นายอดุล ศิริมันต์ หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เทศบาลเมืองมุกดาหาร ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองมุกดาหาร นำกระสอบทรายมาวางกั้นน้ำโขงไว้ไม่ให้ทะลักเข้ามาในพื้นที่ตลาด แต่น้ำโขงยังคงซึมผ่านเข้ามาได้ จนผู้ประกอบการค้าที่อยู่ใกล้กับบริเวณประตูต้องเก็บรวบรวมสินค้าใส่ถุงโดยมีเจ้าหน้าที่ช่วยยกขึ้นไปวางไว้บริเวณด้านบนตลาด

ขณะที่ในวันนี้ยังคงมีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดมุกดาหารเดินทางมาประจำอยู่ที่ศาลาเรารักมุกดาหารเพื่อคอยเฝ้าระวังเนื่องจากมีอุปกรณ์เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่ภายในบริเวณตลาดอินโดจีนชั้นใต้ดินอยู่เป็นจำนวนมาก และหากน้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่อาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะตัดกระแสไฟฟ้าทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นได้

ท่วมพื้นที่เกษตร”บึงกาฬ”

ด้าน จ.บึงกาฬ พบว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำโขง ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านแล้ว 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอบึงโขงหลง บางแห่งมีระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะที่บ้านท่าดอกคำ ม.1 ต.ท่าดอกคำ อ.บึงโขงหลง ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านของ นายเอกชัย ก้อนแพง อายุ 48 ปี เจ้าหน้าที่ทหารรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ต้องช่วยกันขนย้ายสิ่งของขึ้นไว้ในที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหาย ส่วนพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมกว่า 500 ไร่

ทั้งนี้ จังหวัดบึงกาฬ ยังมีอีก 2 อำเภอ ที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง คือ อำเภอปากคาด และบุ่งคล้า ซึ่งยังไม่ได้รับรายงานว่ามีน้ำโขงล้นตลิ่งแต่อย่างใด มีเพียงน้ำโขงหนุนลำน้ำสาขาจนทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทางจังหวัดได้แจ้งเตือนให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชม. หากถึงขั้นวิกฤตให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

“อำนาจเจริญ”นาข้าวจม-พืชสวนเริ่มเน่า
นอกจากนี้ จ.บึงกาฬ นายประจักร กลิ่นอ้ม นายกเทศมนตรีตำบลชานุมาน กล่าวว่า น้ำโขงสูงขึ้นมาก เช้านี้วัดได้ 11.30 เมตร หากถึง 12 เมตร น้ำโขงจะถึงจุดวิกฤตล้นตลิ่งทันที สาเหตุจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องและน้ำเหนือไหลหนุนมาสมทบตลอดเวลาจากทางด้านจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร และนับได้ว่าสูงที่สุดในรอบ 15 ปี ก็ว่าได้ เพราะปีที่ผ่านๆ มา ไม่หนุนสูงขนาดนี้เลย อีกอย่างน้ำที่ไหลเอ่อลงมาจากทางสปป. ลาว

และน้ำโขงในช่วงนี้มีสีออกแดงขุ่นข้นไม่ควรลงเล่นและอาบน้ำโขง ส่วนพืชผลทางการเกษตรที่เกษตรกรปลูกไว้ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง เช่น พริก มะเขือ มะละกอ กล้วย มะนาว ข้าวโพด ผักชนิดต่างๆ กำลังเน่าตายระนาว รวมทั้งนาข้าวก็จมอยู่ใต้น้ำกว่า 4 หมื่นไร่ สร้างความเสียหายเป็นอย่างยิ่ง และน้ำในลำแม่น้ำโขงจะสูงขึ้นทุกวัน วันละ 40-50 ลูกบาศก์เมตร บางวันสูงขึ้น 70-80 เมตร

ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Merr ผลไม้พื้นบ้านของไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นทรงพุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ก้านยาวออกเรียงสลับบนกิ่ง ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะทรงขนานยาว ก้านใบย่อยสั้น ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแเดง มีขนอ่อนๆ ใบแก่สีเขียว ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองนวล ผลอยู่เป็นพวง ลักษณะทรงกลม ปลายจะงอยแหลมแข็ง ผิวเปลือกหนาเรียบ เปลือกล่อน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาล เนื้อสีเหลืองใสนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแข็งอยู่ข้างในเนื้อ รสชาติเปรี้ยวจัด ปลูกตามท้องถิ่นในประเทศไทย

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ชอบแสงแดด ผลิตภัณฑ์ “ลูกหยีสามรส” เป็นผลิตภัณฑ์เด่น และขึ้นชื่อของ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกหยี ปัจจุบันมีพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ รับซื้อผลลูกหยีจากชาวบ้าน นำมาผลิตลูกหยีแปรรูปเพื่อส่งออก และจำหน่าย

แต่กระบวนการการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เพื่อให้ทันตามที่ตลาดแรงงานต้องการ ยังไม่สามารถจัดส่งได้ทันที ยังคงใช้กระบวนการผลิตแบบท้องถิ่นโดยอาศัยแรงคนเป็นหลัก โดยเฉพาะขั้นตอนการกะเทาะเปลือก และการแยกเปลือกต้องใช้เวลา แรงงาน และต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

นายนันทยศ ซากรี นายธนภพ แซ่ซ่ำ และ นางสาวญาณาธิป พันธุ์แก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ คิดค้น “เครื่องกะเทาะเปลือกลูกหยี” ช่วยลดเวลา ลดแรงงาน และลดต้นทุน มี นางสาววิมล บุญรอด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

เครื่องกะเทาะเปลือกลูกหยีใช้แรงลม ระบบการทำงานของตัวเครื่องจะกดสวิตช์เพื่อเปิดเครื่อง มีระบบควบคุมการทำงานโดยใช้หลักการของไซโคลน และแรงลมเป่า การออกแบบประกอบด้วย ชุดสำหรับรองรับลูกหยี ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้ว ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนลิ้นชัก ใช้สำหรับกั้นเพื่อไม่ให้ลูกหยีตกหล่นขณะเครื่องกะเทาะเปลือก ถังสำหรับกะเทาะเปลือกลูกหยี ออกแบบให้เป็นทรงกระบอก มีช่องสำหรับเป่าลมเข้าของตัวเครื่อง และช่องสำหรับใส่ลูกหยีสุก และมีตะแกรงกั้นเพื่อรองรับลูกหยีที่ผ่านการกะเทาะเปลือกเรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องบรรจุลูกหยีได้ปริมาณ 150-200 กรัม ใช้ระยะเวลาในการกะเทาะ 90 วินาที ต่อครั้ง มีต้นทุนในการผลิตประมาณ 15,000 บาท

ผลจากการนำเครื่องกะเทาะเปลือกลูกหยีมาใช้ ช่วยลดเวลา ลดแรงงาน และลดต้นทุนในการผลิตภัณฑ์ สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วตามที่ตลาดต้องการ สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งยังช่วยลดการนำเข้าเครื่องมือมาจากต่างประเทศ

ยะลา – นางสายทอง การะเกตุ ผู้ดูแลสวนผลไม้ยายเหี้ยง ตำบลตาชี อำเภอยะหา กล่าวภายหลัง นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศอ.บต. เป็นประธานเปิดสวนจัดบุฟเฟต์ผลไม้ ตำบลตาชี ว่า จากปัญหาผลไม้ราคาถูก อย่างทุเรียนบ้าน กิโลกรัมละ 15 บาท เงาะ 15 บาท มังคุด 8 บาท ยายเหี้ยง การะเกตุ วัยเกือบ 90 ปี เจ้าของสวนผลไม้ จึงมีไอเดีย เปิดสวนแบบ “บุฟเฟต์” ในพื้นที่กว่า 20 ไร่ ให้ลูกค้าเข้าไปเลือก รับประทานผลไม้แบบไม่จำกัดเวลา เก็บผู้ใหญ่คนละ 129 บาท เด็ก 59 บาท เปิดเฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์

ด้าน นายอิสมาแอ มามะ ให้สัมภาษณ์ว่า อยู่ที่ปัตตานี แต่ทำงานที่มาเลเซีย ได้ข่าวจากสื่อออนไลน์จึงพาครอบครัวมา ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะทุเรียนที่ตาชีมีรสชาติอร่อยมาก ทั้งนี้ บุฟเฟต์ผลไม้ที่สวนของยายเหี้ยงเริ่มวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความใน โซเชี่ยลมีเดีย ทำให้มีประชาชนหลั่งไหลไป รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียอีกด้วย

เผยแพร่ วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2561
ที่จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริม แม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 อำเภอ 9 ตำบล 21 หมู่บ้าน 435 ครัวเรือน ราษฎรเดือดร้อน 1,487 คน ประกอบด้วย อำเภอเขมราฐ น้ำท่วม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขมราฐ ตำบลนาแวง ที่อำเภอโพธิ์ไทร น้ำเอ่อล้นท่วมถนนทางเข้าหมู่บ้านในตำบลสำโรง ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร ที่อำเภอโขงเจียม มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 ตำบล คือ โขงเจียม ห้วยไผ่ หนองแสงใหญ่ และนาโพธิ์กลาง ราษฎรเดือดร้อนรวม 259 ครัวเรือน และอำเภอนาตาล มีพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม 2 ตำบล คือ ตำบลนาตาล ตำบลพะลาน

ด้าน นายสฤษดิ์ วิทูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และ นางยุพาภร วิทูรย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เยี่ยมประชาชน และตรวจสอบพื้นที่น้ำท่วมจากน้ำโขงเอ่อล้นตลิ่ง พบว่าระดับน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง

นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการธนาคาร น้ำใต้ดิน ณ ห้องประชุมศูนย์จัดเลี้ยงมณนิภา อ.เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างจังหวัดลพบุรี กับองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เนื่องจากทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างความเข้าใจในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับท้องถิ่นทุกแห่ง เรื่องน้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งของทุกปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาสำคัญ ประชาชนหลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากน้ำขาดแคลน

ต้องให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวต้องมีการสร้างความเข้าในให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเป็นการสร้างธนาคารน้ำและการจัดการน้ำ ใต้ดินอย่างเป็นระบบด้วยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในการจัดการน้ำใต้ดินมาให้ความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่ผ่านการอบรมไปแล้วจะได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาภัยแล้งในแต่ละท้องถิ่นต่อไป

นพ. กำธร ลีลามะลิ หัวหน้าศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายกว่า 100,000 คน ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15-20 ต่อปี โรคไตป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ควบคุมโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางตัว ที่มีผลเสียต่อไต เช่น การใช้ยาแก้ปวดลดการอักเสบอย่างต่อเนื่องเป็น เวลานาน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องได้มาตรฐาน

นพ. กำธร กล่าวต่อว่า โรคไตหลายโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งสามารถตรวจพบโรคไตระยะแรกได้จากการตรวจคัดกรองโรคไตในการตรวจสุขภาพประจำปี งานโรคไตโรงพยาบาลราชวิถีได้รักษาผู้ป่วยโรคไตมากว่า 50 ปี มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากว่า 12,000 คนต่อปี โดยปัจจุบันยังมีผู้ป่วยที่รักษาที่ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลราชวิถี กว่า 1,500 คนต่อปี

นพ. กำธร กล่าวด้วยว่า ศูนย์โรคไตครบวงจร ร.พ.ราชวิถี ประกอบด้วย 5 หน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยคือ 1. คลินิกโรคไต ที่วินิจฉัย รักษาโรคไตให้หาย หรือชะลอความเสื่อมในกรณีที่รักษาไม่หายขาด 2. คลินิกล้างไตทางช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยไตวายที่ต้องรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องซึ่งเป็นการรักษาด้วยตนเองที่บ้านเป็นหลัก จึงต้องมีทีมที่ออกเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านและดูแลให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง 3. หน่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่ฟอกเลือดให้กับผู้ป่วยไตวายทั้งแบบวิกฤต เฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง 4. คลินิกเส้นฟอกเลือด ที่สร้างเส้นเลือด พิเศษหรือสายที่ใช้สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตรวจประสิทธิภาพและดูแลรักษาเส้นฟอกเลือดเลือดให้ใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนานที่สุด ซึ่งบริการดังกล่าวนี้ยังขาดแคลนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้มีผู้ป่วยถูกส่งตัวเข้ามารับการรักษาที่ ร.พ.ราชวิถี จำนวนมาก

และ 5. ศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนไต ซึ่งเป็นการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ดีที่สุด โดยโรงพยาบาลราชวิถี จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาคนทุกคนอย่างเสมอภาค ได้มาตรฐาน ลดขั้นตอนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองพลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวปาฐกถาในการสัมมนา “SDGs ก้าวใหม่ธุรกิจไทย” ว่าการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตลอด 70 ปีนั้นมีตั้งแต่เรื่องสุขภาพ ความยากจน ความมั่นคงทางอาหาร ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การศึกษา น้ำ พลังงานทดแทน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเกิดก่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) นอกจากนี้ งานที่ทรงทำยังครอบคลุมในทุกเรื่องของ SDG

ม.ร.ว.ดิศนัดดา เชื่อว่าการที่ประชาชนทั่วโลกประสบปัญหาต่างๆ นานา และต้องหาทางแก้ไข ปรับปรุงกันอยู่นั้นจะนำไปสู่ระบบของสังคมแบบใหม่ คือสังคมแบบหลายห่วงใยและแบ่งปัน (CARE AND SHARE) โดยยืนอยู่บนฐานของการพัฒนาคนให้เข้มแข็ง ซึ่งสอดรับกับแนวพระราชดำริภูมิสังคม และการระเบิดจากข้างใน แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ยังรองรับการพัฒนาทุกระดับตั้งแต่พัฒนาอาชีพให้คน กลุ่มคน ไปจนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อการแปรรูป เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

“เราเห็นตัวอย่างจากโรงงานหลวง สวนจิตรลดา มีผลิตภัณฑ์มากมาย ที่เริ่มด้วยการพัฒนารากฐานที่มั่นคง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เช่น นมเม็ดสวนจิตรลดา ที่เริ่มจากการเลี้ยงวัวนมและแก้ไขปัญหานมวัวล้นตลาด หรือผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุง ที่เริ่มจากการสร้างงาน สร้างอาชีพ และพัฒนาตลอดห่วงโซ่มูลค่า”

ภาคธุรกิจก็ได้เรียนรู้แนวพระราชดำริหลังวิกฤตทางการเงินในการหันมาสร้างภูมิคุ้มกัน และหันมาคำนึงผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคมวงกว้างมากขึ้น

“ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำการพัฒนาของโลกได้ไม่ยาก เพราะเราเรียนรู้จากโครงการพระราชดำริมานาน และเอกชนก็ต้องเข้าใจว่า ถ้าสังคมส่วนรวมอยู่ไม่เป็นสุข บริษัทเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย”

นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่าย global compact ประเทศไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาร่วมไปกับสังคม พร้อมทั้งกำหนดให้เป็นนโยบายองค์กรที่มีการปฏิบัติกันทุกระดับ อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่ไทยจะต้องปรับปรุงการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตามพระราชดำริ

“ระบบการศึกษาปัจจุบันมุ่งด้านความรู้และคะแนน จนละเลยการศึกษาเพื่อคุณค่าทางสังคม ปัจจุบันบริษัทจึงเข้าร่วมในด้านพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนค้นแบบประมาณ 5,000 แห่งทั่วประเทศ”

นายศุภชัย กล่าวว่า ได้ร่วมเรียนรู้และร่วมงานกับปิดทองหลังพระฯ ทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ดังนั้น จึงจะนำสมาชิกเครือข่าย global compact เข้ามาร่วมงานด้วยต่อไปในอนาคต สมาคมเครือข่าย global compact ประเทศไทย เป็นองค์กรกลางของบริษัทขนาดใหญ่ 15 แห่งที่มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และเข้าเป็นเครือข่ายภายใต้องค์การสหประชาชาติ

เอสเพียว (S-Pure) ผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพระดับพรีเมี่ยม โดยเครือเบทาโกร ผ่านการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งกระบวนการผลิต (RWA) ครบทุกผลิตภัณฑ์เป็นรายแรกของโลก จาก NSF International องค์กรด้านความปลอดภัยและสาธารณสุขระดับโลก สอดรับกับนโยบายของกรมปศุสัตว์ โครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้า ปศุสัตว์” ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ มีนโยบายในการดำเนินโครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์” เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งสอดคล้องตามเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องการให้ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลดลง ร้อยละ 30 ภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564)

โดยเครือเบทาโกร เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในส่วนของฟาร์มสุกรและอยู่ในระหว่างการขอรับรองตามขั้นตอนในโครงการ ดังนั้น การที่ภาคเอกชนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจผลิตสินค้า เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่ โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงทั้งกระบวนการผลิตครบทุกผลิตภัณฑ์ จากองค์กรซึ่งทำหน้าที่ออกมาตรฐานการรับรองที่ได้รับความเชื่อถือในระดับโลก ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารไทยให้มีศักยภาพในเวทีการแข่งขันโลก ที่สำคัญยังสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ด้าน นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร กล่าวว่า เครือเบทาโกร ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐโดยเข้าร่วม โครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์” ของกรมปศุสัตว์ ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจมากว่า 50 ปี เราให้ความสำคัญในนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) และคุณภาพ (Food Quality) อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพระดับพรีเมี่ยม

แบรนด์ เอสเพียว (S-Pure) ดำเนินการตามมาตรฐานการเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างครบวงจรมามากกว่า 10 ปี เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและในระดับสากล เรื่องความใส่ใจในคุณภาพ ความสะอาด ตั้งแต่ฟาร์มต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงรสชาติที่อร่อย โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร มีการตรวจสอบด้านความปลอดภัย สารตกค้างอย่างเข้มงวด

สำหรับผลิตภัณฑ์ เอสเพียว (S-Pure) ประกอบด้วย เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่สด ที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างพิถีพิถัน ด้วย S-Pure Process ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี เลี้ยงโดยวิธีธรรมชาติ ในโรงเรือนปิด อาหารสัตว์มีโปรตีนจากธัญพืช ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช้ฮอร์โมน ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ดูแลใกล้ชิดโดยสัตวแพทย์ ผ่านกระบวนการแปรรูปที่ได้มาตรฐาน และควบคุมอุณหภูมิในการจัดส่งด้วยความเย็น 0-4 องศา จนถึงจุดจำหน่าย ภายใต้การควบคุมด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Betagro e-Traceability) อย่างเต็มรูปแบบ

นอกจากการเข้าร่วมโครงการของกรมปศุสัตว์ ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการขอรับรองนั้น นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ ปี พ.ศ. 2561 นี้ NSF International ประกาศรับรอง “Raised Without Antibiotics” (RWA) ให้กับผลิตภัณฑ์ เนื้อหมู และ ไข่ไก่ เอสเพียว (S-Pure) หลังจากที่เนื้อไก่ เอสเพียว (S-Pure) ผ่านการรับรอง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 โดยถือเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งกระบวนการผลิตครบทุกผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เบทาโกร ยังมุ่งมั่นพัฒนาผลิตอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่เหนือกว่า เพื่อผู้บริโภคมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

Mr.Peter Bracher กรรมการผู้จัดการ NSF Asia Pacific Co.,Ltd. ผู้แทนจาก NSF International กล่าวตอนท้ายว่า NSF International เป็นองค์กรด้านความปลอดภัยและสาธารณสุข ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 มีภารกิจในการปกป้อง ดูแล ด้านสุขภาพและความปลอดภัยของประชากรโลก ได้รับการยอมรับในระดับสากล ในฐานะผู้กำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และออกใบรับรองให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร น้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค

จากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ผู้บริโภคปัจจุบันมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปราศจากยาปฏิชีวนะ NSF รู้สึกชื่นชมเครือเบทาโกร ผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจรของประเทศไทย ที่เป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ที่ผ่านกระบวนเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมามากกว่า 10 ปี มีความทุ่มเทอย่างตั้งใจ และปฏิบัติตามเงื่อนไขโปรแกรมกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐานของ NSF International สามารถผ่านการรับรอง “Raised Without Antibiotics” (RWA) ทั้งกระบวนการผลิต ครบทุกผลิตภัณฑ์ของ เอสเพียว (S-Pure) ทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ เป็นรายแรกของโลก ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้บริโภคมั่นใจในการบริโภคได้อย่างปลอดภัย

สหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช เผยมังคุดขายดีราคาสูง เกษตรกรพอใจ เน้นผลิตมังคุดคุณภาพสร้างทางเลือกใหม่ให้สมาชิกผลผลิตสินค้าคุณภาพ ไม่หวั่นราคาตกเพราะมีตลาดจีนรองรับ คาดระบายมังคุดสู่ตลาดหมดภายในเดือนสิงหาคมนี้

นางยุพดี จิตผ่องอำไพ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคามังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า สหกรณ์เน้นส่งเสริมสมาชิกผลิตมังคุดคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยในฤดูกาลปีนี้ได้เริ่มรวบรวมมังคุดคุณภาพตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ปริมาณ 230 ตัน ระบายออกสู่ตลาดทั้งหมด ซึ่งสหกรณ์จะมีการคัดเกรดมังคุดก่อนส่งออกสู่ช่องทางตลาดแต่ละแห่ง ซึ่งมังคุดของอำเภอพรหมคีรีเป็นมังคุดคุณภาพและปลอดสารจากสวนสมาชิก เพราะผลิตปริมาณไม่มาก และมีตลาดหลักคือส่งออกไปที่ประเทศจีน เกษตรกรชาวสวนมังคุดใส่ใจดูแลตั้งแต่การผลิต การเก็บเกี่ยวมังคุดโดยการสอยมังคุดซึ่งจะต้องไม่ตกดิน และเก็บผลที่กำลังสุกพอดี สมาชิกรวบรวมมาส่งขายที่สหกรณ์ จากนั้นสหกรณ์จะคัดเกรดให้ขนาดของลูกเสมอกันแล้วรีบจัดลงใส่ตะกร้าเพื่อเก็บไว้ในตู้แช่เย็นทันทีเพื่อรักษาความสดใหม่ของมังคุดก่อนที่จะส่งที่ตลาดจีน