น.ท.สุเทพ พงษ์ศรีกุล หัวหน้าสถานีเรือรัตนวาปี กล่าวว่า

จากการสืบทราบว่าจะมีขบวนการลักลอบนำสัตว์ป่าออกนอกประเทศบริเวณอำเภอปากคาด จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประสานกับหน่วยงานข้างเคียงออกตรวจสอบ จนพบรถยนต์ต้องสงสัยจอดอยู่บริเวณลานพญานาค จึงให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ พบว่ารถคันดังกล่าวได้บรรทุก(งู)มาเต็มคันรถ ซึ่งยังมีชีวิตทุกตัว คาดว่าสัตว์ทั้งหมดนี้จะถูกนำข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาจนำไปขายต่อที่เวียดนามหรือจีนที่เป็นเมืองที่นิยมรับประทานเมนูเปิบพิสดาร

ปัจจุบันการศึกษานับได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากการจัดงบประมาณของรัฐบาลที่กระจายไปยังแต่ละโรงเรียน แต่ในขณะเดียวกันงบประมาณที่จัดสรรให้นั้นยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนา ปรับปรุงสภาพโรงเรียนให้สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ประกอบกับโรงเรียนในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนมาก ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน จึงเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนา โดยการมอบสิ่งของอุปกรณ์กีฬา การพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อม รวมถึงการมอบหนังสือ เพื่อช่วยเติมต็มความสุขความสมบูรณ์ให้กับนักเรียนที่อยู่ห่างไกลหรือในถิ่นทุรกันดาร

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)สุวรรณภูมิ จึงจัดโครงการเกษตรอาสาพัฒนาชุมชน โดย ผศ.ต่อวุฒิ จำมั่น รองคณบดีด้านกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษคณะเทคโนโลยีการเกษตรฯ นำนักศึกษาลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียน ทำแปลงปลูกผัก และมอบอุปกรณ์กีฬา ให้กับโรงเรียนลาดงาประชาบำรุง ต.ลาดงา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เสริมสร้างความรู้ให้กับชุมชน ประชาชน และนักเรียนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย

ผศ.ต่อวุฒิ จำมั่น รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษามุ่งมั่นจัดการศึกษา ด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีคุณภาพด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักที่ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและพัฒนากำลังคนทางด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน มีทักษะชีวิตและการทำงาน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรฯ ก็พร้อมที่จะสานต่อนโยบายและพันธกิจของมาหาวิทยาลัย ที่จะสร้างและพัฒนานักศึกษาให้เป็นบันฑิตนักปฏิบัติ และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย ด้านมีจิตสาธารณะ โดยส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาสังคม ชุมชน เพื่อส่งเสริมพัฒนานักศึกษาด้านจิตสาธารณะ ให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายสุวพันธ์ ผลวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนลาดงาประชาบำรุง เปิดเผยว่า โรงเรียนลาดงาประชาบำรุง ต.ลาดงา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียนจำนวน 68 คน รู้สึกดีใจที่คณะอาจารย์และนักศึกษามาช่วยกันพัฒนาเติมเต็ม และเห็นความสำคัญทางการศึกษาของเด็กนักเรียน ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยฯ ที่มาจัดกิจกรรมมอบทักษะ ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพทางการเกษตร พร้อมทั้งยังมอบอุปกรณ์การเรียน และอุปกรณ์กีฬาให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม และมีความเสมอภาคในสังคม

กรมส่งเสริมสหกรณ์แจงเกณฑ์กำกับสหกรณ์ออมทรัพย์กรณีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นหลักปฏิบัติทางบัญชี เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันกับสหกรณ์อื่น ต้องมีความรัดกุม พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้คืนประกอบการตัดสินใจให้กู้เงินหรือนำเงินไปฝากกับสหกรณ์อื่นด้วย หวั่นเสี่ยงหนี้สูญ และเกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ชี้แจงถึงการออกเกณฑ์กำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งดำเนินไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 เรื่องการปฏิรูประบบการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ขณะนี้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้มีหนังสือชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติ ทางบัญชีสหกรณ์มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันกับสหกรณ์อื่น ไปยังประธานกรรมการสหกรณ์ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใช้อำนาจแทนนายทะเบียนสหกรณ์ในการดูแลด้านการบัญชี

ในการกำหนดแนวทางการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันของสหกรณ์ เช่น การฝากเงิน การรับฝาก การให้เงินกู้ การลงทุน และการถือหุ้น หากถึงวันสิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์ไม่สามารถถอนคืนเงินฝาก เงินลงทุนหรือเก็บหนี้คืนได้ เท่ากับสหกรณ์นั้นเกิดความเสียหายและส่งผลกระทบมาถึงตัวสมาชิกสหกรณ์ด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องไปหักลบกับรายได้ของสหกรณ์ เพื่อย้ำเตือนให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการนำเงินไปฝากหรือลงทุนกับสหกรณ์อื่น ต้องดูว่าสหกรณ์นั้นมีความมั่นคงทางการเงินหรือมีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้หรือไม่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ในอนาคต

ทั้งนี้ สถานการณ์ในปัจจุบัน สหกรณ์มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน โดยไม่มีการตรวจสอบสถานะทางการเงินและพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้คืน จึงต้องมีการกำกับดูแลอย่างรัดกุม แม้จะถูกมองว่า เป็นการใช้หลักเกณฑ์แบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ แต่หากพิจารณาอย่างมีเหตุผล จะพบว่า ปัจจุบันสหกรณ์ดำเนินธุรกรรมทางการเงินเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ คือ การรับฝากเงินและการปล่อยเงินกู้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เกณฑ์กำกับดูแลตามหลักมาตรฐานสากล

“ การเอาเงินไปฝากสหกรณ์อื่นเป็นการช่วยเหลือกันในขบวนการสหกรณ์ แต่ต้องไม่ลืมว่าว่าการจะเอาเงินไปฝากหรือให้สหกรณ์อื่นกู้ต้องพิจารณาสหกรณ์ที่เรานำไปให้กู้ถึงความมั่นคงของสหกรณ์นั้นและความสามารถในการใช้หนี้คืนหรือสามารถคืนเงินฝากให้กับสหกรณ์ที่เอาเงินไปฝากได้ กรมฯจึงได้ออกร่างระเบียบเกี่ยวกับการให้ กู้แก่สหกรณ์อื่นหรือเอาเงินไปฝากสหกรณ์อื่น โดยกำหนดไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรองของสหกรณ์ผู้ให้กู้หรือผู้ฝากเงิน เพื่อให้สหกรณ์กระจายการฝากหรือการให้กู้ออกไปหลาย ๆ ที่ เพราะนำเงินไปฝากไว้กับสหกรณ์ใดสหกรณ์หนึ่งเพียงแห่งเดียว หากสหกรณ์นั้นมีปัญหา สหกรณ์ที่เอาเงินไปฝากก็จะได้รับผลกระทบและเสียหายตามไปด้วย” รองอธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันสหกรณ์เติบโตมาก สหกรณ์บางแห่งอาจมีสินทรัพย์หลายหมื่นล้านบาท หากไม่มีการกำกับดูแลที่ดี แล้วเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือตัวสมาชิกผู้ถือหุ้นและมีเงินฝากในสหกรณ์ที่ได้รับความเสียหายไปด้วย นอกจากนี้ ในการนำเงินของสหกรณ์ไปลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุนต่าง ๆ ก็ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และควรกระจายการลงทุน

ไม่ลงทุนที่ใดที่หนึ่งมากจนเกินไป แม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และเป็นไปตามพรบ.สหกรณ์ 2542 ก็ตาม แต่สหกรณ์เองก็ต้องป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์กำกับที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาออกเกณฑ์ในการกำกับดูแลการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกผู้ฝากเงินและถือหุ้นในสหกรณ์ และเป็นเกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวงาน “วันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ” ในวันเสาร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ ตลาดราชมงคล (ติดตลาดกลางกุ้งอยุธยา) ชมและชิมผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ชมกิจกรรมการประกวดข้าวโพดเทียน พันธุ์บ้านเกาะ การประกวดอาหารคาว – หวาน จากข้าวโพดเทียน สาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวโพด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวโพด สินค้าOTOP และการจำหน่ายสินค้าธงฟ้า

นายสมบุญ อิ่มสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ เปิดเผยว่า จุดเด่นของข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ จะมีแปดแถว มีความอ่อนนุ่ม ไม่ติดฟัน หวานเล็กน้อย ขนาดฝักพอเหมาะ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดูแลรักษาง่าย จำหน่ายได้ราคาดี และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทั้งในเขตพื้นที่ไร่และเขตชลประทาน ในการจัดงาน “วันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ มุ่งหวังให้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวโพดเทียน พันธุ์เทียนบ้านเกาะ สามารถปลูกข้าวโพดเทียนได้คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มและกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งมีแหล่งค้าขายที่เหมาะสม ชัดเจนยิ่งขึ้น

ด้าน รศ.ดร.กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ รองอธิการบดี กล่าวว่า การจัดงานวันข้าวโพดเทียน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อชุมชนสังคม เรื่อง การผลิตข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียวเพื่อความมั่นคงอาหารและเพิ่มรายได้ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาช่วยพัฒนาการผลิตข้าวโพดเทียนให้เป็นต้นแบบการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ้นค้าเกษตรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด จากการทำงานบูรณาการร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ และสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งการจัดงานวันข้าวโพดเทียน จึงเหมือนเป็นการนำผลสำเร็จของการดำเนินงานมาเสนอต่อสาะรณะ รวามทั้งเป็นการนำองค์ความรู้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้าวโฑดเทียนในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสู่เกษตร ๔.๐ เช่น การใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวโพด นวัตกรรมการจัดจำหน่ายผลผลิตข้าวโพดเทียน การโปรโมตผลผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต จีเอพี ตลอดจนการตรวจวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืช และการตัวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิต เป็นต้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงานในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรได้พัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตข้าวโพดเทียนที่มีคุณภาพให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นช่องทางหนึ่งให้เกษตรกรได้พบปะกับผู้บริโภคโดยตรง เกษตรกรได้ทราบถึงความต้องการผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลไปปรับในการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

ในบรรดาพืชผักที่คนไทยเราใช้ทำอาหาร มีผักไม่กี่ชนิดที่ระบุว่า มีข้อจำกัดด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ความนิยม หรือด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่ทำให้มีข้อจำกัดรัดตัวเองไว้ ในทางหนึ่งด้านอาหารการกิน เชื่อว่าผักบางอย่าง เป็นของแสลงสำหรับร่างกายของคนเรา หรือเป็นของที่ไม่เหมาะไม่ควรกิน บางอย่างไม่เหมาะกับคนในกลุ่มหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง เชื่อกันว่า “บอน” เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีข้อจำกัด สำหรับผู้คนที่จะนำมากินเป็นอาหารมากข้อทีเดียว

คำว่า “บอน” ในที่นี้ขอให้หมายถึงพืชชนิดหนึ่ง อย่าเอาไปเป็นคำต่อว่าต่อขานเพื่อนฝูง หรือใครเขาว่า ปากบอน มือบอน ซึ่งกลายเป็นคำด่าว่ากัน เป็นสำนวนไทยแท้แต่โบราณ ของเรานั่นแหละ คนปากบอน คือคนที่ชอบนำเอาคำพูดหรือเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เปิดเผย เอาไปเผยแพร่ต่อให้ความกลับกลายเป็นความกระจ่าง คนมือบอน คือคนที่ชอบจับโน่นนี่ ทำโน่นนี่ บางอย่างที่ไม่ควรทำก็ทำ บางอย่างไม่ควรแตะจับต้อง ก็จับลูบสัมผัสเล่น ชอบขีดเขียนผนังกำแพงรั้ว ต้นไม้สวนสาธารณะ บอกรักเพื่อนบนผนังห้องส้วม ประเภทที่ว่าเป็นคนมือซน พวกคนมือบอนก็ว่าได้

“บอน” เป็นพืชน้ำล้มลุก ชอบขึ้นตามริมน้ำธรรมชาติ มีเหง้าหรือหัว หรือต้น อยู่ใต้ดิน อายุหลายปี มีก้านใบออกจากต้นใต้ดิน สูงยาว 50-100 เซนติเมตร ใบรูปคล้ายหัวใจแต่ใหญ่กว้างมาก กว้าง 20-35 เซนติเมตร ยาว 35-40 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเว้า หน้าใบสีเขียว มีเส้นใบชัดเจน แผ่นใบเรียบ ไม่เปียกน้ำ หลังใบมีนวล แต่ละกอมี 7-9 ใบ ดอกออกจากต้นใต้ดิน เป็นช่อยาวๆ มีกาบดอกสีเหลืองนวล หุ้มดอกยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ดอกเป็นกระเปาะสีเขียว มีแท่งกลางดอก ส่งกลิ่นหอม จะเป็นสื่อล่อแมลงภู่ผึ้งเข้ามาดอมดม เมื่อมีการผสมพันธุ์แล้วจะเกิดเป็นผล มีเมล็ดขยายพันธุ์ได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ที่แตกจากไหล หรือต้นใต้ดิน

บอนมีหลายประเภท เช่น บอนเขียว บอนจืด บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ บอนหวาน บอนคัน บอนสี บอนเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ ARACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colocasia Esculenta Sahott

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ บอนที่จะนำมาเป็นอาหารคนเรา ระหว่างบอนหวาน หรือบอนจืด กับบอนคัน ให้ทำความรู้จักต้นบอนแต่ละอย่างให้ดี ตัดมาทำอาหาร เผลอๆ ตัดมาผิดอย่าง ระวังปากคัน มือคัน จนถึงแพ้พิษคัน ปากเจ่อ ปากบวม กินหลามบอน แกงบอนไม่อร่อยแน่ ใบและก้านของบอนหวานมีสีเขียวสด หรือเขียวคล้ำอมน้ำตาล ไม่มีนวลเคลือบผิวใบก้าน ดอกมีกลิ่นหอม มีแมลงตอม ส่วนบอนคัน ใบก้านมีสีเขียวนวล มีนวลเกาะตามใบ ก้าน ไม่มีแมลงตอมดอก ไม่เหลียวแล เมื่อใช้มีดคมๆ ตัดก้านทิ้งไว้ 5 นาที ถ้ามียางหรือรอยแผลสีเขียวอมน้ำเงิน นั่นคือบอนคัน ส่วนบอนหวานจะไม่มีสีใดใด หรือถ้าตัดก้านใบ นำมาทาหลังมือ สัก 2-3 นาที จะรับรู้สัมผัสได้ บอนคันก็จะคันหลังมือ บอนหวานเฉยๆ ธรรมดาๆ

บอนที่กินได้ และเป็นที่นิยมกันอยู่ทั่วไปเกือบทุกภูมิภาค ที่ให้น่าสังเกต เวลามีการจัดงานบุญงานบวชงานมีคนมาร่วมกันอยู่มากมาย อาหารที่เจ้าภาพจัดเลี้ยงคือ “แกงบอน” ชาวบ้านจะระดมคนออกไปตัดบอนมาจากแหล่งน้ำสะอาด ที่มีอยู่ใกล้ชุมชน เอารถยนต์ไปบรรทุกมาเป็นคันรถ นำมาแกงกะทิ ใส่ส่วนประกอบ เช่น หนังหมู หนังวัว หนังควาย หรือเนื้อสัตว์หลายอย่าง แกงก้านบอนที่ตัดเป็นท่อนๆ ปอกเปลือก ใส่น้ำส้มมะขาม หรือใบอ่อนมะขาม ใบอ่อนส้มป่อย หรือผลมะกรูด ให้มีรสเปรี้ยว น้ำส้มจากมะขาม หรือจากยอดส้มป่อยจะช่วยป้องกันยางบอนที่อาจจะทำให้เกิดความคันได้ เพิ่มรสชาติให้อร่อยกลมกล่อม

ส่วนน้ำพริกแกงก็เป็นน้ำพริกแกงป่า แกงส้ม พริกแห้ง หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ เกลือ กะปิ ปลาร้า กะทิ ผงปรุงรส แค่นั้น มีหลายพื้นที่ใช้กระบอกไม้ไผ่แทนหม้อแกง ตั้งเผาหรือย่างไฟ เป็น “หลามบอน” แต่ไม่นิยมใส่กะทิ นิยมใช้ใบบอนอ่อน ที่ยังห่อตัวเป็นม้วน และไม่นิยมให้มีน้ำแกงมาก ผลงานอาหารที่ออกมาจะเป็นแกงแบบข้นๆ ออกเหนียวเหนอะเป็นคล้ายดินเลน แต่รสชาติสุดยอดอร่อย หย่อยอยากให้ลองชิมกันดู

บอนคัน ก็เป็นอีกอย่างที่ชาวบ้านนำมาประกอบเป็นอาหาร เขามีวิธีเก็บ วิธีปรุง ทำให้ได้อาหารที่สุดแสนอร่อย ซึ่งหลายคนไม่มีโอกาสหรือเคยลิ้มชิมรส บอนหวานทำอาหารได้ง่าย แต่บอนคันซึ่งมีสารชนิดหนึ่ง คือ calcium oxalate ทำให้คัน ชาวบ้านเขามีวิธีไม่ให้สารนี้ออกฤทธิ์ได้ ก่อนการปรุงอาหาร เขาต้องต้มเคี่ยวด้วยน้ำธรรมดา แล้วคั้นน้ำทิ้งก่อน 2-3 ครั้ง หรือใช้วิธีเผาไฟก่อน แล้วจึงต้มน้ำและคั้นน้ำออก แล้วปรุงเป็นอาหาร เป็นแกงส้มบอน แกงกะทิบอน หรือทำเป็นอ่อมบอน แต่ที่จำเป็นก็ต้องใส่ของที่มีรสเปรี้ยว ลงไปด้วย เพื่อช่วยตัดพิษคัน เช่น ส้มป่อย ยอดมะขาม น้ำมะกรูด อย่างที่แนะนำไว้ตอนต้น

นอกจากเป็นอาหารคนแล้ว มีบอนหลายชนิดที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี มีการประกวดแข่งขันบอนสีสวยงาม บอนดำ นิยมนำมาจัดสวนหย่อม ในสมัยก่อน นิยมไปตัดบอนน้ำเอาทั้งก้าน ใบ ทั้งแก่ อ่อน มาสับๆ ใส่ปี๊บต้มรวมกับหยวกกล้วย ต้นใบผักโขมหนาม เศษใบผักอื่นๆ ปลายข้าว ผสมรำข้าว เลี้ยงหมูบ้าน หรือหมูดำ มีเผื่อแผ่ให้ไก่บ้านจิกคุ้ยกิน อิ่มแต่ละมื้อแต่ละวันได้อย่างดี ทุ่นต้นทุนค่าอาหารได้มากกว่าสมัยเลี้ยงอาหารกระสอบได้เป็นไหนๆ หมู ไก่ก็เจริญอาหาร และที่สำคัญเป็นหมู ไก่อินทรีย์อย่างแท้จริงด้วย

“ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง” ถือเป็นประโยคที่สามารถใช้ได้กับแทบทุกสถานการณ์ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องความรัก เรื่องการทำงาน รวมไปถึงเรื่อง “การทำธุรกิจ” ด้วย และหากพูดถึงธุรกิจส่วนตัว เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีความฝันอยากจะทำ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ร้านเครื่องประดับ รวมไปถึงการเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง

คงมีหลายคนที่เชื่อว่าหากมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่ว่าจะทำอะไรก็สามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งนั้น แต่ในโลกของการทำธุรกิจ “ความตั้งใจ” เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ เพราะการทำธุรกิจต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่เรียกว่า “ประสบการณ์” ด้วย

คุณมนต์สินี นวลศิริโกศล หรือ คุณติ๋ม และ คุณกัณฑ์พัฒน์ นวลศิริโกศล หรือ คุณเค อดีตเจ้าของกิจการ “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” เค้กเพื่อสุขภาพ ที่เคยประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในตลาดสินค้าเบเกอรี่และคนรักสุขภาพ ที่ปัจจุบันได้ผันตัวเองมาทำธุรกิจขายขนมและผลไม้อบแห้งเนื่องจากพิษทางเศรษฐกิจและอายุที่เพิ่มมากขึ้น

คุณติ๋ม ปัจจุบันอายุ 60 ปี เดิมเป็นคนอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพมหานคร ก่อนทำงานในตำแหน่งเลขานุการในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยช่วงแรกนั้นยังไม่มีความคิดอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ มีเพียงความสนใจเกี่ยวกับการทำเบเกอรี่เท่านั้น ส่วนคุณเค ปัจจุบันอายุ 63 ปีแล้ว พื้นเพเป็นคนกรุงเทพมหานคร หลังจากจบการศึกษาก็ได้มีโอกาสเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำ และเนื่องจากเคยทำงานในด้านการตลาดและการขาย จึงมีความสนใจในเรื่องการทำธุรกิจอยู่เป็นทุนเดิม

ด้วยความรักในการทำเบเกอรี่ คุณติ๋มจึงเรียนทำเบเกอรี่จากหลายสถาบัน ด้วยความหวังที่จะเปิดร้านเป็นของตัวเอง แม้ว่าขณะนั้นจะยังคงทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทแห่งหนึ่งอยู่ก็ตาม แต่เพราะต้องการทำตามความฝันของเธอเอง ประกอบกับอยู่ในช่วงกำลังสร้างครอบครัว จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาดูแลบ้านและทุ่มเทกับการเตรียมเปิดร้านเบเกอรี่ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคุณเคผู้เป็นสามี จนสามารถเปิดร้านเบเกอรี่เป็นของตัวเองได้ในที่สุด

“หากพูดกันในฐานะของผู้ชื่นชอบเบเกอรี่มาก และพยายามจนมีร้านเป็นของตัวเองแล้ว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่หากพูดในฐานะของเจ้าของกิจการ คงต้องบอกว่าการเปิดร้านในครั้งนั้น ถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ในชีวิตเลยก็ว่าได้” คุณติ๋ม เล่า

หลังจากได้ลงทุนเปิดร้านในช่วงแรกธุรกิจก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก จนมีลูกค้าจำนวนมาก แต่ด้วยความอ่อนประสบการณ์ในด้านการบริหารจนถูกยักยอกเงินและปัญหาเรื่องการแข่งขันทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีคู่แข่งที่ผลิตและขายสินค้าประเภทเดียวกันจำนวนมาก ทั้งยังมีเรื่องสัญญาเช่าตึกที่ครบปี เมื่อไม่สามารถทนกับสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ทั้งสองจึงตัดสินใจปิดกิจการร้านเบเกอรี่และถอยกลับมาตั้งหลักใหม่อีกครั้ง

“ตอนนั้นยอมรับว่าท้อมาก เพราะการมีธุรกิจเป็นของตัวเองเรียกได้ว่าเป็นความใฝ่ฝันของทั้งผมและภรรยา แต่ด้วยความอ่อนประสบการณ์และปัจจัยเรื่องการตลาด รวมทั้งเรื่องการแข่งขันหลายๆ อย่าง ทำให้การเปิดร้านเบเกอรี่ในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่หวัง แต่เราก็ยังไม่ล้มเลิกความตั้งใจในการทำธุรกิจ เพราะเชื่อว่าด้วยประสบการณ์และบทเรียนที่มี การทำตามความฝันอีกครั้งก็คงไม่ยากเกินความสามารถมากนัก” คุณเค บอก

ต่อมาคุณเคมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องลาออกจากงานที่ทำอยู่ ส่วนตัวคุณติ๋มเองก็ยังมีความตั้งใจอยากจะทำเบเกอรี่ จึงเริ่มปรึกษากันเรื่องการทำเค้กอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เลือกที่จะตีตลาดคนรักสุขภาพและชื่นชอบเบเกอรี่ด้วยเค้กแครอต ในชื่อ “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” เค้กเพื่อสุขภาพ

“เค้กแครอตนั้นเดิมทีเป็นสูตรของเค้กที่มาจากอเมริกา แต่ได้นำมาปรับสูตรและส่วนผสมบางชนิดเพื่อให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น อีกทั้งยังเลือกใช้แครอตสดเป็นส่วนผสมหลัก ้จนได้ชื่อว่าเป็นเค้กแครอตเพื่อสุขภาพที่อร่อย ใช้แป้ง-น้ำตาลน้อยและไขมันต่ำ โดยในตอนนั้นก็ได้ผลิต “คุกกี้คอร์นเฟลก” คุกกี้ธัญพืชเพื่อสุขภาพควบคู่ไปด้วย” คุณติ๋ม บอก

การลงทุนเปิดตลาดเค้กเพื่อสุขภาพครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการเริ่มต้นและเรียนรู้จากความผิดพลาดไปพร้อมๆ กัน โดยเริ่มจากการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากนัก และเน้นการขายและโฆษณาผ่านทางคนรู้จัก ก่อนที่จะมีการตั้งบู๊ธแนะนำสินค้า นอกจากนี้ คุณเคยังได้นำประสบการณ์จากการทำงานด้านการตลาดและการขายที่สั่งสมมากว่า 20 ปี มาปรับใช้ในการโฆษณาและโปรโมตด้วย

จนในที่สุดจากที่เป็นเพียงแค่ธุรกิจเล็กๆ ที่ทำกันในครอบครัว “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในตลาดเบเกอรี่อีกครั้ง ซึ่งจากความนิยมของลูกค้าและการโฆษณาที่ถูกวางแผนเอาไว้อย่างดีส่งผลให้ “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” ได้รับรางวัลการันตีความอร่อยมากมาย ทั้งรางวัลคลีน ฟูดส์ กูดเทส ของ คุณเสนาะ เทียนทอง รางวัลอร่อยทั่วไทย ของ คุณลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ และรางวัลเชลล์ชวนชิม จาก คุณชายถนัดศรี ซึ่งถือเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จที่ทั้ง คุณเคและภรรยารู้สึกภาคภูมิใจมาก

จุดอิ่มตัวของธุรกิจ “แครอทเค้ก คุณติ๋ม”

หลังจากที่ประสบความสำเร็จ ทั้งสองคนก็หันมาทุ่มเทให้กับการผลิตและการตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างที่ทราบดีว่าเมื่อมีขึ้นก็ต้องมีลง การทำธุรกิจเองก็ไม่สามารถหนีพ้นตรรกะนี้ได้เช่นกัน แม้ว่า “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” จะเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมาก แต่การแข่งขันทางธุรกิจก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในวงการเบเกอรี่ ที่ต้องยอมรับว่าการคิดเมนูใหม่ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ด้วยความเชื่อมั่นในแบรนด์ของตัวเอง คุณติ๋มจึงยังเดินหน้าผลิตเค้กแครอตต่อไปท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในวงการธุรกิจ

จนกระทั่งล่วงเข้าสู่ปีที่ 10 คุณติ๋มและคุณเคต่างก็รู้ดีว่าถึงเวลาที่ “แครอทเค้ก คุณติ๋ม” ต้องปิดฉากลงจริงๆ เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถผลิตเค้กในจำนวนมากได้ ทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยังมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยความตั้งใจที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้าและจะไม่ลดมาตรฐานการผลิต พอนานเข้าจึงกลายเป็นว่าเมื่อหักลบกันจริงๆ กลับมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ

“ถ้าถามว่าเสียใจไหมที่ต้องเลิกทำเค้ก ก็คงต้องบอกว่ามันก็มีบ้าง เพราะมันเป็นสิ่งที่รัก แต่ก็ต้องยอมรับความจริง จะให้ไปดันทุรังทำมันก็ไม่ได้ และแม้ว่าจะเลิกทำเค้กส่งแล้ว แต่นานๆ ก็จะมีลูกค้าประจำโทร.เข้ามาสั่ง ซึ่งถ้าทำไหวเราก็จะทำ แต่ลูกค้าหลายคนเขาก็เข้าใจว่าเราอายุเยอะแล้ว ทำอะไรมันก็ไม่สะดวกเหมือนเมื่อก่อน แต่ตลอดเวลาที่ทำเค้กแครอตมามันก็ถือเป็นความภูมิใจของเรากับสามี ที่สามารถทำให้ธุรกิจเล็กๆ ในครอบครัวเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักได้มากขนาดนี้” คุณติ๋ม บอก

ปิดกิจการ สู่การค้าขายเล็กๆ ของครอบครัว

หลังจากที่ตัดสินใจเลิกผลิตเค้กแครอต คุณเคและคุณติ๋มก็เริ่มมาปรึกษากันอีกครั้งว่าจะหันมาทำงานอะไรดี เพื่อให้เหมาะกับความชื่นชอบของตัวเองและอายุที่เพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะหาสินค้ามาจำพวกขนมและผลไม้อบแห้งมาขายแทน

โดยสินค้าที่รับมาขายก็ยังคงเน้นเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มรักสุขภาพเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเพราะคุณเคและคุณติ๋มชื่นชอบการผลิตและการขายสินค้าประเภทอาหารเพื่อสุขภาพอยู่เป็นทุนเดิม โดยครั้งนี้จะเน้นการออกบู๊ธขายตามโรงพยาบาล เนื่องจากเหมาะกับสินค้าที่ขาย ส่วนกลุ่มลูกค้าส่วนมากก็มีทั้งคนที่มาโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ อีกทั้งราคาค่าเช่าพื้นที่ก็ไม่สูงมากอีกด้วย