นางสำรอง กล่าวว่า ลูกวัวที่เกิดมามีความแปลกและมีความเชื่อว่า

จะให้โชคให้ลาภแก่ผู้ที่พบเห็น ก่อนหน้านี้ตนเองได้โชคได้ลาภลอยจากเลขเด็ดไปแล้ว 3งวดติดต่อกัน ตั้งแต่ลูกวัวตัวนี้อยู่ในท้อง จึงมีความตั้งใจว่าจะให้เจ้าหน้าอนามัยสตาฟแช่ ฟอร์มาลีน และจัดเก็บไว้ในตู้กระจกทั้งสี่ด้าน และตั้งใจไปไว้ที่วัดพรุเตย เพื่อไว้เป็นที่บูชาสำหรับคนที่มีความเชื่อทางด้านนี้ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม และเป็นสิริมงคลให้กับคนในพื้นที่ต่อไป

นายดำรงกิจ พึ่งถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีอนามัยพรุเตย กล่าวว่า เนื่องจากลูกวัวตัวนี้เป็นลูกแฝด แต่ทางพันธุ์กรรมเกิดผิดปกติจึงไม่สามารถแบ่งเซลล์ออกมาได้ จึงไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ และสันนิษฐานว่าน่าจะตายตั้งแต่อยู่ในท้อง

วันที่ 17 มีนาคม 2560 นายอิสระ บุญมาก ราษฎรบ้านโป่งพาน หมู่ 5 ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ต.ห้วยมุ่น มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ประชากรราว 3,000 คน มากกว่า 1 เดือนแล้วที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณฝนที่ตกลงในพื้นที่ช่วงฝนที่ผ่านมานั้นมีค่อนข้างน้อย ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำที่สะสมอยู่ตามลำห้วยที่อยู่บนภูเขาก็มีน้อยลงไปด้วย ทุกวันนี้ชาวบ้านต้องใช้มาตรการประหยัดน้ำกันแล้ว โดยผู้ใหญ่บ้านจะประกาศให้ลูกบ้านทราบว่า ช่วงเย็นหลังจากเปิดน้ำประปาเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนได้พอแล้วก็ให้ปิด เพราะต้องให้ประชาชนที่อยู่ปลายน้ำได้ใช้น้ำบ้าง หากใช้กันฟุ่มเฟือย อีก 3-4 เดือนก็อาจจะแล้งหนักมากกว่านี้

“สับปะรดห้วยมุ่นเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของ ต.ห้วยมุ่น และของ จ.อุตรดิตถ์ โดยสับปะรดห้วยมุ่นจะมีผิวเปลือกบาง ตาตื้น ผลแก่ เปลือกที่ใกล้กับก้านผลจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อภายในผลสีเหลืองน้ำผึ้ง กลิ่นหอม รสหวานแบบธรรมชาติ เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย ฤดูกาลของสับปะรดห้วยมุ่นที่จะออกช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมทุกปี แต่ปีนี้แล้งมาเยือนส่งผลทำให้คุณภาพไม่ดีเท่าทุกปีที่ผ่านมา แม้ชาวบ้านจะใช้วิธีนำฟางข้าวมาปิดทับเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นในดินไม่ให้ต้นสับปะรดเหี่ยวเฉา บางรายไม่มีฟางข้าว ลำต้นก็จะเหี่ยว ปกติผลผลิตจะได้ไร่ละ 5 ตัน ปีนี้อาจจะลดน้อยลง แน่นอน ย่อมส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอย่างแน่นอน” นายอิสระกล่าว

วันนี้ 17 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 06.00 น. ผลจากความกดอากาศสูงที่แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีฝนตกโปรยปรายลงมาตลอดทั้งคืนยันเช้าจนสร้างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้น โดยเกิดทะเลหมอกจำนวนมากปกคลุมที่บริเวณหินสามวาฬ ภายในศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนที่ 154 ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู บ้านโนนทรายทอง หมู่ 8 ตำบลโคกก่อง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ หรือเรียกสั้นๆ ว่าภูสิงห์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดบึงกาฬ ทั้งที่ฤดูนี้ไม่เคยมีทะเลหมอกกลับปรากฏขึ้นมาให้เห็น สร้างความแปลกใจให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เข้ามาชมความงดงามตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวต่างพากันใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพทะเลหมอกเก็บไว้เป็นที่ระลึก และพูดกันว่าเป็นปรากฏการณ์สุดน่าทึ่งมาก

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศเตือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู และบึงกาฬ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

วันที่ 17 มีนาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพของแม่น้ำโขงระหว่างอำเภอเชียงของกับอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะช่วงแก่งคอนผีหลง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 จุดที่ทางการจีนมีแผนที่จะดำเนินโครงการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงก่อนหน้านี้ รวมถึงบริเวณแก่งผาได ซึ่งเป็นแก่งสุดท้ายก่อนที่น้ำโขงจะสิ้นสุดประเทศไทยในทางตอนเหนือเริ่มมีระดับที่ลดต่ำลง โดยบางช่วงมีเนินทรายและโขดหินโผล่ขึ้นมาจากน้ำจนเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ขยายวงกว้างในหลายพื้นที่ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาและ สปป.ลาว ทำให้แม่น้ำสาขาที่จะมีน้ำไหลมาสมทบนั้นมีปริมาณน้อย เพราะส่วนหนึ่งถูกกักและนำไปใช้เพื่อการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำยังคงที่เฉลี่ยอยู่ระดับ 2-4 เมตร มีเพียงบางจุดที่ต่ำกว่า 2 เมตรที่ร่องน้ำตื้นเขิน โดยยังไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือท่องเที่ยวและเรือเดินสินค้าแต่อย่างใด

โดยนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มอนุรักษ์เชียงของ เปิดเผยว่า ขณะนี้แม่น้ำโขงจะไม่แห้งมากนัก เนื่องจากทางการจีนยังมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจิ่งหงมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและการเดินเรือสินค้า แต่ระดับน้ำจะไม่คงที่ บางวันน้ำก็จะขึ้นสูงหากมีการระบายน้ำมามาก และบางช่วงที่มีการปิดเขื่อนก็จะทำให้น้ำแห้ง จึงทำให้เป็นปัญหาในเรื่องการทำลายระบบนิเวศโดยเฉพาะไกน้ำจืด ที่เจริญเติบโตได้ดีในแม่น้ำโขง เป็นแหล่งอาหารของปลาและแหล่งสร้างรายได้ของชาวอำเภอเชียงของที่เสียหายไปเป็นจำนวนมากจนปัจจุบันมีให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากกระแสน้ำไหลหลากหลังน้ำแห้งได้กัดเซาะเอาไกหลุดออกไปจากโขดหินทำให้ไกตาย

วันที่ 18 มีนาคม 2560 นายอนุสรณ์ ฤทธิ์ล้ำ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี พร้อมด้วยนายนพรัตน์ จั่นสำอาง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครฝนหลวงตำบลยางหัก ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณอ่างเก็บน้ำไทยประจัน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ที่มีความจุน้ำประมาณ 6 หมื่นลูกบาศก์เมตร หลังพบว่ามีสภาพแห้งขอดเหลือปริมาณน้ำอยู่ติดก้นอ่างเล็กน้อย ไม่สามารถแจกจ่ายไปสู่ราษฎรในพื้นที่ได้ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำมีตะกอนดินทับถมเป็นจำนวนมากจนมีสภาพตื้นเขิน ทำให้เก็บกักน้ำไว้ใช้ในปริมาณน้อยมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ขณะนี้ไม่สามารถปล่อยน้ำออกไปช่วยเหลือประชาชนประมาณกว่า 1,000 เรือนที่อาศัยอยู่บริเวณด้านล่างได้

ขณะที่ชาวบ้านได้ลงชื่อแจ้งไปยัง อบต.ยางหัก ในการขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ ที่มีอยู่ประจำเพียงคันเดียวก็ไม่เพียงพอต่อการแจกจ่ายน้ำช่วยเหลือในพื้นที่

นายอนุสรณ์ เปิดเผยว่า อ่างเก็บน้ำไทยประจันหล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 5 ประมาณกว่า 400 หลังคาเรือน และยังคงมีอีกหลายหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบอีก เช่น หมู่ที่ 3 หมู่ 2 เรื่อยลงไปยังพื้นที่ติดจังหวัดเพชรบุรี หล่อเลี้ยงประชาชนกว่า 1,000 กว่าหลังคาเรือน ที่ต้องอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และปัญหาน้ำแล้งเกิดซ้ำซากอยู่ทุกปี ขณะที่ในอดีตสภาพพื้นที่อ่างเก็บน้ำจุดนี้จะมีลักษณะลึกมาก แต่ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินมีตะกอนดินทับถมอยู่มาก ซึ่งหากฝนไม่ตกลงมาภายใน 20 วัน บริเวณแถบนี้จะมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสีเขียว จึงมีความเป็นห่วงเรื่องสัตว์ป่าจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันจะลงมาหาน้ำกินบริเวณอ่าง และจะต้องพบเจอสัตว์ร้ายที่เป็นศัตรูเฝ้าทำร้ายกันเหมือนเช่นปีที่แล้วที่เกิดกวางป่าตัวใหญ่ตาย 1 ตัว และ เก้งอีก 2 ตัว ที่ลงมากินน้ำในอ่างและมาถูกสัตว์ทำร้ายตาย อีกทั้งยังมีสัตว์ป่าลงกินน้ำติดดินโครนในอ่างแห่งนี้ ทำให้ช่วยเหลือชีวิตไม่ทันตายไปในที่สุดดั่งที่เคยเป็นข่าวมาแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา

นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาความเดือดร้อนขณะนี้ได้จัดประชุมร่วมกับชาวบ้านโดยมติในที่ประชุมมีการลงประชาคมหมู่บ้านในการทำเรื่องของบประมาณขุดลอกเร่งด่วนก่อน ขณะนี้เรื่องได้ผ่านขึ้นไปถึงองค์การบริหารส่วนตำบลยางหักแล้ว อยู่ในช่วงรอการประชุมของสภาว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งได้เข้าไปติดตามความคืบหน้าทราบว่าเรื่องดังกล่าวที่เสนอไป ได้เข้าแผนงานและมีการเตรียมดำเนินการขุดลอก การวางแผน การตั้งงบประมาณในการดำเนินการแล้ว

“ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เร่งด่วนได้ประสานขอความช่วยเหลือแจงเรื่องไปยัง นายธัมสัญญ์ อุ่มเอิบ ประธานอาสาสมัครฝนหลวงจังหวัดราชบุรี เพื่อขอให้ประสานไปถึงนายประสพ พรหมมา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ให้ช่วยนำเจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติการทำฝนหลวงเติมน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำไทยประจันที่แห้งขอดช่วงนี้ก่อน เพราะในพื้นที่แห้งแล้งมีใบไม้ทับถมจำนวนมาก เป็นสาเหตุการเกิดไฟป่าซึ่งเป็นอีกเรื่องที่จะต้องเฝ้าระวังเพิ่มด้วย” นายอนุสรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ นายอนุสรณ์กล่าวว่า ปัญหาที่กำลังจะตามมาจากน้ำแล้ง คือพืชผลทางการเกษตร ผัก ผลไม้ เงาะ ทะเรียน มังคุด ผักระยะสั้น เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว และอื่นๆ ชาวบ้านเริ่มกังวลแล้วว่าในเมื่ออ่างเก็บน้ำไทยประจันซึ่งเปรียบเสมือนโอ่งใบใหญ่ได้แห้งขอดลงแล้วโอ่งใบเล็กอย่างสระน้ำที่ได้ขุดไว้ใช้มีความจุไม่มากนั้น ก็คงจะแห้งลงในอีกไม่นานนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ทราบว่าชาวบ้านหลายคนได้เริ่มกรอกใบสมัครขอรับการสนับสนุนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคจาก อบต.ยางหักตามลำดับเลขที่ เนื่องจากทาง อบต.มีรถบรรทุกน้ำในพื้นที่เพียงคันเดียว ไม่เพียงพอต่อพื้นที่ จำเป็นต้องให้ชาวบ้านแจ้งความประสงค์ในการขอรับการสนับสนุนน้ำแต่ละหลังคาเรือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นช่วงนี้ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปก่อน

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันศุกร์ (17 มีนาคม) ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอาร์เจนตินาและบราซิลประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเบอร์นาดิโนริวาเดวา ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เปิดเผยการค้นพบกบเรืองแสงเองตามธรรมชาติครั้งแรก ซึ่งพวกเขาพบโดยบังเอิญในประเทศอาร์เจนตินาเมื่อเร็วๆ นี้ในระหว่างกำลังศึกษาสารกำเนิดสีที่มาจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในกบ 3 สายพันธุ์ที่พบโดยทั่วไปในอเมริกาใต้ ทั้งนี้ ภายใต้แสงปกติ ผิวหนังใสๆ ของกบเรืองแสงที่พบจะเป็นสีน้ำตาลเหลืองและมีลายจุดสีแดง แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ฉายแสงอัลตราไวไอเล็ตเข้าไป สีผิวของกบดังกล่าวกลับเรืองแสงสีเขียวสดใสขึ้นมาในทันที

นายคาร์ลอส ทาบัวดา หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า กรณีที่พบนี้ถือเป็นครั้งแรกในวงการวิทยาศาสตร์ที่พบกบเรืองแสงตามธรรมชาติ ส่วนจูเลียน เฟโววิช นักวิทยาศาสตร์ร่วมทีมเผยว่า เราตื่นเต้นมาก การค้นพบครั้งนี้ได้ทำให้ความรับรู้เข้าใจเกี่ยวกับการเรืองแสงในสภาพแวดล้อมของโลกที่เรามีอยู่เปลี่ยนไปมาก ทำให้เกิดการยอมรับว่าสารประกอบใหม่ของการเรืองแสงที่พบอาจมีความสัมพันธ์ทางหลักวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี และยังทำให้เกิดคำถามใหม่ๆ เกี่ยวกับการสื่อสารในการมองเห็นของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วย

ทั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 200 กลุ่มเพื่อความมั่นใจว่าปรากฎการณ์ที่พบไม่ได้เป็นผลจากการถูกขังของกบ และยังพบคุณลักษณะการเรืองแสงนี้ในกบทุกสายพันธุ์

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงดำเนินงานตามแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2559/60 ถึงแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศจะมีปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ความต้องการใช้น้ำก็เพิ่มสูงขึ้น กรมชลประทานจึงเดินหน้าเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ โดยทำการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ทั้งในและนอกเขตชลประทาน

นายสัญชัยกล่าวว่า ทั้งนี้กรมชลประทานได้จัดสรรงบประมาณ 2,736.94 ล้านบาท ในการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและโครงการแก้มลิงรวม 34 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำจำนวน 10 แห่ง และโครงการแก้มลิง 24 แห่ง หากโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ 419.88 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้งให้กับประชาชนมากกว่า 19,600 ครัวเรือน

“จากอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 10 แห่ง ขณะนี้กรมชลประทานได้สร้างแล้วเสร็จ 2 แห่ง คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพง จังหวัดยโสธร มีความจุ 12.40 ล้านลบ.ม. พื้นที่ได้รับประโยชน์ 1,200 ครัวเรือน และโครงการอ่างเก็บน้ำแม่นึงอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดลำปาง มีความจุ 9.20 ล้านลบ.ม. พื้นที่ได้รับประโยชน์ 1,048 ครัวเรือน ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งกำลังเร่งดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำ เพื่อให้ทันต่อการรับมือกับฤดูแล้งนี้” นายสัญชัยกล่าว

สวก.โชว์ “นวัตกรรม” ขับเคลื่อนงานวิจัยเกษตร หนุน “ไทยแลนด์ 4.0” ดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ผู้ใช้จริง ดึงภาคเอกชนหันมาใช้เทคโนโลยีจากงานนวัตกรรมของนักวิจัยไทยสู่เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงโครงการการขับเคลื่อนงานวิจัยการเกษตร สู่ไทยแลนด์ 4.0 ว่า ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยในการขับเคลื่อน คือ นวัตกรรมที่มีเป้าหมายในการเติมเต็มการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

นางสาวชุติมากล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ A4 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งเน้นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้มั่นคง โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการใช้นวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาประเทศ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร ให้ภาคเอกชนหันมาใช้เทคโนโลยีจากงานนวัตกรรมของนักวิจัยไทยให้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ภายในงานได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน “โครงการพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ” ของ 11 หน่วยงาน ได้แก่ 1.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.กรมวิชาการเกษตร 4.กรมการข้าว 5.กรมประมง 6.กรมหม่อนไหม 7.กรมปศุสัตว์ 8.กรมชลประทาน 9.กรมพัฒนาที่ดิน 10.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และ 11.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรให้มีศักยภาพ เป็นไปตามต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกันนี้ยังจัดให้มีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณนักวิจัยทุน สวก. ที่ได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ จำนวน 20 รางวัล ให้กับคณะนักวิจัยที่สร้างสรรค์ผลงานที่ดี มีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในและต่างประเทศ ประกอบด้วย ผลงานวิจัยกลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว 8 โครงการ เครื่องจักรกลเกษตร 5 โครงการ ชุดตรวจสอบ 5 โครงการ กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มละ 1 โครงการ

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการ สวก.กล่าวว่า ในแต่ละปี สวก. สร้างผลงานวิจัยได้ตามเป้าหมายและมีผลสำเร็จของเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย เพื่อนำไปส่งเสริมและผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ เช่น โครงการวิจัย กลุ่มเรื่อง Food Valley ซึ่งได้มีการจัดทำ MOU ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยผ่านเครือข่าย Food Valley ไม่น้อยกว่า 50 ราย ภายใน 5 ปี และยังได้ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสมุนไพร เพื่อให้ได้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้ออกสู่ตลาดได้อย่างแท้จริง เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือส่วนประกอบของเครื่องสำอางและสปา ผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาการ (Nutraceutical) ตลอดจนสร้างมาตรฐานสมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนําไปสู่การประมวลตํารับยาที่สามารถพัฒนาไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการและผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล รวมทั้งงานวิจัยที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว เช่น เครื่องฆ่ามอดข้าว และเครื่องล้างผัก ตลอดจนนิทรรศการงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรฯ โดยมีไฮไลต์ที่น่าสนใจ เช่น บะหมี่ไร้กลูเตน, กาแฟสูตรผสมน้ำตาลโตนด, ขนมหม้อแกงสูตรลดพลังงานพร้อมรับประทานบรรจุกระป๋องอะลูมิเนียม, แครกเกอร์ทุเรียน, น้ำเต้าหู้ TOFUSUNG ฯลฯ

กรมส่งเสริมสหกรณ์เดินหน้าสร้างแนวรุก ด้วยการกำหนดกรอบการใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างใกล้ชิด แนะการรับจดทะเบียนสหกรณ์ต้องพิจารณาด้วยความเหมาะสม เพราะเป็นกลไกสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสหกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎเกณฑ์

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงการใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรว่า อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามกฎหมาย มีอำนาจในการดูแลสหกรณ์และเกษตรกรให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ข้อบังคับและคำสั่งต่างๆ ที่ว่าด้วยการสหกรณ์ โดยเรื่องของการใช้อำนาจ การปฏิบัติตามข้อบังคับ การปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งที่กรมออกมากำกับดูแลสหกรณ์และเกษตรกร จะช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องและส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของสหกรณ์ ซึ่งการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ผ่านมานั้นมีความแตกต่างจากการดำเนินงานของสหกรณ์สมัยนี้ ทั้งเรื่องของความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่หมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามาในกลไกของสหกรณ์ ทุกวันนี้สหกรณ์ถูกมองว่า เป็นสถานที่ในการหาประโยชน์ เป็นสถานที่ของการสร้างกำไร เป็นสถานที่ของการหนีภาษี เป็นสถานที่ของการฟอกเงิน จึงมีแต่จะเข้ามาดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการใช้อำนาจหน้าที่ เพื่อเข้ามาช่วยดูแล แก้ปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ การใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ของผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑, พื้นที่ ๒ และสหกรณ์จังหวัดในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนสหกรณ์ ในการรับจดทะเบียนสหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์ ควบสหกรณ์ แยกสหกรณ์และเปลี่ยนฐานะกลุ่มเกษตรกรเป็นสหกรณ์ เรื่องของการให้ความเห็นชอบ ระเบียบรับฝากเงิน ระเบียบการให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่น วงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันและการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ซึ่งต้องพิจารณาการใช้อำนาจหน้าที่ด้วยความเหมาะสมและเกิดความสมดุล เช่นเดียวกับ การแต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์และพิจารณารายงานการตรวจสอบ อีกทั้งมีอำนาจในการสั่งเลิก การชำระบัญชี การกำกับผู้ชำระบัญชีและการถอนชื่อสหกรณ์ ซึ่งกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์มีความสำคัญมาก ในการทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎเกณฑ์

สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล เช่นเดียวกับที่แต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราวและการแต่งตั้งสมาชิกสหกรณ์ เป็นกรรมการดำเนินการแทนตำแหน่งที่ว่างลง รวมถึงการเข้าไปดูแลช่วยเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้การใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ ก้าวพ้นอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในเรื่องของสมาชิกสมทบว่าอายุของสมาชิกสมทบเป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือไม่และการถือหุ้นเป็นไปโดยชอบตามกฎหมายกำหนดหรือไม่

ในส่วนของปัญหาการใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้กล่าวไว้ ๔ ประเด็นสำคัญๆว่า ๑.จากการรับจดทะเบียนสหกรณ์ เช่น การวิเคราะห์แผนดำเนินธุรกิจว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ การตรวจสอบคุณสมบัติ อาชีพและอายุของสมาชิก การถือหุ้นของสมาชิกเกินกว่าหนึ่งในห้าของมูลค่าหุ้นทั้งหมดหรือไม่ ๒.การรับจดทะเบียนข้อบังคับ ได้แก่ การรายงานต่อนายทะเบียนสหกรณ์เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การตรวจสอบเนื้อหาข้อบังคับ การกำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการ

การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกและสมาชิกสมทบและการใช้ดุลพินิจในการไม่รับจดทะเบียน เช่นเดียวกับ ๓.การตรวจการสหกรณ์ ทั้งในส่วนของความสำคัญกับภารกิจการตรวจสหกรณ์ การทำงานร่วมกันเป็นทีมสร้างการรับรู้ร่วมกัน การวางแผนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและออกคำสั่ง ซึ่งทางสหกรณ์จังหวัดต้องเป็นกลไกสำคัญในการดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ ทั้งนี้จึงต้องมีความรู้รอบด้าน ทั้งด้านงานสหกรณ์และงานด้านนโยบายและ ๔.การออกคำสั่ง รูปแบบ ความชัดเจนของการออกคำสั่งให้ใช้ตามที่กำหนด ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่นำมาอ้าง บางครั้งขาดความชัดเจนหรือมีการออกคำสั่งบ่อยครั้งและใช้มาตราเดิม และปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การออกคำสั่งนั้นมีความเป็นได้น้อย ในการปฏิบัติตามคำสั่งได้ทันหรือออกคำสั่งไม่ทันต่อเหตุการณ์นั่นเอง

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายการปฏิบัติงานอย่างมีหลักการด้วยว่า ขอเน้นย้ำว่ารองนายทะเบียนสหกรณ์ต้องรอบรู้ ต้องทันต่อเหตุการณ์ ต้องรอบคอบ ต้องถูกต้อง แม่นยำในการออกคำสั่ง ตรงประเด็นในการตอบปัญหา สำคัญที่สุดคือยุติธรรมกับทุกฝ่าย ใครผิดก็ว่าตามผิด ดูแลคนให้ทั่วถึงและต้องยุติธรรม ในการนำมาซึ่งการยอมรับนับถือให้ได้ ทำให้ประชาชนเชื่อและศรัทธา อย่าไปอยู่กับข้างใดข้างหนึ่ง จนลืมความเป็นตัวตนของการเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ อย่าลืมตัวตนของการเป็นข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๒ รัชกาลคือ ร.๙ และ ร.๑๐ เพราะท่านให้ความห่วงใยทุกคน จึงอยากขอฝากไว้กับทุกท่านด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นเกราะคุ้มครองให้กับท่านในทุกๆ เรื่องและเป็นลมใต้ปีกที่หนุนท่านให้เจริญเติบโตอย่างสวยงาม

สิงห์บุรีส่งปลาช่อนแม่ลาขึ้นทะเบียนจีไอ เพิ่มมูลค่าสินค้า ประมงจังหวัดเร่งเก็บข้อมูล ส่งเสริมครบวงจรเลี้ยง-แปรรูป ตั้งเป้าสิ้นปีจดทะเบียนเรียบร้อย ยอมรับภัยแล้ง-สารเคมีกระทบปลาธรรมชาติเหลือน้อย ไม่เพียงพอบริโภค เตรียมฟื้นฟูสายพันธุ์ใหม่ พร้อมส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ในพื้นที่ช่วยปรับระบบนิเวศ

นายวัชระ ช่างบุญศรี นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) หรือ GI ให้ครบ 77 จังหวัด ภายในปี 2560 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้น เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประชุมทำความเข้าใจและให้ข้อมูลกับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลา กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปปลาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็นสินค้า GI

สำหรับขั้นตอนต่อไปคือ www.sbobetsix.com การให้สำนักงานประมงจังหวัดดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทั้งถิ่นที่อยู่ของปลา ผู้เพาะเลี้ยง และข้อมูลความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของปลาช่อนแม่ลากับที่อื่น เพื่อยื่นขอจดทะเบียนมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียน GI ได้ภายในปีนี้ โดยนอกจากปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว ยังรวมถึงเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในบ่อดินบริเวณรอบ ๆ ลำน้ำแม่ลาด้วย

“การขึ้นทะเบียนน่าจะไม่มีปัญหา เนื่องจากโครงการนี้ทางหัวหน้าประมงจังหวัดสิงห์บุรีคนก่อนเป็นผู้มาเสนอกับทางพาณิชย์จังหวัดต้องการจดทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็นGIด้วยตัวเองแต่จากสภาพอากาศที่สิงห์บุรีประสบภัยแล้งส่งผลทำให้ปริมาณปลาช่อนแม่ลาในสิงห์บุรีลดจำนวนลงไปอาจส่งผลต่อการขึ้นทะเบียนบ้าง เพราะการขึ้นทะเบียนนั้นต้องครบห่วงโซ่ ตั้งแต่การเลี้ยง การแปรรูป ดังนั้นจึงต้องเน้นที่การฟื้นฟูสายพันธุ์ด้วย” นายวัชระกล่าว

ส่วนการป้องกันการนำปลาจากแหล่งอื่นมาสวมสิทธิ์นั้น เมื่อปลาช่อนแม่ลาได้รับการขึ้นทะเบียน GI แล้ว ต้องมีการกำหนดระบบการควบคุมห้ามนำสินค้าจากเขตอื่นเข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ ซึ่งอาจควบคุมไม่ได้ 100% แต่น่าจะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง จึงพยายามให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ GI ช่วยเป็นหูเป็นตา ป้องกันการสวมสิทธิ์ได้

ด้านนายศุกรี บุญกอง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า ขณะนี้ประมงจังหวัดกำลังสืบค้นคุณลักษณะปลาช่อนแม่ลา เพื่อหาความแตกต่างระหว่างปลาช่อนสายพันธุ์จากสิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท รวมถึงระบบภูมิศาสตร์ ซึ่งปลาช่อนแม่ลานั้นมีลักษณะพิเศษคือ ตัวป้อมกว่า เกล็ดมีสีแดง เนื้อมีรสชาติอร่อย เกิดจากแร่ธาตุที่มีอยู่ในลำน้ำแม่ลา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน จึงจะทราบผล

ส่วนกรณีที่ปลาช่อนแม่ลาได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมานั้น ทางประมงจังหวัดได้นำปลาช่อนไปปล่อยลงในลำน้ำ เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศของปลาช่อน แต่ปริมาณปลายังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันจังหวัดสิงห์บุรียังต้องนำเข้าปลาจากจังหวัดอ่างทอง ชัยนาท เดือนละประมาณ 10 ตัน เพื่อมาใช้ในร้านค้า ร้านอาหาร รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาช่อน

ขณะที่นายชูศักดิ์ เพ็ชร์พูล ประธานกรรมการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์ผลิตข้าวอินทรีย์ลำแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันปลาช่อนแม่ลายังไม่ถึงกับสูญพันธุ์ เพราะปัจจุบันยังมี 2 พื้นที่ที่อนุรักษ์ไว้ คือบริเวณหมู่ 10 ตำบลทับยา ที่มีแหล่งสงวนพันธุ์ปลา มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งปลาช่อนแม่ลาด้วย และบริเวณสวนสมเด็จย่า หน้าวัดแหลมคาง ต.บางระจัน ที่มีการอนุรักษ์พันธุ์ไว้ ซึ่งขณะนี้มีความพยายามจะฟื้นฟูและขยายพันธุ์ปลาช่อนแม่ลาขึ้นมาใหม่ รวมทั้งการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรอบลำน้ำแม่ลาด้วย โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม

“เนื่องจากที่ผ่านมาการปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีในสองฟากฝั่งลำน้ำ ส่งผลต่อคุณภาพน้ำและปริมาณปลาในลำน้ำแม่ลาให้น้อยลงกว่าในอดีต ตอนนี้ได้จัดทำ “แม่ลาโมเดล” โครงการนาแปลงใหญ่ของจังหวัด ในพื้นที่หมู่ 12 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ขณะนี้มีพื้นที่ที่ลงทะเบียนไว้จำนวน 1,600 ไร่ มีเกษตรกร 65 ราย เพื่อให้เกษตรกรปลูกข้าวนาปีที่มีคุณภาพ มีรายได้ และส่งเสริมให้ทำอาชีพอื่น เช่น เลี้ยงปลา ในช่วงที่ไม่ได้ปลูกข้าวด้วย” นายชูศักดิ์กล่าว