ประกอบไปด้วยหลายโครงการสินเชื่อ อาทิ ที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการ

แห่งรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดอกเบี้ย 3.25% ต่อปี คงที่นานถึง 5 ปีแรก เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดอกเบี้ย 3.75% ต่อปี คงที่นานถึง 5 ปีแรก เป็นต้น

นอกจากนี้มีลูกค้าที่พักอาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ธอส. โรงเรียนการเงิน จำนวน 175 ราย และธนาคารอนุมัติสินเชื่อกว่า 8.7 ล้านบาท ถือเป็นโครงการส่งเสริมความรู้ในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ

หน.ผู้ตรวจคลังทำแผนตรวจเข้ารีดภาษีปีหน้า 2.61 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสรรพกร 1.9 ล้านล้าน สรรพสามิต 6 แสนล้าน และศุลกากร 1.1 แสนล้าน เผยเดือน ต.ค. เก็บได้เกินเป้าแล้ว เชื่อทำได้ไม่มีปัญหาแม้ยังออกกฎหมายเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซไม่ได้ก็ตาม

นายยุทธนา หยิมการุณ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทำแผนการตรวจการทำงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะการเก็บภาษีและการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจมากที่สุด สำหรับการเก็บภาษีปีงบประมาณ 2561 กรมสรรพากรมีเป้าหมายเก็บภาษี 1.9 ล้านล้านบาท กรมสรรพสามิต 6 แสนล้านบาท กรมศุลกากร 1.1 แสนล้านบาท ในเดือน ต.ค. 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 ทางกรมสรรพากรสามารถเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

นายยุทธนา กล่าวอีกว่า นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญการเก็บภาษีของกรมสรรพากร โดยให้เร่งไปแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากร เพื่อขยายฐานการเก็บภาษีให้มากขึ้น โดยเฉพาะการออกกฎหมาย (พ.ร.บ.) เก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือภาษีอีคอมเมิร์ซ ที่มีปัญหาต้องเปิดรับฟังความเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ทำให้การออกกฎหมายล่าช้า ส่งผลให้การเก็บภาษียังมีช่องโหว่รั่วไหลและอาจจะทำให้การเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าหมาย

“กระทรวงการคลังสนับสนุนกรมภาษีเรื่องการขยายฐานภาษีอย่างเต็มที่ทั้งงบประมาณและอุปการณ์เทคโนโลยี รวมถึงการผลักดันการออกกฎหมาย เพื่อให้เก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปลัดคลังให้ความสำคัญอย่างมาก” นายยุทธนา กล่าว

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า ยังให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่กำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่าต้องได้ 95% เนื่องจากงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 2561 มีสูงถึง 5 แสนล้านบาท

สำหรับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2560 ยังล่าช้า ในภาพรวมเบิกจ่ายได้ประมาณ 70% ของงบลงทุนเท่านั้น เนื่องจากมีงบลงทุนรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เบิกจ่ายล่าช้าได้ 50-60% ของงบที่ได้รับอนุมัติไว้เท่านั้น ทำให้ดึงภาพรวมของการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไปด้วย

นายยุทธนา กล่าวอีกว่า กำชับให้ สคร. กำกับดูแลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ ครม. เห็นชอบไว้ โดยให้วัดผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งในเชิงปริมาณคือให้ได้ตามเป้าที่รัฐบาลกำหนด และเชิงคุณภาพคือเงินลงทุนช่วยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างคุ้มค่าเงิน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ฉบับวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ยืนหยัดสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยตามแนวทาง “อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อพัฒนาชนบท”

คุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เปิดเผยว่า “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแปรรูปจากผลผลิตของเกษตรกรยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสานต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงต้องการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร พระองค์ทรงก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นให้ใกล้กับพื้นที่แหล่งเพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในราคายุติธรรม ให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ใช้แปรรูปผลิตผลจากเกษตรกร ๔ แห่ง ได้แก่

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๔ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ (อยู่ในระหว่างปรับปรุง)

ซึ่งทั้ง ๔ แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งเพาะปลูกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าตราดอยคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศแห่งแรกในลุ่มแม่น้ำโขง มีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศโดยรอบซึ่งครอบคลุมจังหวัดสกลนคร และจังหวัดใกล้เคียงได้แก่ นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ และอุดรธานี รวม ๒๓,๐๐๐ ไร่ จนมีคำกล่าวเรียกพื้นที่นี้ว่า “เส้นทางสายมะเขือเทศ” (Tomato Belt) ซึ่งในแต่ละฤดูกาล บริษัทฯ ได้ส่งเสริมและรับซื้อผลผลิตมะเขือเทศเข้าโรงงานประมาณ ๑๘,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ ตัน/ปี จากการดำเนินงานดังกล่าวถือได้ว่า น้ำมะเขือเทศดอยคำ เป็นผลิตภัณฑ์แห่งความภาคภูมิใจ และทำให้ดอยคำเป็นอันดับ ๑ในตลาดน้ำมะเขือเทศจวบจนปีปัจจุบัน”

“สำหรับภาพรวมตลาดน้ำผลไม้ระดับพรีเมียมและมีเดียมของไทย ในไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๕๖๐ มีมูลค่าประมาณ ๔,๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งแบรนด์ “ดอยคำ” มีสัดส่วนการตลาดอยู่ที่ประมาณ ๒๐% โดยเฉพาะน้ำมะเขือเทศดอยคำมีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง ๙๐% ครองอันดับ ๑ ในตลาดน้ำมะเขือเทศ โดยการทำตลาดในปีนี้จะเน้นสร้างให้ตราสินค้า “ดอยคำ” เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นในฐานะตราสินค้าน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ บริษัทฯ จึงได้พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์จากผลผลิตมะเขือเทศ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าดอยคำจะสามารถครองใจผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีความโดดเด่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป

ปัจจุบัน ดอยคำ มีผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสูตร และผลิตจากมะเขือเทศที่ส่งเสริมและรับซื้อ ๕ รายการ ดังนี้

๑. น้ำมะเขือเทศ ๙๙% ต้นตำรับน้ำมะเขือเทศ รสชาติเข้มข้น หนึ่งเดียวในประเทศไทย มากด้วยคุณประโยชน์เต็มร้อยจากธรรมชาติ การันตีด้วยรางวัล Superior Taste Award ปี ๒๐๑๖ จากสถาบันเพื่อรับรองรสชาติอาหารและเครื่องดื่มระดับนานาชาติ (iTQi) ประเทศเบลเยียม

๒. น้ำมะเขือเทศผสมน้ำผลไม้รวม ๙๘% ม็อกเทล ดอยคำเข้าใจถึงปัญหาของผู้บริโภคบางท่านที่ดื่มน้ำมะเขือเทศ ๑๐๐% ไม่ได้ จึงปรับสูตรใหม่ด้วยการผสมน้ำผลไม้รวม ได้แก่ เสาวรส สตรอว์เบอร์รี และส้ม เพื่อให้ดื่มง่าย แต่ยังคงเต็มไปด้วยคุณประโยชน์จากน้ำมะเขือเทศ

๓. น้ำมะเขือเทศ ๙๙% สูตรโซเดียมต่ำ ปริมาณโซเดียมต่ำ ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพที่ต้องการจำกัดปริมาณโซเดียม แต่ยังคงได้รับคุณประโยชน์จากน้ำมะเขือเทศ

๔. น้ำมะเขือเทศผสมน้ำผักรวม ๙๙% – เวอร์จินแมรี ผลิตภัณฑ์ใหม่ปี ๒๕๖๐ มิติใหม่ของการดื่มน้ำมะเขือเทศ โดดเด่นด้วยรสชาติที่จัดจ้าน จาก ขิง พริก พริกไทย และเซเลอรี (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) ช่วยเติมความสดชื่นอย่างรวดเร็ว คลายความเหนื่อยล้า เหมาะสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ที่ต้องการเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า สำหรับผลิตภัณฑ์รายการนี้ ทางบริษัทฯ มีแผนจะเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ในปี ๒๕๖๑ เป็น น้ำมะเขือเทศผสมน้ำผักรวม ๙๙% สูตรจัดจ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับส่วนผสมปรุงรสที่มีความเป็นไทยและมีรสจัดจ้าน และเป็นที่รู้จักของคนไทย

๕. มะเขือเทศทาขนมปัง เอกลักษณ์ของการผสานรสชาติเผ็ดหวานลงตัวแบบไม่เติมน้ำตาล เต็มรสชาติด้วยเนื้อมะเขือเทศกว่า ๗๐% พร้อมคุณประโยชน์จากไลโคปีนเทียบเท่ามะเขือเทศสด ๑๐ ผล

นอกจากการส่งเสริม รับซื้อ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องแล้ว ทางบริษัทฯ ยังคงต่อยอดการดำเนินงานในด้านอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ซึ่งจากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคอีสานที่ผ่านมา บริษัทฯ จึงได้จัดทำสินค้าแพ็คพิเศษน้ำมะเขือเทศ ๙๙% สูตรโซเดียมต่ำ ๑ แถม ๑ เพื่อกระตุ้นยอดการบริโภคให้เพิ่มขึ้น และหวังให้เป็นอีกทางที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรได้มากขึ้นในปีต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนพื้นที่วางจำหน่ายสินค้า ณ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน ๑๑,๐๐๐ สาขา มีกำหนดวางจำหน่ายวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ นี้

ดอยคำ ขอเชิญทุกท่านร่วมสนับสนุนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี ด้วยมะเขือเทศจากชุมชน สู่ผลิตผลเพื่อสังคมสัมผัสเสน่ห์สามตลาดใหญ่แห่งเมืองหัวหิน กับฝรั่งหัวใจไทย “แดเนียล เฟรเซอร์” พาบุกแหล่งช็อปปิ้งพื้นบ้าน ชมการแสดงโขนในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อย่าง ตลาดน้ำสามพันนาม ช็อปปิ้งอาหารทะเลสดที่ตลาดชุมชนประมงเล็ก พร้อมสัมผัสบรรยากาศตลาดท็อปฮิต “ตลาดโต้รุ่งหัวหิน” ชมร้านค้าไอเดียวเก๋ แหล่งช็อปปิ้งของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

ฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล” พาเที่ยวตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย “ตลาดน้ำสามพันนาม” นั่งรถไฟโบราณสัมผัสบรรยากาศวิถีชีวิตของผู้คนในตลาด พร้อมชมการแสดงคาบาเร่โชว์ การแสดงโขน ซึ่งเป็นการแสดงประยุกต์ที่มีโชว์ทุกวัน จากนั้นไปเที่ยว “ตลาดชุมชนเล็ก” ตั้งอยู่ที่เขาตะเกียบ สัมผัสบรรยากาศตลาดริมทาง เลือกซื้ออาหารแห้ง หรืออาหารสด ไม่ว่าจะเป็น แมงดาทะเล กุ้งเคยแห้ง กุ้งแช่บ๊วย หอยตลับ ปูม้า หอยแครง และหอยหวาน เป็นต้น จากนั้นไปเดินช็อปปิ้งที่ตลาดท็อปฮิต “ตลาดโต้รุ่ง” ชมร้านค้าไอเดียวเก๋ อย่าง ร้านปืนไม้ยิงหนังยาง ร้านไอศกรีมห้ามพลาด มีท็อปปิ้งให้เลือกกว่า 10 ชนิด ร้านมะม่วงน้ำจิ้มเด็ดเลือกได้ 12 รสชาติ พร้อมทักทายยอดมนุษย์สไปเดอร์แมนแห่งตลาดโต้รุ่ง ที่คอยสร้างความบันเทิง สร้างรอยยิ้มให้กับผู้คนที่มาเยือน

ชมรอยยิ้ม และเรื่องราว ความน่ารักในตลาดทั้ง 3 แหล่ง แห่งเมืองหัวหิน ในรายการหลงรักยิ้ม วันอาทิตย์ ที่ 3 ธันวาคม 2560 เวลา 16.30 น. ทางช่อง 28 (3SD) พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/longrukyim/

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กยท. แถลงข่าวการดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกยางพารา เน้นดำเนินการไม่ให้กระทบกับเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมี นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าวฯ ร่วมกับ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. ย้ำว่า การดำเนินการครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งมาตรการเร่งด่วน เพื่อควบคุมปริมาณยางที่ปลูกในพื้นที่ป่ารวมถึงพื้นที่ไม่เหมาะสม หวังลดปริมาณผลผลิตยางเพื่อให้เกิดความสมดุลของกลไกตลาด

นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อปลูกยางพารา และลดปริมาณน้ำยางพาราจากพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อนำมาฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมปริมาณน้ำยางพาราจำนวนประมาณ 300,000 ตัน/ปี ควบคู่การแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรผู้ยากไร้ จึงได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย สำรวจการถือครอบครอง เพื่อจะนำข้อมูลไปจัดสรรที่ดินทำกิน ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)

“มาตรการแก้ไขปัญหาสวนยางพาราในพื้นที่ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดออกมา 6 แนวทาง ได้แก่ 1.) เร่งรัดดำเนินคดีสวนยางพารานายทุนที่อยู่ในพื้นที่ป่า 1.32 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันดำเนินคดีไปแล้ว 160,000 ไร่ 2.) ควบคุมพื้นที่ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดไม่ให้มีการกรีดน้ำยาง 3.) ลดการกรีดยางในพื้นที่รับผิดชอบของ อ.อ.ป. จำนวน 86,000 ไร่ โดยในปี 2560 – 2561 จะดำเนินการลดพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 20,000 ไร่ คาดว่า จะช่วยลดปริมาณน้ำยางได้ประมาณ 1,500 ตัน/ปี

และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องปีละ 5% จนกว่าจะสามารถลดพื้นที่ปลูกยางพาราได้ทั้งหมด 4.) เร่งรัดดำเนินการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) สำหรับราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3 , 4 , 5 มีพื้นที่ประมาณ 3.6 ล้านไร่ 5.) เร่งรัดดำเนินการ แก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้น 1 , 2 ในรูปแบบสิทธิทำกินแบบมีเงื่อนไข โดยการปลูกไม้ท้องถิ่นผสมผสานกับไม้ยางพารา และ 6.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย จะเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพารา ตามแนวทางในข้อ 4 และ ข้อ 5” รองปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. เผยว่า การดำเนินการร่วมกันระหว่าง กยท. และกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องมีการทำโซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม เพราะสถานการณ์ราคายาง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบ ซึ่งระดับราคาถูกกำหนดจากความต้องการซื้อ-ขาย และความต้องการใช้ยางพาราของโลก ซึ่งเราไม่สามารถไปกำหนดความต้องการใช้ได้ เพราะเป็นตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของประเทศผู้ใช้ แต่สิ่งที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ คือ การสร้างสมดุลของปริมาณผลผลิตให้มีความเหมาะสม จากการพยากรณ์การใช้ยางพาราของโลก แต่ละปีจะเติบโตประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ แต่การเพิ่มของปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า เนื่องจากในช่วงปี 2553 ยางพารามีราคาสูงมาก ชาวสวนยางทั้งไทยและต่างประเทศที่สามารถปลูกยางได้ ก็หันมาปลูกยางเป็นจำนวนมาก และช่วงเวลานี้มีที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันมากจึงมีผลต่อราคา

“นโยบายที่รัฐบาลได้มอบไว้ คือ ทำอย่างไรให้สามารถสร้างสมดุลของผลผลิตและความต้องการใช้ให้ได้ และการดูแลเกษตรกรให้ทั่วถึง ส่วนในเรื่องพื้นที่ปลูกยางที่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ของราชการ เช่น ป่าไม้หรืออุทยาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ล้านกว่าไร่ จึงเป็นเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดำเนินการควบคุม ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตในแต่ละช่วงปีได้” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย

กระทรวงเกษตรฯ วางแนวทางรองรับพัฒนาเกษตรกรทุกระดับ ปูรากฐานการผลิตควบคู่การพัฒนาคนแบบระยะยาว เน้นนำวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ มั่นใจ เกษตรกรรายย่อยสามารถก้าวสู่เกษตรกร 4.0 ได้แน่ และมีภูมิคุ้มกัน สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเกษตรกรของประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรรายย่อย และมีระดับการพัฒนาที่หลากหลาย ทำให้การพัฒนาและยกระดับภาคการเกษตรต้องอาศัยการกำหนดนโยบายและแผนที่สอดคล้องกับลักษณะของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม

ข้อจำกัดดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดแนวทางรองรับการพัฒนาเกษตรกร โดยกลุ่มเกษตรกรขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีความก้าวหน้าในการทำการเกษตร มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดสู่เกษตร 4.0 ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลผลการศึกษาของสถาบันการศึกษาหลายสถาบันเห็นพ้องต้องกันว่า เกษตรรายย่อยซึ่งยังมีจำนวนอยู่มาก ยังไม่สามารถก้าวข้ามเกษตร 2.0 ไปได้ จำเป็นต้องมีแนวทางและนโยบายในการพัฒนาเฉพาะ เช่น การสนับสนุนการรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็ง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) การใช้กลไกสหกรณ์การเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนและสนับสนุนการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อย และมีการดูแลตามสถานการณ์ เช่น อุทกภัย และภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา โดยภาครัฐให้ความช่วยเหลือและเยียวยาเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกร

สำหรับแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรสู่เกษตร 4.0 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีที่มาจากพื้นที่ทางการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้วางรากฐานการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในภาคการเกษตรควบคู่กับการใช้ศาสตร์พระราชามาเป็นภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร

ทั้งนี้ ตัวอย่างของการนำวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตลอด Supply Chain ได้แก่ โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมารวมกลุ่มรวมพื้นที่กันทำการเกษตรภายใต้การบริหารจัดการปัจจัยการผลิต การใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกล และการวางแผนการผลิตร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยการทำ Zoning จากแผนที่ Agi-Map

ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน letterecaffe.org อาทิ GAP และเกษตรอินทรีย์ และโครงการจัดตั้งศูนย์เกษตรอัจฉริยะ ซึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการทำการเกษตรในประเทศไทยโดยจะทดลองใช้กับพืชสำคัญก่อน คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พร้อมนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่ไปกับการทำการเกษตรสมัยใหม่ด้วยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงให้เกษตรกรจากสภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรได้มีการจัดเวทีแนวทางการจัดทำระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของไทย (Thai PGS) เพื่อทำความเข้าใจสร้างกลไก กระบวนการในการขับเคลื่อนการรับรองเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรรวมกันเป็นเครือข่าย ติดตามตรวจสอบซึ่งกันและกันเอง โดยสภาเกษตรกรฯเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ในการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนกำกับให้ข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ ระบบนี้จะทำให้เกษตรกรทั้งองค์กรยกระดับการผลิตตัวเองขึ้นมา และมีการช่วยกันดูแล สอดส่องสมาชิกในองค์กรของตนเอง ทำการผลิตการเกษตรให้อยู่ในมาตรฐานที่ตรงกัน หากเกษตรกรรายใดไม่ทำตามมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ก็จะถูกตำหนิหรือแม้กระทั่งถูกไล่ออกจากกลุ่มได้ โดยคาดหวังว่าระบบเกษตรอินทรีย์ Thai PGS นี้จะสามารถเป็นระบบหลักอีกหนึ่งระบบในประเทศควบคู่กับระบบเกษตรอินทรีย์ของราชการและมกอช.

ด้านนายธีระ วงษ์เจริญ ประธานคณะกรรมการด้านเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ PGS เป็นการรับรองโดยชุมชนทำหน้าที่รับรองกันเอง กำหนดกฎ กติกาของตัวเองไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐานอื่นที่มีอยู่ทั้ง IFOAM หรือ USDA ซึ่งระบบ PGS มีการเชื่อมโยงในผลผลิตการเกษตร ตรวจสอบกันทุกวัน ด้วยชุมชนเป็นสังคมระบบเครือญาติ สังคมระบบอุปถัมภ์จะเห็นกันหมด ใครใช้สารเคมีมาตรการทางสังคมจะเข้ามาตรวจสอบ เพราะฉะนั้นความผิดพลาดจะมีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก

แล้วเชื่อว่า PGS จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้นักเกษตรอินทรีย์ได้ ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมากและมอบหมายให้คณะกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการฯได้จัดการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง เพื่อที่จะสร้างการรับรองใหม่ขึ้นมาคือ Thai PGS ให้เป็นมาตรฐานของไทย การเชื่อมโยงในธุรกิจของ PGS จะเป็นระหว่างพื้นที่ต่อพื้นที่ซึ่งในขณะนี้ PGS จันทบุรี , สามพราน , อุบลราชธานีโมเดลสามารถเชื่อมโยงกันแล้ว เป้าหมายต่อไป จ.อำนาจเจริญ

รวมทั้งอีกหลายจังหวัดโดยมีสภาเกษตรกรจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการดำเนินการ การให้ความรู้ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งได้ยึดถือและนำมาปฏิบัติต่อในปีงบประมาณ 2561 และจะขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมครบ 77 จังหวัดในอนาคต เกษตรกรที่สนใจทำการเกษตรอินทรีย์หรือต้องการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้วแต่ยังไม่มีการรับรองมาตรฐานเพราะอยู่ในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ขอให้ประสานสภาเกษตรกรฯซึ่งมีหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบดูแลเพื่อที่จะพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ขยายกว้างไกลตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ต้องการพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 5 ล้านไร่ โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล

ฮอร์ติ เอเชีย ผสานความร่วมมือกับ สมาคมพืชสวนนานาชาติ (ISHS) ลงนามความร่วมมือพร้อมนำเสนอแพลตฟอร์มความรู้สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรในภูมิภาคเอเชียวีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ผู้จัดงานงานนิทรรศการพืชสวนระดับภูมิภาค หรืองานฮอร์ติ เอเชีย 2018 ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ สมาคมพืชสวนนานาชาติ หรือ International Society for Horticultural Science (ISHS) พร้อมผสานความร่วมมือ นำเสนอแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมการเกษตรในภูมิภาคเอเชีย นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างสององค์กรที่เห็นพ้องต้องกันในการเปิดโอกาสให้ภูมิภาคเอเชียเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ งานวิจัย และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับการทำการเกษตรของเอเชีย ซึ่งทางสมาคมฯ จะจัดงานประชุมวิชาการขึ้นในระหว่างการจัดงานฮอร์ติ เอเชีย 2018 ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2561 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ