นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะเผย

ว่าเชิญนายกอบต. ประธานสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน มาร่วมฟังบรรยายพิเศษ เรื่องยางพาราเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำน้ำยางสดและยางพารามาเป็นส่วนผสมหลักทำถนน และสาธารณประโยชน์เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศและโลกให้สูงขึ้น แก้ปัญหาราคายางตกต่ำให้มีราคาที่สูงขึ้นตามความจำเป็นเพื่อการพัฒนาท้องที่ให้ทันต่อการก้าวหน้าในสภาพความเป็นจริงของปัจจุบัน และลดรายจ่ายงบประมาณภาครัฐ สร้างและเพิ่มมาตรฐานและความคงทนในสิ่งก่อสร้าง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่ปลูกยางพารารองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศตคุณ เดชพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา เผยว่ามาเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องของการนำยางมาใช้ในการสร้างถนนยางพาราในท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจภายในตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อลดการส่งออกยางพาราในพื้นที่ และสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรภายในประเทศว่าวันนี้เรามีนวัตกรรมทดแทนเทคโนโลยีการก่อสร้างถนนและสามารถใช้องค์ความรู้นี้สร้าง โรงจอดรถ ตลาดชุมชน หรือการก่อสร้างสาธารณสถานต่างๆ ที่ใช้ยางพาราได้

“ถ้านำยางพารามาใช้อย่างเต็มรูปแบบในการทดแทนถนนคอนกรีตแล้ว งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดจะสามารถเพิ่มผิวจราจรหรือพื้นที่ในการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่งผลให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและก้าวสู่ประเทศที่มีความเจริญในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเกษตรกรรมอีกด้วย ในอนาคตจะสามารถเพิ่มราคาของยางพาราได้แน่นอน”

ผศ.ดร. นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ดร. อัจฉรา วงศ์วัฒนามงคล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มรภ.สงขลา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กับ มรภ.สงขลา ในโครงการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการจากภาครัฐและสถาบันอุดม

ศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในสถาบันอุดมศึกษาในการเพิ่มขีดความสามารถภาคเอกชน ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภาคใต้ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยด้าน วทน. และนักศึกษา มรภ.สงขลา กับภาคเอกชน ให้เข้มแข็ง ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และเกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน

ผศ.ดร. นิวัต กล่าวว่า นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ภาคเอกชนเพิ่มกิจกรรมการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา โดยเคลื่อนย้ายนักวิจัยและนักศึกษา มรภ.สงขลา ด้วยการนำองค์ความรู้และเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยพัฒนาการทำวิจัยในภาคเอกชน ทั้งนี้มรภ.สงขลา จะอำนวยความสะดวกในการไปปฏิบัติงานและสนับสนุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการทำวิจัยเท่าที่มีในมหาวิทยาลัย หรืออำนวยความสะดวกในการขอรับบริการที่ห้องปฏิบัติการในพื้นที่แก่นักวิจัย ขณะเดียวกัน ม.อ.จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านวทน.ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการจับคู่ ระหว่างนักวิจัยของ มรภ.สงขลากับภาคเอกชน

ด้าน ดร. วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ Talent mobility กล่าวว่า เดิมโครงการ Talent mobility หรือ TM มีแม่ข่ายในภาคใต้คือม.อ. แต่เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายและก่อให้เกิดการผลักดันงานอุตสาหกรรมร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ตนในฐานะตัวแทนของมรภ.สงขลา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาโครงการที่ส่งข้อเสนอไปยัง ม.อ. และ อาจารย์ภวิกา มหาสวัสดิ์ ผู้เสนอโครงการเพื่อขอรับทุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. จึงหารือเกี่ยวกับการขยายการดำเนินงานในเรื่อง ดังกล่าวมาสู่ราชภัฏ และเชิญ ม.อ.มาพูดคุยในรายละเอียดกับอธิการบดี จากนั้นจึงเเต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อ ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน

ที่โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายดาลัน นุงอาหลี ศึกษาธิการจังหวัดสตูล เป็นประธาน เปิดงาน “ศึกษาธิการส่วนหน้า เคลื่อนที่พบปะประชาชน” จุดที่ 3 ภายใต้สโลแกน “สานพลังการศึกษา พัฒนาสตูล” ที่จัดขึ้นในทุกพื้นที่ของอำเภอทั้ง 7 แห่งของ จังหวัดสตูล ในการพบปะพูดคุย แสดงผลงานของ

นักเรียนที่มีอยู่มากมาย ให้ผู้ร่วมงานและประชาชนในพื้นที่ได้รู้ถึงความก้าวหน้าในวงการศึกษา และภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา มาบริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมชื่นชม เห็นถึงความสามารถของนักเรียน ในการออกร้าน และออกบู๊ธ นอกจากนักเรียนจะได้ร่วมแสดงผลงานของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการส่งเสริมทักษะ ด้านวิชาการ และอาชีพ อาทิ การทำขนมท้องถิ่นอย่างขนมปะการัง ขนมดอกจอก และ แหนมเห็ดสด ซึ่งส่งเสริมการศึกษาแนวใหม่เพื่อให้นำไปใช้ในชีวิตจริง

นอกจากนี้ มีการนำของดีของท้องถิ่นมาโชว์ อาทิ การทำข้าวเม่า ที่ใช้กระบวนการทำแบบโบราณในการคั่วด้วยเตาถ่านและการคนไปมาด้วยก้านบอน การตำด้วยครกโบราณ ซึ่งเป็นเสน่ห์หาดูได้ยาก พร้อมทั้งการทำขนมลาทอดกรอบแบบโบราณ ด้วยภาคีเครือข่ายทางการศึกษามาให้ประชาชนทั่วไปได้ชิมและจำหน่ายภายในงานกันอย่างมากมายไม่น้อยกว่า 20 บู๊ธ

นายสิรวุฒิ ยุนุ้ย ผอ.โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ กล่าวว่า ศึกษาธิการส่วนหน้าเคลื่อนที่พบปะประชาชนนับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นใน อำเภอท่าแพ และเห็นว่าควรมีการส่งเสริมให้มีการจัด ในครั้งต่อไป เนื่องจากจะได้ประชาสัมพันธ์ผลงานของนักเรียน และโรงเรียนที่มีอยู่มากมาย ให้ประชาชนท้องถิ่นได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าของการศึกษาในพื้นที่ อีกทั้งเป็นพื้นที่ให้โรงเรียนและนักเรียนรวมทั้งภาคีเครือข่ายทางการศึกษาได้แสดงออกสู่สายตาประชาชน สำหรับศึกษาธิการเคลื่อนที่พบปะประชาชนจุดที่ 4 วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 พบกันที่โรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

ลูก “โลมาหัวบาตรหลังเรียบ” เกยตื้นหาดบ้านตาหนึก สภาพอ่อนแรง ชาวบ้านแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าช่วย นำไปอนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลฯ อธิบดี ทช.เผยขยะ-เครื่องมือประมง ตัวการทำสูญพันธุ์

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทช.ได้รับแจ้งจากเครือข่ายช่วยชีวิต จังหวัดตราด ว่า พบโลมามีชีวิตเกยตื้นบริเวณชายหาดบ้านตาหนึก ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (สบทช.1)

กลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ เข้าตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นลูกโลมาหัวบาตรหลังเรียบ ยาว 54 เซนติเมตร ระบุเพศไม่ได้ อายุไม่เกิน 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม สภาพค่อนข้างผอม อ่อนแรงจนว่ายน้ำและลอยตัวไม่ได้ เบื้องต้นมีการให้นมไขมันสูง

พยุงตัวลูกโลมาไม่ให้จมน้ำ มีสัตวแพทย์และทีมงานดูแลอย่างใกล้ชิด ล่าสุดศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้เข้าช่วยเหลือและนำไปรักษาที่สถานอนุบาลแล้ว หากแข็งแรงและว่ายน้ำได้ดีจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

นายจตุพร กล่าวถึงสถานการณ์ท้องทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันว่า แม้จะยังสวยงาม แต่กำลังเข้าสู่สภาพวิกฤตที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเลสำคัญต่างๆ เพราะลดจำนวนลงมากและอาจจะสูญพันธุ์ในอนาคต ทั้งนี้ การเกยตื้นของโลมาและวาฬส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส่วนการเกยตื้นของเต่าทะเลและพะยูน เกิดจากเครื่องมือประมง อีกทั้งยังพบว่าการกลืนกินขยะก็เป็นปัญหากับสัตว์ทะเลเช่นกัน

นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการ สบทช.1 กล่าวว่าโลมาหัวบาตรหลังเรียบมีรูปร่างคล้ายกับ โลมาอิรวดี แต่ขนาดเล็กกว่า ลำตัวโตเต็มวัย ยาว 1.9 เมตร ลูกแรกเกิด ยาว 70-80 เซนติเมตร

ไม่มีจะงอยปาก ครีบค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม หลังสีน้ำเงินเทาและท้องสีขาว ครึ่งหนึ่งของประชากรมี ตาสีแดง ปลายฟันแบนคล้ายใบพาย ไม่มีครีบหลัง แต่มีตุ่ม เป็นแนวสองแนวบริเวณตำแหน่งของกลางหลัง หากินบริเวณชายฝั่งในเขตน้ำตื้น หรือตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีทางต่อลงทะเลในเขตอินโดแปซิฟิก มีอาหารเป็นปลาขนาดเล็ก กุ้ง และหมึก มักอยู่โดดเดี่ยวหรือฝูงขนาดเล็กประมาณ 10 ตัว ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ ในน่านน้ำไทยสามารถเห็นได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในอ่าวไทยแถบจังหวัดตราด

วันเดียวกัน นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะประธานมูลนิธิช้างป่า…บ้านพ่อ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญที่ประเทศเยอรมัน มีการนำเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันต์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี แต่ล่าสุดยังไม่มีการขึ้นทะเบียน ขณะที่คณะกรรมการมรดกโลกยกย่องการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนใน อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกันแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า และขอให้ขยายงานศึกษาวิจัย การติดตามความสมบูรณ์ของนิเวศวิทยา เพื่อสนับสนุนให้ดำเนินการให้ต่อเนื่อง

“มูลนิธิร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เครือข่ายอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี จัดโครงการ “ปันน้ำใจให้ช้างป่า” ที่โป่งสลัดได เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2561 และอนุรักษ์คุ้มครองสัตว์ป่า โดยกำจัดวัชพืช สร้างแปลงหญ้าอาหารสัตว์ ปลูกพืชอาหารช้าง ทำโป่งเทียม ทำความสะอาด และเติมน้ำในกระทะน้ำ ให้ช้างและสัตว์ป่ามีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำ ไม่ให้ช้างออกจากป่ามาหาอาหารกิน ซึ่งสร้างปัญหาความขัดแย้งกับคน”

นายสำราญ เศษกระโทก ผู้ใหญ่บ้านทุ่งตะเคียน หมู่ที่ 10 ตำบลโคกกระชาย อ.เภอรบุรี จังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายกรณีช้างป่าบุกทำลายผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่มานานเกือบ 1 สัปดาห์จนได้รับความเสียหายจำนวนมาก เบื้องต้นพบพื้นที่เกษตร อาทิ ไร่แตงกวา ไร่ถั่วฝักยาว และสวนกล้วย ได้รับความเสียหายกว่า 10 แปลง มีสภาพถูกช้างป่าเกือบ 10 ตัวจากอุทยานแห่งชาติทับลาน เขต อ.ครบุรี บุกเหยียบย่ำกัดกินผลผลิตเสียหายนับสิบไร่ ทำให้เกษตรกรต้องระดมกำลังมานอนเฝ้าไร่สวนตลอดทั้งวันทั้งคืน

ขณะเดียวกันหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมขอความร่วมมืออาสาสมัครชาวบ้านในชุมชน ผู้นำ ท้องถิ่น ระดมกำลังช่วยกันเฝ้าระวัง และผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ผลผลิตของชาวบ้านอาจถูกทำลายเสียหายมากไปกว่านี้

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 หรืออีสานใต้ (จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ) ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2561 ณ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับข้อเสนอจากภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โดยในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.2561) จะนำเรื่องหลักเข้าที่ประชุม ครม. คือ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Economy) ครบวงจรในพื้นที่อีสานใต้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในพื้นที่ เนื่องจากมีความพร้อมในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากมันสำปะหลัง ประกอบกับพื้นที่อีสานใต้มีการทำเกษตรกรรมประมาณ 1.8 ล้านไร่ และมีผลผลิตจากสินค้าเกษตรรวมกว่า 4 ล้านตัน ภาคเอกชนจึงขอรับการสนับสนุนให้เป็นพื้นที่นำร่องการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร

“เมื่อ ครม. เห็นชอบในหลักการก็จะเริ่มดำเนินวางกรอบของโครงการร่วมกับหน่วยงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้องทันที ทำให้อนาคตเราจะเห็นการพัฒนาด้านพืชเกษตรอย่าง มันสำปะหลัง ไปเป็นแป้งอินทรีย์ ไปเป็นยา และอาหารทางการแพทย์”

การผลักดันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับอาเซียน และพัฒนาเมืองชายแดน

2.โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ในพื้นที่ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดพื้นที่ประมาณ 2,303 มูลค่าการพัฒนาโครงการ ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติได้

3.โครงการ E-San Start Up เป็นโมเดลในการสร้างผู้ประกอบการใหม่ของภาคอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ภาคการค้าและภาคบริการ ให้มีแนวคิดเป็นผู้ประกอบการ 4.0

4.โครงการศูนย์กลางนวัตกรรมอาหาร (Pilot Plant) ซึ่งจะทำงานในรูปแบบเครือข่ายร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มีโรงงานต้นแบบแปรรูปสินค้าด้านการเกษตร มีบริการทางด้านการแปรรูปเนื้อสัตว์/เครื่องดื่ม/เครื่องสำอาง แต่ยังขาดงบประมาณสำหรับก่อสร้างอาคารแปรรูปเครื่องดื่มและเครื่องสำอาง

5.โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในพื้นที่อีสานใต้ (Science Park) โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) จะร่วมกับศูนย์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุน (Center of Robotics Excellent : CoRE) และมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการในพื้นที่ ในการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการผลิต การจัดการด้านคุณภาพ และการเสริมขีดความสามารถของช่างเทคนิคและวิศวกรในพื้นที่ ให้เรียนรู้เทคโนโลยีการประยุกต์ใช้และการออกแบบ เครื่องจักรและระบบโปรแกรมควบคุมระบบอัตโนมัติ ที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในพื้นที่

นอกจากนี้ นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่ บริษัท อาร์เอสทีโรโบติกส์ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ที่ได้รับสินเชื่อจากกองทุน เอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ วงเงิน 10 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการที่ต้องการนำเครื่องจักรและระบบอัตโนมัตินี้ไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งสามารถขอกู้ได้รายละ 5แสนบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 นอกจากนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตามคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 กรกฎาคม ที่ห้องประชุม OR สำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น เป็นประธานการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ตลิ่งทรุด ถนนพัง จากพายุดีเปรสชั่นเข้ามาในประเทศไทยและส่งผลกระทบให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตก มีเมฆมาก ประชาชนต้องระมัดระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

นายศักดิ์ศิริ กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่สถานการณ์ฤดูฝน หรือฤดูน้ำหลาก ทำให้พื้นที่เขตชลประทานที่ 6 ขอนแก่น พื้นที่รับผิดชอบ จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ และ จ.มหาสารคาม จึงต้องเริ่มเฝ้าระวังโดยมีการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ 1.เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เหลือน้ำเก็บกัก 32% 2.เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เหลือน้ำเก็บกัก 48% 3.เขื่อนจุฬาภรณ์ หรือ เขื่อนน้ำพรม จ.ชัยภูมิ เหลือน้ำเก็บกัก 66% โดยมีการระบายน้ำออกในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมกับเอาน้ำที่ระบายส่งให้เกษตรกรที่ทำการเกษตร ถ้าเกิดพายุฝนตกลงมาในพื้นที่ดังกล่าว ก็สามารถรองรับน้ำได้ในปริมาณมาก

นอกจากนี้ ตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทานต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ตามลำน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ต้องมั่นคงแข็งแรง พร้อมกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และเฝ้าระวังการระบายน้ำ โดยให้สื่อสารกับข้อมูลส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระทบประชาชนและเกษตรกรให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ ต้องนำเครื่องจักรเครื่องมือเข้าไปประจำในพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะใน จ.ขอนแก่น จุดที่น้ำท่วมซ้ำซาก ได้นำเครื่องจักรเครื่องมือขนาดใหญ่เข้าไปประจำพื้นที่ 3 แห่ง เมื่อเกิดน้ำท่วมฉับพลันสามารถสูบน้ำระบายออกไปยังจุดที่เตรียมไว้ได้ทันท่วงที

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข กล่าวเพิ่มเติมว่า อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ผ่านมา ได้เกิดเหตุ ประสบพายุฝนและคันกั้นน้ำเกิดความเสียหาย เพราะน้ำในลำน้ำยังมีปริมาณมากจนล้นความจุของปริมาณลำน้ำยัง ช่วงนั้นมีปริมาณฝนที่ตกมาเป็นจำนวนมาก จึงเกิดผลกระทบคันกั้นน้ำเสียหาย ขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าไปแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยรีบปิดคันกั้นน้ำได้เรียบร้อย เมื่อ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา และลำน้ำยังได้กลับเข้าสู่สภาพปกติแล้ว นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องออกไปตรวจคันกั้นน้ำจุดอื่นๆ เพื่อทำให้มั่นคงป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก

“เกี่ยวกับหลายจังหวัดในประเทศเจอหางเลขพายุ “เซินติญ” ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น ได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมี จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ และ จ.มหาสารคาม ได้รับฝนตกมาไม่มากนัก และการเตรียมมาตรการต่างๆ แก้ไขผลกระทบกับ “เซินติญ” ก็สามารถทำได้ดี

เพราะไม่มีน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาเดือนกันยายน และสิงหาคม ยังเป็นช่วงของฤดูฝน ไม่ทราบว่าจะเกิดพายุลูกไหนเข้ามาในภาคอีสานอีก ทาง สนง.ชลประทานที่ 6 ขอนแก่น จึงต้องดูแลแหล่งน้ำในเขตความรับผิดชอบ และใช้มาตรการในการพร่องน้ำ พร้อมกับรับสถานการณ์น้ำให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเหมือนปี 2560 เมื่อเข้าสู่ภัยแล้งประชาชนก็มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ได้อย่างเพียงพอ”

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2561 (เม.ย.-มิ.ย.) พบว่า ขยายตัว 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2560 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร มีการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบการกระจายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการดำเนินนโยบายที่สำคัญ อาทิ การตลาดนำการผลิต การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยสามารถแยกเป็นรายสาขาได้ดังนี้

สาขาพืช ขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย และเงาะ

ด้านราคา สินค้าที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ทุเรียน และมังคุด โดยข้าว มีราคาเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณข้าวออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นแต่ความต้องการของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้นเพราะความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุเรียน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 0.3% โดยผลผลิต ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีปริมาณเพิ่มขึ้น ด้านราคา ไก่เนื้อและสุกร มีราคาเฉลี่ยลดลง 10.6% และ 9.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น

สำหรับราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้น 4.05% ส่วนราคาน้ำนมดิบ เพิ่มขึ้น 0.81% เนื่องจากมีการพัฒนาการผลิตและปรับปรุงคุณภาพน้ำนมดิบตามมาตรการปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบตามคุณภาพน้ำนม

สาขาประมง ขยายตัว 0.4% สำหรับผลผลิตประมงทะเลที่สำคัญ คือ กุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้การผลิตกุ้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วนการทำประมงน้ำจืด ผลผลิตที่สำคัญ เช่น ปลานิล ปลาดุก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากนโยบายส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่อง ด้านราคา กุ้งขาวแวนนาไม ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลงจากปีที่แล้ว สอดคล้องกับราคาในตลาดโลกที่ลดลงตามภาวะอุปทานส่วนเกิน

เช่นเดียวกับปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิ๊กอุยราคาลดลงจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 5.6% จากการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น อีกทั้งการใช้บริการรถเก็บเกี่ยวอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จากการส่งเสริมของภาครัฐและโรงงานน้ำตาล

และหลังจากการเก็บเกี่ยวอ้อย เกษตรกรได้เตรียมพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ทำให้มีการจ้างบริการไถพรวนดินเพิ่มขึ้น สาขาป่าไม้ ขยายตัว 1.8% เนื่องจากผลผลิตป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพารา ครั่ง และรังนก เพิ่มขึ้น โดยไม้ยางพาราส่วนใหญ่ถูกนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ เพื่อการส่งออก

ขณะที่รังนกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีนอนุญาตให้นำเข้ารังนกนางแอ่นหลังจากห้ามนำเข้ารังนกจากทุกประเทศ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 3-4% โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 จากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเกษตรกรและประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณดีขึ้น ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย แต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี 2561

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 กรกฎาคม ที่ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผวจ. สุพรรณบุรี ร่วมกับ นายเอก ประทุมรัตน์ ตัวแทนเกษตรกรปลูกมะนาว อ.ด่านช้าง นำมะนาวมาแจกข้าราชการฟรี พร้อมตั้งกล่องรับบริจาคนำเงินทำบุญช่วยอาหารกลางวันเด็กนักเรียน