บอกด้วยว่า ในเรื่องของผลผลิตนั้น แรกๆ นำไปขายเอง

จนเป็นที่รู้จัก ลูกค้ารู้แล้วว่าผลไม้ในสวนเรารสชาติเป็นอย่างไร ปีต่อๆ มา ลูกค้าเข้ามาซื้อถึงสวน ผลผลิตที่เก็บได้ปีนี้ก็มีมะม่วง ลำไย มะม่วงก็มีมะม่วงน้ำดอกไม้ กับเขียวเสวย การปลูกมะม่วงเริ่มต้นศึกษาจากผู้ที่เขาทำมาก่อน เช่น อาจารย์ไพบูลย์ ตาลศิริ เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนของจังหวัดนครสวรรค์ การตัดแต่งกิ่งมะม่วงสำคัญมาก ต้องมีการแต่งกิ่งมะม่วงเพื่อให้รับกับยอดใหม่ จะทำให้มะม่วงงามติดผลดีกว่าการไม่ตัดแต่งกิ่ง

คุณปราณี บอกอีกว่า ลำไยก็เช่นกันถ้าต้นสูงต้องบังคับทรงไม่ให้สูง ปีนี้เก็บลำไยขายได้ 6 หมื่นกว่าบาทไม่มากเท่าไร ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ เขามารับซื้อถึงในสวน

สำหรับไผ่ ปลูกไว้รับประทานเอง และแจกเพื่อนบ้านบ้าง บางทีคนงานมาตัดไปทานก็ให้ตัดไปเพราะเราต้องการปลูกไว้ทานเอง มีทั้งไผ่หวาน ไผ่ตง และไผ่รวก

ผลไม้หลักๆ ที่ขายแล้วได้เงินก็ยังมี น้อยหน่า แก้วมังกร ส่วนพืชผักสมุนไพร พืชสวนครัวมีเยอะเลยสามารถเก็บเอาไปขายได้เงินทุกอย่าง ทำเพื่อเลี้ยงตัวไม่หวังเป็นธุรกิจ แต่เมื่อมันมากเข้าๆ รายได้ที่เข้ามาอย่างละเล็กละน้อย รวมกันแล้วก็ไม่น้อยสักเท่าไร

“มาปีนี้จะชนกับอ้อยที่ลงปลูกเอาไว้ มันสำปะหลังก็ใกล้เก็บ พอเก็บขายก็คงมีสตางค์เก็บบ้าง อ้อยปลูกไว้ 41 ไร่ มันสำปะหลัง 5 ไร่ ทั้งแปลงปลูกแบบระบบน้ำหยด เหล่านี้เป็นความสุข ต้องบอกว่า เดี๋ยวนี้มีความสุขแล้ว ต่างจากเมื่อครั้งมาอยู่ใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยสุขเท่าไร เรารู้สึกไม่ชอบเพราะเราเคยมีชีวิตอยู่กับสิ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แต่เมื่อผลผลิตเก็บได้ ทุกสิ่งที่เราปลูกไว้ มันให้ผลผลิตตอบแทนเรากลับมา เราก็เริ่มมีความสุขและสนุกกับมัน”

ในท้ายที่สุด คุณปราณี บอกว่า การทำแบบนี้ต้องมีใจรัก และต้องอดทน เพราะเมื่อผลผลิตออกมาแล้วเราจะยิ่งมีความสุขแบบชีวิตพอเพียง รางวัลที่ได้คือ ความภาคภูมิใจ ส่วนผลผลิตที่ออกมาคือ ความสุขและความสำเร็จ หากสนใจมาดูสวนเกษตรผสมผสานก็มาได้เลย โทร.มาก่อนที่ 083-952-0371 ยินดีต้อนรับ

“เกาะแก้วฟาร์ม” อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตแตงโมไร้เมล็ด คุณภาพดีแห่งหนึ่ง ที่ บริษัท ซินเจนทา ซีดส์ จำกัด ได้เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรให้สามารถปลูกดูแลบ่มเพาะ เพื่อพลิกฟื้นจากผืนนากว่า 100 ไร่ ให้กลายเป็นไร่แตงโมคุณภาพขนาดใหญ่ บนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สำเร็จในระยะเวลาเพียง 2 ปี

คุณภัคพล ชวีวัฒน์ เจ้าของเกาะแก้วฟาร์ม อยู่บ้านเลขที่ 147 หมู่ที่ 4 ถนนร้อยเอ็ด-โนนทอง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ภูมิลำเนาเดิมคุณภัคพลเป็นคนอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แต่มีความตั้งใจอยากทำเกษตร จึงเดินทางมาที่อำเภอเสลภูมิ ซึ่งเป็นที่ของญาติสนิท เดิมปลูกยางพารา แต่พื้นที่ไม่อำนวย คุณภัคพลจึงเอ่ยปากขอมาบุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกแตงโมไร้เมล็ด

“ตอนเริ่มทำใหม่ๆ ชาวบ้านแถวนี้ก็หาว่าบ้ารึเปล่า ตัดยางพาราทิ้ง แล้วมาปลูกแตงโม แต่มานั่งคิดดูแล้วว่า ต้องเป็นไปได้ เพราะว่าคนอีสานไม่มีอะไรกิน ก็จะนึกถึงแตงโมไว้ก่อน กินแตงโมกับข้าวเหนียวบ้าง และบวกกับอากาศร้อนของประเทศไทย แตงโมจึงเป็นผลไม้ที่น่าสนใจ ผมจึงลองขาย ปรากฏว่าได้ผลตอบรับที่ดีจากลูกค้า บางวันรถจอดชนกันสามสี่คัน เพื่อมาจอดซื้อแตงโมที่ร้าน” คุณภัคพล เล่า

หลังจากเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ 10 ปี หันมาทำเกษตรสร้างตัว เริ่มจากการรับแตงโมจากจังหวัดนครพนม ทั้งกินนรี ตอร์ปิโด และไร้เมล็ดมาขาย ปรากฏว่าขายดีจนทางนครพนมส่งแตงโมขายให้ไม่ทัน ทำให้สินค้าขาดตลาด เกิดปัญหาคือโดนลูกค้าท้วงว่า “ไม่มีแตงโมขายแล้ว ทำไมไม่เอาป้ายลง” เป็นสิ่งที่คุณภัคพลช้ำใจมาก จึงเกิดความคิดที่อยากจะปลูกแตงโมคุณภาพเอง ซึ่งเขาพยายามเรียนถูกเรียนผิดมาตลอด ช่วงแรกประสบปัญหาเมล็ดพันธุ์ไม่งอก เพราะใช้วิธีการผลิตที่ผิด ก็ได้รับคำแนะนำจาก คุณสุริยนต์ สุภาพ

นักปรับปรุงพันธุ์และผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาเมล็ดพันธุ์แตงโมของสถานีวิจัยซินเจนทา ให้ความช่วยเหลือมาตลอด จนทุกวันนี้การผลิตถือว่าประสบผลสำเร็จ การเพาะ อัตราการงอกดีขึ้นมาก จึงได้มีการพัฒนาการผลิต จะสังเกตได้ว่าถ้าแตงโมไร้เมล็ดของที่อื่นจะปลูกบนดิน แต่เขาคิดแปลกปลูกในโรงเรือน พยายามควบคุมการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง อันนี้เป็นสิ่งที่เขาคิด อันดับ 1 เพราะว่าลูกเขา ญาติพี่น้องของเขากินหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องควบคุมเรื่องการใช้สารเคมีอยู่แล้ว และโชคดีตรงที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนที่ดีจากสำนักงานส่งเสริมเกษตรอำเภอเสลภูมิ ให้ความรู้ รวมถึงกรมวิชาการเกษตรในเรื่องของการใช้สารเคมี ว่าต้องใช้สารเคมีอย่างไร ช่วงไหนต้องลด อันนี้ก็คือผลงานที่เขาได้ GAP เป็นหลักฐานอ้างอิงว่า แตงโมผมปลอดสาร และซึ่งเขาก็ได้ชักชวนเพื่อนให้มาปลูก เพื่อสร้างเครือข่าย มีผลผลิตขายทุกเดือนไม่ขาดตลาด เน้นความปลอดภัย ส่งตลาดพรีเมี่ยม ช่วยแก้ปัญหาตลาดตัน

พลิกผืนนา ปลูกแตงโมแฮปปี้แฟมิลี่ 2 ปี จับเงินล้าน

คุณภัคพล เริ่มต้นด้วยเงินทุนส่วนตัว 300,000 บาท ลงทุนปลูกเมล่อนในโรงเรือนระบบน้ำหยดของตนเอง 2 โรงเรือน และได้สืบเสาะหาเมล็ดพันธุ์แตงโมไร้เมล็ด พันธุ์แฮปปี้แฟมิลี่มาปลูก ผลที่ได้ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

ได้คำแนะนำของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์บอกว่า ให้คุณภัคพล ติดต่อเข้าไปที่ บริษัท ซินเจนทา ซีดส์ จำกัด ผู้ผลิตเมล็ดแตงโมพันธุ์แฮปปี้แฟมิลี่ในประเทศไทย หลังจากนั้น ซินเจนทาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำการเพาะเมล็ดและการปลูก การบำรุง เพื่อให้แตงโมที่ได้มีขนาดและน้ำหนักตามมาตรฐานของพันธุ์ คุณภัคพลจึงปรับวิธีการปลูก การดูแล บำรุง ตามขั้นตอนและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของซินเจนทาควบคู่ไปกับเกษตรแนวใหม่ผสมผสาน จนวันนี้พื้นที่ 40 ไร่ ปลูกแตงโมทั้งหมด มีทั้งปลูกในโรงเรือนและพื้นที่ฟาร์มปิด

โดยคุณภัคพล เล่าถึงเส้นทางความเติบโตของฟาร์มว่า ด้วยคุณสมบัติของแตงโมไร้เมล็ด ตลาดมีความต้องการมาก แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าแตงโมพันธุ์อื่น แต่รสชาติที่สามารถควบคุมได้สม่ำเสมอ และน้ำหนักดี ทำให้ขายดีจนไม่พอขาย

“แตงโมแฮปปี้แฟมิลี่ จะต้องใช้ความพิถีพิถันในการดูแลตั้งแต่การเพาะเมล็ด การแยก และการบำรุง มากกว่าแตงโมพันธุ์อื่น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ต้องนำเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมียทุกดอก เพื่อให้ผลแตงโมที่ได้เป็นแตงโมไม่มีเมล็ด และต้องคอยลิดลูกที่อยู่ในตำแหน่งดอกที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้คัดไว้เฉพาะลูกที่จะบำรุง จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต เข้าใจง่ายๆ คือ 1 ต้น ต่อ 1 ลูก แต่เป็น 1 ลูก ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 4-6 กิโลกรัม ราคาขายส่งอยู่ที่ 25 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีกหน้าฟาร์มอยู่ที่ กิโลกรัมละ 40 บาท โดยใน 1 ไร่

จะได้ผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 3,000 กิโลกรัม มีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท ที่ฟาร์มของผมจะปลูกได้ประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อปี โดยจะพักดินประมาณ 15 วัน ในขณะที่หากปลูกข้าว ข้าวเปลือกจะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 7 บาท สภาพดินของพื้นที่อำเภอเสลภูมิ มีลักษณะดินร่วนปนทราย ไม่เหมาะกับการปลูกข้าว ปลูกได้เพียงครั้งเดียว เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำอยู่แล้ว จึงยิ่งทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่เมื่อหันมาปลูกแตงโมที่เหมาะสมกับสภาพดิน และใช้น้ำน้อย แถมยังได้ราคาดีกว่า ทำให้คนในพื้นที่หันมาปลูกแตงโมไร้เมล็ดมากยิ่งขึ้น” เจ้าของเล่า

นับจากวันที่คุณภัคพลเริ่มปลูกจนถึงวันนี้เป็นเวลา 2 ปี ก็สามารถสร้างมาตรฐานให้กับกลุ่มผู้ผลิตแตงโมเกาะแก้วฟาร์ม ด้วยมาตรฐานการดูแลการผลิต ควบคุมการใช้สารอารักขาพืช ตลอดจนความใส่ใจในการบำรุงด้วยฮอร์โมน และดูแลโรคแมลงด้วยวิธีการผสมผสาน จนทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ GAP และเกาะแก้วฟาร์ม ได้เป็นตลาดเกษตรประชารัฐของอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมไร้เมล็ดเข้าร่วมวันนี้แล้ว พื้นที่รวมกว่า 100 ไร่ มีเกาะแก้วฟาร์มเป็นศูนย์การเรียนรู้การปลูกแตงโมไร้เมล็ดแฮปปี้แฟมิลี่ของจังหวัดร้อยเอ็ด ผลผลิตที่ออกในแต่ละครั้งแทบจะไม่พอขาย เพราะพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อผลผลิตถึงหน้าฟาร์ม คุณภัคพล จึงมีเป้าหมายในการให้ความรู้อบรมขยายผลให้แก่เกษตรกรที่สนใจในพื้นที่มาเรียนรู้การปลูก การดูแล ความรู้ในการใช้แนวเกษตรผสมผสาน ผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP ทั้งหมด

วิธีการปลูกแตงโมไร้เมล็ด

เพาะเมล็ดบนถาดเพาะ ใช้วัสดุเพาะกล้า บ่มไว้ 3 วัน จนมีรากงอก แล้วเปิดผ้าออก รดน้ำให้รากงอกยาวขึ้น จนกล้าอายุ 15 วัน จึงย้ายไปลงแปลงปลูก
เตรียมดินร่วนปนทราย หากปลูกในโรงเรือน ให้ย้ายลงปลูกในกระถาง วางกระถางระยะ 50×50 เซนติเมตร (โรงเรือน ขนาด 10×20 เมตร) จะได้แตงโม 500 ต้น โดย 400 ต้น จะเป็นแตงโมพันธุ์แฮปปี้แฟมิลี่ อีก 100 ต้น เป็นตอร์ปิโด เพื่อใช้เป็นเกสรผสมดอกพันธุ์ไร้เมล็ด หากเป็นพื้นที่นอกโรงเรือน 1 ไร่ จะปลูกได้ 1,000 ต้น มีแตงโมตอร์ปิโด 300 : 700 ต้น/เตรียมดินนอกโรงเรือน ไถปรับสภาพ ทิ้งไว้ 7 วัน ไถปั่นดินให้ละเอียด แล้วตีแปลงยกร่อง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นช่วยบำรุงธาตุอาหาร ไม่นิยมใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ เพราะมักมีเชื้อราเยอะ

ในช่วงย้ายมาปลูกในแปลงปลูก ควรให้อะบาเม็กซิน ช่วยกำจัดเพลี้ยไฟระยะอนุบาล ฉีดพ่น 5 วันครั้ง, 10 วันครั้ง, 15 วันครั้ง
คอยดูแลควบคุมโรคและแมลงระยะอนุบาล ตามการสังเกต
ให้น้ำแบบหยด เช้า เที่ยง เย็น ช่วงละ 5 นาที ทุกวัน/สำหรับการให้น้ำนอกโรงเรือน สามารถใช้น้ำระบบพุ่งหรือน้ำหยดลงดินได้โดยตรง ต้นแตงโมจะได้แสงและน้ำดีกว่าในโรงเรือน จึงเจริญเติบโตดีกว่าในโรงเรือน

ระยะ 15 วัน สำหรับพื้นที่นอกโรงเรือน จะพบแมลงรบกวนต้นอ่อนแตงโม สามารถให้อะบาเม็กซินหรือใช้น้ำหมัก (ยูคาลิปตัส ผสมกับสะเดา เพื่อไล่แมลง เพลี้ย หรือแมลงเต่าทองได้) อาจใช้น้ำส้มควันไม้ช่วยไล่เพลี้ยหนอน ผสมน้ำฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน

ระยะที่แตงโมออกดอก ให้ฟอสฟอรัสเพื่อเร่งดอกสำหรับผสมเกสร ให้สังเกตว่าข้อที่เหมาะจะเลี้ยงให้ติดผลแตงโมนั้นควรเป็น ข้อที่ 15 ขึ้นไป ที่จะเจริญเติบโตได้ดี ลูกจะไม่บิดเบี้ยว ซึ่งเป็นคำแนะนำของเจ้าหน้าที่จากซินเจนทา เพื่อให้ลูกแตงโมบำรุงได้เต็มที่
ระยะ 25-30 วัน ให้ผสมเกสรตัวผู้จากแตงโมตอร์ปิโด พันธุ์โบอิ้ง 787 (การผสมข้ามสายพันธุ์ จะทำให้ผลผลิตแตงโมที่ได้ไร้เมล็ด)
เมื่อแตงโมติดลูก บำรุงด้วยการให้ปุ๋ยเกล็ด (แคลเซียมโบรอน) ที่ช่วยบำรุงผล ให้สีแดง เนื้อแน่น กรอบ และหวาน ผลไม่แตก ช่วยในเรื่องโครงสร้างของเปลือกแตงโมให้แข็งแรง
ทำตาข่ายเสริมแขวนลูก ตั้งแต่ลูกแตงโมขนาดเท่ากำปั้นเพื่อพยุงไม่ให้หล่น หากมีน้ำหนักมาก
เก็บเกี่ยวผลผลิต อายุ 45-55 วัน

คนยุคใหม่ทำเกษตรต้องสร้างตลาดเองถึงจะอยู่ได้

อย่างที่ทราบกันว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มักประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด ส่วนหนึ่งอาจขาดความรู้ในด้านของตลาด ปลูกได้ ทำได้ แต่ขายไม่ได้ คุณภัคพลได้ฝากข้อคิดดีๆ ว่า สิ่งสำคัญในการทำเกษตรนอกจากเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว หัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ การตลาด ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูก หรือทำอะไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลด้านการตลาด หรือปลูกอันนี้แล้วเราสามารถขายได้ที่ไหนบ้าง หรือนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร ยกตัวอย่าง ที่เกาะแก้วฟาร์ม คุณภัคพลมีการวางแผนการตลาด นำผลผลิตตกเกรดมาแปรรูปคั้นเป็นน้ำแตงโมขายขวดละ 25 บาท หรือนำมาทำเป็นของหวาน “แตงโมบอล” 1 ลูก สามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 300 บาท และในปัจจุบัน คุณภัคพลมีเครือข่ายส่งผลผลิตแตงโมไร้เมล็ดกว่า 11 สาขา มีสาขาที่ร้อยเอ็ด 3 สาขา ที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. 2 สาขา ผู้ร่วมธุรกิจที่อุบลฯ 1 สาขา ร้านหลานชายที่ระยองอีก 5 สาขา ซึ่งสาขาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตของเกาะแก้วฟาร์มทั้งนั้น นอกจากนี้ ที่ฟาร์มยังมีแตงโมสี่เหลี่ยม น้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม ประกาศขายทางเฟซ ลูกละ 999 บาท มีลูกเดียว หมดตั้งแต่วันแรก แสดงว่าถ้าเราทำแตงโมสี่เหลี่ยมได้ มีพื้นที่ 1 ไร่ ผลิตแตงโมได้ 100 ลูก ลองคิดดูว่า 1,000×100 ได้เท่าไรครับ คุณภัคพล ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้

ก่อนเข้าถึงเนื้อหา ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า อำเภอสะเมิง เป็นพื้นที่ภูเขาสูง ฉะนั้น จะมีพื้นที่ราบสำหรับทำนาน้อย จะได้ข้าวประมาณ 100 ถัง ขายได้เงินประมาณ 10,000 บาท เมื่อปี 2557 สถาบัน IQS เข้ามาส่งเสริมการผลิตหญ้าหวาน จึงตัดสินใจทดลองปลูก จำนวน 1 ไร่ จนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบแล้วมีรายได้มากกว่าการปลูกข้าวถึง 7 เท่า ต่อปี

หญ้าหวานนั้น หลังจากปลูกได้ 30 ถึง 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยทยอยเก็บทุกวัน ส่วนหญ้าหวานสด 10 กิโลกรัม เมื่อตากแห้งในโรงเรือนหลังคาพลาสติก หากแดดจัด ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จะเหลือน้ำหนักแห้ง ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม คุณภาพของหญ้าหวานจะแตกต่างกัน ในแต่ละฤดูกาลคือ หน้าร้อนและหน้าฝนใบจะบางต้นสูง แต่หน้าหนาวใบจะหนาต้นจะเตี้ย หญ้าหวานถือเป็นพืชทนแล้ง จากช่วงแล้งที่ผ่านมาไม่มีน้ำรดระยะเวลาเป็นเดือนก็ไม่ได้รับผลกระทบ สามารถปลูกเป็นพืชทางเลือกทดแทนข้าวที่มีปัญหาด้านราคาอยู่ในขณะนี้ และเป็นพืชทนแล้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อีกด้วย

คุณละออง ศรีวรรณะ เกษตรกรบ้านอมลอง บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตหญ้าหวานมาตรฐานออร์แกนิกไทยแลนด์ โดยการส่งเสริมของสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) เล่าให้ฟังว่า เดิมตนเองทำนา 1 ไร่ครึ่ง

คุณละออง เล่าต่อว่า จากการประสานงานของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ที่นอกจากจะดูแลการปลูกและดูแลรักษาเพื่อให้ได้มาตรฐานพืชสมุนไพรอินทรีย์แล้ว ยังมีงานวิจัยเพื่อต่อยอดให้กับเกษตรกร เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น โดยวิจัยความหวานของหญ้าหวาน ยกตัวอย่าง บดเฉพาะใบ บดก้านผสมใบ ว่าความหวานอย่างไหนจะดีกว่ากัน ในกลุ่มของคุณละออง จำนวน 7 คน กำลังเตรียมสร้างโรงงานเพื่อขอรับมาตรฐานโรงงาน (GMP)

หากพูดถึงความหวานเป็นรสที่คนขาดไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก จึงเลือกบริโภคเครื่องดื่มโดยพิจารณาสารปรุงแต่งรสหวานที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันมาสนใจใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์มากขึ้น

คุณรัชนีวรรณ์ เป็งพรม หรือ คุณแก้ว ได้ให้ข้อมูลหญ้าหวานว่า เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้ง ประมาณร้อยละ 1 ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150-300 เท่า และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัว หรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร

สารให้ความหวานจากหญ้าหวานเป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นความหวานที่ปราศจากแคลอรี และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันที ไม่มีการสะสม จึงเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน ที่ยังต้องการรสหวานในอาหารและเครื่องดื่ม

รูปแบบของหญ้าหวานที่คนนิยมรับประทานกัน มี 2 แบบ คือ นำใบหญ้าหวานมาผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเติมรสหวานเป็นชาสมุนไพร ยาชงสมุนไพรต่างๆ หรืออาจใช้ในรูปของสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผงสำเร็จรูปบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหารต่างๆ

หญ้าหวาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยมีการใช้ใบหญ้าหวานผสมกับชาดื่มมานานกว่า 1,500 ปีแล้ว หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูง จากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600-700 เมตร มีการนำมาปลูกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมคือ ทางภาคเหนือ และบริเวณเขาใหญ่

หญ้าหวาน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา หากมีการปลูกไว้ในบริเวณบ้านเป็นพืชผักสวนครัวจะมีประโยชน์มาก เพราะใบสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำก็จะให้สารหวานใช้

ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดี

นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่า กากหญ้าหวานที่ผ่านการสกัดสารหวาน (ที่พัฒนาเป็นผงแห้งบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหาร) ยังคงมีความหวาน สามารถใช้ทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานในเครื่องดื่มชาชงได้ ซึ่งบรรจุเป็นถุงสำเร็จพร้อมชงดื่มได้ทุกช่วงเวลา ดื่มได้ง่าย ช่วยดับกระหาย จากการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน ผสมอัญชัน มะลิ กระเจี๊ยบแดง และเตยหอม พบว่า ชากากหญ้าหวานผสมมะลิซึ่งประกอบด้วยกากหญ้าหวาน 250 มิลลิกรัม และมะลิ 80 มิลลิกรัม เป็นสูตรที่มีสี กลิ่น และรสชาติ เป็นที่น่าพึงพอใจที่สุด ซึ่งการพัฒนา หาสูตรผสมที่ถูกใจเฉพาะบุคคลก็ทำได้ง่าย

คุณละออง ศรีวรรณะ ฝากไว้ว่า หากใครไปบ้านอมลอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถแวะเยี่ยมเยือนชมแปลงปลูกหญ้าหวานของคุณละอองเอง หรือของเครือข่าย พร้อมอุดหนุนหญ้าหวานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ในราคากันเองได้

ช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับ คือร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. … ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เจตนารมณ์ของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ก็เพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งในส่วนของระบบการจัดการทรัพยากรและชุมชน โดยเปิดทางให้ประชาชนที่ปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือพื้นที่ของตนเอง หรือที่ที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามกฎหมาย สามารถตัดไม้ขายได้ หรือนำไปเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจได้ โดยต้องเป็นต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด ซึ่งถือเป็นวิธีการออมเงินอีกทางหนึ่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการสร้างให้เกิดพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว

อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติจะต้องผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนประกาศบังคับใช้ ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้หยิบยกมติคณะรัฐมนตรี ขึ้นมาเกริ่นนำก็เป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรที่มีพื้นที่ว่างเปล่า ได้วางแผนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการปลูกต้นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจจะมากจะน้อยเท่าไร ก็ถือว่าได้เริ่มต้นการออมเงินแล้ว อีกประการหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้ไปเยี่ยมชมกิจกรรม ปั่นไปชิม! ด่านนาขามจัดแรลลี่จักรยาน เปิดสวนทุเรียนลิ้มรสพันธุ์ทุเรียนพื้นเมือง ของกลุ่มผู้ปลูกทุเรียนพื้นเมือง “วนเกษตร” ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากองค์การบริหารส่วนตำบลด่านนาขาม และสถาบันนิเวศน์เพื่อการพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในงานมีการประกวดผลทุเรียนพื้นเมือง 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเนื้อเหลืองเข้ม ชนิดเนื้อขาว และชนิดพันธุ์ที่ให้เมล็ดดีเหมาะแก่การนำไปปลูกใช้เป็นต้นตอ ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการจัดการสวนวนเกษตรของชุมชนบ้านด่านนาขาม

บ้านด่านนาขาม ตั้งอยู่ที่ตำบลด่านนาขาม cykno.com อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เส้นทางที่จะไปสู่บ้านด่านนาขาม หากท่านเดินทางโดยรถยนต์ขึ้นเหนือไปตามทางหลวง หมายเลข 11 จากจังหวัดอุตรดิตถ์-เด่นชัย (แพร่) จะสังเกตเห็นร้านขายผลไม้และพรรณไม้ ทั้ง 2 ข้างทาง ก็จะพบป้ายเขียนว่า บ้านด่านนาขาม ซึ่งบ้านด่านนาขามแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เดิมพื้นที่นี้เคยมีชนชาติขอมและมอญที่อพยพถูกกวาดต้อนเข้ามาอาศัย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สภาพพื้นที่แต่เดิมมีความหนาแน่นของทรัพยากรธรรมชาติสูง ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยกันมากขึ้น ชาวบ้านจึงขนานนามว่า บ้านด่าน ประจวบเหมาะกับบริเวณทุ่งนามีต้นมะขามใหญ่ ซึ่งเป็นเครื่องหมายในการบอกทิศการเดินทางของผู้คนที่สัญจรไปมา ทำให้คนรู้จัก เรียกกันว่า “บ้านด่านนาขาม” จนถึงปัจจุบัน

แต่…ก่อนที่ผู้เขียนจะนำไปสู่การสนทนาเรื่องทุเรียนพื้นเมือง ใน “วนเกษตรบ้านด่านนาขาม” ผู้เขียนขอกล่าวว่า วนเกษตร เป็น 1 ใน 5 รูปแบบ ของระบบการเกษตรแบบยั่งยืน หลักการของระบบการเกษตรแบบยั่งยืน มีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ คือ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ (ที่มา : กรมวิชาการเกษตร) ทั้ง 5 รูปแบบ มีที่มา หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ และเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ซึ่งไม่ขอนำมากล่าวในรายละเอียด

เฉพาะกรณีของวนเกษตรมีความสำคัญและวัตถุประสงค์เป็นเช่นไรนั้น ขอหยิบยกหลักการมานำเสนอสักเล็กน้อยนะครับ ผู้เขียนได้อ่านบทความของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงระบบการปลูกพืช : วนเกษตร ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ ปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ทำการเกษตรอยู่แล้ว จึงนำบางช่วงบางตอนมาเสนอว่าจะสอดรับกับแนวทางการจัดการระบบวนเกษตรของคนบ้านด่านนาขามหรือไม่ โดยในบทความ กล่าวไว้ว่า วนเกษตร หรือ Agroforestry เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกับ คำว่า เกษตรป่าไม้ หมายถึง ระบบการใช้ที่ดินที่ผสมผสานระหว่างพืชเกษตร ป่าไม้ สัตว์เลี้ยง รวมไว้ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งอาจจะอยู่ในพื้นที่และเวลาเดียวกัน หรือต่างเวลากันก็ได้ โดยองค์ประกอบต่างๆ จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในทางนิเวศวิทยา หรือทางเศรษฐศาสตร์ อย่างหนึ่งอย่างใด

ความสำคัญของวนเกษตร เป็นการจัดการพื้นที่ป่าในการเพิ่มเสถียรภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

– ด้านเศรษฐกิจ นั้น เป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในป่า เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนของประชาชนที่จัดการพื้นที่ป่าจากผลผลิตที่หลากหลายในพื้นที่ และเป็นการประหยัดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง

– ด้านสังคม เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ เป็นการสร้างงาน สร้างโอกาส ลดการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชน