นอกจากนี้ เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อไม่ให้วัชพืชเแย่งอาหาร หรือหากมีวัชพืชพวกหญ้าแห้วหมูให้ขุดเหง้าหญ้าแห้วหมู ซึ่งอยู่ใต้ดินออกทำลายให้หมด หากสภาพดินในแปลงมีความแน่นแข็ง โดยสังเกตจากการรดน้ำ หากน้ำที่รดไหลบ่าลงข้างแปลงแสดงว่าผิวดินเริ่มแน่น ควรพรวนหน้าดินเพื่อให้น้ำสามารถซึมผ่านผิวดินลงไปสู่ระบบรากได้

หลังปลูก ต้นกุยช่ายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถตัดใบออกจำหน่ายได้ภายในระยะ เวลา 3-4 เดือน การผลิตกุยช่ายเพื่อจำหน่ายดอกอ่อนและใบเขียวนั้นไม่ยุ่งยากในการปฏิบัติ เพราะตามธรรมชาติกุยช่ายจะให้ดอกและใบตามปกติอยู่แล้ว แต่การผลิตกุยช่ายขาว ต้องมีเทคนิคการดูแลจัดการให้ต้นกุยช่ายเปลี่ยนสีใบ จากสีเขียวเป็นสีขาวก่อน

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมผลิตกุยช่ายขาว โดยใช้กระถางครอบเป็นกอ ๆ ซึ่งไม่เหมาะสมในการผลิตจำนวนมาก ๆ คุณวิภาวรรณ ดวนมีสุข และ สุธน สุวรรณบุตร นักวิชาการเกษตรแห่งสถานีพืชสวนท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5567-9085-6 ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตกุยช่ายขาวขึ้นใหม่ ซึ่งง่ายและสะดวก

เริ่มจากเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย ผ้าหนาสีดำเข้ม เช่น ผ้าลีวาย ไม้ระแนง ขนาด 1 นิ้ว และ ตะปู วิธีการทำ เริ่มจาก 1. ตัดไม้ยาว 1 เมตร จำนวน 4 ท่อน 2. ตัดไม้ยาว 0.5 เมตร จำนวน 8 ท่อน 3. นำมาประกอบเป็นโครงรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 1×0.5×0.5 เมตร 4. ตัด และเย็บผ้าดำเป็นรูปตามลักษณะของโครงสี่เหลี่ยมที่ได้เตรียมไว้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย เพื่อง่ายต่อการครอบบนโครงและเพื่อให้ผ้าดำมีความทึบแสงมากในสภาพกลางแจ้ง ผ้าที่เย็บสำหรับคลุมกรอบจะต้องเย็บทบกัน 2 ชั้น

วิธีการทำกุยช่ายขาว 1. เลือกกอกุยช่ายที่สภาพต้นมีความสมบูรณ์ สภาพแตกกอดี 2. ใช้มีดคมตัดกอกุยช่ายที่ระดับสูงเหนือผิวดินเล็กน้อย โดยตัดให้ขาดภายในครั้งเดียว เพื่อไม่ให้เกิดรอยช้ำ ซึ่งจะทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย ระหว่างการครอบ 3. ใช้กรอบไม้ที่บุด้วยผ้า 2 ชั้น ครอบกุยช่ายโดยกดส่วนกรอบไม้ด้านล่างให้จมลงดิน เพื่อไม่ให้แสงลอดเข้าไปได้ 4. คอยดูแลอย่าให้โครงไม้ที่ครอบเปิดออก 5. รดน้ำแปลงกุยช่ายตามปกติ

ทิ้งระยะเวลาไปประมาณ 10-12 วัน ต้นกุยช่ายเจริญเติบโตอยู่ภายในโครงไม้ครอบโดยไม่ได้รับแสงเลย ส่วนระบบรากยังคงสามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้ตามปกติ ใบกุยช่ายที่เจริญเติบโตภายใต้สภาพไม่ได้รับแสงจะมีสีขาว เมื่อครอบจนครบกำหนดดังกล่าว ใบกุยช่ายจะมีความยาว ประมาณ 25-26 เซนติเมตร 7. เมื่อครบกำหนด เปิดโครงไม้ที่ครอบไว้ออก จะพบอยู่ในสภาพขาวทั้งกอ ให้ใช้มีดคมตัดกุยช่ายขาวในระดับผิวดินนำไปล้างทำความสะอาดเพื่อส่งจำหน่ายต่อไป
หลังจากตัดต้นกุยช่ายขาวแล้ว

กุยช่ายจะเจริญเติบโตแตกใบขึ้นมาใหม่ทดแทนใบที่ถูกตัดออกไป จำเป็นที่จะต้องบำรุงต้นกุยช่ายให้มีความสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ เพราะต้นกุยช่ายที่อยู่ใต้ดินได้สูญเสียแร่ธาตุไปมาก ประกอบกับไม่ได้รับแสงแดดเป็นระยะเวลา 10-12 วัน ทำให้ต้นอ่อนแอลง การบำรุงต้นกุยช่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยใส่ปุ๋ยต่าง ๆ ให้น้ำที่เหมาะสม ต้นกุยช่ายจะเจริญเติบโตสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะใช้เวลา ประมาณ 1-2 เดือนจึงสามารถครอบทำกุยช่ายขาวได้อีกครั้ง หมุนเวียนไปเช่นนี้ จนกว่าต้นกุยช่ายจะแสดงอาการทรุดโทรม จึงรื้อถอนและปลูกแปลงใหม่ ซึ่งแต่ละรอบปลูกจะใช้ระยะเวลา 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับการบำรุงและดูแลรักษา

การปลูกกุยช่ายขาว อาจเจอปัญหาโรคเน่า จากสาเหตุที่กอกุยช่ายขาดความสมบูรณ์ จึงควรดูแลจัดการต้นกุยช่ายให้สมบูรณ์ ทั้งก่อนและหลังการครอบ ต้องควรใส่ใจคัดเลือกสายพันธุ์กุยช่ายที่เหมาะสม เพราะโดยทั่วไปกุยช่ายที่ใช้ตัดดอกอ่อน จะไม่เหมาะในการทำกุยช่ายขาว เพราะมีใบขนาดเล็ก เมื่อทำกุยช่ายขาวไปหลาย ๆ ใบจะมีขนาดเล็กลงมาก ไม่สามารถจำหน่ายได้ ควรใช้พันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์กุยช่ายใบจะเหมาะสมกว่า เพราะมีใบขนาดใหญ่

นอกจากนี้ หากมีแสงแดดลอดผ่านบริเวณผิวดินที่ครอบคลุมผ้าดำไม่สนิท หรือบริเวณที่มีรอยแตก จะทำให้ใบกุยช่ายขาวได้ไม่เพียงพอ ควรแก้ไขโดยกดกรอบไม้ให้จมดินแล้วนำแผ่นอิฐบล็อกวางทับผ้าคลุมกรอบไม้ให้เป็นระเบียบแนบสนิทกับพื้นดิน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 พื้นที่อำเภอวัดเพลง จ.ราชบุรี เป็นพื้นที่หลักของการปลูกมะพร้าวน้ำหอม ข้าว และผักบุ้ง โดยเฉพาะพริกซึ่งเป็นผักที่เกษตรกรให้ความสนใจ และนิยมปลูกกันเป็นจำนวนมากส่งผลให้ปัจจุบันราคาพริกบางชนิด ขณะนี้เกิดปัญหาราคาตกต่ำลง ทางเกษตรอำเภอจึงเตรียมหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในการนำพริกมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ไม่ลำบาก

นายสนอง ทองจาด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ต.จอมประทัด อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า ที่บ้านปลูกพริกประมาณ 4 ไร่ ร่วมกับบวบงู ใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บผลผลิตประมาณ 3 เดือน โดยราคาพริกจะขึ้นลงอยู่กับท้องตลาดว่ามีการปลูกมากหรือน้อย เช่น พริกกระเหรี่ยงใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4 เดือน ขณะนี้ขายอยู่กิโลกรัมละ 65 บาท เก็บต่อครั้งห่างกันประมาณ 10 วัน ได้ผลผลิตประมาณ 200-300 กิโลกรัม และจ้างคนเก็บอีกกิโลกรัมละ 13 บาท จะได้เงินค่าขายพริกกะเหรี่ยงต่อครั้งประมาณ 20,000 บาท ขณะที่พริกกระเหรี่ยงหากราคาจะอยู่ประมาณ 65 บาท สามารถเก็บผลผลิตได้นานประมาณ 2 เดือน หักค่าปุ๋ย ค่ายาต่างๆแล้ว จะเหลือเงินจากการปลูกพริกประมาณ 30,000 บาท ขณะที่เพื่อนเกษตรกรบางคนปลูกพริกพันธุ์ยอดสนหรือพันธุ์คลองท่อ ซึ่งขณะนี้ราคาต่ำลดลงเหลือ กิโลกรัมละ 25 บาท จากปกติกิโลกรัมละ 40-50 บาท ทำให้มีปัญหาพริกล้นตลาด

ด้านนายโชคดี ตั้งตรงจิต รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอวัดเพลง กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาว่า ได้มองเรื่องความยั่งยืนของเกษตรกร เห็นว่าอาชีพของเกษตรกรของชาววัดเพลงที่ปลูกพริกมานานแล้ว จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้รวมกลุ่มมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และส่งเสริมการผลิตที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัย รวมทั้งให้ความรู้เรื่องมาตรฐานด้าน GAP การมีปัญหาด้านราคา บางครั้งผลผลิตล้นตลาด จึงได้จัดทำโครงการทำพริกแห้งอนามัย โดยร่วมกับอาจารย์ภาควิชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรไปแล้วหนึ่งครั้ง และได้นำตัวแทนเกษตรกรไปอบรมการแปรรูปที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมร่วมกันฝึกปฏิบัติจริง โดยเกษตรกรนำพริกยอดสนไปคนละ 1 กิโลกรัมเพื่อให้คณะอาจารย์สาธิตการแปรรูปต่างๆ ในการนำความรู้กลับมาแปรรูปเองในอนาคตอันใกล้นี้ที่จะมีการรวมกลุ่มกันผลิตขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาราคาพริกตกต่ำในเวลาล้นตลาด อีกส่วนที่สำนักงานเกษตร จะทำต่อคือการทำคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง หรือการซื้อขายโดยมีสัญญาข้อตกลงล่วงหน้าในบางส่วน ซึ่งจะให้บริษัทที่รับซื้อขายโดยตรงมาตกลงกับภาคเกษตรกรพร้อมเสนอราคาที่เกษตรกรจะสามารถอยู่ได้ที่ราคาเท่าไหร่ มีการทำสัญญาในการแปรรูปเป็นพริกในรูปแบบต่างๆ

ส่วนสถานการณ์พริกนั้น ขณะนี้หากเป็นพริกขี้นก และ พริกยอดสนจะมีราคาถูกเหลือประมาณกิโลกรัมละ 20-25 บาท แต่หากเป็นพริกกะเหรี่ยงตอนนี้ยังมีราคาดีอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-65 บาท จึงจะต้องสิ่งเสริมการแปรรูปออกมาให้ได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาพริกที่เป็นโรคนั้น จะเน้นให้เกษตรกรได้มีการป้องกันก่อนตั้งแต่การนำเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดจากต้นที่เป็นโรคมาทำพันธุ์ รวมถึงการดูแลรักษาแปลง การเตรียมดิน การปลูกที่ไม่แน่นจนเกินไป ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการหลบซ่อนของศัตรูได้ง่าย การใช้สารชีวภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมจะใช้หลายวิธีแบบผสมผสาน โดยขั้นสุดท้ายคือการใช้สารเคมีต่างๆ ในการกำจัด

สำหรับความนิยมการปลูกพริกในพื้นที่อำเภอวัดเพลงจะนิยมปลูกพริกพันธุ์คลองท่อหรือพันธุ์ยอดสน ซึ่งมีลักษณะเด่นกว่าพริกทั่วไปคือจะมีเม็ดที่มีรูปทรงสวยตรงเรียวยาว เวลานำไปโขลกน้ำพริก นำไปแปรรูปต่างๆจะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวเหมือนพริกทั่วไป และมีความเผ็ดไม่มาก สมัยก่อนเกษตรกรจะส่งไปขายกรุงเทพฯ เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง แต่ขณะนี้มีการนำไปขายที่ตลาดศรีเมืองมากกว่า โดยแม่ค้าจะให้ความสนใจและถามเกษตรกรว่าพริกมาจากไหน ซึ่งหากเป็นพริกพันธุ์ยอดสนจากอำเภอวัดเพลงก็จะได้ราคาดีกว่าพริกทั่วไปจึงเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรและประชาชนจะซื้อไปบริโภค

ขณะที่อากาศยังคงแปรปรวน ฝน ร้อน หนาว มาให้สัมผัสอยู่เนืองๆ แต่ทว่าผืนดินหลายแห่งยังคงได้รับความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ เพื่อแลกกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ใบหญ้า ก่อนความแห้งแล้งครั้งหน้าจะคืบคลานเข้ามาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

พืชผักพื้นบ้าน ทั้งผักปลูกใหม่ที่มีวัยของอายุสั้นๆ ต่างรับเอาความชุ่มชื้น สร้างความอวบอ้วนเขียวขจี เหตุผลที่ดีที่สุดในเวลานี้ นั่นคือทำให้มนุษย์ได้บริโภคพืชผักที่อวบอิ่มและราคาถูก

ช่วงนี้จะมีอากาศหนาวแม้เบาบาง ก็ทำให้ได้เห็นดอกไม้แรกแย้มหลังการซุกซ่อนตัวเองเพื่อรอคอยห้วงหนึ่งในฤดูกาล และพืชบางสายพันธุ์ได้ออกผลให้ลิ้มลอง

อย่างไรก็ตาม หากมนุษย์มีโอกาสและต้นทุนเพียงพอในการสร้างสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากมาย และทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง จนเกิดความพอเพียงตามเข้ามาอย่างช้าๆ ในที่สุดเราก็จะสามารถอยู่ได้ด้วยวิถีของเราเอง

ผู้ที่มีต้นทุนพื้นฐานจากอดีตในวัยเด็ก ไม่ว่าเติบโตมาแล้วจะอยู่สาขาอาชีพใด หากไม่ลืมต้นทุนพื้นฐานที่ตัวเองมีในครั้งก่อนเก่า ก็จะทำให้ชีวิตอยู่สุขสบายไม่เดือดร้อน หรือขวนขวายหาสิ่งใหม่ๆ ทั้งโลกยุคปัจจุบันพยายามยัดเยียดให้เกิดความอยาก

ต้นทุนชีวิตของคนไทยส่วนมาก มาจากพื้นฐานการทำเกษตร หากใครเติบโตมาและประกอบอาชีพ มีตำแหน่งแห่งหนใหญ่โตแล้วลืมพื้นฐานตัวตนของตนเอง

คนเหล่านั้นก็จะแสวงหาแต่ทุกข์อยู่ร่ำไป

ท่านสำเริง เกษรศิริ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดรัตนบุรี ที่ไม่เคยลืมว่า ชีวิตของตัวเองนั้นมีพื้นฐานของเกษตรกร และเป็นลูกของชาวนา ในพื้นที่เพียงสี่ไร่ของท่านสำเริง เกษรศิริ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดรัตนบุรี วิถีชีวิตของท่าน นอกเหนือจากเป็นผู้พิพากษาแล้ว ท่านยังเป็นเกษตรกรที่มีแนวคิดหลากหลายและลงมือทำด้วยมือของท่านเอง

หลังจากว่างจากงานในหน้าที่ ชีวิตของท่านมีเวลาอยู่กับต้นไม้ใบหญ้า ในพื้นที่สี่ไร่ของท่าน

จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ไม่นานต้นไม้ พืชผักสวนครัว หรือแม้แต่ปลาที่เลี้ยงตามวิถีธรรมชาติก็ผลิดอกออกผลและเติบโตจนลืมเหนื่อยไปโดยสิ้นเชิง

งานเกษตรของท่านยังสามารถสร้างงานให้แก่ผู้อื่นได้ดูแลสานต่อได้โดยง่าย

พืชผักที่ท่านปลูกสามารถสร้างรายได้หลักคือ มะนาว แต่รายได้ที่ไม่แพ้กันจะเห็นได้จากผักที่เรากินกันแทบทุกวันนั่นคือ กะเพรา โหระพา สะระแหน่ ผักชี หลักการง่ายๆ คือท่านปลูกลงกระสอบปุ๋ยแทนกระถางดิน เมื่อต้นโตพอเริ่มผลิดอกออกผล ลูกค้าซึ่งเป็นผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้น จะเข้ามาซื้อที่สวนในราคาที่ไม่แพง และพืชผักบางชนิดผู้คนซื้อต้นพันธุ์นำไปปลูกต่อ ยิ่งสร้างงานส้รางเงินให้กับผู้คนได้เพิ่มขึ้น

ผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสะระแหน่ ผักชี ยี่หร่า ท่านจะปลูกแซมในท่อซีเมนต์ ที่ท่านได้ปลูกต้นมะละกอเอาไว้ เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์ และยังดูแลง่าย สามารถเก็บขายได้ตลอดเพราะเป็นผักปลอดสารพิษ จึงเป็นรายได้ที่มีเข้ามาตลอด แม้ท่านจะไม่ได้คาดหวังจากเงินในส่วนนี้มากมาย แต่ถือว่าท่านประสบความสำเร็จ

ถ้าสนใจและติดตามเรื่องราวของท่าน และต้องการศึกษาดูงาน ติดต่อได้ที่ บ้านโนนขวาง เลขที่ 66 หมู่ที่ 8 ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ในยุคข้าวยากหมากแพง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ที่เป็นปัญหาที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการกินอยู่ รายรับน้อยกว่ารายจ่าย โดยเฉพาะท่านที่ต้องหาเช้ากินค่ำ หรือเป็นพนักงานบริษัทรับเงินเดือนแล้วไม่สามารถเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง และคนในครอบครัวได้ และปัญหาเหล่านี้ได้ลามไปถึงบัณฑิตจบใหม่ที่ก้าวเข้าสู่วัยทำงาน เงินเดือนเริ่มต้นก็น้อยนิด ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ อายุน้อยเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

คุณศิริขวัญ ดุเหว่าดำ หรือ คุณกิ๊ฟ เกษตรกรสาวไฟแรง อายุเพียง 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 19 บ้านโนนอารีย์ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เรียนจบ ชั้น ปวส. แผนกบัญชี จากวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

คุณกิ๊ฟ เล่าให้ฟังว่า หลังจากเรียนจบมาตนได้ทำงานเป็นเสมียนอยู่ที่ร้านวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ทำไปทำมาเงินเดือนไม่พอใช้ ส่งให้พ่อแม่ก็ไม่ได้ ตนจึงตัดสินใจกลับมาอยู่ที่บ้านเกิด ซึ่งพื้นฐานเดิมพ่อและแม่คุณกิ๊ฟมีอาชีพเป็นเกษตรกรอยู่แล้วคือ ปลูกข้าวโพด แต่ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่มองว่าการปลูกข้าวโพดเป็นอะไรที่ต้องรอฟ้า รอฝน ปีหนึ่งถึงจะมีรายได้สักครั้ง ตนจึงปรึกษาพ่อกับแม่ว่าจะปลูกอะไรดีที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี ช่วงนั้นมองเห็นคนแถวบ้านปลูกมะเขือเทศสีดา แล้วเขาได้ผลดี ตนกับพ่อจึงลองปลูก เริ่มบุกเบิกพื้นที่ปลูกมะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน เพียง 2 ไร่ ผลปรากฏว่าได้ผลดี ตนจึงปลูกมาจนถึงทุกวันนี้

เริ่มปลูกมะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน เพราะเห็นจุดเด่นคือ ทนทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลือง ต้นแข็งแรง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน ทรงผลยาวรี สีชมพูสวย น้ำหนักดี ผลมีเนื้อแน่นแข็งไม่แตกง่าย เมื่อปลูกในฤดูฝน ทนทานต่อการขนส่งทางไกล อายุเก็บเกี่ยวเพียง 65-70 วัน หลังย้ายกล้า คุณกิ๊ฟเริ่มปลูกมะเขือเทศเพียง 2 ไร่ ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ เพราะมะเขือเทศสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน ในการเก็บแต่ละครั้งคุณกิ๊ฟมีรายได้เข้ามาประมาณ 30,000-40,000 บาท แล้วแต่ช่วง ถ้าช่วงไหนราคาดีก็ได้เงินเยอะ บางครั้งมะเขือเทศราคาขึ้นสูง กิโลกรัมละ 40-50 บาท แต่คุณกิ๊ฟบอกว่าเมื่อมีราคาสูงก็มีราคาต่ำลงมาเหลือแค่กิโลกรัมละ 8-10 บาท อยู่ที่วางแผนการ

ปลูกอย่าให้ชนกับคนอื่น

วิธีปลูก

การเตรียมดิน เริ่มแรกไถตากดิน แปรดิน ยกร่องห่าง ประมาณ 1.20 เมตร แล้วแต่บางคนชอบห่าง ชอบถี่ แต่ถ้ายกร่องห่างไว้จะดีกว่า เพื่อที่ระบายอากาศได้ง่าย โอกาสของการเกิดเชื้อราก็จะน้อยลง ความห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 30 เซนติเมตร วางท่อสายน้ำหยด วางเสร็จคลุมผ้ายาง ก่อนปลูกเปิดน้ำใส่เพื่อให้ดินอ่อน แล้วใช้ไม้ในการเจาะหลุม ก่อนลงกล้าใส่ฟูราดานรองหลุม เพื่อกันแมลงกินราก

ระบบการให้น้ำ เป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น เปิดรดประมาณ 5-10 นาที

ปุ๋ย 5-7 วัน ฉีดครั้งหนึ่ง ปุ๋ยปล่อยไปทางน้ำจะใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ใส่แคลเซียมทางน้ำ ครึ่งเดือนใส่ 1 ครั้ง ส่วนปุ๋ยทางใบก็ต้องฉีดใบจะได้งาม ใส่แต่ทางน้ำอย่างเดียวไม่ถึง ดูแลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 เดือน 20 วัน มะเขือเทศจะเริ่มให้ผลผลิต

ช่วงฤดูที่เหมาะกับการปลูก

ที่สวนคุณกิ๊ฟเริ่มปลูกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตได้เดือนเมษายน นับไปอีก 6 เดือน ก็ปลูกได้ใหม่อีกรอบ ไม่ต้องพักดินปลูกหน้าไหนก็ได้ แต่ไม่แนะนำหน้าฝน เชื้อราจะลง ช่วงหน้าฝนก็เก็บผลผลิตไป มีหน้าที่คือดูแล หน้าฝนมะเขือเทศจะแตก แมลงลงเยอะ แต่มะเขือเทศจะราคาดีช่วงนี้ เพราะดูแลยาก

ปัญหาและอุปสรรค

การปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้ดีก็จริง แต่คุณกิ๊ฟบอกว่า เรื่องแมลง หนอน ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะมะเขือเทศจะมีปัญหาเรื่องโรคแมลงมาเจาะกินลูกกินใบมาก ที่สวนก็ใช้วิธีพ่นยา และต้องเปลี่ยนยี่ห้อ ฉีด 2 ครั้ง ก็เปลี่ยนใหม่ เพื่อไม่ให้แมลงดื้อยา แต่ถ้าเทียบกับรายรับการปลูกมะเขือเทศก็ถือว่ายังคุ้ม ในระยะเวลา 6 เดือน หักค่ายา ค่าปุ๋ย ตกแล้วเหลือรายได้เดือนละ 40,000 บาท สามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบายๆ

เกษตรกรมือใหม่ อยากลงทุนปลูกมะเขือเทศ

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ต้องมีเงินลงทุน ประมาณ 30,000-40,000 บาท ต่อ 2 ไร่ เมล็ดพันธุ์ซองละ 800 บาท แล้วแต่ช่วง ช่วงหายากก็จะแพงหน่อย ประมาณ 750-800 บาท ซองหนึ่งได้ 2,000 ต้น แต่อย่างที่สวนคุณกิ๊ฟไม่ได้เพาะกล้าเอง คุณกิ๊ฟจ้างเพาะ อยู่ที่จะเอาถาดละกี่ต้น ถ้าเพาะถาดเล็กหลุมจะหนาได้ต้นเล็ก ราคาก็ไม่เท่ากัน

วางแผนการตลาดอย่างไร ไม่ให้สินค้าล้นตลาด

คุณกิ๊ฟ ใช้วิธีเดินหาตลาดเอง ติดต่อเอง ไปติดต่อที่ตลาดไท ส่งเจ้าเดียว มีเท่าไรเขาก็รับหมด แต่ต้องไปคุยกับเขาก่อน เพื่อที่เขาจะจัดตารางการปลูกให้ เพื่อที่ผลผลิตจะออกมาไม่ชนกับเจ้าอื่น ถ้าชนกันมากๆ ราคาจะถูก พูดง่ายๆ ว่าทำระบบนี้เราจะอยู่ได้ตลอด ราคาจะไม่ตกถึงขั้นที่อยู่ไม่ได้ ราคาส่งตลาดไท อยู่ที่กิโลกรัมละ 16 บาท คิดเป็นรายได้ออกมาถือว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน ไม่ต้องปลูกเป็น 100 ไร่ ก็อยู่ได้

สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจอยากปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้ คุณกิ๊ฟ หรือ คุณศิริขวัญ ดุเหว่าดำ ยินดีให้คำปรึกษา หรือจะไปเรียนรู้ถึงบ้านเลยก็ได้ ที่บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 19 บ้านโนนอารีย์ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

คุณพันธ์ศักดิ์ เผื่อนพงศ์ หรือ ครูเป้ แห่ง “บ้านสวนชวนชม-เมล่อน พิจิตร” เลขที่ 2 หมู่ที่ 6 บ้านยางคอยเกลือ ตำบลปากทาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (089) 702-6391, (084) 080-8152 อดีตข้าราชการครูเกษียณ ซึ่งถ้าในวงการปลูกเลี้ยงชวนชมคงรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะครูเป้ปลูกเลี้ยงชวนชมมานานกว่า 20 ปี สะสมชวนชมเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากวงการไม้ประดับก็จะมีกระแสเป็นบางช่วงเวลา ประกอบกับเรื่องของอายุที่มากขึ้น จึงมองหาพืชใหม่ที่ใช้พื้นที่น้อย แต่สร้างรายได้ งานไม่หนักมากนัก ก็มาลงตัวที่การปลูกเมล่อนในโรงเรือน

“เมล่อน” พืชอายุสั้น ที่สร้างรายได้ดี

คุณพันธ์ศักดิ์ เผื่อนพงศ์ หรือ ครูเป้ เล่าว่า สำหรับการปลูกเมล่อนก็ศึกษามาสักระยะหนึ่งก่อนจะตัดสินใจปลูก เพราะเห็นว่าเป็นพืชอายุสั้น เพียง 65-80 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้แล้ว ใช้พื้นที่น้อย ปลูกในโรงเรือนที่มีมุ้งตาข่าย ก็จะตัดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูได้ และประกอบกับราคาขายเมล่อนค่อนข้างดี เฉลี่ยขายกิโลกรัมละ 90-150 บาท (ซึ่งราคาจะอยู่กับราคาเมล็ดพันธุ์และกลุ่มลูกค้า) ที่สำคัญการทำงานไม่หนักสำหรับคนที่อายุมาก ซึ่งตอนนี้ก็ใช้แรงงานแค่คนในครอบครัว คือตัวเอง ภรรยา และบุตรชาย

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน แน่นอนที่สุด ต้นทุนสำคัญคือโรงเรือน

แม้ราคาโรงเรือนที่ลงทุนสูง ตัวอย่างของที่สร้าง ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 3 เมตร รวมอุปกรณ์หลังคาพลาสติก และมุ้งกันแมลง ราคาประมาณ 45,000 บาท แต่ถ้ารวมอุปกรณ์ระบบน้ำ เช่น ปั๊มน้ำ ทามเมอร์ตั้งเวลาการให้น้ำ สายน้ำหยด หัวน้ำหยดต่างๆ ก็จะตกอยู่ที่ 50,000 บาท ต่อโรงเรือน

คุณพันธ์ศักดิ์ เล่าว่า เป็นเงินลงทุนก้อนแรกที่อาจจะดูว่าสูง แต่ตัวเมล่อนเองก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะเวลาที่ไม่นานนัก ถ้าทำดีๆ ก็น่าจะคืนทุนเรื่องของโรงเรือนได้ในช่วงเวลา 1 ปีเท่านั้น ประกอบกับโรงเรือนนั้นมีอายุการใช้งานได้นานมาก ก็คิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ตอนนี้ก็มีทั้งหมด 3 โรงเรือน คาดว่าจะก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 2-3 โรงเรือน ให้ผลผลิตเมล่อนออกสู่ตลาดได้ต่อเนื่อง ซึ่งโรงเรือนตอนนี้ ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สามารถปลูกเมล่อนได้ราว 300 ต้น หรือจัดวางถุงปลูกได้ 300 ถุง

ผลผลิตที่ได้ ถ้าเป็นตัวเลขก็ต้องได้เมล่อน 300 ผล แต่ความเป็นจริงก็อาจจะเสียหายบ้างจากหลายๆ กรณี เช่น ไม่ติดผล ต้นตาย ในการปลูกเมล่อนแต่ละรุ่นก็น่าจะเฉลี่ยได้ผลผลิต ประมาณ 250-280 ผล น้ำหนักผลก็จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแล ซึ่งโดยเฉลี่ย เมล่อน 1 ผล ก็จะมีน้ำหนัก ราว 1.5-2 กิโลกรัม

อายุการเก็บเกี่ยวเมล่อน

ประมาณ 80 วัน ตั้งแต่เริ่มการเพาะเมล็ด

คุณพันธ์ศักดิ์ อธิบายว่า ขั้นตอนเริ่มต้นจากการเพาะเมล็ด แช่เมล็ดในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 1 น้ำปกติ 50 จะได้น้ำอุ่น) 1 วัน บ่มเมล็ดในภาชนะมีฝาปิดมิดชิด โดยใช้สำลีหรือกระดาษชำระรองก้นแล้วพรมน้ำให้ชุ่มชื้น ประมาณ 1-2 วัน จะมีรากอ่อนงอก ให้นำลงปลูกในวัสดุปลูกที่เตรียมไว้ เช่น พีทมอสส์ หรือมีเดีย ให้นำถาดเพาะเมล็ดไปไว้กลางแดด 100% ไม่ควรพรางแสง เพราะลำต้นจะยืดทำให้ไม่แข็งแรง ไม่ควรให้วัสดุปลูกแห้งเด็ดขาด ประมาณ 5-7 วัน ลำต้นอ่อนจะดันวัสดุปลูกขึ้นมา

ควรให้น้ำอย่าให้วัสดุปลูกแห้ง ก็จะประมาณ 10-15 วัน หรือประมาณ 2-3 ใบจริง อันนี้คงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ความพร้อมของต้นกล้าประกอบ แต่กล้าเมล่อนนั้นก็ไม่ควรเกิน 15 วัน ต้องย้ายปลูกให้หมด เนื่องจากธาตุอาหารในมีเดีย หรือวัสดุเพาะนั้นจะหมดแล้ว ในช่วงระยะเวลา 10-15 วันนั้น ก็ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของวัสดุปลูก ก็ประยุกต์ใช้จากวัสดุที่หาได้ง่าย มีแกลบดำ 1 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน คลุกเคล้าผสมวัสดุให้เข้ากัน กรอกวัสดุปลูกลงถุงปลูก ถุงก็เลือกใช้ถุงปลูกเมล่อนที่จะมีสีขาว ด้วยคุณสมบัติไม่ดูดความร้อนเหมือนถุงที่มีสีดำ จากนั้นย้ายถุงปลูกเข้าโรงเรือน นำถุงไปจัดเรียงในโรงเรือน วางสายน้ำไปตามถุงต่างๆ ตามระยะ ทดสอบระบบน้ำว่าน้ำไหลออกมาทุกหัวน้ำหรือเปล่า ถ้าหัวน้ำตันก็เปลี่ยนหรือทำความสะอาดให้เรียบร้อย เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะเข้าสู่การย้ายกล้าลงถุง ก่อนย้ายกล้า 1 วัน ก็จะเปิดน้ำให้ถุงปลูกมีความชื้นเสียก่อน ย้ายด้วยความประณีตและระมัดระวังให้กล้าบอบช้ำน้อยที่สุด จากนั้นเปิดให้น้ำปกติ

การให้ปุ๋ยเมล่อน

ก็จะแบ่งเป็นปุ๋ยที่ปล่อยไปพร้อมกับระบบน้ำ เพราะปุ๋ยที่นำมาใช้จะเป็นแม่ปุ๋ยที่ซื้อมาผสมใช้เอง เช่น การเจริญเติบโตช่วงแรกก็จะเน้นปุ๋ยสูตรที่มีสูตรตัวหน้าสูง (N) ช่วงสร้างดอกติดผลก็สูตรปุ๋ยที่มีสูตรตัวกลาง (P) และตัวท้ายสูง (K) ช่วงท้ายๆ คือใกล้เก็บเกี่ยวก็จะเน้นปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง (K) เพื่อเพิ่มความหวาน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจนักตอนนี้ก็จะมีปุ๋ยสำเร็จรูป ที่เขาเรียกกันว่า ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B ที่หาซื้อได้ทั่วไปในโลกออนไลน์ ก็สามารถใช้ได้ง่าย เนื่องจากปุ๋ยเหล่านี้ได้ผสมมาเพื่อใช้สำหรับการปลูกเมล่อน และปุ๋ยที่ฉีดพ่นให้ทางใบ

ยกตัวอย่าง ปุ๋ยที่ไปกับระบบน้ำ จะเริ่มต้นให้ปุ๋ยหลังปลูกลงถุงไปแล้วสัก 3 วัน เพื่อให้ต้นกล้าเมล่อนได้ตั้งตัว มีการสร้างรากใหม่เสียก่อน การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ จะใช้วิธีการสังเกตให้สอดคล้องกับระยะการเจริญเติบโต ช่วงแรกๆ ของการเจริญเติบโตก็จะให้ปุ๋ยแบบวันเว้นวัน จากนั้นก็จะขยับมาให้ปุ๋ยวันเว้นสองวัน ขยับมาให้ปุ๋ยวันเว้นสามวันในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ไม่มีสูตรตายตัวสำหรับการให้ปุ๋ย แต่การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ ก็ต้องมีการวัดค่าปุ๋ยด้วยเครื่อง EC มิเตอร์

การวางแผนการปลูก จะปลูกให้ห่างกัน โรงเรือนละ 15 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีหมุนเวียน ประกอบกับให้เราสามารถทำงานได้ทัน เนื่องจากเราใช้แรงงานในครอบครัวเท่านั้น มันก็จะมาสอดคล้องกับการใช้ทามเมอร์ตั้งเวลา ที่จะใช้ 1 ตัว ต่อ 1 โรงเรือน เพราะการให้ปุ๋ย ให้น้ำ ย่อมแตกต่างกันไปตามช่วงระยะของการเจริญเติบโต อย่างการให้น้ำก็ต้องดูสภาพดินฟ้าอากาศ อย่างหน้าร้อนต้องให้น้ำถี่ แต่ให้บ่อย หรือในหน้าฝนเมฆเยอะแดดไม่ค่อยมี ครึ้มทั้งวัน การให้น้ำก็ต้องไม่ถี่เนื่องจากจะชื้นแฉะเกินไป

เรื่องของแมลงศัตรูก็ยังไม่ค่อยมีมากนัก เป็นข้อดีของการปลูกเมล่อนในโรงเรือน ทำให้การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงเลยไม่ได้ใช้เลย เนื่องจากเป็นการเลือกใช้ตาข่ายหรือมุ้งกันแมลงที่มีรูขนาดเล็ก แมลงศัตรู เช่น หนอน เต่าแตง เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เป็นต้น ไม่สามารถเข้ามาในโรงเรือนเมล่อนได้ มุ้งกันแมลงเลือกใช้ความละเอียด 40 ตา

พอต้นเมล่อนมีใบจริง 4-6 ใบ ก็จะเริ่มจับต้นมัดกับเชือกไนล่อน ให้ต้นตั้งตรง งานก็ดูแลต้นเมล่อนไปตามปกติ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ดูหัวน้ำไม่ให้อุดตัน เด็ดแขนงข้างไปเรื่อยๆ โดยจะเริ่มปล่อยแขนงให้เจริญตั้งแต่ ข้อที่ 9 เป็นต้นไป เพราะแขนงเหล่านั้นจะมีหน้าที่ออกดอกเป็นดอกตัวเมีย (ส่วนดอกตัวผู้จะออกดอกบริเวณโคนก้านใบตามลำต้นหลัก) เมื่อได้รับละอองเกสรโดยการที่มนุษย์ช่วยผสม (ในโรงเรือนจะไม่มีแมลงมาช่วยผสมตามธรรมชาติ) ถ้าช่วยผสมดอกดี เมล่อนก็จะติดผลสมบูรณ์หลังจากช่วยผสมเกสรเพียง 3-5 วัน

ฉะนั้น เราต้องช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียที่อยู่ตามแขนง ตั้งแต่ ข้อที่ 9 ขึ้นไป ทุกๆ วัน ทุกๆ แขนงที่ดอกตัวเมียบานในช่วงเวลาครึ่งวันเช้า จนกว่าจะได้ผลเมล่อนขนาดเล็กประมาณลูกปิงปองถึงไข่ไก่ 2-3 ผล เพื่อเอาไว้คัดเลือก ผลเมล่อนที่สวนและสมบูรณ์ที่สุดไว้เพียง 1 ผล ต่อต้น เท่านั้น ซึ่งการช่วยผสมดอกนั้นควรจะผสมในช่วงเวลาเช้า 06.00-10.00 น. เนื่องจากดอกเมล่อนจะบานในช่วงเวลาเช้า เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้วดอกตัวเมียจะไม่ค่อยรับการผสมจากดอกตัวผู้แล้ว และดอกตัวเมียจะบานอยู่แค่วันเดียวเท่านั้น

หลังจากย้ายปลูก ประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มมีดอกตัวเมียบานที่กิ่งแขนง การผสมก็ทำได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาแล้วเด็ดกลีบดอกทิ้งไป นำไปแต้มให้ทั่วดอกตัวเมียที่บานในวันนั้นๆ แต่ส่วนตัวนั้น ถนัดการใช้พู่กันเขี่ยเอาละอองเกสรตัวผู้ที่จะมีสีเหลืองๆ แล้วมาแต้มดอกตัวเมียที่บานในเช้านั้นๆ การใช้พู่กันทำให้สามารถแต้มดอกตัวเมียในพื้นที่จำกัดได้ดี หลังผสมเกสรดอกนั้นๆ เสร็จแล้วก็ควรจะตัดปลายยอดของแขนงนั้นออกสัก 1 ข้อใบ หรือสัก 1 นิ้ว จากความยาวของปลายยอดแขนง เพื่อเป็นการทำสัญลักษณ์เอาไว้ว่า ได้ผสมไปแล้ว และหยุดการเจริญของปลายยอดแขนงเอาไว้ด้วยไม่ให้ไหลยืดยาวไปพันต้นอื่นๆ

หลังการคัดเลือกผลเมล่อนไว้ 1 ผล ต่อต้น Royal Online V2 ได้แล้ว ก็จะเด็ดตัดแขนงที่ปล่อยไว้ก่อนหน้านี้ออกทั้งหมด แล้วทยอยจับผลแขวนด้วยเชือกฟาง การแขวนผลนั้นเพื่อช่วยรับน้ำหนักผลเมล่อนที่จะโตค่อนข้างเร็ว เมื่อนับใบเมล่อนมีใบที่สมบูรณ์ อย่างน้อย 15 ใบ ขึ้นไป ดูว่าสามารถเลี้ยงผลได้ดี ก็จะตัดปลายยอดทิ้งไป เพื่อให้อาหารทั้งหมดถูกส่งมาเลี้ยงที่ผลมากที่สุด

สายพันธุ์เมล่อนที่เลือกปลูก

สายพันธุ์พื้นฐานที่นิยมปลูก เช่น สายพันธุ์ “เลดี้กรีน” เนื้อในสีเขียวหยก เปลือกผิวเป็นตาข่าย รสชาติหวาน หอม และ “เลดี้โกลด์” เนื้อในสีส้ม เปลือกผิวเป็นตาข่าย รสชาติหวาน หอม ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ได้พัฒนาพันธุ์มาให้เหมาะกับบ้านเราแล้ว ราคาเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยก็ประมาณ 3 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพงมาก แต่ถ้านำเมล็ดนำเข้าสายพันธุ์แท้มาปลูก ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ราคาเมล็ดตั้งแต่ 20-100 บาทขึ้นไป ก็จะเป็นต้นทุนที่สูงมาก การขายก็ต้องมีราคาที่สูง คนซื้อก็จะซื้อยากขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าเราจะเน้นการขายในพื้นที่เป็นหลัก และมีการจัดส่งทางไปรษณีย์หรือขนส่งเอกชน