บันไดขั้นที่ 5 การราดสารเกษตรกรนิยมราดสารโดยใช้สารพา

โคลบิวทราโซล 10% WP เพื่อชักนำการออกดอกในมะม่วง การราดทางดินจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการพ่นทางใบ กรณีมะม่วงน้ำดอกไม้ การใช้ทางดินจะแสดงผลในช่วงประมาณ 45-60 วันหลังราดสาร ระยะใบเพสลาด หรือช่วงหลังผลิใบได้ประมาณ 15-21 วัน เป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการราดสาร ทั้งนี้ ดินต้องมีความชื้น อาจารย์ศิลป์ชัย บอกว่า เกษตรกรนิยมราดสารในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จนถึงต้นเดือนสิงหาคม เพราะไม่ค่อยมีปัญหาความชื้นในดิน กรณีไม่มีฝนตกหรือดินแห้ง ควรให้น้ำกับต้นมะม่วงก่อนการราดสารประมาณ 3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้นแล้วจึงค่อยราดสาร

กรณีมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ อายุ 5-7 ปี ควรตัดแต่งกิ่งโปร่ง ต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร ราดสารในอัตรา 10 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร หากต้นมะม่วงอายุเกินกว่านี้ ควรราดสารในอัตรา 15-20 กรัม/ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร โดยพิจารณาจากความหนาแน่นของใบ และความสูงของต้นประกอบ หากต้นสูงมากต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเพิ่มขึ้นไปอีก

เกษตรกรจะราดสารบริเวณโคนต้น โดยทำความสะอาดรอบโคนต้นก่อน แล้วทำเป็นแอ่ง ผสมน้ำอย่างน้อย 5 ลิตร/ต้น ควรให้น้ำมากจะได้ผลดีกว่า ใช้น้ำน้อย หลังราดสารแล้ว หากไม่มีฝนตก ต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดินมีความชื้นประมาณ 10-15 วัน ระวังอย่าราดสารเกินกว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้ต้นมะม่วงแสดงอาการเลื้อยของกิ่ง และเปลือกแตก นำไปสู่อาการดื้อต่อสารเร็วขึ้น โดยปกติอาการดื้อสารพาโคลบิวทราโซล (ไม่ตอบสนองในการชักนำให้ออกดอก) พบเมื่อราดสารติดต่อกันประมาณ 8 ปี มักเกิดในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง

บันไดขั้นที่ 6 การบำรุงตาดอกและเปิดตาดอก
หลังจากราดสารปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ต้นมะม่วงจะเริ่มปรับสมดุลของฮอร์โมน มีการสะสมอาหารและถูกชักนำสร้างตาดอกขึ้น ภายใน 45-60 วัน เพื่อส่งเสริมการสร้างตาดอก ช่วงกลางเดือนกันยายนให้สมบูรณ์ ควรบำรุงตาดอกก่อนเปิดตาดอก โดยให้ปุ๋ยทางดิน หลังราดสารประมาณ 7 วัน เกษตรกรนิยมให้ฮิวเทคจี (ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ สูตรบำรุงดอก) อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น

กรณีต้นมะม่วงอายุมาก ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสัดส่วนปุ๋ยเป็น 3 กิโลกรัม/ต้น หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น เพื่อให้ต้นสะสมอาหารสำหรับสร้างตาดอก หลังราดสารแล้ว ดินมีความชื้น อาจใส่ปุ๋ยได้ทันที หลังจากให้ปุ๋ยทางดินประมาณ 15 วัน ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 6-16-36 หรือ 5-20-25 หรือ 0-52-34 หรือ 0-42-56 อัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 3-4 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน

ควรล้างต้นก่อนเปิดตาดอก เพื่อป้องกันศัตรูพืชก่อนการแทงช่อดอก โดยใช้กำมะถันผง 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นฆ่าเพลี้ยไฟ ไรแดง และเชื้อรา ก่อนดึงดอกประมาณ 7 วัน การเปิดตาดอก หรือ “ดึงดอก” เป็นการใช้สารเคมีกระตุ้นให้ตาดอกที่มีความพร้อมผลิบานออกมาพร้อมกันทั้งต้น เพื่อความสะดวกในการจัดการสวน

อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า การดึงดอก จะทำหลังราดสารประมาณ 45-60 วัน ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ยกเว้นพันธุ์เขียวเสวย ใช้เวลาประมาณ 60 วัน วิธีการดึงดอก จะใช้ไทโอยูเรีย 500 กรัม ร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรต 2.5-3.0 กิโลกรัม พร้อมสาหร่ายทะเลสกัด 300 มิลลิลิตร (หรือใช้รู้ดวัน 200 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร) ในกรณีใช้เครื่องฉีดพ่น นิยมพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน หลังจากนั้นตาดอกจะแทงช่อออกมา หลังจากดึงดอก 1 สัปดาห์ มีการผลิของตาออกมา อาจเกิดเป็นช่อใบมากกว่าช่อดอก หากปรากฏช่อดอกออกมาพร้อมกันเกิน ร้อยละ 70 ของยอดทั้งหมดบนต้นก็ถือว่า ประสบความสำเร็จแล้ว

บันไดขั้นที่ 7 การบำรุงช่อดอก และช่อผล
การบำรุงช่อดอก ต้องเริ่มดูแลรักษาช่อดอก ตั้งแต่ระยะเดือยไก่/ระยะเขี้ยวหมา หรือหลังจากดึงดอกครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 6-16-36 อัตรา 400 กรัม หรือสูตร 10-52-17 อัตรา 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร รวมทั้งฉีดพ่นแคลเซียมโบรอน และสารฆ่าเชื้อรา เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อราเป็นหลัก เช่น โพรคลอราช 50% WP 200 กรัม และไตรฟล็อกซี่สโตรบิน 50% WP 30 กรัม สลับกับ ไดฟีโนโคนาโซล 25% SL100 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร ส่วนสารฆ่าแมลงที่แนะนำคือ คาร์บาริล 85% WP 500 กรัม สลับกับอิมิดาโคลพริล 70% WG อัตรา 30 กรัม สำหรับกำจัดเพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยไฟ

สารจับใบ ควรพ่นก่อนดอกบานประมาณ 3 ครั้ง ตั้งแต่ระยะเดือยไก่จนถึงก่อนดอกบาน หากสภาพอากาศแห้งแล้ง การพ่นครั้งสุดท้าย ควรเพิ่มอะมิโนแคลเซียม 100 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกมีความชุ่มชื้นและมีกลิ่นช่วยดึงแมลงพาหะมาผสมเกสร ให้ผสมสารเคมีทั้งหมดตามลำดับ เมื่อดอกเริ่มบานให้หยุดการพ่นสารเคมีทุกชนิด

เมื่อเริ่มติดผลขนาดหัวไม้ขีดไฟหรือเมล็ดถั่วเขียว ให้ระวังเพลี้ยไฟ และโรคจากเชื้อรา สารเคมีที่ใช้บำรุงรักษาผล เช่น สาหร่ายทะเลสกัด แคลเซียมโบรอน สารฆ่ารา และสารฆ่าแมลงใช้ตัวเดิมกับช่วงดอก พ่น 2 ครั้ง ใช้ในอัตราต่ำ เมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วลิสงหรือเมล็ดข้าวโพด ให้ดูแลโดยใช้ส่วนผสม ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง สูตร 30-20-10 อัตรา 500 กรัม แคลเซียมโบรอน 100 มิลลิลิตร จิบเบอเรลลิน 2% อัตรา 20 มิลลิลิตร เพื่อขยายขนาดผล ให้สารไคโตซาน 200 มิลลิลิตร เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช และเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช

นอกจากนี้ ควรให้สารฆ่าเชื้อรา เช่น แคปเทน หรือแมนโคเซบ อัตรา 500 กรัม หรือแอนทราโคฃ 300 กรัม และให้สารฆ่าเพลี้ยไฟ เช่น คาร์โบซัลแฟน 20% EC 300 มิลลลิตร หรืออะบาแมคติน 100 มิลลิลิตร รวมทั้งสารฆ่าหนอนเจาะผล เช่น ไซเพอร์เมทริน 100 มิลลิลิตร จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จนถึงระยะผลเท่าไข่ไก่ (45 วัน หลังติดผล) ควรมีแหล่งน้ำให้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น ช่วยด้านการขยายผล เมื่อผลยาว 8-12 เซนติเมตร หรือประมาณ 45-60 วัน หลังการติดผล ถึงระยะห่อผล

ก่อนห่อผล ควรตัดแต่งผล (ปลิดผล) แล้วพ่นสารเคมีฆ่าศัตรูพืช เช่น ยาป้องกันเชื้อรา เช่น แอนทราโคล 70% WP อัตรา 300 กรัม สารฆ่าเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เช่น ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 20 กรัม ร่วมกับแลมบ์ดาไซฮาโลทริน อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือสารที่มีส่วนผสมของไทอะมิโทแซม+แลมบ์ดาไซฮาโลทริน อัตรา 150 มิลลิลิตร สารจับใบ เช่น พรีมาตรอน อัตรา 100 มิลลิลิตร หรือสารจับใบที่มีส่วนผสมของน้ำมันปิโตรเลียม พาราฟฟินิกออยล์ อัตรา 100 มิลลิลิตร

ระหว่างการห่อผล เช็ดผลให้สะอาด หากพบเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยบนผล หรือก้านขั้นผล หลังห่อผล เหลือเวลาประมาณ 40-45 วันก่อนเก็บเกี่ยว ไม่ควรให้น้ำหรือให้ปุ๋ยทางดิน เพราะจะทำให้ผลเน่าในและตายนึ่งในตอนบ่ม ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 อัตรา 1,000 กรัม ผสมแคปแทน หรือแมนโคเซบ อัตรา 500 กรัม ผสมอิมิดาโคลพริด อัตรา 30 กรัม หรือคาร์บาริล อัตรา 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร พ่นทันทีหลังห่อผล แล้วฉีดพ่นครั้งที่ 2 ห่างกัน 7 วัน เพื่อให้มีรสหวาน ขยายผลให้โต ช่วยให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นและรักษาผล ระยะผลที่โตแล้ว ควรใช้สารเคมีที่เป็นผงจะดีกว่าที่เป็นน้ำมัน

บันไดขั้นที่ 8 การปลิดผลและการห่อผล
ควรปลิดผลออกก่อนการห่อผล จำนวน 3 ครั้ง เพื่อกำหนดขนาดผลตามความต้องการของตลาด รวมทั้งรักษาเฉพาะผลที่มีคุณภาพไว้ ครั้งที่ 1 เมื่อผลมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ ประมาณ 20 วัน หลังติดผล ให้เลือกปลิดผลที่มีลักษณะผลกะเทย ผลไม่ได้รูปทรง ผลบิดเบี้ยว ผลที่เบียดกัน อย่างไรก็ตาม ผลเหล่านี้สามารถขายได้ 13 บาท/กิโลกรัม นับเป็นผลขนาดเล็กสุดที่ปลิดออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ต้นเดือนธันวาคม

ครั้งที่ 2 ประมาณ 30 วัน ผลที่สมบูรณ์จะมีสีเขียวอ่อน ให้ปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ผลกะเทย ผลบิดเบี้ยว ผลสีเขียวคล้ำ สำหรับผลระยะนี้จะมีขนาดลูกปิงปองขึ้นไป เรียกว่า ลูกใหญ่ ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 3 บาท ครั้งที่ 3 ให้ซอยผลให้ห่าง กรณีช่อที่มีผลอยู่ห่างกัน เหลือไว้ไม่เกิน 2 ผล/ช่อ ให้ปลิดผลลาย ผิวที่มีรอยขีด ผลต่อช่อมากเกินไป ผลระยะนี้จะมีขนาดใหญ่ ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 3 บาท นิยมใช้ทำมะม่วงยำ

การปลิดผลให้ระวังเรื่องยางเปื้อนผลที่ไม่ตัดออก ควรปลิดผลในช่วงบ่าย เพราะจะมียางน้อยกว่าช่วงเช้า และใช้กระดาษชำระซับน้ำยางไว้ กรณีกิ่งฝากท้อง ให้ไว้ผลรอบสุดท้าย ไม่เกิน 5 ผล/ช่อ การไว้ผลต่อช่อจะอิงตลาดปลายทางเป็นหลัก หากเป็นตลาดส่งออกผลสด ต้องการผลขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 280-450 กรัม/ผล จะไว้ผลต่อช่อมากกว่า ตลาดส่งออกในรูปแช่แข็ง ที่ต้องการผลขนาดใหญ่ เฉลี่ย 330 กรัม/ผลขึ้นไป

การห่อผล สำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง นิยมใช้ถุงกระดาษคาร์บอน 2 ชั้น เพื่อให้สีผิวของมะม่วงขึ้นสีเหลืองดี แม้ห่อเมื่อผลแก่ควรเลือกถุงสีน้ำตาลด้านนอก เหนียว ไม่ยุ่ยเมื่อโดนน้ำ กระดาษคาร์บอนด้านในหนา ถุงมีลวดโผล่และลวดแข็ง เมื่อพับลวดพันก้านผลแล้วไม่คลายตัวออก ลวดที่โผล่ออกมาควรจะอยู่ด้านซ้ายของถุงจะสะดวกกว่าอยู่ด้านขวา ลวดที่โผล่ออกมายาวจะดีกว่า แนะนำให้ใช้ถุงซุนฟง เพราะสามารถใช้งานได้ซ้ำถึง 5 ครั้ง ราคาเฉลี่ย 1.30 บาท/ถุง

อาจารย์ศิลป์ชัย แนะนำให้ห่อผลมะม่วงตั้งแต่ระยะขนาดไข่ไก่ ผลยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ผลกว้าง 3 เซนติเมตร โดยตัดแต่งช่อผลก่อนห่อ หลีกเลี่ยงการห่อผลเล็ก เพราะเสี่ยงต่อการร่วงของผลได้มาก ทั้งนี้ ควรพ่นสารเคมีก่อนห่อ เทคนิคการห่อที่นิยมกันมี 2 รูปแบบ คือ 1. จีบรูดปากถุงไว้ตรงกลาง ข้อดีคือ มัดได้แน่น กันเพลี้ยแป้งเข้าไปในถุงได้ดีกว่าแบบพับ จุดอ่อนคือ ถุงจะยับมาก เก็บถุงไว้ใช้ต่อไม่ค่อยได้ 2. พับขอบถุงทั้งสองด้านมาประกอบกันที่ตรงกลาง หรือด้านใดด้านหนึ่ง ข้อดีคือ ถุงไม่ยับ เก็บไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ดี ห่อได้เร็ว จุดอ่อนคือ ลวดมัดไม่แน่น ประโยชน์ของการห่อผลคือ ช่วยป้องกันผลไปกระแทกกับกิ่ง ป้องกันโรคที่อยู่ในอากาศ ป้องกันแมลงที่อยู่ด้านนอกถุง ทำให้ผิวไม่ลาย เป็นสีเหลืองสม่ำเสมอ

บันไดขั้นที่ 9 การเก็บเกี่ยว
อาจารย์ศิลป์ชัย แนะนำให้นับวันเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน หลังดึงดอก เมื่อถึงกำหนดให้สุ่มเปิดดูเป็นระยะ หากพบว่าผลมีสีผิวเรียบเนียนมีนวล อกเต็ม แก้มอูม สะดือเรียบ ปลายผลพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองมีสีเหลืองเข้มข้น ให้สุ่มเก็บผลไปลอยน้ำ ต้นละ 1 ผล ประมาณ 5 ต้น หากผลจมดิ่ง ตะแคงนิ่ง ไม่กระดก แสดงว่าเป็นผลแก่ 80-90% เหมาะสำหรับตลาดผลแช่แข็ง สามารถเก็บเกี่ยวได้เลย ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 130-140 วันหลังดึงดอก และสามารถเก็บผลได้ต่อเนื่องถึง 15 วัน หากมีฝนตก เนื่องจากอากาศเย็น หากอากาศร้อนจัด ผลจะแก่เร็ว ระยะเก็บเกี่ยวจะสั้นลง

การเก็บเกี่ยว ควรเด็ดที่โคนช่อผล เนื่องจากเด็ดง่าย ยางไม่ไหลเปื้อนผล นำผลวางในตระกร้าทั้งถุงห่อ ขนไปโรงคัดบรรจุแล้วถอดถุง ตัดขั้วผลให้เหลือยาว 3-5 เซนติเมตร เป็นระยะที่ยางไม่ไหล พร้อมคัดแยกเกรดรอบที่ 1 เรียกว่า แยกหยาบ เกษตรกรจะคัดแยกผลที่ขายได้และผลที่ตกเกรด รอบที่ 2 จะคัดเกรดที่จะส่งขายชมรมฯ หากผลมีรอยเปื้อนให้เช็ดให้สะอาด จัดเรียงใส่ตะกร้าที่บุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ด้าน และรองแต่ละชั้น ตะกร้า 1 ใบ สามารถบรรจุมะม่วงได้ 3 ชั้น

ทั้งนี้ ตลาดมะม่วงแช่แข็ง ต้องการมะม่วงที่มีน้ำหนักหลังบ่ม 2 ขนาด คือ ขนาดเล็ก น้ำหนัก 280-329 กรัม ราคาต่ำกว่าขนาดใหญ่ 10 บาท ขนาดใหญ่ น้ำหนัก 330 กรัมขึ้นไป การคัดเกรดส่งออกผลสด จะคัดเป็น 4 ขนาด คือ ไซซ์ S น้ำหนัก 280-330 กรัม/ผล M น้ำหนัก 331-350 กรัม/ผล L น้ำหนัก 351-450 กรัม/ผล และ J น้ำหนัก 451 กรัมขึ้นไป เป็นขนาดที่ตลาดต้องการน้อย

บันไดขั้นที่ 10 การคัดบรรจุและการขนส่ง
ทางชมรมฯ จะคัดเกรดมะม่วง โดยกำหนดระยะมะม่วงแก่ 75-80% เมื่อคัดแยกแล้วจะนำมาบรรจุใส่ตะกร้าหูเหล็ก ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองตะกร้าทั้ง 4 ด้าน วางผลมะม่วงเอาหัวเอียงประมาณ 30 องศา วาง 3 ชั้น แต่ละชั้นรองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ตะกร้าแต่ละใบ สามารถบรรจุน้ำหนัก 26 กิโลกรัม (น้ำหนักมะม่วงอย่างเดียว 23 กิโลกรัม)

หลังจากนั้นจะขนส่งตะกร้ามะม่วงบรรจุใส่รถบรรทุกสี่ล้อ รับน้ำหนักได้ 119 ตะกร้า/คัน โดยวางซ้อนกันได้ 5 ชั้น คลุมด้วยผ้าใบกันฝน นิยมขนส่งตอนกลางคืน เพื่อส่งสินค้าถึงโรงงาน ไม่เกินเที่ยงวันของวันถัดไป เมื่อสินค้าถึงปลายทาง ทางโรงงานจะนำมาแยกมะม่วงตามรหัสสมาชิกแล้วชั่งน้ำหนักผู้ผลิตแต่ละราย คิดราคามะม่วงตามน้ำหนักปลายทาง สินค้าจะถูกส่งคืน หากไม่ได้มาตรฐาน ทางชมรมฯ จะเป็นผู้กำหนดแผนการขนส่งสินค้าไปยังบริษัทส่งออกแบบแช่แข็ง มีการทำประกันสินค้าตามมูลค่าสินค้าแต่ละเที่ยว บริษัทจะคัดสินค้าและส่งออกแบบแช่แช็งอีกรอบ

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกเลี้ยงกันในหลายพื้นที่ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย มีหลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ที่มีขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 75-80 เซนติเมตร ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยัก ใบสีเขียวอ่อนๆ ทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบซ้อนมีหลากหลายสี

หากท่านใดอยากชมความสวยงามของดอกเบญจมาศกว่า 100 ไร่ ขอแบ่งปันความสวยงามที่ สวนดอกเบญจมาศบิ๊กเต้ ตั้งอยู่ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี แหล่งปลูกดอกเบญจมาศที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของมวกเหล็ก พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

คุณภูธนะ พรหมพิทักษ์ หรือ ต๊ะ เกษตรกรหนุ่มไฟแรง วัย 26 ปี จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผันตัวเองมาเป็นหนุ่มบ้านไร่สานต่อธุรกิจครอบครัว

คุณภูธณะ เล่าให้ฟังว่า UFABET SLOT ก่อนหน้านี้ครอบครัวของตนเองประกอบธุรกิจส่วนตัวมาก่อน แต่ด้วยความที่สนใจในอาชีพเกษตรของคุณพ่อและคุณแม่ มีแนวคิดอยากปลูกพืชสักชนิด ทำเป็นธุรกิจนอกเหนือจากที่ทำอยู่ จึงออกตระเวนไปตามจังหวัดต่างๆ มองหาอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร และจากการได้ออกพื้นที่ ทำให้ได้เห็นอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศตัดดอกของเกษตรกรบนดอยที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี จึงเกิดความสนใจนำมาปลูกทำเป็นธุรกิจ ประกอบกับแนวคิดที่ว่า ปลูกดอกเบญจมาศมีคู่แข่งน้อย ราคาไม่แกว่ง อะไรที่คนทำได้น้อย และทำยาก ย่อมไม่ล้นตลาด

ด้วยความเหมาะสมของพื้นที่และสภาพอากาศที่ใกล้เคียง เหมาะสมที่จะปลูก อีกทั้งยังห่างจากกรุงเทพมหานครไม่มาก ใช้เวลาในการขนส่งไปยังพ่อค้าแม่ค้าไม่นานเหมือนกลุ่มผู้ผลิตทางเหนือ ซึ่งสามารถลดการสูญเสียของผลผลิตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้ ทางครอบครัวจึงตัดสินใจเลือกพื้นที่บริเวณนี้ทำเป็นฟาร์มเบญจมาศตัดดอก

วิธีการปลูก

คุณภูธณะ และพี่ชายคือ คุณเต้ เริ่มปลูกเบญจมาศตัดดอก ครั้งแรกเพียง 5 ไร่ ก่อนอื่นต้องคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่จะปลูก ว่าตอบสนองต่ออากาศ ปุ๋ยหรือไม่ พอได้พันธุ์ที่เหมาะสม ต้องดูตลาดอีกว่าตลาดต้องการดอกแบบไหน พอลงตัวทั้งสองอย่างถึงจะลงปลูก ภายในโรงเรือนขนาดความสูงประมาณ 2-3 เมตร ด้านข้างเปิดให้อากาศถ่ายเท ส่วนด้านบนใช้พลาสติกใสทำเป็นหลังคาป้องกันฝนและแดดในช่วงที่ไม่ต้องการแสง เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุก ชอบอากาศเย็น ชื้น แต่ดินไม่แฉะ ห้ามให้ดินแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่า พอตัดดอกทิ้ง ต้องตีดินลงพันธุ์ใหม่ สวนมีต้นพันธุ์เอง

ต้นพันธุ์จะไม่ปล่อยให้มีดอกแล้วเอายอดมาเพาะพันธุ์อย่างเดียว เจ้าของเด็ดยอดต้นพันธุ์มาชำให้เกิดราก แล้วนำมาปลูกในแปลง

ที่ฟาร์มแห่งนี้อยู่บนภูเขา จะมีปัญหาตรงที่มีแต่ดินลูกรัง ฟาร์มจึงแก้ปัญหาด้วยวิธีนำเอาขุยมะพร้าว แกลบ ขี้วัว เอามาลงในแปลง แล้วก็ตีดินผสมให้เข้ากัน ให้กระจาย ทำเพียงเท่านี้ก็สามารถปลูกได้แล้ว ความกว้างของแปลงปลูกประมาณ 90 เซนติเมตร ความยาวแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่

“ที่ฟาร์มของผม จะยกร่องเหมือนกับการปลูกผักทั่วไป 1 แปลง จะปลูกประมาณ 10-12 แถว แต่ละแถวจะปลูกประมาณ 150 ต้น ซึ่งต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกจะได้จากการนำกิ่งพันธุ์มาปักชำจนเกิดรากเดินได้ระยะหนึ่ง จากนั้นจะนำมาปลูกในแปลงที่มีการควบคุมแสง ปุ๋ย น้ำ ตลอดจนโรคแมลงที่เกิดขึ้น ปุ๋ยจะเป็นปุ๋ยละลายเร็ว สูตรเสมอ 15-15-15 เพื่อเร่งโครงสร้างลำต้นให้สมบูรณ์ และเมื่อโครงสร้างได้ตามที่ต้องการ ก็จะเริ่มเร่งดอก โดยใช้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ช่วยกระตุ้น” คุณภูธนะ บอก

“ที่โรงเรือนของเราจะมีพลาสติกคลุมไม่ให้ดอกเบญจมาศโดนฝน พอเป็นดอกโดนฝนน้ำจะเข้า จะทำให้ดอกเน่า วิธีคือพยายามอย่ารดที่หน้าดอก ให้รดตรงโคนต้น ถ้าใช้แรงงานคนรดจะดีเพราะเราสามารถคอนโทรลได้ ส่วนเรื่องโรคและแมลงดูตามสถานการณ์ ถ้าเจอโรคแมลงเราก็ฉีดพ่นตามปกติ แต่ยาเราเป็นยาออร์แกนิก แต่ถ้าจะให้ดี ผมแนะนำให้จัดตารางไว้เลยว่าเราจะฉีดยาวันไหน ประมาณอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2 อาทิตย์ครั้ง ก็ได้” คุณภูธนะ กล่าว