นายองอาจกล่าวต่อว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายไลน์

ทำข้าวสารบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ KC โดยจ้างโรงสีข้าวในจังหวัดแถบภาคกลางเป็นผู้ผลิตให้ และส่งออกไปยังประเทศกลุ่มเซาท์แอฟริกา ซึ่งมีความต้องการข้าวเป็นจำนวนมาก มีมูลค่าส่งออกเฉลี่ยต่อปีราว 20-30 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีไลน์การผลิตผักปลอดภัยภายใต้แบรนด์ KC 10 ชนิด วางจำหน่ายในห้างริมปิงซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นห้างท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ มีมูลค่าการขายต่อปี 1-2 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตก็มีแผนจะพัฒนาไปสู่ผักออร์แกนิก ขณะเดียวกันในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) เป็นฤดูการผลิตหอมหัวใหญ่ มีแหล่งปลูกใหญ่อยู่ที่อำเภอสันป่าตองและแม่วาง โดยปีนี้มียอดส่งออก 20-50 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่าราว 20 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้าวโพดหวานยังคงเป็นสินค้ากลุ่มหลักที่มีสัดส่วนการส่งออก 70-80% คาดว่าวัตถุดิบข้าวโพดหวานที่ส่งออกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นราว 30% หรือ 130,000 ตัน ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมทำ Contract Farming หรือเกษตรพันธสัญญากับบริษัทกว่า 20,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนและล่าง พื้นที่ปลูกทั้งหมด 50,000-100,000 ไร่

นายองอาจกล่าวว่า ปีนี้บริษัทได้ลงทุนราว 200 ล้านบาท ในการนำเข้าเครื่องจักรเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อช่วยระบบการทำงานภายในโรงงานทั้งชุดฆ่าเชื้อและชุดแพ็กกิ้ง ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตมีมาตรฐานสูงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะได้นำเข้าหุ่นยนต์จำนวน 2 ตัว ตัวละ 3-5 ล้านบาทจากประเทศเยอรมนี เพื่อช่วยยกของภายในโรงงาน สามารถช่วยให้ระบบการทำงานมีความเสถียรและลดต้นทุนการใช้แรงงานได้ถึง 50% โดยแรงงาน 50% ที่หุ่นยนต์มาทำงานแทนนั้น ก็ได้ปรับเปลี่ยนไปทำงานในส่วนอื่นแทน แต่ไม่ได้มีการปรับลดหรือเลิกจ้างงาน เนื่องจากกำลังขยายงานเพิ่มขึ้นหลายส่วน แรงงานจึงยังมีความจำเป็นและยังต้องการเพิ่มขึ้นด้วย

นายองอาจกล่าวด้วยว่า ระบบแปลงเพาะปลูกข้าวโพดหวานแบบแม่นยำในรูปแบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm มีความสำคัญมาก โดยเริ่มทำโครงการ Smart Farm ตั้งแต่ปี 2555 กระบวนการจะเริ่มจากการนำดินในพื้นที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดหวานมาวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในดิน (N-P-K) การปลูกจะใช้วิธีการย้ายกล้าเพื่อให้ได้จำนวนต้นต่อไร่มากขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด การวางระบบน้ำหยดในแปลงปลูกข้าวโพดหวานเพื่อให้ต้นข้าวโพดหวานได้รับความชื้นที่เหมาะสมและสามารถให้ปุ๋ยทางระบบน้ำหยดซึ่งประหยัดต้นทุนและเป็นการใส่ปุ๋ยที่มีคุณภาพได้ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น2,800-3,500กิโลกรัมต่อไร่

ทั้งนี้ระบบการชลประทาน เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเพาะปลูกพื้นที่แปลงขนาดใหญ่ ซึ่งปริมาณของผลผลิตมีความสัมพันธ์กับระดับความชื้นในดินโดยตรง ดังนั้นระบบควบคุมการให้น้ำแบบอัตโนมัติ ที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ ทำให้ได้ผลผลิตและคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งบริษัทได้มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หาได้ในประเทศนำมาพัฒนาเป็นชุดอุปกรณ์ตรวจวัดค่าความชื้นในดินและมีระบบเปิด-ปิดจ่ายน้ำในพื้นที่นั้นๆอย่างแม่นยำ

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชำติ (วช.) มีนโยบายที่จะส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ นักวิจัยไทย ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและวงวิชาการเป็นส่วนรวม และเพื่อให้นโยบายนี้บรรลุผล สำเร็จด้วยดี วช.จึงได้จัดให้มีการเสนอชื่อนักวิจัยเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่น แห่งชาติในแต่ละสาขาวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยได้ทำการคัดเลือกนักวิจัยที่มีจริยธรรม และมีคุณสมบัติ เหมาะสมเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการ มีผลงานวิจัยสร้างคุณประโยชน์ต่อวงวิชาการและประชาชน สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น

เพื่อประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติในแต่ละสาขาวิชาการ เป็นประจำทุกปี สำหรับปี ๒๕๖๐ นี้ วช. ได้กำหนดระยะเวลาสำหรับให้หัวหน้าหน่วยราชการระดับกระทรวง กรม หรือเทียบเท่า และรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษา หรือระดับคณะ หรือเทียบเท่า นิติบุคคล ภาคเอกชน รวมทั้งสมาคมต่างๆ หรือผู้ที่เคยได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่น แห่งชาติ ที่ประสงค์จะเสนอชื่อนักวิจัยเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชำติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พิจารณาเสนอชื่อนักวิจัยที่สมควรได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติพร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดตามระเบียบฯ ข้อกำหนดฯ ของ วช. ในการเสนอชื่อนักวิจัยเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติที่แนบท้ายประกาศฯ ส่งถึง เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ ดูรายละเอียดได้ที่ nrct.go.th

รศ.สพญ.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงทั้งน้ำตาว่า ภายหลังจากทีมสัตวแพทย์ได้ผ่าตัดเอาเหรียญออกจากท้องเต่าออมสิน และหลังการผ่าตัดออมสินมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามารถว่ายน้ำและกินอาหารได้บ้าง จนกระทั้งเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา ออมสินมีอาการซึมไม่ยอมขยับเขยื้อน จึงนำไปเอกซเรย์ พบว่ามีลำไส้พันกัน เกิดแก๊สในช่องท้อง จึงผ่าตัดอีกรอบ เพื่อลดปริมาณแก๊ส ภายหลังการผ่าตัด ออมสินมีอาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด ต้องให้อยู่ในห้องไอซียู และให้ออกซิเจนตลอดเวลา กระทั่งเวลา 10.10 น.วันนี้ ออมสิ้นก็จากไปด้วยอาการสงบ

รศ.สพญ.นันทริกากล่าวว่า หลังจากนี้จะให้ภาควิชาพยาธิวิทยาผ่าพิสูจน์ซากออมสินอย่างละเอียดอีกครั้ง ถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่สำหรับสัตวแพทย์และนิสิตสัตวแพทย์ทุกคนที่ได้ช่วยกันรักษาดูแลออมสินตั้งแต่ต้นจนถึงวันนี้

“อย่างไรก็ตาม พูดได้ว่าช่วงเวลาหลังการผ่าตัดเป็นช่วงเวลาที่ออมสินมีความสุขความสบายตัวที่สุด เขาได้ว่ายน้ำครั้งแรกในรอบหลายปี หลังจากได้แต่ลอยตัวนิ่งๆ อยู่ในบ่อมานาน ออมสินเป็นเหมือนเพื่อน เหมือนญาติของเรา หลังจากนี้คงไปทำบุญให้ออมสิน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ขอให้ความดีที่ออมสินอุทิศตัวเองเพื่อให้สังคมได้ตระหนักว่า เต่า หรือสัตว์อื่นๆ ไม่ใช่ช่องทางผ่านที่จะให้ใครได้บุญ และอยากให้ออมสินเป็นตัวสุดท้ายที่ถูกกระทำเช่นนี้”

กรมปศุสัตว์ เร่งผลักดันการผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งระบบภายใต้มาตรฐานสากล เพื่อครองความเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก สร้างโอกาสบุกตลาดในหลายประเทศที่มีความเข้มงวดด้านมาตรฐานสินค้าสูง มั่นใจปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ได้ตามเป้า 7.6 แสนตัน นำรายได้เข้าประเทศ 98,000 ล้านบาท

น.สพ.สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากข่าวเจ้าหน้าที่สืบสวนบราซิล จับกุมพนักงานบริษัท JBS และ BRF ซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของบราซิล ในข้อหาจ่ายสินบนพนักงานตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้เนื้อสัตว์ปนเปื้อนของบริษัทผ่านการตรวจสอบและนำไปจำหน่าย รวมทั้งส่งออก การจับกุมดังกล่าวจึงส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระบบการตรวจสอบของบราซิลที่เป็นผู้ส่งออกไก่อันดับ 1 ของโลก

สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์ยืนยันว่ามีความเข้มงวดในการตรวจสอบและกำกับดูแลการผลิตเนื้อสัตว์ตลอดกระบวนการ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและทั่วโลก โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ พัฒนาระบบการผลิตให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเนื้อไก่ของไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งไทยถือเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากบราซิล สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) มีตลาดหลักคือ ญี่ปุ่นและอียู คิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกเนื้อไก่ทั้งหมด ซึ่งทั้งสองตลาดนี้ให้ความสำคัญด้านมาตรฐานความปลอดภัยอาหารในระดับสูง มีกฎระเบียบในการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่มีคุณภาพปลอดภัยและปลอดสาร และไทยถือเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และปศุสัตว์รายใหญ่ในอาเซียน ที่เป็นต้นแบบทั้งด้านมาตรฐานการผลิต การป้องกันโรค และมาตรฐานการส่งออก

โฆษกกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า กรมปศุสัตว์ควบคุมการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดวงจร ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตสัตว์ อาทิ วัตถุดิบอาหารสัตวทั้งที่ผลิตได้ไนประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ ขณะเดียวกัน การเลี้ยงสัตว์ปีกได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานสากล โดยมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ เป็นผู้ควบคุมการจัดการตามหลักวิชาการและหลักสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งขั้นตอนการเลี้ยง การจับสัตว์ การขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลและเฝ้าระวังสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด

ขณะที่ กระบวนการในโรงฆ่าสัตว์และการชำแหละเนื้อสัตว์ ตลอดจนโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ก็มีมาตรฐาน GMP และ HACCP เช่นกัน รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำโรงงานที่ดูแลตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การโหลดสัตว์หน้าลาน การทำให้สลบก่อนการฆ่าด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงการควบคุมโรคที่เข้มงวด ด้วยการตรวจสัตว์ก่อนฆ่า (Antemortem) และการตรวจซากหลักฆ่า (Postmortem) เพื่อตรวจเนื้อสัตว์ว่ามีความปลอดภัย ปลอดสาร และเหมาะสมกับการบริโภค ซึ่งการดำเนินการตรวจสอบทั้งหมดจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และการตรวจสอบภายในของผู้ประกอบการ ซึ่งทั้งหมดมีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งเนื้อไก่ที่บริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก

“มาตรฐานการผลิตปศุสัตว์ของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ทำให้สินค้าเนื้อสัตว์เป็นที่ต้องการของคู่ค้าสำคัญทั้งญี่ปุ่น อียู และประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันยังมีตลาดใหม่ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพและการดำเนินการด้านความปลอดภัยในอาหารที่เข้มแข็งของเรากระทั่งเปิดตลาดสินค้าให้กับไทย อาทิ นิวซีแลนแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารในระดับสูง มีระเบียบปฏิบัติที่เข้มงวด ได้อนุญาติให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อเป็ดปรุงสุกไปยังนิวซีแลนด์ได้ รวมถึงเกาหลีใต้และสิงคโปร์ที่เปิดตลาดเนื้อไก่สดแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้า จึงมั่นใจว่าการส่งออกของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องแน่นอน โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าปีนี้จะได้ตามเป้าหมาย 7.6 แสนตัน สร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 98,000 ล้านบาท” น.สพ.สรวิศ กล่าว

ทั้งนี้ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้ปี 2560 เป็น”ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเกษตรสู่ความยั่งยืน” กรมปศุสัตว์ได้เร่งขับเคลื่อนพัฒนาและยกระดับสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายพัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์สู่มาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นทั้งฟาร์มโคนม โคเนื้อ ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ และสุกร พร้อมพัฒนาโรงฆ่าสัตว์สู่มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดทั้งเรื่องการตรวจสอบและให้ใบรับรองเพิ่มขึ้น ตลอดจนฝึกอบรมผู้ประกอบการและอบรมพนักงานตรวจโรคสัตว์เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

พรหม วว. (Phrom TISTR) พรรณไม้ลูกผสม สกุลมหาพรหม วงศ์กระดังงา ออกดอกได้ตลอดทั้งปี มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นพรรณไม้ประดับตกแต่งภูมิทัศน์ได้

สืบเนื่องจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ค้นพบมหาพรหมราชินี (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K.Sauders) เป็นพรรณไม้สกุลมหาพรหม โดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 จากอุทยานแห่งชาติแม่สุรินทร์ บ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในระดับความสูง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย (Endemic of Thailand) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3 – 4 เมตร ดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ที่สุดในพืชสกุลมหาพรหม นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจ และรวบรวมพรรณไม้สกุลดังกล่าว เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ โดยเริ่มคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ และพ่อพันธุ์ เพื่อใช้ผสมข้ามชนิด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 กระทั่งปัจจุบันได้ทำการคัดเลือก และขึ้นทะเบียนพันธุ์ลูกผสมชนิดใหม่ จำนวน 5 พันธุ์ โดยมี ดร. อนันต์ พิริยะภัทรกิจ สังกัดฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งพรรณไม้ลูกผสมเหล่านั้นสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นพรรณไม้ประดับตกแต่งภูมิทัศน์ได้

พรหม วว.๑ (Phrom TISTR 1)

พรหม วว. ๑ (Mitrephora alba x sirikitiae) เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง พรหมขาว (Mitrephora alba L.) (แม่พันธุ์) และ มหาพรหมราชินี (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K.Saunders) (พ่อพันธุ์) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 2 – 3 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5 – 7 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นนอก (outer petals) สีขาว จำนวน 3 กลีบ ความกว้าง 2.5 – 3 เซนติเมตร ความยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petals) สีชมพู จำนวน 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดใหญ่กว่าพรหมขาว (แม่พันธุ์) ออกดอกดก สามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายมหาพรหมราชินี (พ่อพันธุ์) สามารถปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางได้

พรหม วว.๒ (Phrom TISTR 2)

พรหม วว. ๒ (Mitrephora keithii x sirikitiae) เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง กลาย (Mitrephora keithii Ridl.) (แม่พันธุ์) และมหาพรหมราชินี (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K.Saunders) (พ่อพันธุ์) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3 – 5 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นนอก (outer petals) สีเหลืองอ่อน จำนวน 3 กลีบ ความกว้าง 1.5 – 2 เซนติเมตร ความยาว 2 – 3 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petals) สีชมพูเข้ม จำนวน 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดใหญ่กว่ากลาย (แม่พันธุ์) ออกดอกดก สามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายมหาพรหมราชินี (พ่อพันธุ์) สามารถปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางได้

พรหม วว. ๓ (Mitrephora alba x keithii) เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง พรหมขาว (Mitrephora alba L.) (แม่พันธุ์) และกลาย (Mitrephora keithii Ridl.) (พ่อพันธุ์) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 1.5 – 2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4 – 6 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นนอก (outer petals) สีขาว เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จำนวน 3 กลีบ ความกว้าง 2.2 – 2.5 เซนติเมตร ความยาว 2.5 – 3.5 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petals) สีชมพูอ่อน จำนวน 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดใหญ่กว่าพรหมขาว (แม่พันธุ์) และกลาย (พ่อพันธุ์) ออกดอกดก สามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายพรหมขาว (แม่พันธุ์) สามารถปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางได้

พรหม วว. ๔ (Phrom TISTR 4)

พรหม วว. ๔ (Mitrephora keithii x tomentosa) เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง (Mitrephora keithii Ridl.) (แม่พันธุ์) และมะป่วน (Mitrephora tomentosa Hook.f. & Thomson) (พ่อพันธุ์) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 1.5 – 2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3 – 4 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นนอก (outer petals) สีเหลืองอ่อน จำนวน 3 กลีบ ความกว้าง ความกว้าง 1.8 – 2.2 เซนติเมตร ความยาว 2 – 2.5 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petals) กลีบดอกชั้นในสีแดงลายตามยาว จำนวน 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดเล็กกว่ากลาย (แม่พันธุ์) และมะป่วน (พ่อพันธุ์) แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ กลีบดอกชั้นนอกจะสั้นกว่ากลีบดอกชั้นใน ออกดอกดก สามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลาย (แม่พันธุ์) สามารถปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางได้

พรหม วว. ๕ (Phrom TISTR 5)

พรหม วว. ๕ (Mitrephora tomentosa x keithii) www.sbobetsix.com เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง มะป่วน (Mitrephora tomentosa Hook.f. & Thomson) (แม่พันธุ์) และ มะป่วน (Mitrephora keithii Ridl.) (พ่อพันธุ์) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 1.5 – 2 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4 – 6 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นนอก (outer petals) สีเหลืองอ่อน จำนวน 3 กลีบ ความกว้าง ความกว้าง 2 – 2.8 เซนติเมตร ความยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petals) กลีบดอกชั้นในสีแดงลายตามยาว จำนวน 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดใหญ่กว่ามะป่วน (แม่พันธุ์) และกลาย (พ่อพันธุ์) ออกดอกดก และสีเข้ม สามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลาย (แม่พันธุ์) สามารถปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางได้

ถามเพิ่มเติมได้ที่…กองประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขที่ 35 หมู่ 3 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2577 9359-60 โทรสาร 0 2577 9362

ผศ.ดร. ประภา กาหยี อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดอาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตร (หลังใหม่) ว่า คณะเทคโนโลยีการเกษตรเกิดขึ้นในสมัยวิทยาลัยครูภูเก็ต จัดตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 ชื่อว่า หมวดวิชาเกษตร เป็นห้องเรียนขนาดเล็ก พร้อมแปลงเกษตร จากนั้นได้ขยายเรือนเพาะชำเพื่อสอนภาคปฏิบัติ และสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม พร้อมยกฐานะเป็นภาควิชาเกษตรศาสตร์ ในปี 2522 ต่อมาด้วยความสำคัญของอุตสาหกรรมการเกษตรที่เฟื่องฟูขึ้น ทำให้การศึกษาด้านการเกษตรถูกยกระดับขึ้นมาเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ได้แก่ หลักสูตรการจัดการพืชสวนและภูมิทัศน์ การจัดการพืชสวนประดับ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว

อธิการบดี มรภ. ภูเก็ต กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ มีคณาจารย์และนักศึกษาผลิตผลงานการวิจัยและเข้าประกวดแข่งขันทักษะความสามารถทางด้านเกษตรในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด นอกจากนั้นยังสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น การเปิดอาคารคณะหลังใหม่ ที่ออกแบบสะท้อนตัวตนของเทคโนโลยีการเกษตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และเทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการผลิตบัณฑิตเกษตรที่เปี่ยมคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงาน เพื่อนำสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านวิชาการเกษตรและอาหารในแถบอันดามันต่อไป