นำน้ำไส้เดือนที่หมักไว้เป็นเวลา 1 เดือน มาฉีดพ่นต้นข้าว จำนวน

โดยครั้งแรกระยะหว่านกล้า ระยะต่อมาหลังปลูกกล้า ประมาณ 1 สัปดาห์ และระยะสุดท้าย คือ ช่วงข้าวตั้งท้อง นอกจากนั้น ยังนำไปใส่ตามร่องน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงนาอีก 2 ระยะ” การฉีดพ่นต้นข้าวในนาอินทรีย์ จะใช้โดรนทั้ง 3 ระยะ โดรนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว แล้วลดต้นทุนได้อย่างมาก คุณสุภาพรรณ บอกว่า อัตราส่วนที่ใช้น้ำไส้เดือนใส่ในเครื่องพ่นหรือโดรน ในอัตรา น้ำไส้เดือน 1 ลิตร ผสมน้ำ 15 ลิตร จะฉีดพ่นทางโดรนได้ จำนวน 5 ไร่ ใช้เวลาฉีดพ่นเพียง 5 นาที ซึ่งในเวลา 1 วันสามารถฉีดพ่นพื้นที่นาได้ประมาณ 100 ไร่

“แนวทางนี้จะช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลา ค่าใช้จ่าย โดยค่าเช่าโดรน ราคา 100-120 บาท ต่อไร่ ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย ของพื้นที่ ต่างจากการใช้แรงงาน ถ้าใส่ถังสะพาย ต้องใช้อัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร จะพ่นได้เพียง 3 ไร่ แล้วมีค่าแรงฉีดพ่นสูงด้วย”

ผลดีของการนำน้ำไส้เดือนหมักเข้มข้นมาใส่ในนาข้าว จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพต้นข้าวให้มีความแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคได้ดี ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ เมล็ดข้าวเต็ม อวบอ้วน ได้น้ำหนัก ตลอดจนได้จำนวนรวงข้าวเพิ่มมากขึ้น ได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 80-100 ถัง ต่อไร่ จากเมื่อก่อนได้เพียง 60-70 ถัง ต่อไร่ เท่านั้น

นอกจากนั้น เมื่อนำไปหุงจะได้เมล็ดข้าวที่นุ่ม หอม และมีความปลอดภัยเพราะปลูกแบบอินทรีย์ ทำให้ซาวน้ำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น จึงช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการที่สูงให้อยู่ได้

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์หลายแบบ ราคาไม่แพง

ปัจจุบัน สมาชิกกลุ่มฯ ทำนาจากน้ำไส้เดือนทั้งสิ้น 61 แปลง จำนวนพื้นที่ 631 ไร่ ข้าวทั้งสองชนิดปลูกพร้อมกัน แล้วเก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน แต่ข้าวหอมมะลิสามารถเก็บผลผลิตได้ก่อนข้าวเหนียว ประมาณ 7 วัน โดยผลผลิตข้าวจะถูกนำมาแปรรูปเป็นข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพ ชื่อแบรนด์ว่า “ข้าว ณ เชียงราย” ในรูปแบบข้าวธรรมดากับการแปรรูปเป็นกล้องงอก

สำหรับข้าวธรรมดา กำหนดราคาขายต่อกิโลกรัมคือ ข้าวเหนียว และหอมมะลิ ราคา 50 บาท หากเป็นข้าวกล้องเหนียวและหอมมะลิ ราคาต่อกิโลกรัม 60 บาท ส่วนในแบบเป็นข้าวกล้องงอกที่มีทั้งข้าวหอมมะลิ 105, ทับทิมชุมแพ และไรซ์เบอร์รี่ กับข้าวเหนียว กข 6, ข้าวเหนียวก่ำ มีราคาจำหน่ายแบบครึ่งกิโล 40 บาท และ แบบ 1 กิโล 80บาท โดยล่าสุดมีการผลิตเป็นสบู่ข้าวกล้อง รวมถึงข้าวพองไร้น้ำมันออกวางขาย

ต้องจองล่วงหน้าข้ามปี

ผลผลิตข้าวอินทรีย์ แบรนด์ “ข้าว ณ เชียงราย” ของกลุ่มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มรักสุขภาพที่สั่งซื้อเป็นประจำทุกปีในจำนวนสูงมาก แล้วติดต่อสั่งจองล่วงหน้าข้ามปี เนื่องจากผลิตเพียงปีละครั้งตามฤดูทำนา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ทุกชนิดจึงถูกจับจองไว้ล่วงหน้าแบบข้ามปี ในกรณีที่เป็นลูกค้ารายใหม่ คงต้องคุยรายละเอียดก่อน นอกจากการเปิดขายแบบทั่วไปและทางออนไลน์ ก็ยังมียอดออเดอร์ส่งให้กับภาคเอกชนรายใหญ่ ดังนั้น จึงหมดห่วงเรื่องการตลาด เพราะมียอดขายและรายได้ที่แน่นอน แล้วยังมีราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

ภายหลังจากประสบความสำเร็จจากแนวทางนี้ ทางกลุ่มฯ จึงได้ขอความร่วมมือไปยัง ท่านอาจารย์ ดร. ประกิต โก๊ะสูงเนิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเข้ามาเก็บข้อมูลทำวิจัยเรื่องการทำนาข้าวในน้ำไส้เดือน พร้อมได้รับการสนับสนุนและอนุเคราะห์จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ร่วมกับ สวทช. ภาคเหนือ มอบองค์ความรู้ให้แก่ชาวบ้าน ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งต้อม ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์ มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคต่อไป พร้อมยังเป็นกลุ่มตัวอย่างนำร่องการผลิตข้าวกล้องงอกเพื่องานวิจัยระดับประเทศอีกด้วย

“การปลูกข้าวแบบนาอินทรีย์ อาจมีความยุ่งยากและขั้นตอนมากมาย แต่หากผู้ปฏิบัติเกิดความชำนาญแล้ว ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป กลายเป็นความคล่องตัวและรวดเร็ว ที่สำคัญแนวทางนี้ช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แล้วยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงตามมาด้วย” คุณสุภาพรรณ กล่าว

บทสรุป ความพยายามของชาวบ้านทุ่งต้อมที่ผสมผสานธรรมชาติกับเทคโนโลยีนำไปสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ต้นทุนต่ำ ที่มีคุณภาพสูง นับเป็นบรรทัดฐานของผลสำเร็จด้วยความรักสามัคคีร่วมแรงกายใจกัน

ร้อยตำรวจโท สุเทพ ฉิมวัย ชายหนุ่มจากอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเป็นลูกชาวนาฐานะค่อนข้างยากจน ต้องดิ้นรนหาเช้ากินค่ำ ส่งตัวเองเรียนจนจบปริญญา หวังก้าวหน้าเป็นครู จับพลัดจับผลู ต้องกลายมาเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

บนรถไฟสายล่องใต้วันนั้น หนุ่มใหญ่วัยสาย หิ้วของพะรุงพะรัง เดินหาที่นั่งให้ตรงกับหมายเลขตั๋ว ในตู้นอนปรับอากาศชั้นหนึ่ง เดินทักทายพูดคุยกับคนที่มีที่นั่งอยู่ก่อนแล้วด้วยภาษาเสียงสำเนียงใต้

แต่แล้วผู้ชายในวัยที่ค่อนข้างเอียงไปทางตอนบ่ายแล้ว ทักมาเป็นภาษากลางออกเหน่อๆ ปนศัพท์แสง ที่เป็นคำที่ใช้ในภาษาใต้ “เลขที่นั่งน่าจะอยู่ติดกับผมนะ ผมเลขที่ ยี่สิบ ของคุณล่ะ”

หนุ่มวัยสายรู้ได้โดยทันที ผู้ชายในวัยบ่ายคนนี้ไม่ใช่คนใต้ น่าจะเป็นคนอ่างทอง ราชบุรี นครปฐมหรือไม่ก็ สุพรรณบุรี ที่พยายามกลมกลืนให้เข้ากับคนใต้

และหมายเลขที่นั่งก็ติดกัน ด้วยรอยยิ้มที่เป็นมิตรและพูดจาด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่นเป็นกันเอง หนุ่มใหญ่วัยสายตอบกลับไป

“หมายเลขยี่สิบเอ็ดครับ”

หลังพูดจาวิสาสะ เป็นที่คุ้นเคยกันแล้ว จึงต่างถามไถ่ชื่อแซ่ ว่าเป็นใครมาจากไหน

ชายหนุ่มวัยสายจึงได้รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ผู้ชายที่นั่งตรงหน้า เป็นตำรวจปลอมตัวมา ไม่ใช่ๆๆๆ เป็นอดีตนายตำรวจของสถานีตำรวจภูธรนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งตอนนี้เกษียณออกมาเป็นเกษตรกรเต็มขั้น

จึงทราบว่า ชายหนุ่มวัยบ่ายผู้นี้คือ ร้อยตำรวจโท สุเทพ ฉิมวัย ข้าราชการบำนาญ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จึงเรียกว่า พี่หมวดนับแต่นั้น

พี่หมวดเล่าว่า

ตัวเอง เป็นคนบ้านสวนขิง ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีอาชีพทำนา เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง ถึงปีที่เจ็ด (ระบบของการศึกษาในสมัยนั้น) ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน แล้วก็มาต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอบางปลาม้า ชื่อโรงเรียนสูงสุมารผดุงวิทย์ จนจบมัธยมศึกษาปีที่สาม หรือ ม.ศ.3 ในสมัยนั้น เนื่องจากทางบ้านยากจน เมื่อมาเรียนหนังสือที่ตัวอำเภอบางปลาม้า วันหยุดเสาร์อาทิตย์ ก็รับจ้างเกี่ยวข้าว ได้วันละ 15 บาท ดีใจมาก เพราะไม่ต้องขอเงินจากทางบ้านซึ่งนอกอำเภอออกไปไกล ต้องเดินเท้าใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่าจะถึงโรงเรียน ไม่มีรถจักรยานเหมือนคนอื่นเขา

จบจากโรงเรียนประจำอำเภอบางปลาม้า ใจคิดอยากจะเป็นครู จึงสอบเข้าที่วิทยาลัยครูนครปฐม จนจบ ป.กศ. สูง เรียนจบ สอบบรรจุครูไม่ได้ จึงเข้าสมัครเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจภูธร 7 จังหวัดนครปฐม เมื่อปี 2524 การเป็นตำรวจอยู่แปดเดือน เมื่อสำเร็จ ก็ได้บรรจุเป็นตำรวจภูธร ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอนานอน จังหวัดนครศรีธรรมราช และไม่เคยย้ายไปไหนอีกเลย

เมื่อตอนที่เข้ารับราชการเป็นตำรวจ ที่อำเภอนาบอนใหม่ๆ ตอนนั้นยังเป็นหนุ่ม ได้ตกหลุมรักกับสาวเชื้อสายจีน แห่งอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แต่งงานอยู่กินกันเป็นสามีภรรยา

ตอนที่เป็นตำรวจอยู่นั้น ก็ได้สมัครเรียนต่อปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จนจบ

พ่อตาเห็นว่าเป็นคนดีและขยันหมั่นเพียร จึงยกสวนยางพาราให้ประมาณยี่สิบไร่

ว่างจากเข้าเวร ก็เข้าสวน

ในช่วงรับราชการ ชีวิตวนเวียนอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเกษียณ ก็ไม่รู้สึกว่าไม่มีงานทำ เพราะงานสวนงานไร่มีให้ทำอยู่ตลอด เมื่อตอนที่ยางพารามีราคา ก็ได้เงินจากน้ำยางพารานี่แหละส่งเสียลูกเรียน

ออ…พี่มีลูกชายสองคน

คนโตจบนิติศาสตร์ และกำลังเรียนต่อเนติบัณฑิต อีกคนเรียนบริหารธุรกิจ ลูกพี่ทั้งสองคน ไม่มีใครคิดอยากเป็นตำรวจเหมือนพ่อเลยสักคน

หมวดเทพเล่าด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มๆ

ตอนที่น้ำยางราคาถูก และเล็งเห็นว่า ราคาของน้ำยางคงไม่ขึ้นสูงอีกแล้ว ตัดสินใจโค่นยางพาราทั้งยี่สิบไร่ แล้วลงปาล์มทั้งหมด

ทำไปทำมา ปาล์มที่ลงแรงปลูกก็ไม่ได้ราคา

ถึงอย่างไรก็ต้องสู้กันต่อไป พี่หมวดเทพเล่าต่อ

บ้านที่พัก ซึ่งอยู่ในตลาด มีพื้นที่ว่างตรงหน้าบ้านพอสมควร จึงคิดกับภรรยาว่า ทำอย่างไรให้พื้นที่ตรงนี้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้

ก็คิดกันไปต่างๆ นานา แต่มาลงเอยที่ ลงทุนปลูกผักไฮโดรโปนิก หรือที่เรียกกันว่าผักสลัด โดยที่ภรรยาเป็นคนศึกษาข้อมูลการผลิตและการตลาดทั้งหมด แต่เรื่องลงแรง พี่เป็นคนลงมือทำ พี่หมวดเทพเล่า

ตามที่ได้เรียนรู้มา การปลูกผักสลัดนั้นเขาไม่ใช้ดิน แต่พี่ใช้ดินและผงถ่านที่นำมาจากสวนปาล์ม ซึ่งในสวนปาล์ม ผมเผาตอยางพาราและไม้ยางพารา ซึ่งมีอยู่มากมาย เอามาใช้แทนปุ๋ย ตอนใหม่ๆ ผลที่ได้รับผักไม่สวยเหมือนที่เขาวางขายตามในห้าง แต่รับรองเรื่องความปลอดภัย เพราะพี่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแม้สักเม็ดเดียว

พี่หมวดเทพเล่าด้วยน้ำเสียงที่ภาคภูมิใจ แม้ว่าจะเกษียณจากตำรวจออกมาแล้ว พี่หมวดสุเทพยังไม่หยุดนิ่ง วิถีชีวิตอยู่กับสวนปาล์มกับแปลงผักสลัดทุกวัน แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม

ถึงวันนี้ ผักสลัดของพี่หมวดเทพ เป็นที่รู้จักของคนรักสุขภาพ ทั่วทั้งอำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

จะติดต่อสอบถาม หรือจะไปเยี่ยมเยียน พี่หมวดเทพบอกว่า ยินดีต้อนรับ และยินดีคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ตลอดทุกวัน ในบรรดาผักเชื้อสายจีน ที่เข้ามาแพร่หลายในไทย เดิมทีมี 16 ชนิด พวกตระกูล กะหล่ำ คะน้า ผักกาด ต้นหอม ผักชี กระเทียมใบ ตั้งโอ๋ ผักโขมจีน และก็มี “กุยช่าย” ที่เข้ามาแพร่หลายนานมาก ทั้งดอก ต้น ใบ เป็นที่นิยม พัฒนาการให้ผลผลิตออกมาเป็น กุยช่ายขาว ผัดเต้าหู้น้ำมันหอย หรือซีอิ๊วเปล่าๆ รสชาติเยี่ยมมาก คอข้าวต้มยามดึกชอบกันนัก ร่วมกับข้าวต้มแบน น้ำสีอำพัน เราเพื่อนกันตลอดไป

ผักกุยช่าย ต้นกุยช่าย ใบกุยช่าย หรือที่รู้จักกัน ชื่อสามัญ Chinese Chive หรือ Garlic Chives
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rotter ex Spreng
อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE
วงศ์ย่อย ALLIACEAE

พี่น้องเชื้อสายเดียวกับกระเทียมนั่นเอง มี 2 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว และ กุยช่ายขาว ลักษณะต่างกันที่สีต้นใบ เนื่องมาจากการดัดแปลงกรรมวิธีการปลูก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็คือ กุยช่าย เหมือนกันทุกอย่าง รสชาติกุยช่าย เผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ จีนแต้จิ๋วเรียก กูไฉ่ คนไทยภาคเหนือเรียก ผักแป้น ภาคกลางเรียก ผักไม้กวาด มีปลูกกันแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และแถบหิมาลัย อินเดีย เข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว คาดว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จนกลายเป็นผักไทย ที่นิยมกินกันมานาน หน้าหนาวกินทำให้ร่างกายอบอุ่นดีมาก กระตุ้นเซลล์ปลายประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้สารพัดอย่าง

กุยช่าย เป็นพืชผักมีอายุหลายปี สูง 30-50 เซนติเมตร มีเหง้า ซึ่งเป็นลำต้นใต้ดิน แตกกอ ชูใบขึ้นเป็นลักษณะกาบใบ อัดรวมกันเป็นลำ ดูเหมือนเป็นลำต้น ใบรูปขอบขนาน แบน ยาว 30-40 เซนติเมตร โคนใบเป็นกาบซ้อนสลับกัน

ดอก เป็นลักษณะดอกไม้กวาด ชาวภาคกลางนิยมกินดอกกุยช่ายมาก จึงเรียกว่า ผักไม้กวาด ดอกสีขาวออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ช่อแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 เซนติเมตร ชูยาวกว่าใบ ออกดอกที่ปลายช่อดอกในระดับเดียวกัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เจริญแตกออกเป็นริ้วสีขาว 6 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบมีเส้นสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้ 6 ก้าน ตัวเมีย 1 ก้าน ผลกลม โตประมาณ 4 มิลลิเมตร ผลแก่แตกตามรอยตะเข็บ มีเมล็ดแบน ช่อละ 1-2 เมล็ด ผิวเมล็ดขรุขระ สีน้ำตาล

คุณประโยชน์ทางโภชนาการของกุยช่าย ในส่วนของดอก และใบ มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น ในกุยช่ายหนัก 100 กรัม ดอกให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี ใบให้ 28 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ ดอกมี 34 กรัม ใบมี 39 กรัม คาร์โบไฮเดรต ดอกให้ 6.3 กรัม กับใบให้ 4.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กับ 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม และ 136.79 ไมโครกรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม กับ 98 มิลลิกรัม เหล็ก 1.6 มิลลิกรัม กับ 15 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม กับ 46 มิลลิกรัม ดอกมีวิตามินซี 13 มิลลิกรัม แหล่งรวมสรรพคุณทางอาหารมีมากมายขนาดนี้ คงเข้าใจกันได้ว่า ต้องมีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมากทีเดียว

ใบกุยช่าย นิยมนำมาทำขนมกุยช่ายแป้งสด มีทั้งแบบนึ่ง และทอด ผัดไทยถ้าขาดใบกุยช่ายที่ใส่ผัดไปพร้อมกับเส้นก๋วยเตี๋ยว และวางจานคู่กับถั่วงอก หัวปลี ผัดไทยก็จะเป็นเหมือนก๋วยเตี๋ยวผัดธรรมดาไป ใส่ผัดบะหมี่สำเร็จรูป ผัดหมี่ขาว ใส่หมี่กรอบ ดอกกุยช่ายผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ต้มเลือดหมู และอีกสารพัดเมนูอาหาร ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นยาบำรุงสายตา กระดูก ฟัน สรรพคุณทางยา

ใบช่วยลดคอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง บำรุงกระดูก ป้องกันความเสี่ยงมะเร็ง เพิ่มสมรรถนะทางเพศ กระตุ้นกำหนัด แก้อาการหลั่งเร็ว รักษาอาการไร้สมรรถภาพ ต้มร่วมกับหอยน้ำจืดรักษาโรคเบาหวาน วัณโรค หูเป็นน้ำหนวก หวัด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด

รากและใบ กินขับลมในกระเพาะ ท้องอืด ริดสีดวงทวาร บำรุงไต ป้องกันตับอักเสบ คั้นน้ำหยอดไล่แมลงเข้าหู ต้นกุยช่าย รักษานิ่ว ท้องเสีย เมล็ดใช้ป้องกันแมงกินฟัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ควรระวังอย่ากินมาก จะร้อนใน ยามเมื่อใดที่ดื่มเหล้ามามาก กุยช่ายจะเพิ่มความร้อนภายในมากขึ้น ยามท้องว่าง คนที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี กุยช่ายมีไฟเบอร์มาก ต้นใบแก่ยิ่งเหนียว ระบบย่อยทำงานหนักพึงระวัง

ต้นกุยช่าย เป็นพืชผักที่อายุยืนอยู่ได้หลายปีอย่างที่บอกไว้ตอนต้น เจริญเติบโตทั้งใบและดอก เมื่อตัดไปบริโภค ไปจำหน่ายแล้วจะงอกงามขึ้นมาใหม่ ทดแทนไปเรื่อยๆ หลายปี

การปลูกเป็นแปลง เมื่อเตรียมดินดีแล้ว ปลูกแม่พันธุ์ หลุมละ 2-3 ต้น ตัดไปและแต่งให้มีรากติด ระยะ 30×30 เซนติเมตร ปลูกครั้งเดียว ตัดใบ ดอกไปเป็นประโยชน์ได้ 5-6 ปี กุยช่ายเขียว จำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 30-50 บาท

มีร้านอาหาร ภัตตาคาร ต้องการให้เกษตรกร ทำกุยช่ายขาวให้เพื่อใช้เป็นผักประกอบเมนูอาหาร กุยช่ายขาว ทำยากหน่อย ราคาดีมาก กิโลกรัมละ 120-150 บาท มีเกษตรกรหลายรายทำแล้วมีรายได้ดี แต่มีหลักอยู่ว่า ทำแต่พอแรง และมีตลาดที่แน่นอน

การทำไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกกุยช่ายปกติ พันธุ์ใบเขียวนั่นแหละ แบ่งแปลงออกเป็น 3-4 ช่วง เพื่อผลิตเป็นกุยช่ายขาว โดยเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ คือ กระถางดินเผา ตัดต้นกุยช่ายเขียวช่วงที่ 1 ตัดให้ชิดผิวดิน ครอบกระถางดินเผาปิดไว้ ต้นกุยช่ายจะเจริญเติบโตตามปกติ แต่ไม่ปกติคือ ไม่ได้รับแสงแดด แสงสว่างเลย ใช้เวลาไม่ปกตินั้น 9-10 วัน เปิดครอบกระถาง ตัดกุยช่ายขาวได้ และก็ให้คำนวณระยะเวลาของช่วงอื่น ที่จะตัด โดยกำหนดวันตัดเขียว ครอบกระถาง วันตัดขาว จะได้กุยช่ายขาวส่งร้านอาหารต่อเนื่อง

จะใช้สูตรวิธีทำ กับกุยช่ายที่ปลูกไว้กินที่บ้านก็ได้ จำกัดแสง บำรุงปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ราดน้ำล้างปลาล้างเนื้อตามปกติ ทั้งกุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว ทั้งต้นใบดอก บำรุงร่างกายได้อย่างสุดยอด สังเกตคนเชื้อสายจีนสิ ส่วนใหญ่จะแข็งแรงดี มีอายุวรรณะ สุขะ พละ อาซ้อ อาม้า แก้มแดง หูแดง ลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง

การปรับเปลี่ยนจากเคมีมาเป็นอินทรีย์อาจดูเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับเกษตรกรบางราย ความจริงแล้วเกษตรอินทรีย์ถือเป็นวิถีเกษตรกรรมพื้นบ้านดั้งเดิมที่บรรพบุรุษปฏิบัติกันมายาวนาน แต่การถูกปลุกเร้าจากยุคอุตสาหกรรมมีผลทำให้แนวทางการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านต้องเปลี่ยนไป

แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เพราะครอบครัว “แจ่มไทย” ที่ตำบลเก้าเลี้ยว นครสวรรค์ ได้ยึดแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์มานานหลายสิบปี แล้วนำมาใช้กับข้าวและพืชไม้ผลหลายชนิด โดยเฉพาะ ฝรั่ง ช่วยทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ผลโตขนาดจัมโบ้ เนื้อฟู หวาน กรอบ เป็นฝรั่งอินทรีย์ที่มีความปลอดภัย เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มดูแลสุขภาพ จนปลูกขายไม่ทันถึงกับต้องสั่งจองล่วงหน้า

เริ่มทำนาข้าวอินทรีย์ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ แต่ราคาน้อย
หันมาปลูกฝรั่งเสริม
คุณพลอย-คุณสมบัติ แจ่มไทย และ น.ส. ปรียาณัชก์ แจ่มไทย หรือ คุณโน้ต ลูกสาว อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นครอบครัวที่มีอาชีพปลูกข้าวเช่นเดียวกับชาวบ้านรายอื่น แต่ความไม่พร้อมทางรายได้เพื่อซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ทำให้ครอบครัวนี้จำต้องผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากปุ๋ยหมัก น้ำหมัก รวมถึงสารชีวภาพจากวัสดุทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรสำคัญ หรือผัก ผลไม้ ที่ไร้ประโยชน์ไว้ใส่นาข้าว ทำให้ข้าวที่ปลูกมีคุณภาพต้นเขียว กอใหญ่ รวงสมบูรณ์ ได้เมล็ดข้าวยาว เมล็ดเต็ม มีรสอร่อย

ช่วงเวลาหลายปีกับปัญหาราคาข้าว สมัครเว็บบอลออนไลน์ ทำให้ครอบครัวแจ่มไทยต้องหาพืชหลายชนิดมาปลูกเพื่อสร้างรายได้จุนเจือ แต่ดูเหมือนไม่เป็นผล เมื่อต้องประสบปัญหาเช่นเดียวกับราคาข้าว กระทั่งตัดสินใจซื้อต้นพันธุ์ฝรั่งมาปลูก พร้อมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหลือจากการใส่นาข้าวมาใส่ต้นฝรั่ง ทำให้มีรสชาติอร่อย เนื้อแน่น ฟู

ครอบครัวนี้ เริ่มปลูกฝรั่งในปี 2554 ฝรั่งที่ปลูกเป็นพันธุ์แป้น ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เมื่อประสบผลสำเร็จเพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จึงเพิ่มพันธุ์อื่นอีกภายหลัง อย่าง พันธุ์กิมจู สาลี่ ไส้แดง และหวานพิรุณ ปลูกบริเวณใกล้พื้นที่ทำนา โดยทดลองปลูกคละพันธุ์ร่วมในสวนเดียวกัน แล้วทดลองนำกิมจูกับแป้นมาผสมกัน จนได้ผลฝรั่งที่มีความต่างทั้งขนาด รสชาติ มีความโดดเด่น จนได้ฝรั่งในลักษณะที่แตกต่างจากพันธุ์เดิม ไม่เหมือนพันธุ์อื่นๆ จึงตั้งชื่อว่า พันธุ์ “แจ่มไทย” ตามนามสกุลของครอบครัว

สารอินทรีย์ที่ใช้ในนาข้าว แบ่งใส่ฝรั่ง
สร้างคุณภาพ ปลอดโรคและศัตรูร้าย
คุณสมบัติ บอกว่า ตลอดชีวิตการทำเกษตรกรรมไม่ได้ใช้สารเคมีเลย ตั้งใจใช้สารอินทรีย์ เนื่องจากต้องการลดต้นทุน ขณะเดียวกันสารชีวภาพที่ผลิตถูกนำมาใช้กับการปลูกข้าวและพืชผัก รวมถึงไม้ผล ซึ่งภายหลังที่ใช้แล้วพบว่าได้ผลดีมาก โดยผลิตน้ำหมักชีวภาพและสมุนไพรไล่แมลง รวมถึงฮอร์โมนจากหอยเชอรี่ ตลอดจนปุ๋ยคอก

การปลูกฝรั่งอินทรีย์ เริ่มจากเตรียมแปลงปลูกต้องขุดหลุมลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ใส่ขี้เป็ดหมักและแกลบ ใส่ลงในหลุมปลูก ประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อหลุม ในอัตรา 2:1 ขณะเดียวกันปุ๋ยดังกล่าวใช้ใส่ในนาข้าวด้วย ช่วยให้ข้าวมีคุณภาพ ต้นข้าวเขียว เมล็ดสวย ซึ่งขี้เป็ดที่เหลือก็นำมาใส่ต้นฝรั่งและไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้ได้คุณภาพเช่นเดียวกัน

หลังจากนำต้นฝรั่งลงปลูกแล้ว ยังไม่ต้องบำรุงอะไร ให้รดน้ำทุก 7-10 วัน รดให้ชุ่ม น้ำไม่ขัง เพราะเป็นดินทราย ในระหว่างที่ต้นฝรั่งเจริญเติบโตอาจจะพบแมลงศัตรูมารบกวน โดยเฉพาะเพลี้ยแป้ง จึงต้องฉีดพ่นด้วยสารชีวภาพในกลุ่มสมุนไพรผสมกับปุ๋ยน้ำเพื่อฉีดพ่นทรงพุ่มทุกสัปดาห์

ทั้งนี้หากพบว่า มีจำนวนมากเกรงจะรับมือไม่ไหว ก็จะต้องฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น หรือถ้าหากยังดื้อยาอีก คงต้องปราบด้วยน้ำขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติเป็นด่างมาใช้ฉีดควบคู่ไปด้วย ส่วนแมลงศัตรูที่เจอคือ แมลงวันทอง หาวิธีกำจัดด้วยการล่อให้มาลงในกระป๋อง แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปใช้วิธีนำยากำจัดมาวางไว้ที่พื้นเพื่อให้แมลงมากิน ซึ่งได้ผลดีมาก ช่วยทำให้แมลงลดลงจนแทบไม่เจอ