นำความรู้มาใช้พัฒนาผลผลิตที่บ้านเกิดอาเปา เป็นหนึ่งในเกษตรกร

ผู้โชคดีที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง เชียงใหม่ ทำให้เขาเรียนรู้ว่า อะโวกาโดมีหลายสายพันธุ์

เช่น สำหรับพันธุ์อะโวกาโดที่นำมาปลูก มี 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พิงค์เคอร์ตัน (Pinkerton) พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) พันธุ์บัคคาเนียร์ (Buccaneer) พันธุ์บูท 7 (Booth-7) พันธุ์บูท 8 ( Booth-8) พันธุ์ฮอลล์ (Hall) พันธุ์แฮสส์ (Hass) ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีข้อดี ข้อด้อย แตกต่างกัน ที่สำคัญให้ผลผลิตคุณภาพดีและมีรสชาติอร่อยกว่าอะโวกาโดพันธุ์พื้นเมืองที่อาเปาปลูก เขาจึงได้นำยอดพันธุ์ดีของอะโวกาโดสายพันธุ์ต่างประเทศมาเสียบยอดกับต้นอะโวกาโดพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกอยู่แล้ว

อาเปา บอกว่า ข้อดีของการลงทุนในครั้งนี้ก็คือ ทำให้เขามีอะโวกาโดหลากสายพันธุ์ออกขายในตลาด แถมอะโวกาโดแต่ละชนิดยังมีฤดูการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันออกไป ทำให้มีผลผลิตออกขายได้อย่างต่อเนื่อง
อาเปา เล่าถึงลักษณะเด่นของอะโวกาโดแต่ละสายพันธุ์ที่เขาปลูกให้ฟังว่า

พันธุ์แฮสส์ ลักษณะผลรูปไข่ ผิวสีเขียวเข้ม หรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กเก็บผลได้ในเดือนพฤศจิกายน

พันธุ์พิงค์เคอร์ตัน รสชาติออกมัน เนื้อแน่น ตระกูลเดียวกับพันธุ์แฮสส์ เก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม-ธันวาคม

พันธุ์ฮอลล์ ลักษณะผลคล้ายหลอดไฟ เก็บผลประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

พันธุ์ปีเตอร์สัน เป็นอะโวกาโดสายพันธุ์เบา ลักษณะผลค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เก็บผลได้ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พันธุ์บัคคาเนียร์ ลักษณะค่อนข้างกลมรี ขนาดกลาง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม

พันธุ์บูท 7 ผลค่อนข้างกลม ขนาดกลาง เก็บเกี่ยวผลประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

พันธุ์บูท 8 (Booth-8) ลักษณะผลรูปไข่ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

ขณะที่ต้นอะโวกาโดยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ระหว่างรอการเก็บเกี่ยว อาเปาปลูกฟักทอง เป็นพืชร่วมแปลง เพราะใช้ระยะเวลาปลูกสั้น แถมฟักทองยังเป็นพืชผักที่ตลาดต้องการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ เขายังปลูกกาแฟแซมในแปลงปลูกอะโวกาโดอีกด้วย

ดังนั้นในระยะยาว อาเปาจะมีรายได้จากการขายผลผลิตได้ 2 ทาง คือ ขายผลอะโวกาโดและรายได้จากการขายเมล็ดกาแฟ ที่สร้างผลกำไรที่ดีได้ทั้งสองชนิด อาเปาตั้งใจบำรุงรักษาพันธุ์ไม้ทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาผลกำไรในอนาคต ขณะเดียวกันแผ่นดินแห่งนี้จะกลายเป็นป่าไม้อย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน

ด้านการตลาด

อาเปา บอกว่า อะโวกาโดสายพันธุ์แฮสส์ เป็นสินค้าขายดี อันดับ 1 แต่การทำน้ำหนักผลผลิตต่อไร่จะสู้อะโวกาโดพันธุ์ปีเตอร์สันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การปลูกอะโวกาโดหลากหลายสายพันธุ์ก็ช่วยให้มีรายได้ต่อเนื่อง ปีที่แล้วอาเปาเก็บผลผลิตออกขายได้ประมาณ 3 ตันกว่า ขายส่งในราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท สร้างรายได้กว่าแสนบาท ซึ่งเป็นตัวเลขรายได้ที่เขาพึงพอใจ เพราะหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเหลือผลกำไรก้อนโต

หากใครสนใจอยากเยี่ยมสวนอะโวกาโด หรือสนใจอยากซื้อสินค้าของอาเปา ติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 174/2 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000 เบอร์โทร. 063-760-1786

เทคโนโลยีการจัดการน้ำอย่างประหยัดแบบเปียกสลับแห้ง เหมาะสำหรับพื้นที่นาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้

ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วง เนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง และเกิดการขาดแคลนน้ำ ฉะนั้น เกษตรกรทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมและระบายน้ำได้ ควรจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งมีวิธีการดังนี้ เตรียมดินทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านข้าว ติดตั้งท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน (ท่อแกล้งข้าว) พื้นที่ละ 1-2 จุด โดยใช้ท่อพีวีซี เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 เซนติเมตร เจาะรูด้วยสว่านเส้นผ่าศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถว รอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 เซนติเมตร และฝังท่อในนาลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ปากท่อโผล่พ้นผิวดิน 5 เซนติเมตร ควักดินในท่อออกให้หมด หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว อัตราตามที่กรมการข้าวแนะนำ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่

หลังจากนั้น ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เมื่อข้าวอายุประมาณ 10 วัน ให้พ่นสารคุมหรือสารกำจัดวัชพืช ตามชนิดของวัชพืชที่เกิดขึ้น สูบน้ำเข้าแปลงนา ครั้งที่ 1 หลังพ่นสารคุม-ฆ่าวัชพืช 2 วัน ที่ระดับครึ่งต้นข้าวเพื่อคุมวัชพืช ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 ด้วยสูตร 16-20-0 อัตรา ไร่ละ 30 กิโลกรัม (ดินเหนียว) หรือ สูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ (ดินทราย) เมื่อต้นข้าวอายุ 20-25 วัน หลังหว่าน แล้วปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติ

สูบน้ำเข้าแปลงนา ครั้งที่ 2 ถ้าระดับน้ำในท่อลดต่ำลงเลยเขตรากข้าว (วัดจากท่อลึกลงไป 20 เซนติเมตร) ให้สูบน้ำเข้านา ระดับ 3-5 เซนติเมตร ขังไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง เมื่อระดับน้ำในท่อลดลงต่ำเลยเขตรากข้าว ให้สูบน้ำเข้านา ในระดับ 3-5 เซนติเมตร ไปจนกระทั่งข้าวมีอายุ 45-50 วัน หลังหว่าน ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อข้าวมีอายุ 45-50 วัน หลังหว่าน ให้เพิ่มระดับน้ำ 5 เซนติเมตร รักษาระดับน้ำจนข้าวโน้มรวง หลังข้าวออกดอกแล้ว 15-20 วัน เก็บท่อสังเกตระดับน้ำใต้ดิน (ท่อแกล้งข้าว) ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอและเก็บเกี่ยวได้สะดวก

“อาชีพเพาะไม้ป่าขาย ถือเป็นอาชีพที่เกินความคาดหมายของคนอายุ 46 อย่างพี่ที่โตมาในยุคอุตสาหกรรม แล้วก้าวมาสู่ยุคดิจิตอล เราอยู่ระหว่างคาบเกี่ยว ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะต้องเอาต้นไม้มายัดลงกล่อง คิดไม่ถึงจริงๆ ว่า ทุกวันนี้อะไรก็เป็นไปได้ แค่การขายกล้าพันธุ์ไม้ก็สามารถสร้างรายได้ให้เป็นหลักหลายแสนบาทต่อเดือน” นี่คือ คำพูดของเกษตรกรสาวมุกดาหารที่อึ้งกับโลกที่อยู่ในยุคออนไลน์ ที่อะไรก็เกิดขึ้นได้ ตามมาดูกันว่า เธอคนนี้มีเทคนิคพิเศษอะไร ในการทำธุรกิจเล็กๆ ให้เติบโตสร้างยอดขายเดือนละแสนในเวลาเพียง 2 ปี

คุณพิชามาญชุ์ ปล้องพันธ์ หรือ พี่อ้วน อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 17 ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เกษตรกรสาวเจ้าของเพลินจิตรฟาร์ม ผู้หลงใหลธรรมชาติ ชอบอยู่กับต้นไม้จนกลายเป็นอาชีพสร้างตัว เลี้ยงครอบครัวให้อยู่สุขสบายมาจนถึงทุกวันนี้

โดยก่อนที่จะมาเพาะไม้ป่าขาย พี่อ้วน เล่าว่า เดิมทีตัวเองมีอาชีพเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก สามีทำงานเพียงคนเดียว แต่อยู่มาวันหนึ่งตัวเองเกิดป่วยหนัก ซึ่งในตอนป่วยก็คิดตลอดว่าความสุขของตัวเองคืออะไร ถ้าหากว่าต้องตายวันนี้หรือพรุ่งนี้อยากทำอะไร ไปที่ไหน สรุปแล้วก็คิดถึงแต่ป่าที่บ้าน ที่พ่อแม่ปลูกไว้ที่มุกดาหาร จึงคิดอยากจะกลับมาบ้าน มาอยู่กับธรรมชาติ เมื่อกลับมาอยู่บ้านป่าที่พ่อแม่ปลูกไว้สร้างไว้ก็ยังคงอยู่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม ก็เกิดกำลังใจมากขึ้น และสุขภาพที่เป็นหนักๆ ก็ค่อยๆ ฟื้นฟู จนหายดี หลังจากหายป่วย จึงเริ่มคิดที่จะเริ่มต้นชีวิตกับสิ่งที่มี จะทำอะไรที่พอจะสร้างรายได้ จึงคิดขึ้นได้ว่า ที่บ้านเป็นสวนป่า จะมีไม้ป่าหลากหลายขึ้นเต็มไปหมด จึงเริ่มเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่ามาเริ่มเพาะขาย เล็กๆ น้อยๆ แต่พอขายไปขายมาตอนนี้รู้สึกว่าธุรกิจกำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเวลาได้พัก ยุ่งทั้ง 365 วัน

เพาะไม้ป่า 4 ชนิด เป็นตัวหลักสร้างรายได้
พี่อ้วน บอกว่า พื้นที่ทำเกษตรของพี่อ้วนมีทั้งหมด 20 ไร่ ได้มีการจัดโซนแบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ปลูกไม้ผลไว้กินเอง ทำคอกเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงไส้เดือน และโรงปุ๋ยหมัก จำนวน 3 ไร่ พื้นที่ทำนา 9 ไร่ ทำบ่อน้ำ 1 งาน ปลูกป่า 3 ไร่ อีก 3 ไร่ แบ่งปลูกพืชตามใจฉัน ปลูกไผ่บงหวานไว้ 100 กอ ปลูกพืชหมุนเวียนตามใจตัวเองบ้าง และสุดท้ายแบ่งพื้นที่ทำโรงเรือนเพาะกล้าไม้ป่าอีก 1 ไร่ โดยมีไม้หลักสร้างรายได้ดีมาตลอดอยู่ 4 ชนิด

ซึ่งสาเหตุที่เลือกที่จะเพาะกล้าไม้ขาย นอกจากเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวแล้ว ก็พยายามเลือกให้เหมาะกับสิ่งที่ตัวเองชอบด้วยคืออันดับแรกเลย ไม่ชอบทำตามกระแส ไม่ตามตลาด และไม่ชอบปลูกพืชที่บีบบังคับ ความหมายคือ ถ้าปลูกไม้ผล เวลามีผลสุกก็ต้องตัดขาย ไม่ตัดก็เน่าทิ้งคาต้น เหมือนเป็นการโดนลดมูลค่าของสินค้าลง เมื่อถึงเวลาขายก็ต้องขายโดนพ่อค้ากดราคาบ้าง หรือถ้าคราวไหนสินค้าเกิดล้นตลาด ต้องเอาไปแปรรูปเอง ก็ต้องบอกว่าโดยนิสัยส่วนตัวไม่ถนัดด้านการแปรรูป จึงมองว่าการเพาะต้นไม้ขายเป็นอะไรที่เหมาะกับนิสัยส่วนตัวมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ไม้ป่าทำง่ายกว่า คือ

เมล็ดพันธุ์ไม่ต้องไปซื้อที่ไหน เก็บเอาที่สวน
เพาะใส่ถุงไปแล้ว คนจะซื้อหรือไม่ซื้อก็สามารถนำมาเปลี่ยนถุงได้ เพราะต้นไม้โตขึ้นราคาก็สูงขึ้น
ใช้พื้นที่น้อย ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก มีเพียง 1-2 ไร่ ถือว่ากำลังพอดี และยังถือเป็นผลพลอยได้ เนื่องจากที่สวนอยู่ใกล้โรงงานผลิตยาง ต้นไม้เหล่านี้สามารถช่วยกรองกลิ่น กรองเสียงได้ ได้สมุนไพร ได้หลายๆ อย่างจากป่า จะเห็นได้ว่าเมื่อเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติโดยไม่เบียดเบียนกัน ธรรมชาติมักจะตอบแทนสิ่งดีๆ กลับมาเสมอ

ยกตัวอย่าง เทคนิคเพาะกล้าเมล็ดมะค่าโมง ไม้ป่าที่ชอบมากที่สุด
อันดับแรก ต้องบอกก่อนว่า ทำไมถึงชอบมะค่าโมงมากที่สุด เพราะมะค่าโมงมีลายไม้ที่สวย สามารถนำมาเพาะได้ตลอด เมล็ดค่อนข้างแข็งแรง จะอยู่ค้าง 1-2 ปี นำมาต่อยก้นทำแผลแล้วไปแช่น้ำ ก็สามารถงอกได้ตลอด ต่างกับไม้บางชนิดที่จะมีฤดูกาล เช่น ยางนา เมื่อร่วงหล่นมาไม่เกิน 2 สัปดาห์ ก็จะแห้งแล้ว

ขั้นตอนการเพาะ

พื้นที่เหมาะสมคือ พื้นที่ไหนก็ได้ที่มีน้ำ หรือถ้าในพื้นที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย ก็ขอให้มีน้ำ อย่างอื่นสามารถกางซาแรนได้
เก็บเมล็ดมะค่าโมงมาตัดจุกสีเหลืองออก
จากนั้นทำให้เมล็ดเป็นแผล แล้วนำไปแช่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 50-60 องศา แช่ทิ้งไว้ 2 วัน 2 คืน
หลังจากนั้น นำมาลงปลูกในถุงดำได้เลย ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ต้นจะเงยหน้าออกมาเรื่อยๆ คล้ายถั่วงอก แล้วก็ขึ้นต้น จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ต้นก็สวยแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำมาขายได้ เพราะต้นจะยังอ่อนเกินไป ถ้าจะขายต้องมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ขั้นตอนมีเพียงเท่านี้ ถือว่าไม่มีอะไรซับซ้อน แต่อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเข้ามาช่วยด้วย เพราะขั้นตอนการตัดจุกออกค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา

คนที่อยากทำ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
“ต้นไม้ไม่ใช่แค่ว่าปลูกแล้วรดน้ำแล้วเขาจะโต ไม่ใช่นะ ความขยันต้องมาอันดับแรกเลย ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้ารู้แล้ว เห็นแล้ว แต่ไม่ลงมือทำก็ไม่มีความหมาย ข้อถัดมาคือ ต้องเป็นนักทดลอง ต้นไม้ทุกต้นจะมีบุคลิกของตัวเอง มีความเป็นส่วนตัวของตัวเอง หมายความว่า เช่น จะเพาะมะค่าโมงสัก 1 ต้น ต้องรู้ก่อนว่ามะค่าโมงชอบดินแบบไหน ชอบน้ำมากหรือน้อย ถ้าจะทำอย่างเดียวไม่สงสัย ไม่ทดลอง อยากได้แต่เงินอย่างเดียวมันไม่ได้” พี่อ้วน กล่าว

การสร้างรายได้จากไม้ป่า ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกล
เจ้าของบอกว่า การทำตลาดสร้างรายได้ในยุคที่การสื่อสารก้าวล้ำและรวดเร็วทันใจ ทำให้การค้าขายเกิดสภาพคล่องตัวและทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้อยู่ตลอด เพราะที่ผ่านมาก่อนที่จะเป็นอย่างทุกวันนี้ได้ตนก็ผ่านขั้นตอนลองผิดลองถูกมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี และอีก 2 ปี คือช่วงที่เริ่มประสบความสำเร็จกับการเพาะไม้ป่าขาย เริ่มมีรายได้หลักแสนต่อเดือนมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้ว ด้วยการไม่หยุดคิดและปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยที่เข้ามา คือการทำตลาดออนไลน์ส่งกล้าไม้ และรับซัพพอร์ตกล้าพันธุ์ไม้ให้กับเพจที่สนใจอยากรับต้นไม้จากที่สวนไปขายก็ได้

โดยแต่ละเพจจะมีหน้าที่โพสต์ขายที่เพจของตัวเอง เรามีหน้าที่คอยส่งต้นไม้ให้กับเขา เลยกลายเป็นว่าช่วงหลังมาเราไม่ต้องขายเอง มีเพียงหน้าที่เพาะต้นไม้อย่างเดียว ถือเป็นการตลาดที่ยุคใหม่มาก ทุกอย่างเมื่อลงมือทำไปเราจะมองเห็นถนนว่าแยกนี้สามารถไปทางไหนได้บ้าง ความหมายในการทำตลาดออนไลน์ก็เหมือนกัน ซึ่งออเดอร์ในแต่ละวันก็เยอะมาก หรือบางเดือนยอดสั่งมาหลายหมื่นต้นที่สวนเพาะไม่ทัน ก็จะใช้วิธีกระจายรายได้ให้กับเพื่อนด้วยการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่อยากเข้ามาร่วมทำงานกับเราและแบ่งกันเพาะ เช่น บ้าน นาย ก. เพาะต้นมะค่าโมง บ้าน นาย ข. เพาะพะยูงไทย แล้วก็นำมาสลับกัน ใครมีออเดอร์พะยูงไทยเยอะก็ไปเอาที่บ้าน นาย ก. หรือ บ้าน นาย ก. อยากได้พะยูงไทยก็มาเอาที่บ้าน นาย ข. การตกลงผลประโยชน์อยู่ที่ความสะดวกของแต่ละคนว่าจะแลกต้นไม้กันหรือจะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้

ยอดขายต่อเดือน
ต้องบอกว่า ถือว่าเป็นความโชคดีด้วย ที่ตอนนี้มีการปลดล็อกไม้ป่า ทำให้กลายเป็นกระแสมากๆ ในตอนนี้ มีลูกค้ามาจากทั่วประเทศ บางคนก็จะซื้อไปปลูกป่าอยู่กับธรรมชาติ บางคนก็มุ่งมั่นอยากจะปลูกไว้ตัดไม้ขาย ส่งผลให้ยอดขายเฉลี่ยแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 5,000 ต้น ต่อเดือน สร้างรายได้หลักแสน เมื่อหักต้นทุนค่าแรงงาน ค่าส่งของ เหลือกำไรกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นอะไรที่เกินคุ้ม เพราะเริ่มทำจากสิ่งที่ชอบจนกลายเป็นรายได้

ราคา ถ้าเป็นไม้ป่าราคายืนพื้นอยู่ที่ 10-20 บาท ราคาไม่แพง แต่ถ้าเป็นขายส่ง สั่งมาหลัก 100-1,000 ต้น ราคาจะถูกลงมากว่านี้อีก ที่เพลินจิตรฟาร์มยังมีพันธุ์ไม้ป่าอีกมากมายที่นอกเหนือจาก 4 ชนิด ที่กล่าวไว้ข้างต้น หากสนใจลองติดต่อสอบถามมาที่ฟาร์มได้เลย

ฝากถึงเกษตรกร
“ถ้ามือเก่าพี่อ้วนไม่ห่วง แต่ถ้าเป็นมือใหม่อยากบอกว่า อย่าตามกระแส อย่าโลภ ถามใจตัวเองก่อนจะทำอะไร จะทำเกษตรเหนื่อยนะบอกไว้เลย คุยกับตัวเองให้รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องแล้วที่เหลือไม่ใช่อุปสรรค ปลูกเท่าที่ไหวก่อน ทำที่อยากกินอยากใช้แล้วปลูก แล้วค่อยต่อยอดไป ที่เหลือเดี๋ยวมันมาเอง ให้มีความสุขกับสิ่งที่ทำก่อน” พี่อ้วน กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสนใจอยากเข้าไปเยี่ยมชมสวนป่าของพี่อ้วน เจ้าของเน้นย้ำมาว่า ต้องโทร.บอกก่อนล่วงหน้า ที่เบอร์โทร สภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ร่วมบูรณาการโครงการกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จัดโครงการการส่งเสริมการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านจังหวัดยะลา ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านที่มีศักยภาพ โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม เพื่อคัดทุเรียนบ้านที่มีรสชาติอร่อยของตนเองเข้าประกวด สู่การยกระดับเป็นทุเรียนพื้นบ้านสายพันธุ์ดีอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลา เพื่อให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค สร้างเสถียรภาพด้านราคา และขยายพันธุ์ต่อไป

หลังจากนั้นเป็นการทำงานร่วมกับภาควิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต และยกระดับทุเรียนพื้นบ้านยะลา ซึ่งมีขอบเขตในการดำเนินงานคือ การคัดเลือกพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านยะลาที่มีศักยภาพจากการประกวด ลงพื้นที่บันทึกพิกัด โดยอาศัยลักษณะสัณฐานของผล รสชาติ ลักษณะเด่น วิเคราะห์ลักษณะคุณภาพพื้นฐานอย่างง่าย และระบุเอกลักษณ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ซึ่งในปี 2563 มีทุเรียนบ้านรสชาติดี ที่เก็บตัวอย่างไปแล้วกว่า 13 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระดุมทองใหญ่ ,ขมิ้นผู้ใหญ่ ,ริมคลอง ,YC1,มะเฟือง ,เล็กหมอน ,ไอ้เบตง,น้องเบตง,ก้านทอง,รอปีอ๊ะ2,กำปั้น,ไข่มังกร ,หลังบ้าน เป็นต้น

สรุปขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ค้นหาทุเรียนบ้านพันธุ์ดีโดยการประกวดทุเรียนพื้นบ้าน

2.สำรวจ ระบุพิกัดต้น

3.เก็บตัวอย่าง ใบ สกัดดีเอ็นเอ 4.บันทึกลักษณะผล เมล็ด

5.วิเคราะห์คุณภาพพื้นฐานของผล รสชาติ

6.วิเคราะห์รสชาติ และพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ กล้วยเป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เกษตรกรส่วนใหญ่จึงรีบตัดกล้วยดิบออกมาบ่มให้สุกด้วยแก๊สเอทิลีนโดยตรงหรือใช้ถ่านแก๊ส แคลเซียมคาร์ไบด์ โดยทุบถ่านแก๊สเป็นก้อนเล็กๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อถ่านแก๊ส ซุกไว้กลางเข่งกล้วย ก่อนที่จะบรรจุผลไม้ลงไปจนเต็มเข่ง ระหว่างการขนส่งกล้วยจะมีการคายน้ำทำปฏิกิริยาทางเคมีกับถ่านแก๊ส กลายเป็นแก๊สอะเซทิลีนไปกระตุ้นให้กล้วยเริ่มกระบวนการสุก แต่ผู้บริโภคไม่ชอบกล้วยลักษณะนี้ เพราะมีกลิ่นแก๊สติดในเนื้อกล้วย และมีรสชาติไม่อร่อยเหมือนกล้วยที่ปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ

ความจริงในอดีตคนไทยนิยมบ่มผลไม้ให้สุกด้วยเทคนิคง่ายๆ โดยใช้ “ความร้อนจากธูป” เริ่มจากเรียงกล้วยดิบใส่โอ่ง จุดธูป ประมาณ 7-8 ก้าน ปักใส่แก้วที่ใส่ทรายตั้งไว้กลางโอ่ง ปิดฝาโอ่งให้สนิท รอสัก 2-3 วัน จึงค่อยมาเปิดดู จะเห็นกล้วยสุกเหลืองพร้อมกันและมีรสชาติอร่อยตามที่ต้องการ

อีกเคล็ดลับหนึ่งที่น่าสนใจคือ เคล็ดลับการบ่มผลไม้ให้สุก โดยใช้ “เตาดินอบความร้อน” จากภูมิปัญญาชาวบ้านในอำเภอลานสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสุรศักดิ์ ศรีอำนวย เล่าให้ฟังว่า สมัยปู่ ย่า ตา ยาย นิยมบ่มกล้วยให้สุกด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบโบราณ โดยขุดหลุมลึก ประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดความกว้าง-ยาว ของหลุมขึ้นอยู่กับจำนวนกล้วยที่ต้องการบ่ม เมื่อเตรียมหลุมเสร็จจะนำทางมะพร้าวแห้งมาเผาในหลุม นานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อขับไล่ความชื้นในหลุมดินและมีความร้อนระอุในเนื้อดิน ประมาณ 50-60 องศา เปรียบเสมือน “เตาดินอบความร้อน” นั่นเอง

เมื่อเผาหลุมเสร็จ จะนำใบตองสดมากองปูรองก้นหลุม และกล้วยดิบที่หั่นเป็นหวีแล้ววางเรียงบนใบตองที่ปูพื้นไว้ ขั้นตอนต่อมาจะนำใบตองวางคลุมทับกล้วยในหลุมจนมิด จึงค่อยนำดินกลบอีกครั้งหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้เวลาบ่มกล้วยในหลุม ประมาณ 1-2 วัน เมื่อเปิดหลุมออกมาจะเห็นผลกล้วยสุกเหลืองพร้อมกันทั้งหมด หากต้องการให้กล้วยสุกงอมอร่อย ควรใช้เวลาบ่ม ประมาณ 2 วัน

คุณสุรศักดิ์ บอกว่า วิธีนี้ทำให้กล้วยสุกโดยไม่ต้องใช้แก๊ส ที่สำคัญใช้ต้นทุนต่ำ เพราะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น สำหรับเทคนิคนี้ อาศัยความร้อนระอุจากไอดิน ที่อุณหภูมิ 50 องศา ช่วยบ่มกล้วยให้สุกเหลืองและมีรสหวานอร่อยตามธรรมชาติมากที่สุด

ทุกวันนี้ เกษตรกรไทยจำนวนมาก ตัดกล้วยไม่เป็น ทำให้เครือกล้วยหล่นกระแทกดิน ผลผลิตเสียหาย ขายไม่ได้ราคา แม้แต่ตัวคุณสุรศักดิ์เองก็เพิ่งมาเรียนรู้การตัดกล้วยอย่างถูกวิธี เมื่ออายุ 40 กว่าปีนี้เอง คุณสุรศักดิ์เผยเคล็ดลับการตัดกล้วยแบบง่ายๆ คือใช้มีดฟันต้นกล้วยให้เป็นรอยบากปากฉลาม ที่ความสูงระดับหน้าอก จากนั้นใช้มือค่อยๆ ดึงใบกล้วยให้โน้มลงมา วิธีนี้จะทำให้ต้นกล้วยหักโค่นลงและ เครือกล้วยแตะถึงดินพอดี โดยไม่ทำให้กล้วยเสียหาย

หนึ่งชีวิตของมนุษย์เรามีเวลาสั้นเหลือเกิน สมัคร NOVA88 อย่าพยายามมีชีวิตอยู่แบบสิ้นหวัง ท้อแท้ หรือเพื่อรอว่าเมื่อไหร่หนอจะได้รับโชคจากสิ่งที่มองไม่เห็นว่าจะสามารถประทานมาให้ หรือเพียงรอกำลังใจจากใคร จะต้องให้รออีกนานสักแค่ไหนกันเล่า เพราะเวลาไม่มีวันหวนกลับมาอีกและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่นั้นจะค่อยๆ หมดไปทุกวินาทีที่รอคอย คิดเสียใหม่นะครับ อย่ามัวช้ากันนะครับ ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มได้ที่ตัวเราทั้งสิ้น หากต้องการก้าวเดินบนเส้นทางที่สามารถ เดินห่าง…จากความจน ให้ได้ชนิดสมบูรณ์แบบ รีบสร้างกำลังใจให้กับตัวเองและอย่าลืมนำเอาความขยันและอดทนมาเป็นเพื่อนร่วมทาง ชีวิตที่เหลือย่อมมีโอกาสเสมอครับ

ก่อนอื่น ขอสวัสดี และขอบพระคุณชนิดมากมายจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียน แฟนๆ ทั่วทุกภูมิภาคที่ให้การตอบรับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีแต่เรื่องราวของ ชะอมไม้เค็ด 2009 เป็นส่วนใหญ่ที่ส่งเสียงไปหา โทร. (081) 846-0652 หรือที่ทางเฟซบุ๊กของผู้เขียน นายสมยศ ศรีสุโร ที่มีอยู่ตลอดเวลา ทุกคำถามต้องมีคำตอบจากผมมานำเสนอให้แฟนๆ ได้รับทราบ เนื่องจากผมจะบันทึกไว้เสมอ สำหรับเพื่อไว้เป็นข้อมูลสำหรับแฟนๆ คนใหม่ที่จะได้ตัดสินใจในเรื่องราวของชะอมเมื่อหันมาสนใจคอลัมน์นี้

ผมจะเขียนย้ำเสมอถึงทุกเรื่องราวที่แฟนๆ โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจที่จะมาใช้ชีวิตในด้านเกษตรกรรม ที่ผมเรียกเสมอในคอลัมน์นี้ว่า เกษตรกรสายพันธุ์ใหม่นั้นสมควรอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องศึกษากับทุกเรื่องราวที่ต้องการทราบก่อนตัดสินใจลงมือ โดยเน้นเสมอว่าสิ่งที่สำคัญสุดๆ คือ ต้องมีแหล่งน้ำเป็นอันดับแรกเสียก่อน หากต้องการมีชีวิตเกษตรกร ขาดแหล่งน้ำทุกอย่างคงไม่ต้องเขียนถึงอีกต่อไปแล้วครับ

ส่วนเรื่องอื่นๆ นั้น ขอนำเสนอว่าพืชทุกชนิดที่สนใจจะนำมาปลูกลงในเนื้อที่ของเราก็เช่นกัน ควรต้องศึกษาเรื่องราวเบื้องต้นถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดเสียก่อน แม้ว่าจะไม่ถึงกับลงลึกมากนักก็ตาม ดีกว่าที่ตัดสินใจลงมือทันทีทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพืชตัวนั้นมาก่อนเลย เพราะทุกเรื่องราวนั้นสามารถหาได้ตามสื่อต่างๆ ทั่วไป เพราะโลกปัจจุบันนี้คือโลกของโซเชียลมีเดีย และที่ผมเน้นต่อมาเสมอคือเมื่อเราตัดสินใจในพืชตัวนั้นๆ หากมีเรื่องราวต่างๆ ที่สามารถเห็นจริงพร้อมสัมผัสได้จริงด้วยตัวเอง สมควรอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องหาเวลาไปสัมผัสด้วยตัวเอง แฟนๆ ว่าเยี่ยมกว่าเพิ่มไปอีกไหม?

ยกตัวอย่างให้แฟนๆ มือใหม่หัดปลูกสักเล็กน้อย เมื่อตกลงว่าแฟนๆ ต้องการที่จะปลูกชะอม ต้องศึกษาถึงเบื้องต้นรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตัว เช่นว่า ชะอมนั้นเป็นพืชยืนต้น ให้ผลผลิตจากยอด มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ลักษณะลำต้นมี 2 รูปแบบ คือ มีหนามกับไร้หนาม หรือเรื่องราวอื่นๆ ที่แฟนๆ ต้องการทราบ เหล่านี้เป็นต้น ทุกสื่อจะเขียนไว้อย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด แต่จะไม่เคยเห็นถึงเขียนต่อไปอีกว่าชะอมนั้นเป็นพืชที่น่าจะมีสายพันธุ์เหมือนเช่นพืชตัวอื่น แฟนๆ สังเกตกันบ้างไหมครับ