บริษัท เอ็น ซี โคโคนัท จำกัด ผู้ส่งออกมะพร้าวน้ำหอม

กล่าวว่า ราคามะพร้าวน้ำหอมของไทยมีความสมดุลในตลาด มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดประมาณ 1 ล้านลูก ต่อวัน และมีตลาดจีนมารองรับ ส่วนผลผลิตที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ก็มีกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมารองรับ ส่วนคู่แข่งอย่างประเทศเวียดนามเริ่มเข้าไปแข่งกับประเทศไทยที่ตลาดอเมริกามากขึ้น ขณะที่ตลาดจีนยังไม่ยอมรับผลผลิตจากเวียดนามมากเท่าไร ซึ่งในปี 2561 ประเทศไทยจะยังคงเป็นผู้นำในการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมอยู่ ทั้งด้านคุณภาพ รสชาติ และปริมาณ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่มีล้นตลาดแน่นอน แต่ต้องรักษาคุณภาพ และป้องกันไม่ให้มะพร้าวพันธุ์ก้นจีบออกจากเมืองไทย

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนตุลาคม 2560 ว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2560 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.6 – 4.0) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 และเป็นการขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในครั้งก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นไปตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยและจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงปีหลัง โดยเฉพาะการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือในหมวดยานยนต์ ซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวเร่งขึ้นของยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามรายได้ครัวเรือนในภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

สำหรับการบริโภคภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มชะลอลงจากการเบิกจ่ายลงทุนภายใต้งบเพิ่มเติมปี 2560 ที่ค่อนข้างเป็นไปอย่างล่าช้า แต่คาดว่าจะสามารถทยอยเบิกจ่ายและเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจในปีถัดไป สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 – 0.9) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และแนวโน้มต้นทุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 – 4.3) โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ตามกรอบรายจ่ายลงทุนภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2561 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น และความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น สำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศ คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าและบริการของไทยอันเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2561 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9 – 1.9) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป”

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว”

1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2560 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.6 – 4.0) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 และเป็นการขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในครั้งก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.8 – 6.2) ซึ่งเป็นไปตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยและจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงปีหลัง โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6 – 3.0)โดยเฉพาะการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือในหมวดยานยนต์ ซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวเร่งขึ้นของยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.8 ในไตรมาสที่ 3 สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่มีการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.1 – 3.5) ตามรายได้ครัวเรือนในภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

สำหรับการบริโภคภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า ส่งผลให้การบริโภคภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2 – 2.6) อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มชะลอลงมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.1 – 4.5) จากการเบิกจ่ายลงทุนภายใต้งบเพิ่มเติมปี 2560 ที่ค่อนข้างเป็นไปอย่างล่าช้า แต่คาดว่าจะสามารถทยอยเบิกจ่ายและเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจในปีถัดไป

1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 – 0.9) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามแนวโน้มต้นทุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 43.0 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.5 – 9.9 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลที่ 29.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 29.7 – 30.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.8 – 14.2) ในขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.3 – 8.7)

2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2561 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 – 4.3) โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ตามกรอบรายจ่ายลงทุนภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2561 และกรอบการลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2561 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 – 3.1) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 11.4 – 12.4) นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น และความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะยังขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 ถึง 3.9) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 – 3.9) จากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี

นอกจากนี้ ภาวะการเงินที่ผ่อนคลายจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาครัวเรือน สำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศ คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าและบริการของไทยอันเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 – 4.5) ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9 – 5.9) สอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอีกด้วย

2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2561 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9 – 1.9) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 42.4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 8.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.3 – 9.3 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 27.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 26.7 – 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2561 จะขยายตัวร้อยละ 7.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.4 – 8.4) ขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2 – 6.2)

ดร. มุจลินทร์ ผลกล้า อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เผยถึงการลงพื้นที่ให้บริการวิชาการชาวชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพูดเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้คน ในชุมชนด้วยการนำศาสตร์ภาษาไทยที่โปรแกรมมีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดให้ชาวบ้าน เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะด้านการประชาสัมพันธ์สินค้าที่มีอยู่ให้เป็น ที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ทั้งยังสนองพันธกิจมหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
คณาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทยลงพื้นที่เกาะยอรวม 5 ครั้ง เพื่อสำรวจพื้นที่และสอบถามความต้องการของชุมชน พบว่าสิ่งที่ต้องการคือให้สินค้าขายดีและมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการอบรมจึงพยายามให้คนในชุมชนได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะการเขียนสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเปิดโอกาสให้จัดรายการวิทยุ บอกเล่าถึงผลิตภัณฑ์ของดีเกาะยอ ถ่ายทอดไปทั่วทั้งจังหวัดสงขลา พร้อมแพร่ภาพสดทางเฟซบุ๊ก

“สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการทำวิจัยร่วมด้วย คือการวิจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยขณะนี้โปรแกรมได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย 2 เรื่องคือ การศึกษาสารสนเทศชุมชนเพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา และการศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวตลาดวัฒนธรรมวิถีชุมชนในพื้นที่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งโครงการวิจัยทั้ง 2 เรื่องถือเป็นมิติใหม่ของคณาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทยที่จะได้ขยายพื้นที่บริการวิชาการและการวิจัยไปพร้อมกัน” ดร. มุจลินทร์ กล่าว

ด้าน อาจารย์สร้อยสุดา ไชยเหล็ก ซึ่งร่วมลงพื้นที่ กล่าวว่า ชุมชนเกาะยอมีความอุดมสมบูรณ์ โดยได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาหลายกลุ่ม นำสิ่งที่มีอยู่มาแปรรูปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยชาวบ้านมีความเป็นปราชญ์ทางภูมิปัญญาอยู่แล้ว มีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง เช่นเดียวกับที่โปรแกรมมีอาจารย์ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในศาสตร์ของการพูด การเขียนเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ซึ่งตรงกับความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการให้สินค้าของตัวเองขายดีเป็นที่รู้จักมากขึ้น

นายชาตรี เกตุเรน สหกรณ์จังหวัดยะลา เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเตรียมความพร้อมการผลิตลองกองคุณภาพ (Premium) การรวบรวมและการเชื่อมโยงสู่ตลาด Modern trade ณ สหกรณ์อิสลามซอฮาบะฮ์ จำกัด อำเภอรมัน จังหวัดยะลา ว่า ปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นสมาชิกสหกรณ์ในเขตพื้นที่ อำเภอรามัน จำนวน 100 คน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้แบ่งปันข้อมูลร่วมกันในการผลิตลองกองคุณภาพ (Premium) หรือ เกรด A และ B โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน มีเจ้าภาพหรือแกนกลางในการผลักดันและสร้างกลไกในการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ นำนวัตกรรมมาพัฒนาผลผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการสร้างองค์ความรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมาการผลิตแบบเดิมๆ สู่การผลิตสินค้าในเชิงธุรกิจเกษตรรูปแบบใหม่ เกษตรกรต้องรวมกลุ่มการผลิต ขับเคลื่อนกิจกรรมการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพให้กลุ่มเป็นแกนหลักในการดำเนินงานบนความต้องการ ร่วมกันหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตสร้างอำนาจในการต่อรอง และการเชื่อมโยงตลาดอย่างเป็นระบบ

ดังนั้น สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตลองกอง (Premium) ตามมาตการพักชำระหนี้ ลูกค้า ธ.ก.ส. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างเกษตรกรต้นแบบเป็นฐานการผลิตลองกองคุณภาพ พัฒนากลุ่มการผลิต กลุ่มรวบรวม เพื่อผลิตลองกองคุณภาพ (Premium) โดยผ่านสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ยะลา จำกัด ซึ่งมีสำนักงานสหกรณ่จังหวัดยะลา และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลาเป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการให้สามารถทำหน้าที่สนับสนุนและเชื่อมโยงผลผลิตลองกองของเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตหรือกลุ่มเกษตรกรไปสู่ตลาดผู้บริโภคปลายทางภายในประเทศ มุ่งเน้นการบริหารจัดการพื้นที่การผลิต การดูแลรักษาผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การผลิตลองกองคุณภาพ (Premium Product) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรตามความต้องการของตลาด สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายรวบรวมผลผลิตระหว่างสถาบันเกษตรกร คัดเกรดและจำหน่ายตามชั้นคุณภาพ โดยการดำเนินการตามโครงการนี้เป็นการสร้างต้นแบบเชิงคุณภาพเพื่อบูรณาการการพัฒนาผลผลิตลองกองแบบครบวงจร

นครราชสีมา – ว่าที่พันตรีณรงค์ชัย ค่ายใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) เผยว่า ศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาทดสอบ ประยุกต์และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสานให้เหมาะสมกับพื้นที่ ขณะนี้ศูนย์สามารถผลิตขยายศัตรูธรรมชาติได้ทั้งตัวห้ำ เช่น มวนพิฆาต แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มีส่วนผสมสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม หางไหล หนองตายหายาก ที่ผ่านมาประสบปัญหาด้านงบประมาณในการผลิตแตนเบียนที่มีน้อยและมีห้องผลิตที่จำกัด จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถผลิตแตนเบียนเอง เพื่อควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่โดยไม่ต้องลงทุนสูง แทนการรอแตนเบียนที่ผลิตจากศูนย์ส่งเสริมฯ พยายามทดลองและหาวิธีการที่ง่ายให้เกษตรกรทำได้เองในพื้นที่ เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย จึงนำเทคนิคที่ได้นี้ไปใช้จริงในพื้นที่ที่ประสบปัญหา

ปัจจุบัน หนอนหัวดำมะพร้าวระบาดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหลายจังหวัด หากไม่รีบดำเนินการป้องกันกำจัดต้นมะพร้าวจะเกิดความเสียหายกระจายวงกว้างออกไปมาก หากปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 3-4 ปีจึงจะเริ่มให้ผลผลิต จึงจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเข้าไปในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ระบาด ร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม โดยการให้ความรู้เกษตรกรผลิตแตนเบียน ใช้เงินลงทุนไม่เกิน 200 บาทในการซื้ออุปกรณ์ พ่อแม่พันธุ์แตนเบียนบราคอน อย่างไรก็ตามลำดับแรกที่ทำได้ทันทีคือดูแลรักษาความสะอาดแปลง สำรวจแปลงถ้าพบหนอนหัวดำมะพร้าวให้รีบตัดทางใบและเผาทำลาย เพื่อตัดแหล่งอาศัย จากนั้นให้ใช้ศัตรูธรรมชาติคือปล่อยแตนเบียน บราคอน เข้าไปควบคุมประชากรหนอนหัวดำไม่ให้แพร่ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น

นางสาวเรวดี วีระวุฒิพล ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายกฤษฎา อินทชาติ พาณิชย์จังหวัดสมุทรสงคราม นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นายวีระพรรณ์ แสงรัตนาภรณ์ ตัวแทนจากการรถไฟ ร่วมเปิดโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น ที่ตลาดร่มหุบ สถานีรถไฟแม่กลอง

นายพงศ์พิชญ์ กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ลงนามความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน ตามโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น ในชื่อ ตลาดต้องชม เอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อพัฒนาตลาดชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากตลาดร่มหุบ ยังดำเนินการพัฒนาตลาดชุมชนอีก 2 แห่ง คือ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง จังหวัดอ่างทอง และถนนคนเดินปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ด้วย โดยตลาดร่มหุบ จะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ สร้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่นเอง หรือผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ก็จะต้องแวะชม แวะเวียนเข้ามาจับจ่ายใช้สอย สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม นายสมจิตร งุ่ยไก่ แกนนำกลุ่มเกษตรกร ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางและชาวไร่สับปะรดในพื้นที่ประสบปัญหาจากราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยางพารา มีสมาชิกนำไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์ชาวสวนยางพาราประจวบคีรีขันธ์ ที่หมู่ 12 ตำบลอ่าวน้อย ล่าสุดยางแผ่นเกรดเอ ราคากิโลกรัม (กก.) ละ 43 บาท ยางก้นถ้วยสหกรณ์ยอมรับซื้อในราคาขาดทุน กิโลกรัมละ 18 บาท ขณะที่ตลาดภายนอกรับซื้อ กิโลกรัมละ 13 บาท เท่านั้น มีแนวโน้มลดลง ขณะที่เริ่มการเปิดกรีดเมื่อหลายเดือนก่อนยางแผ่น กก.ละ 55 บาท ยางก้นถ้วยราคา กก.ละ 28 บาท และผลกระทบจากราคาที่ตกต่ำยอมรับว่าไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรในหลายจังหวัดจะยื่นข้อเสนอถึงการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

“ขณะที่ผลกระทบจากราคาสับปะรดส่งโรงงานแปรรูป ล่าสุดหน้าแผงเหลือเพียง กิโลกรัมละ 2.20 บาท ขณะที่โรงงานรับซื้อ กิโลกรัมละ 2.80-3.00 บาท มีแนวโน้มที่ชาวไร่ในพื้นที่จะปล่อยผลผลิตให้เน่าคาไร่ ปัจจุบันมีค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวผลผลิตตันละ 300 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง ที่สำคัญผู้ขายที่มีโควต้าส่งโรงงานแปรรูปก็มีผลกระทบพอสมควร เนื่องจากโรงงานลดปริมาณการซื้อสับปะรดและมีการคัดเกรดตามมาตรฐานที่กำหนด ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากหน่วยงานของรัฐให้ความสนใจเพื่อพยุงราคา และสมาคมชาวไร่สับปะรดไทยที่มีองค์กรตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่ได้ให้ความสนใจขับเคลื่อนเสนอข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือชาวไร่ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการเรี่ยไรค่าใช้จ่ายจากสมาชิก เพื่อมอบให้แกนนำเดินทางไปศึกษาดูงานเปิดตลาดการค้าในต่างประเทศ” นายสมจิตร กล่าว

นางสาวเรวดี วีระวุฒิพล ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายกฤษฎา อินทชาติ พาณิชย์จังหวัดสมุทรสงคราม นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นายวีระพรรณ์ แสงรัตนาภรณ์ ตัวแทนจากการรถไฟ ร่วมเปิดโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น ที่ตลาดร่มหุบ สถานีรถไฟแม่กลอง

นายพงศ์พิชญ์ กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ลงนามความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน ตามโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น ในชื่อ ตลาดต้องชม เอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อพัฒนาตลาดชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากตลาดร่มหุบ ยังดำเนินการพัฒนาตลาดชุมชนอีก 2 แห่ง คือ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง จังหวัดอ่างทอง และถนนคนเดินปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ด้วย โดยตลาดร่มหุบ จะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ สร้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่นเอง หรือผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ก็จะต้องแวะชม แวะเวียนเข้ามาจับจ่ายใช้สอย สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม นายสมจิตร งุ่ยไก่ แกนนำกลุ่มเกษตรกร ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางและชาวไร่สับปะรดในพื้นที่ประสบปัญหาจากราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยางพารา มีสมาชิกนำไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์ชาวสวนยางพาราประจวบคีรีขันธ์ ที่หมู่ 12 ตำบลอ่าวน้อย ล่าสุดยางแผ่นเกรดเอ ราคากิโลกรัม (กก.) ละ 43 บาท ยางก้นถ้วยสหกรณ์ยอมรับซื้อในราคาขาดทุน กิโลกรัมละ 18 บาท ขณะที่ตลาดภายนอกรับซื้อ กิโลกรัมละ 13 บาท เท่านั้น มีแนวโน้มลดลง ขณะที่เริ่มการเปิดกรีดเมื่อหลายเดือนก่อนยางแผ่น กก.ละ 55 บาท ยางก้นถ้วยราคา กก.ละ 28 บาท และผลกระทบจากราคาที่ตกต่ำยอมรับว่าไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรในหลายจังหวัดจะยื่นข้อเสนอถึงการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

“ขณะที่ผลกระทบจากราคาสับปะรดส่งโรงงานแปรรูป ล่าสุดหน้าแผงเหลือเพียง กิโลกรัมละ 2.20 บาท ขณะที่โรงงานรับซื้อ กิโลกรัมละ 2.80-3.00 บาท มีแนวโน้มที่ชาวไร่ในพื้นที่จะปล่อยผลผลิตให้เน่าคาไร่ ปัจจุบันมีค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวผลผลิตตันละ 300 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง ที่สำคัญผู้ขายที่มีโควต้าส่งโรงงานแปรรูปก็มีผลกระทบพอสมควร เนื่องจากโรงงานลดปริมาณการซื้อสับปะรดและมีการคัดเกรดตามมาตรฐานที่กำหนด ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากหน่วยงานของรัฐให้ความสนใจเพื่อพยุงราคา และสมาคมชาวไร่สับปะรดไทยที่มีองค์กรตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่ได้ให้ความสนใจขับเคลื่อนเสนอข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือชาวไร่ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการเรี่ยไรค่าใช้จ่ายจากสมาชิก เพื่อมอบให้แกนนำเดินทางไปศึกษาดูงานเปิดตลาดการค้าในต่างประเทศ” นายสมจิตร กล่าว

อันที่จริง งานของนักบัญชีต้นทุนจะอยู่ในกิจการแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม ผลิตสินค้า กิจการซื้อมาขายไป กิจการขนส่งสินค้า กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีการสื่อสาร หรือแม้แต่ร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ ฯลฯ แต่นักบัญชีต้นทุนที่เรามักจะมองเห็นและแยกส่วนงานออกมาชัดเจนจริงๆ มักอยู่ในกิจการที่มีกระบวนการผลิต โดยส่วนประกอบหลักของต้นทุน ได้แก่ 1. วัตถุดิบ 2. ค่าแรง และ 3. โสหุ้ยการผลิต (หรือต้นทุนทางอ้อมต่างๆ) นักบัญชีต้นทุนจะรวบรวมข้อมูลการใช้วัตถุดิบ ต้นทุนจากเครื่องจักร ค่าแรงงานทางตรงและทางอ้อม และปัจจัยการผลิตต่างๆ ฯลฯ

การเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้น เพื่อให้ทราบว่า สินค้าที่ผลิตออกมานั้นมีต้นทุนการผลิตเท่าไร ประสิทธิภาพการผลิตเป็นอย่างไร มีอัตราการสูญเสียเท่าไร มีผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-product) หรือไม่ มีต้นทุนการบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างไร (ต้นทุนการบำบัดของเสียเป็นต้นทุนที่สำคัญตัวหนึ่งที่มักถูกละเลยหรือผลักภาระไปที่สังคมแทน)

งานของนักบัญชีต้นทุนจึงมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากนักบัญชีการเงินค่อนข้างมาก นักบัญชีการเงินเป็นผู้รวบรวมข้อมูลทางการเงินในทุกๆ ส่วนของกิจการ เพื่อนำมาปิดบัญชี และจัดทำงบการเงิน ในขณะที่นักบัญชีต้นทุนจะมีขอบเขตงานเฉพาะและจำกัด (แต่ลงลึก) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงาน (ที่เรียกกันว่า operation) โดยตรง

นักบัญชีต้นทุนจึงต้องทำความเข้าใจกระบวนการผลิต netmarketingmastery.com และขั้นตอนการดำเนินงานทางธุรกิจ เรียกว่า ต้องรู้มากกว่าเรื่องบัญชี จึงจะสามารถจินตนาการเพื่อออกแบบวิธีการรวบรวมต้นทุนด้วยเทคนิคที่หลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยการเก็บตัวเลข ทำประมาณการ รวบรวมสถิติการทำงานที่ผ่านมา การใช้ต้นทุนมาตรฐานมาช่วย เพราะในความเป็นจริง ใช่ว่าเราจะสามารถเก็บตัวเลขต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงๆ ได้ในทุกกรณี

สมัยก่อนนักบัญชีต้นทุนมักจะทำงานในกิจการที่มีโรงงาน เนื่องจากเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับข้อมูลและเนื้อหาที่อยู่ในสายการผลิต ทำงานร่วมกับวิศวกร ร่วมกับฝ่ายผลิตในการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการผลิตมาประมวลผล เพื่อใช้เป็นตัววัดว่า การผลิตสินค้าชนิดต่างๆ มีส่วนประกอบต้นทุนอย่างไร วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะต้องอาศัยเทคนิคและตัวช่วยพอสมควร เนื่องจากการใช้ทรัพยากรในบางช่วงการผลิตอาจจะได้ข้อมูลมาค่อนข้างยาก หากไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรวัดหรือมิเตอร์ที่ระบบสามารถบันทึกตัวเลขเพื่อเก็บข้อมูลได้

นักบัญชีต้นทุนจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและกระบวนการผลิตพอสมควร อาจจะไม่ใช่ในเชิงวิศวกรรม แต่ต้องเข้าใจขั้นตอนและจุดสำคัญในการวัดตัวเลขต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต หรือมองการผลิตในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่จะนำตัวเลขมาวัดประสิทธิภาพ และความแตกต่างของการผลิตแต่ละงานได้

กิจการซื้อมาขายไปก็ต้องมีนักบัญชีต้นทุน

มีกิจการบางประเภทที่แม้ว่าจะไม่มีการผลิต แต่การคำนวณราคาขายจำเป็นต้องทราบต้นทุนที่แท้จริงของสินค้า และต้นทุนสินค้าก็ไม่ได้ประกอบด้วยราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เช่น กิจการนำเข้าสินค้ามาเพื่อขายในประเทศ กิจการนำเข้าจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้ามาเพื่อขาย มีค่าระวางเรือ มีค่าขนส่งสินค้า มีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า และมีอากรสินค้าจากการนำเข้า และผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศโดยสั่งซื้อกันเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ

กิจการนำเข้าจึงต้องมีเจ้าหน้าที่เฉพาะในการคำนวณต้นทุน จัดทำใบรวบรวมต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sheet โดยแต่ละล็อตของสินค้าที่นำเข้ามานั้นจะมีส่วนประกอบของต้นทุนคล้ายๆ กัน แต่ไม่เท่ากัน

ต้นทุนร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ

การทำต้นทุนของกิจการที่เป็นร้านค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร ก็คล้ายกับการทำต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางตรงอาจจะเป็นอาหารสดอาหารแห้งที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร เม็ดกาแฟที่ใช้ในการชงกาแฟแต่ละแก้ว เงินเดือนพ่อครัว ผู้ช่วยพ่อครัว บาริสต้า ต้นทุนทางอ้อมอาจจะเป็นเครื่องปรุง เครื่องเคียง จานชาม พนักงานจดอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานล้างชาม โสหุ้ยการผลิตอาจจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ต่างๆ ในร้าน ซึ่งนักบัญชีต้นทุนจะต้องประยุกต์แนวคิดของบัญชีต้นทุนให้สอดคล้องกับธุรกิจนั้นๆ