นอกจากปลูกไม้ผลที่มีคุณภาพแล้ว ทางสวนรุ้งตะวันยังเปิด

เป็นศูนย์เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การปลูกไม้ผล, เกษตรทฤษฎีใหม่ที่เรียนรู้เรื่องการปลูกพืชอายุสั้น, โครงการครึ่งไร่คลายจน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าการมีอาชีพเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากก็ประสบความสำเร็จได้ดีเช่นกัน อีกทั้งยังมีแผนที่จะจัดทำสวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเปิดโอกาสให้คนภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชม เรียนรู้ รวมถึงยังช่วยกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่อำเภอระโนดด้วย

“หากเกษตรกรหันมาปลูกพืชแนวทางทฤษฎีใหม่ด้วยการใช้พื้นที่จำกัดที่เป็นพืชอายุสั้นจะช่วยให้มีรายได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง เนื่องจากควรจะเริ่มต้นปลูกพืชด้วยการเรียนรู้ ทำความรู้จักพืชให้ถ่องแท้เสียก่อน เมื่อเข้าใจธรรมชาติของพืชอย่างดีแล้ว จึงค่อยขยับไปสู่ไม้ผล หรือไม้ชนิดอื่นที่มีความยากมากกว่าเป็นลำดับต่อไป” เจ้าของสวนรุ้งตะวันกล่าว

เกษตรระโนด ออกปาก สร้างชื่อเสียงให้อำเภอ

ขณะเดียวกันทางสำนักงานเกษตรอำเภอระโนด นำทีมโดย คุณสมจิต แดงเอียด เกษตรอำเภอ พร้อมทีมงานนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ คุณสมศรี เชยชม คุณวาสนา เฉิดฉิ้ม และ คุณวิไลลักษณ์ สุขขะ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมเยียนสวนรุ้งตะวันของคุณแป๋วในครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวว่าอาชีพเกษตรกรรมหลักของชาวบ้านที่ระโนดคือการทำนา เป็นการปลูกข้าวพันธุ์ กข สามารถทำได้ปีละ 2 ครั้ง เพราะมีระบบชลประทานที่สมบูรณ์ ขณะเดียวกันแนวทางและวิธีการปลูกข้าวของชาวบ้านที่ระโนดมีเทคโนโลยีและการจัดการผสมผสานกับภูมิปัญญา จึงทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพดีเทียบเท่ากับทางภาคกลาง เฉลี่ย 800-900 กิโลกรัม ต่อไร่

ส่วนไม้ผลแต่เดิมไม่ค่อยมีอะไรโดดเด่น เพิ่งมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้ไม่นานกับชมพู่ทับทิมจันท์ และฝรั่งแป้นสีทอง จากความสามารถของสวนรุ้งตะวันแห่งนี้ นอกจากนั้น ชาวบ้านในอำเภออื่นยังนำมะพร้าว กล้วยหอมทอง มาปลูกด้วย สำหรับผักสวนครัวก็มีความโดดเด่น อย่าง พริกเขียวมัน ที่ทำรายได้อย่างดีให้แก่ชาวบ้าน เพราะสามารถขายแบบผลสดและส่งแปรรูป จึงทำให้ชาวบ้านบางรายปรับที่นาเพื่อยกร่องปลูกพริกและพืชสวนครัวชนิดอื่นกัน

“หรือแม้แต่มะเขือเทศและผักสมุนไพรพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมจากตลาดสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันมีชาวบ้านประเภทหัวไวใจสู้ได้นำพันธุ์ส้มโอทับทิมสยามมาทดลองปลูกกว่า 500 ต้น คาดว่าน่าจะประสบความสำเร็จ แล้วน่าจะเป็นไม้ผลชนิดใหม่อีกตัว” เกษตรอำเภอระโนดกล่าว

คุณรุ้งตะวัน ช้างสาร นับเป็นตัวอย่างของบทสรุปแห่งความสำเร็จว่า ผลไม้ทางภาคกลางสามารถนำมาปลูกทางภาคใต้อย่างสบาย ขอเพียงแต่ให้เข้าใจธรรมชาติและความเป็นไปของพืชแต่ละชนิดอย่างถ่องแท้

สนใจสั่งซื้อผลไม้จากสวนรุ้งตะวัน หรือต้องการเข้าเยี่ยมชม ติดต่อ คุณแป๋ว หรือ คุณรุ้งตะวัน ช้างสาร ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา กระแสการรักสุขภาพเป็นเรื่องที่คนไทยให้ความสนใจและหันมาตื่นตัวดำเนินชีวิตใหม่ ปรับวิธีการรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ที่ย่อยง่าย สินค้าขายดีติดลมบน และขายได้ราคาสูง คือ พืชผักที่ปลูกดูแลในระบบเกษตรปลอดภัย พืชผักอินทรีย์ รวมทั้งพืชผักสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักโมโรเฮยะ มีคุณค่าสารอาหารสูง เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก

“ ฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ออร์แกนิค ฟาร์ม “ ซึ่งเป็นฟาร์มผักปลอดสารพิษใกล้บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้นำเข้าเมล็ดผักโมโรเฮยะมาจากประเทศอียิปต์ ในราคาก.ก.ละ 10,000 บาท ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี ปลูกผักโมโรเฮยะส่งขายทั้งในประเทศและส่งออก โกยรายได้กว่าปีละ 100 ล้านบาททีเดียว

รู้จัก “ ผักโมโรเฮยะ ”

ผักโมโรเฮยะ ได้ชื่อว่า เป็นผักของพระราชา ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เนื่องจากเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ เส้นใยรวมอยู่มาก โดยเฉพาะ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน แคลเซียม วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารรวมอยู่มาก ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคผักโมโรเฮยะกันอย่างแพร่หลาย โดยนำมาแปรรูปเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เช่น ซุปผัก หรือนำผักมาบดเป็นผง เพื่อเป็นวัตถุดิบปรุงแต่งในอาหาร เช่น บะหมี่ผักโมโรเฮยะ คุกกี้ ขนมปัง ฯลฯ

มองดูผิวเผิน ต้นโมโรเฮยะ ก็มีลักษณะคล้ายกับต้นกระเพรา แต่ความจริงแล้ว พืชชนิดนี้ อยู่ในกลุ่มเดียวกับต้นปอกระเจา โดยทั่วไป ต้นปอกระเจาสามารถนำมาใช้ทำอาหารได้ทั้งชนิดฝักกลมและฝักยาว ปอกระเจาฝักกลมมีรสขม ต้องลวกน้ำเกลือก่อนนำไปผัดกับกระเทียม สำหรับผักโมโรเฮยะ เป็นพันธุ์ “ ปอกระเจาฝักยาว “ นั่นเอง ปอชนิดนี้นิยมนำยอดอ่อนมาประกอบอาหารเพราะใบมีรสหวาน

ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้เคยศึกษาการผลิตผักโมโรเฮยะในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ผักโมโรเฮยะ เป็นพืชในตระกูลปอกระเจากินใบ มีลักษณะคล้ายปอกระเจาฝักขาว แต่มีขนาดใบ ดอก และเมล็ดเล็กว่าพันธุ์ปอกระเจา ที่ปลูกทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผักโมโรเฮยะ เหมาะสำหรับปลูกเป็นพืชผักสวนครัว ฤดูปลูกที่เหมาะสมตั้งแต่เดือน เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ถ้าปลูกก่อนหรือหลังช่วงนี้ ต้นปอจะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นน้อย ออกดอกเร็ว ใบเล็กและจะให้ผลผลิตต่ำ ปอชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายจนถึงดินร่วนเหนียว วิธีการปลูกเหมือนกับการปลูกปอกระเจาพันธุ์อื่น คือ ปลูกเป็นหลุม มีระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร แต่ละหลุมมี 3-5 ต้น หลังจากเมล็ดงอกภายใน 2 สัปดาห์

ลักษณะทั่วไปของผักโมโรเฮยะคือ ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งมาก ไม่มีหนาม ใบสีเขียว ยาวรีคล้ายใบกระเพรา ออกดอกเมื่ออายุ 70-80 วัน เจริญเติบโตเร็วและแตกกิ่งมากกว่าปอกระเจาพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ผักโมโรเฮยะถือเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ เพราะสารอาหารประเภทเบต้าแคโรทีน มากกว่าผักโขมถึง 3 เท่า ช่วย ชะลอความชรา มีสารต่อต้านมะเร็ง แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะลำไส้ ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และช่วยบำรุงผิวพรรณ

ผักโมโรเฮยะปลูกง่าย เติบโตเร็ว ทนทานต่อภาวะอากาศร้อนแล้งได้เป็นอย่างดี แค่หว่านเมล็ดผักในแปลงที่เตรียมไว้ ต้นกล้าจะงอกจากเมล็ด ภายใน 12-15 วัน ต้นสูงประมาณครึ่งคืบ อายุแค่ 6 เดือน จะมีความสูงกว่า 2 เมตร เปิดให้น้ำทุกๆ 2-3 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน ปอชนิดนี้จะมีฝักแก่จัด เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน สามารถเก็บมาใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป ภายในฝักแก่1 ฝักจะมีเมล็ดพันธุ์จำนวนมากเพาะขึ้นเกือบหมดทุกเมล็ด เกษตรกรจะเด็ดใบสดทุกๆ เช้า เพื่อนำมาตากแดด อบแห้งและบดเป็นผงผักเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปบะหมี่ผักต่อไป

“ ฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ฟาร์ม “ แหล่งเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบันฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ฟาร์ม ได้รับใบรับรองออร์แกนิกส์ที่มีมาตราฐานสากลถึง 5 มาตราฐาน คือ ใบรับรองออร์แกนิค USDA ของสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป IFOAM ( Germany ) รวมทั้งได้รับการยอมรับจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นฟาร์มตัวอย่างแห่งประเทศไทย และได้เปิดอบรมการทำฟาร์มออร์แกนิคแก่ผู้สนใจที่เป็นคนไทย ญี่ปุ่น กัมพูชา อินเดีย และอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 400 คนต่อปี

จุดเริ่มต้นของฟาร์มแห่งนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจของ “ คุณโช โอกะ “ อดีตพนักงานบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรในประเทศไทย เพราะต้องการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ (harmonylife ) จึงเป็นที่มาของชื่อ “ ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิค ฟาร์ม “ ในเวลาต่อมา คุณโช โอกะตั้งใจพัฒนาฟาร์มปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีอาหารปลอดภัยไว้รับประทาน

คุณโช โอกะ ห่วงกังวลว่า ปัญหาโลกร้อน ทำให้อุหณภูมิสูงขึ้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง แมลงศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานและบ้านเรือน ปัญหายาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีปนเปื้อนในแม่น้ำลำคลอง ปัญหาขยะล้นโลก ฯลฯ คุณโช โอกะ ยกตัวอย่างว่า ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้กันเช่น แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอตเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ มีความรุนแรงไม่ต่างจากสารเคมีที่ใช้ในสังครามโลก และสารพิษเหล่านี้ไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่ในอาหารหรือร่างกายคน แต่ยังแพร่กระจายไปถึงน้ำ อากาศ ในระบบนิเวศ

ปัญหายาฆ่าแมลงตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่น่ากลัวจนตัวสั่น โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงที่นิยมใช้กัน ในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มสารประกอบคลอรีน ที่อยู่ในรูปของ ดีดีที บีเอสซี อัลดริน และพีซีบี ที่เกษตรกรนิยมใช้ป้องกันไม่ให้แมลงเข้ากัดกินผักที่ปลูก ความจริงแล้ว สารเคมีเหล่าถูกคิดค้นขึ้นโดยทหารเยอรมัน เพื่อเป็น“ อาวุธเคมี” ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่สูดดมควันสารเคมีเหล่านี้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้คิดค้น “ ฝนเหลือง ” เพื่อกำจัดผลผลิตทางการเกษตร ต้นไม้ใบหญ้าในสงครามเวียดนาม ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ใช้สารเคมี 2 ชนิดคือ ทูโฟร์ดี และทูไฟร์ไฟร์ที ซึ่งเป็นสารเคมีในการผลิตฝนเหลือง มาผลิตเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในสวนส้ม และยาฆ่าหญ้าในไร่นา

ทุกวันนี้ เกษตรกรไทยนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและกำจัดแมลงจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในระบบนิเวศ ก่อโรคเรื้อรังทำให้มนุษย์มีอายุสั้นลง “ เกษตรอินทรีย์” คือคำตอบหนึ่งของการสร้างสังคมให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะช่วยสร้างโลกที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

คุณโช โอกะ พิถีพิถันการทำเกษตรอินทรีย์อย่างทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพอย่างแท้จริง เริ่มจาก “ ระบบน้ำ ” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงเลือกขุดบ่อน้ำลึกถึง 150 เมตร ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่ไหลผ่านมาจากเขาใหญ่ นำมาใช้เพาะปลูกพืชผัก

นอกจากนี้ คุณโช โอกะ ยังใส่ใจดูแลเรื่องดิน เพราะดินถือเป็นหัวใจสำคัญของการเกษตรหากดินมีจุลินทรีย์ที่ดีอาศัยอยู่มาก เช่น แลคโตบาซิลัส ยีสต์ ฯลฯ จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยย่อยสลายสารอาหาร และช่วยให้รากพืชดูดซึมสารอาหารได้ง่าย ทำให้พืชผักแข็งแรงและมีรสชาติอร่อย

จุดเด่นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ฟาร์มแห่งนี้เลือกทำเกษตรอินทรียืด้วยวัชพืช โดยปล่อยให้มีวัชพืชเติบโตแทรกอยู่กับพืชผัก คุณโช โอกะให้เหตุผลว่า เมืองไทยมีฤดูฝนนานหลายเดือน แม้ดินจะชุ่มฉ่ำแต่เป็นฤดูกาลที่พืชผักไม่ชอบเอาเสียเลย เพราะฝนเม็ดใหญ่ที่ตกลงมา ทำให้เศษดินกระเด็นขึ้นมาถูกใบผักทำให้เกิดจุดหรือรอยซีดเหลืองบนใบผัก หากดินบริเวณใดระบาดน้ำไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหารากเน่าติดตามมา การปล่อยให้มีวัชพืชปะปนในแปลงผัก จะทำให้ดินโคลนกระเด็นน้อยลง แถมวัชพืชยังทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝน ทำให้รากผักไม่เน่า

นอกจากนี้ หากเจอแมลงระบาด แปลงผักที่มีวัชพืชปะปน แมลงจะกัดกินวัชพืชก่อน ทำให้ “ วัชพืช” ไม่ใช่ศัตรูที่น่ารังเกียจในฟาร์มแห่งนี้ คุณโช โอกะ บอกอีกว่า แมลงจะทำหน้าที่กัดกินผักที่ไม่แข็งแรง ส่วนผักที่เติบโตแข็งแรงดี จะไม่มีแมลงเข้ามากัดกินและไม่เป็นโรคเลย กรณีที่ผักเสียหายจากโรคและแมลง เกิดจากเกษตรกรดูแลไม่ถูกวิธี หากทำเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ยิ่งจะทำให้มีปัญหาโรคและแมลงเพิ่มขึ้น ฟาร์มแห่งนี้จึงเลือกปลูกพืชสมุนไพรเช่น ข่า ตะไคร้ พริก ฯลฯ ปะปนอยู่ในแปลงปลูกพืช เพื่ออาศัยกลิ่นสมุนไพรช่วยไล่แมลงศัตรูพืช

คุณโช โอกะ แนะนำให้เพื่อนเกษตรกรหันมาปลูก “ ข้าว ” ร่วมกับพืชสมุนไพรและพืชผักชนิดอื่น เพราะข้าวเป็นพืชที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายกว่าพืชอื่น และช่วยเพิ่มรายได้ถึง 3 ทาง เรียกว่า เป็นการทำเกษตรอินทรีย์ลักษณะนี้ เปรียบเสมือน ยิงปืนนัดเดียวแต่ได้นกถึง สามตัว ทุกวันนี้ คุณโช โอกะ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมกรรมวิธีการปลูกเกษตรอินทรีย์ได้ตลอดทั้งปี สามารถติดต่อได้ที่ ฮาร์โมนี่ ไลฟ์ ออร์แกนิค ฟาร์ม เลขที่ 35 ม.9 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร.044-322219 (02) 721-7511-12 (02) 721-7511-12 หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

นายสุรัตน์ สงวนทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2559 ที่เป็นปี “ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตร” ซึ่งโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็น 1 ใน 6 มาตรการ ในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพหลัก ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคี เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรรายย่อยมีพื้นที่ขนาดเล็ก ทำการเกษตรในลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ขาดอำนาจการต่อรอง

โดยภาพรวมการดำเนินงานแปลงใหญ่ของ เขต 1 ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ 9 จังหวัด มีความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งมีแปลงใหญ่ที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการ SC. รวมทั้งหมดจำนวน 173 แปลง พื้นที่ 256,737.18 ไร่ เกษตรกร 12,698 ราย ผลิตสินค้า 17 ชนิด (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2560)

ในส่วนของการดำเนินงานแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ในพื้นที่ เขต 1 ปัจจุบันมีการดำเนินการแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี และสระบุรี รวมทั้งหมด 16 แปลง พื้นที่ 29,637.25 ไร่ เกษตรกร 1,328 ราย

ทั้งนี้ แปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลดงดินแดง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6,276.25 ไร่ เกษตรกร 306 ราย ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ คือ นางทิพาเอ โปร่งแสง เป็นแปลงต้นแบบที่ผลิตมันสำปะหลังคุณภาพได้ผลผลิตดี โดยมีจุดเด่นคือ มีการใช้พันธุ์ดี เหมาะสมกับสภาพดิน ได้แก่ พันธุ์ระยอง มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง อัตรา 300 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลิตฮอร์โมนไข่เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีลดลงแล้วหันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น

ในขั้นตอนการผลิตใช้วิธีการไถระเบิดดินดาน ใช้ระบบน้ำหยด มีการใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำ ด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าแรง และมีการรวมกลุ่มการซื้อท่อนพันธุ์ ทำให้ได้ราคาถูกลง

โดยรวมกลุ่มมีความเข้มแข็งพร้อมกับทำตลาดด้วยการรวมกลุ่มกันขายมีการทำ MOU ร่วมกับบริษัทผลิตเอทานอล (บริษัท ทรัพย์ทิพย์) เพื่อรวมผลผลิตส่งขายในปริมาณที่บริษัทกำหนด มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน

ด้าน คุณทิพาเอ โปร่งแสง ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลดงดินแดง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า แปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลดงดินแดง ได้ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1-10 ตำบลดงดินแดง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6,276.25 ไร่ เกษตรกร 306 ราย

ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะมีนโยบายรวมแปลงใหญ่ เกษตรกรในพื้นที่หนองม่วงค่อนข้างมีความเข้มแข็งอยู่ในระดับหนึ่ง มีการพูดคุยถึงปัญหาด้านการเกษตรกันอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ภายหลังมีการมีรวมกลุ่มแปลงใหญ่ ก็มีหน่วยงานของภาครัฐอย่างกรมส่งเสริมการเกษตรเข้ามาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบรวมแปลงใหญ่ ทำให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำเกษตรในทางที่ดีขึ้น

ต่อมาได้มีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จึงทำให้เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ยที่สูงขึ้นจากเดิม 1-2 เท่า จากเดิมที่ได้ผลผลิตเพียง 4 ตัน ต่อไร่ แต่ถ้าใช้ระบบน้ำหยดจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 8 ตัน ต่อไร่ และถ้าใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินก็จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 10-12.5 ตัน ต่อไร่ ทำให้ขณะนี้เกษตรกรสามารถผลิตมันสำปะหลังที่ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่สูงขึ้น

“เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้ระบบน้ำหยดจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ด้วยตำบลดงดินแดงเรามีธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ บ้านหน่วยประคองเป็นแหล่งทุนสำคัญในการจัดทำแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของเกษตรกรในชุมชน จึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่แห่งนี้มีความได้เปรียบพื้นที่ในเรื่องของแหล่งทุน ส่งผลให้การพัฒนาอาชีพมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับสมาชิกกลุ่มเน้นการผลิตมันสำปะหลังตามนโยบายรัฐ ‘รวมกันปลูก รวมกันซื้อ รวมกันขาย’ จึงทำให้สามารถซื้อปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้ในราคาที่ถูก อาทิ ปุ๋ยเคมี ทางกลุ่มจะรวมกันซื้อแม่ปุ๋ยมาเพื่อใส่ในแปลงมันสำปะหลังตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่น้อยลง” นางทิพาเอ กล่าว

ผมรู้จักอาจารย์น้อย นิรันดร์ชัย เกษบึงกาฬ แห่งเอฟเวอร์กรีนเขาใหญ่มาเนิ่นนานแล้ว ตั้งแต่เป็นผู้บุกเบิกปลูกมันสำปะหลังไร่ละ 30 ตัน เป็นอย่างน้อย จนตอนหลังได้มาปลูกมะนาวและมัลเบอร์รี่เป็นหลัก โดยมะนาวแป้นหอมเขาใหญ่ มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเป็นที่ติดอกติดใจสำหรับลูกค้ายิ่งนัก

มะนาวยักษ์เขาใหญ่ก็เป็นที่เลื่องลือในขนาดผลที่เคยทำได้ 1.4 กิโลกรัม/ผล ส่วนมัลเบอร์รี่ หรือ หม่อนยูนนาน ก็เป็นที่เรียกเสียงอื้อหือ! ในความดกจนกิ่งลู่ รสหวาน อร่อย จนลูกค้าต้องไปซื้อผลถึงที่มาแล้ว

วันนี้อาจารย์น้อยนำของเล่นชิ้นใหม่มาให้ชม 2 ต้น ต้นหนึ่งทรงพุ่มเตี้ย อีกต้นทรงสูงโปร่ง ลักษณะใบมน ปลายเรียวแหลม ผลเล็กๆ กลมๆ ติดเป็นกลุ่มในช่อเดียวกัน มีดอกสีขาวบานร่วมอยู่ด้วย มองครั้งแรกก็ยากจะเรียกชื่อได้ เพราะกลมเหมือนมะนาว มีจุกบนยอดผลคล้ายฝรั่ง เด็ดใบขยี้ดมครั้งแรกได้กลิ่นฝรั่ง แต่พอขยี้ไปอีกสักหน่อยจะได้กลิ่นยูคาลิปตัส

“ต้นอะไรหนอ ตอนนี้ผมเริ่มไม่กล้าทายแล้วสิ”
“ฝรั่งครับ”
“อยากทายว่าฝรั่ง แต่พอดูใบ ดมใบแล้วชักไม่มั่นใจครับ”
“ต้นนี้เป็น Strawberry Guava ครับ ผลสุกสีแดงทั้งผลสวยงามมาก”
“รสและกลิ่นเป็นอย่างไรครับ”
“หอม หวาน อร่อยมากครับ”
“ขนาดผลใหญ่ปานไหนครับ เท่าฝรั่งขี้นกบ้านเราไหม”
“ใหญ่สุดไม่เกินกำปั้นเด็กน้อยครับ ส่วนมากหากติดเป็นพวงแบบนี้ก็ลูกย่อมๆ ประมาณมะนาวแป้นบ้านเรานี่แหละ”
“อีกต้นก็เหมือนกันใช่ไหมครับ”
“ต้นนี้เป็น Lemon Guava ครับ ผลสุกจะสีเหลืองทองสวยงามมาก”
“ไม่ถามดีกว่า เชื่อว่าอาจารย์จะบอกว่าอร่อยอีกเช่นกัน”
“อร่อยจริงๆ ครับ ผมไปเปรู ชิลี แล้วได้ชิมเจ้า 2 สายพันธุ์นี้ ติดใจมาก”
“โห ไปเที่ยวไกลเนอะ”
“ผมไปทำงานครับ เรื่องของกล้วยไม้ ไปช่วยงานเขา”
“เก่งหลายอย่างนะเนี่ย ทั้งทำสวนจำหน่ายสารอาหารพืช แถมยังเชี่ยวชาญกล้วยไม้อีกแน่ะ”
“การเดินทาง ทำให้เราได้เจออะไรดีๆ ครับ อย่างฝรั่ง 2 ต้นนี้ ผมก็ได้มาจากการเดินทางในครั้งนั้น”
“เจอแล้วทำไงครับ”
“ก็สู่ขอแล้วพามาอยู่เรือนหอที่เขาใหญ่นี่แหละครับ”

ผมทดลองล้วงดูวัสดุปลูกในกระถางฝรั่งทั้ง 2 ต้น แยกแยะพอได้ดิน ใบไม้เปื่อยๆ กาบมะพร้าว แกลบ นั่นแสดงว่าไม่ยากแน่หากคิดจะปลูกฝรั่งสายพันธุ์นี้ เพื่อความแน่ใจ ผมขยี้ใบมาดมอีกครั้ง ทั้งสองต้นเป็นคล้ายๆ กันนั่นคือ ขยี้เบาๆ จะได้กลิ่นฝรั่ง แต่พอขยี้นานๆ กลิ่นยูคาลิปตัสออกมากลบกลิ่นฝรั่งจนหมดสิ้น เป็นอีกหนึ่งของแปลกที่ไม่เหมือนใครจริงๆ
“ปลูกยากไหมครับ”
“ไม่ยากครับ เหมือนฝรั่งบ้านเรานี่แหละ หากปลูกลงดินก็จัดที่ทางให้เขาสักหน่อย ให้ได้แดดทั้งวัน ผสมดินปลูกใช้ใบก้ามปู กาบมะพร้าว หรือแกลบ ขี้วัว เอาเท่าที่มี อันไหนไม่มีก็ใช้อย่างอื่นทดแทนกันได้ครับ ไม่เรื่องมาก”
“แล้วคนเมืองอยากปลูกลงกระถางจะไหวไหมครับ”

“สบายมาก ผสมดินปลูกอย่างที่ผมบอกไปนั่นแหละ ของเราเป็นกิ่งตอน เอาไปลงกระถาง 4 เดือนก็ออกดอกแล้ว จากนั้นไม่นานก็จะได้ชิมความหอม หวาน อร่อย ที่ผมกล้าการันตีว่าไม่ผิดหวังที่ได้ปลูกจริงๆ ครับ”
“ติดลูกในบ้านเราได้แน่นอนใช่ไหมครับ”
“ชัวร์ครับ อากาศบ้านเรากับที่นั่นไม่ต่างกัน ไม่มีผลกับฝรั่งเลย ที่ผมปลูกมาก็ออกดอกออกผลได้ เก็บกินไม่หยุด”
“แสดงว่าออกทั้งปี”
“ฝรั่งพันธุ์ไหนๆ ก็เหมือนกันครับ หากบำรุงต้นสมบูรณ์แล้ว การจะให้ติดดอกติดผลไม่ยากสักนิด เรียกว่าแตกยอดใหม่ ก็ได้ดอกออกมาใหม่ทันที”
“ปุ๋ยล่ะ”
“ขี้วัวสิครับ ที่นี่มีวัวนมเยอะ ผมใส่แต่ขี้วัวเท่านั้นแหละ สบายๆ ใส่ให้ครั้งหนึ่งก็แทบลืมไปเลย”

ผู้คนที่เดินชมงานกองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา ต่างก็แวะเวียนมาสอบถามไม่ขาดสาย เรียกว่ายอดจองน่าจะไม่น้อยเลยสำหรับฝรั่ง 2 สายพันธุ์นี้ จากลักษณะการติดผลที่เป็นช่อ เป็นพวง ดกพราวไปทั้งต้นในขณะที่ยังออกดอกอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าหากนำไปปลูกและดูแลดีๆ ก็จะมีฝรั่งกินทั้งปีได้ไม่ยากแน่ๆ
ผมนึกถึงช่วงความสุขในวัยเด็ก ที่สวนจะมีฝรั่งขี้นกขึ้นอยู่หลายต้น แต่ที่ผมชอบจะมีอยู่สองต้นเท่านั้น ต้นแรก ผลเท่ากำปั้น ผิวผลเขียวเข้ม เวลาแก่จัดผิวจะเขียวอ่อน ผลสุกจะเหลืองทอง หากได้กัดกินผลห่ามจะมีความกรอบ หวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมอร่อยมาก เนื้อในสีแดงสดสวยงาม ผลสุกเนื้อจะนิ่ม กลิ่นหอมโชยไปสามบ้านแปดบ้านนั่นเชียว

อีกต้นจะเป็นลูกเล็กประมาณนิ้วหัวแม่มือ เนื้อในสีขาว แต่กรอบ หวาน กลิ่นหอมอร่อยมากๆ ทั้งคนทั้งนกต่างชิงจังหวะกัน เรียกว่าใครเผลอก็อดกันเลยเชียว
เมื่อมาเจอฝรั่งที่มีรูปลักษณ์และเรื่องราวใกล้เคียงกับความทรงจำในวันวัยเช่นนี้ก็อดไม่ได้ที่จะสู่ขอเพื่อนำไปปลูกที่บ้านบ้าง
“รอคิวสักนิดนะพี่ ตอนนี้กำลังเร่งขยายตามออเดอร์ครับ”
“ยาวไหม แบบว่าวัยรุ่นใจร้อน”
“ไม่นานหรอกพี่ กิ่งตอนขอเวลาไม่เกิน 45 วัน เดี๋ยวผมจัดให้”
“เอ่อ แล้วงานนี้ไม่มีผลสุกให้ชิมเหรอครับ”

“ผลชุดนี้จะเริ่มสุกประมาณต้นๆ เดือนกันยายนครับ เว็บเดิมพันออนไลน์ เห็นว่าจะไปโชว์ตัวที่งาน เกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี ด้วยนะครับ ระหว่าง 7-10 กันยายน 2560 ที่สกายฮอลล์ เซ็นทรัลลาดพร้าว”
“งั้นผมจะตามไปชิมครับ”
“ได้เลยครับ หากเหลือนะครับ”
“อีกหนึ่งคำถาม หากผู้อ่านอยากได้ครอบครองบ้าง พอจะมีแบ่งขายให้ไหมครับ”
“ได้ครับ แจ้งมา หากของยังมีก็ได้เลย หากยังไม่มีก็รอไม่นานครับ อยากให้ลองปลูกกัน ผมรับรองว่าได้ชิมแล้วจะติดใจแน่นอน”
“แล้วจะติดต่อยังไงครับ”
“เบอร์ผม (081) 790-1924 ครับ ขอบคุณครับ”
งานนี้ใครจะแข่งกับผมปลูกฝรั่ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ลองติดต่อกับอาจารย์น้อยดูนะครับ ไม่แน่นา อาจจะโทร.ไปพูดเรื่องฝรั่ง แต่ท่านอาจได้หม่อนยูนนาน มะนาวแป้นหอมเขาใหญ่ หรือมะนาวยักษ์เขาใหญ่มาปลูกได้อีกนะครับ กระซิบว่า อาจารย์น้อยแกใจดีครับ

ส้มโอ เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ปลูกมากในพื้นที่อำเภอบ้านแท่นและอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ส่วนส้มโอพันธุ์เนื้อแดงที่มีความแปลกใหม่ของจังหวัดชัยภูมิ ถูกค้นพบโดย รศ.ดร. สังคม เตชะวงศ์เสถียร แห่งภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อยกย่องส้มโอเนื้อแดงให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์เด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “ส้มโอมณีอีสาน”