นายไชยา บุญญานุภาพ สหกรณ์จังหวัดระยอง กล่าวเสริมว่า

กฎหมายหุ้นจะไม่ได้คืนเพราะหุ้นติดลบ ซึ่งเป็นมูลค่าติดลบทางบัญชี ต้องรอให้มีการฟื้นฟู ถ้าเก็บหนี้มาได้ 80% มูลค่าหุ้นก็จะเท่ากับ 10 บาทเหมือนเดิม ขณะนี้ได้เร่งรัดติดตามทวงหนี้โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีเงินแต่ไม่ยอมใช้หนี้ก่อน

เหยิมเหยิมการละคร คิดอยากจะสร้างโรงละครที่เหยิมเหยิม

เมื่อเริ่มทำสวนเหยิมเหยิม สมาชิกคิดกันว่า นอกจากจะมีห้องสมุด มีกิจกรรมอ่านเขียน มีงานศิลปะ มีสวนผสมผสาน มีสวนกุหลาบ มีกิจกรรมการทำอาหารบ้านๆ แล้ว ในสวนเหยิมจะมีโรงเรียนสอนดนตรี เพราะสมาชิกคนหนึ่งเป็นครูสอนดนตรี แต่ก่อนที่จะเปิดสวน ก่อนที่จะมีโรงเรียนสอนดนตรี สมาชิกครูสอนดนตรีก็ย้ายฐานไปอยู่ที่อื่นและออกจากหุ้นส่วนไป โรงเรียนสอนดนตรีกับกิจกรรมเรื่องดนตรีจึงต้องจบลง

แล้ววันหนึ่งเหยิมเหยิมก็ได้ต้อนรับนักการละคร ฉันจึงคิดใหม่ว่า เหยิมเหยิมอาจจะมีโรงละครกลางแจ้ง เวทีละคร มีฉากธรรมชาติ ไม่ต้องตกแต่ง มีสวนจริง มีธารน้ำจริง พระอาทิตย์จริง พระจันทร์จริง อีกทั้งงานวรรณกรรมก็จะถูกนำมาดัดแปลงเป็นบทละคร

นักการละครที่มา เธอชื่อ ฟาริดา เรารู้จักกันเมื่อสองปีที่แล้ว ฉันเป็นนักเขียน ฟาริดาเป็นนักการละคร เราไปทำงานที่เรือนจำขอนแก่น ในโครงการใจสู่ใจ ฟาริดาเป็นนักกิจกรรมที่จัดกระบวนการเรียนรู้โดยนำการแสดงละครเข้ามาประยุค ส่วนฉันเป็นนักเขียนก็ทำเกี่ยวกับเรื่องการเขียน เขียนเพื่อผ่อนคลาย เขียนเพื่อบททวน เขียนเพื่อการค้นหาตัวตน เป็นต้น

เธอมาพักที่สวนเหยิมเหยิม นอนในห้องสมุดถนอมแพร ความจริงเธอต้องการมาพักผ่อน มาใช้ชีวิตแบบเหยิมเหยิม แต่เมื่อมาถึง วันแรกเราก็คิดกิจกรรมกันทันที นักการละครมาก็ต้องทำอะไรที่เกี่ยวกับการละคร ให้สมกับที่เหยิมเหยิมมีพื้นที่กิจกรรมที่กว้างขวาง และการละครก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่อยู่ในแนวทางของเหยิมเหยิม

เรามีพื้นที่รอบนอกกว้างขวาง ทั้งในส่วนด้านข้างที่ทำไว้สำหรับเป็นเวทีและที่กางเต๊นท์ ด้านหลังที่มีลานกว้างสำหรับพื้นที่กิจกรรมโดยเฉพาะ สะพานที่ทอดยาวถึงตัวอาคารห้องสมุดก็เป็นพื้นที่กิจกรรมการละครได้

อันดับแรก ชวนเด็กๆ เล่นละคร คิดว่าเริ่มจากวงเล็กๆ โดยลูกหลานของพวกเพื่อนๆ และคนรู้จักของเพื่อนๆ ในละแวกนี้ก่อน

มีเด็กห้าคนสนใจกิจกรรม ชวนน้องเล่นละคร และมีน้องๆ นักศึกษาการละคร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลูกศิษย์ อาจารย์คำรณ คุณดิลก มาร่วมกิจกรรมเป็นการทำงานและศึกษาเรียนรู้ด้วย

เด็กๆ กลุ่มนี้แสดงความเป็นมืออาชีพนั้นคือการเตรียมความพร้อม เขาว่าการเตรียมความพร้อมที่ดีเป็นความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งนั้นเป็นจริง งานเล็กงานใหญ่ก็ต้องเตรียมความพร้อม นักศึกษาการละครมาดูพื้นที่การจัดกิจกรรมก่อนหนึ่งวันเพื่อพูดคุยวางแผนกิจกรรม

และแล้วเหยิมเหยิมการละครก็เริ่มขึ้น…ยามเช้าของวันหนึ่งในฤดูหนาว พี่ๆ มากันพร้อม รอน้องๆ เดินทางมา คนแรกมาแล้ว น้องฟ้า กับ คุณแม่ น้องฟ้าเรียนมอสามโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ฟ้าเป็นเด็กที่ชอบแสดง เธอเป็นนักร้องที่ผ่านเวทีการประกวดมาตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับการเล่นละครเป็นครั้งแรก คนที่สอง น้องมายา เด็กกว่าน้องฟ้านิดหนึ่ง คนที่สาม น้องจูนี่ อายุเท่าน้องฟ้าโรงเรียนเดียวกัน คนที่สี่ น้องซัน น้องซันโตกว่าใคร เรียนมหาวิทยาลัยปีสุดท้าย คนเล็กสุดคือ น้องมาลา อายุหกขวบ และคนสุดท้ายจริงๆ ที่เพิ่งมาแบบม้ามืดคือ น้องม่อนภู สามขวบ

กิจกรรมกระบวนการของฟาริดาและพวกน้องๆ นักศึกษา มีหลายอย่างแต่ที่สนุกสนานกันมากที่สุดคือ การต่อตัวกันให้เป็นเครื่องบินลำหนึ่งที่พร้อมจะบินไป นักศึกษาอุ้มมาลาน้องเล็กสุดเป็นหัวเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินพร้อมบินพวกเขาวิ่งไปตามถนนให้คงเป็นเครื่องบินมีหัว ปีก ทั้งสอง และหางพร้อม บินไปสองรอบก่อนจอดที่สนามบินเหยิมเหยิมการ์เด้น

จากนั้นก็แบ่งกลุ่มคิดการแสดงแบบรวดเร็ว ไม่ต้องพูดแสดงท่าทางแบบฉากเดียวค้างไว้และให้อีกกลุ่มทาย กลุ่มแรกแสดงเป็นไฟไหม้ ส่วนอีกกลุ่มเป็นผึ้งแตกรัง ฟาริดาบอกว่า ทุกสิ่งในโลกนี้พูดได้ เมื่อฟาริดาแตะตัวใครก็ให้สิ่งนั้นพูดออกมาในนามของตัวละคร แตะตัวไฟ ไฟก็เปล่งเสียงออกมา ไม้ฟืน เตาถ่าน ผึ้งแตกรัง เด็กทำร้ายผึ้ง และต้นไม้ เป็นต้น

ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวผัดไข่ของน้าป๋อแล้ว เด็กๆ จะต้องเอาเรื่องราวที่เล่นเป็นละครฉากเดียวมาทำให้เป็นบทละครที่สมบูรณ์ขึ้น จากเรื่องผึ้งแตกรังที่เหยิมเหยิม และไฟไหม้ มาทำให้สมบูรณ์และพร้อมเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการในตอนบ่ายที่โรงละครเหยิมเหยิมการละคร ผู้แสดงพร้อม ผู้ชมพร้อม…

ก่อนเปิดการแสดงอย่างเป็นทางการนักแสดงคนใหม่ก็มา เขาเพิ่งตื่นนอนงอแงร้องไห้ แม่อุ้มมานั่งที่สะพาน ข้าวผัดกับซุปถูกนำมาเสิร์ฟ เขากินไปสองสามคำ เมื่อเปิดการแสดงเขาบอกว่าอยากแสดงด้วยและอยู่กลุ่มมาลาเท่านั้น แรกๆ แม่ไม่ยอม เพราะกลัวจะเสียกระบวนการงานคนอื่น แต่เขาร้องไห้จึงต้องยอมเพิ่มนักแสดง มีการคุยกันเล็กน้อยว่าเขาต้องแสดงเป็นลูกเป็นน้องของมาลา เปิดฉากทำกับข้าว น้องฟ้าเป็นเตาไฟ มาลาเป็นคนใส่ฟืน พี่นักศึกษาอีกคนเป็นไฟ ในระหว่างทำกับข้าว เพื่อนบ้านมาเรียก แม่บอกให้ลูกทั้งสองดูอาหารให้แม่ด้วยนะ มาลา ม่อนภู

มาลาเอาฟืนใส่เตาจนไฟลุก ส่วนแม่ก็ออกไปเม้าส์กับเพื่อนบ้านเรื่องเด็กชายเกเรคนหนึ่งโดนผึ้งที่สวนเหยิมเหยิมต่อย อยู่ๆ ม่อนภูก็เรียกแม่แม่ขึ้นมาสมบทบาทโดยไม่ต้องซ้อมเลยทีเดียว

อีกกลุ่มหนึ่งแสดงเรื่องผึ้งแตกรัง เขาเล่นเรื่องนี้เพราะที่ต้นลั่นทมหน้าห้องสมุดมีผึ้งอยู่รังหนึ่ง มีป้ายห้อยเขียนว่า โปรดระวังบ้านน้องผึ้ง อย่ารบกวนนะจ๊ะ ผึ้งรังนี้เป็นที่หมายปองของหลายคนที่เดินผ่านมา พวกเขาอยากได้น้ำผึ้งมากิน เอาตัวอ่อนมันคั่ว ทำน้ำพริกตัวอ่อนผึ้ง แต่สมาชิกสวนเหยิมเหยิมไม่มีใครต้องการทำร้ายผึ้ง อยากให้เขาอยู่อย่างนั้นต่อไป และเชื่อว่าสามารถอยู่กันได้อย่างสงบ

“บ้านของใคร ใครก็รัก” สมาชิกคนหนึ่งว่า

“เรากินเขาไป เราก็อิ่มไม่นาน” สมาชิกอีกเสริม

ในที่สุดก็สรุปว่าเราให้เขาอยู่อย่างนั้นแหละ ติดป้ายไว้ว่าอย่ารบกวน ให้เขาอยู่ไป เราเชื่อว่า ใครก็ไม่อยากทำร้ายกันถ้าไม่มีใครทำร้ายใครก่อน ชาวสวนเหยิมเหยิมเป็นคนมีเมตตาต่อสัตว์ สัตว์มีพิษพวกตะขาบ แมงป่อง และแม้แต่งู ก็ไม่มีใครทำร้ายฆ่าฟัน จะไล่ให้เขาไป ถ้าเป็นงูก็จะบอกเขาว่าไปเถอะไปอยู่ในป่ารก ถ้าเป็นแมงป่อง ตะขาบ ก็เอาไม้คีบถ่านคีบไปปล่อยให้พ้นบ้าน ต่อ แตน ผึ้ง ก็เช่นเดียวกัน เราแค่ติดป้ายเอาไว้ที่บ้านผึ้ง นั่นบ้านต่อหลุมโปรดอย่ารบกวนเขา

กลับมาที่ละครของเหยิมเหยิมการละคร เรื่องผึ้งแตกรัง เริ่มจากครอบครัวผึ้งสามตัวแม่ลูก บินออกหาต้นไม้ทำรังและมาพบสวนเหยิมเหยิมซึ่งมีกุหลาบมากมาย มีต้นไม้ใหญ่เหมาะที่จะทำรังจึงเข้าไปถามนายต้นไม้ว่า ขอเกาะอยู่ด้วยได้ไหม นายต้นไม้ยินดี ผึ้งแม่ลูกจึงอยู่ที่ต้นไม้ ลูกผึ้งออกบินไปที่สวนกุหลาบ เมื่อเด็กชายเห็นก็เอาน้ำไปสาด ผึ้งลูกบินหนีกลับไปหาแม่ที่รัง เด็กชายตามไปพบรังผึ้งเขาเอาหนังสติ๊กขึ้นมาเตรียมยิง นายต้นไม้ร้องห้ามแต่เขาไม่ฟังเสียง เขายิงไปยังรังผึ้ง ผึ้งแม่ลูกพยายามบินหนีก็ไม่พ้นจึงต้องปกป้องตัวเองด้วยการรุมต่อยเด็กชาย

เด็กชายร้องไห้ ผึ้งขอสัญญาว่าจะไม่ทำและจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ผึ้งจะไม่วางใจแต่ก็ให้โอกาสเด็กชาย

ละครผึ้งแตกรังก็จบลงแค่นี้

ทั้งผู้แสดงและผู้ชมต่างสนุกสนานหัวเราะรื่นเริง

นักศึกษาสรุปกันว่า พวกเขาได้รับรู้เทคนิคการทำงานของฟาริดา รู้สึกพิเศษมากที่การพบกันครั้งแรกของพวกเขาและน้องๆ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและมีพลังที่จะสร้างสรรค์งานร่วมกัน การทำละครที่คิดเรื่องจากสิ่งที่มีอยู่ในสวนจนเป็นบทละครและการแสดง

และแล้วเหยิมเหยิมการละครก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และหวังว่าจะมีครั้งต่อๆ ไป สถานที่และบรรยากาศของเหยิมเหยิมการ์เด้น พร้อมเปิดสำหรับผู้จะทำกิจกรรมสร้างสรรค์…ใครอยากใช้พื้นที่ติดต่อมาได้ค่ะ

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย กยท. จัดประชุมชี้แจง หลักเกณฑ์
และเงื่อนไขการเข้าร่วม โครงการสินเชื่อผู้ประกอบกิจการยางแห้ง 20,000 ล้านบาท พร้อมขอจัดสรรงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางแห้ง วงเงิน 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่ให้ผู้ประกอบกิจการแปรรูปยางแห้ง ยื่นขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง ให้เกิดการดูดซับยางพาราออกจากระบบ นำมาเก็บสต็อกของผู้ประกอบการในลักษณะหมุนเวียน หรือ Moving stock โดยเป็นโครงการเงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในกรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท ซึ่ง กยท. จะขอจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ เพื่อจ่ายชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบกิจการยาง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 ตามระยะเวลาโครงการ 1 ปี

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กยท. จะเข้าตรวจสอบความสามารถในการจัดเก็บสต็อก ของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำมาพิจารณากำหนดกรอบวงเงินจัดสรร โดยใช้วิธีการคำนวณกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร จากความสามารถในการจัดเก็บที่เพิ่มขึ้นจากเดิม คูณด้วยราคากลางยางประเภทต่างๆ ที่ กยท. ประกาศ ตามวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติจาก ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะพิจารณาให้สินเชื่อตามระเบียบของธนาคารนั้นๆ โดยมีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันทำสัญญา โดยผู้กู้ชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

สำหรับการจ่ายเงินเพื่อชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ กยท. จะขอรับการจัดสรรงบประมาณ และจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเมื่อสิ้นสุดโครงการ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขชดเชยดอกเบี้ย คือ ผู้ประกอบการต้องมีสต็อกยางเพิ่มขึ้นมากกว่าสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี นับจากวันที่ยื่นความประสงค์ โดยคำนวณจากปริมาณสต็อกยางที่เพิ่มขึ้น คูณด้วยราคารับซื้อยาง บวกไม่ต่ำกว่า 0.50 บาท จากราคาตามประกาศของ กยท. ไม่เกินวงเงินที่ได้รับการจัดสรร และไม่เกินภาระหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ

ผู้ที่ประสงค์จะขอเข้าร่วมโครงการฯ สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-9407391

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่สถาบันโภชนาการ ผศ.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยา และโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว “ผลการศึกษานมเปรี้ยวมีผลต่อการเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่หรือไม่” ว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ซึ่งการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นั้น องค์การอนามัยโลกประกาศออกมาว่า แนวทางป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด คือ การใช้วัคซีน โดยวัคซีนหลักๆ มีอย่างน้อย 3 ชนิด คือ 1. ป้องกันชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2. H3N2 และ 3. ไวรัสชนิด B แม้วัคซีนจะป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ก็ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ สถาบันโภชนาการได้ศึกษาโพรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ พบในอาหารหลายชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต (yogurt) และเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ทั้งการปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ กระตุ้นการขับถ่าย ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ผศ.ทพญ. ดุลยพร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ คณะเวชศาสตร์เขตร้อนและศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จึงศึกษาวิจัยในคนเกี่ยวกับประสิทธิผลของนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ ในอาสาสมัคร 60 คน หากดื่มนมโพรไบโอติกส์เพิ่มเติม นอกเหนือจากการรับวัคซีนจะยิ่งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้มากขึ้นหรือไม่

“จากผลการวิจัยพบว่า ในอาสาสมัครที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หากได้รับวัคซีนร่วมกับรับประทานนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ จะมีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ต่อเชื้อ H1N1 และ H3N2 สูงกว่ากลุ่มที่รับนมที่ไม่มีโพรไบโอติกส์ นอกจากเชื้อ H3N2 ในคนที่มีภูมิอยู่แล้ว การรับประทานนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ช่วยให้อัตราการตอบสนองต่อวัคซีนต้านไวรัส H3N2 เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า” ผศ.ทพญ. ดุลยพร กล่าว

เมื่อถามว่าอาสาสมัครที่รับนมเปรี้ยวร่วมกับการฉีดวัคซีนทั้ง 3 ชนิด มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ผศ.ทพญ. ดุลยพร กล่าวว่า สำหรับกลุ่มที่รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 ที่รับนมเปรี้ยวไม่มีโพรไบโอติกส์ มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ถึง ร้อยละ 60 แต่กลุ่มที่รับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันสูงกว่า ร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มที่รับวัคซีนที่ต่อต้านเชื้อ H3N2 ที่รับนมเปรี้ยวแบบไม่มีโพรไบโอติกส์มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกัน 60 เปอร์เซ็นต์ แต่หากรับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์จะมีอัตราการตอบสนองหรือการสร้างภูมิคุ้มกันสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรระวัง คือ โพรไบโอติกส์ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยหนักเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้และไม่ควรใช้เลี้ยงทารก

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนักกิจกรรมกรีนพีซ นำนาฬิกาทรายขนาดใหญ่ที่บรรจุฝุ่นที่เก็บรวบรวมจากพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษในกรุงเทพฯ และจากหลายจังหวัด เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายจัดการคุณภาพอากาศ PM2.5 อย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน หลังจากมีการตรวจพบค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ

นายธารา กล่าวว่า สำหรับจดหมายเปิดผนึกที่ทำถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อรณรงค์ขออากาศดีคืนมา ขอเรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการจัดการวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันและในอนาคต ประเทศไทยควรไปถึงวิสัยทัศน์ “อากาศสะอาดเพื่อเราทุกคน (Save Air for All)” ที่รัฐบาลตั้งไว้ในร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี โดยรัฐบาลจะต้องยกระดับดัชนีคุณภาพอากาศให้ทันสมัย กำหนดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ให้เป็นสารมลพิษอากาศหลักในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ กำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 และปรอทที่แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หม้อน้ำอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหิน กระบวนการถลุงแร่และอบแร่ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโลหะ เตาเผาขยะและโรงงานผลิตปูนซีเมนต์

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม ก.ค.ศ.ที่มี นพ. ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้สอบถามถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยแบบใหม่ ซึ่งคาดว่า จะเริ่มสอบในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อบรรจุให้ทันในเดือนตุลาคม 2561 โดยในส่วนของการจัดสอบภาค ก ความรอบรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพ

แน่นอนแล้วว่าจะต้องใช้หน่วยงานกลางเป็นผู้จัดสอบ ซึ่งตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 16/2560 เรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้ ก.ค.ศ.มอบหมายคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) แต่ละสังกัด หรือหน่วยงานราชการจัดสอบ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปตรวจสอบสถานะว่าหน่วยงานใดบ้างที่สามารถจัดสอบได้ โดยจะต้องเป็นหน่วยงานทางการศึกษาของรัฐบาล ในส่วนของสถาบันการศึกษา ก็จะต้องเป็นสถาบันที่ยังไม่ออกนอกระบบ และขอให้นำมาเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งต่อไปพิจารณา ให้ความเห็นชอบ

นายพินิจศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อห่วงใยของนักวิชาการ และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กรณีที่จะเสนอให้ปรับเนื้อหาการสอบภาค ก ให้สอดคล้องกับข้อสอบภาค ก ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยตัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูให้ไปไว้ในภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ว่า จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนจบครูมาสอบภาค ข ได้นั้น ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ยืนยันว่า ผู้ที่สอบภาค ก ของ ก.พ. หากต้องการสอบภาค ข ของ ก.ค.ศ.

จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด คือ จะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือมีคุณวุฒิอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วย มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน ดังนั้น จึงไม่อยากให้นักวิชาการ และ ส.ค.ศ.ท.กังวล

เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี นางสาววนาลี ทุนมาก หรือ ครูแอน และ นางสาวนิราวัลย์ เชื้อบุญมี หรือ ครูวัลย์ ถูกปลดจากครูผู้ช่วยโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จังหวัดตาก หลังจากสอนได้ 5 เดือน เนื่องจากการดำเนินการบรรจุแต่งตั้งไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 38 (สุโขทัย-ตาก) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สุโขทัย เขต 2 กศจ.สุโขทัย และ กศจ.ตาก เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในการสอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตำแหน่งครูผู้ช่วย และสอบถามว่าการบรรจุแต่งตั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่ ล่าสุด ได้สอบถามไปยัง สพป.สุโขทัย เขต 1 ในฐานะรักษาการศึกษาธิการ (ศธจ.) สุโขทัย และผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในลำดับที่ 18 บัญชี กศจ.สุโขทัย ว่ามีหนังสือเรียกตัวหรือไม่นั้น ล่าสุด ยังได้เอกสารไม่ครบตามที่ขอ ส่วนผู้ได้รับการขึ้นบัญชีลำดับที่ 18 กศจ.สุโขทัยได้ตอบกลับมายัง ก.ค.ศ.แล้วว่า ยังหาเอกสารดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้น ทาง ก.ค.ศ.จึงส่งเรื่องดังกล่าวให้อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคล

ทำหน้าที่แทน ก.ค.ศ. รวมทั้งเพิ่มนิติกรและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หลักเกณฑ์ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และกลับมารายงาน ก.ค.ศ.โดยเร็วที่สุด รวมถึงขอให้ทาง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ สอบถามผลการสวนวินัยร้ายแรงนายมรกต กลัดสอาด ผอ.สพม.เขต 20 (อุดรธานี) ในฐานะอดีต ผอ.สพม.เขต 38 (สุโขทัย-ตาก) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ ตนได้กำชับให้ อ.ก.ค.ศ. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ยืดเยื้อต่อไป

นายกีรติ รัชโน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “อนาคตเศรษฐกิจไทย…ก้าวไกลด้วยเกษตรนวัตกรรม” ว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้เร่งผลักดันให้ผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรม เนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรให้เกิดความผันผวน โดยปัจจุบันสินค้าเกษตรนวัตกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่านั้น

ส่วนใหญ่เป็นข้าว และเป็นกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food) แต่ยังมีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และต้องใช้ต้นทุนสูงในการดำเนินการ ดังนั้น จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ ส่งเสริมสร้างความต้องการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรนวัตกรรมให้มากขึ้น ขณะเดียวกันมีหน่วยงานของรัฐ คือสถาบัน API (อะภิ) ที่ช่วยส่งเสริมและเชื่อมโยงตลาดให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะที่เป็นเอสเอ็มอีรวมถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อหน่วยงานราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ เชื่อว่าภายในปีนี้จะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรม รวมถึงเพิ่มสัดส่วนสินค้าเกษตรนวัตกรรมให้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตรในรูปวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว

โดยเกษตรกรแบ่งหน้าที่บริหารจัดการทั้งในส่วนของฟาร์มตนเองและการส่งเสริมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมี เพื่อผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ที่ปัจจุบันหันมาใส่ใจในการเลือกซื้อผักผลไม้ปลอดสารมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้มีสินค้าหลากหลาย ควบคุมคุณภาพมาตรฐานสามารถตรวจสอบได้ และจัดส่งตรงถึงบ้าน มากไปกว่านั้น กลุ่มเกษตรสมองอุดรยังได้นำผลผลิตมาต่อยอด แปรรูปเป็นอาหารสุขภาพพร้อมทาน ให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวก และที่ไม่ธรรมดาคือ มีอาหารสุขภาพพร้อมทานสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ดูแลโดยนักโภชนาการอีกด้วย

นางสาวอารยา ศรีจารนัย หนึ่งในเกษตรกร กลุ่มเกษตรสมองอุดร กล่าวว่า “จากการเข้าร่วมโครงการSIAM INNOVATION DISTRICT ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายในmilestone เรื่องการสร้างcommunityสุขภาพและทรัพยากรอาหารที่ยั่งยืน จึงเกิดไอเดียแบ่งกลุ่มcommunityทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มีความรู้ความเข้าใจ โดยมีคอนเซปทั้งหมดคือ การพัฒนาคน

ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างเช่น BNK48วงไอดอลที่ฝนชื่นชอบ รวมถึงน้องแก้วBNK48หนึ่งในสมาชิกที่เป็นแรงบันดาลใจ เกิดความคิดต่อยอดไอเดียในการรวมกลุ่มของเกษตรกรให้มีความสนุกสนานมีการสื่อสารทูเวย์มากยิ่งขึ้น และทำให้เป็นโมเดลสำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมในการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร