นายสิทธิพร กล่าวต่อไปว่า สภาเกษตรกรฯ ได้นำมติของที่ประชุม

คณะทำงานจัดทำข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คือเสนอให้พิจารณาปรับปรุงกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินของภาคเกษตรกรรม ตามรายการที่ระบุในมาตรา 8 กฎหมายดังกล่าว ซึ่งระบุผู้มีเงินได้จากภาคเกษตรกรรม จำนวน 7 รายการ คือ การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล , การจับสัตว์น้ำ , การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ , การอบหรือบ่มใบยาสูบ , การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ , การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ,และการทำนาเกลือ ซึ่งจากกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายโดยเหมาร้อยละ 60 เป็นกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายโดยเหมาร้อยละ 85 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยขอให้การพิจารณาปรับปรุงมีผลบังคับใช้ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ปีปัจจุบัน เพื่อลดความเดือดร้อนของภาคเกษตรกรรมจากกฎหมายดังกล่าว

การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกถูกนำมาเชื่อมโยงกับ “วันสิ้นโลก” โดยการนำเสนอ “ผลกระทบ” จากปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า จะก่อให้เกิดภาวะ “มืดมนอนธการ” กว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นผิวโลก รุนแรงถึงขนาด “แม้แต่จะชักโครกยังทำไม่ได้” เหมือนปกติที่เคยทำมา

เว็บไซต์ “อันดาร์ก” อ้างโดยไม่ได้อ้างคำพูดโดยตรง เพียงแค่ระบุว่า แดเนียล เบเกอร์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อวกาศและบรรยากาศ ประจำมหาวิทยาลัยแห่งโคโลราโด โบลเดอร์ สหรัฐอเมริกา เคยเสนอเอาไว้ว่า การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกอาจทำให้หลายส่วนของโลกใบนี้ใช้อยู่อาศัยกันไม่ได้

เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า สนามพลังแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร สามารถกลับขั้วได้หรือไม่ และผลลัพธ์ของการกลับขั้วดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบมากน้อยเพียงใด

สนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นจากแร่เหล็กหลอมละลายอยู่ภายใต้เปลือกโลกตรงส่วนที่เป็นแก่น (core) ชั้นนอก (outer core) ซึ่งอยู่ถัดจากเปลือกโลกชั้นแมนเทิลเข้าไป ทะเลเหล็กหลอมละลายดังกล่าวไหลวนไปมาอยู่โดยรอบแก่นชั้นนอก (เหมือนเครื่องดื่มที่ถูกคน) การหมุนวนอยู่ตลอดเวลาดังกล่าวก่อให้เกิดสนามพลังแม่เหล็กขนาดยักษ์ครอบคลุมโลกเอาไว้ สนามพลังแม่เหล็กดังกล่าวนี้ทำมุมเอียง 11 องศากับแกนโลก ที่เป็นแกนซึ่งโลกหมุนรอบตัวเอง ดังนั้น ขั้วแม่เหล็กโลกจึงไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกับขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ตามลักษณะภูมิศาสตร์แต่อย่างใด

เหล็กที่หลอมละลายซึ่งเคลื่อนไหววนอยู่ตลอดเวลาดังกล่าวนั้น บางส่วนสามารถหมุนสลับทิศทางกับการไหลเวียนของอะตอมเหล็กที่อยู่โดยรอบได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกภาวะดังกล่าวนี้ว่าภาวะ “รีเวิร์ส-อัลลายด์” ภาวะรีเวิร์ส-อัลลายด์ดังกล่าวนี้ หากเกิดสะสมมากขึ้นถึงระดับหนึ่งก็อาจมากพอที่จะทำให้เกิดการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กโลก ขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกแต่เดิมจะกลายเป็นขั้วใต้ ในขณะที่ขั้วใต้ก็จะกลายเป็นขั้วเหนือ

แต่การกลับขั้วดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบฉับพลัน แต่จะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาในการกลับขั้วแต่ละครั้งประมาณ 1,000-10,000 ปี

โมนิกา คอร์ต ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ประจำหอสังเกตการณ์ นีเม็กค์ จีโอแม็กเนติก ในสังกัดศูนย์วิจัย จีเอฟแซด พอทสดัม ในประเทศเยอรมนี ระบุว่าในช่วงเวลาระหว่างการกลับขั้วอย่างช้าๆ ดังกล่าวนั้น พลังของสนามแม่เหล็กโลกจะอ่อนลง และมีความเป็นไปได้มากว่าจะมีบางช่วงที่สนามแม่เหล็กโลกจะมีขั้วมากกว่า 2 ขั้วอยู่ชั่วขณะ จากนั้นก็จะค่อยๆ ทวีพลังมากขึ้นและรวมตัวกันเข้าเป็นแนวเดียวกันอีกครั้ง

ตลอดประวัติศาสตร์ของโลก เกิดการกลับขั้วไปมาเช่นนี้ขึ้นมาแล้วหลายร้อยครั้ง ครั้งหลังสุดที่เคยเกิดการกลับขั้วก็คือเมื่อประมาณ 780,000 ปีก่อน และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสัญญาณส่อให้เห็นว่าสนามแม่เหล็กโลกกำลังกลับขั้วอยู่เช่นกัน

นั่นหมายความว่า ถ้าหากเกิดการกลับขั้วสนามแม่เหล็กโลกขึ้นจริง โลกก็ต้องสังเกตพบได้ และนักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่ได้เป็นกังวลกับเรื่องการกลับขั้วที่ว่านี้แต่อย่างใด

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากการกลับขั้วเสร็จสมบูรณ์ แต่เกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเกิดการกลับขั้วสมบูรณ์ ซึ่งสนามแม่เหล็กโลกจะอ่อนจางมากที่สุด ทำให้พลังที่เป็นเหมือนเกราะคุ้มกันโลกจากอนุภาคที่มีประจุซึ่งพุ่งทะลุทะลวงผ่านห้วงอวกาศอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถทะลวงสู่พื้นผิวโลกได้เพราะสนามแม่เหล็กโลกก็จะหมดสิ้นไป ภาวะดังกล่าวจะก่อให้เกิด “รูรั่ว” ในชั้นบรรยากาศในส่วนที่ไม่มี หรือมีสนามพลังแม่เหล็กคุ้มครองอยู่น้อย ทำนองเดียวกับรูรั่วของโอโซนในชั้นบรรยากาศ

อนุภาคของรังสีที่ส่งผลกระทบมาถึงพื้นโลกมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่ออะไรมากมายแค่ไหนยังจำต้องถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ มันจะ “รบกวน” การทำงานของระบบนำร่องดาวเทียมและเครื่องบิน เช่นเดียวกันกับระบบโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้า

แต่ไม่ใช่ว่าป้องกันไม่ได้ ป้องกันได้เพียงแต่ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูงขึ้นเท่านั้นเอง ตามความเห็นของฟิลล์ ลิเวอร์มอร์ และจอน มาวด์ สองนักธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนก็คือ บางพื้นที่ของโลกในเวลานี้กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะอ่อนแรงของสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเวลานี้ ข้อมูลของนักธรณีฟิสิกส์อย่างจอห์น ทาร์ ดูโน และวินเซนต์ แฮร์ จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ ระบุว่าในช่วง 160 ปีที่ผ่านมาพลังสนามแม่เหล็กโลกอ่อนลงเร็วมาก บางส่วนหลงเหลืออยู่น้อยแล้ว คือ ส่วนที่อยู่บริเวณซีกโลกใต้ ตั้งแต่ประเทศซิมบับเวเรื่อยไปจนถึงประเทศชิลี

สนามแม่เหล็กโลกตรงนั้นอ่อนจางมากจนเป็นอันตรายต่อดาวเทียมที่โคจรผ่าน เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกรบกวน

แต่ก็แค่นั้นเอง ไม่ได้เกิดหายนะระดับวันสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษย์แต่อย่างใด กระบี่ – นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.กระบี่ ในฐานะคณะทำงานด้านการจัดการชาวสวนยางพารา ตามมาตรา 49 (5) กล่าวว่า ในช่วงนี้เกษตรกรภาคใต้กรีดยางได้เต็มที่ แต่ราคายางในขณะนี้ ณ ตลาดกลางหาดใหญ่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ ก.ก.ละ 42 บาทเศษ หากไม่สามารถขยับขึ้นไปได้ตามเป้าหมาย หลังจากนี้ผลผลิตจะไปอยู่ในมือของผู้ประกอบการ และราคายางอาจจะสูงขึ้นในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ผลผลิตยางจะไม่อยู่ในมือของพี่น้องเกษตรกร

ดังนั้้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคายางตกต่ำอย่างจริงจัง เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยให้มีมาตรการการรับซื้อขายยางพาราตามระเบียบ หรือกฎหมายต่างๆ อย่าให้มีการกดราคาจากกลุ่มผู้ประกอบการที่หวังผลประโยชน์อย่างไม่มีคุณธรรม เพื่อผลักดันราคา ยางไปสู่เป้าหมายที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ คือ ภายใน 3 เดือนนี้ ราคายาง ก.ก.ละ 60-65 บาท

ขณะนี้เกษตรกร 3 สถาบันใน จ.กระบี่ ได้นำยางพาราเพิ่มมูลค่า โดยทำผลิตภัณฑ์รองเท้าแตะจากยางพารา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ผศ.ดร.ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นับเป็นครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์หนังสือจุฬาฯ และโรงพิมพ์จุฬาฯ จะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อการเรียนรู้ของ สสวท. ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ทันสมัย ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งนี้ จากประสบการณ์การผลิตและจัดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ในแวดวงการศึกษา มั่นใจในการผลิตของโรงพิมพ์จุฬาฯ และการจัดจำหน่ายผ่านสาขาของศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทั้ง 11 สาขา และ 7 เครือข่าย ทั่วทุกภูมิภาค ตลอดจนร้านค้าพันธมิตรที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพในการเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ที่มีความทันสมัยของ สสวท. เช่น หนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ทางการศึกษาไปยังเด็กและเยาวชนในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

“สอดคล้องกับปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นปัญญาของแผ่นดิน เป็นแหล่งอ้างอิงความรู้ ดังนั้น การที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมในการผลิตและเผยแพร่สื่อดังกล่าว ถือเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาประเทศชาติต่อไป” ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ กล่าว

ด้าน ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. เปิดเผยว่า สสวท.ได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีและวิชาวิทยาการคำนวณ เรียบร้อยแล้ว โดยเปลี่ยนเป็นสื่อภาพการ์ตูน ที่ให้ความรู้ กระบวน การคิด เล่าเรื่องราวผ่านสถานการณ์ที่พบได้ ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาสนุก ชวนให้น่าติดตาม มีการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ทั้งยังกระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้และค้นหาคำตอบ โดย สสวท. จะร่วมมือกับจุฬาฯ ในการผลิตและจัดจำหน่ายสื่อการเรียนรู้ของ สสวท. ให้เข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึงทันตามกำหนดเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

นางอนุวรรณ แสงประเสริฐ จัดหางาน จ.แพร่ เผยว่า ปัจจุบันการไปทำงานในต่างประเทศ ยังคงเป็นที่ต้องการของคนหางาน เพราะเชื่อว่าจะสร้างรายได้ดีจึงเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งผู้ถูกหลอกลวงส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ และภาคอีสาน จากการตรวจสอบพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ร้องทุกข์ นอกจากถูกชักชวนไปทำงานต่างประเทศโดยนายหน้าเถื่อนแล้ว ยังถูกชักชวนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น และได้จ่ายเงินให้ทั้งที่ไม่เคยเห็นหน้า ผู้ชักชวนมาก่อน ทำให้สูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก และไม่ได้เดินทางไปทำงาน

จึงขอเตือนว่าการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ต้องผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน และขอย้ำว่าผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือสามารถจัดส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ แจ้งเรื่องร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสการหลอกลวง ติดต่อได้ที่ สำนักงานจัดหางาน จ.แพร่ ชั้น 1 ศาลากลาง จ.แพร่ โทร. 0-5451-1721 หรือ 0-5451-1807 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694

ผศ.ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.กาญจนา เงารังษี รักษาราชการแทนอธิการบดี มน. พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาหลักสูตรฟิสิกส์การแพทย์และรังสีวิทยา ระหว่าง มน. กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยมี ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ ศ.ดร.พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล

คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มน. เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง โดยจุดเริ่มต้นของความร่วมมือเริ่มจากอาจารย์นักวิจัยของคณะสหเวชศาสตร์ได้ไปทำงานวิจัยร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ แล้วพูดคุยกันเรื่องการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาฟิสิกส์การแพทย์ ซึ่งโรงพยาบาล จุฬาภรณ์ต้องการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ และใน ปี 2557 ก็เกิดหลักสูตรฟิสิกส์การแพทย์ขึ้น โดยทั้ง 2 หน่วยงานร่วมจัดการเรียนการสอน และร่วมวิจัยมาโดยตลอด นำสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เพื่อพัฒนาการเรียน การสอน รวมถึงพัฒนางานวิจัยให้มีความทันสมัยทันยุคมากขึ้น

“บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ทำให้นิสิตได้มีโอกาสเข้าไปเรียนที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เข้าฝึกปฏิบัติงานจริง ได้ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยอย่างเต็มที่ รวมถึงอาจารย์ของ มน. ยังได้ไปฝึกปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพด้วย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน อาจารย์ มน.มีความรู้ทางด้านวิชาการ และงานวิชาการก็เยอะ จะทำให้มีงานวิจัยเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังขาดก็คือเรื่องการบริการวิชาการ ซึ่งได้เตรียมไว้แล้วว่าในอนาคตอาจจะต้องจัดบริการวิชาการสำหรับประชาชนในเขตภาคเหนือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้ทำนำร่องไว้บ้างแล้วที่ จ.น่าน ส่วน จ.พิษณุโลกซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์คิดว่า มน.น่าจะให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้” คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มน. กล่าว

บุรีรัมย์ – น.ส.กานต์จรัส เอียดทองใส นายอำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ กล่าวหลังนำตำรวจ พร้อมเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัด เกษตรอำเภอ ตรวจสอบจุดรับซื้อข้าว บ้านขี้ตุ่น ต.โคกสะอาด หลังได้รับแจ้งจากนายสายลม บุญหว่าน นายกอบต.โคกสะอาด เจ้าของ “โรงสีทรัพย์ทวีพูลผล” ว่ามีเกษตรกรนำข้าวนาปรังมาปลอมปนกับข้าวหอมมะลิว่า หากได้รับยืนยันว่าปลอมปนก็จะดำเนินคดีกับเจ้าของข้าวอย่างเฉียบขาด เพื่อไม่ให้ข้าวของ อ.ลำปลายมาศต้องเสื่อมเสีย ชื่อเสียง

ทั้งนี้ นายสายลมตรวจสอบตัวอย่างข้าวด้วยวิธีบดและแช่น้ำยา เปรียบเทียบข้าว 2 ชนิดพบว่าข้าวหอมมะลิจะไม่เปลี่ยนสี ส่วนข้าวนาปรังจะออกเป็นสีม่วง หลังแช่น้ำยา

คนขับรถอีแต๋นที่นำข้าวมาขายให้การว่า ได้รับการว่าจ้างจากท่าข้าวแห่งหนึ่งใน อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ได้ค่าจ้าง 1,200 บาท แต่ไม่ทราบว่าเป็นข้าวอะไร

ด้านนายสายลมกล่าวว่า กระบะข้างรถทึบจึงเจาะตรวจได้เพียงด้านบน พบเป็นข้าวมะลิชั้นดี มีเปอร์เซ็นต์ข้าวถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ขณะข้าวในพื้นที่จะได้ 30-35 เปอร์เซ็นต์ จึงให้เพิ่มอีก 10 สตางค์ จากเดิมซื้อ 16.50 บาท เป็น 16.60 บาทต่อ ก.ก. รวมข้าวในรถ 3,500 ก.ก. กว่า 58,000 บาท

“ผมเอะใจ จึงไปตรวจข้าวในรถที่เทออกมา พบเป็นข้าวนาปรังเกือบทั้งหมด คาดว่านำข้าวมะลิพันธุ์ดีมาใส่ไว้ด้านบนเล็กน้อย” ทั้งนี้ ข้าวกว่า 3 ตันนี้ ถ้าเป็นข้าวมะลิราคากว่า 58,000 บาท หากเป็นข้าวนาปรังแค่ 24,000 บาท แตกต่างกันกว่า 33,000 บาท ต่างจากการซื้อขายข้าวตามปกติข้าว 1 รถพ่วงหรือ 30 ตัน จะได้กำไรไม่เกิน 7,000 บาท ที่ผ่านมาเคยโดนปลอมปนมาแล้วหลายครั้ง ส่วนใหญ่เป็นรถหกล้อบรรทุกมา จนถูกคู่ค้าข้าวยกเลิก เสียหายไปแล้วหลายล้านบาท จึงระวัง แต่ยังปรับเปลี่ยนวิธีการ ด้วยการจ้างรถของเกษตรกรมาขายเพื่อตบตาให้เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะดำเนินคดีกับเจ้าของข้าวจนถึงที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง

เกาะติดสถานการณ์สินค้าเกษตรช่วงไตรมาสแรก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุ มันสำปะหลัง และยางพารา ราคาสดใส เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของผู้ประกอบการ และยางพาราในบางพื้นที่ใกล้หยุดกรีด ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย รวมถึงแนวทางบริหารและแก้ไขปัญหาภาครัฐ ช่วยเกษตรกรขายได้ราคาดีขึ้น

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญในช่วงไตรมาส 1 (มกราคม – มีนาคม 2561) ของสินค้ามันสำปะหลัง และยางพารา โดยเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตและการตลาดแต่ละสินค้า พบว่า

มันสำปะหลัง ปี 2561 คาดว่ามีผลผลิต 28.57 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 เนื่องจากปีที่ผ่านมาราคา
มันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
โดยในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดปริมาณ 14.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 50 ของผลผลิตหัวมันสด

ราคาเดือนมกราคม 2561 หัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.01 บาท สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 36 สำหรับราคาส่งออกมันเส้นเฉลี่ยตันละ 6,786 บาท สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 12 และราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง เฉลี่ยตันละ 13,795 บาท สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 25 ซึ่งสาเหตุที่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังลดลงจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของผู้ประกอบการ ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับสูงขึ้นรวมถึงคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 เห็นขอบแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2560/61 รวม 14 โครงการ งบประมาณ 551.659 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหามันสำปะหลังทั้งระบบ

ยางพารา ปี 2561 คาดว่ามีผลผลิต 4.92 ล้านตันยางดิบ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 9 เนื่องจากในทุกภาคปริมาณน้ำฝนเพียงพอ ต้นยางสมบูรณ์ดี โดยในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดร้อยละ 21 ส่วนในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พื้นที่ส่วนใหญ่หยุดกรีดยาง ผลผลิตจึงมีน้อย และจะเริ่มเปิดกรีดในเดือนพฤษภาคม ซึ่งผลผลิตในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม จะออกสู่ตลาดร้อยละ 8 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งปี

ราคาปี 2561 ราคาที่เกษตรกรขายได้คาดว่าจะสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2561 เป็นช่วงที่พื้นที่ส่วนใหญ่ใกล้หยุดกรีดยาง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และผู้ประกอบการมีความต้องการยางในการส่งมอบ ประกอบกับมีมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางจากหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ทั้งการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร การควบคุมปริมาณผลผลิต (การหยุดกรีดยางในพื้นที่ภาครัฐ) และโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งมีมาตรการควบคุมการส่งออก (AETS) ภายใต้สภาความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างประเทศ (ITRC) โดยการควบคุมปริมาณการส่งออกของประเทศผู้ส่งออกหลัก (ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ในช่วงดังกล่าว

‘อาคม’ อ้อนญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ช่วยรัฐบาลลดภาระหนี้ ยันเป็นไฮสปีดเทรนความเร็ว 300 กม. เหมือนเดิม แต่อาจต้องตัดบางสถานีทิ้ง เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง คาดสรุปผลการศึกษาโครงการ เสนอ ครม.ไฟเขียว มี.ค.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น กทม.-เชียงใหม่ ว่า ญี่ปุ่นเสนอผลรายงานการศึกษากรณีที่ฝ่ายไทยขอปรับลดต้นทุน ญี่ปุ่นเสนอว่า ถ้าลดต้นทุนต้องตัดระยะทางโครงการให้สั้นลง ยกเลิกการก่อสร้างบางสถานีออกไปเพื่อประหยัดงบ

อาทิ ช่วงเฟสแรก กทม.-พิษณุโลก อาจตัดสถานีพิจิตรออก หรือสถานีลพบุรี และมาก่อสร้างเพิ่มในภายหลัง ช่วยลดต้นทุนได้ แต่ทางไทยคิดว่าไม่คุ้มกับผู้โดยสารที่จะหายไป น่าจะมีแนวทางอื่นๆ ที่จะปรับลดต้นทุนได้

นายอาคมกล่าวถึงประเด็นความเร็วนั้น ขอยืนยันว่าจะใช้ระบบเทคโนโลยีของรถไฟชินคันเซน ความเร็วสูง 300 กม./ชม. ตามเดิม เพราะผลการศึกษาระบุว่า หากปรับมาใช้ความเร็วต่ำ ประชาชนจะเลือกเดินทางโดยระบบอื่นแทน พบข้อมูลว่า หากระยะทางไม่เกิน 500 กม. คนจะเลือกใช้รถยนต์คุ้มค่ากว่า แต่ถ้าเกิน 500 กม.ขึ้นไป หรือระยะทาง 750 กม. ส่วนใหญ่ 80-90% จะตัดสินใจเปลี่ยนจากรถยนต์มาเดินทางโดยรถไฟเพราะเป็นจุดที่คุ้มค่าสูงสุด

นายอาคมกล่าวต่อว่า รัฐบาลไทยจะลดภาระงบประมาณการลงทุน จึงเสนอขอให้ญี่ปุ่นกลับไปศึกษาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมให้กับไทยด้วย เบื้องต้นได้นำเสนอแนวทางขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนในโครงการดังกล่าว ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอว่ามีความพร้อมที่จะให้ฝ่ายไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินโครงการ

“รัฐบาลไทยต้องการลดภาระหนี้ เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งญี่ปุ่นต้องกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศึกษารูปแบบการร่วมทุน ทั้งการปรับลดต้นทุน และเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะนำผลการศึกษาทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอนุมัติในเดือน มี.ค.นี้”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ญี่ปุ่นเสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกทั้งหมด เหมือนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แต่ไทยพยายามเสนอให้ญี่ปุ่นร่วมทุนด้วย เพื่อประหยัดงบประมาณ ญี่ปุ่นอยู่ระหว่างพิจารณา เพราะญี่ปุ่นเกรงว่า ถ้าร่วมทุนกับรัฐบาลไทยแล้ว จะต้องใช้เป็นโมเดลในประเทศอื่นๆ ด้วย

วันที่ 8 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มีเกษตรกรทำสวนไม้ดอกไม้พันธุ์ประดับแปลกจำหน่ายให้กับลูกค้า ซึ่งมีกระแสตอบรับจากผู้ชื่นชอบพันธุ์ไม้แปลกได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะมะเขือเปราะยักษ์ โดยสวนแห่งนี้มีชื่อว่า สวนคุณเจี๊ยบ ตั้งอยู่ที่ ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา โดยนางกัลยาณี มีนุชนารถ หรือคุณไข่ เป็นเจ้าของสวน ภายในสวนมีการนำไม้ดอกไม้ประดับพันธุ์แปลกๆ มาตั้งโชว์ไว้เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือมะเขือเปราะยักษ์ มีอยู่กว่า 20 กระถาง แต่ละกระถางกำลังออกลูกขนาดใหญ่ โดยมีการนำลูกมะพร้าวมาวางไว้เทียบเคียง จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่เท่าลูกมะพร้าวเลยทีเดียว สร้างความฮือฮาให้กับลูกค้าที่พบเห็นเป็นอย่างมาก

นายสืบสวัสดิ์ เจริญพร อายุ 66 ปี นักท่องเที่ยวชาว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ตนชอบมาหาซื้อพันธุ์ไม้แปลกๆ ที่ อ.วังน้ำเขียว เป็นประจำ โดยเฉพาะที่สวนคุณเจี๊ยบจะมีพันธุ์ไม้แปลกๆ ให้เลือกซื้อไปประดับสวนจำนวนมาก ทั้งนี้สำหรับมะเขือเปราะยักษ์นี้ เพิ่งจะเคยเห็นเพราะมีลูกขนาดใหญ่เท่าลูกมะพร้าว น่าซื้อไปปลูกไว้ประดับสวน เพื่อสร้างสีสันความแปลกใหม่ให้กับสวนในบ้าน และรู้ว่ามะเขือเปราะยักษ์นี้สามารถนำไปประกอบอาหารได้ ยิ่งทำให้รู้สึกสนใจมาก หากนำไปประกอบอาหารเพียง 1 ลูก ก็คงจะสามารถรับประทานได้ทั้งครอบครัว

ด้านนางกัลยาณี เจ้าของสวนคุณเจี๊ยบ เปิดเผยว่า สำหรับมะเขือเปราะยักษ์นี้ เป็นมะเขือหยกภูพาน นำพันธุ์มาจากประเทศลาว มาเพาะพันธุ์เองเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบพันธุ์พืชแปลกๆ นำไปประดับสวน โดยผลของมะเขือพันธุ์นี้จะมีขนาดใหญ่มาก ถ้าลูกโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่เท่าลูกมะพร้าว น้ำหนักกว่า 2 กิโลกรัม สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เพราะมีเนื้อข้างในรสชาติเหมือนมะเขือยาวทั่วไป จึงสามารถนำไปทอดไข่เจียว แกง หรือผัด ได้ตามปกติ โดยทางสวนจำหน่ายเป็นกระถาง ถ้าเป็นกระถางเล็กราคา 170 บาท และกระถางใหญ่ราคา 300 บาท สามารถนำไปลงดินได้เลย ซึ่งภายหลังจากที่ได้วางจำหน่ายในสวนก็ได้รับความสนใจจากลูกค้ากลุ่มรีสอร์ท และลูกค้าทั่วไป ซื้อไปปลูกตกแต่งสวนกันเป็นจำนวนมาก จนปลูกขายแทบไม่ทัน