บ้านปูเพาเวอร์ฯ รายงานผลประกอบการปี 2559 พร้อมเดินหน้า

ตามแผนขยายกำลังการผลิต 4,300 เมกะวัตต์ภายในปี 2568 บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการปี 2559 มีกำไรสุทธิ 4,138 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิ 2,075 ล้านบาท สะท้อนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมย้ำแผนการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหลากหลายรูปแบบทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 4,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยมีพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2568

นายวรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผลประกอบการในปี 2559 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องของบ้านปู เพาเวอร์ฯ โดยกำไรสุทธิในปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากมีส่วนแบ่งกำไร
เพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าหงสาใน สปป.ลาว ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทั้ง 3 หน่วย ตั้งแต่ช่วงปลาย ไตรมาสที่ 1 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศจีนและญี่ปุ่นก็มีการดำเนินงานตามแผน โดยโครงการในประเทศจีนเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปทั้งหมด 3 โครงการ ในไตรมาสที่ 3 และเมื่อไตรมาสที่ 4 เราก็ประสบความสำเร็จในการนำหุ้น BPP เข้าซื้อขายเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนทุกกลุ่ม และสามารถระดมเงินทุนมาสร้างการเติบโตก้าวต่อไปให้ถึงเป้าหมายในแผนกลยุทธ์ที่วางไว้”

บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจำนวน 3,513 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนหน้าจำนวน 1,895 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าหงสาจำนวน 1,474 ล้านบาท ซึ่งพลิกผันจากส่วนแบ่งขาดทุนจำนวน 178 ล้านบาทในปี 2558 ในขณะที่โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี รายงานส่วนแบ่งกำไรที่มั่นคงและสม่ำเสมอ จำนวน 2,064 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าจำนวน 2,095 ล้านบาท ด้านยอดขายรวมทั้งสิ้นที่ 5,542 ล้านบาท ประกอบไปด้วยยอดขายที่เพิ่มเติมมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีนที่ 103 ล้านบาท ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 5,630 ล้านบาท เนื่องมาจากการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าและไอน้ำจากปี 2558 ซึ่งสะท้อนตามราคาถ่านหินในประเทศจีนที่ลดลงในช่วงต้นปี 2559

ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 4/2559 กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการไฟฟ้าและไอน้ำในช่วงฤดูหนาว ส่งผลให้ยอดขายไฟฟ้าและไอน้ำของโรงไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมในประเทศจีนเพิ่มขึ้น สำหรับปีนี้ บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) สำหรับปีนี้คิดเป็น 5,575 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จาก 4,251 ล้านบาทในปีก่อนหน้า

ในปี 2559 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำตามสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งสิ้น 1,934เมกะวัตต์เทียบเท่า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 323 เมกะวัตต์ โดยมาจากโรงไฟฟ้าหงสา โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้โครงการโรงไฟฟ้าที่เซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้วโดยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ มีกำลังการผลิตทั้งหมด 651 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าซานซีลู่กวงในประเทศจีน ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้วเสร็จอยู่ร้อยละ 35 และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2561 นอกจากนั้นยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมหลวนหนานระยะที่ 2 และโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมโจวผิงระยะที่ 4 ในประเทศจีน ซึ่งจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ รวมถึงโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2560-2561

สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2560 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพและเสถียรภาพของโรงไฟฟ้า หงสาให้เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์ และควบคุมการขยายโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมหลวนหนานและโจวผิงให้เป็นไปตามแผน พร้อมกับนำเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency Low Emissions: HELE) มาใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินโครงการใหม่ทุกแห่ง ขณะเดียวกันก็เน้นขยายการลงทุนใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศ CLMV และมองหาโอกาสลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล ในประเทศที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอยู่ ตามกลยุทธ์การกระจายการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยผสมผสานทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามข้อตกลงจากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 22 หรือ COP22 อีกด้วย

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) มีมติเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังของปี 2559 ในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลในช่วงปลายเดือนเมษายน 2560 โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 7 เมษายน 2560

“บ้านปู เพาเวอร์ฯ กำลังเดินหน้าสู่การขยายกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 4,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยแบ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2568 เราจึงมุ่งบริหารจัดการดำเนินการของโรงไฟฟ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในแต่ละประเทศให้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ พร้อมกับรักษากระแสเงินสดให้มั่นคง และแสวงหาโอกาสการขยายการลงทุนในพลังงานรูปแบบต่างๆ ในกลุ่มประเทศเป้าหมาย โดยมีการประเมินอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการต่างๆ สามารถพัฒนาได้ตามแผน เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ และสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย” นายวรวุฒิ กล่าวปิดท้าย

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา พร้อม นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ นายอำเภอครบุรี และ นายสุขสวัสดิ์ ทองน้อย ปศุสัตว์อำเภอครบุรี พร้อมด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ ร่วมกันเปิดตัวชุมชนกระบือของอำเภอครบุรี ที่บ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 11 ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พร้อมจัดกิจกรรม “ขี่ควายลงทุ่ง ได้ปุ๋ยลงนา” ให้กระบือลงหากินตามท้องทุ่ง ขับถ่ายมูลลงนาข้าวให้ได้รับปุ๋ยตามธรรมชาติ สำหรับเพาะปลูกในฤดูกาลหน้าต่อไป

นายสุขสวัสดิ์ กล่าวว่า ตำบลจระเข้หิน เป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรเลี้ยงกระบือ 124 ราย กระบือกว่า 600 ตัว ทางสำนักงานปศุสัตว์จึงผลักดันให้เป็นชุมชนกระบือแหล่งสำคัญ เป็นศูนย์รวมกระบือพันธุ์ดี และเป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกระบือให้กับเกษตรกรที่สนใจต่อไป โดยหลังจากนี้จะมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์กระบือที่ถูกต้อง เพื่อให้เป็นชุมชนกระบือที่เข้มแข็งและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากต้นมะพร้าวในพื้นที่ตำบลตลิ่งงาม ได้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูมะพร้าว คือแมลงดำหนาม และหนอนหัวดำ ได้บุกเข้ากัดกินยอดใบอ่อนของต้นมะพร้าว ด้วยการกัดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนของต้นมะพร้าวจนทำให้ใบอ่อนมะพร้าวแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลขาว โดยเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวเรียกว่ามะพร้าวหัวหงอก ยืนต้นตายแล้วเป็นจำนวนมาก

นางพรศรี ใจซื่อ อายุ 53 ปี เกษตรกชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ต้นมะพร้าวเป็นพืชสัญลักษณ์ของเกาะสมุย ไม่อยากให้ต้นมะพร้าวตายจนหายไปจากเกาะสมุย โดยในพื้นที่ของบ้านพังกา ตำบลตลิ่งงาม มีแมลงดำหนาม และหนอนหัวดำ บุกกัดกินยอดอ่อนใบมะพร้าว ทำให้ใบมะพร้าวเหี่ยวเฉายืนต้นรอวันตายเป็นบริเวณกว้างหลายร้อยไร่ จึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่แก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวเกาะสมุยอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดแพร่ระบาดลุกลามไปทั้งเกาะสมุยได้

สำหรับเกาะสมุย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ต และเกาะช้าง จังหวัดตราด ในอดีตเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวมากที่สุดในประเทศไทย เป็นเวลานานกว่า 100 ปี แต่ปัจจุบันการท่องเที่ยวมีบทบาทในการสร้างรายได้ของประเทศ ทำให้พื้นที่สวนมะพร้าวลดลงไปกว่า ร้อยละ 40 แปรเป็นรีสอร์ตและโรงแรมแทน

แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุยที่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเก็บผลมะพร้าวขาย จากปัญหาการแพร่ระบาดของศัตรูมะพร้าวขณะนี้ เกษตรกรจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดลุกลามไปทั้งเกาะ สร้างความเสียหายแก่พืชเศรษฐกิจสำคัญของชาวเกาะสมุย

“เราต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี ถึงจะไปสอนไปบอก ไปเชิญชวนผู้อื่นให้ทำได้” คำกล่าวของ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ผู้ที่จุดประกายศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงภายในจวนพักผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ โดยใช้พื้นที่ที่มีไม่มาก แต่ก็ไม่น้อยสำหรับการเดินตามรอยพ่อหลวง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และทำแบบครบวงจร เพื่อให้เป็นแบบอย่างก่อนที่จะนำไปต่อยอดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละหมู่บ้านของจังหวัดแพร่

นายวัฒนา กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงต้องเริ่มจากตัวเราเอง หรือคนใกล้ตัว ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงในจวนพัก บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นอีกหนึ่ง “การจุดประกาย” และพร้อมที่จะขยายผล การที่เราจะไปขับเคลื่อนคนอื่น แนะนำคนอื่น ถ้าเราเองได้ลองทำ ได้เห็นปัญหา ได้ประสบการณ์ในการลงมือเอง เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือเพราะว่าเกิดจากการทำจริง ถ้าเราไม่รู้ ไม่มีวิธีการในการทำ บางทีเราอาจจะตอบปัญหาชาวบ้านไม่ได้ แม้กระทั่งการคำนวณต้นทุน เช่น เราเลี้ยงไก่ ถ้าเราเลี้ยงแค่บริโภคในครัวเรือน ควรจะสัดส่วนเท่าไร หรือถ้าสามารถหาจุดคุ้มทุนได้ เราจะต้องคำนวณต้นทุน รวมถึงอาหารที่จะซื้อ หรือวัตถุดิบอื่นๆ ถ้าเหลือจากการบริโภคในครัวเรือน ก็จะนำไปสู่การขายด้วย เพื่อที่จะมาหมุนเวียนในการจัดการส่วนอื่นๆ

“การจุดประกาย ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงภายในจวนพักผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จริงๆ แล้วไม่ได้ทำแค่ในตอนนี้ ตลอดชีวิตการเป็นข้าราชการของแผ่นดินยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอดและทำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งปลัดจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการในพื้นที่จังหวัดที่เคยดำรงตำแหน่ง แม้จะมีพื้นที่ภายในบ้านพักไม่มาก แต่ถ้าเราจัดสัดส่วนให้เหมือนกับหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่พระองค์ท่านแบ่งสัดส่วนพื้นที่ไว้ทำเรื่องสัตว์ ปลา น้ำ ข้าว ที่อยู่อาศัย ที่แห่งนี้ก็เช่นกัน เราได้แบ่งสัดส่วนตามแนวพระราชดำริ ทั้งการเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การทำปุ๋ยหมัก ให้ครบวงจร ในพื้นที่เล็กๆ เราก็สามารถมีความสุขแบบพอเพียงได้

“ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ เป็นศูนย์รวมของทุกสิ่ง ที่จะสามารถใช้บริโภคภายในครัวเรือนของเราเอง ที่สำคัญนอกจากสิ่งที่เราจะได้ฝึกปฏิบัติแล้ว ในการที่จะรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งให้เป็นต้นแบบที่จะให้มาศึกษาดูงานอย่างย่อได้ บางคนคิดว่าตัวเองเป็นข้าราชการมีหน้าที่หลักแล้ว ไม่มีเวลาทำ ไม่สามารถทำได้ ลองคิดทบทวนว่า ถ้าทุกอย่างต้องหาซื้อหมดในการดำรงชีวิตจะทำให้เราไม่เข้มแข็ง จุดนี้จะเป็นอีกแหล่งอ้างอิงว่าเรามีบทบาท มีหน้าที่หลักแล้ว แต่เราสามารถทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับพื้นฐานการดำรงชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ โดยเริ่มที่ตัวเองก่อน”

ส่วนการขยายไปสู่หมู่บ้านในจังหวัดแพร่ นั้น นายวัฒนา กล่าวว่า เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นโครงการแผนงานที่ให้ความสำคัญมาตลอด เพราะถือว่าเป็นหลักในการดำเนินชีวิตหลัก และเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานไว้ ภาคส่วนต่างๆ ก็ได้ดำเนินการเพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับคำว่าวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ที่บอกด้วยคำว่า มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ก็คือการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ สร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน และสร้างความยั่งยืนให้กับการดำรงชีวิต หรือการพัฒนาประเทศ อีกส่วนหนึ่งคือการที่จะขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นสิ่งที่ระบุไว้ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลทุกรัฐบาล ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

“ส่วนการขับเคลื่อนในพื้นที่จังหวัดแพร่ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การขยายผล คือ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ปัจจุบัน กว่า 700 หมู่บ้าน ในจังหวัดแพร่ มีหมู่บ้านต้นแบบกว่า 70 หมู่บ้าน ซึ่งมองว่าเราน่าจะมีแผนขับเคลื่อนในการขยายเพิ่มมากขึ้น โดยยุทธศาสตร์ที่วางไว้คือ การสร้างหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี 4 ช่วงของการทำงาน ช่วงแรก คือการปูพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่ไปยังประชาชนทุกหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการปูพื้นฐานแล้ว เราก็จะมีกระบวนการวัดมาตรฐานในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบตัวชี้วัดของพัฒนาชุมชน ที่เรียกว่า 6 คูณ 2 เป็นตัวชี้วัด และยกระดับขับเคลื่อนไปสู่หมู่บ้านต้นแบบต่อไป

ต่อมาก็เป็นกระบวนการพัฒนาคนในชุมชน คือการคัดประชาชนอย่างต่ำ 30 ครัวเรือน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นำไปเป็นต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้านตนเองและติดตามผล ซึ่งกระบวนการทั้งหลายต้องมีความชัดเจน และขับเคลื่อนไปด้วยอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนโดยใช้งบประมาณ ของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งปีหนึ่งได้เพียง 10 หมู่บ้าน จึงได้กลับมามองถึงการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่ ด้วยการระดมงบประมาณมาสร้างกระบวนการดังกล่าวไปพร้อมๆ กันหลายๆ หมู่บ้านได้อย่างไร โดยเริ่มที่ “การจุดประกาย” การสร้างความเข้าใจ การสร้างทีม การลงพื้นที่ โดยถ้าผ่านกระบวนการแบบบูรณาการร่วมกัน ก็จะได้หมู่บ้านที่จะดำเนินการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่า 10 หมู่บ้าน ในแต่ละปี และท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการงบประมาณในท้องที่ของตนเองได้ แทนที่จะรองบประมาณจากส่วนกลาง 10 หมู่บ้าน ในแต่ละปี ทุกภาคส่วนร่วมกัน ทำงานแบบประชารัฐ คือภาคราชการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ก็ระดมกันเข้ามามีส่วนร่วม

โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนเติมเข้ามาในเรื่องของงบประมาณในการสนับสนุน ถ้าเราขับเคลื่อนตามนี้ จะสอดคล้องกับการทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประจำปี ก็จะสอดคล้องและบรรจุอยู่ในข้อบัญญัติที่ว่าด้วยกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าสู่สภาเห็นชอบและอนุมัติ ใช้ได้ในปีงบประมาณนี้ นายวัฒนา กล่าว

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ จากการลงสำรวจพื้นที่การเกษตรใน ต.หนองขุ่น อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ทำให้พบว่าสภาพความแห้งแล้งกำลังลุกลามขยายวงกว้าง จนเกษตรกรต้องทิ้งร้างพื้นที่จำนวนกว่า 10,000 ไร่ เนื่องจากไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก โดยแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เริ่มแห้งขอดจนเหลือท้องบึงที่เป็นน้ำโคลน พอเหลือให้สัตว์เลี้ยงได้ลงดื่มกินและนอนแช่คลายร้อนเท่านั้น

นางสุภาพชาวนาในพื้นที่เปิดเผยว่า ในปีนี้อากาศร้อนและความแห้งแล้งมาเร็ว ทำให้น้ำในหนองบึงและแก้มลิงต่างๆ แห้งเหือดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชาวบ้านเริ่มกังวลว่าในช่วงเดือนเมษายนที่จะเป็นช่วงที่ร้อนและแล้งที่สุด พื้นที่แถบนี้อาจจะต้องเผชิญกับสภาวะภัยแล้งที่รุนแรงได้ไม่น้อยกว่าปี 2559 ที่ชาวบ้านต้องพึ่งพาน้ำดื่มและน้ำใช้จากทางราชการที่นำมาแจกจ่าย เพราะแหล่งน้ำในพื้นที่แห้งขอดจนหมดสิ้น

“ปี 59 ที่ผ่านมาต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุถังจากร้านค้า ที่สั่งมาจากนอกพื้นที่ในราคาถังละ 12 บาท ส่วนน้ำใช้คนที่มีรถและถังน้ำก็ต้องขับไปบรรทุกจากจุดแจกจ่ายน้ำที่ทางอำเภอจัดไว้ให้ ส่วนคนที่ไม่มีรถก็ต้องนำถังไปทยอยขนจากจุดแจกจ่ายน้ำของทางราชการที่นำถังขนาดใหญ่มาตั้งไว้ให้ ซึ่งถือว่าค่อนข้างลำบาก ส่วนการเพาะปลูกนั้นแทบจะทำไม่ได้เลยเพราะไม่มีน้ำเพียงพอ ซึ่งในปีนี้ความแห้งแล้วมาเร็วและดูท่าแล้วจะรุนแรงไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านหลายๆ คนก็เริ่มปรึกษากันที่จะรวบรวมเงินจ้างผู้รับเหมามาขุดเจาะน้ำบาดาลไว้ใช้ร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งนี้ด้วย” นางสุภาพกล่าว

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน บ้านหนองบัว ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม ได้มีตัวแทนกลุ่มเกษตรกรชาวนา นำโดยนางกุลภัสสรณ์ วงค์จันทร์ อายุ 57 ปี พร้อมด้วย นายหนูกานต์ คำหาญ อายุ 63 ปี และตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ ต.ปลาปาก กว่า 100 ราย นำเอกสารหลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมาร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับนายสง่า แสงแก้ว นายก อบต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม เพื่อประสานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ให้มีการตรวจสอบแก้ไขปัญหา กรณีได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการรับเงินในโครงการ ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ตามโครงการรัฐบาลไร่ละ 800 บาท แต่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับเงินตามกำหนด

เนื่องจากมีปัญหารายชื่อตกหล่น ทำให้ไม่มีสิทธิ์ในการรับเงินตามเกณฑ์ของรัฐบาล สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ไม่ได้รับเงินตามสิทธิ ซึ่งเคยไปเรียกร้องกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวมถึงหน่วยงานเกษตรที่ดูแลรับผิดชอบ กับไม่ได้รับการแก้ไข และคำตอบที่ชัดเจน จึงต้องการออกมาเรียกร้องทวงสิทธิ ให้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานให้เกษตรกรได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน

นางกุลภัสสรณ์ วงค์จันทร์ เปิดเผยว่า ตนเป็นเกษตรกรที่ทำนามาแต่กำเนิด และเคยได้รับสิทธิ์ในการจ่ายเงินช่วยเหลือของรัฐบาลมาตลอด แต่มาครั้งล่าสุด กับไม่ได้รับเงินตามสิทธิ ไม่ทราบสาเหตุ พอไปติดต่อสอบถามว่าทำไมไม่มีเงินเข้าบัญชี ที่ทางรัฐบาลจ่ายผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน ถือว่าไม่เป็นธรรมสำหรับตนและเกษตรกรในพื้นที่ เพราะมีเกษตรกรหลายคนที่ไม่ได้รับเงินเช่นกัน ทั้งที่ไปขึ้นทะเบียนแจ้งข้อมูลกับหน่วยงานเกษตรตามขั้นตอนมาตลอด ฝากถึงนายกรัฐมนตรี อยากให้ดูแลแก้ไข เนื่องจากเป็นสิทธิของชาวบ้านที่จะต้องได้รับ หากไม่มีมาตรฐานจะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม แถมเป็นการซ้ำเติมชาวบ้านเข้าไปอีก ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก แต่สำหรับชาวบ้านถือเป็นการต่อชีวิต ยิ่งยุคราคาข้าวตกต่ำ นอกจากนี้ในเรื่องของเกณฑ์การพิจารณาช่วยเหลืออยากให้มีความชัดเจนกว่านี้ ไม่ใช่ว่าสามีเสียชีวิตแต่ภรรยากับมีปัญหาไม่ได้รับสิทธิแทน ทั้งที่มีการทำนา มีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง แต่ถูกตัดสิทธิ ไม่เป็นธรรม วอนผู้มีอำนาจ หน่วยงานเกี่ยวข้อง ช่วยเหลือแก้ไข

ด้าน นายกัมปนาท มหาผล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา อ.ปลาปาก จ.นครพนม เปิดเผยว่า สำหรับกรณีชาวบ้านมีปัญหาการรับเงินช่วยเหลือไร่ละ 800 บาท แต่ไม่เกินรายละ 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาลนั้น ขอชี้แจงว่า ในส่วนของ ธกส.จะมีหน้าที่ดูแลการจ่ายเงินเข้าบัญชีตามสิทธิของหน่วยงานเกษตร ที่มีการตรวจสอบขึ้นทะเบียนส่งมา และเสนอไปยังส่วนกลางทำการอนุมัติงบประมาณ ช่วยเหลือเกษตรกร แต่จะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติ ที่ทางรัฐบาลตั้งไว้ บางรายที่มีปัญหาอาจจะถูกตัดสิทธิเนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีที่ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนฯ แต่ทั้งนี้หากมีคุณสมบัติครบแต่ไม่ได้รับเงินตามสิทธิ ทาง ธกส.จะได้ประสานไปยังหน่วยงานเกษตร ตรวจสอบแก้ไขตามขั้นตอน ซึ่งขอให้เกษตรกรมาแจ้งรายชื่อเพื่อขอตรวจสอบปัญหา และหาทางแก้ไขต่อไป ยืนยันว่าทาง ธกส.ยินดีที่จะให้การดูแลช่วยเหลือตามระเบียบทุกราย

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ น.ส.ตรีดาว อภัยวงษ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมผู้บริหาร กทม. ว่าขอเชิญชวนประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมประดับเมืองด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ที่มีสีเหลืองเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งนี้ ในที่ประชุม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สั่งการให้ กทม.เตรียมการประดับเมืองดอกไม้ที่เป็นสีเหลืองทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกันนี้ได้เชิญชวนประชาชนให้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการประดับหรือปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่มีสีเหลืองในบริเวณบ้านเรือน โดยจะเริ่มตกแต่งภายหลังจากเสร็จสิ้นการก่อสร้างพระเมรุมาศ ในช่วงปลายปี 2560

“สำหรับดอกไม้ที่ประชาชนจะปลูกหรือนำมาบริจาคให้กับ สมัครเว็บสโบเบ็ต กทม.นั้น ควรเป็น ดอกบานชื่นเหลือง ดอกดาวเรือง ดอกเข็มสีเหลือง กล้วยไม้สีเหลือง ดอกทานตะวัน ดอกเบญจมาศ ดอกดาวกระจาย ดอกบานบุรี ดอกกุหลาบ ดอกพุทธรักษา ดอกกระดุมทอง ดอกเข็มเหลืองราชพฤกษ์ ดอกทรงบาดาล ดอกหางนกยูงไทย ดอกเดือนฉาย หรือไม้ทรงพุ่ม เช่น ต้นพวงทอง ต้นทองอุไร เป็นต้น หากประชาชนต้องการบริจาคพันธุ์ไม้ให้กับ กทม.สามารถบริจาคได้ที่สวนสาธารณะทุกแห่งของ กทม. และที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต” น.ส.ตรีดาวกล่าว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย สินค้าเกษตรไทย – อาเซียน ปี 2559 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 215,169 ล้านบาท โดยมีการค้าสินค้าเกษตรและยางพาราขั้นปฐมไปยังอาเซียน 9 ประเทศ มูลค่าการค้ารวม 415,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 12.86

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลการนำเข้า – ส่งออก สินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียน ในปี 2559 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า โดยคิดเป็นมูลค่า 215,169 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้าอาเซียน 194,746 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10)

โดยการค้าสินค้าเกษตร (พิกัดศุลกากร 01 – 24 และยางพาราธรรมชาติ พิกัด 4001) ปี 2559 ประเทศไทย มีการค้าสินค้าเกษตรและยางพาราขั้นปฐมไปยังอาเซียน 9 ประเทศ มีมูลค่าการค้ารวม 415,343 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 12.86) มูลค่าการส่งออกคิดเป็น 315,256 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 12.04) และมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน คิดเป็น 100,087 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 15.53)

สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรไทยส่งออกไปตลาดอาเซียน ปี 2559 ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มน้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล มูลค่าส่งออก 63,329 ล้านบาท 2) กลุ่มเครื่องดื่ม มูลค่าส่งออก 46,192 ล้านบาท 3) กลุ่มข้าวและธัญพืช มูลค่าส่งออก 28,983 ล้านบาท 4) กลุ่มของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ มูลค่าส่งออก 25,899 ล้านบาท และ 5) กลุ่มยางพาราขั้นปฐม มูลค่าส่งออก 23,717 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูง ได้แก่ น้ำตาลทรายขาว เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ข้าวเจ้าขาวอื่น 5% ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครีมเทียม และน้ำยางข้น

ด้านกลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่ไทยนำเข้าจากอาเซียน ปี 2559 ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มปลาและสัตว์น้ำ มูลค่านำเข้า 16,443 ล้านบาท 2) กลุ่มพืชผักที่บริโภคได้ มูลค่านำเข้า 13,751 ล้านบาท 3) กลุ่มของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ มูลค่านำเข้า 11,682 ล้านบาท 4) กลุ่มของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง นม มูลค่านำเข้า 10,722 ล้านบาท และ 5) กลุ่มไขมัน น้ำมันจากพืช/สัตว์ มูลค่านำเข้า 7,243 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าสูง ได้แก่ เนื้อปลาซูริมิ เนื้อปลาแคชฟิชแบบฟิลเลสดหรือแช่เย็น มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ถั่วเขียวผิวดำ กะหล่ำปลีชนิดกลม พรีมิกซ์ กาแฟสำเร็จรูป กะทิสำเร็จรูป อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก โอเลอินหรือสเตียรินของเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม และน้ำมันปาล์มและเศษของน้ำมันปาล์ม