นอกจากนี้ เบทาโกร ยังมีแผนที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์และออก

สินค้าใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เน้นสินค้าสุขภาพและรสชาติอร่อยสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเบทาโกรมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทดสอบความน่ากินก่อนสินค้าออกสู่ตลาด เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า และการเข้าถึงลูกค้า ผู้บริโภคผ่าน โซเชียล มีเดีย ทาง Application “PET ENJOY”

สำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งใหม่นี้ ใช้งบลงทุน 1,200 ล้านบาท มีพื้นที่ 46 ไร่ กำลังผลิต 11,200 ตันต่อเดือน โดยในเฟสแรกเริ่มที่ 4,000 ตันต่อเดือน ผลิตอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด (Dry Pet Food) และขนม ขบเคี้ยวสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Snack) สุนัขและแมว ภายใต้แบรนด์ ด็อก เอ็นจอย (Dog’n joy) แค็ท เอ็นจอย (Cat’n joy) เพอร์เฟคต้า (Perfecta) และบิงโกสตาร์ (Bingo Star) เพื่อจำหน่ายในประเทศให้กับ ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Shop) คลินิก/โรงพยาบาลสัตว์ (Vet Clinic) โมเดิร์น เทรด (Modern Trade) ลูกค้าฟาร์มสัตว์เลี้ยง (Pet Farm) และรับจ้างผลิต รวมถึงส่งออกไปขายในยุโรป ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่ม AEC ฯลฯ ใช้ระบบบริหารคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ได้แก่ ระบบ BRC มาตรฐานของยุโรป, GMP, HACCP, ISO9001: 2015, ISO14001: 2015, OHSAS18001: 2007 เป็นบริษัทลำดับแรกๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Sushi Berish สามารถส่งออกไปขายในกลุ่มประเทศมุสลิมได้ รวมถึงเป็น 1 ใน 4 ของผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ที่ได้รับเครื่องหมาย ไทยแลนด์ ทรัสต์ มาร์ก จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล เดินหน้าโครงการอุบลโมเดลต่อเนื่อง จัดงาน “ประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดล” ครั้งที่ 3 มีเกษตรกรร่วมงานคับคั่งกว่า 500 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบอุบลโมเดลรู้จักดิน รู้จักปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรกร 4.0 “ทำน้อย แต่ได้มาก”

เมื่อเร็วๆนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี สานพลัง ประชารัฐร่วมกันจัดงาน ประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดลครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง (อุบลโมเดล) ปี 2560 / 2561 ภายใต้แนวคิด “ชาวไร่มัน 4.0 รู้ดิน รู้ปุ๋ย ลดต้นทุน” โดยมีนางสาวเบญจพร ชาครานนท์ รองอธิบดีด้านบริหาร กรมพัฒนาที่ดิน เป็นประธานเปิดงาน พร้อมคณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร นายสรชาย ครองยุทธ รักษาการนายอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมต้อนรับ พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการและนายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล โดยมีเกษตรกรกว่า 500 ราย จากพื้นที่เป้าหมาย 4 ตำบลของอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ตำบลนาเยีย ตำบลนาดี ตำบลนาเรือง และตำบลนาจาน เข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ รองอธิบดีด้านบริหาร กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ภายใต้แนวคิด ของการจัดงาน “ประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดล” นอกจากความรู้เรื่องดิน รู้ปุ๋ยแล้ว เกษตรกรยังต้องรู้พืช และรู้จักตัวเอง จึงจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างแท้จริง ซึ่งการรู้จักพืชนั้นตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดโซนนิ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการเกษตร โดยเกษตรกรต้องปรับตัวไปพร้อมกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเกษตรกร 4.0 คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ จะต้องทำน้อยแต่ได้มาก

“โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง หรืออุบลโมเดล เป็นโครงการประชารัฐที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีได้มากขึ้น การเข้าถึงเทคโนโลยีจะช่วยลดความเสี่ยงในการทำการเกษตรให้น้อยลง และการทำการเกษตรในยุค 4.0 เกษตรกรจะต้องรู้เรื่องดิน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต การรู้ดินคือการรู้ธาตุอาหารในดิน โดยใช้การเก็บดินและวิเคราะห์ดินตามหลักวิชาการของกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมกันนี้การปลูกพืชทุกชนิดโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจต้องใส่ปุ๋ยบำรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต การใส่ปุ๋ยเกินความต้องการของดินจึงเป็นการเพิ่มต้นทุนและไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช การจะไปให้ถึงประเทศไทย 4.0 นั้นก็คือว่า เกษตรกรต้องเหนื่อยน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น สบายขึ้นและมีรายได้มากขึ้น สุดท้ายเกษตรกรจะต้องรู้สึกภาคภูมิใจว่าตัวเองคือเกษตรกรของประเทศไทย สามารถผลิตอาหารผลิตพืชพลังงานให้กับประชาชนชาวไทย และประชากรโลก” รองอธิบดีด้านบริหาร กรมพัฒนาที่ดินกล่าว

ทางด้านนายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอลได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รวมพลังรวมแรง ประชารัฐ พัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ภายใต้แนวคิดชาวไร่มัน 4.0 รู้ดิน รู้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ทั้งยังภาคภูมิใจที่ได้สร้างเกษตรกรต้นแบบสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้สูงถึง 8 ตันต่อไร่

“เกษตรกรต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการฯ ปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตมากกว่า 8 ตันต่อไร่ขึ้นไปทั้งหมด โดยใช้เทคโนโลยีและหลักการที่เป็นองค์ความรู้จากทางราชการที่สอนให้ ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ใช้เอง ใช้สาร พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้จริงและเกิดผลประโยชน์จริง เกษตรกรมีความสุข เกิดเป็นรายได้หลักที่ไม่ใช่เป็นพียงรายได้เสริมอีกต่อไป เป็นความภาคภูมิใจที่กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอลได้มีส่วนร่วมในโครงการอุบลโมเดลมาตลอด แต่ก็ยังมีเป้าหมายที่สำคัญกว่านี้ ไม่ใช่แค่สร้างเกษตรกรต้นแบบขึ้นมา ต้องมีการขยายผลจากเกษตรกรต้นแบบไปเป็นสมาชิกและเป็นลูกข่ายต่อไป เพื่อทำให้เกษตรกรทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายเดชพนต์กล่าว

งานประชารัฐ พัฒนาชาวไร่มันฯ ขยันแบบอุบลโมเดล จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 โดยปีนี้เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 4 ตำบลหลักของอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี เกษตรกรทั้งหมดจะได้รับการอบรมสาธิตเชิงปฏิบัติการ ผ่านฐานการเรียนรู้ทั้งหมด 7 ฐานการเรียนรู้ คือ ฐานที่ 1 นิทรรศการบูรณาการ ประกอบด้วย 3 ฐานย่อย 1.1 เรื่องทรัพยากรดิน และการจัดการดิน โดย สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 1.2 เรื่องเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง โดย ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 1.3 เรื่องการแปรรูปมันสำปะหลัง โดย กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ฐานที่ 2 ฐานการเก็บตัวอย่างดิน โดย อาจารย์อัธยะ พินจงสกุลดิษฐ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านวินิจฉัยคุณภาพและกำลังผลิตของดิน ฐานที่ 3 ฐานวิเคราะห์ดิน โดย อาจารย์สุรเชษฐ์ นาราภัทร์

นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ จากกรมพัฒนาที่ดิน ฐานที่ 4 ฐานผสมปุ๋ย โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ฐานที่ 5 ฐานอารักขาพืช โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ฐานที่ 6 ฐานเครื่องจักรกลทางการเกษตร และฐานที่ 7 ตลาดนัดสินค้าชุมชน โดย สหกรณ์การเกษตรนาเยีย จำกัด

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล มีกำลังการผลิตเอทานอลวันละ 400,000 ลิตรต่อวัน และมีกำลังการผลิตแป้งมันสำปะหลัง 700 ตันแป้งต่อวัน โดยมีความต้องการมันสด 4,000 ตันต่อวัน และมันเส้น 1,200 ตันต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตันต่อปี และยังมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยมีการจัดเตรียมเทคโนโลยีการผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งได้ลงทุนเทคโนโลยีด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายรับผิดชอบต่อสังคม และมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมมันสำปะหลังเป็นฐานการสร้างเศรษฐกิจด้านพลังงานทดแทนที่มั่นคง และนำความสุขมาสู่สังคมอย่างยั่งยืน

คลังลุยอุ้มคนแก่มีรายได้หลังเกษียณ 50% เผย รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายประกันสังคม เพิ่มเงินสมทบจาก 5% เป็น 10% พร้อมหนุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ หวังแก้ปัญหางบฯ รัฐต้องบานกว่า 7 แสนล้าน ภายใน 15 ปี

นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ระบบบำนาญและการลงทุนเป็นเรื่องท้าทายของประเทศไทย เนื่องจากก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว หากไม่เตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ภาระงบประมาณการดูแลผู้สูงอายุ 15 ปีข้างหน้า สูงถึง 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะทำให้คนไทยมีเงินบำนาญหลังเกษียณไม่น้อยกว่า 50% ของรายได้สุดท้ายก่อนเกษียณ จะทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอการดำรงชีวิต

ระบบบำนาญของไทยมีหลายแบบ ตั้งแต่ กองทุนบำเหน็ญบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นกองทุนภาคบังคับของข้าราชการ ซึ่งมีการดำเนินงานที่ดีทำให้สมาชิกมีรายได้หลังเกษียณสูงถึง 70% อย่างไรก็ตาม คลังได้พิจารณาแก้กฎหมาย กบข. ให้ตั้งหน่วยงาน หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) รับจ้างบริหารเงินกองทุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกของ กบข. มากขึ้น

นายสมชัย กล่าวอีกว่า การแก้ไขกฎหมาย กบข. ได้รับความเห็นชอบจาก นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว. คลัง ส่วนหนึ่งก็เพื่อรองรับให้ กบข. ไปบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมาย คาดว่าจะผ่านการพิจารณาของ สนช. ในปีนี้ และมีผลบังคับ มกราคม 2561 เป็นต้น

สำหรับ กบช. จะเป็นการออมภาคบังคับของแรงงานภาคเอกชน โดยให้ผู้ประกอบการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงาน จากเดิมที่เป็นกองทุนภาคสมัครใจ ซึ่งจะทำให้แรงงานเอกชนมีรายได้หลังเกษียณจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนประกันสังคม รวมกันได้ไม่น้อยกว่า 50%

ในส่วนของกองทุนประกันสังคม ปัจจุบัน มีสมาชิกสะสมเงินน้อย ทำให้มีรายได้หลังเกษียณต่ำเพียง 20% ของรายได้ก่อนเกษียณ ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย ให้มีการส่งเงินสมทบเพิ่มมากขึ้น จาก 5% เป็น 10% และขยายอายุเกษียณ จาก 55 ปี เป็น 60 ปี รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน จะส่งผลให้กองทุนมีรายได้จ่ายสมาชิกหลังเกษียณมากขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะแก้ไขกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้สมาชิกแรงงานนอกระบบ รวมถึงรัฐบาลส่งเงินสมทบได้มากขึ้น เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้ามาอยู่ระบบบำนาญให้มากขึ้น

ที่จังหวัดตรัง เวลา 07.30น.วันที่ 28 มีนาคม นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ให้สัมภาษณ์ถึงการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงว่า ปัจจุบันพืชสมุนไพร ได้รับความนิยมจากประชาชนที่หันมาอาศัยสมุนไพรในการรักษาสุขภาพและรักษาโรคกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังนิยมรับประทานพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษอีกด้วย

ดังนั้นในชุมชนเองก็หันมาจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพ เช่นชุมชนบ้านเขาโหรง หมู่ 2 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรังจัดตั้งโรงอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านเขาโหรง หมู่ที่ 12 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ใช้เพื่อสร้างสุขภาพ วัตถุดิบที่ใช้มาจากการปลูกของชาวบ้านในพื้นที่ โดยที่ชาวบ้านเข้าร่วมหุ้น 40 ครัวเรือน บริการอบสมุนไพรให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวครั้งละ 50 บาท

กิจกรรมนี้เป็นไปตามงบประมาณเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยคณะกรรมการโรงอบสมุนไพรบ้านเขาโหรงเป็นผู้บริหารจัดการ นอกจากนี้ชาวบ้าน ต.วังคีรี อ.ห้วยยอด เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่จัดให้มีกิจกรรม ฟื้นฟูส่งเสริมวัฒนธรรมข้าว และวิถีชีวิตชาวนาในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (Agriculture Tour) จัดให้มีกิจกรรมสมโภชแม่โพสพ การแข่งขันนวดข้าว การฝัดข้าว การตำข้าวด้วยครก การสาธิตการทำข้าวหลาม การตำข้าวเม่า การทุบข้าวเม่า การสีข้าวด้วยครกสีโบราณ การมอบเครื่องสีข้าวให้โรงเรียน 3 โรงการหว่านเมล็ดปอเทืองบำรุงดิน การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผลงานของกลุ่มเกษตรกร

“ที่ผ่านมาผมเชิญชวนข้าราชการ เกษตรกร คนรักนา และประชาชนคนกินข้าวหลากหลายสาขาร่วมกันเกี่ยวข้าวหอมปทุมในพื้นที่ 14 ไร่ ซึ่งได้ทำในพื้นที่นาที่ทิ้งร้างมาหลายปี ใน ต.นาพละ อ.เมือง จ.ตรัง ด้วยการถวายข้าวเปลือกในกิจกรรมก่อเจดีย์ข้าวเปลือกให้กับวัดหัวเขา ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง และฟื้นฟูการสีข้าวด้วยครกสี การตำข้าวเม่า การทำขวัญข้าวบูชาพระแม่โพสพ การชิมข้าวใหม่หลายสายพันธุ์ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น กิจกรรมรื่นเริงดนตรีเพื่อชีวิต ผลจากการชวนคนกินข้าวลงนาครั้งนี้คาดว่าจะทำให้เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และเยาวชนหันมาสนใจการทำนาเพื่อกินและขายกันมากขึ้น” นายสายัณห์ กล่าว

เปิดแผนน้ำ-ไฟฟ้าป้อน EEC หวั่นวิตกน้ำขาดแคลน กรมชลฯยัน 5 ปีมีน้ำพอใช้แน่ เพิ่มความจุ-สร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ เผยอีก 10 ปีต้องผันน้ำจากเขื่อนสตรึงนัม เขมรมาใช้ ส่วนภาคตะวันออก กฟผ.เตรียมโรงไฟฟ้าใหม่อีก 6,500 MW แต่ปัญหาปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะไม่เพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้า

น้ำ และไฟฟ้า ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการผลักดันโครงการหลักเร่งด่วน 5 อันดับแรก ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง, ท่าเรือแหลมฉบัง, สนามบินอู่ตะเภา, อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วน/อิเล็กทรอนิกส์/หุ่นยนต์ และการขยายเมือง/สร้างเมืองใหม่ ซึ่งถูกเร่งรัดให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.)เป็นผู้อนุมัติ แต่ความต้องการใช้น้ำและไฟฟ้าในพื้นที่EEC กลับไม่มีอยู่ในแผนฉบับปัจจุบัน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ครศ.) กล่าวกับ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ครศ.ได้ประสานไปยังกรมชลประทาน เพื่อหารือถึงปริมาณน้ำที่ใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะ ความกังวลที่เกิดขึ้นในอนาคตสำหรับพื้นที่ เขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) หากมีภาคอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก เบื้องต้นได้มอบหมายกรมชลประทาน ให้กรอบเวลา 3 เดือนในการจัดทำ แผนบริหารจัดการน้ำ หรือ แผนสำรองน้ำ ระยะสั้น 1 ปีเอาไว้ก่อน

“แผนระยะ 1 ปีจะประกอบไปด้วย ระบบการวางท่อ การซ่อมแซมเส้นทางท่อเก่าที่สูบน้ำมาจากแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมถึงเส้นทางท่อหลักที่จะสูบน้ำจากปากแม่น้ำประแสร์ อ.แกลง จ.ระยอง ต่อจากนั้นจึงจะจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำระยะยาวต่อไป อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในภาคตะวันออกขณะนี้ประเมินแล้วว่า ยังคงเพียงพอกับการใช้ในพื้นที่ EEC ถึง 5 ปีแน่นอน” นายคณิศกล่าว

ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความวิตกกังวลในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง จะขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรงแม้จะไม่มี EEC ใน 5 ปีข้างหน้าว่า ปัจจุบัน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งน้ำดิบพอเพียง โดยอ่างมีความจุกักเก็บ 464 ล้านลบ.ม. และมีความต้องการใช้ในการเกษตร อุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศพอดี

ขณะที่ จังหวัดชลบุรี อ่างมีความจุกักเก็บ 215 ล้านลบ.ม. แต่มีน้ำไหลเข้าอ่างปีละ 130-133 ล้านลบ.ม. โดยปีที่ผ่านมากรมชลประทานต้องสูบน้ำผ่านระบบท่อจากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปอ่างบางพระ ชลบุรี ปริมาณ 60 ล้านลบ.ม. ส่วนบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกจำกัด (มหาชน) หรือ East Water สูบจากเขื่อนบางปะกงไปอ่างบางพระอีก 45 ล้านลบ.ม.และยังมีการดึงน้ำจากเขื่อนประแสร์และอ่างคลองใหญ่ จังหวัดระยอง อีก 70 ล้านลบ.ม.มาเสริม ส่วนจังหวัดระยองอ่างมีความจุ 580 ล้านลบ.ม. น้ำไหลเข้าอ่าง 652 ล้านลบ.ม. แต่ความต้องการน้ำเริ่มมากขึ้น คาดว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้าปริมาณน้ำของระยองจะตึงตัวมาก

“ความต้องการน้ำใน 3 จังหวัดดังกล่าวที่ไม่รวมภาคเกษตรปี 2560 มีความต้องการน้ำในภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและการป้อนผู้อยู่อาศัยปริมาณ 362 ล้านลบ.ม. คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้าหรือปี 2579 กรณีไม่มี EEC เกิดขึ้นจะมีการใช้น้ำ 570 ล้านลบ.ม. แต่ถ้ามีโครงการ EEC เกิดขึ้นก็จะต้องใช้น้ำถึง 1,000 ล้านลบ.ม” ดร.สมเกียรติกล่าว

เพิ่มความจุ-สร้างอ่างใหม่

เมื่อสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกเป็นอย่างนี้ กรมชลประทาน somosche.com จึงจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนการพัฒนา EEC โดยกรมชลประทานจะเป็นจัดหาน้ำต้นทุน ขณะที่ East Water/การประปาส่วนภูมิภาค/ท้องถิ่นเป็นผู้ใช้น้ำ ด้วยการ 1)ปรับปรุงแหล่งน้ำดิบ/พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 2)เชื่อมโยงแหล่งน้ำระบบผันน้ำ 3)ทำแก้มลิง/อ่างนา 4)ป้องกันน้ำท่วม และ 5)บริหารจัดการแหล่งน้ำต่าง ๆ แบ่งการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 2 ช่วง

ในระยะแรก 5 ปีแรก จะต้องสร้างโครงการกักเก็บน้ำขนาดเล็กขนาดกลางรับมือก่อน โดยเพิ่มความจุกักเก็บน้ำอ่างหนองปลาไหลอีก 23 ล้านลบ.ม., การสูบน้ำย้อนกลับจากคลองสะพานขึ้นไปเก็บไว้ที่เขื่อนประแสร์ที่เพิ่มความจุไปล่าสุดอีก 47 ล้านลบ.ม.เป็น 295 ล้านลบ.ม.อีก 10 ล้านลบ.ม., การเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่อีก 10 ล้านลบ.ม. กับ อ่างเก็บน้ำดอกกรายอีก 10 ล้านลบ.ม. รวมทั้งผันน้ำท้ายอ่างคลองสียัดและอ่างคลองระบม ฉะเชิงเทรา ที่มีพื้นที่น้ำท่ามากเข้าสู่ระบบคลองอีกปีละ 21 ล้านลบ.ม.

นอกจากนี้ กรมชลประทาน กำลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำอีก 4 แห่งที่ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำประแกด ความจุ 60.2 ล้านลบ.ม. สร้างไปแล้ว 90%, อ่างพะวาใหญ่ความจุ 68.1 ล้านลบ.ม., อ่างคลองแก่งหางแมวความจุ 80.7 ล้านลบ.ม. และอ่างคลองวังโตนดความจุ 99.5 ล้านลบ.ม. รวมเป็น 308.5 ล้านลบ.ม. หรือมากกว่าเขื่อนประแสร์ จากนั้นน้ำจะไหลมารวมกันที่สถานีสูบน้ำฝายวังใหม่เพื่อส่งน้ำบางส่วนไปเก็บที่เขื่อนประแสร์ต่อไป “ในระยะ 10 ปีข้างหน้านี้หากดำเนินการตามแผนข้างต้นสถานการณ์น้ำในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ค่อนข้างปลอดภัย”

ระยะยาวต้องผันน้ำจากเขมร

แต่หลังจาก 10 ปีต่อไปมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาน้ำมาเพิ่มให้กับภาคตะวันออก โดยความเป็นไปได้ในขณะนี้ก็คือ การเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำสตึงมนัม ขนาดความจุ 1,200 ล้าน ลบ.ม. โดยนำน้ำต่อท่อเข้ามาในฝั่งไทยบริเวณจังหวัดตราดตอนล่างและผันน้ำต่อมาทางท่อเข้าสู่ อ.แกลง จ.ระยองต่อไป

หวั่นก๊าซไม่พอป้อนโรงไฟฟ้า

สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ EEC นั้น นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออกในปัจจุบันสามารถรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นได้แน่นอน แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงานค่อนข้างกังวลก็คือ ปริมาณก๊าซธรรมชาติ ที่จะมารองรับโรงไฟฟ้าในอนาคตจะเพียงพอหรือไม่ ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออกใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยเป็นหลักโดยเฉพาะจาก แหล่งบงกช-เอราวัณ จากเดิมที่มีกำลังผลิตอยู่ที่ระดับ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันนั้น ขณะนี้มีแนวโน้มว่าการผลิตก๊าซจากทั้ง 2 แหล่งจะลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้มาอยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศ์ฟุต/วันเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ สนพ.รอการยืนยันจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติว่า ทั้งแหล่งบงกชและเอราวัณจะยืนระดับการผลิตอยู่ที่ระดับใด ในกรณีที่ลดลงต่อเนื่องก็จะต้องวางแผนในการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มารองรับการใช้ที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ EEC ได้

ด้าน นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลาง-ภาคตะวันออกในปัจจุบันจะรองรับการใช้ได้ในช่วง 4-5 ปีต่อจากนี้ ส่วนความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออกจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งเบื้องต้นได้มีการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าวไปถึง 10 ปี ข้างหน้าแล้วและมีโรงไฟฟ้าใหม่ที่เตรียมผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในสัดส่วนของ กฟผ.มีรวมทั้งสิ้น 6,500 MW เช่น โรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทน เครื่องที่ 1-2 รวม 1,300 MW โรงไฟฟ้าบางปะกงส่วนทดแทนเครื่องที่ 1-2 รวม 1,300 MW ในส่วนของกำลังผลิตใหม่ที่จะมาจากเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) ของบริษัทในเครือกัลฟ์ เจพี รวมทั้งสิ้น 5,000 MW ก็จะทยอยเข้าระบบตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 2567