บุญศรี ใจเป็ง คนสันทราย เชียงใหม่ ปลูกมันฝรั่ง ได้ 5 ตัน ต่อไร่

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เลย์” มันฝรั่งทอดกรอบ อันดับ 1 ของไทย ได้จัดกิจกรรมเชิญผู้สื่อข่าวเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตมันฝรั่ง และลงแปลงสาธิตการปลูกมันฝรั่งเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูป ณ ไร่มันฝรั่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมและพัฒนาการเพาะปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงานในพื้นที่เหมาะสม ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ และทดแทนการปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความไม่แน่นอนในด้านผลผลิตและราคา พร้อมเดินหน้าสานต่อ “นโยบายส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งสนับสนุนเกษตรกรแบบครบวงจร เน้นพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถ ตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตสูงสุดให้ได้ 5 ตัน ต่อไร่ และลดการนำเข้ามันฝรั่งจากต่างประเทศ

โดยทั่วไป การเพาะปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยนั้น มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 2-3 ตัน ต่อไร่ แต่สำหรับที่อำเภอสันทราย ได้พัฒนา เรียนรู้ และทดลองการเพาะปลูกร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี จนสามารถสร้างผลผลิตมันฝรั่งได้สูงถึง 5 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้ นอกเหนือจากความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อาทิ ดิน น้ำ อากาศ หัวพันธุ์ ปุ๋ย ตลอดจนเทคนิคและเทคโนโลยีการเพาะปลูกแล้ว อีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตคือ การปลูกพืชหมุนเวียนที่เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาล

คุณบุญศรี ใจเป็ง เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่ง เจ้าของรางวัล “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชไร่ภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2553” อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 9 ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบัน คุณบุญศรีเป็นเจ้าของไร่มันฝรั่งกว่า 400 ไร่ โดยแบ่งเป็นแปลงสาธิตให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจอยู่ที่บริเวณแปลงหน้าบ้านส่วนหนึ่ง และพื้นที่ปลูกมันฝรั่งอีกกว่า 300 ไร่ ของคุณบุญศรี จะอยู่ที่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

กว่าจะมีทุกวันนี้ได้ คุณบุญศรีได้เล่าย้อนถึงการเริ่มต้นสู่การเป็นเกษตรกรปลูกมันฝรั่งว่า ครอบครัวของตนมีอาชีพเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อ คุณพ่อเริ่มนำมันฝรั่งมาปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยเริ่มปลูกเพียง 2-3 ไร่ ตอนนั้นคุณบุญศรีเพิ่งอายุได้ 10 ปีเศษ ได้ช่วยพ่อมาดูแลมันฝรั่งตั้งแต่ตอนเด็ก ซึ่งมันฝรั่งที่ปลูกในช่วงนั้นจะเป็นมันฝรั่งที่ขายบริโภคสด คนไทยยังไม่นิยมบริโภคมันฝรั่ง ดังนั้น ตลาดใหญ่คือ เหล่าทหารของฐานทัพอเมริกาที่เข้ามาในประเทศไทย

คุณบุญศรี ยังได้แนะเทคนิคการปลูกและปัจจัยช่วยการตัดสินใจปลูกมันฝรั่งต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ ดังนี้

มันฝรั่ง เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคอีสานตอนบน
ต้องมีระบบชลประทานที่ดี
มันฝรั่ง เป็นพืชที่ต้องใช้เงินลงทุนในการปลูกสูง ถ้าแหล่งน้ำไม่ดี ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่
ต้องหมั่นศึกษาหาอุปกรณ์ทุ่นแรง เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรให้สูงขึ้น
เทคนิคการปลูกมันฝรั่ง

คุณบุญศรี บอกว่า ไม่ว่าจะปลูกพืชอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องเข้าใจหลักของการปลูกพืชก่อน ในการปลูกมันฝรั่ง มันฝรั่งเป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน โครงสร้างดินต้องเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินทราย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสม ต่อไปก็เป็นความรู้เกี่ยวกับมันฝรั่งว่ามีมากน้อยขนาดไหนเป็นปัจจัยสำคัญ

ที่ไร่ของคุณบุญศรีได้มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยสร้างความสมดุลและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน เกษตรกรรายนี้จะปลูกมันฝรั่งหลังจากฤดูกาลเกี่ยวข้าว เป็นช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน สำหรับแปลงปลูกของคุณบุญศรี ใช้เงินลงทุน ไร่ละ 12,000-18,000 บาท หัวพันธุ์บริษัทขายให้ กิโลกรัมละ 26 บาท ใน 1 ไร่ ถ้าเกษตรกรทั่วไป จะใช้ 300 กิโลกรัม แต่ของคุณบุญศรีใช้หัวพันธุ์ 500 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้เยอะ ผลผลิตก็เยอะ คือต้องเข้าใจหลักการ ในพื้นที่ 1 ไร่เราควรจะมีประชากรเท่าไร ถือว่าไม่หนาแน่น ใช้ 300 กิโลกรัม ต่อไร่ น้อยไป ผลผลิตได้น้อย เขาเน้นผลิตหัวพันธุ์ ดังนั้น ใช้หัวพันธุ์ในสัดส่วน 500 กิโลกรัม ต่อไร่

วิธีการเตรียมดินใช้รถแทรกเตอร์พรวนดินให้ดินละเอียด ตรงไหนที่มีหลุม มีร่อง ที่ไม่เรียบก็ต้องใช้คนเข้าไปปรับ เพื่อการทำแปลงให้เรียบ แต่ที่ไร่คุณบุญศรีล้ำสมัย มีการประดิษฐ์ ดัดแปลงรถแทรกเตอร์ที่สามารถขุดร่อง ปล่อยปุ๋ยฝังกลบได้ในครั้งเดียว

ยกร่องให้ได้ขนาด กว้าง 90 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดพอประมาณและเหมาะสมกับหัวพันธุ์ที่จะนำลงปลูก แต่ต้องไม่ลึกเกินไป (ใช้เครื่องขุดเป็นร่อง) นำปุ๋ยใส่ลงไปในช่วงระหว่างหลุมปลูก นำหัวพันธุ์ลงปลูก ให้น้ำตามร่อง ดูความชื้นของดินในช่วงนั้น มันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการความชื้นพอดี แฉะไม่ได้ อายุการเก็บเกี่ยว 90-120 วัน ในแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน

เกษตรกรที่อยากปลูก เริ่มอย่างไร

คุณบุญศรี แนะนำว่า ก่อนอื่นต้องรู้จักมันฝรั่งก่อน รู้จักให้ดี ทำความเข้าใจว่าพืชตัวนี้เป็นยังไง แล้วถ้าคิดจะปลูกอย่างน้อยพื้นที่ปลูกต้องอยู่ภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน มันฝรั่งไม่เหมาะกับการปลูกเป็นรายได้เสริม เพราะว่าต้องลงทุนมากกว่าพืชอื่น แต่ผลกำไรก็ดีเช่นกัน

“ปัจจุบัน แปลงปลูกมันฝรั่งที่นี่ได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ในด้านการเพาะปลูกมันฝรั่งของประเทศ โดยในทุกปีเราได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และภาคเอกชน อย่าง บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน (Field Day) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านมันฝรั่ง เพื่อขยายผลแปลงสาธิตต้นแบบไปสู่เกษตรกรทั่วประเทศ” คุณบุญศรี กล่าวทิ้งท้าย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 บูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพรอบที่ 2 เผย ปี 60 ไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นทุกชนิด ผลผลิตรวม 771,112 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 37 ระบุ ปลายกุมภาพันธ์นี้พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อีกครั้ง เพื่อใช้ประกอบการวางแผนบริหารจัดการผลไม้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพรอบที่ 2 ปี 2560 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) ร่วมมือกับสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3) จังหวัดระยอง และสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออกได้พยากรณ์ผลผลิตไม้ผลภาคตะวันออก ครั้งที่ 2 ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และตราด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู

สำหรับผลพยากรณ์ในปี 2560 ครั้งที่ 2 (ข้อมูล ณ 1 กุมภาพันธ์ 2560) พบว่า เนื้อที่ให้ผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 669,717 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีจำนวน 664,874 ไร่ (เพิ่มขึ้น 4,843 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.73) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 1.74 เงาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 และมังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ส่วนลองกอง ลดลงร้อยละ 0.43

ผลผลิตต่อไร่ทั้ง 4 ชนิด คือ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรมีการดูแลรักษาดี ประกอบกับในปีที่ผ่านมาไม้ผลบางต้นไม่ติดผลหรือให้ผลผลิตน้อย ทำให้มีเวลาในการพักต้นสะสมอาหารต้นสมบูรณ์ขึ้น อีกทั้งปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยมากกว่าปีที่ผ่านมา

ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 771,112 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีจำนวน 562,164 ตัน (เพิ่มขึ้น 208,948 ตัน หรือ ร้อยละ 37.17) โดยผลผลิตจะออกมากช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตรวมของทั้ง 4 สินค้าจะเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเงาะ จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 52.62 เนื่องจากปีที่แล้วสภาพความแห้งแล้งขาดน้ำเงาะติดผลน้อยร่วงหล่นจำนวนมาก แต่ด้วยสภาพอากาศปีนี้มีความเย็นเหมาะสม ส่งผลให้ออกดอกได้มากขึ้น รองลงมาได้แก่ ทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.96 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.27 และลองกอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.17

ด้านนายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเสริมถึงสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ทุเรียน ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 95 ผลผลิตที่ติดผลในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบาและทุเรียนที่บังคับสารกระตุ้นการออกดอก โดยจะเป็นพันธุ์กระดุมและหมอนทองบางส่วน เงาะ ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 80 มังคุด ออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 30 ส่วนลองกองยังออกดอกน้อยประมาณร้อยละ 25 ซึ่งลองกองการออกดอกสามารถกระจายออกดอกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหากสภาพต้นที่สลดขาดแคลนน้ำ เนื่องจากลองกองส่วนใหญ่จะปลูกแซมพืชอื่น ซึ่งพืชอื่นจะอยู่ในระยะให้น้ำทำให้ต้นลองกองยังไม่สลดการออกดอกจึงยังน้อยอยู่

อย่างไรก็ตาม หากสภาพดิน ฟ้า อากาศแปรปรวนอาจทำให้ผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงลดลงได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศในช่วงแรกของภาคตะวันออกที่มีฝนตกสลับกับอากาศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ส่งผลต่อการติดดอกออกผลของผลไม้โดยเฉพาะมังคุดที่ออกดอกล่าช้า โดยดอกมังคุดจะเห็นผลได้ชัดเจนอีกครั้งหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ซึ่งช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ สศท.6 จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจและติดตามสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลไม้ผลภาคตะวันออกเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี โทร. 038 352 435 หรืออีเมล

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสภาเกษตรกรฯ ได้ขยายผลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรต้นแบบไปสู่นักเรียนที่เป็นเยาวชน เพื่อหวังผลการสืบทอดอาชีพและการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรรุ่นใหม่ในอนาคตตามโครงการขยายผลเกษตรกรต้นแบบสู่นักเรียนในสถานศึกษา และจากการติดตามผลการนำองค์ความรู้สู่นักเรียนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุง ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เกษตรกรต้นแบบของสภาเกษตรกรอำเภอปะเหลียน นายจรัส บวชชุม เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้การอนุรักษ์ “พริกไทยพันธุ์ปะเหลียน” ซึ่งเป็นพันธุ์ท้องถิ่นไม่ค่อยมีคนปลูก เกรงจะสูญหาย พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนนั้นรสชาติจะออกสมุนไพรเข้มข้น หอมฉุน เม็ดเล็ก เวลาตำ,บดทำยาแป้งจะน้อย และมีน้ำหนักมากกว่าพริกไทยพันธุ์ทั่วไป ให้ผลผลิตต่อต้น 3 – 4 กิโลกรัม ราคา 500 บ./ กิโลกรัม เด็กนักเรียนที่เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ให้ความสนใจและสอบถามตลอด มีต้นพันธุ์แจกให้ลองขยายพันธุ์และนำกลับไปให้ผู้ปกครองปลูกขยายพันธุ์ต่อ โดยเกษตรกรในพื้นที่ได้ทำการปลูกจำนวนเกือบ 10,000 ต้นแล้ว และตนเตรียมเสนอขายพ่อค้าจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อขยายตลาดต่อไป

ด้านนายจรัส บวชชุม เกษตรกรต้นแบบ สภาเกษตรกรจังหวัดตรัง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนนั้นดั้งเดิมเป็นพืชป่า เติบโตได้ดีตามหน้าผา อายุยืนยาวมากสุดที่แปลงปลูกคือ 35 ปี ปัจจุบันประยุกต์ทำแท่งปูนให้เกาะหรือปลูกกับต้นยางพารา ลองกอง มังคุด ทุเรียน ไม่ต้องบำรุงรักษาอาจใส่ปุ๋ยคอก รอบโคนต้นปีละครั้ง ไม่มีโรคหรือแมลงรบกวน ความสูงของต้นจะคุมไม่ให้เกิน 2.5 เมตร เนื่องจากจะเก็บผลผลิตลำบาก สามารถปลูกต่างถิ่นได้ รสชาติไม่เปลี่ยนแต่ผลผลิตอาจไม่เท่ากัน ซึ่งขณะนี้มีปลูกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร เชียงใหม่ และแถวภาคอีสาน ราคาไม่ตก และมีแนวโน้มไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่แปลงจะขายต้นกล้าสนนราคาตั้งแต่ 30 – 100 บ. เมล็ดพันธุ์ 500 บ./กิโลกรัม ส่วนมากลูกค้าจะเป็นหมอสมุนไพรและบริษัทผลิตยา สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตรัง โทร.075 – 570 – 580

การประกอบ “สัมมาชีพ” เป็นการทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย แต่เป็นการคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ เป็นความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการเป็นหลัก

สัมมาชีพชุมชน คือชุมชนมีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น และเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับวิถีของชุมชน เพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน

ทุกเย็น ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ริมกว๊านพะเยา จะมีผู้คนที่รักสุขภาพมาออกกำลังกายกันทุกวัน ถ้าหากสังเกตจะเห็นชายคนหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับแปลงผักของเขา และยังมีอีกประมาณ 4-5 ครอบครัว ก็ปลูกผักเหมือนกัน แปลงผักที่เขียวชอุ่ม ปลอดภัยจากสารพิษ เป็นจุดดึงดูดใจของผู้คนที่มาออกกำลังกาย เมื่อออกกำลังกายเสร็จแล้วก็จะมาอุดหนุนผักปลอดภัยจากสารพิษที่นี่ไปทำอาหารรับประทานกันที่บ้าน คือได้ทั้งสุขภาพกายแข็งแรงแล้ว ยังได้รับประทานผักปลอดภัยจากสารพิษอีกด้วย

คุณสืบสวัสดิ์ รินสาร เจ้าหน้าที่นายท้ายเรือของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา จะปลูกผักหลากหลายชนิดในช่วงฤดูหนาว สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี โดยใช้พื้นที่ว่างภายในบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ซึ่งเป็นที่รกร้างยกแปลงปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษขายทำรายได้งาม บอกปลูกแค่ 2 เดือน โดยจะวางแผนทยอยปลูกเพื่อให้ผลผลิตพร้อมที่เก็บเกี่ยวทยอยกันไป เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน ลดต้นทุนและเพิ่มความปลอดภัยให้กับตนเองและผู้บริโภค โดยการเตรียมดินอย่างดี ใช้เศษสวะที่เก็บขึ้นมาจากกว๊านพะเยามาทำเป็นปุ๋ยหมักคลุกเคล้าในแปลงปลูก ทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยและปลา ทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิต สามารถทำรายได้เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 50,000-60,000 บาท ต่อไร่ ต่อครั้ง

คุณสืบสวัสดิ์ บอกว่าใช้เวลาว่างหลังจากเลิกงานและวันหยุดราชการมาปลูกพืชผัก อาทิ ต้นคะน้า กวางตุ้ง บร็อกโคลี่ พริก มะเขือ รวมทั้งผักประเภทอื่นๆ โดยใช้พื้นที่ว่างของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ที่รกร้างว่างเปล่า ปรับพื้นที่เพื่อปลูกผักในช่วงฤดูหนาว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดีในช่วงนี้

คุณสืบสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยาปลูกพืชผักในช่วงฤดูหนาวแทบทุกปี เนื่องจากในช่วงนี้ผักจะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ผักที่ปลูกจะมีทั้งคะน้า กวางตุ้ง บร็อกโคลี่ และอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่เดินทางมาออกกำลังกาย และพบเห็น จะมาหาซื้ออย่างต่อเนื่อง และในบางส่วนก็จะมีแม่ค้าแถวตลาดเทศบาล และตลาดแม่ทองคำ สี่แยกแม่ต๋ำ เดินทางมารับซื้อจนแทบไม่เหลือ เนื่องจากพืชผักที่นี่เป็นที่สนใจของบรรดาพ่อค้าแม่ค้า เพราะเป็นการปลูกพืชผักแบบปลอดภัยจากสารพิษ โดยเฉลี่ยแล้วในการปลูก 1 ไร่ สามารถจำหน่าย สร้างรายได้ 50,000-60,000 บาท หากท่านสนใจอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถามได้ที่ โทร. (085) 106-3102

นอกจากครอบครัวของคุณสืบสวัสดิ์แล้ว ยังมีครอบครัวอื่นๆ อีก 5 ครอบครัว ที่มีอาชีพปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษขาย สร้างรายได้ อาทิ ครอบครัวของ คุณเพียร แหวนเพชรและภริยา คุณสมศรี แหวนเพชร บ้านแม่ต๋ำภูมินทร์ ก็มาทำอาชีพปลูกผักขายที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยาด้วย

ต้องขอขอบคุณและชมเชยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ที่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่บุคคลต้นแบบสัมมาชีพท่านนี้ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไป สร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจในระดับชุมชน จังหวัด และสุดท้ายมีผลไปถึงระดับประเทศชาติเลยทีเดียว

อย่างที่ทราบกันดีครับว่า เมล่อนเป็น”ราชินีแห่งพืชตระกูลแตง”เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัดครับ ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการปลูกมีการพัฒนานำเทคโนโลยีโรงเรือนระบบปิด บวกกับการดูแลเอาในใส่ในการเพาะปลูกและการจัดการแปลงอย่างมีระบบมาใช้ในการผลิต

ไทย แวลลี ฟาร์ม (Thai Valley Farm Fresh) ฟาร์มปลูกเมล่อนกว่า 100 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.นาหินลาด อ.ปากพลี จ.นครนายก เป็นอีกแหล่งปลูกเมล่อนคุณภาพ ที่มีคุณศิริพงษ์ พิพัฒสัตยานุวงศ์ ดูแลดำเนินกิจการ คุณศิริพงษ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะไปเป็นต้นเมล่อน ให้ผลอยู่ในโรงเรือน ขั้นตอนแรกจะต้องเพาะต้นกล้าจากเมล็ดคุณภาพให้แข็งแรง โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วัน

สำหรับรูปแบบการปลูก คุณศิริพงษ์ บอกครับว่า ที่นี่จะเลือกปลูกลงดินครับ โดยจะใช้อิฐก่อเป็นบล็อก รูปสี่เหลียมผืนผ้า 1 โรงจะมี 3 บล็อก แต่ละบล๊อกจะปลูกต้นเมล่อน 2 แถวคู่กันตลอดแนว

“แต่ละฤดู การปลูกเมล่อน และดูแลจะต่างกัน ยิ่งในช่วงฤดูฝนจะต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ ต้องควบคุมความชื้น จะต้องมีการตัดแต่งใบทำให้แปลงโล่งขึ้นป้องกันเชื้อรา” โดยทั่วไป น้ำหนักต่อผลของเมล่อนทั่วไป อยู่ที่ประมาณ 1 โลครึ่ง แต่สำหรับเมล่อนพันธุ์ทิเบต ที่ใช้เวลาปลูกเท่ากัน จะได้น้ำหนักมากกว่า ประมาณ 2 โลขึ้นไปต่อผล ค่าความหวานประมาณ 15-17 บริกซ์

รองศาสตราจารย์ (รศ.) ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวถึงการเปิดโครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันทอดซ้ำ ที่ มข. เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดและเลิกการใช้น้ำมันทอดซ้ำมาปรุงอาหาร

ผศ. พนมชัย วีระยุทธศิลป์ รองอธิบการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน มข. กล่าวว่า น้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารซ้ำนานเกินไปจะมีคุณค่าทางโภชนาการลดลงในหนูทดลอง พบว่าทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ไขมันที่ถูกออกซิไดซ์ปริมาณสูงอาจทำให้ไลโปโปรตีนชนิดแอลดีแอล มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด กับสารสูดไอระเหยจากการผัดหรือทอดอาหารของผู้หญิงจีนและไต้หวันที่ไม่สูบบุหรี่ และพบว่ามีสารก่อกลายพันธุ์ในไอระเหยของน้ำมันทอดอาหาร ทั้งเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในตับและปอด และก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง

ด้าน นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า ทางเทศบาลรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากประชาชน เพื่อนำมาให้ มข. วิจัย โดยตั้งแต่ปี 2558 รับซื้อน้ำมันที่ใช้แล้วกว่าหมื่นลิตร ส่งผลิตไบโอดีเซลและได้ทดลองใช้กับรถของเทศบาล พบว่าน้ำมันดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่เครื่องยนต์ และยังคงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์อีกด้วย

เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา คุณอัฐสิทธิ์ พรหมจักร
ใช้กระดาษฟอยล์ที่ใช้ห่ออาหารมาห่อตุ้มตอนกิ่งมะเดื่อฝรั่งและผักหวานป่าช่วยควบคุมความชื้น
ช่วยให้รากที่งอกออกมามีสีขาวอวบ ใครจะนำไปใช้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ มะเขือเทศฟักทอง เมื่อแก่จัดมีสีแดงสด ผลขนาดใหญ่ มีรูปลักษณะที่เด่นชัดคือ ลักษณะผลคล้ายฟักทอง แต่มันคือมะเขือเทศ

ผู้เขียน ไปพบกับพืชตัวนี้ ที่ งานครบรอบ 35 ปี บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด หรือ ที่รู้จักกันในนาม”ศรแดง” พร้อมกันนี้ยัง เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ Go Grow ที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ผัก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

แนวคิดหลักของผลิตภัณฑ์ Go Grow ก็คือ “ใครๆ ก็ปลูกได้” เจาะกลุ่มเกษตรคนเมืองที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น และเมล็ดพันธุ์ผักในซอง Go Grow ก็จะมีวิธีการปลูก การดูแลแบบครบถ้วน เรียกว่า เอาใจเกษตรมือใหม่สุดๆ

และหนึ่งในโครงการที่ศรแดง ดำเนินการอยู่ก็คือ จับเมล็ดผักพื้นบ้าน ที่อาจจะสูญหาย มีอยู่น้อยในปัจจุบัน ให้กลับมาปลูกกันแพร่หลายขึ้น และเกษตรกรรายย่อย สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ มาปลูกใหม่ในรุ่นต่อไปได้ด้วย

มะเขือเทศฟักทอง เป็นหนึ่งใน ผักพื้นบ้าน ที่ศรแดง ตั้งเป้าหมาย จะนำออกสู่ตลาด ในเดือนมิถุนายน 2560 นี้ โดยลักษณะเด่น อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ ก็คือเป็นผักที่มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือ เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือ นำมาทำน้ำพริกอ่อง หรือน้ำเงี้ยว ที่รับประทานกับขนมจีน

นอกจาก มะเขือเทศฟักทอง ยังมี ถั่วพุ่ม ผักเสี้ยน บวบมินิ กะเพราแดงใบใหญ่ หอมแบ่ง แตงไทยผลอ่อน ฯลฯ

สนใจสอบถามได้ที่ บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด 50/1 หมู่ 2 ถ.ไทรน้อย – บางบัวทอง ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี โทร. 02-8317777 “คุณเสถียร ซื่อตรง” เกษตรกรจังหวัดนครพนม มีโอกาสไปเรียนรู้เรื่องการปลูกสับปะรดในสวนยางจากเพื่อนเกษตรกรในท้องถิ่น เขาเริ่มต้นปลูกสับปะรดตั้งแต่ 2551 โดยส่งตัวอย่างดินให้สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนครพนมตรวจสอบว่ามีสภาพดินเหมาะสมกับการปลูกสับปะรดหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าดินนครพนมมีสภาพเหมาะสมสำหรับปลูกสับปะรด เพราะมีดินร่วนปนทราย 30% ดินร่วน 20% เมื่อปลูกแล้วจะได้เนื้อสับปะรดที่มีรสหวาน ซึ่งจังหวัดบึงกาฬ อุบลราชธานี มีชุดดินคุณภาพเดียวกับจังหวัดนครพนม สามารถปลูกสับปะรดได้อย่างสบาย

การปลูกสับปะรด ต้องเลือกทำเลพื้นที่ที่มีสภาพราบเอียง ระบายน้ำได้ดี เพราะสับปะรดเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ ประการต่อมาต้องคัดเลือกสับปะรดพันธุ์ดีมาปลูก หลังไถพรวนดินเสร็จ คุณเสถียรได้นำหน่อพันธุ์สับปะรดปัตตาเวียมาปลูกแซมในสวนยาง โดยปลูกในระยะห่าง ประมาณ 30 เซนติเมตร บำรุงด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ปีละ 1 ครั้ง เติมปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ใส่ทุกๆ 2 เดือน หากใช้หน่อปลูก ดูแล 8-9 เดือน ก็มีผลผลิตออกขาย แต่หากนำจุกสับปะรดมาปลูกต้องใช้เวลานานกว่า ประมาณ 11 เดือน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้

การผลิตสับปะรดนอกฤดู เกษตรกรโดยทั่วไปนิยมใช้วิธีหยอดฮอร์โมนซึ่งมีราคาแพง แต่คุณเสถียรมีเทคนิคส่วนตัวที่ได้ผลดีคือ ใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยสูตร 25-5-5 ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้กระป๋องเปล่าตักส่วนผสมที่เตรียมไว้หยอดข้างต้นสับปะรด รอไปอีกประมาณ 45-60 วัน ก็จะได้ผลผลิตสับปะรดตามที่ต้องการ การเก็บเกี่ยวผลผลิตทำได้ง่าย หากพบว่าผลสับปะรดเริ่มมีสีเหลือง ประมาณ 3 แถว ก็แสดงว่าเนื้อสุกแล้วพร้อมเก็บเกี่ยวได้ การปลูกสับปะรดในสวนยาง นอกจากเกษตรกรมีผลสับปะรดสด น้ำหนักเฉลี่ย ลูกละ 4.5-4 กิโลกรัม ออกขายแล้ว ยังสามารถขายหน่อพันธุ์สับปะรดให้ผู้สนใจนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อได้อีก หากช่วงไหนมีผลผลิตเหลือจากการจำหน่ายก็นำไปแปรรูปเป็นสับปะรดกวนได้อีก ยิ่งมีการรวมกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดในท้องถิ่นได้ก็จะมีโอกาสกำหนดราคาขายได้สูงขึ้น

วันนี้คณะสื่อมวลชนเดินทางเข้าเยี่ยมชมไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ของนายบุญคอย สำราญรส อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ม.5 บ้านนาน้อย ต.ม่วงนา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์

ตำบลม่วงนา อยู่ภายใต้การดูแลของกำนันคำใบ การพงษ์ แปลงเกษตรแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากนายสมจิตร ชิณโน เกษตรอำเภอดอนจาน

พื้นที่ทางการเกษตร มีนาข้าว 60 ไร่ ได้ผลผลิตปีละ 30,000 ก.ก. แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ 10 ไร่ ไก่พื้นเมือง รุ่นละ 100-150 ตัว สุกรพ่อแม่พันธุ์ 10 ตัว สุกรป่าเลี้ยงแบบปล่อย รุ่นละ 20-30 ตัว ไว้เก็บเศษพืช ต้นกล้วย ไก่ไข่ 10 ตัว

พื้นที่หนองน้ำเลี้ยงปลากินพืช หลากหลายชนิด ไว้บริโภคในครัวเรือน กิจกรรมที่มีอยู่ สามารถทำให้เกิดรายได้รายวัน 200-500 บาท รายสัปดาห์ 3,000-5,000 บาท รายเดือน 15,000-20,000 บาท

นายบุญคอย บอกว่า นายสมจิตร ชิณโน เกษตรอำเภอดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ พร้อมเกษตรตำบลม่วงนา ส่งเสริมการเกษตรให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่นา จัดรูปแบบสู่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มีนาข้าว แหล่งน้ำ พื้นที่ปศุสัตว์ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

ที่สำคัญฟาร์มแห่งนี้ เลี้ยงกระบือเผือก จำนวน 15 ตัว เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์กระบือเผือก ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง เป็นไร่นาสวนผสมแบบเปิด “เพื่อเกษตรกร” ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคต เป็นศูนย์เครือข่าย “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ตำบลม่วงนา หรือศูนย์เครือข่าย โดยการประสานงานกับเกษตรกรแกนนำ ปราชญ์เกษตร ด้านการเกษตรอินทรีย์ ด้านดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ด้านการตลาด เป็นระบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง สู่ความยั่งยืน ของครัวเรือนเกษตรกร

นายบุญคอย เล่าว่า เว็บ UFABET การเลี้ยงกระบือเผือก (ควายด่อน) เป็นแนวคิดจาก การอนุรักษ์ควายไทย โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ธนาคารโคกระบือ เป็นโรงงานปุ๋ยคอกเคลื่อนที่ ที่นี่ ได้ปุ๋ยมูลกระบือ จำนวนหลายพันกิโลกรัม/ปี ควายเผือกหรือกระบือเผือก ที่นี่สะสม นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงามส่วนหนึ่ง เพื่อการค้าด้วย เกษตรกรด้วยกันให้ความสนใจเพราะสมัยก่อน ใครเลี้ยงควายเผือก ถือว่า “เป็นควายยีนส์ด้อย หรือสายเลือดด้อย” ไม่นิยมเลี้ยง คนไม่รับประทานเนื้อ เพราะจะทำให้ผิดกระบูน เจ็บปวด หรือป่วยถึงตายได้ โดยเฉพาะคนคลอดลูกใหม่ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า“ผิดแม่ลูกอ่อน”

วันนี้ควายเผือกจะหมดไปหากไม่มีการอนุรักษ์ แต่ปัจจุบันมีคนนิยมเลี้ยงมากขึ้น ราคาค่อนข้างดีมาก นำไปเลี้ยงโชว์ในสถานที่ท่องเที่ยว ตามฟาร์มใหญ่ นักท่องเที่ยวถ่ายรูปกับความเผือก หากสนใจแวะชมได้ตามที่อยู่ หรือ โทรศัพท์ 093-5678801 อกม.หรือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน กรมส่งเสริมการเกษตร แห่งบ้านนาน้อย ยินดีต้อน