นายชยพล กล่าวอีกว่า ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต

ในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะที่พื้นที่ลุ่มต่ำ ริมฝั่งแม่น้ำ ที่ลาดเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และจุดอ่อนน้ำท่วมขัง พร้อมตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

“สำหรับพื้นที่เสี่ยงคลื่นลมแรง ให้ประสานหน่วยงานทางน้ำ อาทิ กรมเจ้าท่า กรมประมง และตำรวจน้ำออกลาดตระเวนแจ้งเตือนการเดินเรือทุกประเภท ทั้งเรือเล็ก เรือประมง เรือท่องเที่ยว เรือข้ามฟาก และเรือเฟอร์รี่ ให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง มีอุปกรณ์ชูชีพให้เพียงพอ และงดการเดินเรือ หากทะเลมีคลื่นสูงและกำลังแรง รวมถึงเน้นย้ำให้มีการตรวจสภาพความพร้อมและความปลอดภัย ก่อนออกเรือทุกครั้ง สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัย พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด รวมถึงขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง ตลอดจนหมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติจะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที”

กระทาย เป็นของใช้ชาวบ้านสมัยก่อน

กระทาย ดูไปก็เหมือนกระบุงขนาดเล็ก สมัยโบราณคนไทยเคยใช้เป็นเครื่องตวงข้าว วิธีนับคือ 2 กระทายเท่ากับ 1 กระบุง หน่วยวัดนี้ กาลเวลาผ่านไป ก็เหลือไว้เพียงชื่อ เด็กรุ่นใหม่แทบไม่มีใครรู้และเข้าใจ เพราะเครื่องตวงสมัยใหม่แสนจะทันสมัย และแพร่หลายโดยทั่วไป บางท้องถิ่น อย่าง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เรียกกระทายว่า กระเช้า ท้องถิ่นอื่นๆ อาจเรียกชื่อต่างกันไป ตามคำเรียกขานของผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ความหมายคือ เครื่องมือใช้ตวงชนิดเดียวกัน

คำว่า กระทาย มีอยู่สองความหมาย

ถ้าเป็นคำนาม กระทาย หมายถึง ภาชนะคล้ายกระบุง แต่ถ้าเป็นคำกริยา หมายถึง อาการกระทบให้เมล็ดข้าวที่ใส่กระด้งแยกออกจากแกลบ ดังบทเพลงลูกทุ่งของ เมืองมนต์ สมบัติเจริญ ชื่อ หนุ่มสุพรรณ ท่อนหนึ่ง ความว่า “พี่จะเป็นคนตำเสียให้รำอ่อน ให้น้องรักเป็นคนร่อน คนกระทาย”

ร่อน หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวใส่ตะแกรงร่อน ส่วนกระทายนั้น หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวที่ตำแล้วใส่กระด้ง แล้วใช้มือกระทบขอบกระด้งเป็นจังหวะ

การกระทายเมล็ดข้าว สาวๆ สมัยก่อนคงรู้จักกันดี ไม่อย่างนั้น เมืองมนต์ สมบัติเจริญ ร้องเพลงออกไป คนคงไม่เข้าใจ

กระทาย เครื่องมือของใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องจักสาน วิธีการสานคล้ายกับกระบุง คือ มีตอกยืนเหลาจากไม้ไผ่ ไว้ผิว และตอกเวียนเหลาจากไม้ไผ่ การเหลาตอกเป็นตัวกำหนดความมั่นคงแข็งแรง กรณีต้องการความมั่นคงแข็งแรง ทนทาน ต้องเหลาตอกไว้ผิว กรณีต้องการใช้ชั่วคราว ก็ไม่ต้องไว้ผิว

ขั้นตอนการสานกระทาย ขั้นแรกต้องขึ้นรูปทรงก่อน คือนำเอาตอกยืนมาขึ้นรูป เริ่มจากส่วนก้น ขั้นที่สองคือขั้นสาน คนสานจะนำตอกเวียนมาสานเวียนไปเรื่อยๆ ให้เข้ารูปทรงตามแบบต้องการ ขั้นที่สาม ทำขอบด้านปากโดยใช้ไผ่เหลาไว้ผิว 2 อัน ประกบกัน มีด้านใน 1 อัน ด้านนอก 1 อัน แล้วค่อยๆ ใช้ตอกเหนียว หรือลวด หรือหวายก็ได้ มัดไม้ประกบนั้นเข้าหากัน เสร็จแล้วก็จะได้ขอบกระทายที่มั่นคง แข็งแรง

การใช้กระทาย ชาวบ้านใช้กระทายสำหรับตวงข้าวของ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มัน ถั่ว งา และข้าวของอื่นๆ ที่ใส่กระทายตวงได้

สมัยเก่าก่อน เครื่องตวงอื่นๆ อย่าง กิโล ยังไม่แพร่หลาย ชาวบ้านใช้กระทายตวง เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน และตวงข้าวของขาย

แม่ผู้เขียนเล่าว่า สิ้นฤดูหน้าเก็บเกี่ยว ชาวบ้านนำข้าวเปลือกขาย ส่วนที่เหลือเก็บไว้จะใส่ยุ้งไว้เป็นข้าวปลูก และข้าวไว้ตำหุงกิน ช่วงนี้เองมักมีคนต่างถิ่นนำเอาข้าวของมาแลกข้าว ชาวบ้านป่ามักหามัน กลอย ใส่หาบมาเร่แลกข้าวเปลือก

อัตราการแลกกำหนดง่ายๆ เป็นต้นว่า กลอย 1 กระทาย เท่ากับข้าวเปลือกกี่กระทายก็ว่ากันไปตามความพอใจทั้งสองฝ่าย สำหรับคนที่อยากกินกลอยแต่ไม่มีข้าวเปลือกแลก ก็อาจตีค่ากลอยเป็นเงิน ใช้กระทายตวงจะกระทายละเท่าไรก็ว่ากันไป

เรื่องการซื้อขายสมัยเก่าก่อน ไม่ค่อยตีค่ากันเป็นเงินเท่าใดนัก เพราะเงินทองเป็นของหายาก ชาวบ้านหมู่บ้านใดทำนาได้ดี ชาวบ้านที่ปลูกเผือกปลูกมันได้ก็จะนำเอาผลผลิตของตนเองมาแลก ตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันเอง ไม่ต้องรอให้พ่อค้าคนกลางมากำหนดให้ และไม่ต้องเป็นไปตามกลไกตลาดโลกอย่างปัจจุบัน

การแลกเปลี่ยนกันอย่างง่ายๆ ต่างฝ่ายต่างพอใจกันก็จบ ประสบการณ์ของผู้เขียน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513 ยังไม่ได้เรียนชั้นประถม วันใดพ่อหาปลามาได้มากเหลือกิน แม่จะชวนไปขายตามไร่ของชาวบ้าน เครื่องชั่งแม่มีกิโล 1 คัน นำติดไปด้วย ใครต้องการปลาเท่าใด ก็ชั่งขายไป

นับเป็นภาพประทับใจมาก ชาวบ้านที่ออกมาทำไร่ตอนกลางวัน บางคนไม่มีเงินติดมา ก็เอาข้าวของมาแลก บางคนบอกว่าไม่ต้องชั่งกิโล แต่ให้นับตัวปลาเอาก็ได้ เมื่อได้ปลาแล้วก็ทุบหัว เอาเถาไม้ร้อยแขวนไว้ รอปิ้ง ย่าง เมื่อหยุดงาน

เราเดินขายไปตามไร่ของชาวบ้าน ขากลับเมื่อย้อนมาทางเดิม ชาวบ้านที่ซื้อปลาเราไปบางคนย่างปลาเสร็จแล้ว เรียกเรากินข้าวด้วย

ส่วนใหญ่ก็เป็นญาติๆ กันทั้งนั้น ใกล้ชิดบ้าง ห่างกันไปบ้าง ถึงกระนั้นแม้เราจะหิวอย่างไร เราก็ไม่กล้าแวะเข้าไปกินด้วยแน่ๆ เพราะปลาเราเขาซื้อไปแล้ว จะร่วมวงกินกันฟรีๆ ก็ดูกระไรอยู่

กระทาย ยังพอหาดูได้อยู่ เราชาวบ้านไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับตวงข้าวแล้ว แต่มีไว้สำหรับใส่ข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แทน ภาคใต้ นำใบกะพ้อมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ หรือประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวใต้ โดยเฉพาะงานเดือนสิบนำมาห่อข้าวต้ม หรือนำใบกะพ้อมาทำหัตถกรรม จักสาน ใบกะพ้อ ลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ รูปกลม ก้านใบรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลม ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ก้านใบ เอาหนามออกผ่าเป็นตอกใช้มัดข้าวกล้า ปัจจุบัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ สำหรับการห่อข้าวต้มต้องใช้ใบอ่อน

ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดเผยแพร่วัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยเฉพาะการทำข้าวต้มสอดไส้ใบกะพ้อ เนื่องจากนับวันเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้สนใจกับวัฒนธรรมดั้งเดิม โดย ครูรัชนี การะนัด ทำออกเผยแพร่เพื่อได้เรียนรู้ โดยเพิ่มการใส่ไส้เข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แตกต่างจากปกติที่นิยมใส่เพียงข้าวเหนียว กะทิ หรือบางครั้งอาจจะใส่ถั่ว

ข้าวต้ม ส่วนผสมจะเป็นของที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม กะทิ 5 ถ้วย เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาลทรายครึ่งถ้วย

สำหรับส่วนผสมของไส้ ทำจากเนื้อหมูหรือไก่ หั่นสี่เหลียมลูกเต๋า 1 กิโลกรัม เห็ดหอม หั่นบาง 100 กรัม กุ้งแห้ง แช่น้ำ 200 กรัม ไข่แดงเค็ม (ตัด 6 ชิ้น ต่อ 1 ฟอง) 10 ฟอง รากผักชี 3 ราก กระเทียม 10 กลีบ พริกไทย 2 ขีด เครื่องปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ

วิธีผัดไส้ นำรากผักชี กระเทียม พริกไทย โขลกให้ละเอียด ใส่กระทะผัดให้หอม ใส่เนื้อหมูผัดให้สุก เติมกุ้งแห้ง เห็ดหอม ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วย ซีอิ๊ว น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ หรือจะเติมเม็ดบัวที่ต้มสุกลงไปผัด ชิมรสชาติตามชอบ

วิธีทำ

1.ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด ใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ เทใส่กระทะ เติมน้ำกะทิ เกลือ น้ำตาลทราย ตั้งไฟ ผัดไฟปานกลางจนข้าวเหนียวใกล้สุก และยกลงพักไว้ให้เย็น

2.ตัดใบกะพ้อ แบ่งส่วนของใบกะพ้อให้มีความกว้างของแต่ละใบเท่าๆ กัน เพื่อเวลาห่อขนมจะได้เท่ากัน

3.พับส่วนปลายของใบกะพ้อเป็นรูปกรวย ตักข้าวเหนียวใส่กดลงให้แน่นจนสุดกรวย ให้ได้ครึ่งของกรวย 4.ตักใส้ใส่ตรงกลางพอประมาณ และใส่ไข่แดงของไข่เค็มตามส่วนที่ตัดไว้ แล้วตักข้าวเหนียว ปิดทับให้มิดและให้แน่น แล้วพับเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว จากนั้นให้สอดส่วนโคนของใบกะพ้อออกมาทางยอดแหลมของกรวยดึงให้แน่น หรือจะขมวดปมตรงกรวยเพื่อกันหลุดก็ได้

5.นำไปต้ม หรือนึ่งจนกระทั่งสุก จะใช้เวลา ประมาณ 25 นาที

การห่อ

1.นำใบกะพ้อที่ยังไม่บาน มาทำความสะอาด เช็ดสิ่งสกปรกออกด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ แล้วแกะ ใช้มือรีดตามแนวใบ เพื่อแผ่ให้ใบกว้าง แล้วพับม้วน เพื่อขึ้นรูปให้ทรงตัว

2.นำใบกะพ้อที่ขึ้นรูปไว้แกะออกเป็นใบๆ

3.พับปลายใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใส่ข้าวเหนียว การห่อให้สวยงามนั้น จะต้องตัดหนวดขนมต้มให้ดูสวยงาม ข้าวเหนียวที่ห่อมิดชิด ไม่มีข้าวเหนียวออกมานอกใบกะพ้อ ขนาดขนมต้มไม่แตกต่างกันมากนัก หรือใหญ่ไปหรือเล็กไป

ข้าวต้มใบกะพ้อ หรือภาคใต้ เรียกว่า ต้ม เป็นขนมที่ทำจากข้าวเหนียวห่อด้วยใบอ่อนของใบกะพ้อของชาวปักษ์ใต้ นิยมทำกันในช่วงงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะชาวพุทธ นิยมทำในช่วงออกพรรษา งานชักพระ หรือชาวบ้านทำใส่บาตรถวายพระ หรืองานบวช ฯลฯ ชาวมุสลิมจะทำในวันฮารีรายอ ที่ผ่านมาในบางพื้นที่ เคยจัดให้มีการประกวด การห่อขนมต้มกันมาแล้ว เช่น จังหวัดพังงา โดยปกติแล้วก่อนถึงงานบุญ หรือจะทำขนมต้มนั้น จะต้องเตรียมใบกะพ้อไว้ล่วงหน้า 2-3 วัน

สำหรับ กะพ้อ จัดเป็นพืชชนิดปาล์มแตกกอ มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทย ในป่าพรุ หรือตามไร่-นา สูงประมาณ 15-20 ฟุต ก้านใบยาวเล็ก มีใบย่อยแตกออกจากกัน และแตกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อย ประมาณ 12-18 ใบ ตามใบย่อยมีรอยจีบ ปลายใบตัด ดอกสีขาวออกเป็นช่อ เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง ชอบดินปนทรายที่ชุ่มชื้นปานกลาง สามารถปลูกในสนามหญ้า เพื่อให้แตกกอเป็นพุ่มหรือจะปลูกในกระถางก็ได้

สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือต้องการเรียนรู้ การทำข้าวต้มสอดไส้ใบกะพ้อ สามารถติดต่อได้ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ฉันชอบผมดำยาวเกล้ามวยของป้าภามาก แม้ว่าจะดำเพราะย้อมก็ตาม แล้วก็ชอบผมหงอกขาวแซมดำของป้าอีกคนเช่นกัน มวยหลวมๆ ทิ้งชายผมห้อยระลงมาราวไม่จงใจ แต่รู้นะว่าใช้เวลาไปโขทีเดียวกับการตะล่อมเส้นผมให้ได้แบบนี้

ทรงผมของลาวโซ่งหรือไทยทรงดำบ่งบอกอัตลักษณ์อย่างหนึ่ง มวยแบบไหนยังโสด มวยเฉไปข้างไหนมีเหย้าเรือนแล้ว มวยยังไงให้คนรู้ว่าเป็นม่าย สมัยก่อนฉันเคยได้ยินเรื่องแบบนี้จากไทยทรงดำบ้านนาป่าหนาด เชียงคาน วัยสาวเลือดเฟมินิสต์พุ่งพล่าน ฉันคิดไปถึงการกดข่มทางเพศ ผู้ชายไม่เห็นมีสัญลักษณ์บ่งบอกว่าโสดไม่โสด ม่ายไม่ม่าย แต่เมื่อมาคิดอีกทีเป็นกุศโลบายของคนแต่ก่อน ชายใดเห็นสตรีไทยทรงดำจะได้ไม่ละเมิด

เอาเถอะ แม้อย่างไรก็ดูไม่ยุติธรรมอยู่ดี ทว่าก็เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่เขายอมรับสืบทอดกันมานาน ทั้งผ่านมาถึงยุคดิจิตอลนี้แล้ว หญิงสาวไทยทรงดำเขาก็ก้าวล้ำไกลเกินทรงผมไปแล้ว

นานเกิน 10 ปี ที่ฉันได้รู้จักกับชาวไทยทรงดำที่เชียงคาน กว่าจะได้มารู้จักไทยทรงดำที่เขาย้อย เพชรบุรี แรกได้คุยกับป้าหนอม หรือที่เขาเรียกนามอย่างเป็นทางการว่า อาจารย์ถนอม คงยิ้มละมัย ผู้รอบรู้เรื่องลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ ฉันก็หลงเสน่ห์ป้าในบัดดล แรกเลยป้านำทางเราไปกินข้าวที่ร้านอาหารรสแท้ชาวไทยทรงดำ แกงหน่อส้ม กบทอด หมูสามชั้นทอด ต้มยำปลาทู และอื่นๆ ล้วนเลอรส ป้าหนอมพูดติดตลกว่า…ได้มาอาศัยเขากินฟรีอีกแล้ว

ป้าหนอม ชอบพูดติดตลกอยู่เสมอ ความจริงถ้าไม่ได้ป้าหนอมนำทางเราคงไม่ได้ลิ้มรสอาหารที่ร้านนี้ โดยเฉพาะกบซึ่งนับเป็นอาหารประจำชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กบเขียดเป็นสัตว์เล็กๆ ที่มีความหมาย เพราะเสียงร้องของมันบอกว่าฝนกำลังจะตก ฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ที่บันดาลข้าวปลาอาหารเลี้ยงชาวไทยทรงดำ กบเขียดมีความหมายให้เริงใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่กินมัน หน้าที่อีกอย่างของกบเขียดคือเป็นอาหารโอชารสเพิ่มโปรตีน จะกล่าวว่าเป็นอาหารแห่งฤดูกาลอันเบิกบานก็ไม่น่าจะผิด

หลังจากอิ่มเอมโอชารสด้วยกับข้าวที่สั่งมาเต็มโต๊ะ ป้าหนอมก็นำทางเราไปบ้านที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ปานถนอม จัดแสดงเรื่องราวของไทยทรงดำ นั่งพักพอข้าวย่อยป้าหนอมก็แนะให้เราชมหอแถนที่ตั้งสูงอยู่หน้าบ้าน ไทยทรงดำบูชาแถนในฐานะสิ่งศักดิ์สูงสุด หรือเทพผู้เป็นใหญ่บนท้องฟ้า จะเรียกว่าผีฟ้าก็ได้เช่นกัน เหนือแถนยังมีแถนหลวงที่นับเป็นหัวหน้าแถนทั้งปวง คอยกำกับการทำงานของแถนต่างๆ อีกที น่าจะคล้ายๆ รัฐบาลผู้ปกครองบ้านเมือง

จากนั้น ป้าหนอม นำชมพิพิธภัณฑ์ เป็นการชมพิพิธภัณฑ์บ้านๆ ที่สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะป้าไม่ได้ให้ความรู้แบบท่องจำข้อมูลกระด้างๆ ป้าหนอมให้ความรู้ด้วยการเล่าเรื่องผ่านสิ่งของต่างๆ อย่างสนุกสนาน ฟังเพลิดเพลินจบโดยไม่รู้สึกตัว หลากหลายเรื่องราวยากจะเล่าได้จบ นอกจากจะต้องไปเยี่ยมชมป้าหนอมและพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง

ฉันชอบมุ้งสีดำของไทยทรงดำ ด้วยเรือนชานของคนแต่ก่อนที่ไม่ได้มีห้องหับเป็นสัดส่วน หญิงชายที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่แยกเรือน จึงกางมุ้งดำเพื่อความเป็นส่วนตัวในการประกอบกิจกรรมบางอย่าง ให้พ้นจากสายตาสมาชิกในครอบครัว ที่ใช้พื้นที่ร่วมกัน

นอกจากนำชมบ้านที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว ป้าหนอมยังนำทางไปรู้จักกับที่ฝังกระดูกคนตายผู้หญิง และเรือนไทยทรงดำแบบเดิม ที่ฉันชมชอบหลังคาอันประณีตงดงามของเขามาก

เดิมทีชาวไทดำ ลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ตั้งหลักปักฐานอยู่ที่เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งคือส่วนหนึ่งของเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม สิบสองจุไทได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งขุนเขาหมื่นยอด ด้วยว่าเต็มไปด้วยขุนเขาใหญ่น้อยสลับสล้างซับซ้อน มีทุ่งราบเป็นพื้นที่ทำนาอยู่ไม่มากนัก

ล้านเจือง ผู้นำในตำนานของไทดำเมืองแถง ได้ทำศึกออกตระเวนตีหัวเมืองน้อยใหญ่เพื่อขยายอาณาเขต ตีไปเรื่อยๆ จนถึงภูฟ้าที่มีน้ำไหลผ่านกลางทุ่งนาจากเหนือไปใต้เหมาะใจยิ่งนัก จึงสั่งให้ไพร่พลลงมือปลูกบ้านแปงเรือน ตั้งชื่อเมืองหม่วย เป็นเมืองหลวงศูนย์กลางการปกครองแคว้นสิบสองจุไทแต่นั้นมา

แคว้นสิบสองจุไทถูกรุกรานมาตลอด จนในที่สุดก็แตกพ่ายไปคนละทิศละทาง มีบางกลุ่มหนีไปอยู่ทางประเทศลาว เมื่อลาวแตกก็พากันอพยพอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเข้ามาอาศัยในประเทศไทย มีลูกหลานแตกสายออกไปจนทุกวันนี้

“เดี๋ยวพาไปดูทิวทัศน์แบบเมืองแถง” ป้าหนอม ว่าพลางบอกเส้นทางคนขับรถ จนพาเรามาถึงถนนสายหนึ่งขนาบข้างด้วยทุ่งนากว้าง ไกลตาไปโน่นมีแลเห็นเทือกทิวเขาโอบล้อม ป้าหนอม บอกว่า ทิวทัศน์แบบนี้เหมือนกับทางเมืองแถงที่ป้ากับชาวไทยทรงดำได้มีโอกาสไปเยือนมา เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูปัจจุบันนั่นแหละ

ป้าหนอม เล่าว่า ตอนเข้ามาอยู่ในเมืองไทย เขาจะให้พวกไทยทรงดำไปอยู่ทะเล แต่ไม่มีใครอยากไปไทยทรงดำกลุ่มหนึ่งก็มาหาที่อยู่กันเอง มาพบที่เขาย้อยซึ่งเหมือนกับที่อยู่เดิมที่เมืองแถง เมืองที่มีภูเขาใหญ่น้อยสลับสล้าง มีที่ราบทำนาและน้ำไหลผ่าน ไทยทรงดำต้องอยู่กับภูเขาไม่ใช่ทะเล ต้องมีป่ามีไผ่ให้เก็บหน่อไม้ มีเสียงกบเขียดระงม

และอยู่ตรงไหน ไทยทรงดำก็ต้องมีแถนไว้กราบไหว้บูชาไว้ยึดถือ ไว้ขอฟ้าขอฝนตามฤดูกาลเพื่อบันดาลข้าวปลาอาหารบริบูรณ์

ไทยทรงดำจะอยู่ที่ไหน ก็ไทยทรงดำนั่นแหละ นางระนอง จรุงกิจกุล เกษตรจังหวัดกระบี่ เตือนเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวให้ระวังแมลงดำหนามมะพร้าว เนื่องจากพบการระบาดในแปลงมะพร้าวทั่วทั้งจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ จึงขอแจ้งให้เกษตรกรหมั่นสำรวจต้นมะพร้าวและเฝ้าระวังการระบาดของโรคเมื่อเริ่มพบใบมะพร้าวแห้งเหี่ยวสีน้ำตาล ให้เตรียมการป้องกันหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อหาทางควบคุมป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

ลักษณะการทำลาย…ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะกัดกินยอดอ่อนที่สุดของมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ โดยซ่อนตัวในใบอ่อนที่พับอยู่ และจะย้ายไปกินใบอ่อนอีกใบหลังจากที่ใบเดิมคลี่ออก ทำให้ยอดอ่อนของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต เมื่อมีการทำลายรุนแรงหลายๆ ใบในแต่ละต้นจะมองเห็นเป็นสีขาวโพลนชัดเจน ซึ่งชาวสวนมะพร้าว เรียกว่า “โรคหัวหงอก” ระยะตัวหนอนสำคัญที่สุด เพราะทำลายได้รุนแรงกว่าตัวเต็มวัย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งและขาดน้ำ

การแพร่ระบาด…แมลงดำหนามมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูสำคัญของพืชตระกูลปาล์มพบระบาดรุนแรงในมะพร้าว ทำให้ผลผลิตมะพร้าวไม่มีคุณภาพและมีปริมาณลดลง นอกจากนี้ ยังให้ทัศนียภาพที่งดงามของแหล่งท่องเที่ยวขาดความสวยงามเนื่องจากมะพร้าวเป็นโรคหัวหงอก

แมลงดำหนามมะพร้าวระบาดทำลายยอดมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นสูงที่ให้ผลผลิตแล้วมักพบทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยในยอดเดียวกันเป็นจำนวนมากและในมะพร้าวที่ให้ผลแล้วจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก นอกจากนี้ ยังทำลายปาล์มน้ำมันและปาล์มประดับประเภทหมากเขียว หมากเหลือง และหมากแดงอีกด้วย พบระบาดในแหล่งปลูกมะพร้าวทั่วไปในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ฯลฯ และได้แพร่ระบาดไปยังภาคกลางและภาคตะวันออก

สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

ในมะพร้าวต้นเตี้ย ตัดยอดที่ถูกแมลงกัดกินมาเก็บไข่ หนอน และตัวเต็มวัยไปทำลาย
โดยใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แมลงหางหนีบ แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว และเชื้อเมตตาไรเซียม
2.1 แมลงหางหนีบกินไข่ หนอน และดักแด้ ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 200 ตัว ต่อไร่

2.2 แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว (Asecodeshipinarum) ช่วยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว พฤติกรรมการเข้าทำลายของแตนเบียน เกิดจากเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในลำตัวของหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนแตนเบียนที่เกิดขึ้นภายในตัวแมลงดำหนามมะพร้าวฟักออกเป็นไข่ดูดกินของเหลว แล้วเข้าทำลายตัวแมลงในที่สุด ระยะการเจริญหนอนแมลงดำหนามมะพร้าวถูกแตนเบียนทำลาย เติบโตตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 17-20 วัน ปล่อยแตนเบียนอะซิโคเดส อัตรา 5 มัมมี่ ต่อไร่

2.3 เชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม (Metarhiziumanisopliae) อัตราการใช้ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (นำเชื้อราที่เจริญบนเมล็ดธัญพืชมาขย้ำเพื่อแยกกากออกและเอาเฉพาะสปอร์ที่อยู่ในของเหลว) ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นบนยอดมะพร้าวกำจัดหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนแมลงดำหนามมะพร้าวถูกทำลายโดยเชื้อเมตตาไรเซียม

ใช้สารเคมี ใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยและสลายตัวเร็ว เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85% wp) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงเพาะกล้าพืชตระกูลปาล์ม ก่อนการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่มีการระบาดทุกครั้ง
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ โทร. 075-611-649

วิศวะ มทร.ศรีวิชัย มอบ “เครื่องล้างขัดผิวหัวมันสำปะหลังและหัวม่วง” ให้แก่ วิสาหกิจชุมชนเขากลอย ดันมันทอด สู่โอท็อป สงขลา…เครื่องล้างลดเวลาทำงานจาก 4 ชั่วโมง เหลือ 45 นาที

เมื่อเร็วๆ นี้ งานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ทำการส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องล้างขัดผิวหัวมันเทศสีม่วง” ผลงานของ ผศ.วรพงค์ บุญช่วยแทน หัวหน้างานบริการวิชาการ ให้แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมันทอดบ้านเขากลอย ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันทอด ที่แสนอร่อยหลากหลายรสชาติ

ความเป็นมาจากการส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวให้แก่ชุมชนบ้านเขากลอยนั้น สืบเนื่องจาก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย มีนโยบายการเป็นศูนย์กลางการรับใช้สังคม ก่อเกิดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน เสริมสร้างอาชีพแก่ชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ จากการลงพื้นที่สำรวจแหล่งชุมชนพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัย ณ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันทำอาชีพที่หลากหลาย อาทิ กลุ่มผลิตมันทอดบ้านเขากลอยตก, กลุ่มเครื่องแกงสมุนไพรบ้านคลองจิก, กลุ่มขนมถั่วทอด, กลุ่มขนมเปี๊ยะ, กลุ่มน้ำสมุนไพร และกลุ่มเพาะปลูกเห็ดแครง เป็นต้น

ซึ่งในแต่ละกลุ่มอาชีพได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาวิถีอาชีพที่สามารถผลักดันกลุ่มตนเองให้มีความเข้มแข็ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดทำโครงการ “เมืองท่าข้ามเมืองแห่งนวัตกรรมด้านอาหาร” ที่จะส่งเสริมกลุ่มอาชีพของชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยกลุ่มผลิตมันทอดบ้านเขากลอยตก เป็นกลุ่มอาชีพที่มีการรวมตัวกันอย่างแน่นหนา มีผลผลิตสินค้าขนมมันเทศสีม่วงทอดส่งขายสู่ตลาดเดือนละกว่า 300 กิโลกรัม ดังนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้ดำเนินการออกแบบและสร้าง “เครื่องล้างขัดผิวหัวมันเทศสีม่วง” ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตมันทอดบ้านเขากลอยตก เพื่อใช้ในการล้างทำความสะอาดและขัดผิวหัวมัน

“เครื่องล้างและขัดผิดหัวมันเครื่องนี้ ดีมากๆ เลยค่ะ ช่วยลดเวลาให้กับป้าและพี่ๆ แม่บ้านเวลาล้างหัวมันได้มากเลย เมื่อก่อนเราจะใช้เวลาล้างนานมาก หากหัวมันจำนวน 100 กิโลกรัม ต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง เพราะต้องล้างทำความสะอาดตั้งแต่ล้างดินหรือทรายที่ติดมากับหัวมันออกให้เกลี้ยง ต้องล้างหลายน้ำกว่าดินและทรายจะออก จากนั้นใช้มีดปอกเปลือกหัวมันออก ขั้นตอนนี้จะทำให้การเกิดการสูญเสียวัตถุดิบไปค่อนข้างเยอะประมาณกว่า 10 กิโลกรัม เราต้องค่อยๆ ปอกเปลือกหัวมันให้บางที่สุดแต่ก็ต้องใช้เวลานานมาก ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเตรียมวัตถุดิบ แต่พอได้รับเครื่องมาช่วยในการล้างและขัดผิดหัวมันแล้วนั้น สามารถช่วยลดกระบวนการทำงานได้ในขั้นตอนเดียว แค่ใส่หัวมันลงในอ่าง