นับเป็นเกษตรกรหนุ่มอีกรายที่มีวิสัยทัศน์ และมีการบริหารจัดการ

ซึ่งก่อนที่จะยึดเป็นอาชีพก็ได้ศึกษาค้นคว้าและทดลองจนรู้แจ้งเห็นจริง และเชื่อว่าอีกไม่นาน “รัตนชัยฟาร์มไส้เดือน” คงจะสามารถส่งขายมูลไส้เดือนไปทั่วประเทศ นอกเหนือจากการส่งไปขายที่มาเลเซียและส่งขายในพื้นที่จังหวัดสตูล เท่านั้น

ครูเปลื้อง เกษตรสิงห์ ข้าราชการบำนาญ วัย 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 7 บ้านโนนหมากแงว ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบัน อยู่กับภรรยา มีลูกชาย 2 คน เป็นนายแพทย์ด้านกระดูก ที่โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนอีกคน ทำงานด้านเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

หลังเกษียณอายุราชการ ครูสนใจประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง โดยเข้าเป็นสมาชิกโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร เลี้ยงโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ กับอเมริกันบราห์มัน

ในพื้นที่ 15 ไร่ แบ่งเป็นโรงเรือนเลี้ยงวัว 3 ไร่ แปลงหญ้า 3 ไร่ บ่อน้ำและคันบ่อปลูกหญ้า 3 ไร่ ปลูกกล้วยหอมทอง 1 ไร่ บ้านพักอาศัย 1 ไร่ โรงเรือนเก็บหญ้าแห้ง ฟางแห้ง โรงสีข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าว เครื่องบดหญ้าสด 1 ไร่ ที่เหลือเป็นที่ว่างเปล่าให้วัวเดินเล่น ออกกำลังกาย และป่าไม้ใช้สอย ไม้ธรรมชาติ

ครูเปลื้อง เล่าให้ฟังว่า งานเกษตรหลังเกษียณสนุกมาก เพราะหลังจากวางกล่องชอล์กจากความเป็นครู ทำงานในฟาร์ม เป็นเรื่องใหม่ ทำให้ตนเองศึกษาไปเรื่อยๆ ทั้งด้านการปฏิบัติ ด้านวิชาการ ไม่เหงา ทำงานกับภรรยา แรงงานจ้างบ้างเมื่อยามจำเป็น โคขุน สร้างเงินงามมาก ปุ๋ยมูลโคที่ตากแห้ง หมัก ตามกระบวนการโดยมีคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด และจาก คุณอนัญทยา ลาศา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลน้ำคำ ได้ปีละ 2,000 กระสอบ กระสอบละ 250 บาท เป็นเงิน 500,000 บาท เป็นเรื่องที่น่า “ทึ่ง” มากๆ (ขายขี้วัว)

วัวขุนชาร์โรเล่ส์ ขายปีละ 8-10 ตัว ราคาเฉลี่ย 120,000 บาท ปีละ 1,200,000 บาท วัวในเกษตรสิงห์ฟาร์ม หมุนเวียน 15-30 ตัว ต่อเติมข้างโรงเรือนเลี้ยงโคขุน เลี้ยงไก่เนื้อ ไก่งวง นกกระทาไว้กินไข่และขาย วันละ 40-50 ฟอง นอกจากนี้ยังมีเลี้ยงแพะพันธุ์นม

ครูเปลื้อง บอกว่า ภาคภูมิใจมากที่มีฟาร์มวันนี้ จากการเริ่มต้นทำไร่นาสวนผสมมาดำเนินการภายในฟาร์ม อยู่อย่างเกื้อกูลกัน มูลโค เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ใส่กล้วยหอมทอง 600 ต้น สมบูรณ์มาก 5-7 หวี หวีขนาดใหญ่ น่ารับประทาน 600 เครือ ต่อปี ขายเครือละ 150 บาท รายได้ 80,000-100,000 บาท ขายหน่อกล้วย 35 บาท/หน่อ จากกอละ 3-5 หน่อ เป็นรายได้ที่ดีมาก ปีละ 50,000-60,000 บาท

งานกล้วยๆ ที่สามารถทำเงินแสนให้ครอบครัว เป็นแปลงปลูกกล้วยหอมทองพันธุ์ดีจากจังหวัดเพชรบุรี ซื้อมาหน่อละ 30 บาท 400 หน่อ ปลูกระยะ 2×2 เมตร

ครูเปลื้อง เล่าให้ฟังว่า หากเตรียมหลุมดี ใส่ปุ๋ยคอกเพียงพอ คือ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 คือ ดิน มูลโค แกลบเผาหรือปุ๋ยคอกเท่าๆ กัน ช่วงระหว่าง 5-6 เดือน เสริมปุ๋ยคอกเข้าไปอีก 1-2 บุ้งกี๋ ระบบน้ำเป็นน้ำหยด ชุ่มชื้นตลอดเวลา กล้วยสวยงามตลอดระยะการเจริญเติบโต หน่อกล้วยเกิดขึ้นมาจำนวนมาก พยายามใช้เสียมสับๆ ให้สั้นเข้าไว้ อย่าให้เจริญเติบโต เรียกว่ามาต้นแม่เพียงต้นเดียวเท่านั้น ถึงเวลาครบอายุตัดกล้วย ตัดให้ต้นสูง 2 เมตร เพื่อให้เลี้ยงต้นลูกหรือหน่อกล้วย จากนั้นเลือกต้นที่อยู่ห่างจากต้นแม่มากที่สุด เพื่อป้องกันการขึ้นโคน เพื่อดูแลเพียงต้นเดียว นอกจากนั้น ขุดออกเพื่อจำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ให้เกษตรกรทั่วไป ต้นละ 35 บาท หลุมละ 5-8 หน่อ 150-200 บาท เป็นรายได้ที่งดงาม ข้อสำคัญอย่าแยกหน่อกล้วยขณะที่กำลังมีเครือกล้วยหรือหวีกล้วยยังอ่อน จะกระทบต่อผลผลิต กล้วยลูกเล็ก เพราะอาหารไม่เพียงพอ

ครูเปลื้อง เกษตรสิงห์ บอกว่า ที่นี่เป็นกล้วยอินทรีย์ล้วนๆ ครับ

นอกจากนี้ มีการผลิตและขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ชั้นพันธุ์หลัก จากศูนย์วิจัยข้าวร้อยเอ็ด ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีสู่ชาวนาอย่างมีคุณภาพ จากเมล็ดข้าว กิโลกรัมละ 10 บาท ผลิตเมล็ดพันธุ์ขายได้ 25 บาท ต่อกิโลกรัม ปีละ 25,000-30,000 กิโลกรัม มีที่ปรึกษาจากกรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ โดย คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์เกษตรอำเภอ มอบหมายให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์ขยายหรือศูนย์เครือข่ายของตำบลน้ำคำ

ครูเปลื้อง กล่าวว่า “ผมคือครูติดแผ่นดิน” ต้องเป็นครูตลอดชีวิต ที่นี่คือฟาร์มของเกษตรกร เป็นแหล่งศึกษาของเกษตรกรทุกๆ คน ด้าน ดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เชื่อมโยงสู่การตลาด โดยเน้นสินค้าการเกษตรปลอดภัย สู่การเกษตรอินทรีย์

ด้าน คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นนโยบายของรัฐบาล คุณสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบ ศพก. ให้เป็นศูนย์ฯ มีชีวิต ห้ามเป็นโชว์รูม สามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง อำเภอสุวรรณภูมิ อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มี คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างมีศักยภาพ พร้อมนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่ในทุ่งกุลาร้องไห้ 10 ตำบล 136 หมู่บ้าน เกษตรกร 21,000 ครัวเรือน เป้าหมายสูงสุดของการทำงานคือ “เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด เกษตรกรมีความสุข”

คุณกชมล สีนวล หรือ พี่แหม่ม อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 6 ตำบลดอนทอง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี อดีตผู้จัดการหมู่บ้านจัดสรร เงินเดือนสูง ผันตัวเองกลับมาเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิดจังหวัดสระบุรี พลิกฟื้นพัฒนาการทำเกษตรแบบเดิมของพ่อแม่ให้ดียิ่งขึ้น จนทุกวันนี้สามารถสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน บนพื้นที่การทำเกษตรเพียง 11 ไร่

คุณกชมล สีนวล หรือ พี่แหม่ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรว่า เคยทำงานเป็นผู้จัดการหมู่บ้านจัดสรรมาก่อน แต่ด้วยปัญหาสุขภาพที่รุมเร้า จึงตัดสินใจที่จะกลับมาตั้งหลักหางานทำที่บ้าน ประกอบกับพื้นฐานที่บ้านพ่อแม่เป็นเกษตรกรอยู่แล้ว อาชีพเป็นเกษตรกรถือเป็นอาชีพที่อยู่ในสายเลือด แต่ก็ไม่ใช่ว่ากลับมาแล้วจะลงมือทำได้เลย การทำเกษตรนอกจากมีใจรักแล้ว จำเป็นต้องศึกษาวิธีการให้ดีก่อน เพราะตนมีอุดมคติและความตั้งใจที่จะกลับมาพัฒนาเปลี่ยนการทำเกษตรให้ฉีกจากรูปแบบเดิมๆ ที่พ่อแม่ทำไว้ คือยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ แต่เราจะทำการเกษตรอย่างไรให้มีกำไร ก็คือ ต้องศึกษาจากคนรุ่นใหม่ ศึกษาตลาดโลกว่าเทรนด์สินค้าการเกษตรแบบไหนที่โลกกำลังให้ความสนใจ ก็ลองหาข้อมูลดู ก็ได้พบว่า เทรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง จึงเริ่มวางแผนทำเกษตรตั้งแต่นั้นมา

“พี่เริ่มทำเกษตรตอนปี 56 ช่วงนั้นเทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง ตรงกับจังหวะที่พี่กำลังปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ส่งตลาดออนไลน์ เมื่อผลตอบรับดี พี่จึงหันมาศึกษาเรื่องข้าวอย่างจริงจัง เพราะที่บ้านพี่ทำนาเป็นหลักอยู่แล้ว จึงใช้ข้าวเป็นพืชเริ่มต้นสร้างรายได้ และได้ผลตอบรับที่ดี เมื่อทำข้าวประสบความสำเร็จเริ่มมีเงินมากขึ้น ความคิดก็เริ่มฟุ้งอยากทำอะไรหลายอย่าง ก็ไปหาเป็ดมาเลี้ยง โดยที่ไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลการเลี้ยงและการตลาดมาก่อน ผลปรากฏว่าเจ๊งไปตามคาด ก็ต้องเลิกราการเลี้ยงเป็ดไป แล้วเข้ามาสมัครโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์

ปี 58 เพื่อเข้ามาเติมความรู้ อะไรที่ไม่รู้ก็ถามเครือข่ายยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ด้วยกัน เพื่อนๆ ในกลุ่มก็ให้คำปรึกษาดี และแนะนำให้แปรรูปสินค้าเพิ่มอีกช่องทาง จึงเริ่มหันมาแปรรูป เพราะเริ่มรู้แล้วว่าการทำเกษตรนอกจากจะมีความตั้งใจแล้ว ตลาดต้องนำการผลิตด้วย นี่เป็นสิ่งสำคัญของการทำเกษตร และไม่ใช่ว่าจะขายอะไรที่อยากขายก็ได้ แต่ต้องมองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก อย่างเช่นตอนนี้พี่มีรายได้หลักจากการขายปลานิลแดดเดียว แต่พี่จะไม่ทำแค่ปลาแดดเดียว เพราะลูกค้าบางคนไม่ชอบแกะก้าง พี่ก็มาทำปลานิลไร้ก้าง ปลาช่อนไร้ก้าง ลูกค้าชอบกินปลานาปลาทุ่งอยู่แล้ว เพราะหากินยาก เราก็เอาวิถีชนบทที่เราอยู่มาประยุกต์ใช้กับเกษตรสมัยใหม่ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ใหม่ๆ ขึ้นมา”

มีพื้นที่น้อย เลือกปลูกพืชอย่างไร
ให้มีรายได้คุ้มค่าที่สุด
พี่แหม่ม เล่าว่า ตนมีพื้นที่การทำเกษตรทั้งหมด 11 ไร่ อันดับแรกจะเน้นปลูกพืชที่ดูแลง่าย และมองเรื่องการบริหารจัดการเวลาเป็นหลัก ที่ฟาร์มจะมีปฏิทินฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผักโดยเฉพาะ เพื่อให้รู้ว่าพืชผักชนิดนี้ปลูกวันไหน ครบกำหนดเก็บเกี่ยวเมื่อไร จึงจะสามารถวางแผนได้ว่าสินค้าตัวนี้จะส่งไปถึงมือลูกค้าได้วันไหน อันดับถัดมาคือ การแบ่งพื้นที่การปลูก ที่ฟาร์มจะมีการแบ่งพื้นที่ ดังนี้

พื้นที่ขุดสระน้ำ 4 ไร่ สาเหตุที่ต้องทำสระน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากว่าที่สวนทำเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เป็นเหมือนบ่อประปาของหมู่บ้านให้คนอื่นได้ใช้ด้วย
พื้นที่ทำอาคารแพ็กสินค้า ประมาณ 1 ไร่ เพื่อตอบโจทย์และพัฒนายกระดับคุณภาพสินค้าขึ้นมา
พื้นที่ไว้สำหรับจัดสรรปันส่วนปลูกพืชหมุนเวียน ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งถือว่ามีพื้นที่การปลูกพืชผักไม่มากนัก ดังนั้น จึงต้องเลือกปลูกพืชหมุนเวียนที่มีราคา สร้างความคุ้มค่าให้เกิดขึ้นทุกตารางนิ้ว โดย
เลือกปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างรายได้ประจำสัปดาห์
พื้นที่สำหรับเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี เพื่อเก็บไข่ขาย
พื้นที่สำหรับโรงเพาะเห็ด
ปลูกมะเขือเทศหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศท้อ มะเขือเทศสีดา และ
ปลูกข้าวโพดอินทรีย์ ทั้งสายพันธุ์เพียวไวท์ฮอกไกโด และราชินีทับทิมสยาม มีจุดเด่นที่สามารถกินดิบได้ ท้องไม่อืด และเป็นข้าวโพดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวานราชินีทับทิมสยาม
ให้รสชาติหวาน กรอบ ถูกใจผู้บริโภค
เจ้าของบอกว่า ที่ฟาร์มจะใช้ระบบปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ได้กำหนดพื้นที่ตายตัว แบ่งปลูกตามออเดอร์ลูกค้า เพราะที่นี่ใช้ตลาดนำการผลิต วิธีการปลูกข้าวโพดของที่นี่จะเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งหลายคนสงสัยว่า ปลูกข้าวโพดแบบอินทรีย์ทำได้ด้วยหรือ ตอบเลยว่า ทำได้ เทคนิคการปลูกมีดังนี้

การเตรียมแปลง ที่นี่จะไถพรวนแล้วตีปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ลงไปด้วย และเมื่อเตรียมดินเสร็จขุดหลุมปลูก ให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักไปอีกเล็กน้อย
จากนั้นหยอดเมล็ด หลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วกลบ
ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้พืชได้เกิดการผสมเกสร เพราะถ้าพืชไม่มีการผสมเกสรจะส่งผลทำให้ฝักออกมาไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ รสชาติไม่หวาน ฟักไม่ดก
เมื่ออายุครบ 20 วัน เริ่มพรวนดินใส่ขี้แดดนาเกลือ ไว้รอบๆ ขี้แดดนาเกลือคือสาหร่ายขี้ตะไคร่น้ำนาเกลือ เกิดจากชาวนาเกลือเวลาทำนาผันน้ำออกไปแล้ว เขาจะเอาน้ำหล่อพื้นนาไว้ให้ดินชื้น ทีนี้มันจะเกิดเป็นตะไคร่น้ำเวลาแสงแดดส่องผ่านกระทบดินมันจะกลายเป็นตะไคร่แผ่นสาหร่าย แล้วก็เอาน้ำออก พอแห้งจะล่อนเหมือนขี้ดิน เขาจะเอารถมาปาดขายได้ ซึ่งขี้แดดนาเกลือจะมีธาตุอาหารแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ผลไม้มีรสชาติกลมกล่อม หวาน กรอบ พืชเจริญเติบโตได้ดี ถือเป็นสูตรเด็ดเคล็ดลับความหวานของข้าวโพดที่ฟาร์ม

ระบบน้ำ …ใช้สายยางเดินรด เพราะปลูกครอปละไม่มาก น้ำวันเว้นวัน และกำลังอยู่ในขั้นตอนเร่งพัฒนาทำระบบน้ำหยดพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดต้นทุนในอนาคต

การดูแลกำจัดแมลง …ปัญหาหลักของข้าวโพดคือ หนอนกระทู้ แต่ที่นี่จะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัด จะใช้อินทรีย์เข้ามาแทน โดยการใช้น้ำหมักมะกรูด หรือน้ำหมักสะเดา ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง ถ้าช่วงไหนระบาดหนักก็พ่นวันเว้นวัน

ส่วนการทำน้ำหมักมะกรูดไว้ใช้เองไม่ยาก เพียงใช้มะกรูดสด 5 กิโลกรัม นำไปปั่นหรือแช่น้ำให้เปื่อยแล้วขยำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมากรอง ผสมน้ำในอัตราส่วนตามความเหมาะสม ในมะกรูดจะมีสารจับใบและมีกลิ่นหอมระเหยสามารถไล่แมลงได้

ระยะการปลูกถึงเก็บเกี่ยว …ใช้เวลา80 วัน ผลผลิตที่ได้ออกมาเป็นที่น่าพอใจมาก ลูกค้าชอบ ฝักใหญ่ หวาน กรอบ น้ำหนักต่อฝักเฉลี่ย ประมาณ 7-8 ขีด 1 ต้น ได้ผลผลิตประมาณ 3 ฝัก

ราคาขาย …ในชุมชนราคาฝักละ 25 บาท ขายออนไลน์ฝักละ 35-40 บาท ถือเป็นพืชสร้างรายได้ดีเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ต้นทุนในการผลิตต่อครอป …ค่าใช้จ่ายหลักๆ อยู่ที่ค่าเมล็ดพันธุ์ ส่วนค่าปุ๋ยคอก กระสอบละ 35 บาท ขี้แดดนาเกลือ กระสอบละ 60 บาท น้ำหมักมะกรูดหาเก็บทำเองได้ หรือจะไปขอตามร้านทำเครื่องแกงมาทำก็ได้ สรุปค่าใช้จ่ายการปลูกข้าวโพดแค่หลักพันต้นๆ ต้นทุนไม่แพง แต่ที่ขายได้ราคาดีเพราะความใส่ใจดูแลที่ดี และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย

รายได้ต่อเดือน …200,000 บาท แต่ต้องบอกก่อนว่า รายได้ 200,000 บาท นี้ไม่ใช่มาจากการขายข้าวโพดและมะเขือเทศเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากสวนเกษตรผสมผสานและการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตร มีกิจกรรมให้เด็กมาเรียนดำนา ทำกิจกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในฟาร์ม ภายใต้แบรนด์กินกรีน รวมถึงการทำตลาดออนไลน์ และมีหน้าร้านขายสินค้าเกษตรจากเครือข่ายยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อยู่ที่ตลาด อ.ต.ก. เน้นเชื่อมโยงเครือข่ายทำเกษตรอินทรีย์

ทำตลาดสินค้าเกษตรอย่างไร
ให้มีรายได้หลักแสนต่อเดือน
พี่แหม่ม บอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการทำเกษตรคือ ใช้ตลาดนำการผลิต และต้องมีความรู้ความใส่ใจจริงๆ ต้องไม่ทำตามกระแส และต้องรู้จักการแปรรูป แพ็กเกจจิ้งยังไงก็สำคัญ ยกตัวอย่าง สินค้าสร้างรายได้หลักที่ฟาร์มคือ ปลาแดดเดียว แต่จะทำอย่างไรให้ขายออนไลน์ได้ทั่วประเทศ ก็ต้องมาถึงขั้นตอนแพ็กเกจจิ้งที่ทันสมัย ไปที่ไหนใครก็อยากซื้อ และราคาสามารถจับต้องได้

ส่วนการทำตลาดออนไลน์ เกษตรกรต้องขยันโพสต์กิจกรรมภายในสวนทุกวัน เพื่อให้ผู้ติดตามเพจได้ทราบว่า วันนี้ที่ฟาร์มปลูกอะไร ทำอะไรบ้าง รวมถึงการเปิดพรีออเดอร์สินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ว่าเขาอยากจะกินอะไร ต้องการอะไร พอเขาบอกมาแล้ว เราก็มาผลิตส่งตรงถึงโต๊ะอาหารลูกค้า ฟาร์มทูเทเบิ้ล หรือถ้าในบางเดือนพื้นที่ไม่พอปลูกสินค้าครบจำนวนตามที่ลูกค้าออเดอร์มา ที่ฟาร์มจะแก้ปัญหาด้วยการนำสินค้าของเครือข่ายมาขาย ในราคาที่ให้เขากำหนดเอง จะไม่มีการกดราคาเกษตรกรด้วยกันเองเกิดขึ้น เพราะเราไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง เราเป็นเครือข่ายกัน

แนะนำเกษตรกรรุ่นเก่า หาทางออกสินค้าล้นตลาด
“สิ่งที่เกษตรกรรุ่นเก่ากลัวที่สุดคือ กลัวการขาย กลัวการออกจากบ้าน ยกตัวอย่าง เกษตรกรแถวบ้าน เราไปสอนเขาทำปลาแดดเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วเกษตรกรที่เราไปสอนเขามีองค์ความรู้ มีความชำนาญมากกว่าเรา แต่เขาให้เราไปสอน เราก็ไม่รู้จะสอนอะไร แต่เรามองปัญหาของเขาอย่างเดียวคือ เขาแค่ไม่กล้าออกไปขาย บ้านอยู่ริมถนนรถผ่านเยอะทุกวันแต่ไม่ติดป้ายว่า มีปลาขาย ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่รู้จะติดยังไง จะมีคนเห็นไหม อันนี้คือ เกษตรกรคิดเอง คิดแทนลูกค้า คือบางครั้งการตลาดก็แค่การประชาสัมพันธ์ และเปิดใจกล้าที่จะออกไปเจอลูกค้า

กล้าที่จะขาย แต่เกษตรกรขาดตรงนี้ ไม่ต้องมีองค์ความรู้มากมาย แต่กล้าที่จะทำ ตลาดอยู่ที่ปากเรานี่เอง หรือถ้าเกษตรกรท่านใดพื้นที่บ้านไม่สะดวกเป็นที่ไม่มีคนสัญจรจริงๆ ก็เริ่มจากการนำไปขายที่ตลาดนัดใกล้บ้าน หรือถ้าไม่มีเวลาก็ไปรับออเดอร์มาก่อนก็ได้ แล้วมาทำที่บ้านแล้วเอาไปส่ง ไม่ต้องเขิน และอย่าคิดว่าสินค้าตัวเองขายไม่ได้ เพราะแค่ยอดมะตูมแขก ลูกมะอึก ผักเสี้ยนดอง ที่พี่ลงโพสต์ขายก็ขายได้ ลูกมะอึกที่อยู่ตามถนน โลละ 80 บาท เชฟในโรงแรมต้องการแทบตาย แต่ไม่มีคนเห็นค่า พี่โพสต์ขายแป๊บเดียวหมด ดังนั้น เกษตรกรทุกคนต้องออกจากความกลัว ในยุคสมัยนี้หยิบจับอะไรขึ้นมา แป๊บเดียวก็ขายได้ ถ้าของเราดีไม่ต้องกลัวโซเชี่ยลไปไวมาก แค่กล้าเริ่มต้น” พี่แหม่ม กล่าวทิ้งท้าย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จัดสัมมนาเผยผลการศึกษา “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอล” ผลวิจัยชี้ว่า ใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอล

ลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ประมาณ 25% หรือลดต้นทุนได้ 1.18 บาท ต่อการผลิตเอทานอล 1 ลิตร ย้ำผ่านการทดสอบการประเมินผลด้านปลอดภัยทางชีวภาพแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ระบุหากประเทศไทยนำยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล จำเป็นต้องเร่งออกมาตรการเพื่อควบคุมและกำกับการใช้งานเชื้อจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม โดยยึดถือมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นสำคัญ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า วว. ได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเวลากว่า 5 ปี ให้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตเอทานอล ทั้งในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและกระบวนการผลิต โดยทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับกึ่งอุตสาหกรรมภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตเอทานอลจากหัวมันสำปะหลังสด/มันเส้น (2559) และโครงการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล (2561) รวมถึงล่าสุดโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมเอทานอล

ที่ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. ได้ดำเนินการศึกษาโดยการใช้วรรณกรรมวิจัยเพื่อสืบค้น และรวบรวมสถานภาพความก้าวหน้าในการพัฒนาพันธุกรรมเชื้อยีสต์เพื่อผลิตเอทานอล และแนวทางในการดำเนินการในต่างประเทศเพื่อกำกับ ควบคุมหรือส่งเสริมการใช้และการวิจัยในสาขาดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อยีสต์ที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมด้วยเชื้อยีสต์จากธรรมชาติของประเทศไทย ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล และด้านคุณสมบัติอื่นๆ ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตเอทานอลอื่นๆ เช่น สารพลอยได้ และของเหลือจากกระบวนการผลิตเอทานอลโดยยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ

จากการศึกษาวิจัย สมัครเว็บคาสิโน สามารถคัดเลือกยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมคือ สายพันธุ์ MD1 สำหรับวัตถุดิบมันสำปะหลัง มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์กลูโคอะไมเลสได้ ช่วยในการผลิตเอทานอลที่ความเข้มข้นสูง สามารถลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ ส่วนเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม GY1 สำหรับวัตถุดิบประเภทกากน้ำตาล มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์อุตสาหกรรม เมื่อทำการผลิตเอทานอลที่ใช้ความเข้มข้นตั้งต้นของกากน้ำตาลสูง ส่วนการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของการใช้เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม และเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมผ่านการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพว่า ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์

“งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ของ วว. ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (BCG) ของประเทศ ซึ่ง วว. ศักยภาพและความสามารถในการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต”

ดร.พงศธร ประภักรางกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วว. ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการศึกษาว่า ในวัตถุดิบมันสำปะหลัง วว. ทำวิจัยโดยใช้เชื้อยีสต์ MGT 1/1 จากศูนย์จุลินทรีย์ วว. และเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม MD1 มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์กลูโคอะไมเลสได้เทียบเคียงกัน แต่ประสิทธิภาพในการผลิตเอทานอลของเชื้อยีสต์ MD1 จะดีกว่าเชื้อยีสต์ MGT 1/1 ในการผลิตเอทานอลที่ความเข้มข้นสูง และสามารถลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในส่วนของการใช้เอนไซม์ลงได้ประมาณ 0.45 บาท

ต่อการย่อยมันสำปะหลัง 1 กิโลกรัม หรือลดต้นทุนการใช้เอนไซม์ลงได้ 1.18 บาท ต่อการผลิตเอทานอล 1 ลิตร โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งให้ผลลักษณะเดียวกันกับการผลิตเอทานอลด้วยวัตถุดิบประเภทกากน้ำตาลกล่าวคือ เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม GY1 มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลได้ดีกว่าเชื้อยีสต์อุตสาหกรรม SC-90 เมื่อทำการผลิตเอทานอลที่ใช้ความเข้มข้นตั้งต้นของกากน้ำตาลสูง ส่วนการทดสอบประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของการใช้เชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมและเชื้อยีสต์จากธรรมชาติในการผลิตเอทานอล โดยวิธี reverse mutagenicity (AMEs Test) พบว่าเชื้อยีสต์ที่นำมาทดลองทั้งเชื้อยีสต์จากธรรมชาติ และเชื้อยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรมล้วนแล้วแต่ไม่พบฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์