น้ำทิ้งจากบ้านเรือน จะสร้างปัญหาให้กับชุมชนเมืองอย่างยิ่ง

เนื่องจากบ้านเรือนแต่ละหลังคาจะไม่มีแหล่งบำบัดน้ำเสีย น้ำทิ้งจะไหลลงคลองโดยตรง เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำในคลองแห้ง น้ำไม่ไหล น้ำเสียไม่มีที่ระบาย จึงกักขังในคลอง ทำให้เกิดน้ำเน่าเสียได้ง่าย และในคลองสาธารณะเป็นคลองน้ำที่ผ่านกลาง เขตเทศบาลแห่งหนึ่งในอำเภอวัฒนานคร เป็นลำคลองที่มีน้ำจากบ้านเรือนไหลลงโดยตรง เมื่อไม่มีผักตบชวา ช่วยดูดซับน้ำเสีย ทำให้คลองสาธารณะ ไหลลงคลองสาธารณะ บ้านหนองคลอง ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เกิดน้ำเน่าเสีย เป็นฟองอากาศ มีกลิ่นเน่าเหม็น และทำให้ปลาในคลองตายเป็นเบือ เมื่อลงน้ำจะทำให้เกิดอาการคันมาก ชาวบ้านหนองคลอง ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว จึงวอนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยกำจัดน้ำเสียด้วย เพื่อให้น้ำสะอาดนำไปใช้ใน

ลอยตัวน้ำตาลวุ่นไม่เลิก เหตุขาดวิธีปฏิบัติทั้งการขายน้ำตาล การคำนวณค่าอ้อย TDRI ชี้ถ้าไม่ทำมีสิทธิ์ถูกบราซิลฟ้องใน WTO คาดอาจต้องรออีก 2 เดือนถึงจะลอยตัวได้ เหตุยังมีน้ำตาลเหลือค้างสต๊อกในห้างอีก 300,000 ตัน

การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศ “ยกเว้น” การใช้มาตรา 17 (15) แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เฉพาะในส่วนของการกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายเพื่อการบริโภคภายในประเทศตั้งแต่ฤดูการผลิตที่ 2560/61 จนถึง 2561/62 หรือที่เรียกกันว่า การปล่อย “ลอยตัว” ราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศได้ก่อให้เกิดความสับสนและไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลต่อไปในวิธีปฏิบัติในการคำนวณราคาอ้อยให้กับชาวไร่อ้อย การคำนวณราคาน้ำตาล ณ หน้าโรงงาน การส่งออก-นำเข้าน้ำตาล เนื่องจากคำสั่งที่ 1/2561 ไม่ได้บอกไว้ ประกอบกับเป็นการใช้อำนาจฝ่ายบริหารยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ยังไม่สามารถประกาศบังคับใช้ได้

ซุกปัญหาไว้ใต้พรม

นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เจ้าของผลงานข้อเสนอในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ให้ความเห็นกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การบังคับใช้มาตรา 44 ประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศถือเป็นการ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” แล้วซุกปัญหาต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมนี้ไว้ใต้พรมเนื่องจากประกาศที่จะออกตามมาหลังการปล่อยลอยตัวยังไม่มีความชัดเจน ตอนนี้มีเพียงประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลทราย กับ ต้องมีการสำรองน้ำตาลทรายไว้ให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

“เราเพียงทำตามความต้องการของบราซิลที่กล่าวหาประเทศไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ว่า รัฐบาลไทยมีการอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล ด้วยการกำหนดราคาขายน้ำตาลภายในประเทศแพงกว่าน้ำตาลนอกประเทศแล้วเงินมาอุดหนุนทำให้ไทยส่งออกน้ำตาลได้ในราคาต่ำ กับรัฐบาลอาศัยกลไกต่าง ๆเข้ามาแทรกแซงและอุดหนุนราคาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล คนของรัฐบาลก็ตั้งธงไว้แล้วว่า ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้บราซิลฟ้อง WTO การเจรจาที่ผ่านมาก็เลยรับข้อเรียกร้องของบราซิลมาทั้งหมด” นายวิโรจน์กล่าว

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การตั้งราคาขายน้ำตาลทรายในประเทศ ด้วยการให้มีการสำรวจตลาดน้ำตาล ว่ามีการซื้อขายในราคาที่เท่าใด ราคาขายน้ำตาล ณ หน้าโรงงาน แล้วมาเข้าสูตร London No.5 + ไทยพรีเมี่ยม เกิดส่วนต่างเท่าไหร่ ให้เก็บเงินส่วนต่างนั้นเข้า กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไป “ปัญหาก็คือ เราจะใช้ราคาน้ำตาลภายในประเทศราคาไหนเป็นราคา Reference Price ราคา ณ หน้าโรงงาน ราคาขายในตลาด และใครเป็นผู้สำรวจราคา แต่ถ้าเบื้องต้นราคาขายออกมาไม่ต่างจากราคาในปัจจุบันมากนัก ยกตัวอย่าง เข้าสูตรคำนวณราคาออกมาหักส่วนต่างเข้ากองทุนอ้อยออกมาอยู่ที่ 20-21 บาท/กก. ผู้บริโภคก็คงจะรับได้เนื่องจากเคยชินอยู่กับการซื้อน้ำตาลปัจจุบันที่ กก.ละ 23.50 บาทอยู่” นายวิโรจน์กล่าว

โดยสิ่งที่น่ากังวลก็คือ ราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายที่ถือเป็น Reference Price นั้นมันสามารถ “เล่นตลาด” ได้จากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลในตลาดโลกคือ ตลาด London No.5 นั่นเอง

ด้านแหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเปิดเผยว่า การลอยตัวราคาน้ำตาลภายในประเทศจนถึงขณะนี้ยังมีหลากหลายปัญหาที่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลยังไม่สามารถตกลงกันในวิธีปฏิบัติ รวมถึงหลายเรื่องไม่มีกฎระเบียบและกฎหมายรองรับ

“ยกตัวอย่าง ไม่มีการกำหนดโควตา ก. (ปริมาณจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศ) แต่ละโรงงานจะขายน้ำตาลอย่างไร ทาง สอน.ยังไม่สามารถหาทางออกได้ จึงโยนเรื่องนี้ให้โรงงานน้ำตาลมาจัดสรรการขายกันเอง โดยทุกโรงงานทราบกันดีว่า มีปริมาณน้ำตาลที่ต้องเตรียมไว้ขายภายในประเทศจำนวน 26 ล้านกระสอบ เสมือนหนึ่งมีโควตา ก.ในอดีต และกำหนดน้ำตาลสำรองเพื่อการบริโภค 2.5 ล้านกระสอบ กำหนดปริมาณแต่ไม่กำหนดโควตา แล้วจะไปบังคับได้อย่างไร” แหล่งข่าวกล่าว

เพราะหากให้โรงงานน้ำตาลไปจัดสรรกันเอง เท่ากับโรงงานน้ำตาล “ฮั้ว” กัน อาจผิด พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้ “เหมือนโรงงานที่อยู่ในเขตภาคกลางส่งขายโรงงานเครื่องดื่มใน กทม. แต่โรงงานที่อยู่ภาคอีสานก็สู้ราคาค่าขนส่งไม่ได้ ต้นทุนก็สูง” ในขณะที่การคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นและราคาค่าอ้อยขั้นสุดท้ายก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ว่าจะใช้สูตรราคาลักษณะใด

เร่งหารือราคาอ้อย

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 กาญจนบุรี กล่าวว่า เวลาพิจารณาต้องแยกราคาขายกับเรื่องระบบ โรงงานน้ำตาลจะขายเท่าไหร่ ไม่มีใครไปควบคุม เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ชาวไร่อ้อยต้องเฉลี่ยราคาขายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศออกมา หากราคาขายน้ำตาลหน้าโรงงานใดสูงกว่าราคาขายน้ำตาลทรายของตลาดลอนดอน No.5 ย้อนหลังไป 1 เดือน บวกราคาน้ำตาลไทยพรีเมี่ยม ให้นำส่วนต่างของราคาตรงนั้นมาแบ่งกัน 70:30 “ซึ่งมีสูตรรายละเอียดในการคำนวณ ตอนนี้กำลังเจรจาหาตัวเลขกันอยู่”

ปัจจุบันนี้ ศูนย์บริหารการผลิต การจำหน่าย และการขนย้ายน้ำตาล ได้ทำการสำรวจราคาขายน้ำตาลจริงจากทุกหน้าโรงงานน้ำตาลและนำมาเฉลี่ย เพื่อกำหนดราคากลางน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 17 บาท/กก. และราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 18 บาท/กก. เพื่อนำมาคำนวณราคาภายใน ซึ่งการลอยตัวส่งผลให้ราคาน้ำตาลลดลงมาประมาณ 2 บาท/กก.

“ต้องบอกตรง ๆ ว่า ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ดี ไม่เหมือนสินค้าเกษตรอย่างอื่น เราต้องมาเจรจากันระหว่างชาวไร่และโรงงาน มีส่วนที่ต้องเก็บเงินเข้ากองทุนรักษาเสถียรภาพราคาเท่าไหร่ ตอนนี้กำลังเจรจาดำเนินการกันอยู่ เพื่อไม่ให้ชาวไร่อ้อยถูกเอารัดเอาเปรียบ” นายกำธรกล่าว

ตลาดโลกดิ่ง 12 เซนต์/ปอนด์

แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาลกล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลงมา 12 เซนต์/ปอนด์ หากบวกด้วยราคาไทยพรีเมี่ยมประมาณ 20 เหรียญ/ตัน ตามสูตรเฉลี่ยออกมาเป็นกิโลกรัมจะตกราคาน้ำตาลประมาณ 12.495 บาท หรือประมาณ 12.50 บาท ดังนั้นเมื่อนำมาหักลบส่วนต่างราคาขายหน้าโรงงานเท่ากับมีส่วนต่างประมาณ 4.50-5 บาท เข้ากองทุนรักษาเสถียรภาพราคา ซึ่งไม่ต่างกับการที่เคยบวกราคา 5 บาทเพื่อหักเงินเข้ากองทุน

ตามระเบียบส่วนต่างของราคาน้ำตาลตลาดลอนดอน No.5 บวกไทยพรีเมี่ยมห่างกันมาก 4-5 บาท ซึ่งส่วนของชาวไร่อ้อยและกองทุนอาจจะพอใจ แต่ถ้าในอนาคตราคาน้ำตาลในตลาดโลกพลิกกลับมาราคาสูงและมีส่วนต่างน้อย ชาวไร่อ้อยควรต้องยอมรับระบบที่เกิดขึ้นด้วย

“ตอนนี้โรงงานกลัวว่า หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกลงไปเรื่อย ๆ แล้วราคากลางยังยืนอยู่สูง โรงงานต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนอาจจะมากกว่า 5 บาทต่อ กก.ที่เคยเก็บ ซึ่งไม่ต่างจากรูปแบบเดิมที่บวกแฝง 5 บาทให้ผู้บริโภคแบกรับภาระ”

นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการลักลอบขนน้ำตาลไปขายประเทศเพื่อนบ้าน ที่บริโภคน้ำตาลในราคาสูงกว่าไทยที่เกือบ 30 บาท/กก. อาจจะทำให้น้ำตาลขาดตลาดได้ ดังนั้นเท่าที่ทราบกระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณานำพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มาควบคุมด้วย

ล่าสุดยังมีน้ำตาลทรายจากการจำหน่ายตามระบบเก่าคือ โควตา ก.ที่ได้ทำใบขนย้ายออกไปเรียบร้อยประมาณ 300,000 ตัน ส่งผลให้ร้านค้าปลายทาง ห้างสรรพสินค้ายังคงยืนราคาขายคงเดิมโดยน้ำตาลลอตนี้จะจำหน่ายหมดไปในอีก 2 เดือนข้างหน้าจึงจะสามารถใช้ราคาลอยตัวใหม่ได้

ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรรภูมิ ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน “วิทยุการบินฯมินิวอลเลย์บอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๖๐ โดยมีคุณสาริณี แสงประสิทธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย เป็นประธานพิธีเปิด ณ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (โรงยิมใหม่) อาคาร ๒๗ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา

นางสาริณี แสงประสิทธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “การแข่งขันวิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล เป็นการเปิดโอกาสให้ยุวชนของชาติได้แสดงความสามารถด้านกีฬาวอลเลย์บอล รวมถึงการเสริมสร้างความรักสามัคคีระหว่างกัน หล่อหลอมให้มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม มีวินัย และสามารถสร้างคุณค่าให้สังคมในอนาคต ในแต่ละปีมียุวชนจาก ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วม การแข่งขัน มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ๑,๐๘๒ ทีม แต่ละทีมผ่านการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับจังหวัด

และรอบชิงชนะเลิศระดับศูนย์ควบคุมการบิน จนสามารถผ่าฟันเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จำนวน ๒๔ ทีม (ทีมชาย ๑๒ ทีม ทีมหญิง ๑๒ ทีม) เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๖๐ โดยใช้สนามกีฬาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ เป็นสถานที่ในจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เนื่องจากเป็นสนามที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อีกทั้งยังเป็นจังหวัด ที่เป็นจุดศูนย์กลางซึ่งนักกีฬาสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก ในนามผู้จัดการแข่งขันขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ที่ให้โอกาสบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยได้ใช้สนามกีฬาสำหรับจัดการแข่งขัน และปีนี้เป็นปีที่ ๔ กับการใช้สนามกีฬา ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจัดการแข่งขันวิทยุการบิน ฯ มินิวอลเลย์บอล ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและการบริการที่ประทับใจจากผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ด้าน ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ สำหรับจัดการแข่งขันวิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๖๐ กล่าวว่า “ในฐานะ ที่เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาแห่งนี้ รู้สึกยินดีและดีใจ ที่บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท) ไว้วางใจให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่รองรับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ และยินดีที่มหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการส่งเสริมให้ยุวชนที่มีความสามารถ ความพยายาม ความอดทน ได้แสดงความสามารถด้านกีฬา และได้มาแข่งขันด้วยความมุ่งมั่น สามัคคี รู้แพ้รู้ชนะ แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะหล่อหลอมให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติบ้านเมืองให้พัฒนาต่อไปข้างหน้า

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กรเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของ กฟก.เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องเตรียมความพร้อมในการสร้างพลังร่วมขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสายใยแห่งแผ่นดิน และสหกรณ์กรีนเนท (GREEN NET) เป็นที่ปรึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ กฟก.

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า “คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรใหม่ เพื่อสนับสนุนนโยบายเกษตรอินทรีย์โดยกำหนดให้ต้องเป็น “โครงการเกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์” และ “ไม่ใช้สารเคมีในภาคการเกษตร” โดย กฟก.มีเงินสนับสนุนให้กับองค์กรเกษตรกรทั้งแบบให้เปล่าและเงินกู้ยืมขณะนี้ กฟก.มีแผนจะขับเคลื่อนงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์แบบตลอดห่วงโซ่ (ผลิตจนถึงตลาด) รวมไปถึงการตรวจรับรองมาตรฐานแบบชุมชนรับรองหรือ PGS(Participatory Guarantee System) ซึ่งเป็นที่ระบบสมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเองจะทำให้ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารของเกษตรกรสมาชิก กฟก. มีมาตรฐาน และรู้จักพัฒนาช่องทางการสร้างมูลค่าจากผลผลิต มีตลาดรองรับสินค้ามากยิ่งขึ้น”

สำหรับการจับมือร่วมกันระหว่าง กฟก. มูลนิธิสายใยแห่งแผ่นดินและสหกรณ์กรีนเนทในครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากกรีนเนทเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่ด้านการตลาด เชื่อมประสานระหว่างเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกกลุ่มธุรกิจชุมชน และผู้บริโภค โดยเน้นการส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางเกษตรกรรมอินทรีย์และพัฒนากระบวนการตลาด ทางเลือก สร้างความมีส่วนร่วมของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งเสริมการผลิตในลักษณะของการรวมกลุ่มธุรกิจชุมชนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรวบรวมและคัดสรรผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรมโดยดำเนินงานในรูปแบบของศูนย์กระจายสินค้าซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลากหลาย และในส่วนของ กฟก. ก็เป็นองค์กรที่มีสมาชิกเกษตรกรทำการเกษตรอยู่แล้ว หากมีการพัฒนาและร่วมกันผลักดันให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้สินค้ามีมาตรฐาน มีระบบการบริหารจัดการที่ดี เกษตรกรตระหนักถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม สร้างระบบห่วงโซ่อาหารที่มั่นคงยั่งยืนได้ นายสมยศ กล่าว

เมื่อวงจรของภาคเกษตรยังวนเวียนอยู่กับราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ หลายคนบอกว่าถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนจากสิ่งเดิม ๆ แต่ทำอย่างไร “ประชาชาติธุรกิจ” พูดคุยกับ “กรกฎ เตติรานนท์” ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมหาทางแก้ไขกับเกษตรกร ซึ่งได้ยอมรับว่าเศรษฐกิจของนครศรีธรรมราช คือ ภาคเกษตร แต่กลับยังไม่เห็นโอกาสสดใสในเร็ววันนี้

ตั้งเป้า 3 ระยะแก้ปัญหาเกษตร กรกฎบอกว่า หอการค้านครศรีฯ มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 ระดับ คือ ระยะสั้น กลาง และยาว โดยระยะสั้น คือ การเติมเงินให้กับประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนโครงการเกษตร 4.0 ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านโหมดประชารัฐ เริ่มต้นที่ส้มโอทับทิมสยาม ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูง

โดยหอการค้าตั้งใจไปให้สุดทางใน 3 เรื่อง คือ 1.ฟาร์มอัจฉริยะ 2.สมาร์ทฟาร์มเมอร์ และ 3.สร้างมาตรฐานการผลิตส้มโอทับทิมสยาม คือ จะมีไกด์บุ๊กให้กับเกษตรกรทุกคน โดยความร่วมมือตรงนี้ เราเริ่มที่ส้มโอทับทิมสยาม และจะขยับไปที่ทุเรียน และมังคุด ในลำดับต่อไป

“ผมแจ้งอาจารย์มหาวิทยาลัยว่าโจทย์ของส้มโอทับทิมสยาม คือ ใหญ่ แดง และหวาน ดังนั้นความรู้ที่จะถ่ายทอดให้เกษตรกรต้องเป็นอะไรที่จับต้องได้ ไม่ใช่เป็นงานวิจัย หรือตำราแบบที่เกษตรกรไม่สามารถเข้าใจ แต่ต้องการการปฏิบัติสู่ผลลัพธ์นั้น และขับเคลื่อนได้ทันที เช่น ส้มโอทับทิมสยาม คือ สินค้าที่ได้ไอจี ถูกระบุไว้ชัดแล้ว ที่ปากพนัง ฉะนั้นเมื่อรู้อยู่แล้วว่าสภาพดินปากพนังเป็นอย่างไร อาจารย์ก็เพียงบอกว่าวิธีการใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การดูแลรักษา โรค และแมลง เราจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาตามคุณภาพที่เราต้องการ” รื้อระบบดูแลปาล์ม

ภาคเกษตรในปี 2561 เรามีคาดหวังให้ดีขึ้น แต่ในเรื่องความเป็นจริงต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าการเกษตรของเรายังราคาไม่ขยับ เราพยายามจะลดต้นทุนให้เกษตรกรที่มีอยู่ถึง 65% สิ่งที่หอการค้ากำลังเข้าไปทำปัจจุบัน คือ เรื่องปาล์มน้ำมัน โดยจะเข้าไปดูแลเรื่องปัจจัยการผลิตทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย หรือยีลด์ เพราะหลักๆ ปุ๋ยจะเป็นต้นทุนการผลิตประมาณ 15-20% ของการผลิตทั้งหมด ขณะที่ยีลด์มีผลต่อราคา

“ปัจจุบันจากองค์ความรู้ที่อาจารย์ให้เรามา คือ ปุ๋ย มีวัฏจักรของมัน แล้วตัวมันสูญเสียไปในสภาพแวดล้อม ฉะนั้นถ้าใส่ปุ๋ยทุก 6 เดือน ทุก 3 เดือน ไนโตรเจนจะถูกแอปพลายแค่ครั้งเดียวแล้วหายไป เมื่อเรารู้โครงสร้างแบบนี้เราต้องปรับว่าทุกอาทิตย์ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจน แต่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้ใส่ปุ๋ยถี่ขึ้น และปริมาณน้อยลง เพราะทุกวันนี้เราเล็งเห็นว่าการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรปัจจุบันใช้ปุ๋ยผิดวิธี คือ ใช้เกิน และทำให้ดินเสีย ดังนั้นถ้าเราสามารถลดปริมาณปัจจัยการผลิตลงได้ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ขณะเดียวกันยีลด์จะสูงขึ้น”

โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 จะเป็นลักษณะรณรงค์ก่อน และขับเคลื่อนทั้งระบบ คาดว่าเกษตรจังหวัดและเกษตรและสหกรณ์ก็จะขับเคลื่อนพร้อมกับเรา

พลิกเกษตรสู่บริการ-ท่องเที่ยว

สำหรับระยะกลาง เราจะขอเปลี่ยนจากโหมดการเกษตร เป็นภาคบริการและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการแชร์ความเสี่ยงของนครศรีธรรมราช และมองว่าโอกาสในการเปลี่ยนนี้ จะทำให้นครศรีธรรมราชเพิ่มศักยภาพ และเติมเงินให้กับตัวชุมชนได้ โดยในส่วนที่หอการค้าทำ คือ โหมดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เข้าไปคุยกับทางชุมชนว่าจะขับเคลื่อนโดยภาคการเกษตรอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ปัจจุบันภาคการเกษตรเป็นฐาน เราไม่ทิ้งภาคการเกษตร และการเปลี่ยนสู่ภาคบริการและท่องเที่ยว ชุมชนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนตัวเอง ราว 6 เดือน ถึง 1 ปี

ระยะยาว คือ อุตสาหกรรมการแปรรูป โดยเรากำลังส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจ และนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ พืชผลทางการเกษตร เป็นกรีน อินดัสเตรียล ในพื้นที่ของนครศรีธรรมราช ไม่เพียงเท่านี้ เราจะต่อยอดสิ่งที่เราทำทั้งแวลู เชน คือ ในเมื่อเราส่งเสริมการเกษตรในเรื่องผลไม้แล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตด้วย

ขนอม สิชล แหล่งเที่ยวฮิตใหม่

กรกฎบอกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2561 มองว่าภาคการใช้จ่ายยังไม่สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก แต่การท่องเที่ยวสามารถช่วยได้ เพราะเราเห็นตัวเลขของภาคการท่องเที่ยวฝั่งทะเลทั้งขนอม และสิชล เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราต้องตอบโจทย์ที่จะขับเคลื่อน และโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวจุดนี้ให้ดึงเงินเข้าจังหวัด ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวบนฝั่งที่ยังเงียบอยู่ อย่างน้ำตกกรุงชิง เราต้องโปรโมต เพราะตรงนี้เป็นธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถจะเพิ่มมูลค่า และเอามูลค่าคืนจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ส่วนโครงการ “หลาดหน้าพระธาตุ” ที่ประสบความสำเร็จติดลมบนไปแล้วนั้น ประธานหอการค้านครศรีฯ บอกว่า เป็นการนำต้นทุนที่มีอยู่ในนครศรีธรรมราชมาขาย เป็นการทำให้เกิดบิ๊กแบง หรืออิมแพ็กต์แรง ๆ โดยเลือกโลเกชั่นเป็นหลัก ซึ่งนครศรีธรรมราชเราโชคดีมีพระบรมธาตุเป็นโลเกชั่นหลัก และเป็นศูนย์รวมใจ

“เริ่มจากหลังน้ำท่วมปี 2559 เราจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระตุ้นให้คนกลับมามีรายได้ ตอนนั้นโจทย์ คือ local economic และ culture experience จะทำให้เกิด culture economic ได้อย่างไร จึงเลือกพระธาตุ มีคุณค่าตั้งแต่อดีต ไม่ได้เสื่อมคุณค่าลง เพียงแต่เราเอาคุณค่าเดิมมาเสริมด้วยบริบทของวัฒนธรรม บวกกับโครงการที่เราทำเป็นแนวคิดของไทยเท่ ทั่วไทย ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ”

บทบาทของหอการค้าวันนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าภาคเอกชนยังเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้เกิดความเจริญเติบโตในท้องถิ่นตนเอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชิญชวนร่วมชมผลงานและการสาธิตนวัตกรรมเพื่อการเกษตรและการศึกษา ที่เป็นผลงานการประดิษฐ์จากคณาจารย์และนักศึกษา รวม 39 ผลงาน ในงาน
“บนเส้นทางวิศวกรรม ครั้งที่ 11 AGRINNOVATION ENGINEERING 2018” ที่จะจัดขึ้น ณ งานเกษตรแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม 2561 เวลา 09.30 – 17.30 น. ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายในงานจะได้พบกับ เตาอบเนื้อสัตว์โดยไม่ง้อแสงอาทิตย์, เครื่องคัดแยกไข่, โดรนสำหรับภารกิจฝนหลวงและการบินเกษตร , ซีซาร์บ็อท หุ่นยนต์เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็กเพื่อการศึกษา และนวัตกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/vidsavaku หรือ Facebook เปิดบ้านวิศวะ มก. หรือ โทร 0 2797 0952

นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ได้รับมอบหมายจากนายทรงพันธ์ จันทร์สว่าง เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เดินทางไปที่บ้านเลขที่ 98 ม.1 บ้านน้ำคำ ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ เพื่อสนับสนุน การดำเนินกิจกรรมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) มีนายอำนาจ เป็นผู้ดำเนินการ ในพื้นที่ 7 ไร่

โดยการจัดการพื้นที่เป็นอาคารที่พัก โรงเรือนโค –กระบือ เลี้ยงวัวบราห์มันแดง ม้า ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่งวง ไก่กระดูกดำ มุ้งตาข่ายปลูกพืชปลอดสารพิษ 5 หลัง ขนาด 6X30 เมตร ปลูกเมล่อน มะเขือเทศราชินี

ที่นี่คือ พืชเกษตรอินทรีย์ พื้นที่แบ่งการปลูก ฝรั่ง 150 ต้น กล้วย 250 ต้น พลู พริกไทย มะพร้าว หมาก มะนาว อินทผาลัม การปลูกป่ายางนา 1,000 ต้น บ่อปลาหมอ ปลาดุก 5 บ่อ ขนาด ลึก .50 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร นอกจากนี้ยังมี มีมะม่วง สะเดา มะกรูด ข่า ตะไคร้ กระทกรก ผักเม็ก ผักกระโดน เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ตามหลักวิชาการและมีคุณธรรม ตามศาสตร์พระราชา