเมีย 70 ต้น ต่อมาเพื่อขยายลูกค้าตลาดให้กว้างขึ้น และเพื่อให้ต้นอินทผลัมได้สายพันธุ์ที่แน่นอน จึงได้นำต้นอินทผลัมที่ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาปลูกด้วย โดยสั่งมาจากต่างประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอังกฤษ

ก่อนที่อินทผลัมจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ คุณปรีชา บอกว่า จะต้องนำต้นที่ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาอนุบาลเสียก่อน โดยใช้เวลาอนุบาลช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 1 คืบ พร้อมทั้งมีใบประมาณ 5-6 ใบ ก็สามารถนำมาปลูกลงดินได้

“พอเราได้ต้นที่แข็งแรงดีแล้ว เราก็นำต้นที่อนุบาล มาปลูกลงดินได้เลย โดยให้แต่ละต้นมีระยะห่างกัน ประมาณ 7×7 เมตร ซึ่งดินที่อยู่ตามภาคกลาง ไม่ต้องรองก้นหลุม ใส่ข้างบนเดี๋ยวก็จะซึมลงไปเอง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินไม่ค่อยดี ก็สามารถรองก้นหลุมด้วยขี้ไก่ หรือปุ๋ยหมักก็ได้เหมือนกัน ก็จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์” คุณปรีชา บอกถึงวิธีการปลูก

เมื่อปลูกต้นอินทผลัมเป็นที่เรียบร้อยจะดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่ และที่สำคัญเรื่องการรดน้ำต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยสังเกตจากดินที่โคนต้น ถ้าแห้งมากจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง

ในเรื่องของการใส่ปุ๋ยนั้น คุณปรีชา บอกว่า จะใส่ปุ๋ย สูตร 20-10-10 เดือนละ 2 ครั้ง เมื่ออายุของต้นเริ่มมีอายุเกิน 1 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตได้จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 8-24-24 ไปจนถึงต้นอินทผลัมเริ่มออกดอก

“เมื่อต้นเพศเมียเริ่มออกดอก เราก็จะเตรียมเอาเกสรต้นเพศผู้ มาผสมกับเกสรเพศเมีย ซึ่งการผสมก็ไม่ยาก พอผสมเสร็จใช้เวลาประมาณ 5 วัน ผลก็จะเริ่มติดออกมาให้เห็น เสร็จแล้วก็จะฉีดแคลเซียมโบรอนเข้ามาช่วย เพื่อให้เกสรมีความแข็งแรง พอเริ่มเป็นผลที่มีอายุได้ 1-2 เดือน ให้เห็น ก็จะเริ่มห่อ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูอื่นๆ เข้ามากัดกิน” คุณปรีชา บอกถึงวิธีการผสมเกสรและดูแลผลอินทผลัม

จากประสบการณ์ที่ได้ทดลองปลูกมาอย่างประสบผลสำเร็จ คุณปรีชา บอกว่า ในเวลานี้ที่สวนจึงมีต้นที่มีผลออกมาให้กับผู้ที่สนใจได้มาเชยชมและเรียนรู้วิธีการปลูกจากประสบการณ์จริงได้ที่สวน พร้อมทั้งมีผลอินทผลัมได้ให้ชิมอีกด้วย

ต้นพันธุ์ที่มีจำหน่าย เป็นเนื้อเยื่อจากต่างประเทศ

สำหรับการปลูกอินทผลัมที่เหมาะสมภายในสวน คุณปรีชา แนะนำว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมโดยประมาณ เช่น ต้นอินทผลัมเพศผู้ 20 ต้น สามารถคุมการผสมเกสรให้กับต้นอินทผลัมเพศเมีย ประมาณ 100 ต้น ซึ่งการผสมเกสรต้องมีการศึกษาเพื่อที่การผสมให้ติดผลจะได้ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี

“สำหรับผู้ที่สนใจ อยากจะปลูก ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ที่สวนเราได้ หรืออยากจะลองชิม หรือเรียนรู้ว่าการปลูกเป็นยังไง ก็เข้ามาเจอกันที่สวนผมได้ หรือเกษตรกรที่สนใจต้นพันธุ์ ก็สามารถเข้ามาหาซื้อได้ ซึ่งต้นที่เรามีขายก็เป็นต้นเนื้อเยื่อ ที่ผ่านการอนุบาลจนแข็งแรงดีแล้ว สามารถนำไปปลูกได้เลย อายุประมาณ 4 เดือน ขายอยู่ที่ต้นละ 1,500 บาท ซึ่งก็มีหลายพันธุ์ให้เลือกไปปลูก เช่น พันธุ์บาฮี เคแอล 1 (KL1) เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และบางส่วนก็เป็นพันธุ์เพาะเมล็ดเราก็มีขายอยู่ ที่ต้นละ 300 บาท ซึ่งก็สามารถเข้ามาพูดคุยกัน ทางสวนเรายินดีให้คำแนะนำ” คุณปรีชา บอก

ทั้งนี้ คุณปรีชา ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การปลูกอินทผลัมยังไม่เจอปัญหายุ่งยาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องน้ำที่ใช้รด เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะเริ่มเข้าสู่ช่วงที่จะติดผลผลิต น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปรีชา ธรรมชูเชาวรัตน์ หมายเลขโทรศัพท์ (081) 309-6086, (087) 320-5009 ปกติ องุ่น ในบ้านเรามักปลูกกันในภาคเหนือและบางส่วนที่ปากช่อง-เขาใหญ่ ในพื้นที่อื่นอาจมีบ้างประปราย ยังไม่เคยได้ยินว่ามีการปลูกองุ่นกันในภาคใต้ แต่ล่าสุด “คุณนิกร สาระการ” อายุ 53 ปี อยู่ที่ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ปลูกองุ่นหลากหลายสายพันธุ์ และได้ผลผลิตออกมาแล้ว สร้างความตื่นเต้นดีใจให้กับเจ้าตัวและผู้คนในชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะน่าจะเป็นเจ้าแรกของพังงาหรือของภาคใต้ก็ว่าได้ที่สามารถปลูกองุ่นจนออกลูกได้สำเร็จ

เชื่อมั่นภาคใต้ปลูกองุ่นได้ดี

คุณนิกร สาระการ เล่าที่มาที่ไปของการมาปลูกองุ่นว่า ตนเองนั้นทำอาชีพหลายอย่าง นอกเหนือจากการเป็นไกด์ คือเป็นวิทยากรด้านงานศิลปะผ้าบาติกและงานเพ้นต์สีอะคริลิก เรื่องการปลูกองุ่นนั้นเป็นความฝันมาตั้งแต่สมัยเด็กแล้ว เพราะเป็นพืชที่ไม่มีในแถบภาคใต้ ตอนอายุประมาณ 20 ปี ไปซื้อหนังสือการปลูกองุ่นมาศึกษา ได้ความรู้ว่าภูมิอากาศทางภาคใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกองุ่นที่ดีมาก โดยเฉพาะเหตุผลที่ว่า ภาคใต้ส่วนใหญ่มีพื้นที่ลาดเอียงเป็นส่วนมาก ในที่สูงมีป่าไม้ที่อุ้มน้ำไว้

การปลูกองุ่นในพื้นที่แบบนี้ไม่ต้องรดน้ำ ซึ่งเป็นข้อดี แต่ปัญหาคือ ภาคใต้มีน้ำเยอะไป จะทำให้องุ่นมีรสเปรี้ยว เมื่อเรียนรู้แบบนี้เลยไปคุยกับคนรอบๆ ข้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะหัวเราะ และพูดว่าไม่เคยเห็นใครทำ คงเป็นไปไม่ได้ เพราะองุ่นเป็นพืชเมืองหนาว ตนเองจึงเก็บความรู้ไว้ในใจเรื่อยมา

“ตอนอายุ 22 ปี มีโอกาสได้ไปแสวงบุญที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่นั่นมีการทำสวนองุ่นทั้งที่เป็นประเทศแห้งแล้ง และผมได้ศึกษาคัมภีร์อัลกุรอ่าน จึงรู้ว่ามีการกล่าวถึงองุ่นที่เป็นผลไม้ในสวนสวรรค์ มีความเป็นสิริมงคลยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้การปลูกองุ่นก็อยู่ในใจผมตลอดมา”

เรียกว่าเขาเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องขององุ่นมาอย่างจริงจัง ดังนั้น เมื่อคุณนิกรกลับจากซาอุดีอาระเบียมาเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2538 จึงให้น้องสาวซื้อต้นองุ่นติดตามาให้ทดลองปลูก 1 ต้น แต่ปลูกในกระถาง ปรากฏว่าขึ้นดีโตดี โดยปล่อยให้ขึ้นโครงจั่วหน้าบ้าน จนเกือบเต็มหน้าจั่วแล้ว แต่เป็นช่วงที่เขาต้องออกไปทำงานนอกบ้านบ่อยๆ หรือครั้งละหลายๆ วัน กว่าจะได้กลับบ้าน บวกกับตรงกับหน้าแล้ง จึงทำให้ต้นองุ่นไม่รอด จากนั้นก็ไม่มีการปลูกใหม่อีกเลย แต่ความชอบในองุ่นของเขายังฝังอยู่ในใจตลอด และบางครั้งถึงกับฝันเห็นต้นองุ่นหลายครั้งหลายครา เป็นความฝันที่รอความเป็นจริง

คุณนิกร เล่าว่าได้กลับมาปลูกองุ่นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2547 เป็นต้นองุ่นติดตา โดยปลูกไว้ที่หลังบ้าน แต่สุดท้ายก็ไม่รอด เหลือแต่ต้นตอองุ่นป่า เลยปลูกเอาร่มเงา จนมีอายุมาก และออกลูกเล็กๆ บ้าง อยู่ได้ประมาณ 8-9 ปี ต้นก็ตาย

จนมาถึงประมาณเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว คิดอยู่ว่าอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันคงจะไม่ยั่งยืนพอ หากอายุมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพวิทยากรสอนงาน หรืออาชีพมัคคุเทศก์ จึงมองที่จะหาอาชีพใหม่มารองรับ เลยคิดถึงการเกษตร ก่อนหน้านั้น เคยทดลองปลูกเมล่อนประมาณ 30 ต้น เพราะหวังจะเป็นการช่วยส่งเสริมเรื่องท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากตนเองเป็นกลุ่มชุมชนที่ทำท่องเที่ยวโดยชุมชน ชื่อ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไคร แต่ด้วยความที่เมล่อนเป็นพืชที่ต้องเอาใจใส่มาก และต้องทำโรงเรือน จึงไม่คิดที่จะปลูกต่อแค่ทดลองปลูกครั้งเดียว จากนั้นเริ่มหาข้อมูลเรื่ององุ่นทางอินเตอร์เน็ตอย่างจริงจังอีกครั้ง

คนขายต้นพันธุ์ให้ทำใจ

กระทั่งตัดสินใจสั่งต้นพันธุ์องุ่นติดตาทางอินเตอร์เน็ตจากเชียงราย โดยสั่งมา 12 ต้น ต้นละ 80 บาท จำนวน 6 สายพันธุ์ พันธุ์มีเมล็ดอย่างละ 2 ต้น คือ ไวท์มะละกา และป๊อกดำ ส่วนพันธุ์ไร้เมล็ด อย่างละ 2 ต้น 4 สายพันธุ์ คือ แบล็คโอปอล รูทเพอเรท เฟรมฟิตเล็ต บิวตี้ซีดเลส ซึ่งทุกต้นใช้องุ่นป่าเป็นต้นตอ

“คนขายต้นพันธุ์บอกว่า ต้องทำใจ เพราะว่าต้นองุ่นคงจะรอดแค่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ผมตอบไปว่า ไม่เป็นไร พอรับมาจากไปรษณีย์ แล้วนำมาเลี้ยงในถุงดำ ขนาด 8 นิ้ว โดยซื้อดินถุงสำหรับเพาะชำมาแบ่งลงถุง เลี้ยงจนกระทั่งมีขนาดเถา ความยาว ประมาณ 1.5-2.0 เมตร จึงนำลงปลูกในแปลง ขุดหลุมขนาด กว้าง-ยาว-ลึก 12-12-12 นิ้ว ใช้ดินถุงสำหรับเพาะชำ ผสมกับหน้าดินที่ขุดหลุม และปุ๋ยเกล็ดน้ำตาล หลุมละ 1 ช้อนโต๊ะ พร้อมปลูกได้เลย”

ช่วงนำไปปลูกในถุงดำเพื่อให้องุ่นปรับตัว ประมาณ 10 วัน มีแตกตาออกมาขนาดใหญ่ ตอนนั้นดีใจมาก รีบใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตื่นเช้าขึ้นมาอีกวัน ตาขนาดใหญ่นั้นหายไป กลายเป็นหลุม ค้นไปค้นมาเจอหอยทาก เลยย้ายที่เพาะ จากนั้นเลี้ยงต่อมาแบบล้มลุกคลุกคลาน พร้อมส่องดูและเก็บหอยทากทุกคืน สรุปเหลือที่ติดตาได้ 10 ต้น ส่วนอีก 2 ต้น เหลือตอต้นองุ่นป่า”

คุณนิกร แจกแจงว่า ได้เริ่มปลูกองุ่นลงดิน ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 โดยแบ่งเป็น 2 แปลง คือพันธุ์มีเมล็ด 1 แปลง และไม่มีเมล็ดอีก 1 แปลง ส่วนองุ่นป่าอีก 2 ต้น ปลูกไว้ใกล้ๆ กัน เพราะตั้งใจว่าต่อไปสามารถจะชำและติดตา ขยายพันธุ์เองได้

ในแปลงปลูกองุ่นนั้น เขาระบุว่า ทำค้างองุ่นแบบง่ายๆ โดยใช้ไม้เสาที่หาได้ข้างๆ บ้าน แล้วใช้เชือกฟางเส้นแดงๆ ขึงตามยาวของค้าง ที่มีความยาว 5 เมตรบ้าง 7 เมตรบ้าง ให้แต่ละเส้นห่างกันประมาณ 1 คืบ ที่ใช้เชือกฟางแดงเพราะว่ายังไม่มั่นใจว่าองุ่นจะออกลูกหรือไม่ แต่พอแน่ใจแล้วว่าออกลูก ก็เปลี่ยนเป็นใช้เส้นลวดแทน หรือสายไฟฟ้าเก่าร่วมด้วย แต่ตอนนี้ยังเปลี่ยนไม่หมด ต้องรอเข้าช่วงตัดแต่งกิ่งครั้งต่อไป

ส่วนความกว้างของค้างองุ่น ประมาณ 1.8-2.0 เมตร คือแต่ละค้าง จะมีความยาวประมาณ 5-7 เมตร กว้าง 1.8-2.0 เมตร ค้างละ 1 ต้นบ้าง 2 ต้นบ้าง และ 4 ต้นบ้าง ตามพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด

ระหว่างที่ปลูกองุ่นนั้น คุณนิกร เล่าว่า ปลูกไป ถ่ายรูปไป วัดขนาดไป และเห็นชัดว่าต้นองุ่นโตเร็วมาก เพราะเป็นช่วงฝนตกติดต่อกัน แค่ 3 เดือน องุ่นโตเต็มค้าง ทว่าในแต่ละต้นโตไม่เท่ากัน โดยเฉพาะพันธุ์บิวตี้ซีดเลสไม่โตเลย ต้นสูงได้แค่ด้ามดินสอ พออายุ 4 เดือน ต้นที่โตค่อยๆ เล็กลง ใบเริ่มออกอาการ กิ่งเริ่มแห้งตาย ช่วงนั้นรู้สึกหนักใจ จึงใช้วิธีหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ไม่กล้าใช้ยาเคมี ได้แต่ใช้ยาเส้นตราเสือไฟคู่ ยาสูบ ละลายบีบเอาเฉพาะน้ำฉีดพ่น

ประคับประคองอยู่ 2 เดือน ต้นองุ่นจึงฟื้นขึ้นมา เลยตัดแต่งยอดที่เสียออก บังเอิญ มี 2 ต้น แทงช่อดอกออกมาให้เห็น ก็รู้สึกดีใจ แต่มีอยู่ต้นหนึ่งเจอโรค จนต้นโทรมมาก ทำให้ต้องตัดใบและกิ่งอ่อนออกให้หมด เพื่อจะให้ออกดอกหรือไม่ก็ตายไปเลย ต่อมา 15 วัน เริ่มแตกตาใหม่ให้เห็น หลังจากนั้นเริ่มแทงช่อดอก ต้นนี้มี 24 ช่อ แต่ช่วงนั้นฝนตกเยอะมาก ทำเอาดอกเสียหายอีก เหลือไม่กี่ช่อ

6 สายพันธุ์ ออกลูกหมด

ตอนแรกนั้น คุณนิกร ยังไม่ได้มุงหลังคา สมัครเว็บไฮโล แต่พอเห็นอาการของต้นองุ่นที่มีอาการเป็นโรค คิดว่าถ้าไม่มุงหลังคาองุ่นจะไม่รอด เลยตัดสินใจไปซื้อผ้ายางกันฝนสีใสๆ มามุง โดยทำโครงหลังคาด้วยไม้ไผ่ และท่อพีวีซี

ส่วนการใช้ยาเส้นละลายน้ำราดที่หลุม คุณนิกร อธิบายว่า เพื่อป้องกันหนอนบางชนิดที่จะมากัดกินราก โดยเฉพาะไส้เดือนฝอยในดิน ที่เป็นศัตรูตัวฉกาจ แต่ไม่สามารถป้องกันหอยทากได้เลย และละลายน้ำเพื่อฉีดพ่นไปที่ใบและยอดอ่อน เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ แต่ได้ไม่ทุกชนิด จนกระทั่งหันมาใช้แอมโมเนีย หรือที่เรียกกันว่าลูกเหม็นที่ใช้ใส่ในตู้เสื้อผ้า นำมาห่อผ้าแล้วชุบกับน้ำมันพืช จากนั้นนำไปแขวนไว้ที่ค้างองุ่น ทำให้แมลงไม่กล้าเข้ามารบกวน เหตุผลที่ทำอย่างนี้เพราะไม่ต้องการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลงทั่วๆ ไป

จากผลของการแต่งกิ่งแล้วดี หนุ่มใหญ่รายนี้จึงตัดสินใจตัดแต่งกิ่งอีก 6 ต้น ที่เหลือ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ต่อมา 9 เมษายน เริ่มแตกยอดใหม่ พร้อมช่อดอก ทุกคนที่บ้านก็ดีใจกันไปตามๆ กัน จากนั้นลุ้นกันว่าจะมีลูกไหม 5 วัน ต่อมา ดอกเริ่มยาวขึ้น แต่กลัวฝนตกลงมาอีก จึงเริ่มทำหลังคามุงกันฝนแบบตามมีตามเกิด จากนั้นให้น้ำให้ปุ๋ยเรื่อยๆ จนดอกบาน และติดลูก เกือบทุกลูกมีขนาดเท่ากันหมด ถึงตอนนี้ ถ้านับจากวันตัดกิ่งมาประมาณ 2 เดือนเศษ แต่ 2 ต้น ที่ชิงออกลูกก่อนก็มีคนมาเยี่ยมชมและชิมองุ่นกันไปเรื่อยๆ ทั้งที่ยังสุกไม่เต็มที่

“พอองุ่นออกลูกแล้ว ชาวบ้านในชุมชนชวนกันมาดู มาถ่ายรูป มาชิม คนที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่องุ่นจะสามารถปลูกได้ที่ภาคใต้ ตอนนี้เปลี่ยนความคิดแล้ว และบางรายถึงขั้นให้ช่วยสั่งซื้อต้นพันธุ์ให้ด้วย แต่ผมตั้งใจไว้ว่าจะทำต้นพันธุ์ด้วยตัวเอง เพราะเลี้ยงต้นองุ่นป่าไว้แล้ว 5-6 ต้น อีกไม่นานคงทำได้เหมือนต้นฉบับแน่นอน และคงทำได้ทุกสายพันธุ์”