นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง

จังหวัดพะเยา กล่าวว่า สวนฮอมผญา เป็นสวนสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร การใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยาบำบัดโรคด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากบรรพบุรุษโดยคนพื้นถิ่น เป็นสวนเกษตรผสมผสานที่ปลอดสารพิษ สารเคมีทุกชนิด เป็นการเน้นให้เห็นถึงวิถีการใช้ชีวิตเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง

“อบต.ได้วางแผนนำแนวคิดของสวนฮอมผญาต่อยอดขยายสู่หมู่บ้านต่างๆ เพื่อยกระดับเป็นท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยในเดือนกันยายน 2560 นี้ ตำบลทุ่งกล้วย จะประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพอย่างเป็นทางการ จะทำให้ทุกคนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจภายใน ที่ดีและเป็นสุข”

“สวนฮอมผญา” เป็นเพียงพื้นที่ที่เราจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำให้ชีวิตได้อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่วุ่นวาย สงบ เพราะวิถีของชาวปงใหม่ คือชนบทยุคใหม่ที่ใส่ใจธรรมชาติเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งกายและใจ

เกษตรฯ เจ้าภาพจัดใหญ่ ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้ หรือ AMAF ณ จังหวัดเชียงใหม่รุกยกระดับสินค้า แก้ปัญหาภาคเกษตร ด้าน สศก. เผย APTERR หนุนประเทศสมาชิกร่วมทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า ผลักดันแผนการเงินระยะ 5 ปี เพิ่มเงินทุนสำหรับดำเนินการช่วยเหลือประเทศสมาชิกกรณีประสบภัยพิบัติฉุกเฉินร่วมกัน

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน 2560 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 39 ซึ่งมีสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ กับรัฐมนตรีประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ( AMAF +3 ) ครั้งที่ 17 โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน

การประชุมครั้งนี้ มีการพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปี 2561 ในด้านภาคเกษตร ประกอบด้วย 1) การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร 2) การพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและให้ความเห็นชอบต่อยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียน + 3 ด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ 3) การพิจารณาแผนงานขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม หรือ APTERR ได้แก่ การผลักดันให้ประเทศสมาชิกร่วมดำเนินงานโดยการทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า และแผนบริหารการเงินของสำนักเลขานุการฯ ระยะ 5 ปี (2561 – 2565) และ 4) การผลักดันและติดตามการดำเนินการตามนโยบายประมงร่วมประชาคมอาเซียน

สศก. ในฐานะที่มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักเลขานุการ APTERR และรับผิดชอบหลักในการเป็นหน่วยงานประสานของประเทศไทย (Thailand’s APTERR Coordination Agency) รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของสำนักเลขานุการ APTERR เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในกรณีที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน พร้อมที่จะผลักดันให้ประเทศสมาชิกร่วมดำเนินงานโดยการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward contract) ตาม Tier 1 เพื่อให้ประเทศสมาชิกจับคู่ทำสัญญาซื้อขายข้าวในราคาที่เหมาะสม รวดเร็ว ทันต่อการช่วยเหลือ โดยขณะนี้ประเทศไทย เวียดนาม เกาหลี และญี่ปุ่น ได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้ขายข้าว (Supplying Country) และยังอยู่ระหว่างการรอให้ประเทศเทศสมาชิกแจ้งประเทศผู้ซื้อข้าว (Demanding Country)

สำหรับการแก้ไขแผนบริหารการเงินของสำนักเลขานุการฯ สำหรับปี 2561 – 2565 ได้ดำเนินการตามมติคณะมนตรี APTERR ที่เห็นชอบให้มีการเพิ่มการบริจาคเงินทุนสำหรับการดำเนินการ สำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้าในวงเงินรวมเท่าเดิม ซึ่งการดำเนินงานของ APTERR จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ในการมีระบบสำรองข้าวไว้ในยามฉุกเฉินเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนอาหารในกรณีเกิดภัยพิบัติ หรือความยากจนในประเทศสมาชิกอาเซียน+3 รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยเองได้รับความช่วยเหลือในปี 2554 ในเหตุการณ์มหาอุทกภัย โดยประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคข้าวผ่าน APTERR เป็นจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อซื้อข้าวของประเทศไทยจำนวน 50 ตัน และข้าวบรรจุกระป๋อง จำนวน 31,000 กระป๋อง และในคราวเกิดพายุไห่เยี่ยนที่ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยได้ร่วมบริจาคข้าวให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแก่ฟิลิปปินส์ จำนวน 5,000 ตัน นับเป็นการส่งเสริมบทบาทของการประสานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมร่วมกัน

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า เนื่องจากกลุ่มอาชีพพาณิชย์นาวี ยังต้องการกำลังคนที่มีทักษะอาชีพและทักษะฝีมือ อีกจำนวนมากกว่าหลายหมื่นคน ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งมีหน้าที่ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพรองรับความต้องการของประเทศ จึงมอบหมายให้วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท หะรินสุตขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางเรือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีท่าเทียบเรือทั้งที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสงขลา เพื่อร่วมกันยกระดับความรู้และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนสาขาพาณิชย์นาวีให้มีคุณภาพ

นักศึกษาที่เรียนในสาขาพาณิชย์นาวี จะได้รับการสนับสนุนให้มีโอกาสสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรขั้นต้น STCW 2010 จากกรมเจ้าท่า และรับใบประกาศนียบัตรลูกเรือฝ่ายเดินเรือก่อนก้าวขึ้นสู่ประกาศนียบัตรนายประจำเรือ ส่งผลให้นักศึกษาทุกคนรู้เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ และวางแผนการทำงานสำหรับอนาคตได้อย่างถูกต้อง มีทิศทาง
ปัจจุบัน มีสถานศึกษาหลายแห่งที่เปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพพาณิชย์นาวี ซึ่งการจัดการเรียนการสอนต้องใช้ครูผู้สอน สื่อการสอน และครุภัณฑ์ต่างๆ ตามหลักสูตรมาตรฐานสากล รวมถึงเรือฝึกกลเดินทะเลที่จะใช้สำหรับฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลให้แก่ผู้เรียน แต่เราไม่สามารถจัดหาครุภัณฑ์และสื่อการสอนที่ครบถ้วนได้ภายในระยะเวลาจำกัด

ดังนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพพาณิชย์นาวี จึงได้มีมติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี โดยลงนามความร่วมมือกับบริษัท หะรินสุตขนส่ง จำกัด เพื่อร่วมกันจัดการเรียนการสอน วางแผนการฝึกภาคปฏิบัติ และการวัดผลประเมินผลการเรียนของนักศึกษา และฝึกปฏิบัติจริงในทะเลโดยเรียนรู้ระบบเรือขนส่งสินค้าจริงๆ

ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถานบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตพืชสวนที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก ผลิตผลทางพืชสวนที่สำคัญ ได้แก่ พืชผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ นอกจากนี้การผลิตเพื่อการบริโภคและใช้ประโยชน์ทั้งในประเทศและส่งออก ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ที่ทำรายได้เป็นจำนวนมากและต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนด้านการเกษตร

ผศ.ดร. พีระศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะเกษตรศาสตร์ฯ มน. จึงร่วมกับภาคี จัดการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม นี้ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมขอบข่ายงานวิจัยด้านพืชสวนที่มีความหลากหลายและเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขา ได้แก่ การผลิตผลไม้ การผลิตผัก การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การปรับปรุงและการขยายพันธุ์พืช เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีและสรีรวิทยาการ ผลิตพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การอารักขาพืช ความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

“ทั้งยังมีการแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่เกษตรกรและสาธารณชน สร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนาผลผลิตพืชสวนของไทยให้มีคุณภาพและปลอดภัย เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น ผู้สนใจเข้าร่วมงาน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0-5596-3014” ผศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าว

รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายชุมชน มข. ว่า โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยความห่วงใยและดูแลชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งชุมชนภายในและนอกมหาวิทยาลัย โดยพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่นำเสนอทางเลือกที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชนรอบข้าง

“มข.ตระหนักถึงการนำความรู้ข่าวสารมานำเสนอเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งพยายามเชื่อมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย เพราะนักศึกษาล้วนเป็นบุตรหลานและต่างได้รับการปลูกฝังให้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือชุมชนของตนเอง ยกตัวอย่าง มข.ได้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรม เปิดให้บริการสวนสาธารณะเพื่อสุขภาพประชาชน และการกระจายข่าวสารผ่านช่องทางวิทยุ กระจายเสียง และให้ผู้นำชุมชนมาจัดรายการร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ให้นักศึกษาบุคลากรได้รับทราบความเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่” อธิการบดี มข.กล่าว

ด้าน รศ.ดร. เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมานอกจากการเปิดพื้นที่ให้ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ข่าวสารชุมชนตนเองผ่านวิทยุกระจายเสียงแล้ว ยังมีกิจกรรมการนำผู้นำชุมชนศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 กิจกรรมมอบถุงยังชีพให้นักเรียนในโรงเรียนศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งสู่สังคมเป็นสุขร่วมกัน

“ปตท.” เอาจริง ปีหน้าเปิดโรงแรมในปั๊มนำร่อง 5 แห่ง ชงบอร์ดเคาะ ธันวาคมนี้ไฟเขียวลุยทันที ตั้งเป้า 5 ปี 50 แห่ง ส่งไม้ต่อให้ดีลเลอร์ดำเนินการ โอนสินทรัพย์ให้ “พีทีทีโออาร์” ยังไม่คืบ ร่วมถกรายละเอียดกับกระทรวงพลังงานก่อนทำรายงานเสนอ สคร.อนุมัติ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.เตรียมสรุปผลคัดเลือกพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจโรงแรมและที่พัก เพื่อร่วมลงทุนธุรกิจโรงแรมราคาประหยัดในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. โดยเดือนพฤศจิกายนนี้จะคัดเลือกพาร์ทเนอร์ 1 ราย จากผู้สนใจหลายรายทั้งไทยและต่างชาติ คาดว่าจะเปิดบริการโรงแรมต้นแบบ 4-5 แห่งได้ภายในปี 2561 ขนาดไม่เกิน 80 ห้อง พื้นที่ 2-3 ไร่ และมีเป้าหมายจะเปิดโรงแรมภายในสถานีบริการน้ำมัน 50 แห่งภายใน 5 ปี โดยเดือนธันวาคมนี้จะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท. พิจารณาอนุมัติโครงการและเริ่มลงทุน

“เบื้องต้น ปตท.จะลงทุนโครงการนำร่อง 5 แห่ง ก่อนขยายให้ดีลเลอร์ดำเนินการ คล้ายกับธุรกิจปั๊มน้ำมัน ซึ่งโรงแรมแต่ละแห่งจะมีขนาด 30-80 ห้อง เงินลงทุนจะแตกต่างกันตามขนาด” นายอรรถพล กล่าว

นายอรรถพล กล่าวถึงความคืบหน้าการโอนสินทรัพย์ของ ปตท.ให้บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (พีทีทีโออาร์) ว่า กระทรวงพลังงานและ ปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดร่วมกันก่อนจัดทำรายงานเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป

นายอรรถพล กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้ลงนามความร่วมมือ “ปตท.-ธ.ก.ส. รวมพลัง ร่วมใจช่วยเกษตรกร” กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยเปิดพื้นที่ในสถานีบริการ ปตท.ให้จำหน่ายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรของลูกค้า ธ.ก.ส. พร้อมทั้งจะเปิดสาขาและสำนักงานตัวแทนของ ธ.ก.ส.รวมถึงเครื่องให้บริการการธนาคารอัตโนมัติด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน

นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.เชื่อมั่นในศักยภาพของ ปตท. เนื่องจากสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ซึ่งตั้งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ หากเปิดให้เกษตรกรมีช่องทางในการจำหน่ายผลิตผลของตนเองจะสามารถระบายผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ จำหน่ายโดยตรงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าเมื่อเร็วๆ นี้ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการแบ่งปันความรู้และความชำนาญ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและบุคลากร กับนายไซมอน หวัง รองประธานกรรมการบริหาร สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน มุ่งเน้นความร่วมมือ 3 ด้าน คือ 1. ส่งเสริมการค้าและการลงทุนของบริษัทไทยและไต้หวันตลอดห่วงโซ่คุณค่าด้านอาหาร รวมทั้งเอสเอ็มอีและธุรกิจเริ่มต้น 2. การรวบรวมข้อมูลและการวิจัยร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ ศึกษากฎระเบียบของแต่ละท้องถิ่นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาดอาหารในประเทศที่น่าสนใจ และ 3. ให้คำปรึกษาและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลไทยและไต้หวัน ในการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยโดยใช้มาตรการต่างๆ “หลังลงนามความร่วมมือ สภาส่งเสริมการค้าและส่งออกไต้หวันจะนำบริษัทนำเข้าและค้าส่งของไต้หวันจำนวน 17 บริษัท มาร่วมเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการคลัสเตอร์มะพร้าวจากประเทศไทย มั่นใจว่าจะมีการค้าและลงทุนระหว่างนักธุรกิจ 2 ฝ่ายแน่นอน” นายยงวุฒิ กล่าว

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา “อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร : การปรับตัวสู่นวัตกรรม 4.0” จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน ว่า ปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) สำคัญทางการแพทย์อยู่แล้ว มีแพทย์และโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานรองรับระดับภูมิภาคและโลก และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ (นิว เอส-เคิร์ฟ) ที่ภาครัฐสนับสนุน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการส่งออกเครื่องมือแพทย์ของไทยปี 2559 อยู่ที่ 5 แสนล้านบาท ถือว่ายังน้อย คิดเป็นสัดส่วน 1.3% ของทั่วโลกที่มีมูลค่า 36.6 ล้านล้านบาท ไทยยังมีช่องว่างที่จะเร่งรัดการพัฒนา และหากสามารถยกระดับได้ คาดว่าอุตสาหกรรมการแพทย์จะเติบโตอีกมาก คาดว่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์จะโตไม่ต่ำกว่า 20-25% ต่อปี ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญามีศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม (ไอพี ไอดีอี เซ็นเตอร์) จะช่วยให้การพัฒนาต่อยอดเกิดขึ้นได้จริง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์สิทธิบัตรอุปกรณ์การแพทย์ว่าตรงไหนเป็นโอกาสและช่องว่าง

นายวีระเวช อรธนาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลเล็คชวลดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ประเทศที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเป็นจำนวนมากได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ดังนั้น การขยายเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการแพทย์จะต้องให้ความสนใจด้านสิทธิบัตร เพราะมีสิทธิบัตรจำนวนมากที่ยังมีผลคุ้มครองทางกฎหมาย สำหรับไทยยังมีเทคโนโลยีน้อยในทุกด้านเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นจุดอ่อนในการแข่งขันระดับสากล อีกทั้งไทยเน้นเทคโนโลยีด้านการฆ่าเชื้อและการลดการติดเชื้อมากเป็นอันดับ 1 แต่ความสนใจของทั่วโลกในด้านนี้ลดลง จึงเห็นว่าไทยควรให้ความสนใจเทคโนโลยีระบบทางการแพทย์และการแพทย์สำหรับผู้สูงวัยจะดีกว่า

พระนครศรีอยุธยา – ว่าที่ ร.ต. อภินันท์ เผือกผ่อง ปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอเสนา ที่สวนกล้วยไม้ลุงมานิตย์ เขตตำบลชายนา ซึ่งดำเนินธุรกิจสวนกล้วยไม้แบบครบวงจร และยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรระดับประเทศ โดยโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3 แห่งคือ 1. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับสวนเกษตร อำเภอบ้านแพรก 2. สวนเมล่อน อำเภอลาดบัวหลวง และ 3. สวนกล้วยไม้ อำเภอเสนา

ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ปรับและพัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยจำนวนกว่า 80 ไร่ บริเวณด้านข้างอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมปลูกทานตะวันเพื่อปรับภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อยู่อาศัยให้มากที่สุด นอกจากปลูกเพื่อความสวยงามแล้ว ยังได้มีการวิจัยสายพันธุ์ทานตะวันเพื่อเลือกสายพันธุ์ทีเหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด รวมถึงการศึกษาการแปรรูป และการสร้างมูลค่าด้านการตลาด

แต่ตอนนี้เป็นการทดลองปลูกตามธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบความต่างเมื่อใช้ความรู้ทางวิชาการเข้ามาเสริมในการปลูกรอบใหม่ในอนาคต ศ.ดร. สมบัติ กล่าวว่า ขณะนี้ทุ่งทานตะวันของวลัยลักษณ์ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นจุดเช็คอินใหม่ของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ละวนมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากแห่เข้าชมและถ่ายภาพที่ระลึก นอกจากความสวยงามของดอกทานตะวันที่บานสะพรั่งเต็มพื้นที่กว่า 80 ไร่แล้ว ฉากหลังของไร่ทานตะวันจะเห็นความงดงามของเทือกเขาหลวงซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ จึงอยากเชิญชวนชาวท่าศาลา หรือนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาแวะเข้าไปชม โดยเปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่

นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันเปิดฤดูตลาดทุเรียนจังหวัดนราธิวาส และเปิดแบรนด์ผลผลิตเกษตรแปลงใหญ่จังหวัดนราธิวาส ณ ตลาดกลางเพื่อการส่งออกชายแดนภาคใต้ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ว่า กิจกรรมดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของสหกรณ์ นักธุรกิจในประเทศ และนักธุรกิจจากประเทศมาเลเซีย ร่วมจัดการตลาดเชิงรุกโดยเฉพาะทุเรียนให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรผ่านความร่วมมือของเกษตรกร สหกรณ์ ธุรกิจเอกชน โดยภาครัฐให้การสนับสนุน วางระบบการรับซื้อผลทุเรียนไปจำหน่ายหรือการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และมีภาคเอกชนเชื่อมต่อตลาดทุเรียนต่างประเทศให้

ด้าน นายนอรดีน เจะแล สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ได้ร่วมกับขบวนการสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสวงหาตลาดทุกช่องทางและทุกรูปแบบ เพื่อให้ทุเรียนขายได้ในราคาที่เหมาะสม โดยการสร้างแบรนด์สินค้าให้แก่ทุเรียน ภายใต้แบรนด์ “ทุเรียนช้างเผือกนรา” ซึ่งมีลักษณะเด่นคือผลโต รสชาติหวาน มัน อร่อย น่ารับประทาน โดยขณะนี้ผลผลิตทุเรียนช้างเผือกนราเริ่มออกสู่ตลาด สามารถหาซื้อรับประทานกันได้แล้ว

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ (พณ.) กล่าวว่า วันที่ 27 กันยายนนี้ จะประชุมทางไกลผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมโค้งสุดท้าย ก่อนเปิดโครงการในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งกรมบัญชีกลางจะเปิดคอลเซ็นเตอร์รับเรื่องและแก้ปัญหากรณีมีอุปสรรคในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ขณะเดียวกัน ทางจังหวัดก็จะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบจุดที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถเข้าไปใช้บริการรูดซื้อสินค้าได้อย่างทั่วถึง โดยพาณิชย์ตั้งเป้าหมายว่า จะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 20,000 แห่งทั่วประเทศ ล่าสุดมีรายชื่อเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 13,000 แห่ง พร้อมให้บริการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ 5,700 แห่ง

นอกจากนี้ ก็จะเสริมด้วยรถเคลื่อนที่ธงฟ้าประชารัฐ กว่า 500 ขบวนคาราวาน ซึ่งใน 1 ขบวนอาจจะมีรถมากกว่า 1 คัน นำสินค้าอุปโภคบริโภคไปจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้บัตรสวัสดิการได้เข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ 878 อำเภอ

นครราชสีมา – วันที่ 25 กันยายน yourme.net ชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ กว่า 500 คน เดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัทเอกชนเจ้าของโครงการเหมืองแร่โพแทสและเกลือหิน ที่กำลังผลักดันอยู่

สืบเนื่องจากชาวบ้านพบว่า รายงานอีไอเอทั้ง 2 ฉบับ มีความไม่ชอบธรรมหลายประเด็น เช่น รายงานวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่โพแทสและเกลือหิน ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ลัดขั้นตอนการยื่นขอใช้ประโยชน์แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น นอกจากนั้นยังส่งรายงานที่ขัดกับมติ สผ.และคชก. อีกทั้งการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นชีวมวลกะลาปาล์ม เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ชาวบ้านยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

ก่อนหน้านี้แม้ชาวบ้านยื่นหนังสือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดค้านแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นผล ดังนั้น จึงได้พากันเดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มี คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการใช้น้ำ เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 2 ฉบับ และถอนการพิจารณารายงานฯ ครั้งที่ 4 ฉบับชีวมวล ที่ใช้ข้อมูลวันที่ 24 กรกฎาคม ออกจากการประชุม สผ.และคชก.

วันเดียวกัน ชาวบ้านจาก ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร จำนวนกว่า 50 คน ถือป้ายข้อความคัดค้านโรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงแปรรูป (RDF) หรือขยะรีไซเคิล ขนาดกำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่างพิจิตร ที่บริเวณหอประชุมที่ว่าการอำเภอวชิรบารมี ซึ่งกำลังเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นโครงการดังกล่าว โดยระบุว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารโครงการจากบริษัทผู้ดำเนินการเลย ทำให้หวั่นว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ ด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืนระหว่างกรมชลประทานและการประปานครหลวง(กปน.) ณ อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอกับความต้องการและสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ตลอดจนร่วมกันในการพัฒนาแหล่งน้ำและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อลดปัญหาปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน ในลักษณะการบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน