นักศึกษาปริญญาเอก ทำการศึกษาวิจัยการนำสาหร่ายไกและ

สาหร่ายเตานำมาต้มในน้ำร้อน 50 องศาเซียลเซียส เพื่อดูดปริมาณน้ำในสาหร่ายออกให้มากที่สุด ทำหลายๆ ครั้งจนกระทั่งสาหร่ายกลายเป็นเมือกเหนียว จากนั้นนำเข้าเครื่องดูดความชื้นด้วยระบบเย็น หรือเรียกว่าให้เกิดการระเหิด นำมาขึ้นรูปเป็นเม็ด ได้ร่วมกับทีมแพทย์นำสารสกัดจากสาหร่ายที่ได้ ไปทดสอบกับหนูที่เป็นเบาหวาน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง เมื่อคนเราใช้รับประทานแล้วจะสามารถช่วยให้น้ำตาลและไขมันลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคอ้วน ได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดที่ประเทศโปแลนด์ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับทอง พร้อมนี้เพื่อเป็นการสร้างในเชิงธุรกิจ จึงได้ตั้งเป็นบริษัท เอส.ที.ดี.เมติคส์ จำกัด ติดต่อที่ Error! Hyperlink reference not valid.ในเฟซบุ๊ก Tyme โทร. (091) 853-2897

คุณธีระวัฒน์ รัตนพจน์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ทำการศึกษาวิจัยเรื่องสาหร่ายพวงองุ่น เรียกได้ว่าเป็นอาหารแห่งอนาคต เป็นสาหร่ายน้ำเค็มพบมากในแถบชายทะเลจังหวัดเพชรบุรี หรือชายฝั่งทะเลทั่วไป ลักษณะเป็นเม็ดเขียวใส กลมคล้ายผลองุ่นจิ๋ว อยู่ชิดกันเป็นพวง คนไทยจึงเรียกสาหร่ายพวงองุ่น ได้มีภาคเอกชนเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพบ้างแล้ว ผู้วิจัยได้นำมาทดลองด้วยการทำให้สาหร่ายพวงองุ่นให้แห้งด้วยระบบเย็น ที่เรียกว่าทำให้ระเหิด จากนั้นเก็บรักษาไว้ เมื่อจะนำมาเป็นอาหาร เพียงแต่นำไปแช่น้ำปกติ หรือแช่น้ำเย็นจะช่วยทำให้สาหร่ายพวงองุ่นกรอบมากขึ้น

หากมีเครื่องปรุงประเภทน้ำจิ้มสามรส จะเพิ่มความเอร็ดอร่อยที่มีรสชาติดีทีเดียว หรือจะนำไปดองเกลือก็ได้ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ลดไขมันในเส้นเลือด มีแร่ธาตุและวิตามิน เช่น วิตามินบี 2 เกลือแร่ แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี ไอโอดีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีไฟเบอร์สูง ช่วยในระบบขับถ่าย ผลงานชิ้นนี้ผ่านการรับรองสิทธิบัตร กำลังขอตั้งเป็นบริษัท ติดต่อ โทร. (061) 205-1306

คุณเมธัส เงินจันทร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ได้รับเงินทุนจากบัณฑิตวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ชื่อว่า “เข้” ใช้สำหรับท่านผู้ชายโดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ลดการอักเสบกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย แก้ปวดเมื่อยทุกส่วนของร่างกาย ครีมหรือโฟมล้างหน้า เซรั่มบำรุงผิว ลดจุดกระ ด่างดำบนใบหน้า ฯลฯ วัตถุดิบที่ใช้มาจากแนวคิดที่ว่า ในฟาร์มเลี้ยงจระเข้ที่ใหญ่ๆ เมื่อเลี้ยงจระเข้จนโตเต็มที่ จะชำแหละจำหน่าย แบ่งเป็นส่วนของเนื้อ หนัง สิ่งที่เหลือจะนำไปทิ้ง นั่นคือ ไขมันบริเวณหน้าท้องและคอ จระเข้ 1 ตัว จะได้ไขมันประมาณร้อยละ 10 นำมาสกัดนำแต่สารที่เกิดประโยชน์ ผสมกับน้ำมันที่สามารถเข้ากันได้ นำบรรจุให้หลอดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ด้านการตลาดมุ่งเน้นร้านหรือบริษัทที่ทำกิจการนวดแผนโบราณ นวดสปา ท่านชายที่รักษาสุขภาพ ได้ตั้งบริษัทในเชิงธุรกิจชื่อว่า บริษัท B.S.N. Life จำกัด เฟซบุ๊ก Keah Crocodile Oil For Men โทร. (086) 592-9468

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ขึ้นเวทีมวย THAI FIGHT เมืองคอน พร้อมสนับสนุนกรมประมง ร่วมประชาสัมพันธ์ ปลากัดไทยในฐานะสัตว์น้ำประจำชาติ

นายกฤษ อุตตมะเวทิน เลขานุการกรม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมงาน มวย THAI FIGHT เมืองคอน ณ เซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดนครศรีธรรมราช นายกฤษ กล่าวว่า การที่คณะรัฐมนตรี ประกาศให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาตินั้น เป็นเพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษฎา บุญราช เห็นความสำคัญของปลากัดไทย ทั้งในแง่วัฒนธรรม และสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่มีการส่งออกเป็นปลาสวยงาม จึงเสนอคณะรัฐมนตรีและสนับสนุนกรมประมง ดำเนินการผลักดัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์ประจำชาติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เพราะปลากัดเป็นสัตว์น้ำสายพันธุ์ไทยแท้ ที่อยู่ในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมคู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญใน 2 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง มีทั้งรายได้และความภาคภูมิใจในอาชีพ

นอกจากนั้น ปลากัดไทยยังเป็นสัตว์น้ำนักสู้ เหมือนกับคนไทย นักมวยไทยที่มีเลือดนักสู้ 100% ประเทศไทยถึงมีวีรชนนักรบที่เก่งกาจมากมาย สำหรับ มกอช. ในฐานะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมรับนโยบาย พร้อมส่งเสริม สนับสนุน ช่วยประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ ขณะที่ มวย THAI FIGHT เห็นว่า ปลากัดไทยเสมือนเป็น the little Thaifight จึงร่วมสนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเปิดให้ใช้เวทีและกิจกรรมไทยไฟท์ เพื่อประชาสัมพันธ์สนับสนุนปลากัดไทย ให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอีกด้วย

เมื่อเร็วๆนี้ นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร และ นายนพดล แดงพวง ผู้อำนวยการกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกับ คณะทำงานชุดเฉพาะกิจตามมาตรการป้องกันผลผลิตทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด จังหวัดจันทบุรี

นำโดย นายปิยะ สมัครพงศ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นายสุชาติ จันทร์เหลือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายสุเทพ สินชัย เกษตรอำเภอท่าใหม่ ลงพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ร่วมกันตรวจสอบคุณภาพทุเรียนภายใต้สถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ทั้งเปลือก (ล้ง) และในตลาดค้าผลไม้เนินสูง

โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนของโรงคัดบรรจุแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ พบทุเรียนด้อยคุณภาพ ซึ่งเสียหายหลุดร่วงจากพายุฤดูร้อน เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง น้ำหนักรวม 3,500 กิโลกรัม

จึงได้แจ้งเจ้าของโรงคัดบรรจุคัดแยกและคณะชุดปฏิบัติการได้ทำสัญลักษณ์/ตำหนิ เพื่อมิให้นำไปจำหน่าย โดยได้มีการบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดทั้งในและนอกประเทศต่อไป

ผู้คนส่วนใหญ่ รู้จัก “จังหวัดสงขลา” ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางการค้าสำคัญของภาคใต้ ความจริงจังหวัดสงขลาเป็นแผ่นดินทองทางการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน นาข้าว พืชผักผลไม้และสินค้าประมง สร้างอาชีพและทำรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรจำนวนมากมาอย่างยาวนาน หากใครอยากรู้ทิศทางสินค้าเกษตรของจังหวัดสงขลาปรับตัวไปในทิศทางไหน ต้องลองฟังคำตอบจากบทสัมภาษณ์ของ “คุณประสงค์ พีรธรากุล” เกษตรจังหวัดสงขลา ได้ในฉบับนี้

ภาพรวม “การเกษตร” จังหวัดสงขลา

จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ทั้งหมด 4.6 ล้านไร่ มีเกษตรกรกว่า 139,000 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตร 2.6 ล้านไร่ พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ สวนยางพารา 1.97 ล้านไร่ เกษตรกร 87,525 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าว 210,104 ไร่ เกษตรกร 20,000 ครัวเรือน สวนปาล์มน้ำมัน 66,503 ไร่ เกษตรกร 6,253 ครัวเรือน ไม้ผลไม้ยืนต้น 206,138 ไร่ พืชผัก 26,540 ไร่

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย เป็นแหล่งให้บริการทางการเกษตรและแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรต้นแบบ เป็นตัวอย่างที่เห็นผลจริงให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ พัฒนาศักยภาพของ ศพก. หลักทั้ง 16 อำเภอ 16 ศพก. และศูนย์เครือข่าย จำนวน 167 จุด ให้ครอบคลุมทุกสาขาความรู้และเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร จากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และความเหมาะสมของการปลูกพืช

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

ศูนย์เรียนรู้ด้านยางพารา 9 ศูนย์ ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอควนเนียง อำเภอบางกล่ำ และอำเภอเมืองสงขลา

ศูนย์เรียนรู้ด้านข้าว 5 ศูนย์ ได้แก่ อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอกระแสสินธุ์ และอำเภอรัตภูมิ ศูนย์เรียนรู้ด้านไม้ผล 1 ศูนย์ ได้แก่ อำเภอนาทวี

ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน 1 ศูนย์ ได้แก่ อำเภอนาหม่อม สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ประเมิน ศพก. เพื่อจัดระดับการพัฒนา จำนวน 16 ศูนย์ เพื่อพัฒนาให้มีความพร้อมในการดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพ ศพก. ให้มีความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ให้บริการอบรมถ่ายทอดความรู้เกษตรกรผู้นำ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้บริการด้านการเกษตรต่างๆ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) จำนวน 16 ศูนย์ โดยมีการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นโยบายการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อทำการเกษตรแปลงใหญ่ เดิมมีแปลงใหญ่ 6 แปลง แต่ปัจจุบันสามารถขยายแปลงใหญ่ จำนวน 33 แปลงแล้ว กิจกรรมแปลงใหญ่หลักๆ ได้แก่ นาข้าว 15 แปลง ไม้ผล 7 แปลง (ลองกอง ทุเรียน และกล้วย) ไม้ยืนต้น 4 แปลง (ปาล์มน้ำมัน และยางพารา) ผึ้งโพรง 1 แปลง ประมง 2 แปลง (ปลานิล 1 แปลง กุ้งขาวแวนนาไมท์ 1 แปลง) และปศุสัตว์ 3 แปลง (โคเนื้อ 1 แปลง แพะ 2 แปลง) ผักพื้นบ้าน 1 แปลง

สมาชิกแปลงใหญ่รวมทั้งสิ้น 1,795 คน มีเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้เกิดการรวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต และร่วมจัดการการตลาด เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต มีการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร ภายใต้การสนับสนุนและบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคีต่างๆ ขณะเดียวกันสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรให้ปรับระบบการผลิตในฟาร์มของตน พัฒนาจากการเป็นผู้ผลิต เป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการบริหารจัดการแปลง/ฟาร์ม ก้าวสู่การเป็น Smart Farmer พัฒนาความสามารถของ Young Smart Farmer (YSF) สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับเครือข่ายของเกษตรกร

ขยายผลโครงการพระราชดำริ

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่และพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรมาดำเนินการขยายผลไปสู่เกษตรกรและชุมชน ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ลดลง เกษตรกรสามารถน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต มีการขยายผลองค์ความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปสู่เกษตรกรทั่วไปใน 4 โครงการ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปีละ 400 คน ในปีที่ผ่านมา

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ได้ขยายผลโครงการพระราชดำริ ในหลายกิจกรรม เพื่อสืบสานปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่

1. การขยายผลจากโครงการฟาร์มตัวอย่างอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ภายในฟาร์มตัวอย่างจัดทำแปลงต้นแบบพืชทางเลือกใหม่ ได้แก่ เมล่อน มะเขือเทศเชอรี่ และกิจกรรมผักยกแคร่ เป็นตัวอย่างให้เกษตรกรในพื้นที่และอำเภอใกล้เคียงได้ศึกษาดูงาน และนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ

2. กิจกรรมเกษตรตามรอยเท้าพ่อ 1 ไร่ ได้หลายแสน

3. โครงการศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอรัตภูมิ

4. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

5. โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลายังได้ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดนภาคใต้ ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่และอาชีพโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดความสุขในพื้นที่ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำผลผลิตมาจำหน่ายในงานของดีชายแดนใต้ ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้าน ยุวเกษตรกร และความเข้มแข็งของผู้นำภาคการเกษตรในการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน การส่งเสริมและอนุรักษ์พืชประจำถิ่น ได้แก่ ส้มจุก ส้มแขก จำปาดะไร้เมล็ด เป็นต้น

พร้อมกันนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ได้ส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา ตามนโยบายการขับเคลื่อนสงขลา 12 วาระ โดยเฉพาะประเด็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมการผลิตไม้ผล พรีเมี่ยม ได้แก่ ทุเรียน จำปาดะ และส้มโอหอมหาดใหญ่ การสร้างคุณค่าตาลโตนด การปลูกและตลาดแปรรูปกาแฟ การขับเคลื่อนสงขลาเป็นเมืองสมุนไพร และการส่งเสริมข้าวแปลงใหญ่

ช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาล

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล อาทิ การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2561/2562 ไร่ละ 1,500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 12 ไร่ หรือเงินช่วยเหลือไม่เกิน ครัวเรือนละ 18,000 บาท ขณะนี้จังหวัดสงขลา โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาได้เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2561/2562 เป้าหมาย 20,000 ครัวเรือน เพื่อเป็นข้อมูลให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2562

สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เห็นชอบโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรเสนอ เพื่อเป็นการลดค่าครองชีพควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ให้สามารถรักษาศักยภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 อัตราไร่ละ 1,500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่

ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาได้ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันตามโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน โดยเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด 6,253 ครัวเรือน หลังจากส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. ก็มีการโอนเงินให้กับเกษตรกรแล้ว

ส่วนการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่ประสบปัญหาภาวะราคายางพาราตกต่ำนั้น สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาได้ของบประมาณมาสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยน/ทำกิจกรรมการเกษตรเสริมรายได้ร่วมกับยางพารา ภายใต้โครงการ “แก้จนเกษตรกรสงขลา 4.0” โดยนำร่องในพื้นที่สวนยางพารา อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอนาทวี และอำเภอเมืองสงขลา เช่น ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย และผักยกแคร่ โดยรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกผักและส่งโรงพยาบาล โรงงานแปรรูป โดยใช้กลยุทธ์ “ตลาดนำการผลิต” ตามนโยบายรัฐบาล

โครงการตลาดเกษตรกรจังหวัดสงขลา

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา จัดให้มี “ตลาดเกษตรกรจังหวัดสงขลา” บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ในช่วงวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 06.00-11.00 น. เริ่มเปิดจำหน่ายครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 นโยบายตลาดเกษตรกรฯ ช่วยเปิดโอกาสให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Young Smart Farmer (YSF) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เกษตรกรรายย่อย เกษตรกรแปลงใหญ่ จำนวน 25 ร้านค้า ได้มีจุดจำหน่ายสินค้าเกษตรในลักษณะหมุนเวียน

กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดี ต่อมาจึงได้ขยายตลาดเพิ่มอีก 2 จุด คือ บริเวณศูนย์อาหารโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 10 ร้านค้า โดยเปิดขายในช่วงวันศุกร์ เวลา 6.00-11.00 น. ส่วนช่วงวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน จะเปิดตลาดเกษตรกรฯ ประมาณ 20 ร้านค้า ณ หลาดสองเลเก๋าเท่ริมเลสาบ ถนนนครนอก อำเภอเมือง ตั้งแต่เวลา 17.00-21.00 น.

พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF)

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ได้จัดหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เป็น Young Smart Farmer (YSF) โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ โดย

ระยะที่ 1 จัดเวทีวิเคราะห์ตัวเอง ปรับแนวคิด สร้างแรงจูงใจ จัดทำแผนที่กิจกรรม (แผนการผลิต/การตลาด) เพื่อค้นหาความต้องการด้านวิชาการและเทคโนโลยีของเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยใช้เกษตรกรประเมินตัวเองด้วยแบบฟอร์มการประเมินคุณสมบัติของ YSF เพื่อนำมาใช้จัดทำแผนพัฒนาตัวเอง พร้อมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ และจัดทำช่องทางการเรียนรู้และการติดต่อสื่อสาร

ระยะที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อรายงานการเรียนรู้และประสานงานเชื่อมโยงแหล่งความรู้ที่เหมาะสมเพิ่มเติมระยะที่ 3 จัดเวทีนำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมโยงเครือข่ายระดับจังหวัดและให้เกษตรกรรุ่นใหม่วางแผนอนาคต สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ พร้อมทั้งประเมินคุณสมบัติของ YSF ประธานเครือข่าย YSF วิธีปฏิบัติ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้หรือการเพิ่มช่องทางการตลาด-การวางแผนอนาคต

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในระดับอำเภอและจังหวัดเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ ประสานหน่วยงานภาคีเพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ ศึกษาดูงาน นวัตกรรม การตลาดและอื่นๆ จากหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคี ภาครัฐและเอกชน เป็นผู้ประสานงานที่ดี คอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร

มังคุด หนึ่งในราชินีผลไม้ที่ขึ้นชื่อของไทย เป็นทั้งผลไม้และพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การบริโภคมังคุด มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง “กากใยจากเนื้อมังคุด” ช่วยในการขับถ่ายและให้วิตามิน เกลือแร่มากมาย ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เมื่อได้ลิ้มรสความอร่อยของเนื้อมังคุดแล้ว อย่าทิ้งเปลือกมังคุดให้เปล่าประโยชน์เพราะเปลือกมังคุดมีสรรพคุณทางยามากมาย

เปลือกมังคุด มีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ ตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า เปลือกมังคุดมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจะใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผลและน้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งล้างแผลแทนการใช้ด่างทับทิม แล้วยังช่วยรักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย

ชาวบ้านในชนบทนิยมใช้เปลือกมังคุดเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้าน โดยนำเปลือกมังคุดสดหรือแห้งหากนำมาต้นน้ำดื่ม เพื่อรักษาอาการท้องเสีย ท้องร่วงเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ดังนั้น มังคุด จึงถูกนำมาใช้อุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง อย่างกว้างขวาง เพราะใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่น สบู่เปลือกมังคุด สรรพคุณช่วยดับกลิ่นกาย บรรเทาโรคผิวหนัง รักษาสิวฝ้า เป็นต้น

ผลการศึกษาทางวิชาการ พบว่า น้ำมังคุด เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆ พบว่า น้ำมังคุด มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระมากกว่า แครอต บลูเบอร์รี่ และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้อีกด้วย (วันดี กฤษณพันธ์, 2541)

โดยปกติ มังคุด จะมีผลผลิตออกเพียงปีละครั้งเท่านั้น หากใครสนใจต้องการทำน้ำมังคุดมาใช้บริโภคเป็นเครื่องดื่มหรือแปรรูปเป็นอาหาร ควรนำผลมังคุดสดใหม่มาคั้นน้ำใส่ภาชนะที่มีฝาครอบมิดชิด แล้วให้เก็บไว้ในช่องแข็งตู้เย็น น้ำมังคุดจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง เมื่อต้องการนำออกมาใช้ ก็แค่ทุบออกเท่ากับที่ต้องการใช้ เก็บส่วนที่เหลือเก็บเข้าช่องแข็งตามเดิม วิธีนี้จะทำให้มีน้ำมังคุดใช้งานได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่า ควรเลือกผลมังคุดในช่วงที่เริ่มเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีดำใหม่ๆ เพราะมังคุดที่มีสีผิวดำมาก จะมีรสชาติหวาน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย คุณนริศา เหละดุหวิ นักวิจัยฝ่ายเทคโนโลยีอาหารและคณะ ประกอบด้วย คุณพรภัทรา ศรีนรคุตร คุณปุณณภา บุญยะภักดิ์ และ คุณณรงค์เดช อาษา ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเรื่องแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มมังคุด ในลักษณะน้ำผลไม้จากมังคุด และแยมมังคุด หากใครสนใจทดลองทำเป็นเครื่องดื่มประจำบ้านหรือใช้เป็นอาชีพเสริม สามารถนำองค์ความรู้นี้ไปทดลองทำได้ไม่ยาก

“น้ำผลไม้” คือน้ำซึ่งมาจากผลไม้โดยผ่านกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนสภาพเพราะจุลินทรีย์ได้ แต่ต้องมิใช่การหมักดอง (Fermentable but unfermented) โดยจะต้องมีสี กลิ่น รส เหมือนกับน้ำผลไม้ธรรมชาตินั้น สามารถแปรรูปได้ 4 รูปแบบ ได้แก่