บอกถึงวีธีการปลูกมะม่วงว่า จะต้องมีการดูแลอยู่สม่ำเสมอ

ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนการดึงช่อ การฉีดยา รวมไปถึงการใส่ปุ๋ยทั้งที่เป็นปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนในการเพาะปลูก และนอกจากนี้ ที่สวนก็ยังมีการผลิตมะม่วงนอกฤดูที่ต้องใช้ต้นทุนสูงและมีปัญหาในการส่งออกไปนอกประเทศที่มีการตรวจสารตกค้างละเอียดมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุหลักมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลง ส่วนเรื่องราคามะม่วงนั้นเริ่มต้นตั้งแต่กิโลกรัมละ 20 บาท ไปจนถึงกิโลกรัมละ 50 บาท และทุกอย่างขึ้นอยู่กับเบอร์หรือเกรดตามความเหมาะสมของมะม่วงลูกนั้นๆ

บนเนื้อที่ 250 ไร่ เป็นพื้นที่สวนมะม่วงของคุณธิดาพร ที่ใช้ระยะเวลาในการปลูกกว่า 5 ปี ถึงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ตรงกันข้ามเมื่อย้อนกลับมาดูสถานะมะม่วงในปัจจุบันก็มีปัญหาในหลายๆ ด้านที่ชาวสวนอยากให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ผลไม้ที่ชื่อว่ามะม่วงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง

เนื่องจากสภาพพื้นที่ของประเทศไทยที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อชาวสวนที่ปลูกมะม่วง อย่างการติดช่อ ติดผล หรือถ้ามะม่วงมีการห่อแล้ว ผลมะม่วงที่จะให้ผลผลิตออกมาไม่สวย เป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไข ปัจจุบันเฉลี่ยต่อวันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ 50 ตัน และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับในอดีตที่สามารถทำได้วันหนึ่งถึง 100 ตัน ต่อวัน ต้องบอกก่อนว่า 100 ตัน ต่อวันนั้น จำเป็นต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ในการเอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจที่พุ่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ราคาประทับใจต่อเกษตรกรชาวสวน เรื่องของการให้ปุ๋ยที่ควรให้ความสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพเสมอต้นเสมอปลายมากที่สุด

ตลาดแรงงานเป็นอย่างไร

ในช่วงที่ผ่านมาการใช้แรงงานในสวนมะม่วง ใช้แรงงานกว่า 10 คน โดยใช้วิธีการแบ่งโซนช่วยกันทำงาน นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งโซนออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งประเภทแรกมีการแบ่งโซนการปลูกมะม่วงในฤดู ประเภทที่สองคือโซนมะม่วงนอกฤดู สลับปรับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ ไม่เช่นนั้นถ้าทำนอกฤดูอย่างเดียวอาจจะมีปัญหาตามมา คือต้นก็จะเสียง่าย

ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่นิ่ง

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องมาเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่นำพาไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง ทำให้แม่ค้าขายมะม่วงอย่างคุณธิดาพรต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทางออกเพื่อความอยู่รอดของผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่ามะม่วงไม่จำเป็นต้องมานั่งขายอยู่หน้าสวนต่อไป

สำหรับพื้นที่ขายมะม่วงในปัจจุบัน ผลตอบรับโดยส่วนใหญ่แล้วถือว่าดีพอสมควร มีกลุ่มลูกค้าที่มีทั้งรายเก่าและรายใหม่ต่างก็มารวมตัวกันที่นี่ สื่อถึงความหลากหลายของผู้มารับซื้อ ที่ลงทุนขับรถมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาซื้อมะม่วงและยังมีความตั้งใจจะนำผลผลิตที่ได้มาตรฐานไปจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคได้รับประทาน อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อตอบแทนเสียงตอบรับที่ดีมาตลอดจากผู้บริโภคที่เป็นกำลังใจที่สำคัญในการพัฒนาอาชีพต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยอะไรในหลายๆ อย่างที่ทำให้ผลไม้ที่ขึ้นชื่ออย่างมะม่วง กลับต้องเจอกับปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อชาวสวน จึงต้องประคองราคาผลผลิตไปเรื่อยๆ ถือว่ายังคงเป็นโจทย์ที่ต้องใช้เวลาในการหาคำตอบต่อไป สวนทางกันในขณะที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ชาวสวนก็ยังมีกำลังใจมุ่งทำงานและพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่จะเข้ามาในอนาคต

อาหารสัตว์ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการเลี้ยงสัตว์และเป็นหนึ่งในต้นทุนที่สำคัญ ซึ่งในวันนี้เกษตรกรเป็นจำนวนมากต้องประสบกับภาวะราคาต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้น จากภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อย ที่มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นได้ จนทำให้ต้องเลิกอาชีพการเลี้ยงสัตว์ไป

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างรายได้ต่อไปได้ จึงได้มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นมาผสมขึ้นเป็นอาหารใช้เอง ทดแทนการซื้ออาหารสำเร็จรูป

ซึ่งที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสวนแสงประทีป ตั้งอยู่เลขที่ 197 หมู่ที่ 10 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โทร. (054) 781-702 ซึ่งก่อตั้งโดย อาจารย์ประทีป อินแสง อันเป็นศูนย์ที่มีการสอนให้เรียนรู้อย่างหลากหลายทั้งให้ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ การปรับกระบวนทัศน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักและระบบการจัดการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ทั้งนี้ กิจกรรมที่น่าสนใจการเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ เช่น แปลงเกษตรผสมผสานครบวงจร การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์ การเลี้ยงไก่ไข่ระบบเกษตรธรรมชาติ การเลี้ยงหมูหลุม (สุกรธรรมชาติ) เป็นต้น

นอกเหนือจากการส่งเสริมให้ความรู้ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในระบบต่างๆ แล้ว ที่ศูนย์แห่งนี้ยังเน้นให้แนวคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์ขึ้นใช้เอง ภายใต้ชื่อว่า อาหารสัตว์แบบธรรมชาติ

อาหารสัตว์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

อาจารย์วันชัย เกิดอ้น ปราชญ์ชาวบ้านและวิทยากรของสวนแสงประทีปกล่าวว่า การที่เกษตรกรจะสามารถยืนหยัดในอาชีพนี้ได้นั้น ควรที่จะกลับมามองถึงการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ข้าวโพด ต้นกล้วย เป็นต้น

เป็นการต้องลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงอยู่ในระดับที่ต่ำ และสัตว์ที่เลี้ยงมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดŽ อาจารย์วันชัย กล่าวว่า

ที่สำคัญอีกประการคือ การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ถ้าจะให้อยู่รอดได้และประสบความสำเร็จ จะต้องไม่ใช่อยู่ในลักษณะของการให้เทวดาเลี้ยง เกษตรกรต้องมีการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ รูปแบบการเลี้ยงของตนเอง ศึกษาว่าสัตว์กินอาหาร สัตว์ป่วย เป็นอย่างไร และรักษาอย่างไรŽ

เราต้องทำให้อยู่ในรูปแบบที่ว่า คนเลี้ยงสัตว์และสัตว์นั้นเลี้ยงคนได้ โดยเน้นยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงŽ อาจารย์วันชัยกล่าว

อาหารสัตว์แบบธรรมชาติ

อาหารสัตว์แบบธรรมชาติ คือหลักสูตรการเรียนรู้ที่ทางศูนย์แสงประทีปได้เผยแพร่แนะนำให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้ โดยวัตถุดิบที่นำมาทำอาหารสัตว์จะประกอบด้วยสิ่งที่เกษตรกรปลูกได้เอง และมีอยู่ในไร่นาของตนเอง เช่น ข้าวโพด ผักสด ต้นกล้วย เป็นต้น อย่างในพื้นที่ 1 ไร่ 400 ตารางวา ปลูกกล้วยน้ำว้า 300 หน่อ ก็จะได้ประโยชน์ทั้งตัดใบขาย ในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ขายปลีกล้วยหัวละ 2 บาท และเครือกล้วย ส่วนต้นกล้วยก็เอามาสับเป็นอาหารเลี้ยงหมูได้ด้วย เพียงแค่พืชชนิดเดียวเกษตรกรก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย หากเพียงรู้จักคิดและมองให้เห็น นอกจากนี้ ยังสามารถปลูกผักแล้วเอาเศษผักที่เหลือมาเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ได้อีกด้วยŽ

นอกจากนี้ ยังควรที่จะเน้นการเลิกใช้ยาปฏิชีวนะที่ต้องไปซื้อมาจากท้องตลาด ควรหันมาใส่ใจกับการใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ปลูกได้เองภายในสวนในไร่นาของเรา เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้น นำมาใช้ประโยชน์ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ซึ่งสมุนไพรไทยนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยป้องกันโรคในสัตว์ได้เป็นอย่างดีŽ อาจารย์วันชัย กล่าว

สำหรับสูตรอาหารสัตว์แบบธรรมชาติที่อาจารย์วันชัยแนะนำนั้น จะประกอบด้วย สูตรอาหารไก่ และอาหารหมู สูตรอาหารไก่พื้นเมือง

โดยในส่วนของสูตรอาหารไก่พื้นเมือง อาจารย์วันชัยได้แนะนำสูตรอาหารผสมเอง

โดยสูตรแรก ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่อายุ 6 สัปดาห์ ถึงจำหน่าย

วัตถุดิบประกอบด้วย

ข้าวโพด 68 กิโลกรัม
รำละเอียด 15 กิโลกรัม
ปลาป่น 5 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม
เปลือกหอยป่น 1 กิโลกรัม
ฟรีมิกซ์ 1 กิโลกรัม
สมุนไพร 0.25 กิโลกรัม
ส่วนสูตร 2 เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่พื้นเมือง โดยมีการซื้อหัวอาหารมาใช้ผสม

มีวัตถุดิบประกอบด้วย

หัวอาหารไก่พื้นเมือง 10 กิโลกรัม
ปลายข้าว หรือข้าวโพด 20 กิโลกรัม
รำละเอียด 10 กิโลกรัม
สมุนไพร 0.25 กิโลกรัม
วิธีการใช้ นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกันและนำไปให้ไก่กิน โดยใช้หลักการว่า ควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน แล้วดำเนินการผสมใหม่ เพื่อให้ได้อาหารที่ใหม่เสมอ

ทั้งนี้ สำหรับสมุนไพรที่ใช้มี ขมิ้น ไพล ฟ้าทลายโจร บดเป็นผง โดยใช้ขมิ้นและไพลอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนฟ้าทลายโจรให้ใช้ประมาณ 1 ช้อนชา ส่วนอาหารหมู อาจารย์วันชัย มีข้อแนะนำว่า ควรที่จะนำอาหารหมัก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการนำไปผสมกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น น้ำ และสมุนไพร หัวอาหาร (ถ้ามี) ข้าวบด หรือปลายข้าว และแกลบอ่อน ซึ่งจะเป็นสูตรอาหารที่มีคุณค่าและช่วยให้หมูเจริญเติบโตได้ดี โดยวิธีการทำอาหารหมักนั้นจะประกอบด้วยวัตถุดิบที่สำคัญคือ

ผักสด หรือต้นกล้วย จำนวน 100 กิโลกรัม
น้ำตาลทรายแดง 4 กิโลกรัม
ถังพลาสติคขนาดใหญ่
ขั้นตอนการทำ

นำผัก หรือต้นกล้วย มาสับให้ละเอียด
นำน้ำตาลทรายแดงมาคลุกกับผักหรือต้นกล้วยที่สับให้เข้ากัน
นำไปใส่ในถังพลาสติค ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-5 วัน แล้วนำมาผสมกับอาหารสำเร็จรูปให้หมูกิน
นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารแบบชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนการทำ ดังนี้

หาถังใบใหญ่ 1 ใบ เตรียมสำหรับหมักอาหาร
วัสดุที่หมัก เช่น ต้นกล้วย มะละกอ ฟักทอง ผัก ผลไม้ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวน 25 กิโลกรัม
น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำหมักจุลินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีใช้ ให้เทส่วนผสมทั้งหมดลงในถัง แล้วคนให้เข้ากัน ปิดฝาถังหมักไว้ 5 วัน ขึ้นไป จากนั้นจึงนำไปผสมกับอาหารอื่นและนำไปให้สัตว์กินได้ ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสวนแสงประทีป ตามที่อยู่ข้างต้นได้ตลอดเวลา

สูตรอาหารสัตว์ 4 กระเพาะ ของปราชญ์ชาวบ้าน จ.กระบี่

นอกจากสูตรอาหารที่แนะนำโดยอาจารย์วันชัย แห่งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสวนแสงประทีปแล้ว ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เพิ่มเติมมาจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โทร. (089) 590-6738 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ คุณสงวน มงคลศรีพันเลิศ ปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกระบี่ และเจ้าของรางวัลเกษตรกรดีเด่น จากหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย

โดยสูตรอาหารสัตว์ดังกล่าว มีชื่อว่า สูตรอาหารสัตว์ 4 กระเพาะ การผลิตอาหารสัตว์ 4 กระเพาะ เป็นสูตรอาหารที่เน้นถึงการนำวัสุดเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างในภาคใต้จะมีทางปาล์มน้ำมันอยู่มาก ทางคุณสงวนบอกว่า ทางปาล์มน้ำมัน เป็นวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรปีหนึ่งๆ มีหลายร้อยพันตัน นำมาบดและหมักสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงแพะและวัวแทนหญ้าได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน ที่ศูนย์แห่งนี้จะผลิตได้ประมาณ 9 ตัน ต่อปี ใช้เลี้ยงแพะและวัวในฟาร์ม บางส่วนยังเหลือสามารถจำหน่ายได้อีกด้วย

สูตรอาหารสัตว์ 4 กระเพาะ ของคุณสงวนนั้น จะประกอบด้วยวัตถุดิบหลักๆ คือ ใบทางปาล์มสด ผลปาล์มดิบ กากน้ำตาล ต้นอ้อย และเกลือ ทั้งนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 สูตร โดยจะมีแบบใช้กากน้ำตาล และใช้ต้นอ้อย

สูตรที่ 1 ส่วนผสม ใบทางปาล์ม (ใบสด) 75 กิโลกรัม ผลปาล์มดิบ 20 กิโลกรัม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม และเกลือ 5 กิโลกรัม

สูตรที่ 2 ส่วนผสม ใบทางปาล์ม (ใบสด) 65 กิโลกรัม ผลปาล์มดิบ 20 กิโลกรัม ต้นอ้อย 15 กิโลกรัม และเกลือ 5 กิโลกรัม

วิธีการผสม

บดวัตถุดิบแต่ละชนิดตามสูตรให้ละเอียด โดยใช้เครื่องบดย่อย (ยกเว้นกากน้ำตาล ในสูตรที่ 1 และเกลือ)
นำวัตถุดิบตามสูตร (ยกเว้นเกลือ) มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
นำส่วนผสมที่ได้จาก ขั้นตอนที่ 2 มา ถังขนาด 200 ลิตร โดยอัดให้แน่น ไล่อากาศออกให้มากที่สุด
โรยเกลือด้านบนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา และปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันอากาศเข้า
หมักไว้อย่างน้อย 21 วัน แล้วจะมีกลิ่นหอม นำไปให้สัตว์กินได้ (จะหมักให้นานกว่านี้ก็ได้) แต่เมื่อเปิดฝาถังหมักและนำอาหารออกมาใช้แล้ว ควรนำออกมาใช้ให้หมดภายใน 3 วัน

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นองค์ความรู้ที่จะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้นำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป เพื่อนำมาซึ่งรายได้และการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน “เบญจมาศ” เป็นไม้ตัดดอกที่มีมูลค่าการผลิตสูง ติดอันดับ 1 ใน 4 อันดับแรกของไม้ตัดดอกทั่วโลก มียอดการซื้อขายทั่วโลกปีละหลายพันล้านบาท โดยแหล่งผลิตเบญจมาศที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ สเปน อิสราเอล สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม และจีน

สำหรับประเทศไทยสามารถปลูกเบญจมาศในหลายพื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นนทบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย และนครราชสีมา แต่พื้นที่ปลูกก็มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสายพันธุ์เบญจมาศที่ใช้เป็นต้นพันธุ์ดั้งเดิม มีการปลูกเลี้ยงมายาวนาน และใช้พื้นที่ปลูกเดิมแบบซ้ำๆ กันมาหลายปี ทำให้มีการสะสมโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งไวรัส ทำให้การผลิตเบญจมาศลดน้อยลง นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่มีการพัฒนาเบญจมาศสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด ทำให้ไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคได้

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เล็งเห็นปัญหาในการผลิตเบญจมาศ จึงเกิดแนวคิดพัฒนาสายพันธุ์เบญจมาศและระบบการผลิตต้นกล้าที่ปลอดโรค เพื่อลดปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์สายพันธุ์ โรคและแมลงที่ติดมากับต้นพันธุ์เบญจมาศ เพื่อสร้างประโยชน์แก่อุตสาหกรรมการผลิตเบญจมาศของไทยและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการผลิตเบญจมาศให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

วว. ได้ร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยารายภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ โดยได้รับสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการพัฒนาระบบการผลิตเบญจมาศปลอดโรคเชิงพาณิชย์ ภายใต้แผนโครงการ การพัฒนาศักยภาพการผลิต และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต ลิเซียนทัส เบญจมาศ และไทร ในปี พ.ศ. 2563-2564

กว่า 10 ปี ที่ วว. ใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรพันธุกรรมเบญจมาศจากสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นวัตถุดิบต้นแม่พันธุ์ นำมาพัฒนาให้เกิดการกลายพันธุ์และสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆ กว่า 30 สายพันธุ์ โดยเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ประเมินศักยภาพของสายพันธุ์ ความเหมาะสมทั้งด้านสีสัน รูปทรงดอก ความคงทนของดอก และต้านทานโรค จนคัดเลือกสายพันธุ์เบญจมาศที่มีคุณสมบัติเหมาะสม นำไปส่งเสริมเกษตรกรปลูกขยายพันธุ์เบญจมาศเพื่อจำหน่ายเป็นไม้ตัดดอกประดับแจกัน และการปลูกเลี้ยงแบบไม้ดอกในกระถาง

ชมเบญจมาศบานในม่านหมอก

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำผลผลิตจากงานวิจัย “การพัฒนาระบบการผลิตพันธุ์เบญจมาศปลอดโรคเชิงพาณิชย์” ของนักวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เข้าร่วมงาน “เบญจมาศบานในม่านหมอก ครั้งที่ 20” ที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก วช. เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเบญจมาศให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา นักวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญและปัญหาของเกษตรกรไทย ในการเพาะพันธุ์ไม้ดอกเบญจมาศ ที่มีการใช้ต้นพันธุ์เก่ามาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้นเบญจมาศมีความอ่อนแอต่อโรคและแมลง จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ดอกเบญจมาศให้ปลอดโรค รวมทั้งส่งเสริมการปลูกตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พร้อมส่งต่อให้เกษตรกรนำไปทดลองปลูกพบว่า ดอกเบญจมาศมีความแข็งแรง ทนทานต่อโรคได้มากขึ้น สามารถลดต้นทุนด้านปุ๋ยและยา และสร้างรายได้มากขึ้น 20-70%

เนื่องจากตลาดไม้ดอกไม้ประดับ เป็นเรื่องของแฟชั่นตามยุคสมัย การปลูกไม้ดอกจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้บริโภคเป็นหลัก ทีมวิจัยได้นำตัวอย่างพันธุ์เบญจมาศมาวิเคราะห์หาสาเหตุตัวก่อโรคในภาคสนาม ที่แปลงปลูกและแม่พันธุ์ ก่อนตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้พันธุ์เบญจมาศที่ปราศจากเชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส จากนั้นจึงทำการเพาะเลี้ยงกลีบดอกเบญจมาศในหลอดทดลอง จนกลีบดอกพัฒนาเป็นต้นอ่อน จึงทำการตรวจโรคด้วยเทคนิค RT-PCR เพื่อตั้งแม่พันธุ์ที่ปลอดโรคก่อน

หลังจากนั้นทำการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนก่อนทำการย้ายต้นพันธุ์ออกสู่ Clean Nursery เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพ สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค ก่อนมอบให้กับเกษตรกรกว่า 60 ราย ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เลย อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค และนำไปสู่กระบวนการผลิตเบญจมาศที่ปลอดโรคเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนก่อนมอบให้กับเกษตรกรกว่า 60 ราย ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เลย อุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น 20-70% จากการใช้เบญจมาศสายพันธุ์ใหม่ๆ และปลอดโรค และต่อเนื่อง ในปี 2565 นี้ได้ดำเนินการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา และลำปาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตเบญจมาศอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

คุณเกียรติศักดิ์ กตกุลสัญญา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา แกนนำกลุ่มคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดนครราชสีมา ที่ปลูกเบญจมาศมานานกว่า 20 ปี กล่าวว่า ทีมนักวิจัย วว. ได้เข้ามาแนะนำให้ความรู้เรื่องการปลูกเบญจมาศสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ปลอดโรค จากเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงและได้ผลผลิตคุณภาพดี ทำให้ได้ผลกำไรเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย 100,000 บาทต่อไร่

การปลูกเบญจมาศในเชิงพาณิชย์มีศักยภาพสามารถเติบโตได้อีกไกล BALLSTEP2 โดยสายพันธุ์ใหม่ของ วว.ที่เกษตรกรปลูกอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์โมนา, ขาวญี่ปุ่น, คาเมล และ F44 เป็นต้น ซึ่งการเพาะเนื้อเยื่อไว้จำนวนหลายร้อยพันธุ์ของ วว. เอื้อประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมเบญจมาศของไทยเนื่องจากเบญจมาศเป็นไม้ประดับยอดนิยมที่ตลาดมีความต้องการสูงตลอดปี ปลูกได้ปีละ 3 รุ่น ทำให้มีผลกำไรสูงถึงปีละ 300,000 บาทต่อไร่

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัย วว. พยายามศึกษาแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มเบญจมาศคุณภาพเกรดรอง ในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาดอกเบญจมาศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มเกษตรกรอยากให้ทีมนักวิจัยปรับปรุงเบญจมาศสีขาว สีเหลือง ซึ่งเป็นสินค้าเก่าที่ได้รับความนิยมจากตลาดตลอดทั้งปี ให้กลายเบญจมาศพันธุ์ปลอดเชื้อเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางการขายในอนาคต

ทีมนักวิจัย วว. และ วช. ได้ร่วมกันดำเนินแผนโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการผลิต และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต ลิเซียนทัส เบญจมาศ และไทร พ.ศ. 2563-2564” ให้การสนับสนุนต้นพันธุ์เบญจมาศปลอดโรคกว่า 20,000 ต้น เพื่อใช้เป็นแม่พันธุ์ทดแทนสายพันธุ์เดิมที่อ่อนต่อโรคแก่เกษตรกร และเป็นแม่พันธุ์ใหม่ในกระบวนการผลิตเป็นเบญจมาศตัดดอก โดยในปี 2566 จะขยายผลพันธุ์เบญจมาศแก่เกษตรกรเพิ่มอีก ราว 50,000 ต้น รวมทั้งเตรียมคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่ภาคใต้อีกด้วย บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เดินหน้ารับซื้อมะม่วงจากเกษตรกรทั่วไทย หลังผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด จุดพลุเปิด “เทศกาลมะม่วง” กระจายผลผลิตทุกสาขา คาดรับซื้อตลอดทั้งปี 3,500 ตัน ช่วยชาวสวน 218 ครัวเรือนมีรายได้ พร้อมเพิ่มดีกรีส่งเสริมการบริโภคทุกช่องทาง รองรับความคึกคักจากร้านอาหาร โรงแรม

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยพันธกิจช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้มีรายได้ทีมั่นคงอย่างยั่งยืน ล่าสุด แม็คโครรับซื้อมะม่วงจากชาวสวนทั่วประเทศ เพื่อช่วยกระจายผลผลิตในช่วงฤดูกาล โดยได้จัด “เทศกาลมะม่วงคุณภาพดีส่งตรงจากสวน” ขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ รองรับความต้องการของผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม และลูกค้าทั่วไป พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่อง