นายกฤษดา กล่าวต่อว่า เป็นไปได้ที่เชื้อราตัวนี้มีการแพร่กระจาย

เข้ามาระบาดในพื้นที่ปลูกยางแถบชายแดนรอยต่อกับประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันคือร้อนชื้นและฝนตกชุก โดยพบลักษณะอาการปรากฏบนใบยางแก่ เมื่อเริ่มแสดงอาการปรากฏรอยช้ำๆ เป็นกลุ่มเห็นชัดเจนด้านหลังใบ หลังจากนั้นจะแสดงอาการเป็นวงค่อนข้างกลมสีเหลือง (chlorosis) ต่อมาเนื้อเยื่อรอยสีเหลืองจะตายแห้ง (necrosis) เป็นแผลกลมสีสนิมซีด โดยพบอาการจุดแผลต่อใบยางมากกว่า 1 แผล จากนั้นใบจะเหลืองและร่วงในที่สุด อาการโรครุนแรงและใบร่วงมากหลังมีฝนตกหนักติดต่อกันอย่างน้อย 2 วัน

ต้นยางอายุมากขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าต้นยางอายุน้อยขนาดเล็ก อาการใบร่วงจากเชื้อรานี้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำยาง เนื่องจากมีใบร่วงมากกว่า ร้อยละ 90 จึงเป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง ร้อยละ 30-50 และพบในทุกพันธุ์ยางที่ปลูกในพื้นที่ นั้น ได้แก่ พันธุ์ RRIM 600 พันธุ์ RRIT 251 และ พันธุ์ PB 311

“เชื้อรานี้มีพืชอาศัยหลายชนิด แพร่ระบาดโดยลมและฝน จึงค่อนข้างยากต่อการป้องกันควบคุม อย่างไรก็ตามแนวทางการป้องกันกำจัดการแพร่ระบาดของโรคนี้ ขณะนี้ กยท. มีโครงการสำรวจและติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ในเขตภาคใต้ตอนล่างอย่างเร่งด่วน พร้อมกับดำเนินการเก็บตัวอย่างใบเพื่อวินิจฉัยเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด ทดสอบประสิทธิภาพสารเคมี เช่น hexaconazole, benomyl และ thiophanate methyl ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อรา หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัด รวมถึงการร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิก IRRDB ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้แล้วสำหรับการนำวิธีการป้องกันกำจัดที่ได้ผลแล้วมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้ กยท. ขอย้ำว่าจะดำเนินการอย่างเต็มที่และให้ความสำคัญกับป้องกัน กำจัดโรคนี้ รวมถึงควบคุมไม่ให้แพร่กระจายมากขึ้น” นายกฤษดา กล่าวทิ้งท้าย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในงานจ่ายเงินประกันรายได้งวดแรกให้แก่เกษตรกรตาม “โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1” โดยมี นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้แทนจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม2562 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 โดย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ

ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 20,940 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์กว่า 4.31 ล้านราย โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

กรณีเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนสูงสุดของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด โดยมีการกำหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม 2563) ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการ ความชื้นความเปลือกแต่ละชนิดไม่เกิน 15% โดยในวันนี้ชดเชยส่วนต่างราคาประกันข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 2,469.64 บาท และข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 783.45 บาท

มีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 349,392 ราย เป็นเงิน 9,413 ล้านบาท จากนั้นจะประชุมเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงทุก ๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดโครงการฯ

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2562/63 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2562 (ยกเว้นภาคใต้ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 28 กุมภาพันธ์ 2563) และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ข้างต้น ส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ Link: http://chongkho.inbaac.com

นางขนิษฐา คำจันทร์แก้ว วัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นายสรพงษ์ เบ๊ะกี ประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดสระบุรี นำคณะเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้และครอบครัวอุปถัมป์ ตามโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 36 จำนวน 50 คน เข้าชมกระบวนการผลิตอาหารตามมาตรฐานฮาลาล ของโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในการเลือกบริโภค โดยมี นางสาวนภาพร ขันทอง ผู้จัดการ ซีพีเอฟ ให้การต้อนรับ ณ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ซีพีเอฟ แก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น การจัดงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ รวมไปถึง สมาคมโรงแป้งมันสำปะหลังไทย และสมาคมผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคเหนือ รวมไปถึงกรมวิชาการเกษตร โดยภายในงานให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังร่วมกันกำจัดต้นอย่างถูกวิธี รวมถึงการปล่อยโดรนฉีดพ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ และปล่อยแมลงช้างปีกใส ศัตรูธรรมชาติ เพื่อป้องกันแมลงหวี่ขาวยาสูบกลับมาทำลายซ้ำ รวมถึงการให้เกษตรกรในพื้นที่ตระหนักถึงมหันตภัยร้ายแรงของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นายเข้มแข็ง เปิดเผยภายหลังการเปิดงานฯ ว่า ปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และมี มติ ครม. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เห็นชอบให้แก้ปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตคุณภาพได้ โดยชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบ ไร่ละไม่เกิน 3,000 บาท โดยเกษตรกรจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำลายด้วย โดยดำเนินการทำลายไร่มันสำปะหลังที่ติดโรค ทั้งการขุด ถอนและฝังดิน ทั้งนี้ เกษตรกรจะมีต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง

สำหรับการรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้เกษตรกรถึงการป้องกันและกำจัดอย่างถูกวิธี รวมถึงการจัดงานรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง พร้อมแนะ 3 วิธีปฏิบัติกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปฏิบัติที่ 1 หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ ปฏิบัติที่ 2 กำจัดต้นที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะนำโรค และ ปฏิบัติที่ 3 คัดเลือกท่อนพันธุ์สะอาด

สำหรับ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 52,210 ไร่ ปัจจุบัน พบการระบาดและยืนยันการพบเชื้อไวรัสโรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จำนวน 7 ไร่ จึงได้จัดงานรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ จุดพบการระบาด ในครั้งนี้ เพื่อกำจัดและป้องกัน รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ของอำเภอมัญจาคีรี ทั้งหมด

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ นายบุญเสริม ขันแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย นายมนตรี แก้วดวง ผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง รวมทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงาน ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาสินค้าท่องเที่ยว ผ่านการขับเคลื่อนโดยโครงการ Thai Cosmetopoeia ของ วว. ซึ่งเป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย ด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น โดยมีเป้าหมาย “มุ่งคืนกำไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน” ในการดำเนินงานโครงการ (ในวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ณ กรมการท่องเที่ยว)

ผลการหารือในครั้งนี้ของทั้งสองหน่วยงาน ในเบื้องต้นมีความยินดีที่จะประสานความร่วมมือในโครงการที่ดำเนินงาน ซึ่งมีความสอดคล้อง เชื่อมโยง และเติมเต็มความสมบูรณ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันตามนโยบายรัฐบาล อาทิ การส่งเสริมพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เป็นต้น โดยมีความมุ่งหวังให้การดำเนินงานร่วมกันตอบโจทย์ของประเทศและสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมผู้บริโภคทั่วโลกเข้าถึงอาหารปลอดภัย มีโภชนาการที่ดีอย่างเพียงพอ ควบคู่กับให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตยั่งยืน เน้นลดปริมาณการสูญเสีย (Food Loss) และลดของเสียจากการเหลือทิ้ง (Food Waste)

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟในฐานะบริษัทผลิตอาหารรองรับประชากรทั่วโลกมากกว่า 3.5 พันล้านคน ตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาการขาดแคลนอาหารและปัญหาทุพโภชนาการ จึงมุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการอย่างเพียงพอ ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่จะส่งมอบสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความมั่นคงทางอาหาร ขณะเดียวกัน บริษัทให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการสูญเสียและของเสียจากการเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตอาหาร ส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงการส่งเสริมคู่ค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตและการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว

บริษัทเน้นการบริหารจัดการวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอาหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดปริมาณการสูญเสียและของเสียจากการเหลือทิ้ง อาทิ นำขนไก่ไปบดทำเป็นอาหารสัตว์ เนื้อคอเป็ดนำไปทำเป็นลูกชิ้นเป็ด ส่วนต่างๆ ของกุ้งที่ไม่ได้ใช้ในการผลิต ขายให้ผู้ประกอบการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เช่น คางกุ้งทำเป็นอาหารกินเล่น เปลือกกุ้งนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ หัวกุ้งส่งขายให้ญี่ปุ่นนำไปทำน้ำซุป เป็นต้น

“นอกจากให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนแล้ว ยังส่งเสริมผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่องของ Food Loss และ Food Waste และบริษัทยังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถยืดอายุของอาหารให้นานขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาจากการสูญเสียอาหารที่ไม่ถูกบริโภค” นายวุฒิชัย กล่าว

เป้าหมายดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร การยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยตลอดกระบวนการผลิตอาหาร สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) และเป้าหมายขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations – FAO) ซึ่งในวันอาหารโลก (World Food Day) 16 ตุลาคม ปีนี้ FAO เน้นย้ำเรื่องการบริโภคอาหารที่มีโภชนาการและดีต่อสุขภาพ

ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจโดยกำหนดกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก คือ “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดินน้ำป่าคงอยู่” โดยเสาหลักด้าน “อาหารมั่นคง” นั้น สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ในเรื่องการยุติความหิวโหยและการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการและเพียงพอ ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ ส่งเสริมการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ขณะที่การลดปริมาณการสูญเสีย (Food Loss) และลดของเสียจากการเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดขยะอาหารของโลก ลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ช่วยบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

เกษตรกรตัวจริงเสียงจริงสร้างธุรกิจเงินล้านได้ไม่ยาก แค่จับตลาดให้ถูกช่องทาง แม้ทำธุรกิจกล้วยๆ อย่าง คิงฟรุทส์ (King Fruit) ผู้ผลิตกล้วยหอมสุกพร้อมทานบรรจุในถุงพลาสติกใสที่เราคุ้นตากันในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ สามารถสร้างรายได้สูงต่อปีถึง 150 ล้านบาททีเดียว

คุณเสาวณี วิเลปะนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทคิง ฟรุทส์ จำกัด กล่าวว่า เราเป็นเกษตรกร ผู้ปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมานานกว่า 15 ปี มีพื้นที่การปลูกกล้วยหอมทองกว่า 3,000 ไร่ และเกษตรกรในเครือข่ายกว่า 1,000ไร่ ควบคุมดูแลการปลูก โดยนักวิชาการผู้เชียวชาญ โดยเฉพาะ ภายใต้มาตรฐาน GAP ตั้งแต่การคัดเลือก หน่อพันธุ์ที่ดี จนถึง การเก็บเกี่ยว มีโรงคัดบรรจุตามระบบ GMP และ HACCP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ภายใต้นโยบายคุณภาพ ” มุ่งมั่น พัฒนา ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ”

คิงฟรุทส์ ตั้งเป้าเติบโตด้วยคุณภาพ เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกกล้วยหอมทอง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาตรฐาน GAP ให้ครบทุกแปลง เพื่อร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพกล้วยให้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยั่งยืนเพื่อให้กล้วยหอมทองสัญชาติไทยยี่ห้อ BANANA KING ที่รับประกันความสด รสชาติ คุณค่าสารอาหาร และความปลอดภัย จนถึงผู้บริโภค ป้อนตลาดในประเทศและวางแผนแปรรูปสินค้ากล้วยหอมทองส่งออกตลาดต่างประเทศในอนาคต

“ทุกวันนี้ คิงฟรุทส์ เน้นเพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดการสูญเสียในแปลง และการแปรรูปผลผลิตจากกล้วยเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มากขึ้น เราใส่ใจศึกษาข้อมูลตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยหอมทองคุณภาพดี การปลูก การเก็บเกี่ยว การคัดบรรจุ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตกล้วยหอมทองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงของเกษตรกรเครือข่ายให้เติบโตไปพร้อมกับเรา ” คุณเสาวณีกล่าว

เมืองไทยมีกล้วยหอมหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมส้ม กล้วยหอมค่อม กล้วยหอมกระเหรี่ยง กล้วยหอมแกรนด์เนน กล้วยหอมจันทน์ รวมทั้ง กล้วยหอมคาเวนดิช” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กล้วยหอมเขียว” พืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จักนัก แต่เป็นสายพันธุ์กล้วยหอมที่นิยมปลูกเชิงการค้าในเวทีตลาดโลกถึง 95%

เมื่อ 2 ปีก่อนที่เกิดวิกฤตภัยแล้งคุกคามในพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองของคิงฟรุทส์ ทำให้ผลผลิตลดลง คิงฟรุทส์ซื้อกล้วยหอมคาเวนดิชส่งสายการบินแห่งหนึ่งแทน ปรากฎว่า ลูกค้าต่างชาติไม่เอากล้วยหอมคาเวนดิช ต้องการกิน“กล้วยหอมทอง ” ผลไม้รสอร่อยคุณภาพดีของไทยอย่างเดียว เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้คิงฟรุทส์ตัดสินใจควักกระเป๋าลงทุนทำงานวิจัยเรื่องกล้วยหอมทองของไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือกกล้วยหอมทองพันธุ์ดี การปลูกดูแลจัดการแปลงปลูก และการดูแลผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ผลผลิตคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด วางแผนเปิดตัวผลงานวิจัยดังกล่าวสู่สาธารณะชนในช่วงต้นปี 2563

คิงฟรุทส์ วางเป้าหมายเติบโตด้วยนวัตกรรม จึงทุ่มงบประมาณและบุคคลากรด้านงานวิจัยแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง โดยใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย ผลิต “ผงชงดื่มเพื่อสุขภาพจากกล้วยหอม” ที่คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพและมีมาตรฐานให้รสชาติอร่อยอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งกลิ่นและรส อันเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยหอมทอง Banana Fiber Prebiotic Plus เสริมคุณค่าทางใยทางอาหาร มี Prebiotic จากธรรมชาติ ช่วยปรับสมดุลในการขับถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ผลงานชิ้นนี้ยังได้รับรางวัลเหรียญทอง ในกลุ่มสินค้า energy drink จากงาน Silicon Valley International Invention Festival 2018 (SVIIF 2018) สหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคิงฟรุทส์ ที่ได้รับรางวัลจากงานระดับโลก

กล้วยหอมทองของไทย เปลือกสีเหลือง รสหวานจัด เนื้อเนียนละเอียด มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อยที่สำคัญมีคุณค่าทางอาหารสูง ที่เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว ตลาดมีความต้องการบริโภคกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ปีที่ผ่านมา เจอผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง แต่เกษตรกรดูแลเอาใจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้กล้วยหอมทองคุณภาพดีขึ้นเป็นสินค้าเกรดเอ เกรดพรีเมียร์จำนวนมากขึ้น และขายสินค้าได้ราคาดีขึ้น ทำให้มีผลกำไรเพิ่มจากปีก่อนถึง 24 %

กล้วยหอมทองมีจุดอ่อนสำคัญคือ เปลือกบาง อายุเก็บรักษาสั้น ไม่ทนทานต่อการขนส่งโดยเฉพาะตลาดไกลที่ใช้ระยะเวลาการขนส่งนานมีผลต่อคุณภาพสินค้า จึงจำเป็นต้องแปรรูปกล้วยหอมทอง เพื่อยืดอายุการขาย รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เป็นสินค้าทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพเพราะกล้วยหอมทองมีโปรตีนสูง มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้ร่างกายสดชื่น สามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี

หากใครยังมีที่ว่างและสนใจปลูกกล้วยหอมทอง คุณเสาวณีมีข้อแนะนำปลูกกล้วยหอมทองอย่างไรให้ได้ผลผลิตไร่ละ 120,000 บาท หลังหักค่าใช้จ่าย ฟันกำไรไร่ละแสน เรื่องจริงที่เกษตรกรต้นแบบของคิงฟรุทสทำได้จริงในหลายพื้นที่ มาฟังเคล็ดลับสู่ความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการทำสวนกล้วยหอมทองกับคุณเสาวณีได้ในงานเสวนา “ไม้ผลพารวยยุค 5 G “ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น.ณ หอประชุมใหญ่ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กทม. งานนี้ คุณเสาวณีเตรียมนำกล้วยหอมทองผลสดและกล้วยผงแปรรูปมาให้ชมและชิมรสชาติความอร่อยภายในงานกันอย่างจุใจ ห้ามพลาดเด็ดขาด

เรียนรู้ขั้นตอนการย้ายกล้าผักแบบปราณีต และการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบทำ สลัดโรล “กับครูสงบ เพียรทำดี” เกษตรกรรุ่นเก๋า ผลิตผักสลัดแบบเข้าใจตลาด มีผลผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย

10.30 – 11.30 น. แวะเที่ยวชมไร่ภูวนพันธ์ ชมแปลงองุ่น 3 สายพันธุ์ ยอดนิยม แบล็กโอปอล์ ลูส เพอร์เลต ไข่ปลาคาเวียร์ ซึ่งไม่ว่าพันธุ์ไหนที่มีการปลูกที่ไร่องุ่นภูนวพันธ์ แห่งนี้ รับรองได้ว่าปลอดภัยไร้สารแน่นอน

12.00 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่สวนเจ้าป่าฟาร์ม พร้อมเดินชมการปลูกเมล่อน- แตงโมไร้เมล็ดในโรงเรือน รสชาติหวาน หอม อร่อย มากๆ 14.00 – 15.00 น. ชมทุ่งดอกเบญจมาศบานรับลมหนาวกว่า 100 ไร่ ที่สวนบิ๊กเต้ วิวดี ถ่ายรูปสวย อากาศเย็นสบาย

15.30 – 17.00 น. เดินทางถึงไร่สุวรรณ เรียนรู้วิธีการแปรรูปน้ำนมข้าวโพดแบบครัวเรือน ผู้ร่วม กิจกรรมสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ไม่ยาก

19.30 น. เดินทางกลับ ถึง กทม. อย่างปลอดภัย

*ค่าใช้จ่าย ท่านละ 1,600 บาท

หมายเหตุ กรณีลูกค้าโอนเงินมาแล้ว ไม่มาร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินในทุกกรณี ผู้สนใจ สมัครจองที่นั่งก่อน แล้วโอนเงิน (ตามจำนวนที่ระบุ) เข้า ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนประชาชื่น เลขที่บัญชี 193-079484-5 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) Fax (02) 580-2300 เลขที่ผู้เสียภาษี 0107536001451 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 580-0021 ต่อ 2335, 2339, 2342, 2343 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.technologychaoban.com หรือ www.facebook.com/Technologychaoban

ลุ้นเสี่ยงดวง เสี่ยงโชคจากเลขเด็ดใต้ชามกับ “ก๋วยเตี๋ยว เฉลิมไทย” สูตรเด็ดความอร่อยแห่งดินแดนลพบุรี พร้อมก่อร่างสร้างบ้านกันที่ “บ้านดินมดแดง” ซึ่งงานนี้ฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ มาส์กหน้าจากดินเหนียวตามธรรมชาติ และร่วมสนุกกับกิจกรรมที่ชวนให้หลงไหลกว่า 40 อย่าง ที่ “บ้านสวนขวัญ”