นายสุนทร กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้น่าสนใจมากเนื่องจาก

ไทยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการใช้ยางพาราผสมยางมะตอยในการทำถนน ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ดังนั้น จึงต้องใช้โอกาสนี้ประกาศว่า นอกเหนือจากการใช้ยางพาราผสมยางมะตอยในการทำถนน ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนเพื่อใช้นวัตกรรมถนนยางพาราซอยซีเมนต์ เพื่อทำถนนให้กับ 80,000 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ทำให้เกิดการใช้น้ำยางสด 9 แสนตัน หากไทยประกาศนโยบายนี้ จะทำให้มาเลเซียเป็นผู้บริโภคน้ำยางข้นรายใหญ่จะต้องหวั่นไหวอย่างแน่นอน

“พิสูจน์ได้จากการเคลื่อนไหวของบริษัทผู้ผลิตน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทยในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติลุ้นว่า รัฐบาลจะมีมติให้มีการใช้น้ำยางข้นเพื่อทำถนนพาราซอยซีเมนต์หรือไม่ ขณะที่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมทั้ง กทย. จะไม่ยอมให้มีการใช้น้ำยางข้นจากโรงงานเพื่อทำถนนพาราซอยซีเมนต์อย่างเด็ดขาด ที่สำคัญประเทศไทยต้องใช้ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์เป็นเครื่องมือสร้างอำนาจต่อรองในการเป็นผู้นำยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของโลก ให้ราคาอย่างในประเทศพ้นจุดคุ้มทุน 60 บาท ต่อกิโลกรัม” นายสุนทร กล่าว

“ผลหม่อน” นอกจากกินสดแล้ว ยังนำไปแปรรูปได้อีก สวนหม่อนที่ผมจะนำมาเสนอท่านผู้อ่าน นอกจากผลิตหม่อนขายผลสดแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นน้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยมผลหม่อน โยเกิร์ต เยลลี่ เค้ก ใช้น้ำหม่อนเป็นส่วนผสมของขนมปังโฮลวีท ของใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งน้ำยาล้างจานจากหม่อน แชมพูสระผมจากหม่อน สบู่จากหม่อน ทั้งชนิดก้อนและเหลว เกษตรกรท่านนี้เป็นเกษตรกรผู้ประกอบกิจการผลิตผลสด แปรรูปเอง ทำการตลาดเพื่อขายเอง ต่อมาก็เปิดสวนหม่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร (Mulberry farm) และให้บริการเป็นที่พักแบบฟาร์มสเตย์ (Farm stay) สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ

เจ้าของสวนหม่อนที่จะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้คือ คุณจารุวรรณ เอกบัว ชื่อเล่นว่า คุณเล็ก อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 6 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ (098) 446-6932

คุณเล็ก บอกเล่าถึงชีวิตก่อนหักเหมาเป็นเกษตรกรว่า เป็นคนจังหวัดขอนแก่น พ่อแม่มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ตนเองหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่สาขาจังหวัดแพร่ ตำแหน่งสุดท้าย ผู้จัดการฝ่าย

“เล็ก ได้มาทบทวนว่าการเป็นลูกจ้างเขารับแต่เงินเดือนค่าจ้างเขา ไม่ตอบโจทย์ของชีวิตตนเอง มันไม่ใช่แนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นตัวตนของเล็ก” คุณเล็ก กล่าว ต่อมาคุณเล็กจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ละทิ้งเงินเดือนเกือบครึ่งแสน เพื่อมาดำเนินชีวิตใหม่ แล้วจะทำอะไรล่ะ (คุณเล็ก ตั้งคำถามในใจ) ในเมื่อมาตั้งหลักปักฐานที่จังหวัดแพร่แล้ว เมื่อมองเห็นพื้นนาเขียวขจี มีความอุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มไปทั่ว พื้นดินปลูกต้นไม้ได้ทุกฤดู

จนวันหนึ่ง เธอไปเจอพื้นที่แปลงหนึ่งที่ ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย เห็นและพิจารณาแล้วว่า ทั้งดิน น้ำ ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มองจากพื้นดินตรงนั้นลงไปเบื้องล่าง เห็นทิวทัศน์สวยงามเป็นแนวกว้างไกล จึงตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้ แล้วคิดต่อไปว่า จะทำอะไร จะปลูกอะไร จะผลิตอะไร จะดำเนินชีวิตอย่างไรดี ต้องทำอะไรสักอย่างที่ตนเองถนัด

ซึ่งตัวเองนั้นรู้เรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้เห็นและช่วยพ่อแม่ทำมาตั้งแต่เด็กๆ นี่แหละใช่เลย หม่อน ทั้งผลและใบใช้เลี้ยงคนได้ มีคุณค่าทางอาหารมากมาย เมื่อได้ตัดสินใจจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงเดินทางไปที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแพร่ อำเภอเด่นชัย ขอคำแนะนำ และได้ความรู้การแปรรูปผลหม่อน ได้รับกล้าพันธุ์หม่อนมาด้วย จึงนำไปปลูกทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เชียงใหม่ 60 (ผลผลิตจะดกมาก แต่ผลเล็ก) จำนวน 200 ต้น สายพันธุ์บุรีรัมย์ 60 (ใบใหญ่ ใช้เลี้ยงหนอนไหมและทำชาใบหม่อน) จำนวน 20 ต้น สายพันธุ์กำแพงแสน (ผลใหญ่ยาวมีขนน้อย) จำนวน 80 ต้น บนเนื้อที่ 8 ไร่

ปลูกและดูแลไม่ยากอย่างที่คิด ถ้ารู้ธรรมชาติของต้นหม่อน
คุณเล็ก บอกว่า ต้นหม่อนโดยธรรมชาติแล้วเขาสร้างมาให้เป็นพืชทนแล้ง ปลูกแล้วไม่ต้องรดน้ำก็อยู่รอด “การปลูกหม่อนก็เพียงกำจัดหญ้าบริเวณที่จะปลูกออกให้หมดเสียก่อน แล้วขุดหลุมขนาดเท่ากับถุงดำที่บรรจุต้นพันธุ์ไว้ก็เพียงพอ นำต้นพันธุ์ลงปลูก กลบด้วยดิน นำเอามูลวัวมูลควายทับบนดิน แล้วใช้ฟากลกลบด้วยมูลวัว มูลควายอีกชั้นหนึ่ง เพื่อกันฟางข้าวปลิวออกจากโคนต้นหม่อน”
ปลูกระยะห่างระหว่างต้น คุณเล็ก ยึดแนว 2×2 เมตร แนะนำให้ปลูกในเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงฤดูฝน พื้นดินมีความชุ่มชื้นดี ไม่ต้องให้น้ำ

หลังจากปลูกไปแล้ว เดือนที่ 1, 2 คุณเล็ก บอกว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย ปล่อยให้ต้นหม่อนเจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน คุณเล็กจะให้น้ำช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ให้สัปดาห์ละครั้ง ใช้แหล่งน้ำภายในสวน แต่ถ้าต้นหม่อนโตแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำ ดังที่กล่าวตอนต้นว่าธรรมชาติของหม่อนทนแล้ง

เมื่อเวลาผ่านไป 6-8 เดือน ต้นหม่อนจะเริ่มให้ผลผลิตในช่วงปลายเดือนธันวาคม จะเห็นดอกเห็นผลครั้งแรกก็เก็บผลผลิตได้ พอถึงเดือนมีนาคมจะตัดแต่งกิ่ง ส่วนเรื่องโรคและแมลงนั้น คุณเล็ก บอกว่า ยังไม่พบ แต่ช่วงฤดูฝนจะตัดหญ้าถางโคนต้นหม่อนคลุมด้วยฟางข้าว ทำให้โล่งเตียน อาจไม่มีแหล่งเพาะเชื้อโรค และแมลงก็เป็นได้

เทคนิคการบังคับให้หม่อนติดดอกออกผล
ด้วยการตัดแต่งกิ่งและการโน้มกิ่ง
คุณเล็ก บอกว่า ก็มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดแต่งกิ่ง แต่ของคุณเล็ก เธอเลือกที่จะตัดแต่งในเดือนมีนาคม หรือเมื่อต้นหม่อนอายุได้ 8 เดือน ตัดที่ความสูงเท่าที่เธอจะปฏิบัติงานได้ ก็ประมาณ 1 เมตร พอถึงเดือนพฤษภาคม ต้นหม่อนก็จะแตกกิ่ง จากนั้นจะโน้มกิ่ง ดูกิ่งที่เป็นสีน้ำตาล ลิดใบออกให้หมด (ธรรมชาติของหม่อนเมื่อไม่มีใบเขาก็จะสร้างยอด สร้างใบ ขึ้นมาใหม่) รวบกิ่งมัดรวมกันระหว่างต้น เป็น 4 ทิศทาง เป็นรูปโค้ง แล้วตัดปลายยอดทิ้ง (ใบหม่อน นำไปตากแห้ง ทำเป็นชาใบหม่อนได้)

จนถึงช่วงที่ผูกมัดแล้วตัดกิ่งแขนงย่อยๆ ออก ใน 1 ต้น หากต้องการให้ได้ผลหม่อนที่จะเกิดขึ้นมาใหม่มีผลใหญ่ ก็จะให้มีกิ่ง 1-10 กิ่ง ต่อต้น ระหว่างนี้งดให้น้ำ 5 วัน เพื่อเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ หากต้นเขาจะต้องตาย เขาก็จะแตกยอดแตกใบขึ้นมาใหม่ เพื่อดำรงชีพต่อไป นับเวลาไป 45-60 วัน ต้นหม่อนก็จะแตกยอด ออกดอก ติดผล เริ่มเก็บผลได้ตลอด 1 เดือน จะดำเนินการเช่นนี้ ปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนเมษายนและตุลาคม

คุณเล็ก กล่าวเพิ่มเติมว่า การจะบังคับให้ต้นหม่อนติดดอกออกผลในช่วงใดก็ทำได้ กำหนดวันที่ต้องการผลผลิตแล้วนับวันย้อนหลังไป 45-60 วัน ก็ดำเนินการตามที่กล่าวไป

มีนักวิชาการเผยแพร่งานวิจัยว่า ผลผลิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างการโน้มกิ่งกับการไม่โน้มกิ่ง ปล่อยไปตามธรรมชาติว่า วิธีการบังคับทรงพุ่มต้นหม่อน ที่อายุ 2 ปี หากโน้มกิ่งให้ขนานกับพื้นดิน เป็นการทำนอกฤดูได้ โดยบังคับทรงพุ่ม ในวันที่ 1 กันยายน ของทุกปี แล้วจะเก็บผลหม่อนได้เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ได้จำนวน 514 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี และถ้าต้นหม่อนมีอายุมากก็จะเก็บผลผลิตได้มาก

การตัดแต่งกิ่งอีกประการหนึ่ง เป็นการบังคับให้ต้นหม่อนออกดอกตามใจฉัน คุณเล็กได้สรุปบทเรียนจากที่ได้ปฏิบัติมาว่า ต้นหม่อนเมื่ออายุ 2 ปี (ต้นหม่อนปลูกครั้งเดียวมีอายุยืนยาว 40-50 ปี) จะให้ผลผลิตสูงสุด จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่บำรุงต้นด้วย

แต่เมื่อต้นหม่อนอายุ 4 ปี คุณเล็กก็จะตัดต้นเหลือแต่ตอ สูงไม่เกิน 1 เมตร โดยจะบริหารจัดการแปลงหม่อนด้วยการตัดต้นหม่อนทุกๆ 20 ต้น ต่อสัปดาห์ จะทยอยตัดแล้วเว้นช่วงเวลาไป เพื่อให้ต้นหม่อนติดดอกออกผลตลอดตามปริมาณผลผลิตที่ต้องการ (ไม่ต้องการให้ต้นหม่อนออกผลพร้อมกันทั้งสวน) และมีตลาดรองรับอย่างเพียงพอตลอดปี และสอดรับกับช่วงเวลาที่สวนจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวน เก็บผลหม่อนกันเอาเอง แต่เมื่อถึงฤดูฝนคุณเล็กจะไม่ให้ผลหม่อนออกผล เพราะผลหม่อนร่วงง่าย เกิดเชื้อราเร็วมาก ที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว หม่อนแม้จะติดผลดกมากแต่รสชาติจะไม่หวาน แต่หากเป็นช่วงฤดูร้อน ผลจะเล็กไม่สวย แต่หวาน ทั้งนี้จะให้ต้นหม่อนได้พักตัวในเดือนพฤศจิกายน

ปัจจุบัน สวนหม่อนของคุณเล็ก ได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เก็บผลผลิต
ต้องเลือกเก็บตามความต้องการของตลาดและเพื่อแปรรูป
ที่สวนหม่อนคุณเล็กจะเก็บผลหม่อนทั้งขายผลสด นำไปแปรรูป และคงค้างไว้บนต้นให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการซื้อเก็บผลเอง คุณเล็ก บอกว่าจึงต้องพิถีพิถันในการดูแลและเก็บผลผลิต หากนำไปแปรรูป จะเลือกเก็บผลสีแดง 50% ผลดำ 50% เก็บครั้งละ 10 กิโลกรัม ในแต่ละสัปดาห์ คุณเล็กจะแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ทางสื่อ Facebook ไปยังผู้ที่ต้องการซื้อผลหม่อนในเมืองแพร่

หากสั่งซื้อจำนวนเท่าไร ก็จะเก็บผลหม่อนในตอนเช้า ใช้มือเด็ดทีละผล เพื่อไม่ให้ผลช้ำ และจะแจ้งผ่านทาง Facebook ไปยังนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชมที่สวน ก็จะให้เขาเลือกเก็บกันเองและนำมาชั่ง คิดเงินกันไป กิโลกรัมละ 100 บาท สรุปยอดแล้ว ต้นหม่อน 300 ต้น เก็บผลผลิตได้ ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เป็นการขายผลสดครึ่งหนึ่ง แปรรูปอีกครึ่งหนึ่ง

นอกจากการขายผลหม่อนแล้ว คุณเล็กยังเพิ่มมูลค่าของต้นหม่อนอีก 2 อย่าง คือ การตอนกิ่งและปักชำกิ่งขาย จะทำในช่วงเดือนพฤศจิกายน หากเป็นกิ่งตอน ขายต้นละ 80 บาท กิ่งปักชำ ต้นละ 20 บาท โดยบรรจุในถุงดำเรียบร้อยพร้อมปลูก ได้นำใบหม่อน (สายพันธุ์บุรีรัมย์ 60) ไปเลี้ยงหนอนไหม ซึ่งเธอเลี้ยงไว้ด้วย

การขยายพันธุ์หม่อน มีนักวิชาการให้คำแนะนำตามผลการวิจัยว่า การใช้วิธีการปักชำ หากใช้ความสูงของกิ่งที่ 25 เซนติเมตร ใส่ในถุงเพาะชำสีดำ ได้ผลรอดตาย 83-84% กรณีการตอนกิ่ง ใช้ความยาวที่ 150 เซนติเมตร ได้ผล 89-96% และการฉีดพ่นฮอร์โมนจำพวกไซโตไคนิน ออกซิน จิ๊บเบอเรลลิน ไม่มีผลต่อการเติบโตและการขยายกิ่งพันธุ์หม่อนแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องฉีดพ่น

เป็นเกษตรกรที่บริหารจัดการผลผลิต
การแปรรูป และการตลาด ได้ด้วยตนเอง
คุณเล็ก แม้เป็นเกษตรกรหญิงแกร่ง มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการผลผลิต การพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์ในกิจกรรมด้านการเกษตรปลูกหม่อนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนการผลิตผลหม่อน การจัดรูปแบบการใช้ที่ดิน แหล่งน้ำ วิธีการปลูกหม่อน การดูแลหม่อน การเก็บเกี่ยวผลผลิตผลหม่อน การแปรรูปผลหม่อนอย่างมีมาตรฐานการผลิตที่เป็นธรรมชาติไม่เจือปน ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ มีการบริหารตลาดหม่อนของตนเอง

อย่างเช่น การแปรรูปผลหม่อนที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ น้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยมผลหม่อน โยเกิร์ติมัลเบอร์รี่ เยลลี่มัลเบอร์รี่ เค้กช็อกโกแลตมัลเบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท พร้อมได้เสนอตัวอย่างการแปรรูป ดังนี้

วิธีการทำ นำวัตถุดิบทุกอย่างใส่หม้อต้ม จนน้ำเดือดนาน 10 นาที แล้วตักขึ้นแยกกากออก รอเวลา 10 นาที บรรจุใส่ขวดพลาสติก ขนาด 150 ซีซี ผนึกปิดฝาขวด นำลงแช่ในน้ำแข็ง

นำออกขายได้ ขวดละ 10 บาท ส่วนกากที่เหลือนำไปทำแยมผลหม่อนต่อไปแยมผลหม่อนวัตถุดิบ

ผลหม่อนสด 1.5 กิโลกรัม และใช้กากผลหม่อนที่ได้จากการต้มทำน้ำผลหม่อนพร้อมดื่มอีก 0.5 กิโลกรัม
น้ำมะนาว 150 ซีซี
น้ำตาลทรายแดง 400 กรัม
เพคติน 50 กรัม
วิธีการทำ

นำกากผลหม่อนใส่เครื่องปั่นเสียก่อน และผลสดไม่ต้องปั่น ใส่รวมกันในหม้อสแตนเลส
นำน้ำมะนาวกับผลหม่อนและกากหม่อนที่ปั่นแล้วคนให้เข้ากันเพื่อให้น้ำมะนาวซึมเข้าเนื้อผลหม่อน ใส่เพคตินลงไปแล้วคนด้วย จากนั้นนำน้ำตาลทรายแดงลงไปผสมคลุกเคล้าคนให้เข้ากันพอดี
นำหม้อขึ้นตั้งบนเตาไฟ ใช้ความร้อนเป็นเวลานาน 30 นาที โดยไม่ต้องคน ก็จะได้แยมผลหม่อน
ต้มขวดแก้วและฝาปิดที่จะนำมาบรรจุ เพื่อฆ่าเชื้อโรคนาน 10 นาที
บรรจุแยมผลหม่อนใส่ขวดขณะร้อนๆ ผนึกปิดฝาขวดตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติจนเย็นลง
นำออกขายได้ ขวดบรรจุ 100 กรัม ขายในราคาขวดละ 50 บาท

แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไว้ใช้เอง
นอกจากการแปรรูปผลหม่อนสดเป็นน้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยมผลหม่อน และขนมปังโฮลวีทที่ใช้น้ำหม่อนเพื่อไว้จำหน่ายแล้ว คุณเล็กยังมีความเพียรที่จะผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปของกินของใช้จากผลหม่อนไว้ใช้เองในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม สบู่ชนิดก้อน-เหลว และชาใบหม่อน อีกด้วย

ทำการตลาดด้วยตนเอง แบบ delivery

คุณเล็ก บอกว่า ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากหม่อนของสวนตนเอง ไม่ได้วางจำหน่ายหรือเปิดร้านขายที่บ้าน เพราะทำเลที่ตั้งของสวนเหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงการเกษตร และอยู่ห่างจากถนนใหญ่ จากในอดีตของเธอที่เคยทำงานประจำในห้างสรรพสินค้า ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจึงมีประสบการณ์ วิธีคิด การวางแผน การบริหารจัดการนำมาปรับใช้ในการบริหารงานและการตลาด ได้แก่ การวางแผนการผลิตอย่างเป็นขั้นตอน 1… 2… 3… โดยใช้การตลาดนำการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์สามารถคำนวณต้นทุน และตั้งราคาขายเองได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวเธอเองเป็นผู้ที่มี service mind อยู่ในตัวตนของเธออยู่แล้ว จึงเป็นผู้ให้บริการที่ดี

ดังนั้น การตลาดที่คุณเล็กบริหารอยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่มีลูกจ้าง พึ่งพาตนเองได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารเข้ามาช่วยในการดำเนินการ

ผลหม่อนสด นำไปส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อในเมืองแพร่ แบบ delivery การบริการส่งถึงที่
ทำบ้านให้เป็นตลาด (Home market) แจ้งไปยังกลุ่มลูกค้า ว่าวันที่เท่านั้นเท่านี้จะเปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวนเก็บผลหม่อนได้ ก็จะมีผู้ติดต่อเข้ามาแจ้งความจำนง พร้อมมีผลิตภัณฑ์แปรรูปให้ลูกค้ามาเลือกซื้อได้เองที่บ้าน
ใช้สื่อ Facebook และ Page ถึงนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพราะที่นี่มีฟาร์มสเตย์ (Farm stay) ท่องเที่ยวเชิง
ต้องการเที่ยวชมสวนหม่อน ซื้อผลหม่อนสด ผลิตภัณฑ์แปรรูป โทรศัพท์พูดคุยกับ คุณจารุวรรณ เอก

พริกไทย ที่เรารู้จักกันมาก คงจะเป็นพริกไทยป่น ก็คงเป็นเพราะเรานำมาใช้ปรุงแต่งอาหารกันหลายอย่าง ต้ม ผัด แกง ทอด ใช้พริกไทยป่นปรุงแต่งรส นานหลายปีแล้ว ดร. จอห์น ครีสโตเฟอร์ สหรัฐอเมริกา บันทึกไว้ว่า พริกไทยป่น ใช้รักษาโรค บำรุงร่างกายได้ถึง 13 อย่าง รักษาโรคกระเพาะ โดยชงน้ำดื่ม วันละ 3 ถ้วย ทำให้หายปวดแผลในกระเพาะ ใช้พริกไทยป่น 1 ช้อนชา ชงน้ำอุ่น 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 เวลา รักษาโรคความดันโลหิตสูง บำรุงหัวใจ ช่วยแก้ปัญหาการย่อยอาหาร แก้หวัด เจ็บคอ ทำให้ผิวหนังสดใส เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความทรงจำดี สมองดี ใส่ปรุงอาหารวันละ 3 ช้อนชา รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยการหมุนเวียนโลหิต พริกไทยป่นใช้โรยแผลห้ามเลือดได้ ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำมันเบบี้ออยล์ ทาและคลุมพลาสติกที่พุง ลดความอ้วนได้ ใช้สูตรนี้ทาหัวล้านปลูกผมได้ ทากล้ามเนื้อแก้ปวดเมื่อย มากมายคุณประโยชน์จริงๆ

เมื่อหลายสิบปีก่อน ตลาดพริกไทยมีปัญหา เพราะผลผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด ขาดการควบคุมที่ดี เกษตรกรลงทุนปลูกกันมากแถบภาคตะวันออกและภาคใต้ รวม 12 จังหวัด แต่ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าเกษตรชนิดนี้ มีการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตและค้าขายกัน เรียกว่า “ประชาคมพริกไทยระหว่างประเทศ” หรือ IPC : International Pepper Community เป็นกลุ่มผลิตพริกไทยป้อนตลาด ร้อยละ 90 ของโลก ซึ่งขณะนั้น ประกอบด้วยประเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล มาเลเซีย และไทย ผลผลิตของไทยเรามีตั้งร้อยละ 5 ของโลกเชียวนะ

พริกไทย หรือ Pepper เป็นไม้เลื้อยยืนต้น มีอายุการให้ผลผลิตหลายปีมาก เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ต้องการน้ำเฉลี่ย 1,200-2,500 มิลลิเมตร ต่อปี อุณหภูมิระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส ชอบดินร่วนซุย อินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ไม่มีน้ำขัง พันธุ์ที่นิยมปลูกแต่ดั้งเดิมคือ พันธุ์ซาราวัค กับพันธุ์คุชชิ่ง ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 440 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิตประมาณ 150 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ยประมาณกิโลกรัมละ 400 บาท

การปลูกพริกไทย นิยมปลูกด้วยกิ่งชำ เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำได้ การปลูกพริกไทย ต้องมีค้าง หรือเสา หรือหลัก ให้ต้นพริกไทยเลื้อยเกาะอาศัย ส่วนใหญ่นิยมใช้ค้างเสาหลักปูนซีเมนต์ เพราะให้ความคงทนถาวร อยู่ได้นานหลายปี ถ้าเป็นเสาหลักไม้เนื้อแข็ง จะอยู่ได้แค่ 4-5 ปี หรืออาจไม่ถึง ระยะปลูกที่นิยม 2×2 เมตร ได้ 400 ค้าง ค้างละ 2 ต้น ได้ 800 ต้น ต่อไร่ มีความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ บำรุงทุกปี อย่างน้อยต้องใช้ค้างหรือหลักละ 5 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ยเคมี ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 17-17-17 อัตราค้างละ 20-30 กรัม ปีละ 4 ครั้ง

เมื่อปลูกช่วงแรกๆ ต้องให้น้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน พอต้นตั้งตัวได้ ให้น้ำ 2-3 วันครั้ง เมื่อพริกไทยให้ผลผลิตแล้ว ให้น้ำ 3-5 วัน ต่อครั้ง พริกไทยเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร ให้น้ำบ้างนิดหน่อยถึงไม่สมบูรณ์เพียงพอ เกษตรกรก็ยังมีวิธีช่วยเหลือต้นพริกไทย ไม่ให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะชาวสวนพริกไทยรู้ดีว่า ต้องการน้ำ ความชื้นแค่ไหน มีบางช่วงบางเวลาแทบไม่ได้ให้น้ำเลย ตรงกันข้ามกับต้องระวังอย่างมาก กรณีหน้าฝนแล้วน้ำท่วมขัง อันตรายมากทีเดียวกับกรณีพายุลมแรง ค้างเสาหลักที่ใช้มักทำให้หวั่นใจเสมอว่ามันจะโค่นล้ม เสียของ งานเข้าแน่ๆ

อีกประการหนึ่งคือ ชาวสวนจะต้องตัดแต่งพุ่ม โดยเด็ดใบที่เกิดบริเวณภายในทรงพุ่มออกให้หมด ตัดแต่งกิ่งแขนงที่แตกบริเวณโคนต้น จนเหนือระดับผิวดิน 8-10 เซนติเมตร ตัดออกให้โคนพุ่มโปร่ง รวมทั้งตัดยอดที่เจริญเติบโตพ้นค้างขึ้นไป ส่วนโรคแมลงที่ควรระวัง ที่สำคัญคือ โรครากเน่า โคนเน่า ป้องกันอย่าให้น้ำขัง ตัดแต่งกิ่ง หรือถ้าพบระบาด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี พวกแมลงที่พบระบาดเสมอคือ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน พบระบาดในระยะติดผล ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงเด็ดขาด ควรใช้สารชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชดีที่สุด

พริกไทย นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ท่านที่คิดจะลงทุนต้องศึกษาวิถีตลาดให้ดี พืชชนิดนี้เป็นสินค้าระดับโลก อยู่ในสายตาของผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ขออย่าให้มีปัญหาเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนเลย อนาคตยังไปได้สวย แต่ต้องอย่าละเลย ศึกษาเรียนรู้ให้ถ้วนถี่ มีข้อมูล มีความรู้ บ้านเรามีหลายคนที่กำลังจะตัดสินใจปลูกพริกไทย เพราะเห็นว่าพริกไทยเป็นพืชที่ให้ผลผลิตที่มีระยะยาว ผลผลิตออกมาหลายรูปแบบ ตั้งแต่การขยายต้นกล้าพริกไทยขาย ต้นละ 30-50 บาท ขายพริกไทยอ่อนให้ใช้ผัดเผ็ดหมูป่า ปลาไหล ไก่ หมู เนื้อ เป็นพริกไทยดำ เป็นพริกไทยขาว ทั้งแบบเม็ดและแบบป่น ให้ทั้งรสและกลิ่นปรุงแต่งอาหาร ของกินของขบเคี้ยวสารพัด น่าสนใจ เป็นอีกสินค้าหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อท่านรู้จักพริกไทยแล้ว เชื่อว่าคงรักพริกไทยมากยิ่งขึ้น