บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด เริ่มมีความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง

และมีการเตรียมความพร้อมไว้ระยะหนึ่ง ในการที่จะนำเสนอทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร และที่ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกรเป็นพิเศษ เพราะกลุ่มเกษตรกรหลักๆ ในประเทศไทย เป็นกลุ่มชาวนา รองลงมาคือ ชาวไร่ ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย แต่เพียงแค่ว่าชาวนาจะได้รับผลกระทบเยอะที่สุด เพราะว่าเป็นพืชที่ใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในรอบการปลูก 100-120 วัน ดังนั้น เมื่อข้าวเป็นพืชที่ใช้น้ำในการปลูกมากที่สุดและเป็นเกษตรกรกลุ่มใหญ่ นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดภัยแล้งขึ้น ชาวนาจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

จึงได้เริ่มทำโครงการศรแดงพืชน้ำน้อย สู้ภัยแล้งขึ้นมา เพื่อช่วยแนะเกษตรกรที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้ ให้หันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย และอายุสั้นแทน โดยทางบริษัทมีงานวิจัยทดลองทำในฟาร์ม และจะยกตัวอย่างให้เกษตรกรได้เห็นว่า ในการปลูกข้าว 1 ไร่ ต้องใช้น้ำมากถึง 1,100 ลูกบาศก์เมตร แต่ถ้าปลูกผัก ข้าวโพด แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักใบ จะใช้น้ำแค่ประมาณ 300-600 ลูกบาศก์เมตร ต่อการปลูก 1 ครอป นั้นหมายความว่าในช่วงที่เกษตรกรไม่สามารถทำนาได้ก็จะมีทางออก เป็นการปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย ระยะการปลูกสั้น และสร้างรายได้มากกว่า

ต่อยอด โครงการศรแดงพืชน้ำน้อย
เริ่มต้น ปีที่ 2 กุมภาพันธ์นี้
คุณอิสระ กล่าวถึงที่มาและจุดประสงค์ของโครงการศรแดงพืชน้ำน้อยว่า สืบเนื่องจากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ทาง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ได้ตระหนักถึงปัญหาภัยแล้งมาตลอด ประกอบกับมีความเชี่ยวชาญเรื่องเมล็ดพันธุ์อยู่แล้ว จึงได้จัดทำโครงการศรแดงพืชน้ำน้อย ขึ้นมาเพื่อช่วยเกษตรกร โดยโครงการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 2561/2562 มีการทำกิจกรรมร่วมกับทางภาครัฐ ซึ่งได้รับผลตอบรับจากเกษตรกรและทุกภาคส่วนดีมาก

เริ่มต้นที่กลุ่มเกษตรกรลุ่มน้ำภาคกลาง ที่จังหวัดอ่างทอง มีจำนวนสมาชิกกลุ่ม ประมาณ 300-400 คน ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรชอบ เพราะเดิมทีเกษตรกรไม่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผัก เพราะตลอดชีวิตอยู่กับการทำนา เขาจึงไม่รู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมา เขาจะสามารถเอาตัวรอด เปลี่ยนนาข้าวเป็นแปลงผักได้อย่างไร ทางบริษัทจึงจัดทำโครงการศรแดงพืชน้ำน้อยขึ้นมาเพื่อช่วยให้เกษตรกรมองเห็นทางรอด เขาสามารถใช้พื้นที่บางส่วนที่ไม่สามารถทำนาได้มาปลูกผักเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อสร้างรายได้ตอนที่ยังไม่สามารถทำนาได้

เนื่องจากปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรผู้ผลิตมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต ใน ปี 2562/2563 ทางศรแดง จึงได้ดำเนินงานต่อ สามารถดูรายละเอียดการเข้าร่วมได้ในตอนท้ายๆ

ปลูกพืชน้ำน้อยกับศรแดง ทั้ง 7 ชนิด
ช่วยผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้ง
จากที่ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ได้ทำการวิเคราะห์ทดลองปลูกและได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า พืชใช้น้ำน้อยของศรแดงทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่

ข้าวโพดข้าวเหนียว สวีทไวโอเล็ท และข้าวโพดหวาน จัมโบ้สวีท
ฟักทอง ข้าวตอก และประกายเพชร
ถั่วฟักยาว ลำน้ำชี และลำน้ำพอง
แฟง สะพายเพชร
แตงกวา ธันเดอร์กรีน และบิ๊กกรีน
ผักใบ คะน้าพันธุ์บางบัวทอง 35 ผักบุ้งยอดไผ่ 9 และกวางตุ้งทศกัณฑ์
พริก เพชรมงกุฎ
ใช้น้ำประมาณ 300-600 ลูกบาศก์เมตร ต่อการปลูก 1 ฤดู และพืชทั้ง 7 สายพันธุ์ ที่แนะนำได้รับการทดสอบจากแปลงทดลองในฟาร์มแล้ว ซึ่งมีตารางเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำของแต่ละพืชไว้อย่างชัดเจน

ข้าว อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 100 วัน
อ้อย อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 300 วัน
มันสำปะหลัง อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 365 วัน

จะเห็นได้ว่า พืชหลักของคนไทย ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ใช้น้ำมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนั้นเลย แต่ถ้ากลับมาดูในส่วนของพืชผักที่ศรแดงแนะนำทั้ง 7 ชนิด เริ่มต้นด้วย

ข้าวโพด อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 438 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 75 วัน
ฟักทอง อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 616 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 90 วัน
ถั่วฝักยาว อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 458 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 80 วัน
แฟง อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 551 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 65 วัน
แตงโม อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 668 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 85 วัน
แตงกวา อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 660 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 50 วัน
ผักใบ คะน้า กวางตุ้ง อัตราการใช้น้ำ ประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ในระยะเวลา 40-60 วัน
และในปีนี้ทางบริษัทเพิ่ม พริกขี้หนู เข้ามาอีก 1 ชนิด ในการปลูกพริก 1 ไร่ จะใช้น้ำใกล้เคียงกับการปลูกฟักทองประมาณ 600 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ และพริกเป็นพืชที่ปลูกง่าย ตลาดกว้าง และที่สำคัญพันธุ์พริกที่เพิ่มเข้ามา เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทนแล้งโดยเฉพาะ สามารถปลูกในพื้นที่อาศัยน้ำฝนหรือไม่มีระบบน้ำชลประทาน

แนะนำเทคโนโลยีระบบน้ำ
ใช้ให้ตรงกับพืช คุ้มค่าเกินเงินลงทุน
คุณอิสระ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบน้ำที่เหมาะสมในฤดูแล้งว่า ทางบริษัทได้ศึกษาระบบการให้น้ำที่คุ้มค่า และประหยัดที่สุดคือ ระบบเทปน้ำหยด และการทำระบบน้ำเยอะถือว่าเหมาะกับทุกพื้นที่ ถ้าจะให้ดีต้องมีอุปกรณ์เสริม คือพลาสติกคลุมดิน ซึ่งทั้งสองอุปกรณ์นี้มีความเกี่ยวข้องกันคือ การคลุมพลาสติกก็เพื่อต้องการเก็บความชื้นในดินไม่ให้ระเหยออกไป หากปล่อยให้หน้าแปลงโดนแสงแดดเต็มๆ ทุกวัน น้ำจะระเหยหมด ซึ่งก็หมายความว่าน้ำที่ระเหยไปจะไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้านำพลาสติกมาคลุมไว้ก็จะช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน

ช่วยประหยัดในเรื่องของการกำจัดวัชพืชเมื่อพืชไม่โดนแสงแดดจะไม่งอกออกมา แต่ถ้าเกษตรกรไม่สะดวกใช้พลาสติก เพราะไม่มีเงินลงทุน เกษตรกรสามารถใช้วัสดุที่มีอยู่ เช่น ฟางข้าว หรือใบไม้ที่มีในท้องถิ่นมาใช้แทนกันได้ ส่วนระบบน้ำหยด ซื้อครั้งเดียวสามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก 2-3 ครั้ง และปัจจุบันเกษตรกรจะสะดวกยิ่งขึ้น เพราะท่านสามารถไปซื้อที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรแล้วบอกทางร้านได้เลยว่า ขนาดแปลงความกว้างความยาวเท่าไร ทางร้านจะสามารถแนะนำได้ทันทีว่า จะต้องใช้เทปน้ำหยดกี่เมตร ระบบเทปน้ำหยดถือว่าเหมาะกับเกษตรกรในช่วงหน้าแล้งมากที่สุด เหมาะทั้งเรื่องต้นทุน และช่วยประหยัดน้ำได้เยอะ

เกษตรกรมือใหม่ หมดกังวลการตลาด
ศรแดง ยินดีเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา
สำหรับเกษตรกรที่เป็นมือใหม่หัดปลูกพืชน้ำน้อย และมีความกังวลเรื่องการตลาด ปลูกแล้วขายที่ไหน คุณอิสระ บอกว่า นับเป็นความโชคดีของทางบริษัทที่

ทางบริษัทมีเครือข่ายกับทางพ่อค้าแม่ค้า ปลูกเสร็จแล้วบริษัทมีตลาดรองรับ
เกษตรกรที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการศรแดงพืชน้ำน้อย ท่านสามารถติดต่อมาสอบถามข้อมูลได้กับทางบริษัทได้โดยตรง
ทางบริษัทจะมีพนักงานภาคสนามกระจายตัวอยู่ตามแต่ละจังหวัด ประมาณ 20 คน ที่พร้อมให้ความรู้ หรืออธิบายในเรื่องของการปลูกและการตลาด หรือถ้าเกษตรกรรวมกลุ่มกันได้ให้แจ้งมาทางบริษัท เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไปเพื่อช่วยให้คำปรึกษา
กลุ่มร้านค้าตัวแทนจำหน่าย สามารถแจ้งความจำนงได้ว่า อยากให้บริษัทไปจัดโครงการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประกวดใช้น้ำน้อย ปีที่ 2 อุทัยธานี
โครงการศรแดงพืชน้ำน้อย ปีที่ 2 เลือกทำโครงการนำร่องที่จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากอุทัยธานีเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งมากที่สุด และความแตกต่างของทั้ง 2 โครงการ คือ

ปีที่ 1 มีการเสนอสายพันธุ์พืชเปรียบเทียบให้เห็นว่า พืชที่ใช้น้ำน้อยของศรแดง ทั้งหมด 7 ชนิด มีอะไรบ้าง มีพืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ข้าวโพด ผักใบ คะน้า ผักบุ้ง แฟง ฟักทอง นำเกษตรกรเข้ามาอบรม และมีหน่วยส่งเสริมของบริษัทเข้าไปช่วยให้ความรู้ มีชุดกล่องเมล็ดพันธุ์และคำแนะนำต่างๆ ให้กับทางภาครัฐ เพื่อช่วยส่งเสริมเกษตรกร

แต่ใน ปีที่ 2 ทางบริษัทมองว่า การให้คำแนะนำเรื่องเมล็ดพันธุ์อย่างเดียวคงไม่พอ แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ เรื่องของเทคโนโลยีการใช้น้ำ ใช้น้ำอย่างไรให้เกิดคุณค่าสูงสุด ยกตัวอย่าง ระบบน้ำหยด สปริงเกลอร์ หรือระบบหัวฉีดต่างๆ ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะให้เกษตรกรเรียนรู้แล้วนำไปใช้ เพียงแต่เกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วนนี้ แต่ถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่าจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เจอในปัจจุบัน

กติกาการเข้าร่วมโครงการ ปีที่ 2 …เริ่มแข่งขันเดือนกุมภาพันธ์ เสร็จสิ้นใช้เวลา 60-65 วัน รับสมัครตัวแทนของตำบล หรือหมู่บ้าน เกษตรกรที่เข้ามาสมัครจะต้องมีแปลงปลูกพืช 3 แปลง และต้องใช้ระบบน้ำกับเมล็ดพันธุ์ที่ทางโครงการจัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งระบบน้ำ เมล็ดพันธุ์ และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ทางโครงการจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เกษตรกรมีหน้าที่ทำตามกติกาที่ตั้งไว้ โดยจะมีทีมพี่เลี้ยงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แต่ละกลุ่ม ดูแลทุกขั้นตอนจนถึงการเก็บเกี่ยว และวันสุดท้ายของการเก็บเกี่ยวจะมีการตัดสินว่า กลุ่มใดเป็นผู้ชนะ หลังจากนั้น จะมีการมอบรางวัลเป็นสินน้ำใจ ซึ่งโครงการไม่ได้มุ่งหวังแจกของรางวัลเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้โครงการศรแดงพืชน้ำน้อยไปถึงเกษตรกร และอยากให้เกษตรกรมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญเกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถที่จะนำเอาองค์ความรู้ไปต่อยอดถ่ายทอดให้กับเพื่อนบ้านได้

เกณฑ์พิจารณาการให้คะแนน…

พิจารณาดูว่าเกษตรกรสามารถนำสิ่งที่ให้ไป นำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่
ผลผลิตที่ได้ น้ำหนัก ความสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่
ของรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ …

รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 18,500 บาท

รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 12,000 บาท

รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 6,500 บาท

ทั้ง 3 รางวัลนี้ จะมีอุปกรณ์ทำการเกษตร ระบบน้ำ เมล็ดพันธุ์ผัก ให้ไปพร้อมเพื่อให้เกษตรกรได้มีทุนต่อยอด พื้นที่บ้านทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ใต้เขื่อนอุบลรัตน์ แต่ในพื้นที่กลับไม่มีน้ำใช้ เพราะพื้นที่อยู่สูงกว่าแหล่งน้ำ และไม่มีระบบส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ซึ่งภายหลังได้แก้ไขโดยการทำสถานีส่งน้ำ ฝาย และวางระบบท่อเพื่อให้สามารถส่งน้ำเข้าสู่แปลงเกษตรได้

เมื่อในพื้นที่มีน้ำแล้ว จึงเริ่มส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา อาทิ ฟักทอง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน โดยเอาตลาดนำ ดึงผู้มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วย มีมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทมาให้ความรู้ และบริษัทเอกชนเข้ามารับซื้อ ข้าวโพดหวานจึงเป็นพืชที่เกษตรกรให้ความสนใจ

ข้าวโพดหวาน ใช้ระยะเวลาในการปลูก 70-90 วัน การดูแลรักษาไม่ยาก ให้น้ำอย่างพอเหมาะ เมื่อได้ผลผลิตข้าวโพดสามารถขายได้ทุกส่วน ส่วนแรก ขายฝักส่งบริษัทรับซื้อจากจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะต้องมีขนาด ฝักละ 3 ขีด ขึ้นไป ในราคากิโลกรัมละ 4 บาท ส่วนที่สอง ฝักตกเกรดต้มขายในชุมชน และ ส่วนที่สาม สับลำต้นขาย ในราคากิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีสหกรณ์โคนมขอนแก่น มารับซื้อ เพื่อนำไปเลี้ยงโค เพราะต้นข้าวโพดสับเมื่อให้โคนมกินจะมีโปรตีนสูง น้ำนมโคจะดี

ปัจจุบัน เป็นปีที่ 4 แล้ว ที่มีการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานหลังนา มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 104 คน พื้นที่ 238 ไร่ และได้รวมตัวกันในรูปกลุ่ม มีการหักเงินส่วนต่างจากการขายข้าวโพดแบบส่ง 40 สตางค์ เพื่อบริหารจัดการในกลุ่มซื้ออุปกรณ์ต่างๆ และค่าความชื้น

คุณประดิษฐ์ หนองผือ ประธานกลุ่มปลูกพืชหลังนา ได้เล่าให้เราฟังว่า เดิมทำนาปรัง ในพื้นที่ 6 ไร่ ขายได้ประมาณ 30,000 กว่าบาท โดยยังไม่หักต้นทุน ซึ่งอาจจะไม่ได้กำไรเลย จึงได้หันมาทดลองปลูกข้าวโพดหวานที่ดูแลง่ายกว่า ใช้น้ำน้อย ขายได้ทุกส่วน และยังมีตลาดที่แน่นอน จากการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรบางส่วน ซึ่งได้ผลดี เลยเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดหวานทั้ง 6 ไร่ คาดว่าพอครบรอบ 3 เดือนนี้ จะได้กำไร ประมาน 70,000 บาท

คุณประดิษฐ์ เล่าให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ข้าวนาปรัง กับข้าวโพดหวาน ว่า นาปรังราคาไม่คงที่ ต้นทุนสูง แต่จำเป็นต้องทำ หักลบแล้วอาจขาดทุนมากกว่ากำไร ส่วนข้าวโพดหวานดูแลง่าย ใช้น้ำน้อย ขายได้ทุกส่วน มีตลาดแน่นอน

ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 ซึ่งเป็นรางวัลที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้กับองค์กรภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจากคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยเป็นการสะท้อนถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันของประเทศได้

แบ่งรางวัลเป็น 3 ระดับ คือ รางวัล Thailand Quality Award (TQA) รางวัล Thailand Quality Class Plus (TQC Plus) และรางวัล Thailand Quality Class (TQC) โดยมี นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมงาน

ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่ ธ.ก.ส. เข้าร่วมการประเมินและได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class (TQC) เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

สภาพดินที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหรือบางพื้นที่เป็นดินทรายในพื้นที่ภาคอีสาน ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่ ยกเว้นพื้นที่ทำนาที่ยังคงเพาะปลูกข้าว แต่กว่า 30 ปีแล้ว ที่ชาวบ้านสว่างพัฒนา ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เปลี่ยนจากการปลูกพืชไร่ เป็นพืชสวน และเป็นพืชที่สามารถทำนอกฤดู รวมถึงส่งออก ทำเงินให้กับชาวบ้านสว่างพัฒนาได้มาก

ต้องยกนิ้วให้กับ คุณบุญส่วน แก้วไพฑูรย์ เจ้าของไร่มะม่วงสวนอุดม ที่ริเริ่มทำปลูกและผลิตนอกฤดู จนสามารถส่งเสริมและรวมกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก และจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ในปี 2548

ชื่อสวนอุดม มาจาก ชื่อของคุณบุญส่วนและ คุณอุดม ภรรยา นำมารวมกัน แท้จริงแล้ว คำว่า “สวน” เป็นชื่อท้ายของคุณบุญส่วน แต่เกิดผิดพลาดตอนทำทะเบียนราษฎร์กับอำเภอ จึงเติมไม้เอกเพิ่มมาให้ ส่วนคำว่า “อุดม” คือ ชื่อภรรยาของคุณบุญส่วน เมื่อนำมารวมกันจึงตั้งเป็นชื่อไร่ “มะม่วงสวนอุดม”

คุณบุญส่วน จบเพียงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แต่จังหวะและโอกาสทำให้เขาได้ไปศึกษาดูงานการปลูกมะม่วงแทนคุณพ่อ และเริ่มสนใจมานับตั้งแต่นั้น

หลังแต่งงานย้ายมาอยู่อำเภอบ้านแฮด การทำเกษตรที่สามารถทำได้ขณะนั้นคือ การปลูกพืชไร่ เป็นข้าวโพด มันสำปะหลัง เช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป เมื่อปลูกในพื้นที่เดิมเป็นระยะเวลานาน ก็ประสบปัญหาผลผลิตลดน้อยลง เนื่องจากแร่ธาตุในดินลดน้อยลงตามการนำไปใช้ของพืชที่ปลูก ยิ่งเติมแร่ธาตุในดินมากเท่าไร การเพิ่มปัจจัยการผลิตก็สูงขึ้นตาม คุณบุญส่วนมองว่า ปัญหานี้จะไม่หมดไปแน่นอน หากยังทำการเกษตรแบบเดิมอยู่

ปี 2531 เป็นปีแรกที่ เริ่มลองผิดลองถูก นำความรู้ที่ไปศึกษาดูงานการปลูกมะม่วงในครั้งนั้นมาปรับเปลี่ยนการทำเกษตร จากพืชไร่ เป็นพืชสวน โดยเริ่มทดลองปลูกมะม่วงบนพื้นที่ 8 ไร่ ระยะห่าง 8×8 เมตร ในยุคนั้นมะม่วงมันเป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมเป็นกลุ่มมะม่วงมัน

นำมะม่วงแก้ว มะม่วงกะล่อน และมะม่วงป่า ปลูกเป็นต้นพันธุ์ หลังจากนั้น 1 ปี เปลี่ยนยอดมะม่วงเป็นมะม่วงเขียวเสวย ฟ้าลั่น หนองแซง แรด ทองดำ พิมเสนมัน หนังกลางวัน ขายตึก แต่สุดท้ายเมื่อผลผลิตออกในปีที่ 4 มะม่วงที่สามารถขายในท้องตลาดได้คือ มะม่วงเขียวเสวย ฟ้าลั่น หนองแซง และมะม่วงแรด

เป็นผลของการเปลี่ยนยอดมะม่วงครั้งที่ 2 ให้เป็นมะม่วงที่สามารถขายในท้องตลาดได้ และคราวนี้ นำมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เข้ามาเปลี่ยนยอดร่วมด้วย ผลผลิตชุดแรก ขายในปี 2535 พื้นที่ 8 ไร่ เก็บผลผลิตขายครั้งแรกได้เงินเพียง 8,000 บาท ไม่มาก แต่ก็ถือว่ามาถูกทาง จึงเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 18 ไร่ และเริ่มปลูกต้นพันธุ์ใหม่ ก่อนนำมะม่วงโชคอนันต์มาเปลี่ยนยอดในปีถัดมา

เหตุที่นำมะม่วงโชคอนันต์มาเปลี่ยนยอด สมัคร Holiday Palace เพราะคุณบุญส่วนเห็นต้นมะม่วงโชคอนันต์ที่ปลูกในสำนักงานเกษตรอำเภอแห่งหนึ่ง ให้ผลผลิตในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นนอกฤดูการผลิต ด้วยความไม่รู้ จึงเข้าใจเองว่ามะม่วงสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตนอกฤดู จึงขอซื้อกิ่งทาบ แล้วนำมาเปลี่ยนยอด ขยายพันธุ์จาก 1 กิ่งทาบ ให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่เกือบ 30 ไร่ หลังจากขยายพื้นที่ปลูกอีกในรอบที่ 3

ทำให้เกิดความผิดพลาด เมื่อมะม่วงโชคอนันต์ให้ผลผลิตในฤดู เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ขายบ้าง แจกบ้าง ทิ้งบ้าง จึงเป็นแรงกระตุ้นให้คุณบุญส่วน เริ่มศึกษาจริงจังกับการทำมะม่วงนอกฤดู และสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูได้สำเร็จ เริ่มวางแผนการตลาดแต่ละปี ผลิตปีละ 4-6 รุ่น

สภาพดินที่เป็นดินทราย จำเป็นต้องเก็บน้ำไว้ใช้ พื้นที่สวนจึงขุดบ่อไว้เก็บน้ำหลายแห่ง รองรับน้ำฝนเมื่อถึงฤดูฝน และขุดบ่อบาดาล เพื่อสูบน้ำเก็บไว้ในสระ ก่อนจัดการระบบน้ำในสวนมะม่วงด้วยการใช้มินิสปริงเกลอร์ ปุ๋ย ให้ไปพร้อมกับระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์

การปลูกมะม่วงจะเริ่มปลูกด้วยต้นพันธุ์ก่อน 1 ปี จากนั้นเปลี่ยนยอดสายพันธุ์มะม่วงที่ต้องการ ระหว่าง 1 ปี ปลูกปอเทืองหรือพืชตระกูลถั่วร่วมด้วย จากนั้นไถกลบ เป็นการปรับปรุงดิน

การทำมะม่วงนอกฤดู ของคุณบุญส่วน มีเทคนิค ตามนี้

เมื่อมะม่วงเริ่มติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งทั้งหมด รุ่นแรก เด็ดดอกทิ้งในเดือนมกราคม และรุ่นที่ 2 และ 3 เด็ดดอกทิ้ง ระยะห่าง 1 เดือน มะม่วงจะยังให้ผลผลิตดี รุ่นที่ 4-6 ระยะห่างการเด็ดดอกทิ้ง 1 เดือนเช่นกัน แต่จำเป็นต้องใช้สารเพื่อกระตุ้นการติดดอก หลังเด็ดดอกทิ้งในทุกรุ่นประมาณ 1 เดือน มะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอกออกมาใหม่ หลังเด็ดดอกทิ้งแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งไปในคราวเดียวกัน เมื่อมะม่วงเริ่มแตกใบอ่อน ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ราดในรุ่นที่ 4-6 ตลอดการผลิตมะม่วงนอกฤดู ให้ปุ๋ยทั้งหมด 4 ครั้ง ผลผลิตที่ได้จะเริ่มเก็บขายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูกาลของมะม่วง