บิ๊กโปรเจ็กต์ “บางบาล-บางไทร” แก้วิกฤตน้ำท่วม-ฟื้นเศรษฐกิจ

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่หลายจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างปี 2554 จนถึงปี 2560 ก็ยังไม่มีการขึ้นโครงการขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ

โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองธุรกิจการท่องเที่ยวและนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่มีโรงงานหลายร้อยแห่งระดับแถวหน้าของประเทศตั้งอยู่ จนทำให้ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ อดเป็นห่วงไม่ได้ เพราะคาดว่าอาจจะมีน้ำท่วมที่ใหญ่กว่าปี 2554 เกิดขึ้นอีกภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ หลังจากที่มีการล้มโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมสถานการณ์ของประเทศเมื่อเดือน พ.ค. 2557

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาสำทับอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการน้ำให้เป็นรูปธรรม อาทิ การจัดทำพื้นที่แก้มลิง การผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ไปยังอ่างเก็บน้ำลำตะคอง การสร้างหรือขยายเส้นทางระบายน้ำบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ความยาว 22.35 กม. มูลค่า 1.76 หมื่นล้านบาท จาก อ.บางบาล ตัดตรงลงมาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อแก้ปัญหาคอขวดตรงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่แม่น้ำเจ้าพระยารับน้ำได้เพียง 800-1,200 ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น ในขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำลงมาในช่วงน้ำหลากสูงถึง 2,800 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตตัวเมืองและรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงที่มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งรอบตัวเมืองเกิดความเสียหายตามมาเป็นประจำเกือบทุกปี ซึ่งพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยายังมีแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี ไหลมาบรรจบทางฝั่งตะวันออกของตัวเมืองด้วย ยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนักขึ้นไปอีก

ชาวบางไทรขอค่าเวนคืนที่เหมาะสม

จากการสำรวจของผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงโครงการคลองบายพาสบางบาล-บางไทร บริเวณปลายทางของคลองสายนี้ที่จะไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณ ต.สนามชัย อ.บางไทร จุดเวนคืนที่มีความกว้างของคลองประมาณ 200 เมตร ก่อนถึงวัดสนามชัยประมาณ 200 เมตรอีกเช่นกัน นายอมร ขมิ้นสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย กล่าวว่า บริเวณปลายคลองใหม่นี้จะต้องเวนคืนบ้านเรือนประชาชนประมาณ 30 หลังคาเรือน และจะมีการสร้างประตูระบายน้ำด้วย ราคาที่ดินที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาราคาตลาดจะสูงประมาณไร่ละ 3-4 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนช่วงกลางคลองใหม่ราคาจะตกประมาณไร่ละ 5-6 แสนบาท ราคายังไม่สูง เพราะเป็นพื้นที่สีเขียวห้ามขึ้นโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนประชาชนที่จะถูกเวนคืน อยากให้ภาครัฐจ่ายค่าเวนคืนที่เหมาะสม และช่วยจัดหาพื้นที่ตั้งบ้านเรือนใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยเดิม

“เห็นทางการปรับแผนใหม่ลดพื้นที่ความกว้างของการเวนคืนสร้างคลองใหม่เหลือ 200 เมตร โดยลดขนาดถนนฝั่งตะวันตกจาก 4 เลน เหลือ 2 เลน และฝั่งตะวันออกของคลองเท่าเดิม 2 เลน ส่วนดินที่ขุดจากคลองจะนำมาถมทำถนน 2 ฝั่งคลองใหม่ ซึ่งคลองสายใหม่นี้อยากให้ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือกับชาวบ้านว่าควรจะมีกิจกรรมโปรโมตการท่องเที่ยวเพิ่มเติมจากเดิมอย่างไรบ้าง เพราะคลองสายใหม่นี้ใช้เวลาเดินทางไม่นานก็ถึงใจกลางกรุงเทพฯ”

เร่งทำโครงการเร็วขึ้น

ส่วนทางด้านต้นคลองบางบาล-บางไทรที่จะมีการสร้างประตูระบายน้ำขึ้นมาก่อนในปี 2561 นั้น แหล่งข่าวจากฝ่ายโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล กล่าวว่า กรมชลประทานเป็นเจ้าของโครงการโดยตรง เท่าที่ทราบต้นคลองบางบาล-บางไทรที่จะตัดใหม่อยู่ทางทิศเหนือของวัดขนอนขึ้นไป 3 กม. บ้านเรือนประชาชนไม่หนาแน่น ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการเร่งด่วนร่นการทำโครงการจากปี 2564 มาเป็นปี 2561 แทน มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการไปแล้ว ช่วงนี้อยู่ในช่วงการประชุมจัดทำรายละเอียดของโครงการ มีการหารือกับ อบต.และกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตัดผ่าน โดยมีคณะกรรมการกำกับโครงการดูแล ซึ่งวันที่ 23 ก.ย.นี้จะมีการประชุมชี้แจงกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกรอบ

“โครงการนี้จะมีเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ปากทางต้นคลองใหม่ลงไปเล็กน้อยเพื่อบังคับน้ำให้เข้าคลองใหม่ได้มากขึ้น แต่เป็นโครงการในอนาคต นอกจากนี้จะมีพนังกั้นริมแม่น้ำเจ้าพระยาเสริมให้ครบทุกจุดตั้งแต่ปลายคลองใหม่ขึ้นไปยังต้นคลองใหม่ด้วย คาดว่าจะใช้งบฯอีกประมาณ 600 ล้านบาท”

ขณะที่ นายสุเมธ โลหิตหาญ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม สำนักงานชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ช่วงแรกในการประชุมทำโครงการนี้ กรมชลประทานจะสร้างคลองบางบาล-บางไทรกว้าง 300 เมตร แต่ช่วงหลังตนไม่ได้เข้าประชุมว่าจะมีการลดความกว้างลงหรือไม่ โครงการนี้มีการจ้าง 4 บริษัทที่ปรึกษาแล้ว ส่วนการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะลงมาประชุม ครม.สัญจรที่พระนครศรีอยุธยา วันที่ 19 ก.ย.นี้ จะมีเรื่องการจัดการผันน้ำเข้าทุ่งทั้ง 7 แห่ง คือ ทุ่งป่าโมก ทุ่งบางบาล ทุ่งบ้านแพน ทุ่งคลองกุ่ม ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด และทุ่งบางกุ้ง หลังวันที่ 15 ก.ย.ที่ให้ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งทั้ง 7 ทุ่งมีพื้นที่ 602,725 ไร่ เป็นพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 แสนกว่าไร่ รับน้ำเข้าพื้นที่สูงประมาณ 1-2 เมตร รับน้ำได้ทั้งสิ้น 1,023

ล้าน ลบ.ม.จะเห็นได้ว่า การที่รัฐเร่งรัดทำโครงการนี้ และโครงการผันน้ำเจ้าพระยาไปลงแม่น้ำน้อยอีก 800 ลบ.ม./วินาที ที่อยู่ด้านบนโครงการนี้ จะช่วยด้านการท่องเที่ยวจังหวัดนี้ได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติได้เป็นอย่างมาก เพราะอนาคตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีก จากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-โคราช ดังนั้นการมีทางเลือกเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาน้ำท่วมนอกเหนือจากการผันน้ำเข้าทุ่ง จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนมองหลังจากรอคอยมานาน 6-7 ปี

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 11 กันยายน 2560 ดังนี้
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีแนวโน้มปริมาณฝนเท่าเดิม เว้นแต่ภาคเหนือ และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมกำลังอ่อนยังคงพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนคงเดิม

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี ชัยนาท และนครสวรรค์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

เมื่อวันที่11กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองชัยนาท มีความคึกคักตลอดทั้งวัน โดยมีประชาชนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวนาที่เพิ่งได้รับเงินค่าข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวขายในระยะนี้ เดินทางมาไถ่ภอนทรัพย์สินที่นำมาจำนำไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทองรูปพรรณ ที่มีมากถึง95เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินทั้งหมด และรองลงมาคือเครื่องใช้ไฟฟ้า

นางนันทิยา พงษ์ทอง ผู้จัดการสถานธนานุบาล เทศบาลเมืองชัยนาทเปิดเผยว่า ปกติแล้วจะมียอดการรับจำนำ หรอืที่เรียกว่าเงินออกมากกว่า การไถ่ถอนทรัพย์สิน หรือเงินเข้า แต่ในช่วงที่ชาวนาเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป้นต้นมา ปรากฏว่ายอดเงินเข้ามีมากกว่ายอดเงินออก โดยเฉลี่ยมีความเคลื่อนไหวของอัตราเงินประมาณ5ล้านบาท จะเป็นเงินเข้ากว่า3ล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าชาวนาซึ่งเป็นประชาชนระดับรากหญ้าเริ่มมีรายได้ กำลังซื้อก็จะมีมากขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวม

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ประเมินโครงการจัดรูปที่ดินและระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดศรีสะเกษ เผย เกษตรกรตอบรับ มีความพึงพอใจต่อโครงการเป็นอย่างมาก เพราะมีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำเกินความต้องการได้จริง

นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ประเมินผลโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ซึ่ง สศก. ได้ลงพื้นที่ติดตามใน 2 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี และศรีษะเกษ พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2560 และแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ในช่วงทดลองส่งน้ำเข้าสู่แปลงนาเกษตรกร โดยงานจัดระบบน้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง (คลอง 4 ซ้าย-5 ซ้าย-2 ซ้าย) มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,400 ไร่ เกษตรกร 58 ราย ส่วนงานจัดรูปที่ดินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าโบสถ์ ส่วนที่ 3 จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,390 ไร่ เกษตรกร 120 ราย เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการฯ มองเห็นถึงประโยชน์ของการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำ ว่าจะช่วยทำให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทำการปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี

สำหรับงานจัดรูปที่ดินโครงการจัดรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านโนนจาน ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2557 พื้นที่รับประโยชน์ 1,220 ไร่ เกษตรกร 120 ราย พบว่า เกษตรกรพึงพอใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากทำให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพแล้วนั้น ยังมีประสิทธิภาพการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นมาก จากร้อยละ 184.84 เป็นร้อยละ 201.24 แสดงให้เห็นว่าว่าใช้ที่ดินเพาะปลูกบ่อยครั้งขึ้น ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 และผลผลิตข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21 ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 4,941 บาท/ครัวเรือน/ปี อันเป็นผลมาจากระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังตอบสนองงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ มีการร่วมกันวางแผนการผลิต การตลาด ใช้เครื่องมือเครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกัน นำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรและสร้างโอกาสในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม ภายใต้แผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานได้กำหนดแผนและเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนในทุก ๆ ปี ซึ่งเชื่อมั่นว่าพื้นที่ชลประทานที่มีต้นทุนน้ำสมบูรณ์ จะมีระบบน้ำกระจายทั่วถึงทุกแปลงในระยะต่อไป และจะสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำเกินความต้องการได้ อันจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร จากเกษตรกรทั่วประเทศ 10,000 ครัวเรือน ระหว่างปีการผลิต 2557/58 และ 2558/59 พบว่า รายได้เงินสดรวม 2558/59 มี 300,565 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับปี 2557/58 แบ่งเป็นรายได้จากภาคเกษตร 157,373 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 6.05% และนอกภาคเกษตร 143,192 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 6.17% ส่วนรายจ่ายเงินสดรวม 2558/59 มี 248,170 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 12.89% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นรายจ่ายในภาคเกษตร 100,281 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 9.8% และนอกภาคเกษตร 147,889 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 5.08%

ทั้งนี้ เมื่อเทียบเป็นรายได้เงินสดสุทธิครัวเรือน เหลือเพียง 52,395 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 17.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และหากคิดเฉพาะรายได้เงินสดสุทธิเกษตร มี 57,092 ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 0.04% ขณะที่หนี้สินมี 122,695 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.55% โดยแบ่งเป็นหนี้ในภาคเกษตร มี 64,452 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 0.0018% และนอกภาคเกษตร มี 58,243 บาท/ครัวเรือน ติดลบ 10.34%

“จากรายได้เงินสดสุทธิครัวเรือน ปี 2558/59 ติดลบสูงถึง 17.4% ปัจจัยมาจากการเกษตรกรมีรายจ่าย เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรายจ่ายนอกการเกษตร คิดเป็นสัดส่วน 58 – 60% มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าเทอมบุตร ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการที่เกษตรกรฟุ่มเฟือยตามรสนิยมที่สูงขึ้น รสนิยมคนรุ่นใหม่ ทั้งการถอยรถยนต์รุ่นใหม่ ซื้อสมาร์ทโฟนราคาแพงใช้ ส่วนรายจ่ายในเกษตร ที่คิดเป็นสัดส่วน 40 – 42% ส่วนใหญ่จะมาจากค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน ค่าจ้างบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร สอดคล้องกับปริมาณหนี้สินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของหนี้นอกภาคเกษตร ที่เพิ่มสูงถึง 10.34%”น.ส.จริยา กล่าว

สำหรับปีการผลิต 2559/60 คาดว่า pezmalo.com รายได้ครัวเรือนเกษตร เพิ่มขึ้น 3 – 5% จากผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น จากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย และภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนภายในจากนโยบายภาครัฐที่มีแผนงานโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อาทิ โครงการ 9101 ตามรอยพ่อ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติ และ ระบบการส่งเสริมเกษตรสมัยใหม่โดยใช้รูปแบบประชารัฐ เช่น แผนบริหารการผลิตการตลาดข้าวครบวงจร เกษตรคุณภาพ เกษตรอินทรีย์ แปลงใหญ่ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามแผนที่เพิ่มระบบส่ง กระจายน้ำ สอดคล้องกับจีดีพีภาคเกษตร คาดจะเติบโต 3 – 4%

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า สสวท. ร่วมกับสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำหนดจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 23 (วทร. 23) หัวข้อ “เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อครูไทย 4.0” ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม 2560 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ

การประชุมครั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้เพิ่มพูนศักยภาพทางวิชาการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้นำเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม

ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางวิชาการ หนังสือ สื่อการสอน เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้สถาบันทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลงานที่โดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาจัดแสดงเพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้พัฒนาต่อไป

ที่สำคัญคือมีการจัดประชุมปฏิบัติการในหัวข้อที่หลากหลาย ในทุกสาขาวิชา และระดับชั้น เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาด้านพลังงาน สะเต็มศึกษากับนาโนเทคโนโลยี รูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นความสนุกและจับต้องได้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานทางเว็บไซต์ วทร. 23 http://wtr.ipst.ac.th จนถึงวันที่ 16 ตุลาคม เพื่อเข้าร่วมงานฟรีตลอด 3 วัน ส่วนการลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการ มีค่าใช้จ่ายรายการละ 500 บาท เป็นค่าอุปกรณ์และวิทยากร โดยเปิดรับลงทะเบียนจนถึงวันที่ 15 กันยายน

ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดงานเปิดโลกการศึกษา สร้างปัญญาเด็กพัทลุง ครั้งที่ 13 ประจำปี 2560 ที่วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง จังหวัดพัทลุง ว่า เป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา คือ การสร้างความสามารถทางปัญญาอันประกอบด้วย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และศักยภาพในการเรียนรู้อย่างรอบด้าน การจัดการศึกษาจึงเป็นไปเพื่อการเรียนมากกว่าการสอน ให้ทั้งความรู้ และปัญญา เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

สำหรับกิจกรรมในงานเปิดโลกการศึกษาสร้างปัญญาเด็กพัทลุง ครั้งที่ 13 ประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งทักษะทางวิชาการ ของนักเรียนระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา กิจกรรมวิชาชีพ และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์, กิจกรรมวิชาชีวิต, การแข่งขันทักษะทางวิชาการสู่อาเซียน, การสอน 108 อาชีพ และการจัดแสดงนิทรรศการของสถานศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้มีการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ แก่ผู้ประกอบคุณงามความดีและสร้างประโยชน์ต่อการศึกษาของจังหวัดพัทลุง จำนวน 38 ราย

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร ซึ่งหากเปรียบเทียบจำนวนประชากรภาคเกษตรกับประชากรทั้งประเทศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไทยมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรจาก 59.46 ล้านคน ในปี 2538/39 เป็น 65.13 ล้านคน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 ต่อปี ในขณะที่ประชากรภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 0.91 ต่อปี โดยปัจจุบันภาคเกษตรไทยมีครัวเรือนเกษตรประมาณ 5.9 ล้านครัวเรือน พื้นที่ถือครองทางการเกษตร 149.23 ล้านไร่

ภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2538/39 ถึง 2558/59 ปี 2559/60 – ปี 2560/61 คาดว่ารายได้ครัวเรือนเกษตรจะเพิ่มขึ้นจากผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย และภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนภายในจากนโยบายภาครัฐที่มีแผนงาน/โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติ และระบบการส่งเสริมเกษตรสมัยใหม่โดยใช้รูปแบบประชารัฐ เช่น แผนบริหารการผลิตการตลาดข้าวครบวงจร เกษตรคุณภาพ/อินทรีย์ แปลงใหญ่ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ตาม Agri-Map เพิ่มระบบส่ง/กระจายน้ำ และโครงการ 9101 เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 3-5% สอดคล้องกับจีดีพีภาคเกษตร ที่คาดว่าจะเติบโตระหว่าง 3-4%