นโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมเกษตร 4.0 ไทยแลนด์ 4.0 ดีต่อสุขภาพ

มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ น่าจะส่งเสริมการทำวิจัยต่อยอดให้สำเร็จ ให้ได้ผลสรุปการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่นำไปใช้ประโยชน์กับคนได้จริง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศ เชื่อมกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจันทบุรีเมืองมหานครผลไม้ อนาคตทุเรียน ปลูกมาก ขายดีไปทั่วโลก พื้นที่การปลูกทุเรียน มีทั้งในไทย เพื่อนบ้าน กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน รวมทั้งเพื่อนบ้านที่ปลูกมาก่อนแล้ว

อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย จะเอาอะไรไปบอกว่าเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากไทย หรือเจาะลึกว่าเป็นหมอนทองจันทบุรี …หากมีงานวิจัยต่อยอดให้ได้คำตอบว่า ทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีสัญลักษณ์ของคุณภาพที่เหมาะกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ แตกต่างจากทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกทั่วๆ ไป นั่นคือ ความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่นหมุนเวียนกันดั่งอดีต” รศ.ดร. สุมิตรา กล่าว

ด้าน ดร. วศิน ยุวเตมีย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวิจัยนี้มีประโยชน์มากและเหมาะกับโอกาสของประเทศไทยขณะนี้ ในเรื่องของการทำตลาดทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย เพราะระดับความสุกที่พอดี ที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์และสารพิเศษในโปรตีนมากกว่า ทำให้ทุเรียนหมอนทองไทยแข่งขันกับทุเรียนมูซันคิงของมาเลเซียได้ เพราะมูซันคิงเป็นทุเรียนที่สุกเกินพอดี ข้อมูลวิจัยนี้นักการตลาดสามารถใช้ทำเชิงการตลาดได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ผลวิจัยเรื่องผลไม้เมืองร้อน ยังเป็นประโยชน์กับแพทย์แผนโบราณ ด้านเภสัชกรรม น่าเสียดายที่คนไทยรับรู้เรื่องนี้น้อยมาก ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบูรพากำลังทำข้อมูลงานวิจัยที่อ่านเข้าใจง่ายๆ ทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อจะมีการหารือกันในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับภาคเอกชน ทั้งด้านแพทย์แผนโบราณและด้านการตลาดทุเรียนเพื่อนำผลวิจัยนี้ไปใช้ทางปฏิบัติจริง

“การต่อยอดงานวิจัยของ ศ.ดร. ชีล่า เรามีต้นทุนที่ดีจากงานวิจัย มีการพิมพ์เผยแพร่ในต่างประเทศ มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ นักวิจัยไทยเราน่าจะทำงานวิจัยต่อยอดได้ แม้ว่ายังไม่เป็นที่ยอมรับถึงระดับนานาชาติและมีเครือข่ายเท่า ศ.ดร. ชีล่า แต่นักวิชาการของไทยที่เก่งๆ สนใจจริงๆ น่าจะทำได้ เพื่อให้สามารถนำผลวิจัยออกไปใช้ได้ในเชิงการตลาด ตอนนี้เป็นช่วงขาขึ้นของราคาทุเรียน น่าจะเป็นโอกาสดีที่นำประเด็นงานวิจัยไปคุยให้ถูกที่ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับภาคสังคม ภาคธุรกิจ ซึ่งช่องทางที่จะหาทุนวิจัยมาสนับสนุนไม่น่ายากเกินไป น่าจะมีช่องทางเป็นไปได้” ดร. วศิน กล่าว

อาจารย์ปราโมช ร่วมสุข ประธานสถาบันทุเรียนไทย อดีตประธานกรรมการหอการค้าภาคตะวันออกและจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยเราต้องหาตัวตนให้พบว่า มีผลไม้อะไรดีแตกต่างไปกว่าประเทศอื่นๆ เช่น ถ้า กัมพูชา ต้อง มะม่วงแก้วขมิ้น ไทยควรจะเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่สามารถสร้างมูลค่าได้สูง จากผลวิจัยที่มีลักษณะพิเศษทั้งสารออกซิแดนต์ ต้านอนุมูลอิสระ และสารพิเศษที่มีโปรตีน ซึ่งงานวิจัยต่อไปน่าจะวิจัยให้เห็นผลกับมนุษย์ ซึ่งเมืองไทยศักยภาพการวิจัยอาจจะยังไม่พอ นักวิจัยไทยไม่สามารถทำได้เนื่องจากเรื่องนี้ต้องเป็นนักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ และนักวิจัยต้องมีเครือข่ายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาช่วยงานวิจัย ศ.ดร. ชีล่า โครินสไตน์ เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทั่วโลก งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นที่ยอมรับ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับผลงานวิจัยนี้ ซึ่งที่ผ่านมาใช้เวลาทำงานวิจัยถึง 9 ปี ควรสนับสนุนงบประมาณต่อยอดงานวิจัยให้สมบูรณ์ ให้งานวิจัยนี้มีผลกับการบริโภคทุเรียนหมอนทองของคน นั่นคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสูงให้กับทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย เป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน

“ทุกวันนี้กระแสทุเรียนฟีเวอร์ ทำให้เกษตรกรหลงทางเสาะหาทุเรียนพันธุ์โบราณ หรือพันธุ์แปลกๆ มาปลูก ซึ่งจะเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม่ใช่เชิงเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีโอกาสดีที่มีงานวิจัยออกมารองรับ หากวิจัยต่อยอดถึงผลการบริโภคต่อคน จะทำให้ตอบคำถามผู้บริโภคทุเรียนได้ว่า ทำไม ต้องรับประทานทุเรียนหมอนทอง นั่นคือ จุดขายสุดยอดทุเรียนหมอนทองของไทย ซึ่งจะทำให้การปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทยยั่งยืน โดยเฉพาะกับจังหวัดจันทบุรีที่ยุทธศาสตร์ของประเทศปั้นให้เป็นเมืองมหานครผลไม้ ต่อไปเกษตรกรไม่ต้องโค่นยาง โคนเงาะ ปลูกทุเรียน และอนาคตวันหนึ่งอาจจะมีการโค่นทุเรียนไปปลูกพืชอย่างอื่นอีก อย่างที่เกิดขึ้นเป็นวังวน” อาจารย์ปราโมช กล่าวทิ้งท้าย

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมสนใจการเตรียมพร้อมต้นลำไย ก่อนจะทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อบังคับให้ลำไยออกดอกติดผลนอกฤดู โดยต้นไม่โทรมนั้นต้องปฏิบัติอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ

ตอบ คุณวรวุฒิ เอนกพันธุ์

วิธีบังคับให้ลำไยออกดอกนอกฤดู จำเป็นต้องบำรุงให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เริ่มจากการคัดเลือกต้น หรือสวนลำไย ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ตัดแต่งกิ่งกระโดงหรือกิ่งแนวตั้งออก แม้กิ่งแนวราบที่ไม่สมบูรณ์ก็ให้ตัดทิ้งเช่นเดียวกัน บำรุงด้วยปุ๋ยคอกพร้อมปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอนินทรีย์ และกำจัดวัชพืชออกให้หมด พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แล้วจึงราดสารโพแทสเซียมคลอเรต (Kolo3) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร หรือ 4 ปี๊บ ละลายให้เข้ากัน ควรเติมสารบอแรกซ์ลงไปเพื่อลดความสามารถในการติดไฟบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว

ขณะใช้สารต้องแต่งกายให้รัดกุม โดยสวมเสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ สวมรองเท้าบู๊ต สวมหมวก และถุงมืออย่างมิดชิด พร้อมสวมแว่นตาชนิดกระชับใบหน้า สำหรับสารโพแทสเซียมคลอเรตนั้น ต้องบรรจุในภาชนะที่มิดชิด แห้ง และไม่อยู่ในที่ร้อนอบอ้าว

ประการสำคัญระหว่างการใช้สาร ห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากตามด้วยกรดฮิวมิกจะยิ่งดี ระยะนี้ต้องป้องกันกำจัดแมลงที่จะเข้ามาทำลาย และอย่าให้ขาดน้ำ ภายใน 15-20 วัน ต้นลำไยจะออกดอกสะพรั่ง

ลำไยต้นนี้หรือสวนนี้ เมื่อผลิตนอกฤดูแล้ว ต้องเว้นไม่บังคับให้ออกผลนอกฤดูซ้ำอีกเป็นเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันต้นลำไยทรุดโทรม หมั่นดูแลอย่าให้ขาดน้ำ แล้วคุณจะได้ลำไยที่มีคุณภาพนอกฤดูดังความตั้งใจ

“อินทผลัม” เป็นหนึ่งในพืชผลตระกูลเดียวกับมะพร้าว และ สะละ ซึ่ง คุณกรรภิรมย์ ทองประสาน เจ้าของสวนแม่รัตน์อินทผลัม ที่กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร วัย 41 ปี มีประสบการณ์การทำสวนอินทผลัมมา 14 ปี บนพื้นที่ 3 ไร่เศษ ทำให้วันนี้เธอพร้อมที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ กูรู ทางด้านอินทผลัม

โดยเธอเล่าให้ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ฟังด้วยว่า จากประสบการณ์ในการเป็นเกษตรกรที่คลุกคลีอยู่กับการปลูกอินทผลัมมานาน ทำให้วันนี้ให้ความสำคัญกับงานวิจัย โดยกำลังขอทุนงบประมาณร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในการพัฒนาสายพันธุ์เคแอลวัน

เพราะอินทผลัมที่สวนส่วนใหญ่มีสายพันธุ์มาจาก คุณศักดิ์ ลำจวน หรือ โกหลัก อดีตบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ปลูกอินทผลัมกินผลรายแรกของเมืองไทย ภายใต้ชื่อสายพันธุ์เคแอลวัน

“ตอนนี้ รองบประมาณอยู่ เราให้ตัวหน่อ และให้สายพันธุ์เคแอลวัน ในการทำเนื้อเยื่อด้วย ซึ่งเคแอลวัน เป็นของไทย เป็นของศิษย์เก่าแม่โจ้ เป็นสายพันธุ์แรกๆ เราให้ทางเกษตรศาสตร์ดู ไม่เจอเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะบางสวนเอาพันธุ์จากเราไป เราให้ไปตั้งชื่อได้เลย แต่เราก็บอกว่า เอาสายพันธุ์มาจากโกหลัก ส่วนเนื้อเยื่อ จะได้ตามต้นแม่ของเขาเลย อย่างสายพันธุ์เคแอลวันของโกหลักที่เราได้มานั้นเป็นสายพันธุ์แท้มาเลย และจะมีการนำไปพัฒนา ซึ่งเราได้เมล็ดของต้นแม่ เอาเกสรผสม และเอาเมล็ดของเขาไปเพาะ ตอนนี้อาจจะได้ผลสีแดงมา อย่างที่สวนได้เป็นผลเขียวอร่อย เป็นลูกยาว ไม่กลม ซึ่งการนำพันธุ์ไปพัฒนาและวิจัยยังไม่ได้คุยกับโกหลักเป็นการส่วนตัว เพราะไปดูแล้วทำได้ในส่วนของการพัฒนาสายพันธุ์” คุณกรรภิรมย์ เล่าให้ฟัง

คุณกรรภิรมย์ บอกว่า มีหลายคนที่เลือกชิมแต่ละสายพันธุ์ ถ้าสายพันธุ์ที่หากินง่ายสุดคือ เดด เรดนัวร์ ซึ่งได้รับฉายาว่า เป็นราชินีแห่งอินทผลัมผลแห้งนั้น อยู่ที่กิโลกรัมละ 180-200 บาท หากินง่ายสุด แต่ถ้าเป็นเมดจูล (Medjool) อยู่ที่ กิโลกรัมละ 700-1,200 บาท เป็นสายพันธุ์จากตะวันออกกลาง แต่สายพันธุ์เหล่านี้มีห้องแล็บอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ต้องส่งเนื้อเยื่อมา ส่วนสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย เป็นสายพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) และอัมเอ็ดดาฮาน (Um Ed Dahan)

ส่วนความรู้เหล่านี้ คุณกรรภิรมย์ เปิดใจอย่างเป็นกันเองว่า มาศึกษาเองทั้งหมด จากการทดลองปลูกอินทผลัมที่สวน โดยที่ไม่ได้จบทางด้านเกษตรกรรม และครอบครัวมาจากข้าราชการ

“คุณพ่อเป็นข้าราชการ อยู่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และเกษียณอายุก่อนหมดเวลา หรือเออร์ลี่ และพอออกมาก็อยากผันตัวเองมาทำสวน ซึ่งอย่างที่สวนของคุณแม่รัตน์เป็นแม่ของสามี มีพื้นที่ 3 ไร่เศษ สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ และประหยัดค่าแรงงานในการจัดเก็บผลผลิต อย่างถ้า อินทผลัม ออกผลต้นหนึ่ง 200 กิโลกรัม ต่อปี เราปลูก 1,000 ต้น ค่าแรงงานต้องใช้เท่าไร ถ้าเราใช้เทคโนโลยีก็คือ เครื่องจักรในการขึ้นลงเก็บเท่านั้น ซึ่งการทำสวนอินทผลัมนั้น ไม่ได้ศึกษาจากไหน แต่ทดลองผิด ทดลองถูกจากสวนของตัวเอง บางสวนใช้ขี้ค้างคาว ถ้าภูมิประเทศในจังหวัดสมุทรสาคร ได้น้ำทะเล ได้น้ำกร่อย ศึกษาจากเรื่องดินเสร็จ พอมีลูกค้าทางภาคอีสานมาที่สวน ก็แนะนำให้ใช้เกลือผสม ให้ดินชูรสขึ้นมา ผลผลิตก็จะมีความหวานมากขึ้น รสชาติดีขึ้น” คุณกรรภิรมย์ เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี

ส่วนปัญหาที่พบในการทำสวนอินทผลัมนั้น ส่วนใหญ่มาจาก “ด้วง” ซึ่ง คุณกรรภิรมย์ อาจใช้สารเคมีบ้างเล็กน้อยผสมกับการเผาหญ้าเพื่อใช้ควันไล่แมลง

“ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องด้วง อาจใช้สารเคมีบ้าง แต่ถ้าเรามีปริมาณน้อยก็มีเวลาสำรวจได้ ได้แต่ไล่ และอีกตัวหนึ่งใช้ควันเผาขยะ มันจะไล่ด้วงได้ เรียกภูมิปัญญาเก่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ แต่ปัจจุบัน ทางหน่วยงานท้องถิ่นจะไม่ให้เผา เพราะรบกวนต่อผู้อยู่อาศัย แต่เราก็ทำ โดยใช้อ้างอิงว่า นำควันไล่ตัวด้วง” คุณกรรภิรมย์ เล่าให้ฟัง

วิธีการปลูก

สำหรับวิธีการปลูกอินทผลัมนั้น คุณกรรภิรมย์ เผยเคล็ดลับว่า อินทผลัมเป็นพืชตะกูลเดียวกับมะพร้าว เหมือนกับสะละ ต้องมีเกสรตัวผู้ในการผสมพันธุ์ ที่สวนมีการผสมพันธุ์เอง เพราะธรรมชาติของอินทผลัม ตัวผู้จะออกก่อนประมาณ 1 เดือน เมื่อตัดเกสรตัวผู้มาเก็บไว้ และเคาะจากละอองของเขา จากนั้นนำไปใส่กับพืชตระกูลเดียวกัน โดยไม่รอธรรมชาติ ก็จะให้ผลผลิตที่ดี

“เราตัดเกสรตัวผู้มาเก็บไว้เหมือนกับตัดดอกไม้ ไปใส่กับพืชตระกูลเดียวกัน โดยไม่ต้องรอผึ้ง เพราะถ้ารอผึ้ง ลูกไม่ติด ได้ผลผลิตไม่เยอะ สู้เราผสมให้เองไม่ได้ แต่ถ้ามีพื้นที่เป็นพันไร่ เขาจะเลี้ยงผึ้ง เพราะเขาผสมไม่ไหว มันไม่ยาก แต่จะยากตอนเก็บ ที่สวนใช้คนงาน 2 คน คือคนโกยท้องร่อง กับคนเก็บหญ้า เพราะต้นอินทผลัมไม่ชอบใบไม้ใบหญ้าที่ขึ้นรกต้น ซึ่งอย่างตอนนี้ที่สวน ต้นอินทผลัมต้นใหญ่ออก 30 ทะลาย บางทะลายมีน้ำหนัก 20-30 กิโลกรัมต่อทะลาย แรงผู้หญิงไม่เยอะเหมือนผู้ชาย ก็จะจ้างคนโยง พอเก็บผลผลิตเสร็จ ก็จ้างคนตกแต่งใบ ให้ปุ๋ยขี้นก” คุณกรรภิรมย์ เล่าให้ฟัง

เคล็ดลับการทำสวนอินทผลัม

คุณกรรภิรมย์ แนะเคล็ดลับในการทำสวนอินทผลัมว่า ต้องมีใจรัก และอย่าคาดหวังผลผลิตมากนั้น เพราะถ้าไม่ได้อย่างที่คาดหวังจะเสียใจ และไม่ควรปลูกอินทผลัมตามกระแส เพราะจะเป็นการกดดันตัวเองในส่วนของการลงทุนทำสวนอินทผลัม นอกจากนี้ ยังใช้เทคนิคการทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นผ่านการทำตลาดด้วยเทคโนโลยี 4จี

“ไม่เคยมีลูกค้าคนไหนมาด่าเลยในเฟซบุ๊ก อย่างที่สวนขายออนไลน์ด้วย อันดับแรกถามลูกค้าก่อน กินรสไหน อันนี้ลูกเล็ก รสชาติหวาน กรอบ เอาไหม เขาเชื่อทันที แต่อันนี้ลูกใหญ่ รสชาติถูกปากเอาไหม”

กลยุทธ์การตลาด

คุณกรรภิรมย์ ฝากกลยุทธ์ในการทำสวนอินทผลัมให้ประสบความสำเร็จด้วยการตลาดที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ ทำให้ 14 ปี ของสวนแม่รัตน์ ที่กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับเชิญจากจังหวัดให้เป็นโอท็อปของจังหวัด ประเภทผลไม้ของแปลก

สนใจแวะชิม อินทผลัม “สวนแม่รัตน์” และพูดคุยถึงเทคนิคการปลูกอินทผลัมตามแบบฉบับเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ 3 ไร่เศษ ได้ที่ คุณกรรภิรมย์ ทองประสาน เบอร์โทร. (080) 669-2932 และ (061) 623-6194

18 สิงหาคม 2561 นี้ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดสัมมนาอินทผลัมกินผล ดูรายละเอียดในเล่ม แล้วรีบจองที่นั่งด่วน ช้าอาจเต็ม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 ลงพื้นที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสีชมภู จ.หนองคาย โชว์อีกหนึ่งแนวทางการทำนาประณีตด้วยวิธีปาเป้า ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี แถมผลผลิตดี กำไรงาม พร้อมเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้และให้คำแนะนำปรึกษากับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาดูงานแบบของเห็นของจริง

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การปลูกข้าวในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ทั้งการปักดำ การหว่านข้าวแห้ง และการหว่านข้าวงอก ที่แตกต่างกันออกไปซึ่งศูนย์ข้าวชุมชน ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรผู้ปลูกพันธุ์ข้าว กข 6 ต้นเตี้ย และ กข 22 จังหวัดหนองคาย
ที่ใช้ภูมิปัญญาและเทคนิคด้วยวิธีการทำนาแบบปาเป้า ซึ่งเป็นการปลูกข้าวแบบประณีต เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตข้าว โดยใช้ตลาดนำการผลิต อีกทั้งยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่สนใจอีกด้วย

จากการลงพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี (สศท.3) ณ ศูนย์ข้าวชุมชนหมู่ที่ 8 บ้านสีชมภู ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งมีนายสุระพงค์ ผุดผ่อง เป็นประธานศูนย์ ที่ได้เรียนรู้และทดลองการทำนาปาเป้าจนประสบผลสำเร็จ สามารถลดต้นทุนลงจากเดิมที่เคยทำนาดำใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 10-15 กิโลกรัม/ไร่ เหลือเพียง 3 กิโลกรัม/ไร่ (ลดลงจากเดิม 450 บาท/ไร่ เหลือ 90 บาท/ไร่) และลดการใส่ปุ๋ยจากเดิม 100 กิโลกรัม/ไร่ เหลือ 11 กิโลกรัม/ไร่ (ลดลงจากเดิม 1,600 บาท/ไร่ เหลือ 176 บาท/ไร่) โดยผลผลิตที่ได้มากกว่าการทำนาทั่วไปประมาณ 591 กิโลกรัม/ไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2560/61 จังหวัดหนองคายอยู่ที่ 364 กิโลกรัม/ไร่)

ด้านนางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวเสริมว่า จากการพูดคุยกับนายสุระพงค์ประธานศูนย์ ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนครอบครัวตนเองได้ทำนาและปลูกยาสูบ และด้วยความที่เป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว จึงได้ศึกษาดูงานจากศูนย์วิจัยข้าวหนองคายเมื่อปี 2554 และได้เรียนรู้การทำนาเพื่อเพาะปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวขายทดแทนการทำนาเพื่อขายข้าวให้กับทางโรงสี จนผ่านการรับรองจากศูนย์วิจัยข้าว แต่ยังคงมีความสนใจในองค์ความรู้ต่างๆ มาต่อเนื่อง จนกระทั่งได้พบวิธีการทำนาแบบประณีตด้วยการทำนาปาเป้า มีการลองผิดลองถูกด้วยตัวเองจนเข้าใจ และปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้ทดแทน
การใช้สารเคมี ซึ่งจากการลงทุนผลิตข้าวในปีเพาะปลูก 2560/61 ในพื้นที่การเพาะปลูกข้าว 3 ไร่ ด้วยวิธีการทำนาปาเป้า มีต้นทุนรวม 3 ไร่ จำนวน 8,528 บาท ผลผลิต 2,865 กิโลกรัม นำไปขายเป็นเมล็ดพันธุ์ 2,225 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นเงิน 66,750 บาท ซึ่งเมื่อหักต้นทุนแล้ว ได้กำไรสุทธิ 58,222 บาท/ปี นอกนั้นเก็บไว้บริโภค 630 กิโลกรัม และทำพันธุ์ของตนเอง 10 กิโลกรัม

สำหรับการทำนาปาเป้าคล้ายคลึงกับการทำนาโยน แต่ได้พัฒนาเทคนิคจากการโยนขึ้นฟ้าเป็นการโยนต้นกล้าลงแปลงนาที่มีการเตรียมดินอย่างประณีตโดยตรงแทน สามารถกระจายระยะต้นข้าวได้ดี โดยมีขั้นตอนในการเตรียมถาดหลุมสำหรับเพาะต้นกล้า ส่วนการเตรียมดินในแปลงนาทำเช่นเดียวกับการทำนาโยน ที่สำคัญการทำนาปาเป้าสามารถกำหนดระยะแถวของต้นข้าวให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา กำจัดวัชพืช ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ลดการใช้สารเคมีพวกยาฆ่าแมลงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอีกด้วย

ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถขอรับคำแนะนำหรือศึกษาดูงานได้ที่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสีชมพู พื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านสีชมภู ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายสุระพงค์ ผุดผ่อง ประธานศูนย์ข้าวชุมชน

ปัจจุบัน มีผู้สนใจเรื่องของผักมีคุณภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ในอาหารสุขภาพนั้นก็จะประกอบไปด้วยผักที่หลากหลายชนิด ที่ให้สารอาหารแตกต่างกันไป เทคโนโลยีชาวบ้านจึงอยากแนะนำ “ผักในโรงเรือน” ผักที่มีคุณภาพที่หลายคนต้องอยากลอง เป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับวิถีชาวบ้านอย่างลงตัว เกิดเป็นผักที่ปลอดสารพิษ มีการผลิตน้ำหมักจากผักและผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดประโยชน์ดีกว่าการทิ้งให้สลายไป

คุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล่าว่า สวทช. เริ่มทำงานร่วมกับชุมชนบ้านหนองมัง ตั้งแต่ ปี 2549 พัฒนาเป็นชุมชนหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีการทำเกษตร นำความรู้และเทคโนโลยีการปลูกพืชที่เหมาะสมส่งเสริมให้ชุมชนพัฒนาเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปลูกพืชแบบดั้งเดิมและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตรชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ แก้ไขปัญหา พัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและสามารถเป็นต้นแบบสู่ชุมชนอื่นๆ ได้

คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า แต่เดิมเกษตรกรในพื้นที่ทำเกษตรแบบเคมี ซึ่งมีต้นทุนการทำเกษตรที่สูงและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ จึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับการสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีจาก สวทช. ในช่วง ปี 2540 ตนเองได้เริ่มจัดตั้งกลุ่มเกษตรพอเพียง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตร โดยได้ร่วมกันทำกองทุนปุ๋ย ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมัก น้ำจุลินทรีย์ เพื่อใช้ในการเกษตรด้วยตนเอง และยังได้จัดประชุมให้ความรู้แก่สมาชิกอยู่เป็นประจำ จนมาถึงวันนี้กว่า 20 ปี ที่ได้ขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบ้านหนองมัง บวกกับการเข้ามาของ สวทช. ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ชุมชนบ้านหนองมังแห่งนี้เกิดการขยายผลเป็นชุมชนเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ผลผลิตของกลุ่มมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกษตรกรมีสุขภาพแข็งแรง มีรายได้จากการปลูกผักที่มากขึ้น จากเดิมเกษตรกรที่ปลูกผักแบบไม่มีโรงเรือน มีรายได้เฉลี่ย 290,000 บาท/ปี หลังจากการปลูกผักในโรงเรือนแล้ว พบว่า มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 397,000 บาท/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 36 ซึ่งโดยปกติรายได้จากการปลูกพืชผักในโรงเรือนอยู่ที่ 65,000-110,000 บาท/หลัง/ปี

คุณธนันธร ทัศนิยม ลูกชายคุณปิยะทัศน์ จบปริญญาตรี คณะบริหารศาสตร์ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบัน ทำสวนอยู่ที่บ้านกับพ่อ (คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม) และ คุณกัลยาณี เหมือนมาต (หลานสาว) จบปริญญาตรี สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบัน ทำงานฝ่ายผลิตให้ “เป็นตาฮักฟาร์ม” รับผิดชอบวางแผนการผลิต ทั้งปุ๋ยหมัก น้ำหมัก และสารชีวภัณฑ์ ในการดูแลรักษาผัก ตั้งแต่การเพาะเมล็ด จนถึงการเก็บเกี่ยว มาช่วยกันปลูกผักในโรงเรือน โดยการแบ่งโซนในการดูแลผักที่แตกต่างกันไป

คุณปิยะทัศน์ เล่าว่า สมัยตนเด็กๆ ทางบ้านมีฐานะที่ยากจน พ่อแม่มีลูกหลายคน เวลาไปทำสวนไม่มีเงินที่จะซื้อปุ๋ยเคมี เวลาจะปลูกแตง พริก หรือมะเขือ พ่อของตนจะนำเอาเถ้ามาใส่ในต้นพืชนั้นๆ เคยถามพ่อว่า ทำไมต้องใส่ พ่อก็ตอบว่าใส่ไปแล้วรสชาติมันจะดี จากตรงนั้นมันทำให้ตนเองประทับใจ จดจำภาพที่พ่อของตนนั้นได้สั่งสอนมา อีกอย่างหนึ่งคือ อยากที่จะพิสูจน์ให้คนได้เห็นว่าแผ่นดินอีสานมีค่ากว่าคำดูถูกของคน และมีการให้ความรู้แก่สมาชิกคนอื่นเพื่อได้นำไปใช้ สิ่งที่ตนได้ทำขึ้นไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักจากพืชที่ไม่ใช้แล้ว ได้มีการทดลองและเรียนรู้มาจากสิ่งที่ตนเองได้ลองทำทุกอย่าง อาจจะมีที่อื่นมาบอกว่า อย่างนั้นไม่ดี อย่างนี้ไม่ดี ตนจะไม่ปักใจเชื่อทันทีที่ยังไม่ได้ลองทำดูก่อน หากทำแล้วมันเป็น หรือไม่เป็น อย่างที่เขาบอก ตนจะได้รู้ว่าควรแก้ไขหรือหาทางแก้กับปัญหานั้นอย่างไร

คุณปิยะทัศน์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง ได้รับรางวัล “สาขาพัฒนาสังคม” ผู้เป็นเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่ไม่หยุดเรียนรู้บนเส้นทางอาชีพเกษตรกรรม ยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ใช้ร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านเติมเต็มด้วยเทคโนโลยี ผลักดันแนวคิดส่งต่อความรู้สู่สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง และร่วมกันกระจายความรู้สู่สังคมเกษตรกรผ่าน “ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง” เกิดเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ในหลายพื้นที่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การปฏิบัติดูแลรักษาลำไยในรอบปีทั้งในฤดูและนอกฤดูที่อาจารย์พิชัย สมัคร NOVA88 สมบูรณ์วงศ์ เรียบเรียงขึ้นมา ก็เพื่อที่จะนำเอาเนื้อหาทั้งหนังสือการผลิตลำไย ประสบการณ์ และผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตลำไย นำมาสรุปให้ได้เนื้อหาสาระกระชับและง่ายต่อการนำไปเป็นแนวทางการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านได้อ่านแล้วจะเข้าใจและนำไปปฏิบัติลำไยให้ได้คุณภาพ และประสบความสำเร็จในการผลิตลำไย จนสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว พัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป

กันยายน แตกใบอ่อนครั้งที่ 1 นำปุ๋ยคอกหว่านใต้ทรงพุ่ม ตามด้วยปุ๋ยเคมีตามตาราง 5.1 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยแต่ละครั้งของการแตกใบอ่อน(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ)หรือสูตรปุ๋ยตัวหน้าสูงเช่น 46 – 0 – 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง)ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส 50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ตุลาคม แตกใบอ่อนครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 – 0 – 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง) ให้น้ำตาม ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน (น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

พฤศจิกายน แตกใบอ่อนครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 – 0 – 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง) ให้น้ำตาม ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน (น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ธันวาคม ชักนำการออกดอก กระตุ้นการออกดอกโดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออกดอกของลำไย คือ

1.การแตกใบอ่อน 3 ครั้งดีกว่าการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง