นายก อบต.น้ำคำ กล่าวว่า มีสูตรน้ำหมักฮอร์โมนหน่อกล้วย

ใช้หน่อกล้วย 50 ก.ก.น้ำสะอาด 100 ลิตร ยาคูล 2 ขวด น้ำตาลทรายแดง 2 ก.ก.หมักไว้ 14 วัน วิธีใช้ 1 ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีตรพ่นหรือ ให้ทางราก การทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา การขยายแบบสูตรเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ลิตร น้ำตาลทรายแดง 2 ก.ก.ละลายน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 10-15 วัน จนเกิดวุ้น วิธีการใช้1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยคอก เทราดโคนในดิน ป้องกันเชื้อราสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

การทำแปลงหญ้ากินนีสีม่วง เนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าแพงโกล่า หญ้าหวานกาฬสินธุ์ เพื่อการเลี้ยงสัตว์ การบริหารจัดการระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ เป็นการให้น้ำแบบประหยัด มีการถนอมอาหารด้วยการการทำฟางอัดฟ่อน หลังการเก็บเกี่ยว เป็น ศพก.ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งครบองค์ประกอบ คน พื้นที่ สินค้า ดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูป ผลผลิต การเกษตรอินทรีย์ สู่การตลาดคุณภาพดี คือ อาหารปลอดภัย เป็นศูนย์การศึกษา ดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ และเกษตรกรใกล้เคียง ขยายเครือข่ายจาก จุดไข่แดง กระจายสู่ไข่ขาว เพื่อเกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข ตามแนวนโยบายแห่งรัฐ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการส่งเสริมการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) การเกษตรอินทรีย์ โดย นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้ นายทรงพันธ์ จันทร์สว่าง เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการ ในพื้นที่ 20 อำเภอ โดย ศพก.บ้านน้ำคำ ม.1 นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ นายกนกศักดิ์ แสนวัฒน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เกษตรตำบลน้ำคำ เป็นผู้ประสานงาน ศพก.แห่งนี้ ต้องเป็นฐานเรียนรู้ครบองค์ประกอบ ตามแนวทางของงานส่งเสริมการเกษตร เพื่อเกษตรกร 85 % ของแผ่นดิน หากต้องการศึกษาดูงาน ติดต่อ โทร.098-6653595 นายอำนาจ ลาสนาม นายก อบต.น้ำคำ เพื่อเดินหน้าประเทศไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของคนในแผ่นดิน

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (KAPI) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้จัดการประกวด Thailand Green Design Awards2018 ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล TGDA2018 ในงานเกษตรแห่งชาติ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรม Popular Vote ให้กับผลงานที่ชื่นชอบมากที่สุด โดยสามารถโหวตได้ใน 2 ช่องทาง คือ

จากการเยี่ยมชมบูธจัดแสดงผลงาน ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ โดยผู้ที่เข้าชมบูธของ TGDA ในงานเกษตรแห่งชาติ สามารถโหวตให้คะแนนผลงานที่ตนเองชอบมากที่สุด 1 ท่าน ต่อ 1 โหวต คิดเป็น 5 คะแนน
การกดไลค์และแชร์รูปภาพผลงาน ผ่านทาง Facebook www.facebook.com/TGDA.Thailand/ ในอัลบัม TGDA2018: Popular Vote” โดย 1 ไลค์ คิดเป็น 1 คะแนน และ 1 แชร์ คิดเป็น 1 คะแนน
เริ่มโหวตให้กับผลงานที่ชื่นชอบได้ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2561 เปิดโหวตทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.30 น. และสามารถร่วมโหวตให้ผลงานที่ชื่นชอบได้อีกครั้ง ที่บูธ TGDA ในงานที่สยามพารากอน ตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม 2561 เปิดโหวต ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. โดยสถาบันฯ จะทำการประกาศผลโหวตในงานพิธีมอบโล่รางวัลงานประกาศผลผู้ชนะ “Thailand Green Design Awards 2018” ในวันที่ 23 มีนาคม 2561 ณ สยามพารากอน

นางกอบแก้ว ระวิเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ร่วมกับ นายชนวน โสรถาวร ประธานชมรมการท่องเที่ยวชุมชนศรีภูมิ เปิดกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการส่งเสริมการรียนรู้วิถีไทยและวัฒนธรรมชุมชน โดยกลุ่มแรกคือนักธุรกิจคนรุ่นใหม่จากหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน เดินทางมาระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา รวมเวลา 2 วัน 1 คืน ณ บริเวณลานวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า บ้านเลขที่ 189 ม.7 บ้านเหม้า ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

นางกอบแก้ว กล่าวว่า กิจกรรมการท่องเที่ยวส่องดาวชมเดือนเยือนถิ่นทุ่งกุลาฯ วันแรกเวลา 09.00 น.เป็นการต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว พร้อมสักการบูชาปู่ตา เดินชมป่ายางนาป่าเห็ดพื้นบ้านที่เป็นดังครัวชุมชน คืออาหารป่า สิ่งที่ชุมชนปฏิบัติติดต่อกันมาคือการจับปลาในส่าง หรือบ่อดินตามหัวไร่ปลายนา งานนี้จะได้อรรถรสคือลุยน้ำลุยโคน นำปลามาประกอบอาหาร ต้มแบบพื้นบ้าน ใบมะขามอ่อน ใบโมง เผาปลา ปิ้งปลา ลาบปลา เพื่อเป็นอาหารเที่ยงวัน แบบนั่งฟางกับพื้นดิน ลูกทุ่งเกินร้อย จากนั้น เป็นการตามล่าปูนา ขุดปูนาใส่ข้อง การขี่ควายชมทุ่ง

นางกอบแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า นายชนวน โสรถาวร ประธานชมรมการท่องเที่ยวชุมชนศรีภูมิ จัดกิจกรรมทำครีมไข่มุกสูตรโบราณ โดยนักธุรกิจคนรุ่นใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดำเนินการไปพร้อมๆกัน เพื่อเป็นการคลายเส้น มีนวดแผนไทย สระผมด้วยน้ำมะกรูดแบบพื้นบ้าน จนกระทั่งเวลา 15.00น. มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมสวนผักอินทรีย์ ร่วมเก็บผักเพื่อประกอบอาหารเย็น จากนั้นกลับที่พัก ร่วมประกอบอาหาร ลาบปูนา ทอดปูนา ต้มไก่บ้าน ไข่เจียว ผัดผักรวม น้ำพริก เผาข้าวหลาม รับประทานอาหารเย็นกิจกรรมต่อเนื่อง คือ ส่องดาวชมเดือน ปู่เฒ่าเล่าความหลังสืบสานโดยน้องมะลิ กับน้องกุลาเสริมด้วยกิจกรรมการแสดงของเยาวชน กิจกรรมเด็ก ในท้องถิ่นอย่างน่ารักน่าชัง วันนี้ ทุกท่านจะได้นอนพักในซุ้มกองฟาง แบบทิ้งห้องแอร์ มาขี่หลังควาย นอนกองฟางข้าว

เช้าวันใหม่พร้อมกันที่โต๊ะอาหารรับเครื่องดื่ม อาหารเช้า ข้าวต้มจากข้าวกล้อง นั่งรถยนต์ไปวัดเพื่อร่วมทำบุญ ที่วัดบ้านเหม้าอุดมศิลป์ อาราธนาศีลพร้อมคนแก่ คนเฒ่า ในชุมชน จากนั้น จะประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ แบบประเพณีดั้งเดิมของคนอีสาน มีพ่อพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพิธี รับประทานอาหารเช้าที่วัดเหม้าอุดมศิลป์ จากนั้นคณะจะเดินทางไปกราบนมัสการหอไตรภูมิวัดบ้านตากแดด วัดป่าบ้านหนองข่า กลับเข้าเมืองสุวรรณภูมิ (ศรีภูมิ) สักการะอนุสาวรีย์ท้าวเชียง เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนแรกปี 2315-2330 เดินทางต่อไปสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง เดินทางลงสู่ทุ่งกุลาร้องไห้ ดูรอยพระพุทธบาทปราสาทขอมโบราณ พระนารายณ์บรรทมศิลป์ เลี้ยงลิง ที่กู่พระโกนา เดินทางต่อไปที่บ้านโพนครกน้องดูหอยล้านปี กลับสู่ วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ช่วงบ่าย คณะเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กล่าวว่า วสช.ส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้าร่วมกับชมรมท่องเที่ยวชุมชนศรีภูมิส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนวิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านส่องดาวชมเดือนเยือนถิ่นทุ่งกุลาฯ เป็นแนวคิดที่นำภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของดีในถิ่นทุ่งกุลาออกสู่สายตาชาวโลก นำยุทธศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ดคือ ส่งเสริมการเกษตรและการท่องเที่ยวควบคู่กันไป คิวต่อไปกลุ่มทัวร์ใดเชิญจับจองครับ โทร.062 5604770 นางกอบแก้ว ระวิเรือง ครับ

เหยื่อสหกรณ์เถื่อนหวั่นเงินเกือบ 10 ล้านสูญ เดินหน้าร้องขอความช่วยเหลือ ส่งตัวแทนยื่นหนังสือร้องทุกข์ กับทหารกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมวอนพลเอกประยุทธ์ จันท์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วย ระบุคนใกล้ชิดกลุ่มบุคคลที่อ้างตนเป็นกรรมการสหกรณ์ฯ เป็นคนมีสี และจัดตั้งทนายเข้ามาแทรกแซง หวั่นถูกผู้มีอิทธิพลคุกคามและข่มขู่ด้วยอำนาจทางกฎหมาย

จากกรณีชาวบ้านคำมันปลา ทั้งตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนและศิษย์เก่า โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอห้วยเม็ก เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้วยเม็ก หลังพบว่าเงินออมทรัพย์ที่สะสมมานานกว่า 20 ปี ในนามสหกรณ์ออมทรัพย์ของโรงเรียนเงินทั้งหมดได้หายไปหลังครูที่เป็นคณะกรรมการพาเหรดเออลีรีไทร์ออกหมดยกชุด ขณะที่สหกรณ์ จ.กาฬสินธุ์ ระบุชัดเป็นการแอบอ้างชื่อนามสหกรณ์ยืนยันไม่มีในทะเบียนรับรอง ด้าน พล.ต.ต.มนตรี จรัลพงศ์ ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ ลงพื้นที่ติดตามการทำสำนวนของตำรวจพื้นที่ด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด ตามข่าวที่เสนอแล้วนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.กาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ชั้น 3 นายพิบูรณ์ คำแหงพล ตัวแทนผู้ปกครอง และนายพูนพิพัฒน์ เรืองแสน ตัวแทนศิษย์เก่าโรงเรียน ต.คำเหมือดแก้ว อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ พร้อมตัวตัวแทนผู้ปกครองรวม 4 คน ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์และขอความช่วยเหลือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.กาฬสินธุ์ โดยมี พ.ต.ธีระศักดิ์ ตรีศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.กาฬสินธุ์ รับเรื่อง

นายพูนพิพัฒน์ เรืองแสน ตัวแทนศิษย์เก่าโรงเรียนฯ กล่าวว่าจากการที่ชาวบ้าน ผู้ปกครอง ถูกกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงเรียน รวม 9 คน พากันเออร์ลี่ออกไป 7 คน และเสียชีวิต 2 คน พร้อมเชิดเงินไปหมดเกลี้ยง จากการตรวจสอบไม่มีเงินฝากเหลือในสหกรณ์ฯแม้แต่บาทเดียว ทั้งๆที่มียอดรวมเงินฝากสะสมไม่น้อยกว่า 8 ล้านบาทหรือรวมดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ตอนนี้กังวลว่านอกจากดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับแล้วเงินต้นที่สะสมมาบางคนเป็นสมาชิกกว่า 20 ปีอาจจะสูญไปหมด

“เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้เข้าแจ้งความกับศูนย์ดำรงธรรมอำเภอและเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้วยเม็ก เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 61 ที่ผ่านมา เพื่อให้ออกหมายเรียกติดตามตัวคณะกรรมการสหกรณ์ฯ ที่ยังมีชีวิตทั้ง 7 คนมาไกล่เกลี่ย หลังจากนั้นอีก 2 วันคือวันที่ 19 ม.ค.61 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งกับกลุ่มชาวบ้านผู้เสียหายว่า กรรมการฯคนหนึ่งซึ่งได้รับหมายเรียก ได้มอบหมายให้ทนายความเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจากับชาวบ้าน โดยให้ไปพูดคุยกันในหมู่บ้าน ทำให้ตนและชาวบ้านผู้เสียหายรู้สึกผิดปกติ และไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่มีทนายความเข้ามาแทรกแซง”

นายพูนพิพัฒน์กล่าวอีกว่า ปัญหาเกิดจากคณะกรรมการฯ เป็นฝ่ายสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจนำไปปล่อยกู้หรือใช้ประโยชน์ทางอื่น มีเจตนายักยอกและฉ้อโกงประชาชน ชาวบ้านเคยขอร้องให้เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยการประชุมเพื่อหาทางออกก็หลบเลี่ยง และโกหกตลอดมา ก่อนที่จะลาออกจากราชการหลบหนีไป เหมือนมีเจตนาไม่รับผิดชอบใดๆ ถึงวันนี้เมื่อได้รับหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กลับให้ทนายความซึ่งเป็นบุคคลที่สามเข้ามาเป็นตัวแทนเจรจา ตนและชาวบ้านผู้เสียหายจึงหวั่นวิตกว่าจะไม่ได้เงินคืน เพราะอาจถูกฝ่ายกรรมการฯ เล่นแง่โดยจัดหาทนายความมาแก้ต่าง

ที่อาจใช้ช่องทางกฎหมายมาทัดทานกระแสชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านไม่ต้องการ เพราะเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ฐานะยากจน เป็นฝ่ายเดือดร้อนเสียหาย จะหาเงินที่ไหนไปจ้างทนายมาสู้คดี สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคืออยากได้เงินคืนเท่านั้น โดยให้กรรมการฯออกมารับผิดชอบ ไม่ต้องการพูดคุยกับทนายซึ่งเป็นคนอื่น หากฝ่ายคณะกรรมการจัดทนายมาเป็นตัวแทนก็จะทำให้ให้ยืดเยื้อ เสียเวลา เหมือนเป็นการข่มขู่ชาวบ้านด้วยกฎหมาย ทำให้ชาวบ้านเป็นทุกข์ใจมากกว่าเดิม เพราะไหนจะรู้สึกเสียดายเงินที่ถูกยักยอกไปแล้ว ยังต้องมาวิตกกังวลกับการที่จะต้องต่อสู้กับนักกฎหมายอีก

“นอกจากนี้ ชาวบ้านยังรู้สึกหนักใจในการเรียกร้องขอเงินคืน เนื่องจากหนึ่งในคณะกรรมการฯ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเป็นคนมีสี (อดีตทหาร) ที่อาจจะถูกคุกคาม และไม่ได้รับความปลอดภัย จึงตัดสินใจเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ ขอความคุ้มครอง และขอความช่วยเหลือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้จับตาและสั่งการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับดูแล เพื่อนำไปสู่การคลี่คลายที่ดีและชาวบ้านได้เงินคืน”

ปัญหาต่างๆ มากมาย ท่านยังมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแก้ไขได้หมด เรื่องนี้ก็จึงหวังพึ่งพาว่าท่านจะช่วยชาวบ้านได้ ในนามตัวแทนศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียน ที่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ฐานะยากจน หวังจะได้ถอนเงินจากสหกรณ์ฯ มาเป็นทุนการศึกษาให้กับบุตรหลาน แต่กลับต้องมาสูญเสียเงินรวมกว่า 10 ล้านบาทให้กับคณะกรรมการฯ อย่างไม่รู้ที่มาที่ไป จึงได้มาร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ทหาร ให้เรียกคณะกรรมการฯ เข้ามาไกล่เกลี่ย และวิงวอน “ลุงตู่” แก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านคำมันปลาด้วย

ขณะที่ พ.ต.ธีระศักดิ์ ตรีศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า หลังได้รับเรื่องปัญหาร้องทุกข์ดังกล่าว ก็จะได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับส่งเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยหลังจากนี้จะกำกับติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด ในส่วนที่ชาวบ้านผู้เสียหาย เกิดความวิตกกังวลว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม หรืออาจถูกข่มขู่คุกคามนั้น เบื้องต้นก็จะได้รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งการให้หน่วยทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ เข้าไปลาดตระเวน ตรวจตรา และรับแจ้งเบาะแส หรือเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชาวบ้านในช่วงนี้

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์

คณะกรรมการค่าจ้างประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแยกตามกลุ่มจังหวัด 7 กลุ่ม ตั้งแต่ 5-22 บาท ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 315.97 บาทต่อวัน โดยมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 เม.ย. 2018

จะมีแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 12% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดที่จะได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ โดยจะส่งผลให้ค่าจ้างสำหรับแรงงานกลุ่มดังกล่าวขยับขึ้นราว 3% YOY ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นที่ใกล้เคียงกับการปรับเพิ่มในครั้งก่อนเมื่อเดือนม.ค. 2017

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยฟิลิปปินส์มีการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อเดือนต.ค. 2017 เฉลี่ย 4.5% YOY ทั่วประเทศ ในขณะที่เวียดนามและกัมพูชามีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต่อเนื่องทุกปี ประมาณ 5% YOY และ 9% YOY ตามลำดับ

ขณะที่อีกหลายประเทศก็มีแผนที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ ได้แก่ ลาว และเมียนมา ที่กำลังพิจารณาที่จะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เฉลี่ย 33% YOY และ 25% YOY ตามลำดับ

มองว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจไม่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของครัวเรือนถ้าการจ้างงานยังซบเซา ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้นในรอบนี้ที่ราว 3% YOY ถือเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อปี 2018 ที่คาดการณ์ที่ 1.1% YOY ทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงจะปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มกำลังซื้อระดับฐานรากที่น่าจะได้รับประโยชน์โดยตรง

อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงจากสภาวะการจ้างงานที่ซบเซา โดยในปี 2017 แม้ค่าจ้างขั้นต่ำจะถูกปรับเพิ่มขึ้นราว 2% YOY แต่จำนวนการจ้างงานแรงงานกลุ่มนี้กลับลดลง 2.2% โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ทำงานล่วงเวลาและรายได้เฉลี่ยต่อวันลดลง ทำให้กำลังซื้อในภาพรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มของค่าจ้าง การขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ความต้องการแรงงานลดลงถือเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัว

สำหรับด้านต้นทุนแรงงานของไทยจะเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราที่น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานไทยในปัจจุบันยังคงสูงสุดในภูมิภาคที่ประมาณ 9.5-10 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันหลังการปรับขึ้น ตามมาด้วยฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ที่ 8 และ 7.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ตามลำดับ

ข้อมูลจาก “สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร” (ปี 2559) รายงานว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เปิดกรีดยางทั้งสิ้น 18,223,833 ไร่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (อุดรธานี, หนองคาย, เลย, หนองบัวลำภู และบึงกาฬ) มีพื้นที่เปิดกรีดรวมกันไม่น้อยกว่า 1,486,391 ไร่ จาก 2,752,031 ไร่ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ “จังหวัดบึงกาฬ” มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 759,560 ตัน มูลค่ากว่า 17,565 ล้านบาท

“จ.บึงกาฬ” จึงเป็นศูนย์กลางการปลูกยางพาราที่มีศักยภาพสูง และมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานแปรรูป โดยขณะนี้มีโรงงานรับซื้อยางพารารายใหญ่จากภาคใต้เข้ามาเปิดสาขา 4 ราย คือ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด, บริษัท รับเบอร์แลนด์ โปรดักส์ จำกัด ในเครือศรีตรัง, บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น และล่าสุดเป็นกลุ่มทุนจากประเทศจีน ซึ่งพร้อมแล้วที่จะตั้งโรงงานแปรรูปยางเพิ่มอีก 1 ราย

ขณะเดียวกัน นักลงทุนจีนยังเตรียมตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราที่บึงกาฬแล้ว โดยบริษัท จงเช่อ จำกัด ในเครือรับเบอร์วัลเล่ย์กรุ๊ป

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจาก นายขวัญประชา ระเริง นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ รักษาราชการแทนประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ พร้อมกล่าวต่อว่า นักลงทุนจากอินเดียยังให้ความสนใจลงทุนในไทยเช่นกัน ซึ่งในอนาคต จ.บึงกาฬจะต้องพัฒนาไปสู่การแปรรูป รัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็น “อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศ” และ “เป็นศูนย์กลางยางพาราของอาเซียน” ซึ่งจะต้องเตรียมพร้อมให้ชาวสวนยางและองค์กรเกษตรมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาระบบการบริหารจัดการยางพาราให้มีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพเกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

“โดยเฉพาะการผลักดันให้มีการแปรรูปอย่างจริงจัง เช่น การนำมาผสมทำถนนยางพารา สนามกีฬา และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น หมอนยางพารา หรือให้รัฐบาลจ้างผลิตยางรถยนต์ให้หน่วยงานราชการ ซึ่งจะช่วยระบายยางในประเทศได้จำนวนมาก” นายขวัญประชาอธิบาย

และว่า สมมุติปีนี้ขายยางได้ 3 ล้านตัน ได้เงิน 240,000 ล้านบาท แต่ถ้าขายยางแปรรูป 1 ล้านตัน จะได้เงินเกือบ 400,000 ล้านบาท โดยเฉพาะ “หมอนจากยางพารา” โดยหมอน 1 ใบ ใช้ยางเฉลี่ย 3 กิโลกรัมเศษ ในห้างสรรพสินค้าขายใบละ 900 บาท หากเกษตรกรแปรรูปขายใบละประมาณ 300 บาท ก็เท่ากับได้ยาง กก.ละ 100 บาท.

นายขวัญประชากล่าวต่อว่า เมื่อดูจากขนาดตลาดของเครื่องนอนของประเทศไทยมูลค่าตลาดโดยประมาณ 7,000 ล้านบาท/ปี แบ่งออกเป็นตลาดแบรนด์เนม หรือตลาดบนประมาณ 3,500 ล้านบาท และตลาดล่างแบรนด์ในประเทศ 3,500 ล้านบาท ลักษณะการขายของตลาดบนจะเน้นขายคุณภาพและนวัตกรรม แต่ในตลาดล่างการขายให้ผู้บริโภคจะเป็นลักษณะตรงกันข้าม เน้นราคาถูก ใช้วัสดุคุณภาพต่ำ เป็นต้น

“ขณะที่เกษตรกรใน จ.บึงกาฬมากกว่าร้อยละ 90 นิยมแปรรูปยางพารา โดยผลิตเป็นยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำ ทำให้เกษตรกรต้องยอมรับราคาตลาดที่ปรับตัวลดลงจากเดิมอย่างมาก ซึ่งถ้าเกษตรกรมาปรับกระบวนการคิด เกษตรกรจะสามารถเพิ่มรายได้โดยเฉลี่ย 3-4 บาทในการขายน้ำยางสด นอกจากนี้ น้ำยางสดสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากมาย จึงเป็นการเสียโอกาสอย่างยิ่งถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว” นายขวัญประชากล่าว

ดังนั้น จ.บึงกาฬ โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางหนองหัวช้าง หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ การยางบึงกาฬ และตัวแทนจากศูนย์วิจัยยางหนองคาย จึงจัดทำโครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการจำหน่ายยางพาราของเกษตรกร ภายใต้โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตและแปรรูปยางพารา เพื่อปรับแนวคิดเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราใน จ.บึงกาฬ ให้ความสำคัญในการผลิตน้ำยางสดมากกว่าการผลิตยางก้อนถ้วย โดยมีการผลิตรายการสดให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ “บึงกาฬสัมพันธ์” เผยแพร่ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ และสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ 31 สถานี