นอกจากผลิตภัณฑ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มเลมอนมีแล้วยังมีผลิตภัณฑ์

สินค้าจากมะนาวอีกหลายอย่าง อาทิ มะนาวเคลือบชะเอม มะนาวดองน้ำปลา กุ้งมะนาว และกิ่งพันธุ์มะนาว โดยมีการจัดจำหน่ายหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะหน้าสวนโดยตรง ออกบู๊ธแสดงสินค้าต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล วิลล่ามาร์เก็ต จำหน่ายทางสื่อออนไลน์ Facebook Line Instagram ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในอนาคตวางแผนจะผลิตผลิตภัณฑ์จากมะนาวส่งออกต่างประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศเข้ามาติดต่อแล้ว

คุณหรั่ง เป็นผู้ที่มีจิตอาสา ไม่หวงวิชาความรู้ โดยเปิดสวนเป็นแหล่งเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยว สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมะนาวพันธุ์แม่ลูกดก และรวบรวมรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร มีสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ เกษตรกร มาขอรับความรู้ เชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้หลายแห่ง ล่าสุด (9 มกราคม 59) ได้รับโอกาสอย่างสูงล้น ได้นำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจแก่ครอบครัวเป็นอย่างมาก

สำหรับการปลูกมะนาวในภาชนะนั้นก็ไม่ยุ่งยาก อยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท/ไร่ โดยค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปลูกมะนาวอยู่ที่ประมาณ 500 บาท นอกจากนั้น ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายในระยะดูแลก่อนเก็บผลผลิต ประมาณ 3-4 เดือน มีค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าแรงงาน โดยเริ่มจากการเตรียมดินปลูกหรือเครื่องปลูก มีส่วนผสมคือ ดิน กาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว แกลบ หน้าดินตากแห้ง และปุ๋ยอินทรีย์ นำอย่างละ 1 ส่วน เท่าๆ กัน ผสมทั้งหมดคลุกเคล้าผสมรวมให้เข้ากัน พักดินทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน ก่อนนำมาใช้ให้ลองใช้มือสัมผัสในดิน ถ้าดินยังมีความร้อนอยู่ไม่ควรนำต้นพันธุ์ลงปลูก ถ้าหายร้อนเป็นอันว่าใช้ได้ โดยใช้ต้นพันธุ์ที่ปักชำกิ่ง ระยะ 3 เดือน นำมาแช่น้ำ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นก็นำไปลงดินปลูกที่เตรียมไว้ สำหรับการดูแล ให้รดน้ำทุกๆ เช้า วันละ 1 ครั้ง ถ้าติดสปริงเกลอร์ก็ให้น้ำประมาณ 5 นาที ไม่ต้องให้น้ำเยอะ เพื่อเป็นการสร้างนิสัยให้กับต้นมะนาว ส่วนการให้ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ 7 วัน/ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืชให้ฉีดยาฆ่าแมลงประมาณ 4 วัน/1 ครั้ง

หากท่านใดสนใจกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นแม่ลูกดกคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากมะนาว สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธงชัยพัฒน์ ดีสวัสดิ์ บ้านเลขที่ 44/1 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยสนใจอยากที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเองที่บ้าน แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องของพื้นที่ ที่มีอย่างจำกัด ครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีวิธีการการเพาะเห็ดที่แสนง่าย มีเงินลงทุนเพียงหลักร้อย ใช้พื้นที่ข้างบ้านก็สามารถเพาะเห็ดได้ ส่วนวิธีการเพาะ การดูแล ก็ทำได้ไม่ยาก งานนี้ได้ทั้งสุขภาพและราคาที่ดีต่อใจมาฝาก

อุปกรณ์เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์
ท่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร ราคา 60 บาท
ซาแรน หรือผ้ากระสอบป่าน ไว้คลุมก้อนเห็ด
ก้อนเห็ด 11 ก้อน ราคา ก้อนละ 9 บาท
ไม้ไผ่ ทำเป็นที่วางก้อนเห็ด

ขั้นตอนการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์
วางท่อซีเมนต์พิงกำแพง ผนัง ในลักษณะตะแคง เพื่อให้เก็บความชื้นได้ดี
วางไม้กระดานที่ด้านในท่อซีเมนต์
นำก้อนเชื้อเห็ดวางเรียงในวงบ่อเป็นแนวนอนให้เต็มท่อ เปิดจุกฝาเห็ดออก แล้วรดน้ำ
ใช้ซาแรนหรือผ้ากระสอบป่านคลุม เพื่อไม่ให้มีลมเข้า ทำให้เห็ดแห้ง
รดน้ำเช้า-เย็น แต่ถ้าทำเยอะๆ ต้องการกักเก็บความชื้น ให้รดน้ำ เช้า-กลางวัน-เย็น
จากนั้น 7-10 วัน ดอกจะออกครั้งแรก ในส่วนของผลผลิต เห็ด 11 ก้อน จะให้ผลผลิตประมาณครึ่งกิโลกรัม

การให้ผลผลิตของเห็ดในกรณีที่เพาะน้อยๆ แบบนี้ คุณเขม บอกว่าเราสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน

เห็ดแต่ละชนิดจะออกอยู่ที่ความชื้น ก้อนหนึ่งถ้าหน้าแล้งเขาจะเลื่อนเวลาออกไปนิดหนึ่ง เห็ดต้องการความชื้น เห็ดที่เหมาะกับการเพาะในท่อซีเมนต์ คือเห็ดกลุ่มนางฟ้า กลุ่มนางรม แต่ถ้าเห็ดขอนจะชอบความร้อน

ข้อดีของการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์
คือเพาะง่าย ประหยัดพื้นที่ ซึ่งถ้าท่านใดมีปัญหาเรื่องพื้นที่ แค่มีชุดเพาะเห็ดเซ็ตนี้จะหมดปัญหาไปเลย
ประหยัดเงิน ต้นทุนต่ำ สำหรับท่านใดอยากที่จะเพาะเห็ดไว้รับประทานเอง ชุดเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์เหมาะมาก ใช้เงินลงทุนเพียง 200 บาท
เรื่องเชื้อราหมดห่วงได้เลย เพราะเป็นการเพาะเห็ดในปริมาณน้อย อีกอย่างท่อซีเมนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ จากปลูกตรงนี้ แล้วย้ายไปปลูกตรงนั้น การสะสมของเชื้อโรคก็จะไม่มี แต่ถ้าเราทำประจำ การหมักหมมของเชื้อโรคก็จะเยอะตามมา

ตลอดระยะเวลา 55 ปี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มุ่งมั่นสร้าง Better Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชนบท Better Community ชุมชนที่ดีและเข้มแข็งขึ้น และ Better Pride สร้างความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ

คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบทว่า ธ.ก.ส. มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. มุ่งเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การส่งเสริมระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และส่งเสริมกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับชุมชนธนาคารต้นไม้ของ ธ.ก.ส. รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้าไปสร้างองค์ความรู้ เพื่อต่อยอดผลผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ที่จะเข้าไปดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีคุณภาพ

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนสร้างสุข วังมโนห์รา

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนสร้างสุข วังมโนห์รา เป็นหนึ่งในกลุ่ม SMEs ต้นแบบที่ ธ.ก.ส. ให้การสนับสนุน เนื่องจากนำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สินค้าทำเงินที่เกาะกระแสตลาดคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนสร้างสุข วังมโนห์รา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 168/2 หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมถึงการนำวัตถุดิบพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกันทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ต้องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) โดยเรียนรู้เรื่องการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารในชุมชน เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ชุมชนสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว

คุณสุจินตนา ไพศาล (โทร. 081-970-1665) ซึ่งเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้นำเสนอให้มีการพัฒนาชุมชน บริหารจัดการกระบวนการชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยวิธีการรวมตัวกันเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงความพออยู่ พอกิน เพื่อการพัฒนา ความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนด้วยกระบวนการผลิตที่พอเพียงในชุมชน และชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนปลูกจิตสำนึกในชุมชนให้อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติ และบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง อย่างยั่งยืน มั่นคง

ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประชาคมหมู่บ้านทำกิจกรรมในการเก็บข้อมูลเพื่อเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการตู้เย็นข้างบ้าน คลังอาหารในสวน ฯลฯ ในชุมชนบ้านห้วยหินลับ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน เกิดเป็นกลุ่มเรียนรู้ตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงวังมโนห์รา

ต่อมา ทางกลุ่มได้รับเงินอุดหนุนจาก ส.ส.ส. จึงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ปลูกพืช ผัก ผลไม้ แซมในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักปลอดสารเคมีไว้กิน เหลือกิน เหลือแจก ก็นำไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน นอกจากนี้ ทางกลุ่มมีแนวคิดสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า โดยนำสินค้าพืชผัก ผลไม้ ที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อป (OTOP) ในปี 2557 และยื่นขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557

ปีถัดมา ทางกลุ่มได้นำพืชผักสวนครัว และสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่สนใจเรื่องสินค้าเพื่อสุขภาพ รวมทั้งสืบสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสืบทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรที่ทรงคุณค่าจากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย สู่รุ่นลูก หลาน เช่น การใช้ดอกอัญชันทาคิ้วและใส่น้ำต้ม ให้ลูกหลานอาบ การกินพืชผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา

คุณสุจินตนา ไพศาล ประธานกลุ่มฯ ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม จนค้นพบผลงานวิจัยที่น่าสนใจของ USA พบสารโบท็อกซ์ (BOTOX) ในหน่อไม้ ช่วยให้หน้าเด้งลดรอยเหี่ยวย่น จึงเกิดแนวคิดในการใช้สมุนไพรไทยที่เคยใช้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางสมุนไพร โดยใช้กระบวนการผลิตแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยกลับเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสวนกระแส โดยมีอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 20-30% จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่หันกลับไปใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแทนสารเคมี ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปของชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีโอกาสเติบโตและทำกำไรอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้มีศักยภาพในการทำกำไรได้ดี เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันไม่รุนแรงมาก ทั้งอำนาจต่อรองของผู้ผลิตและผู้ซื้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ประกอบกับได้แรงสนับสนุนจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ตลอดจนค่านิยมของผู้บริโภค ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขยายตลาดในรูปแบบของอุตสาหกรรมขนาดกลางแบบมืออาชีพ (Smart SMEs) หากสามารถสร้างความแตกต่างให้แก่ผลิตภัณฑ์ในสายตาของผู้บริโภคได้ชัดเจน และสร้างความภักดีในตราสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ สามารถรักษาศักยภาพในการทำกำไรในระยะยาว

ปัจจุบัน สินค้าหลักของกลุ่มวิสาหกิจแห่งนี้ ประกอบด้วย

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร-อาหารผิว อาหารผม ย้อมผมหงอกด้วยสมุนไพร ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ArYo” (อาโหย๊ว)
ขนมเบเกอรี่-คุกกี้มะพร้าวอ่อน โรตีกรอบ ขนมปั้นสิบ
เลี้ยงผึ้งโพรงไทย-น้ำผึ้ง ไขผึ้ง เสน่ห์ผึ้งหรือขี้ผึ้ง
ผักปลอดภัยจากสารเคมี-ผักกาด เห็ด และกล้วย
เลี้ยงสัตว์-เป็ด ไก่ แพะ
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และ
ขนมไทย-ข้าวต้มมัด ขนมถ้วย ขนมสอดไส้ เมี่ยงคำ
ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคน้อยลง อีกทั้งขาดเงินทุนในการประชาสัมพันธ์สินค้า ธ.ก.ส. จึงให้การสนับสนุนเงินทุนในการขยายตลาด รวมทั้งจัดพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า และจัดตั้งให้กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ เป็นศูนย์เรียนรู้ ธ.ก.ส.ไปพร้อมๆ กัน

วิสาหกิจชุมชนบ้านเขาวังทอง

วิสาหกิจชุมชนบ้านเขาวังทอง ตั้งอยู่ ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช บริหารงานภายใต้การนำของประธานกลุ่มคือ คุณนฤพรรณ รองเมือง อีเรค (โทร. 098-013-3343) สินค้าหลักของกลุ่ม ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มังคุด มะพร้าว และพืชผักเกษตร บานาน่าไซรัป น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สบู่เหลวเปลือกมังคุดและน้ำผึ้ง ข้าวหลามมะพร้าวอ่อน น้ำส้มควันไม้ พันธุ์ไม้พื้นเมือง

จุดเริ่มต้นของกลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ เกิดจาก ปี 2557 กล้วยน้ำว้า ในชุมชนเกิดมีปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำจนขายไม่ได้ เกษตรกรจึงรวมกลุ่มกันแปรรูปกล้วยฉาบส่งขายตามร้านค้า ภายหลังมีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีสมาชิกเริ่มต้น 7 คน ปัจจุบันกลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้น เน้นผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล รวมถึงเปิดเป็นกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดปิด รายได้ของกลุ่มลดลง แต่ยังพอขายสินค้าได้บ้างทางช่องทางตลาดออนไลน์ ธ.ก.ส. จึงเข้ามาสนับสนุนได้ชักชวนกลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ไปร่วมออกบู๊ธขายสินค้า สนับสนุนเงินทุน รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการขยายช่องทางตลาด และจัดอบรมเรื่องการทำธุรกิจ Startup เป็นต้น

ปาณิษาออยล์ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของคือ คุณปาณิษา สายฟอง (โทร. 089-586-5518) เริ่มดำเนินกิจการในปี 2556 ในลักษณะธุรกิจครอบครัว โดยนำมะพร้าวในพื้นที่มาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ในแบรนด์ “ปาณิษา” ปี 2559 ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น ปัจจุบันมีลูกค้า 2 กลุ่มใหญ่ คือ โรงงานและร้านค้ารายย่อย มีการขายตรงทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงไปร่วมออกบู๊ธตามงานแสดงสินค้าต่างๆ

สินค้าหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน น้ำมันมะพร้าวชนิดเม็ด สินค้าแปรรูปจากน้ำมันมะพร้าว เช่น สบู่ โลชั่น เซรั่ม น้ำมันนวด เจลล้างมือ ฯลฯ รวมทั้งรับจ้างผลิต (OEM) ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถออกบู๊ธจำหน่ายสินค้าและไม่สามารถทำตลาดต่างประเทศได้ จึงปรับตัวหันมาทำตลาดออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน ธ.ก.ส. ให้การสนับสนุนปาณิษาออยล์ ออกบู๊ธขายสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ ช่วยทำให้สินค้าปาณิษาออยล์เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น

สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ ในช่วงที่ราคายางและปาล์มสูง เกษตรกรมีความสุข การกรีดยางในชั้นแรกๆ ชาวสวนก็กรีดกันเองในครอบครัว หลังจากนั้นก็มีคนรับจ้างที่เป็นชาวอีสานหลั่งไหลไปเป็นกรรมกรเหมืองแร่และรับจ้างกรีดยาง ข้อตกลงในการกรีดยาง อยู่ระหว่าง 60 40 คือเจ้าของสวนได้ 60% คนกรีดได้ 40% ถือเป็นมาตรฐาน อาจมีแตกต่างกว่านั้นก็เป็นข้อตกลงเฉพาะ

ในช่วงต่อจากนั้นเมื่อชาวอีสานเริ่มปลูกยางได้ ก็พากันกลับบ้าน คนงานชาวต่างด้าวซึ่งเป็นชาวพม่าได้เข้ามาแทนที่ จังหวะนั้นเป็นจังหวะที่ราคายางสูงลิบ ทั้งคนงานและเจ้าของสวนต่างมีความสุขดี ต่อเมื่อยางราคาตก ชาวพม่าค่อยๆ หนีไปทำงานก่อสร้างในเมือง ทิ้งให้ชาวสวนยางกรีดกันเอง เมื่อเจ้าของสวนลงมือกรีดยางเอง จึงพบว่า ช่วงที่ราคายางแพงนั้น ลูกจ้างชาวพม่าเอายาเร่งน้ำยางทามีดกรีดเพื่อให้ได้น้ำยางเยอะๆ ต้นยางจึงโทรมเร็ว ไม่สามารถกรีดได้ตามจำนวน 25 ปี ตามปกติ จึงเกิดวลีคำหนึ่งว่า “พม่ากรีด ไทยตัด” คือหลังพม่ากรีดยางแล้ว ไทยต้องโค่นยางทิ้งปลูกใหม่ เพราะต้นยางโทรมมาก

ช่วงฝนที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปทำข่าว คุณชาตรี แสงทอง เกษตรกรชาวสวนยาง ที่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ (086) 497-7665 ตามคำแนะนำของ คุณชฏารัตน์ กุดหอม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ แห่งสำนักงานเกษตรอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งคุณชาตรีเป็นเกษตรกรชาวสวนยางโดยกำเนิด เพราะตั้งแต่ลืมตามาก็เห็นพ่อทำสวนยางพารา

ในสมัยเด็กได้มีโอกาสช่วยพ่อแม่ทำสวนยาง จึงซึมซับความเป็นเกษตรกรมาโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบัน จึงยังคงมีอาชีพทำสวนยางตามบรรพบุรุษ โดยที่ตัวเองเป็นผู้ดูแลสวนและกรีดยางเองทั้งหมด ในเนื้อที่ 17 ไร่ ที่มี ไม่ใช่อาชีพผู้จัดการสวนยางที่มีแรงงานต่างด้าวมากรีด ความจริงแล้ว 1 ครอบครัว ดูแลพื้นที่สวนยางได้ประมาณ 15 ไร่ กำลังพอดี ไม่น้อยและมากเกินไป ในช่วงที่ราคายางกิโลกรัมละ 100 ชาวสวนยางยิ้มแย้มได้ เศรษฐกิจภาคใต้เฟื่องฟู พอมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคายางลดลง คุณชาตรีก็ไม่ได้มีผลกระทบมากเหมือนคนอื่นเขา เพราะน้ำยางที่ได้ราคาเท่าไรก็ได้เองทั้งหมด แต่สถานการณ์ก็ไม่สู้ดีนัก

จากความรู้ที่ได้ไปอบรมและดูงานตามที่ต่างๆ สมัครไพ่เสือมังกร ทั้งในจังหวัดพังงาเอง รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง และได้มีโอกาสมาดูงานในบางจังหวัดของภาคกลาง จึงเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตที่สูงเหมือนกัน จึงคิดที่จะทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้ในสวน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและทำอย่างไรที่จะทำให้ผลผลิตเพิ่ม

จากสวนยางที่หมดอายุจำเป็นต้องโค่นทิ้งเมื่อ 3 ปีก่อน จำเป็นต้องปลูกพืชใหม่ คุณชาตรีจึงคิดที่จะเหลือยางพาราเพียงแค่ 7 ไร่ ส่วนที่เหลือก็จะปลูกพืชอย่างอื่น แต่ในส่วนของยางสวนนี้มีปัญหาว่าเป็นพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำ รากจะไม่ค่อยแข็งแรงในช่วงหน้าฝนที่มีลมแรง ต้นยางมักโค่นล้มจนต้องปลูกแซมกันบ่อยครั้ง โจทย์ในที่นี้คือ ทำอย่างไร ให้รากแข็งแรง คุณชาตรีมีโอกาสได้ไปเห็นทุเรียนเสริมราก จึงมีความคิดว่า ยางพาราก็น่าจะเสริมรากได้เช่นกัน

3 ปีก่อน คุณชาตรี จึงเริ่มเสริมรากให้ยางพารา คุณชาตรี บอกว่า “พื้นที่สวนเป็นพื้นที่ยกร่อง ต้นยางพาราโค่นล้มง่าย จึงคิดจะเสริมให้เป็น 3 ราก วิธีทำก็คือ เวลาที่เราปลูกพันธุ์ยาง เบอร์ 600 หรือ 251 ซึ่งเป็นต้นยางติดตาที่เหมาะสำหรับภาคใต้แล้ว เราก็จะถอนเอาต้นยางพันธุ์พื้นบ้านที่ขึ้นมาเองหรือเราอาจจะเพาะใส่ถุงไว้ ขนาดต้นประมาณนิ้วชี้ หรือมีอายุประมาณ 1 ปี มาอีก 2 ต้น ปลูกลงใกล้ๆ กับต้นยางพันธุ์ รอเวลาประมาณ 6 เดือน ให้ต้นยางทั้ง 3 ต้น เติบโตดี ก็จะใช้มีดคมๆ ปาดต้นยางพันธุ์และต้นยางที่จะเป็นต้นเสริมเป็นแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 นิ้ว แล้วเอาช่วงรอยแผลของต้นยางเสริมมาทาบตรงรอยแผลของต้นยางพันธุ์ ซึ่งหมายถึงต้นยางพันธุ์จะถูกปาด 2 รอย เพราะเราจะต้องเอายางเสริมมาทาบ 2 ต้น แล้วเอาผ้าเทปสำหรับตอนกิ่งพันให้แน่น ไม่ให้น้ำเข้า ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในช่วงนั้นอาจจะเอาเชือกมาผูกรวบโคนยางทั้ง 3 ต้น โน้มเข้าหากัน เพื่อกระชับไม่ให้แผลเปิดอ้า เมื่อเห็นว่าแผลประสานติดกันดีแล้ว ก็ให้ตัดยอดต้นยางเสริมจากรอยแผลขึ้นมา 1 นิ้ว และหมั่นปลิดยอดยางเสริมออก ถ้ามียอดแตกออกมา”

ยางที่เสริมรากจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี แผลก็จะเชื่อมติดกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ต้นยางที่เสริมรากนี้นอกจากจะทำให้ระบบรากแข็งแรงโค่นล้มยากแล้ว ต้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นยางที่มีรากเดียว ในช่วงดังกล่าวคุณชาตรีได้ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 27-6-6 เพื่อบำรุงต้น ประมาณ ต้นละ 100 กรัม ปีละ 3 ครั้ง ในช่วงก่อนฝน กลางฝน และปลายฝน ส่วนปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวิภาพที่ทำเองจะให้ในช่วงที่มีเวลาว่างจากงานประจำ