นำหน่อกล้วยกับต้นพันธุ์ไผ่ลงปลูกในหลุมเดียวกัน

เหตุผลเพราะต้องการใช้ความชื้นจากหน่อกล้วยทำให้หลุมไม่แห้ง อีกทั้งจุลินทรีย์ในหน่อกล้วยจะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินเป็นสารอาหารคุณภาพให้กับไผ่ ช่วยทำให้การเจริญเติบโตเร็วและมีความสมบูรณ์ดีมาก ความจริงการปลูกไผ่ไม่จำเป็นต้องวางระบบน้ำ หากฝนทิ้งช่วง บรรทุกน้ำใส่รถเข้าไปในสวนไผ่เพราะมีพื้นที่เพียงพอให้รถเข้าไปได้ โดยรดน้ำ 2 สัปดาห์ครั้งเพียงพอ

ในแต่ละปี ใส่ปุ๋ยคอกต่อต้นตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้น ปลูกไผ่ใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ไม่ต้องใส่เคมี เนื่องจากในระยะยาวเกษตรกรจะไปขอใบรับรองแปลงอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งใบรับรองจะส่งผลทางด้านการตลาดเมื่อได้ผลผลิต อย่างเช่น หน่อไม้อินทรีย์

สารพัดประโยชน์ ที่สร้างรายได้ในสวนไผ่

เมื่อต้นไผ่เจริญเติบใหญ่ ภายในสวนไผ่ยังใช้ประโยชน์ต่อยอดปลูกพืชกินสดอย่างเห็ดได้อีก เพราะเป็นแปลงปลูกอินทรีย์อยู่แล้ว จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่ กับเห็ดโคนด้วย โดยเฉพาะเห็ดเยื่อไผ่ที่สามารถเพาะในแปลงไผ่ได้สำเร็จ ฉะนั้นแปลงไผ่ที่เกษตรกรปลูกไว้ นับเป็นแหล่งรายได้จากพืชหลายชนิด

หรือบางรายปลูกป่าไผ่แล้วล้อมรั้วตาข่ายเพื่อเลี้ยงไก่บ้าน นำหน่อไปบริโภคแล้วขาย ใช้ใบไผ่เป็นอาหารไก่ ช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร แล้วยังเป็นไก่และไข่อินทรีย์เพิ่มมูลค่าทางการตลาด นอกจากนั้น ใบไผ่ยังใช้เป็นอาหารของแพะ แกะ มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้บริโภค

ส่วนโรคและศัตรูที่พบมักเจอในช่วงแรกที่เริ่มปลูก ช่วงแตกหน่อและกิ่งแขนงโคนต้น ควรตัดแต่งกิ่งออกอย่าให้รก เพราะจะทำให้เกิดเพลี้ยหลายชนิด เพลี้ยเหล่านั้นจะกินที่กาบแข็ง เมื่อกาบร่วงเพลี้ยจะเป็นอาหารของมด พอต้นไผ่สูงขึ้นจะเจอหนอนม้วนใบ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะหนอนเจริญเติบโตช้ากว่าไผ่ สรุปว่าเรื่องโรค/แมลงไม่น่าเป็นห่วง

คุณประสานชี้ว่า ตอนนี้แผนที่กำหนดไว้เกินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งพื้นที่ปลูกและจำนวนผู้ปลูก สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือตามแผนที่ทางราชการกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน ชาวบ้านมีความกระตือรือร้นและตั้งใจมาก พวกเขามีความสุขภายหลังฝนตกแล้วเห็นไผ่แตกหน่อรู้สึกว่ายังไงไม่สูญเปล่า หน่อไผ่จะกินเองหรือขายก็ยังพอมีรายได้ มองเห็นความหวังแม้เพิ่งเริ่มต้น ต่างกับการปลูกมันสำปะหลัง พอเจอโรคใบด่างทำให้สูญเสียผลผลิต ขาดรายได้ เพียงได้เงินชดเชยจากรัฐไร่ละ 1,000 บาท”

ปลูกไผ่ไม่ได้เพียงสร้ายรายได้ แต่ยังช่วยฟื้นสภาพความสมบูรณ์ของดิน

อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมปลูกไผ่ของสำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว หวังให้เกษตรกรนำไผ่ไปใช้ประโยชน์ในทุกด้านตามกำลังความสามารถเพื่อสร้างรายได้ อาจเริ่มจากครัวเรือนก่อนเพื่อเรียนรู้ทำความเข้าใจในธรรมชาติของพืชชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากหน่อ ใบ ถ่านชีวภาพไบโอชาร์ น้ำส้มควันไม้ แล้วค่อยขยายผลในเชิงพาณิชย์เมื่อทุกอย่างพร้อม

การปลูกไผ่ไม่เพียงสร้างประโยชน์กับผู้ปลูกในแง่รายได้ แต่ยังช่วยให้ดินที่เสื่อมกลับมามีคุณภาพ การปลูกไผ่ไม่ได้ใช้สารเคมี จะเน้นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมจากถ่านชีวภาพไบโอชาร์ พร้อมกับน้ำส้มควันไม้ที่เกิดขึ้นจากการแปรรูปมาผลิตเป็นสารสกัดแมลงช่วยให้สภาพทางธรรมชาติมีความสมบูรณ์ เมื่อปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปแทนที่เป็นเวลานาน ทำให้ดินค่อยปรับฟื้นคุณภาพกลับมามีความสมบูรณ์ คราวนี้หากต่อไปต้องการปลูกพืชไม้ผลชนิดใดก็จะมีคุณภาพทั้งสิ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการลงทุนที่ยั่งยืน

หวังจัดตั้งไผ่แปลงใหญ่ เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืน

ในอนาคตหากสมาชิกปลูกไผ่ได้ตามเป้าหมายมีคุณภาพมาตรฐาน อาจมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นไผ่แปลงใหญ่เพื่อวางแนวทางการปลูกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดตามความถนัดของสมาชิกแต่ละราย เป็นการวางรากฐานเพื่อปูทางไปสู่การผลิตไผ่เชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจจากต่างประเทศหลายแห่งสนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปไผ่

คุณประสาน เสริมในตอนท้ายว่า โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการและอุปกรณ์จากหลายหน่วยงาน รวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยนำงานวิจัยจากสถาบันเหล่านั้นมาใช้ในกิจกรรมไผ่ ตลอดจนชาวบ้านได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ แต่ที่หนักใจคือเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะทุกกิจกรรมล้วนมีความจำเป็นต้องใช้เงินทั้งสิ้น ขณะที่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังต้องการความรู้และฝึกทักษะ

ชัยนาท เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สามารถทำการเกษตรได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ เช่น อ้อย นาข้าว รวมทั้งมีการทำสวนไม้ผลที่เป็นเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดอีกด้วยคือ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ผลกลม ผิวเรียบ เปลือกบาง รสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ไม่มีรสขม จึงทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดชัยนาทไม่น้อยเลยทีเดียว

คุณอำนวย คุ้มชนะ อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 8 ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวามาหลายทศวรรษ หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นผู้คร่ำหวอดในการปลูกส้มโอสายพันธุ์นี้ก็ว่าได้ ซึ่งที่สวนของเขาขายทั้งผลผลิตและกิ่งพันธุ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

ปลูกส้มโอขวาแตงกวามากว่า 30 ปี

คุณอำนวย เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกสมโอ้มาตั้งแต่ปี 2529 โดยสมัยก่อนที่จะเริ่มมาทำสวนส้มโอได้ทำนามาก่อน ซึ่งเห็นจากราคาข้าวที่ขายได้ในแต่ละปียังไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร ได้เกิดแนวคิดที่อยากจะปรับเปลี่ยนทำเกษตรอย่างอื่น จึงได้เริ่มมาทำสวนในเวลาต่อมา โดยค่อยๆ ปรับจากพื้นที่นาบางส่วนมาแบ่งเป็นพื้นที่ทำสวนสลับกับปลูกพืชแซมอื่นๆ ตามไปด้วย

“ตอนมาเริ่มทำสวนใหม่ๆ เริ่มแบ่งพื้นที่มาทำสวนประมาณ 5 ไร่ ซึ่งช่วงที่เรารอให้ส้มโอเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ เราก็ปลูกพืชอื่นแซมไปด้วย เช่น พริก มะเขือ ดอกไม้ เพื่อสร้างรายได้ระยะสั้น พอส้มโอออกผลผลิตให้เก็บขายได้ เราก็มองว่าการทำสวนสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ จากนั้นก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำเรื่อยๆ จนตอนนี้ทำสวนส้มโออยู่ประมาณ 60 ไร่” คุณอำนวย เล่าถึงที่มา

ให้ผลผลิตมากกว่า 100 ผล

การปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาให้ได้ผลผลิตที่ดี คุณอำนวย บอกว่า จะปลูกให้ส้มโอมีระยะห่างกันประมาณ 6 เมตร 3 วา โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 36 ต้นต่อไร่ ซึ่งส้มโอจะให้ผลผลิตต่อต้นประมาณ 100 ผลขึ้นไป น้ำหนักเฉลี่ยต่อผลประมาณ 1.5 กิโลกรัม

โดยในขั้นตอนของวิธีการปลูกจะขุดหลุมปลูกให้มีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร นำปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกเข้าด้วยกันมาโรยให้ทั่วก้นหลุม จากนั้นนำกิ่งพันธุ์มาปลูกใส่ในหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำดูแลตามปกติ ปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตอีกประมาณ 2-3 ปี ก็จะพร้อมให้ผลผลิตได้

“การปลูกส้มโอ ถ้าเราปลูกในปริมาณที่มาก ควรจะเลือกปลูกในช่วงฤดูฝน สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำอย่างจำกัด เพราะจะทำให้ต้นได้รับน้ำอย่างเต็มที่และเจริญเติบโตได้ดี ส่วนพื้นที่ไหนที่มีน้ำเพียงพอ บริหารจัดการน้ำได้ดี ก็สามารถปลูกได้ทุกช่วงฤดูกาล ซึ่งส้มโอก็จะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ผลผลิตยังออกไม่มาก แต่เมื่อไรที่เข้าสู่ปีที่ 6 เป็นต้นไป ผลผลิตก็จะมากกว่า 100 ผลแน่นอน” คุณอำนวย บอก

โดยภายในสวนส้มโอของคุณอำนวยจะเน้นให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ ช่วงที่ต้องให้น้ำบ่อยที่สุดจะเป็นช่วงฤดูร้อน เพราะส้มโอจะต้องการน้ำในการเจริญเติบโตสำหรับต้นที่ปลูกใหม่ ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นจะให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ สูตร 16-16-16 ใส่ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม โดยให้ปุ๋ยทุก 45 วันครั้ง

ต้นส้มโอที่พร้อมให้ผลผลิตคุณอำนวย บอกว่า จะต้องดูแลตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่เก็บขายได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนครึ่ง โดยจะดูแลเป็นพิเศษในระยะนี้ ซึ่งแมลงที่ต้องดูแลป้องกันเป็นพิเศษจะเป็นพวกเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบ โดยจะหมั่นสำรวจดูภายในสวนตลอดเวลา จากนั้นฉีดพ่นยาเพื่อป้องกัน

“การปลูกส้มโอถ้าเราดูแลรักษาใบได้ ไม่ได้มีโรคหรือแมลงมาทำลาย ใบมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาได้ดี เพราะใบเปรียบสเมือนห้องครัวที่ปรุงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ดังนั้น ถ้าใบมีความแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาดี ขอให้การปลูกควบคุมเรื่องโรคและแมลงให้ได้อย่างเดียว ก็จะทำให้คุณภาพต้นดี ต้นเมื่อสมบูรณ์ก็จะผลิตผลส้มโอมาให้เราได้เรื่อยๆ สามารถขายของที่มีคุณภาพได้ตลอด” คุณอำนวย บอก

รสชาติดี หวานอร่อยตลาดมีความต้องการ

ในเรื่องของตลาดขายส้มโอนั้น คุณอำนวย บอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ทำสวนและขายมากว่า 30 ปี ราคาถือว่ายังไม่ตก อย่างมากก็อยู่ที่ราคาเท่าเดิม แต่ถ้าช่วงไหนสินค้าขายดีราคาก็จะขึ้นไปบ้างเล็กน้อย โดยเริ่มแรกที่ทำสวนใหม่ๆ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท จากนั้นราคาก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท

“ราคาขายตั้งแต่ทำมาก็ยังไม่มีว่าจะลดลง ราคาอย่างมากก็เท่าเดิม อย่างปีที่แล้วสามารถขายได้ถึงกิโลละ 90 บาท ด้วยระยะเวลาที่เราทำการตลาดมานาน ทำให้เวลานี้ เราไม่ต้องไปส่งขายที่ไหน ก็จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเราถึงสวน เขาก็จะเช็คกับสวนเราเป็นระยะว่ามีผลผลิตไหม เราก็จะแบ่งขายให้กับลูกค้าเฉลี่ยกันไปทุกคน เพื่อให้ลูกค้ามีของขายไม่ขาดตอน” คุณอำนวย บอกถึงเรื่องตลาด

ซึ่งส้มโอที่ปลูกทั้งหมด 60 ไร่ ของคุณอำนวยสามารถให้ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 100 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาเป็นอาชีพ คุณอำนวย แนะนำว่า ต้องศึกษาเรื่องระบบพื้นที่ให้ละเอียดว่าสภาพพื้นที่ที่จะปลูกนั้นแฉะน้ำมากไหม เป็นพื้นที่ลุ่มหรือที่ดอนจะได้วางแผนการทำแปลงได้ถูกต้อง และอีกสิ่งที่สำคัญคือต้องมีใจรักที่จะดูแล เพราะส้มโอต้องหมั่นตรวจสอบดูการเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลงมีความสำคัญ ดังนั้น ถ้ามีใจรักที่จะทำการปลูกส้มโอขาวแตงกวาก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

คุณธนน อินต๊ะป้อ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้ามีประสบการณ์ประกอบธุรกิจทำน้ำหมักชีวภาพจำหน่ายที่กรุงเทพฯ หลังจากน้าสาวหุ้นส่วนใหญ่ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง เขาเดินทางกลับพะเยา ลงหลักปักฐานทำเกษตรอินทรีย์ สร้างธุรกิจด้วยความแตกต่าง สร้างแบรนด์สินค้าให้หน่อไม้ กระทั่งหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ภายใต้แบรนด์ “ธนน” ต่อยอดเป็นธุรกิจร้านอาหาร “กระทรวงการย่าง” มีเมนูหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเป็นเมนูดึงดูดลูกค้า (Signature) มีพืชผักอินทรีย์อันมีตรารับรองมาตรฐาน เป็นเมนูประกอบสร้างความรื่นรมย์ให้กับการรับประทาน

ปักหลักธุรกิจ ด้วยพันธุ์ไผ่บง
สมัยก่อนนั้น ธนน ทำงานอยู่กับน้าสาว ชื่อ ปรัชญาณีย์ โลหะสวัสดิ์ ที่กรุงเทพฯ พวกเขาทำน้ำหมักชีวภาพแบรนด์ “นวกุล” หลังจากนั้นเธอล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งตับ ธนน จึงหันเหชีวิตกลับคืนสู่บ้านเกิดที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีน้ำหมักชีวภาพเป็นต้นทุนทำการเกษตรจำนวนหนึ่ง คุณธนน เล่าว่า มีที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้คนเช่าทำไร่ข้าวโพด ธนนเริ่มวางแผนทำการเกษตรโดยศึกษาจาก Youtube เริ่มปลูกต้นมะพร้าวจำนวนกว่า 100 ต้น แต่ก็ประสบภัยแล้งจนต้นมะพร้าวที่ปลูกไว้ทั้งหมดตายเรียบ จึงหันมาศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ มองพืชพันธุ์ที่ทนแล้งและเติบโตทำการตลาดได้ สุดท้ายจึงเลือก “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง”

คุณธนน ปลูกพืชบนที่ดิน 5 ไร่ โดยไม่ใช้สารเคมีเป็นเวลากว่า 3 ปี ต้นไผ่บงหวานเริ่มเติบโต ระหว่างนั้นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องดินร่วมกับ ผศ.ดร. วาสนา วิรุญรัตน์ คณะปฐพีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเก็บตัวอย่างดินนำมาศึกษาวิจัยอยู่เสมอ เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา ศึกษาวิจัยเรื่องเกษตรอินทรีย์ร่วมกับ ผศ.น.สพ. สมชาติ ธนะ, ผศ.ดร. วาสนา พิทักษ์พล, ผศ.ดร. บังอร สวัสดิ์สุข คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

ในการปลูกไผ่บงหวานนั้น ให้ปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น ที่เว้นให้ระยะระหว่างแถวให้กว้าง เพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำงานได้สะดวก เช่น นำขี้เถ้าแกลบไปใส่ได้ง่าย สำหรับการปลูกก็ไม่ยุ่งยาก ขุดหลุมปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า หลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม เคล็ดลับในการปลูกไผ่บงหวาน ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ปลูกเสมอกับดินเดิม แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องปลูกให้ต่ำกว่าดินเดิม หรือทำเป็นแอ่งกระทะ ระบบน้ำดี จะทำให้หน่อไผ่กอใหญ่และอวบ หลังจากปลูกไผ่บงหวานเสร็จ จะต้องหมั่นตัดหญ้า จะมีการให้ปุ๋ยและให้น้ำเฉลี่ย เดือนละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกจะใช้ได้ทั้งขี้วัวเก่าหรือขี้ไก่ หรือแม้แต่เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรใช้ได้หมด เช่น ซังข้าวโพด กากอ้อย เปลือกถั่วต่างๆ กากยาสูบ ขี้เถ้าแกลบ สิ่งที่มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือนคือ จะต้องมีการสางลำไผ่ขนาดเล็กที่แตกมาจากตาหน่อเก่า หรือแตกมาจากตาบนลำไผ่เดิมออก โดยใช้มีดพร้าสับออกเลย เพื่อให้ข้างล่างโล่ง ให้ใบไผ่อยู่ส่วนบนเท่านั้น

หน่อไผ่บงหวานมีขนาดใหญ่ เกษตรกรที่ปลูกไผ่บงหวานใหม่ๆ จะมีหน่อเกิดขึ้นข้างใน ประมาณ 5-6 หน่อ ให้ขุดหน่อข้างในไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ ส่วนหน่อที่ออกมานอกกอก็สามารถเก็บขายได้ พอเมื่อเข้าฝนก็ต้องปล่อยให้หน่อนอกกอโตให้มันขึ้นเป็นลำไผ่

ส่วนความต้องการของตลาดโดยทั่วไปแล้ว ตลาดมีความต้องการหน่อไม้ไผ่บงหวานที่มีขนาดน้ำหนักของหน่อ 6-8 หน่อ ต่อกิโลกรัม เนื่องจากเมื่อซื้อเป็นของฝากแล้วจะดูน่าซื้อ คือขนาดไม่เล็กเกินไป จริงๆ แล้วหน่อไม้ไผ่บงหวานจะมีคุณภาพและรสชาติดีที่สุด เมื่อนำมาบริโภคสดๆ และเร็วที่สุด ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันความหวานจะลดลงเช่นเดียวกับข้าวโพดหวาน ดังนั้น การเก็บหน่อไม้จะมีการขุดขายกันแบบวันต่อวัน ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น ความหวานก็จะลดลง แต่จะเก็บไว้บริโภคนานวันควรจะต้มให้สุก แล้วนำมาแช่แข็งจะดีกว่า

ให้ออกตลอดทั้งปี ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง
การที่เกษตรกรทั่วไปปลูกแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกไผ่บงหวานมักจะปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยง น้ำก็ไม่ให้ หญ้าก็ไม่กำจัด ไม่มีการสางกอ มีการจัดการสวนที่ดี และมีการปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือน อาทิ ภายในกอจะต้องโล่ง จะต้องขุดหน่อที่อยู่ภายในกอออกมาบริโภคหรือจำหน่าย สิ่งสำคัญในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูก็คือ การจัดการเรื่องการให้น้ำ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นมาก

เมื่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งของคุณธนนเริ่มออกหน่อ ก็ได้รับใบรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จากสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา และได้รับตรารับรอง GAP หรือ Good Agriculture Practices จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณธนนศึกษาหาความรู้ต่อเนื่องด้วยการเข้าร่วมอบรม Young Smart Farmer (YSF) ศึกษาดูงานที่ morning farm ได้แนวคิดการทำเกษตรสมัยใหม่จาก ผศ. วิสูตร อาสนวิจิตร จึงมั่นใจว่าเราสามารถสร้างธุรกิจจากการสร้างแบรนด์ไผ่ได้

สร้างชื่อ “ธนน” เป็นแบรนด์สินค้า เริ่มสร้างแบรนด์สินค้า เพราะแบรนด์คือสิ่งสำคัญสำหรับการขาย หากคุณเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ มีความจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าของเขาคือสินค้าเกษตรอินทรีย์ เขาพยายามนำเสนอคุณสมบัติและเรื่องราวของหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง คิดถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ สุดท้ายเขาเลือกใช้ชื่อ “ธนน” อันเป็นชื่อตัวเองเพื่อสร้างแบรนด์

คุณธนน เล่าต่อว่า พื้นฐานการประชาสัมพันธ์เราต้องสื่อสาร ต้องกล้าพูด กล้าทำ เพื่อให้คนอื่นรู้และเข้าใจว่าเรากำลังคิดอะไร ทำอะไร ปลูกอะไร สินค้าของเขาเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วเพราะความแปลกใหม่ เขานำเสนอความแตกต่างอย่างมีคุณค่า นำเสนอหน่อไม้ที่สามารถรับประทานดิบได้ รับประทานแล้วไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น อาการปวดหัวเข่า เขาสามารถนำหน่อไผ่บงหวานประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เมื่อเริ่มต้นขายสินค้าผมกำหนดกลยุทธ์การขายหน่อไม้ป้องกันการแข่งขันด้านราคา ป้องกันการตีตลาด สร้างแนวคิดธุรกิจและการขายสินค้าที่โดดเด่น

“ยามเริ่มต้นทำการตลาด ผมนำหน่อไม้จำนวนหลายกิโลกรัมแจกในตลาด วันรุ่งขึ้นเขารับออเดอร์สั่งจองหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง สินค้าของเขาเป็นที่รู้จักเพราะการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก ไม่นานนักสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง “ธนน” ก็มีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเจ้าหน้าที่เกษตรสำนักงานเกษตรอำเภอแม่ใจ อาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา และผู้สื่อข่าวที่เข้ามาเยี่ยมเยือนเพื่อทำบทสัมภาษณ์เผยแพร่ในรายการโทรทัศน์” เจ้าของบอก

เปิด “กระทรวงการย่าง” ต่อยอดธุรกิจ
การเป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา มีข้อดีคือ มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำแนะนำ ทำให้แบรนด์ “ธนน” หน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเป็นที่รู้จัก เขาต่อยอดธุรกิจสร้างแบรนด์ “ธนน” ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าให้กับหน่อไผ่บงหวาน เปิดร้านอาหารชื่อ “กระทรวงการย่าง” บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา พิกัด 19.0742528,100.8074752 ทำอาหารเมนูหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เป็นเมนูดึงดูดลูกค้า (Signature) สร้างจุดเด่นให้ “กระทรวงการย่าง” เป็นความรื่นรมย์แห่งการรับประทาน ด้วยวัตถุดิบอะไรก็ได้ซึ่งสามารถนำมาย่างบนเตาให้เกิดเป็นความอร่อย ประเด็นสำคัญคือวัตถุดิบต้องปลอดภัย พืชผัก ผลไม้ ที่ใช้เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีตรารับรองมาตรฐานความปลอดภัย ลูกค้าหลายคนมักซื้อหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง “ธนน” ติดมือกลับบ้านเพื่อประกอบเมนูอาหาร

ยอดขายหน่อไผ่บงหวาน ภายใต้แบรนด์ “ธนน” มียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 10,000-20,000 บาท หน่อไผ่แบรนด์ “ธนน” จะมียอดจำหน่ายสูงในช่วงเดือนเมษายน เดือนละ 30,000 บาท ส่วนต้นไผ่กล้าพันธุ์ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง จะมีการสั่งซื้อช่วงก่อนฤดูฝน เฉลี่ย 50,000-60,000 บาท รวมรายรับหักค่าใช้จ่ายจะมีรายได้เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ถือเป็นรายได้พอเลี้ยงชีพในช่วงสถานการณ์โควิด

สำหรับแผนการในอนาคต คุณธนน เล่าว่า จะเริ่มเพาะกล้าพันธุ์หน่อไม้ชนิดอื่นเพื่อนำเสนอเป็นสินค้าตัวใหม่ ขยายช่องทางการตลาดโดยศึกษาวิจัยร่วมกับ อาจารย์ ดร. ปิยะพงษ์ สุปัญโญ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งออกหน่อไผ่หวานสู่ตลาดยุโรป นอกจากนี้ ผมยังศึกษาธุรกิจเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามาชมสวนไผ่บงหวานเพื่อประชาสัมพันธ์แบรนด์สินค้า “ธนน”

การทำเกษตรแบบผสมผสาน ไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกา หรือกฎตายตัวว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ทั้งนี้ เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน การผสมผสาน ขอให้ยึดหลัก สร้างความร่มรื่นให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

โดย คุณสุดชดา สุดสิริ บ้านเลขที่ 17/3 หมู่ที่ 6 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นอีกท่านหนึ่งที่สนใจการทำเกษตรผสมผสานพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืน แล้วตั้งใจเดินตามแนวทางนี้

เลือกมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพราะทำด้วยใจรัก ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ทำตามความฝันของตนเองและสามี เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายของครอบครัว เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ตนเองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่สนใจและสมาชิกในกลุ่ม นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสมาชิกต่อไป เพื่อแบ่งปันผลผลิตที่ได้ให้เพื่อนบ้าน มีความรัก มีความสามัคคี ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

การจัดสรรแบ่งพื้นที่การเกษตร

ด้านพืชผัก ปลูกไม้ 5 ระดับ ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้าน ทำคอกสัตว์
ไม้กินได้ นำมาเป็นอาหารและยาสมุนไพร เช่น ทุเรียน เงาะ ขนุน มะม่วง กล้วย มะนาว ข่า อ้อย มะพร้าว ไผ่ พริก มะเขือ ตะไคร้ ผักกินใบต่างๆ
ไม้เศรษฐกิจ นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ เช่น สักทอง พะยูง มะฮอกกานี
ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นการปลูกพืชที่หลากหลายจะสร้างระบบนิเวศที่สมดุลให้กับพื้นที่

ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงเป็ด ไก่ไข่ ห่าน

ด้านประมง มีการเลี้ยงปลาน้ำจืดหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาหมอ ปลาช่อน ปลากด ปลาบึก ปลาบ้า ปลาดุก ปลาไหล เทคนิคในการปลูกพืช

ก่อนปลูกต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เล็กน้อย
ก่อนปลูกไม้ผล รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 2snaps.tv ในอัตราส่วนเชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม และรำข้าว 4 กิโลกรัม หรือถ้าพันธุ์มีรากออกมายาวก็ให้ตัดแต่งรากทิ้งก่อน แล้วจึงนำต้นพันธุ์มาลงหลุม หากไม่ตัดรากที่ยาวทิ้งก่อนเวลาเราปลูกรากจะม้วนอยู่ในหลุม ทำให้ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตและจะตายในที่สุด มีรายได้จากการขายไข่เป็ด ไก่ไข่ ปลา ผักกินใบต่างๆ ปลาแปรรูป หน่อไม้สด หน่อไม้ดอง กล้วย และพริกขี้หนู

วิธีการการเพิ่มผลผลิต

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าใช้ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราและช่วยยับยั้งการเกิดเชื้อราในดิน ป้องกันโรคแอนแทรกโนส (โรคกุ้งแห้ง) ในพริกขี้หนู
การทำน้ำหมักจากปลาทะเล ช่วยให้ต้นไม้มีภูมิต้านทานโรคได้ดี ช่วยปรับให้เป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม ช่วยให้การเจริญเติบโตของพืช ลูกดก ขั้วเหนียว
น้ำหมักจากหน่อกล้วย ช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินให้ร่วนซุย พืชเจริญเติบโตได้ดี ช่วยดับกลิ่นของมูลสัตว์ ปรับสภาพน้ำในบ่อปลา ทำให้เจริญเติบโตดี อัตราการตายน้อยลง
น้ำหมักชีวภาพสารเร่งดอก โดยทำจากผักสีเหลือง เช่น มะละกอ กล้วย ฟักทอง ช่วยให้ติดดอกเพิ่มการแตกยอดและขั้วเหนียว
น้ำหมักจากหัวปลี ช่วยเรื่องการหลุดร่วงของดอกและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

การเพาะเลี้ยงแหนแดง

เลี้ยงในกระชังบกและบ่อพลาสติก ใช้มูลวัวใส่ลงไปเพื่อเป็นอาหารให้แหนแดง ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของแหนแดงเร็วขึ้น

สามารถนำมาผสมกับอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา ในอัตราส่วน 1 : 1 ช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงได้มาก มีโปรตีนสูง ถ้า

นำไปเลี้ยงปลาไม่ต้องผสมอาหาร ปลาจะโตเร็ว ถ้ามีเยอะนำไปใส่ต้นไม้ที่ปลูกเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดได้ การทำกิจกรรมเกษตรผสมผสานบนพื้นที่ 3 ไร่ สามารถลดรายจ่ายและสามารถสร้างรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 8,000-10,000 บาท

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตรัง โทร. 089-871-6304 หรือติดต่อ คุณสุดชดา สุดสิริ โทรศัพท์ 095-350-6831