นำดินที่ผสมแล้วมาใส่ในวงบ่อซีเมนต์ที่จัดเตรียมไว้ ย่ำให้แน่น

พรวนดินปลูกขึ้นมา เมื่อปลูกมะนาวไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ดินจะยุบตัวพอดีกับขอบวงบ่อซีเมนต์

มะนาวที่จะออกดอกออกผลได้จนถึงการเก็บผล ต้องมีความสมบูรณ์ และสัมพันธ์กันในทุกๆ ส่วน ตั้งแต่วัสดุปลูกไปจนถึงการรักษายอด สูตรน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งลดความอ้วน

ส่วนผสม น้ำผึ้ง 1 ช้อน น้ำมะนาว 1 ช้อน โรยเกลือนิดนึง แล้วคนใส่น้ำอุ่นดื่ม ไม่เกิน 20 วินาที เราจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ แต่คุณกอล์ฟบอกว่า เมื่อดื่มน้ำมะนาวสูตรนี้เข้าไปแล้วไม่ส่งผลให้ถ่ายพร่ำเพรื่อ ถ่ายรอบเดียวแล้วจบ ซึ่งสูตรนี้ทดสอบมาแล้วว่าช่วยลดความอ้วนได้ ช่วยล้างไขมันตามลำไส้ เพราะในลำไส้จะมีเศษไขมันเล็กๆ น้อยๆ ที่เกาะ น้ำผึ้งและน้ำมะนาวจะช่วยล้าง คุณกอล์ฟใช้ระยะเวลาดื่มเป็นเวลา 4 เดือน จากที่เคยน้ำหนัก 108 กิโลกรัม ตอนนี้เหลืออยู่ 80 กิโลกรัม คุณกอล์ฟจึงได้แนะนำสูตรให้กับเพื่อนๆ ชิม ซึ่งได้ผลตอบรับดี

เพื่อนบอกอร่อยต่อๆ กันมา และที่ลดน้ำหนักได้ตามๆ กันคือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ท่าน ผอ. ของ กศน. ในอำเภอ และคนในหมู่บ้าน คุณกอล์ฟจึงลองทำขาย ออกผลิตภัณฑ์ชื่อแบรนด์ “น้ำช่อจันทร์” ซึ่งส่วนผสมน้ำช่อจันทร์คุณกอล์ฟใช้วัตถุดิบอย่างดี น้ำมะนาวก็ใช้จากสวนตัวเอง น้ำผึ้งก็ต้องเป็นน้ำผึ้ง 3 ดอก หมายความว่า ต้องสั่งซื้อน้ำผึ้งจากสวนที่ปลูกต้นไม้มากกว่า 3 ชนิด ขึ้นไป เพื่อความหอม หวาน ของน้ำผึ้ง ซึ่งคุณกอล์ฟก็ขายไม่แพง เพียงขวดละ 120 บาท รสชาติอร่อย หอม หวาน จะผสมกับโซดาดื่มดับกระหายคลายร้อนก็ดีไม่น้อย

คุณทองคำ พิลากรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ ผู้เพาะปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ บ้านเลขที่ 79 หมู่ที่ 5 บ้านเปลือย ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า ส่วนตัวแล้วทำอาชีพรับราชการในสำนักงานเกษตร อีกทั้งเป็นเกษตรกรทำไร่มันสำปะหลังและทำนามาจนถึงปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า เนื่องจากเป็นเกษตรกรที่ทำไร่ทำสวนแบบผสมผสาน ประกอบกับมีความสนใจในตัวของผักหวานป่า เนื่องจากเป็นพืชที่คุ้นเคยมีอยู่แล้วในแถบภาคอีสาน และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง เติบโตต่อเนื่อง จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเองจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการค้นคว้าและวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ทำให้ทราบว่า ผักหวานป่า นั้นมีข้อดีหลักๆ อยู่ 2 อย่าง คือ

เป็นพืชที่ดูแลง่าย อายุยืน สามารถปลูกแล้วปล่อยไว้โดยไม่ต้องดูแลมาก ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน
เป็นพืชเกษตรอินทรีย์ หมายความว่า การปลูกพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ใช้เพียงปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น
คุณทองคำ เริ่มต้นปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 200 หลุม ปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 2 ไร่แล้ว และยังสร้างเครือข่าย ให้ความรู้กับเพื่อนบ้านผู้ที่สนใจอยากสร้างรายได้จากการปลูกผักหวานป่า ทำให้ปัจจุบันมีเครือข่ายสมาชิกทั้งหมด 30 ราย สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ผักหวานไปแล้วกว่า 2,000 เมล็ด เพื่อทดลองปลูกกับเครือข่าย

“ส่วนตัวแล้วหลังจากที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักหวานป่า ก็พบว่า ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่ปลูกผักหวานป่าขาย และมีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าด้วย จึงได้ซื้อเมล็ดจากที่อำเภอบ้านหมอ จากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมล็ดจะถูกส่งมาให้ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี” คุณทองคำ กล่าว

เมล็ดผักหวานป่าที่คุณทองคำเลือกซื้อจากอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรีนั้น เป็นเมล็ดที่กะเทาะเปลือก และล้างทำความสะอาดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มาแล้ว เพื่อกำจัดเชื้อราป้องกันเมล็ดเน่าเสีย ราคาเมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะเปลือก ขายเป็นเมล็ด เมล็ดละ 3 บาท ไม่กะเทาะเปลือก ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท

เมื่อมีเมล็ดพันธุ์ ให้นำมาล้าง ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นนำผ้าหรือกระสอบป่านชุบน้ำให้เปียกนำมาคลุมเมล็ดพันธุ์ไว้ ประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะแตก แต่ก็ยังไม่มีต้นอ่อน เนื่องจากต้นผักหวานป่าจะงอกช้ามาก ไม่ต้องรอต้นอ่อนงอก เพียงแค่ให้เมล็ดแตกก็สามารถนำลงดินที่เตรียมไว้ได้เลย

ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ลงดิน ต้องเตรียมพื้นที่ปลูกก่อน ด้วยการขุดหลุม ขนาด 30×30 เซนติเมตร แล้วนำดินผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ที่ทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ในอัตรา 1:1 ส่วน ก่อนที่จะนำเมล็ดลงดิน จะใช้เหล็กเส้น ขนาด 6 หุน ยาว 1 ศอก แทงลงในดินที่ขุดหลุมไว้ เพื่อเป็นเส้นทางให้รากของผักหวานลงไปในดินโดยง่าย วางเมล็ดผักหวานแนวขวางและให้เมล็ดโผล่อยู่เหนือดินครึ่งเมล็ด

“ผักหวาน เป็นพืชที่จะหยั่งรากลงดินก่อนโดยที่ยังไม่มีต้นอ่อน หลังจากหยั่งรากลงดินประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มแตกต้นอ่อนให้เห็น ช่วงเวลาระหว่างรอต้นอ่อนแตกยอดออกมา ต้องคอยสังเกตเมล็ดว่าเน่าหรือไม่ หากเมล็ดเปลี่ยนสีไปจากเดิม ไม่เหมือนวันแรกที่ลงปลูก หรือเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ ให้สันนิษฐานว่า เมล็ดนั้นเน่า” คุณทองคำ กล่าว

ดูแลรักษาและให้น้ำ

ผักหวาน เป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก เนื่องจากเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าอยู่แล้ว การดูแลจึงไม่ยุ่งยาก ศัตรูพืชของผักหวานคือ จิ้งหรีด ที่จะมากัดกินยอดอ่อนในช่วงแรก คุณทองคำป้องกันด้วยการนำขวดพลาสติกตัดหัวท้ายให้เป็นรูปทรงกระบอก นำมาครอบเพื่อเป็นการล้อมต้นอ่อนผักหวานไว้ เมื่อต้นอ่อนมีความสูง ประมาณ 1 คืบ จึงสามารถนำขวดน้ำออกได้และปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ผักหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก จะให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เท่านั้น ในฤดูแล้ง ที่แล้งจัดให้น้ำ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ส่วนในฤดูฝนจะไม่ให้น้ำเลย

การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น เริ่มใช้มูลสัตว์ในการผสมกับดินใส่หลุมปลูก ในช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงเตรียมการให้ผลผลิตจะโรยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณรอบโคนต้น และบำรุงใบไปด้วย ด้วยการฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำ ในอัตรา 1:200 ส่วน ช่วยทำให้ใบเขียว นอกจากนี้ จุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำหมักจะช่วยย่อยสลายปุ๋ยคอกที่โคนต้นอีกด้วย

หลังจากที่ต้นเติบโต อายุได้ประมาณ 2 ปี จะให้ปุ๋ยมูลสัตว์ 2 ครั้ง ต่อปี คือช่วงต้นฝนและปลายฝน และฉีดน้ำหมักอีกเดือนละ 1 ครั้ง แต่การให้ปุ๋ยสำหรับต้นผักหวานป่าก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน คือห้ามใส่ปุ๋ยในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต จะให้ก่อนหน้าในช่วงต้นและปลายฝนเท่านั้น ซึ่งอายุของต้นผักหวานที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้คือ อายุตั้งแต่ 2-3 ปี ขึ้นไป

เก็บเกี่ยวผลผลิต

ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะต้องตัดแต่งกิ่ง โดยคุณทองคำจะใช้วิธีการหักกิ่งด้วยมือเปล่า โดยหักช่วงปลายยอดของกิ่งทิ้ง ประมาณ 10-15 เซนติเมตร สามารถหักได้ทั้งกิ่งตรงและกิ่งแขนง จากนั้นลิดใบออก ให้เหลือกิ่งละประมาณ 3-4 ใบ เท่านั้น หลังจากนั้น ประมาณ 2 สัปดาห์ ผักหวานจะเริ่มแตกยอดใหม่ อีกประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเก็บยอดผักหวานจำหน่ายได้

“การเก็บยอด ต้องเลือกยอดที่มีขนาดมาตรฐาน ที่ส่งขายกัน ความยาวจะอยู่ที่ 1 ฟุต สามารถเก็บได้ทั้งปี ช่วงที่ผักหวานให้ผลผลิตตามธรรมชาติคือช่วงปลายเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนเมษายน” คุณทองคำ กล่าว

ราคาขายผักหวานจะขึ้นอยู่กับว่าผลผลิตออกมาในช่วงนอกหรือในฤดู ราคาขายส่งในฤดู อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 200 บาท หากขายนอกฤดูราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 50 บาท คือขายส่งอยู่ที่ 200 บาท ต่อกิโลกรัม และขายปลีก 250 บาท ต่อกิโลกรัม โดยการขายส่งจะมีแม่ค้ามารับถึงที่ มีทั้งเจ้าประจำและขาจร เป็นรายได้ที่หาได้ตลอดทั้งปี

เทคนิคการปลูกเพื่อผลผลิตที่ดี

คุณทองคำ เล่าว่า “เทคนิคสำคัญในการปลูกผักหวานให้มีคุณภาพ และต้นแข็งแรงให้ผลผลิตดีอยู่ที่การแซม “ต้นไม้พี่เลี้ยง” หรือไม้ที่ให้ร่มเงา นอกจากผักหวานป่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการแดดมาก ผักหวานต้องการแสงแดดเพียง 30% เท่านั้น พืชพี่เลี้ยงจึงเป็นประโยชน์ในการให้ร่มเงา ในกรณีที่ไม้พี่เลี้ยงยังไม่โตพอที่จะให้ร่มเงากับผักหวานได้ ให้ใช้ซาแรนคลุมต้นผักหวานไปก่อน เป็นการช่วยลดแสงไม่ให้กระทบกับต้นผักหวานโดยตรง นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยหาอาหารใต้ดินให้กับผักหวานอีกด้วย เนื่องจากผักหวานจะอาศัยการกินอาหารกับรากพืชอื่น”

ไม้พี่เลี้ยงที่ คุณทองคำ เลือกปลูก ได้แก่ แคบ้าน มะขามเทศ และตะขบ ซึ่งจากการสังเกตแล้ว คุณทองคำ เล่าว่า ผักหวานที่อยู่ใกล้กับไม้พี่เลี้ยงแคบ้าน ใบจะมีสีเขียวสวย สันนิษฐานว่า เนื่องจากแคเป็นพืชในตระกูลถั่ว ซึ่งมีจุดเด่นในการตรึงไนโตรเจน มาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

คุณทองคำ แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกผักหวานป่าว่า ต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ดี หากเก็บมาจากป่าให้เลือกเมล็ดที่แก่จัด มีสีเหลืองอมส้ม เมล็ดโตไม่ลีบ นำมาขยำเอาเปลือกออกด้วยเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการป้องกันเมล็ดเน่าเสียนั่นเอง

ทั้งนี้ ผักหวานป่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae เป็นพืชที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแตกกิ่งและยอดอ่อนได้ด้วยการหักกิ่งทิ้ง นิยมบริโภคใบและยอดอ่อน โดยการนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงใส่ไข่มดแดงและเห็ดฟาง ถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวอีสาน นอกจากนี้ ยังนำมาผัดน้ำมันหอยและรับประทานเป็นผักต้มสำหรับจิ้มกับน้ำพริกได้ด้วย

รสเปรี้ยวและกลิ่นหอมของน้ำมะนาว เป็นเสน่ห์ที่ผูกใจให้ผู้กินหลายคนชื่นชอบ มันได้ช่วยเติมแต่งเพิ่มรสชาติให้มีความอร่อยหลากหลายและยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะนำไปปรุงรสในอาหารคาว เช่น การทำน้ำพริก ต้มยำ ลาบ น้ำตก หรือแม้แต่ส้มตำ อาหารจานโปรดของหลายๆ คน นอกจากนี้มันยังถูกนำไปปรุงรสเป็นน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำชามะนาว ทำเป็นเครื่องดื่มเย็นๆ เพิ่มความอร่อยและช่วยให้ชุ่มคอชื่นใจ

การจะได้มะนาวมากินมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องไปซื้อหามาจากตลาด ถ้าเป็นมะนาวในฤดูราคาไม่แพง โดยจะมีวางขายให้ซื้อกันตั้งแต่ 0.50-2 บาท ต่อผล แต่ถ้าเป็นมะนาวนอกฤดู ผลผลิตมีน้อย ราคาก็จะแพง มีวางขายให้ซื้อที่ 5-10 บาท ต่อผล เมื่อมะนาวราคาแพงแล้วยังหาซื้อไม่ได้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาของผู้กินด้วย แต่วันนี้ทางออกยังมีและเปิดกว้างให้กับท่านที่สนใจนำไปเป็นทางเลือก เพราะในฉบับนี้ผู้เขียนจะนำเรื่องราว มะนาวติดผลดก…ปลูกในโอ่ง แบบพอเพียงหรือเชิงธุรกิจ วิธีไหนก็ดีของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ มาบอกเล่าสู่กัน

ลุงพิชิต จุ้ยสุขะ เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ทำการเกษตร 8 ไร่ ได้เริ่มทำการเกษตรผสมผสานในราวปี 2530 โดยยึดแนวทางปฏิบัติแบบเศรษฐกิจพอเพียงคือ ปลูกพืชที่กิน กินพืชที่ปลูก คือเน้นให้ได้ผลผลิตพอกินพออยู่ แบ่งปันและเหลือขาย โดยได้แบ่งพื้นที่ขุดบ่อหรือสระน้ำ ขนาด 1 งาน 2 บ่อ และขนาด กว้าง ยาว ลึก 3x50x2 เมตร 1 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สอยและเพื่อการเกษตร พื้นที่ส่วนที่เหลือได้จัดการแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลายชนิดเช่น กล้วย อ้อยคั้นน้ำ ไผ่ มะละกอ หรือมะนาว

มะนาว เป็นพืชที่ปลูกง่ายโตไว เจริญเติบโตได้ดีเกือบทุกพื้นที่ หลังปลูก 7-8 เดือน ก็เก็บผลมะนาวไปกินได้แล้ว วิธีการปลูกมีทั้งที่เป็นแบบสวนหลังบ้านเพื่อเก็บผลมะนาวไปบริโภคในครัวเรือน และอีกวิธีหนึ่งคือการปลูกเป็นสวนในเชิงธุรกิจการค้า เพื่อเก็บผลมะนาวไปขายให้เป็นรายได้หลัก

ต่อมาได้ปรับพื้นที่การปลูกพืชบางส่วนโดยรื้อต้นมะนาวที่ปลูกลงดินออกทั้งหมดแล้วปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูกมะนาวลงในโอ่งและในวงถังส้วมหรือวงบ่อซีเมนต์ วิธีนี้จะสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยและให้น้ำ รวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วย และเป็นการจัดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ลดต้นทุนได้มากขึ้น เมื่อต้นมะนาวเจริญเติบโตเต็มที่ก็สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูได้ด้วย

การปลูกมะนาว ไม่ว่าจะปลูกลงดินหรือปลูกลงในโอ่ง ต้องเลือกกิ่งพันธุ์มะนาวที่ปลอดจากโรคและเป็นต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ มะนาวแป้นรำไพ พิจิตร 1 หรือพันธุ์ตาฮิติ ส่วนขนาดของภาชนะปลูกเลือกได้ตามความเหมาะสม สำหรับที่สวนได้เลือกปลูกในโอ่งที่ใส่ดินปลูกได้ 5-10 ปี๊บ ด้านข้างสูงจากก้นโอ่งขึ้นมา 2-3 นิ้ว ได้เจาะให้เป็นรูขนาด 1/2-2 นิ้ว หรือขนาดเท่ากับผลมะนาว 2-3 รู เพื่อให้เป็นช่องทางระบายน้ำ (ไม่เจาะก็ได้ แต่ต้องให้น้ำพอดีอย่าให้น้ำขัง)

จากนั้นนำกาบมะพร้าวสับมารองก้นโอ่ง สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือสูง 4-6 นิ้ว เพื่อให้ก้นโอ่งโปร่ง นำดินปลูกที่มีส่วนผสมของดิน 1 ส่วน ใบไม้แห้ง 2 ส่วน และปุ๋ยคอกแห้ง 1/2 ส่วน มาผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่วโดยแบ่งใส่ลงในโอ่งส่วนหนึ่ง นำต้นพันธุ์มะนาวลงปลูก แล้วใส่ดินปลูกส่วนที่เหลือเติมลงไปโดยเว้นให้มีพื้นที่ว่างสูงถึงปากโอ่ง ประมาณ 1 คืบ ผูกต้นมะนาวยึดไว้กับไม้หลักกันล้ม รดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกคอยดูแลบำรุงรักษา ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลา ต้นมะนาวก็จะเจริญเติบโตพร้อมติดดอกออกผล เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้เจริญเติบโต ต้องใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างพอเพียงสม่ำเสมอ

ที่นี่ได้เลือกใส่ปุ๋ยมูลสัตว์แห้ง มีทั้งปุ๋ยมูลวัวและปุ๋ยมูลหมู ถ้าเลือกใส่ปุ๋ยมูลวัวแห้งซึ่งมีวางขายที่ตลาดต้นไม้อยู่ทั่วไป ได้ใส่ 2-5 กำมือ ต่อต้น โรยรอบๆ ทรงพุ่ม รดน้ำให้ชุ่ม โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ต่อปี ถ้าเลือกใส่ปุ๋ยมูลหมูแห้ง ต้องไปหาซื้อจากแหล่งที่มีการทำบ่อก๊าซชีวภาพ หรือจากฟาร์มเลี้ยงหมู มูลหมูแห้งบรรจุในถุง น้ำหนัก 15 กิโลกรัม จะซื้อในราคา 60 บาท ต่อถุง มูลหมูแห้งที่ไล่แก๊สออกแล้วเมื่อนำไปหมักน้ำจะไม่มีกลิ่น ถ้าเป็นมูลหมูแห้งชนิดที่ไม่ไล่แก๊สออกเมื่อนำไปหมักน้ำจะมีกลิ่นเหม็น การใช้มูลหมูแห้งจะนำไปหมักเป็นปุ๋ยน้ำมูลหมูก่อน โดยจะหมักในถังพลาสติกคือใส่น้ำลงไป 10 ลิตร ใส่มูลหมูแห้ง 1 กิโลกรัม ลงไปผสมใช้ไม้กวนหรือคนให้ทั่ว ปิดฝาแล้วหมักทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน

ลุงพิชิต จุ้ยสุขะ เล่าให้ฟังอีกว่า การใช้ปุ๋ยน้ำมูลหมู จะนำปุ๋ยน้ำมูลหมู 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 10 ส่วน กวนหรือคนให้ทั่วนำไปราดรอบๆ ทรงพุ่ม อัตรา 2 ลิตร ต่อต้น แล้วตักปุ๋ยน้ำมูลหมูไปกรองเอากากออกเทใส่ภาชนะ แล้วนำปุ๋ยน้ำมูลหมู 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 20 ส่วน กวนหรือคนให้ทั่ว กรองเอากากอีกครั้งแล้วเทใส่ภาชนะนำไปฉีดพ่นทางใบรอบทรงพุ่ม ให้เป็นปุ๋ยเสริมทางใบ การราดรอบโคนต้นและฉีดพ่นทางใบ จะทำ 15-30 วัน ต่อครั้ง

นอกจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วก็ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเสริมด้วย โดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ในอัตรา 1 ช้อนแกง หรือ 1 กำมือ ต่อต้นต่อเดือน โรยปุ๋ยรอบทรงพุ่ม รดน้ำพอชุ่ม การปรับปรุงบำรุงดินในโอ่งปลูกมะนาวสามารถปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเมื่อพรวนดินกลบต้นถั่วจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ย ส่วนการป้องกันกำจัดศัตรูมะนาวนั้นต้องคอยมั่นสำรวจตรวจดูแลต้นมะนาวเสมอๆ หากพบในปริมาณไม่มาก ก็เก็บไปทำลายทิ้งอย่าปล่อยให้แพร่กระจายก็จะช่วยทำให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนพร้อมติดดอกออกผลได้ดี

วิธีการปลูกมะนาวในโอ่ง หรือในวงถังส้วม สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูได้ด้วย โดยการงดใส่ปุ๋ยและให้น้ำ 10-14 วัน หรือสังเกตดูแล้วพบว่า ใบมะนาวเริ่มเหี่ยวเฉา ก็เริ่มให้น้ำและใส่ปุ๋ย ตามระยะเวลา ก็จะทำให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนติดดอกออกผล ทุกวันนี้พึงพอใจมากที่ทำให้ต้นมะนาวที่ปลูกในทุกโอ่งและวงบ่อซีเมนต์หรือวงถังส้วม ติดดอกออกผลได้ทั้งในและนอกฤดู แต่ละครั้งมะนาวติดผลดก 80-100 ผล ต่อโอ่งหรือวงถังส้วม ทำให้ได้เก็บผลมะนาวไปกินในครัวเรือนและเหลือแบ่งขายพอทำให้มีรายได้นำมาหมุนเวียนในการผลิต ถึงจะเป็นรายได้ที่ไม่มาก แต่ก็ทำให้มีความสุขมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและดำรงชีพอยู่อย่างมั่นคง

ลุงสังเวย นาคน้อย ผู้ปลูกมะนาวรายหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ปลูกมะนาวเพื่อเก็บผลไปบริโภคในครัวเรือน เสริมรายได้และเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งของตนเองและผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะการปลูกมะนาวในโอ่งจะมีข้อดีที่เคลื่อนย้ายหรือยกไปปลูกที่อื่นได้ง่าย ช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังควบคุมให้มะนาวติดดอกออกผลนอกฤดูได้ โดยวิธีการควบคุมจะใช้พลาสติกปิดคลุมรอบโคนต้นมะนาว และรอบปากโอ่งจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 7-14 วัน เพื่อให้ต้นมะนาวขาดปุ๋ยและน้ำ หรือสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหี่ยวก็จะเปิดพลาสติกออก

จากนั้นก็จะบำรุงต้นโดยการให้น้ำและปุ๋ย ส่วนปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยน้ำมูลหมูที่ผสมตามอัตราส่วนนำไปราดรอบทรงพุ่มและฉีดพ่นทางใบรอบทรงพุ่มทุก 15-30 วัน ต่อครั้ง นอกจากนี้ ก็จะใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 1 กำมือ ต่อต้น ทุกเดือน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การปลูกมะนาวในโอ่งปุ๋ยและน้ำที่ใส่ลงไปต้นมะนาวจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้ลดต้นทุนการผลิต ส่วนการผลิตมะนาวนอกฤดูควรจะเริ่มทำในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เพื่อให้ไปติดดอกออกผลในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มะนาวมีน้อยราคาจะแพงหาซื้อก็ยาก การปลูกมะนาวในโอ่งไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อปลูกแล้วมีการปฏิบัติดูแลเหมาะสมต้นมะนาวก็จะติดดอกออกผลดกพอเก็บไปกินและนำออกขายเป็นรายได้และอยู่ได้อย่างพอเพียง

จากเรื่อง มะนาวติดผลดก…ปลูกในโอ่งแบบพอเพียงหรือเชิงธุรกิจ วิธีไหนก็ดีได้กล่าวถึงมะนาวราคาแพงหาซื้อยาก การเลือกมะนาวพันธุ์ดีปลอดโรคมาปลูก การใส่ปุ๋ยและให้น้ำสม่ำเสมอ การปฏิบัติดูแลรักษา

การผลิตมะนาวนอกฤดู เป็นการปลูกมะนาวที่ลดต้นทุนการผลิต หากปฏิบัติดูแลรักษาดีเชื่อว่ามะนาวที่ท่านปลูกต้องติดดอกออกผลดก 70-100 ผล ต่อโอ่ง ท่านจะมีความสุขกับการปลูก ได้ดูการเจริญเติบโตและเก็บมะนาวไปกิน ลดรายจ่ายที่ไม่ต้องซื้อมะนาวแพงอีกต่อไป ส่วนผู้ผลิตในเชิงธุรกิจจะนำวิธีเดียวกันนี้ไปผลิตมะนาวนอกฤดูเพื่อเพิ่มผลผลิตมะนาวให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค เป็นการสร้างรายได้ต่อเนื่องทั้งปี

ท่านที่สนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถแวะไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกับ ลุงพิชิต จุ้ยสุขะ ได้ที่ 58/4 หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โทร. 086-9013-119 หรือ 029-798-128 หรือ คุณลุงสังเวย นาคน้อย ได้ที่ 39 หมู่ที่ 2 อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โทร. 085-902-4900 ก็ได้เช่นกัน

“ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี”

จากคำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรี แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ไผ่ตง นับเป็นพืชที่ขึ้นชื่อของจังหวัด และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่มาอย่างยาวนาน

ท่ามกลางความสำคัญของพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นและได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างยิ่งคือ สายพันธุ์ไผ่ตงศรีปราจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับ มีการนำสายพันธุ์ไปปลูกกันอย่างกว้างขวาง ด้วยมีลักษณะเด่น คือ เป็นพันธุ์ไผ่ที่โตเร็ว และแตกให้หน่อดี ปริมาณหน่อเยอะ หน่อให้น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม สามารถเก็บหน่อได้หลังปลูกเพียง 1-2 ปี อีกทั้งลำต้นก็มีขนาดใหญ่ หน้าตัดตั้งแต่ 4 จนถึง 6 นิ้ว ทำให้เหมาะกับการนำไปใช้ในกิจกรรมการเกษตรกรรม เช่น การนำไปทำหลักปัก เพื่อเลี้ยงหอยแมลงภู่ อีกทั้งหลังจากลงปลูกครั้งแรก ประมาณ 1 ปี ก็สามารถตอนกิ่งจำหน่ายเป็นรายได้ได้อีกทางหนึ่ง

ไผ่ตงศรีปราจีน เกิดขึ้นครั้งแรกที่สวนของ นายสอาด ใจเชื่อม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 55 หมู่ที่ 11 บ้านไชยคลี ต.หนองแก้ว อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี โทร.086-839-2258 เดิมพี่สอาดเป็นชาวนา แต่ต้องประสบปัญหาว่า ทำนาแล้วได้ผลผลิตไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงปรับเปลี่ยนอาชีพมาสู่การทำสวน

โดยเฉพาะการปลูกไผ่ตงจำหน่าย ซึ่งเดิมนั้นสายพันธุ์ที่ปลูกกันโดยทั่วไปคือ ไผ่ตงหม้อ

“ผมก็ปลูกเรื่อยมาจากที่ทำกับแม่ ในพื้นที่ 10 ไร่ เป็น 20 ไร่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี”

พี่สะอาด ปลูกไผ่เรื่อยมา steelexcel.com จนกระทั่งมาประสบปัญหาในช่วงประมาณปลายปี พ.ศ. 2537 ​ไผ่ตงที่​เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วประ​เทศ​ได้ออกดอก ​ทำ​ให้ต้น​ไผ่ตงตาย สภาพ​การณ์​เช่นนี้​ทำ​ให้​เกิด​ความ​เสียหาย​แก่​เกษตรกร​ผู้ปลูก​ไผ่ตง​เป็นจำนวนมาก​และกว้างขวาง

จากเกษตรกรชาวสวนไผ่ตงที่มีผลผลิตออกจำหน่ายทุกปี เมื่อเจอภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ต้นไผ่ในสวนตายเกือบหมด แต่ท่ามกลางความโชคร้ายก็มีความโชคดีปรากกฏขึ้น

“พอไผ่ออกดอกติดเมล็ดมา ก็มีบ างส่วนร่วงหล่นมาในแปลง และตามลำห้วยข้างสวน เมล็ดเหล่านี้บางส่วนก็งอกขึ้นมาเป็นต้น ผมเลยไปขุดเอามาใส่ถุงตั้งไว้ในแปลงเพาะชำ ผมเก็บมาชำไว้ได้มากกว่า 1,000 ต้น เลยทีเดียว”

ซึ่งต้นไผ่ 1 ในจำนวน 1,000 กว่าต้น ได้แสดงถึงคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากต้นไผ่ต้นอื่นในรุ่นเดียวกัน คือ มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ต้นสูงกว่า ในขณะที่ต้นอื่นจะมีลักษณะโตไม่ดีต้นเล็กเตี้ย เป็นส่วนใหญ่ พี่สะอาด จึงนำต้นไผ่ต้นดังกล่าวไปปลูก และพบว่าให้ลักษณะที่เด่นมาก แตกต่างจากต้นไผ่ตงที่เคยมีมาในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้เริ่มนำมาเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวน และนำลงปลูกในแปลงของต้นเอง ในปี 2540

ต้นไผ่ตง ดังกล่าวได้สร้างความสนใจให้กับทุกฝ่ายที่ได้รับทราบข้อมูลและเข้ามาดู

“ส่วนที่มีชื่อ ไผ่ตงศรีปราจีนนั้น เป็นเพราะทางสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรีได้พาไปจดขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชและตั้งชื่อนี้ออก เมื่อได้มีชื่ออย่างเป็นทางการ พี่สะอาด นอกจากจะเพาะขยายพันธ์ด้วยวิธีการตอนเพื่อลงปลูกในแปลงของตนเองแล้ว ยังได้ขยายพันธุ์จำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจด้วยเหตุที่โตไว แตกหน่อดี ซึ่งปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และได้หลายเป็นสายพันธุ์ขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี มีเกษตรกรนำไปปลูกเพาะจำหน่ายพันธุ์กันอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา