ประการที่สอง นิสัย “สวย เริ่ด เชิด แต่ช้า” ไม่ได้เป็นผลดี

ต่อการหากินของม้าน้ำสักเท่าไร เพราะเมื่อพิจารณารวมกับขนาดของปากมันแล้ว ม้าน้ำแทบไม่มีความสามารถในการแย่งชิงอาหารกับปลาทะเลชนิดอื่นๆ ได้ทัน

ประการที่สาม อาหารที่ดีที่สุดของม้าน้ำ ไม่ใช่ไรทะเลหรืออาร์ทีเมียตัวมีชีวิตเท่านั้น แต่ม้าน้ำยังควรได้รับสารอาหารจากกุ้งขนาดเล็กตัวเป็นๆ อีกด้วย

ประการที่สี่ ระบบกรองและอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจใช้ได้กับปลาทะเลทั่วไป อาจกลายเป็นกับดักปลิดชีวิตม้าน้ำตัวน้อยได้ ถ้าทำให้เกิดฟองอากาศภายในตู้ เพราะหากมีฟองอากาศเข้าไปสะสมอยู่ในตัวม้าน้ำมากเกินไป จะทำให้ม้าน้ำเสียศูนย์ เกิดอาการลอยเคว้งคว้างหาที่ยึดเหนี่ยวไม่ได้ และจากไปในที่สุด

แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงปลาทะเล เพราะสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือการควบคุมคุณภาพน้ำทะเลภายในตู้ให้เหมาะสม ต่างแต่เพียงตู้เลี้ยงม้าน้ำควรเป็นตู้ทรงสูง เพื่อให้เจ้าม้าน้ำได้ว่ายน้ำตามแนวดิ่งได้อย่างอิสระ สร้างกระแสน้ำเอื่อยคล้ายโลกใต้ทะเล และจัดหาปะการังที่ปลอดภัยให้ม้าน้ำสามารถยึดเกี่ยวด้วยหาง

ส่วนใครที่อยากจะหาเพื่อนให้ม้าน้ำ ก็จำเป็นต้องเลือกสิ่งมีชีวิตที่จะไม่แย่งอาหารม้าน้ำ อาทิ ปลาที่หาอาหารในระดับพื้นทราย อาจเป็น ปลากินตระไคร่ หรือปูเสฉวน ที่มีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะจับกินม้าน้ำในตู้เป็นอาหาร แต่อย่าได้ไว้ใจเลี้ยงกุ้งชนิดต่างๆ ร่วมด้วย เพราะเจ้าม้าน้ำอาจคิดว่าเป็นอาหารอันโอชะ แล้วใช้แรงดูดอันทรงพลังของมันทำให้กุ้งตัวโปรดขาดเป็น 2 ท่อน

อย่างไรก็ตาม ใครคิดอยากเลี้ยงม้าน้ำคงต้องศึกษากันก่อนให้รู้เช่นเห็นแจ้ง ยุคไฮเทคสมัยนี้ ความรู้ต่างๆ คงหาได้ไม่ยากนัก เจริญล้ำกว่าสมัยหมอบุญส่งคอยเล่าเรื่องราวเมื่อหลายสิบปีก่อน

ว่าแล้วก็นึกถึงม้าน้ำอีกชนิดที่หมอบุญส่งเอ่ยถึงในหนังสือที่กล่าวข้างต้น ยิ่งมองภาพวาดบนหน้าปกก็ยิ่งน่าสนใจ เพราะมองดูคล้ายโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตที่มีเส้นสายอะไรบางอย่างพันธนาการอยู่

เมื่อพลิกอ่านด้านในดู ปรากฏว่า นั่นคือ สัตว์ที่ถูกเรียกขานว่า “มังกรทะเล” ปลาในกลุ่มม้าน้ำที่พบตามชายฝั่งของออสเตรเลีย มีเครื่องประดับรุงรังรอบตัวอย่างกับสาหร่าย และละม้ายคล้ายไปทางมังกรจีน ฝรั่งจึงเรียกชื่อมันว่า “Sea Dragon”

แต่ด้วยเทคโนโลยีของอากู๋ (Google) ก็ทำให้พบว่า ความอัศจรรย์ที่ถูกหยิบยกสิบกว่าปีก่อน คือหนึ่งในสัตว์ทะเลที่สวยงามที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะมังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) กลลวงทางธรรมชาติอันงดงามที่ช่วยพรางตัวมังกรทะเลให้ปลอดภัยตามสภาพแวดล้อม เป็นวิวัฒนาการอันล้ำลึกกว่าการเปลี่ยนสีของม้าน้ำทั่วไป

แต่คนรักสัตว์ทะเลบ้านเรา คงยังไม่อาจชื่นชมมังกรทะเลตัวเป็นๆ อย่างใกล้ชิด หรือนำมาเลี้ยงประดับไว้ในตู้อควาเรียมประจำบ้านได้ เพราะมังกรทะเลจัดเป็นปลาประจำถิ่นที่พบได้เพียงบริเวณทางตอนใต้ และทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์สงวนของชาติ อาจนับเป็นอีกกรณีหนึ่งที่จะบ่งบอกว่า…

บางความงดงาม มิได้หมายความว่า จำเป็นต้องครอบครอง วันนี้ (26 ต.ค. 61) นายสำราญ สาราบรรณ์ รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ การจัดเวทีชุมชน ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก หลังพบว่าเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพิ่มขึ้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าไปแนะเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชสลับและเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี 2560

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับจำนวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ปัจจุบันมีจำนวน 954,102.25 ไร่ เกษตรกร 109,502 ราย ใน 33 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2561) ซึ่งการทำงานในโครงการนี้ เป็นการบูรณาการครั้งสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ 7 เสือ เป็นทีมที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย ชลประทาน พัฒนาที่ดิน สหกรณ์ เกษตร ธ.ก.ส. และภาคเอกชน ที่จะร่วมกันในการให้คำแนะนำ ความเข้าใจ รวมไปถึงความมั่นใจกับเกษตรกร ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านองค์ความรู้ จุดรับซื้อ คำแนะนำในการปลูก แหล่งน้ำ รวมไปถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ

สำหรับ จ.พิษณุโลก เป็น 1 ใน 33 จังหวัด ที่เข้าร่วมโครงการ ปัจจุบัน มีเกษตรกรสนใจจำนวน 107,967.75ไร่ เกษตรกร 10,662 ราย (26 ตุลาคม 2561) และที่ผ่านมามีเกษตรกรหลายรายได้ผลผลิตข้าวโพดต่อไร่ มากกว่า 2,000 กิโลกรัม (ความชื้นประมาณ 28-30%) และอยู่ระหว่างการจัดระบบการปลูกพืช โดยทำนาปีละ 1 ครั้ง สลับกับการทำข้าวโพดหลังนา 2 ครั้ง ต่อปี

นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นช่วงที่ดีที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสนใจเข้าร่วม เบื้องต้นมีจำนวน 5 จังหวัดที่แจ้งความประสงค์ ได้แก่ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ เลย เชียงใหม่ ประมาณ 60,000 ไร่ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกับทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวนาระวังแมลงบั่ว หวั่นทำลายนาข้าวช่วงอากาศชื้น ลั่นห้ามใช้สารฆ่าแมลงกำจัด

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยเผชิญฝนและสภาพอากาศชื้น เสี่ยงต่อการระบาดของแมลงบั่วในนาข้าว เนื่องจากความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางไข่ จำนวนไข่ การฟัก การอยู่รอดของหนอน และการเข้าทำลายยอดข้าวอ่อน

โดยตัวเต็มวัยของแมลงบั่วจะมีลักษณะคล้ายยุงหรือริ้น ลำตัวยาว 3-4 มม. หนวดและขามีสีดำ กลางวันจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าวและวัชพืชริมแปลงนา ส่วนช่วงเวลากลางคืนจะบินอยู่ในบริเวณที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธ์และวางไข่ในลักษณะเดี่ยว หรือกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ฟองใต้ใบข้าว ลักษณะไข่คล้ายกล้วยหอม ยาว 0.45 มม.

เมื่อฟักตัวหนอนจะอาศัยอยู่บริเวณกาบใบข้าว และกัดกินตายอดอ่อน กอข้าวบริเวณที่ถูกทำลาย จะมีลักษณะเป็นหลอดยาวสีเขียวอ่อน แคระแกร็น ต้นเตี้ย หากระบาดรุนแรงจะส่งผลทำให้ข้าวไม่ออกรวง ผลผลิตต่อไร่ลดลง

วิธีการป้องกันกำจัดแมลงบั่ว ควรใช้หลายวิธีร่วมกัน คือ ให้เกษตรกรหมั่นกำจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันอากาศ เพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว ทำลายตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นแสงไฟตามบ้าน ในช่วงเวลาประมาณ 19.00-21.00 น. โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน

กรมส่งเสริมการเกษตร ไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้สารฆ่าแมลงใดๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงบั่ว เนื่องจากไม่ได้ผล และยังทำลายศัตรูธรรมชาติอีกด้วย สำหรับพื้นที่ที่มักพบการระบาดของแมลงบั่วอยู่บ่อยครั้ง ไม่ควรปลูกข้าวด้วยวิธีหว่านหรือปักดำถี่ (ระยะปักดำ 10×15 และ 15×15 ซม.)

สวนเงาะในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่เช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกเงาะให้เฝ้าระวัง 2 แมลงศัตรูพืช คือ หนอนคืบกินใบ และหนอนร่านกินใบ สามารถพบได้ในระยะที่เงาะเตรียมความพร้อมในการออกดอกและในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรสังเกตหนอนคืบกินใบ มักพบหนอนกัดกินใบเพสลาด ใบอ่อน และใบแก่ ส่งผลให้การปรุงอาหารของใบไม่เพียงพอ และไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้

หากพบหนอนคืบกินใบ ในกรณีที่โคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้ารก ให้เกษตรกรเขย่ากิ่งเงาะเพื่อให้ตัวหนอนคืบกินใบทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน จากนั้นให้จับตัวหนอนคืบกินใบไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก สำหรับในระยะที่ต้นเงาะแตกใบอ่อน ถ้าพบหนอนคืบกินใบ ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ในส่วนของหนอนร่านกินใบ จะพบลักษณะการเข้าทำลายของหนอนร่านกินใบเมื่อฟักออกจากไข่จะแทะกินผิวใบ ทำให้ใบแห้งและร่วงหล่น โดยหนอนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต่อมาหนอนโตขึ้นจะแยกกระจายไปทำลายกัดกินตามใบแก่ กรณีที่พบหนอนร่านกินใบระบาดในระยะที่ต้นเงาะกำลังออกดอก จะส่งผลให้เกิดความเสียหายมาก เพราะต้นเงาะที่ถูกหนอนร่านกินใบเข้าทำลายจะติดผลขนาดเล็กและด้อยคุณภาพ

สำหรับในระยะที่หนอนร่านกินใบยังเล็กจะอยู่รวมกันกัดแทะผิวใบ ส่งผลทำให้ใบเงาะแห้ง ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจดูภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นเงาะมีใบแห้งหรือมีรอยทำลายของหนอนร่านกินใบ ให้เกษตรกรเก็บและนำใบเงาะที่มีรอยทำลายไปกำจัดเผาทิ้งนอกสวนทันที ถ้าพบหนอนร่านกินใบระบาดมาก ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

มร. Emmanuel Pinol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท CPF Philippines Corporation (ซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์) นำโดย นายสกล ชีวะโกเศรษฐ รองประธานกรรมการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม (สัตว์บก) นายอุดมศักดิ์ อักษรภักดี กรรมการ ผู้จัดการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม (สัตว์น้ำ) เข้าพบและหารือการสนับสนุนโครงการความร่วมมือผลิตและรับซื้อพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ ตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการยกระดับขีดความสามารถและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรฟิลิปปินส์ ณ กระทรวงเกษตร กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์

ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นตำบลที่มีการรวมกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย อาทิ กลุ่มจักสานกระเป๋าด้วยเส้นใยพลาสติกและใยปอ กลุ่มผลิตเห็ดหลินจือ กลุ่มเครื่องแกง ตลอดจนกลุ่มแปรรูปผลมัลเบอร์รี่ เป็นการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในช่วงราคายางพาราตกต่ำ ปัจจุบันกลุ่มดำเนินการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อน อาทิ น้ำหม่อนเข้มข้น 100% ผสมน้ำผึ้ง ไวน์หม่อนพร้อมดื่ม และหม่อนอบพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนั้นมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ และบูรณาการกับกลุ่มอาชีพต่างๆ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) และองค์การบริหารส่วนตำบลพะตง ร่วมบันทึกข้อตกลง โครงการบริการวิชาการแก่สังคม ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บูรณาการร่วมกับคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์สาขาต่างๆ นำความรู้ในสาขาวิชาของตนไปถ่ายทอดและเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น สามารถต่อยอดความรู้ที่สอดคล้องและบูรณาการเข้ากับวิถีชุมชนได้เป็นอย่างดี

อาจารย์จรัญ ธรรมใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันออกแบบและสร้างเครื่องขัดผิวในการผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นการบริการวิชาการให้ความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติงาน จากเดิมชุมชนใช้เครื่องขัดกระดาษทรายที่จำหน่ายตามท้องตลาด นำมาใช้ในการขัดไม้ไผ่

ไม่สามารถปรับระดับความเร็วตามขนาดและรูปแบบของงาน ทำให้เกิดความล่าช้าและต้องใช้เวลานาน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการได้ลงพื้นที่บริการวิชาการให้แก่ชุมชนดังกล่าว จึงได้ออกแบบให้ตัวเครื่องขัดกระดาษทรายทำให้การทำงานของตัวเครื่องสามารถปรับความเร็วจากน้อยไปหามากได้ และจากซ้ายไปขวาได้ สามารถใช้กับงานที่หลากหลายมากขึ้น ในอนาคตจะนำเครื่องขัดผิวไม้ไผ่มาพัฒนาเพื่อใช้สำหรับเจาะและขัดได้ในเครื่องเดียวกัน เช่น เจาะโดยใช้โคลนซอร์ สำหรับเจาะไม้ไผ่เพื่อวางขวดไวน์ และใช้สำหรับขัดเนื้อไม้ไผ่ให้มีความมันวาว

นอกจากจะขัดไม้ไผ่แล้วสามารถขัดเนื้อไม้ชนิดอื่นได้อีกด้วย สามารถขัดได้ทั้งแนวราบ แนวโค้ง และแนวเว้า จากการให้บริการวิชาการสู่ชุมชน เกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องขัดผิวในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ทำให้ชุมชนช่วยลดระยะเวลาในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ชุมชนได้รับเครื่องขัดผิวไม้ไผ่ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ไวน์

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์จรัญ ธรรมใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โทรศัพท์ (089) 658-0474

พืชเครื่องเทศส่วนใหญ่ ล้วนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในเขตร้อน หลากหลายพืชเครื่องเทศถูกบรรจุลงในอาหารเพื่อปรุงแต่งกลิ่น รส ถนอมรักษา และยังเป็นยารักษาสุขภาพ สืบทอดเป็นวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างกันไปตามประเทศ ตามภูมิภาค สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง และเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนกันไปทั่วโลกอย่างขาดไม่ได้

มะแขว่น เป็นพืชเครื่องเทศหนึ่งที่พบมากทางภาคเหนือของไทย เป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของจังหวัดภาคเหนือหลายจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดน่าน ถึงกับมีการจัดงาน มะแขว่น ขึ้นทุกปี มะแข่วนมีความต้องการใช้ในการบริโภคประจำวัน โดยเป็นเครื่องเทศหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือหลากหลายชนิด ผลผลิตมะแขว่น ได้จากทั้งการเก็บจากป่า และการปลูกที่แพร่หลายไปไม่น้อย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะแขว่น เป็นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีหนามอยู่รอบลำต้นและกิ่ง ต้นอ่อนจะมีสีแดงแกมเขียว ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ แต่ละใบจะมีใบย่อย 10-25 ใบ ช่อดอกเป็นช่อแบบกลุ่มย่อย มีสีขาวอมเทา ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร เปลือกของผลสีเขียวเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลแก่จัดจะแตกออก เมล็ดกลมเรียบ เมื่อแก่จัดจะมีสีดำเข้มเป็นมัน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายผักชี มีรสเผ็ดเล็กน้อย

มะแข่วน พบทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยธรรมชาติพบขึ้นในป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบเขาแหล่งผลิตมะแขว่น

เกษตรกรจะปลูกมะแขว่นสลับกับพืชสวนป่า คือปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ มะแขว่นมีการปลูกมากในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน แหล่งผลิตมะแขว่นที่มีคุณภาพ เช่น ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลเมืองลี อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน และตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

มะแขว่น เจริญเติบโตในที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,000 เมตร ต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ความชื้นในอากาศสูง เจริญเติบโตดีในสภาพกลางแจ้ง ไม่ต้องการน้ำมากนัก ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกตามไหล่เขา หรือพื้นที่สูงชันการผลิตมะแขว่นการขยายพันธุ์

โดยทั่วไปการขยายพันธุ์มะแขว่นใช้วิธีเพาะเมล็ด โดยใช้เมล็ดแก่จัด และเป็นเมล็ดสดที่ออกจากเปลือกใหม่ๆ ยังไม่แห้ง นำลงเพาะทันที โดยแช่ในน้ำอุ่น ประมาณ 50 องศาเซลเซียส 5-10 นาที แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็น 1 คืน เพื่อให้เปลือกนอกแตก และเป็นการทำลายไขที่เคลือบเมล็ดออกด้วย เพื่อจะช่วยให้เมล็ดสามารถงอกได้เร็วและได้ผลดีขึ้น

หรืออาจนำเมล็ดมะแขว่นสด มาขูดเอาส่วนของเนื้อหุ้มเมล็ดออกก่อน โดยใช้ทรายถู จากนั้นนำไปเพาะในกระบะทราย รดน้ำเป็นระยะ แต่อย่าให้น้ำขังมากเกินไป เป็นเวลาประมาณ 1-2 เดือน เมื่อต้นกล้างอกมีใบจริงและแข็งแรงดีแล้ว ย้ายลงปลูกในถุงเพาะชำ เพื่อเตรียมย้ายลงแปลงปลูกต่อไป กล้าที่เหมาะสมย้ายปลูกควรมีอายุ 3 เดือน ความสูงประมาณ 3-5 นิ้ว กล้าขนาดเล็กจะมีอัตราการรอดสูง ดังนั้น จึงควรเพาะกล้าตั้งแต่เดือนมีนาคมเพื่อให้ทันปลูกในต้นฤดูฝน

การปลูกและดูแลรักษา

การย้ายปลูกควรทำในฤดูฝน หลุมปลูกต้องไม่ขังน้ำ กล้าจะเน่าตายได้ ใช้ระยะปลูก 4X4 เมตร จำนวน 100 ต้น ต่อไร่ ในระยะแรกควรให้มะแขว่นเติบโตตามธรรมชาติ การพรวนดินหรือการกำจัดวัชพืชต้องระมัดระวัง อาจทำให้ระบบรากกระทบกระเทือน เพราะรากมะแขว่นอยู่ระดับผิวดิน จึงอาจทำให้ต้นมะแขว่นตายหรือชะงักการเจริญเติบโตได้

เมื่อต้นมะแขว่นมีอายุ 1-2 ปี ควรเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งก้าน เป็นการเพิ่มผลผลิตและยังทำให้ต้นเตี้ย ซึ่งจะสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ในระยะ 1-3 ปีแรก ต้นมะแขว่นจะไม่สามารถจำแนกต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียได้ จนกระทั่งเริ่มออกดอกในปีที่ 3 หรือ 4 ดอกบานเต็มที่ ต้นตัวเมียเริ่มติดผล แต่ต้นตัวผู้ดอกจะร่วงและไม่ติดผล นิยมตัดต้นตัวผู้บางส่วนทิ้ง และใช้วิธีเสียบยอดแทน โดยตัดส่วนยอดออกเหลือลำต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แล้วใช้วิธีเสียบยอดของต้นตัวเมียแทนต้นเดิม

ปัญหาสำคัญที่พบ ได้แก่ ปลวกกัดกินรากและโคนต้น ทำให้ต้นกลวงและถูกมดดำเข้าทำลายซ้ำ ทำให้ต้นตาย หรือถูกสัตว์จำพวกตัวตุ่นกัดกินราก ทำให้ยืนต้นตายบางส่วน และที่สำคัญคือ ถูกไฟป่าเผาทำลาย ในฤดูแล้งจึงควรถางหญ้าเพื่อป้องกันไฟป่า

การเก็บเกี่ยวและการทำแห้ง

มะแขว่น จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-5 ปี โดยที่มะแข่วนมีพันธุ์หนักและพันธุ์เบา พันธุ์เบาจะเริ่มออกดอกในเดือนกรกฎาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ส่วนพันธุ์หนักจะเริ่มออกดอกในเดือนสิงหาคมและเก็บเกี่ยวผลในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม การเก็บเกี่ยว ผลแก่จัดซึ่งเมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลดำและมีกลิ่นหอม หากเก็บผลผลิตมะแข่วนอ่อนเมื่อทำแห้งแล้วสีเปลือกจะไม่ดำ ผลเหี่ยว เป็นเชื้อราได้ง่าย กลิ่นเสื่อมเร็ว และตลาดไม่ต้องการ

การทำแห้ง โดยทั่วไปเกษตรกรจะนำมามัดเป็นกำ และแขวนผึ่งแดดบนราวยกพื้น ตากแดดประมาณ 3-4 วัน จนแห้งสนิท และเก็บเข้าในเวลากลางคืนทุกวัน เพื่อป้องกันความชื้นจากน้ำค้างทำให้เกิดเชื้อรา การอบด้วยเครื่องอบแห้งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้คุณภาพดีสม่ำเสมอ กระบวนการอบแห้งด้วยเครื่องอบลมร้อน คือ ตัดมะแขว่นจากช่อใหญ่ให้มีขนาดช่อเล็กลง สามารถวางเกลี่ยบนตะแกรงอบได้อย่างสม่ำเสมอ ใช้อุณหภูมิการอบที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วลดอุณหภูมิลงทีละ 5 องศา ทุกชั่วโมง จนแห้งสนิท ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง อัตราส่วนผลผลิตสดต่อผลผลิตแห้ง คือ ผลสด 3 กิโลกรัม ตากแห้งเหลือ 1 กิโลกรัม

การเก็บรักษาผลผลิตแห้ง นำมะแขว่นแห้งมาเขย่าแยกเมล็ดออก และนำไปบรรจุถุงพลาสติกเพื่อการขนส่ง การเก็บรักษาเพื่อให้มีกลิ่นหอม คุณภาพดี ควรเก็บในถุงฟอยล์ที่ปิดผนึกจะสามารถเก็บรักษาได้นาน

ผลผลิตมะแขว่น

มะแขว่น อายุ 3-5 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 1-5 กิโลกรัมแห้ง ต่อต้น อายุ 6-10 ปี จะให้ผลผลิต 10-15 กิโลกรัมแห้ง ต่อต้น อายุ 11-15 ปี จะให้ผลผลิต 30-35 กิโลกรัมแห้ง ต่อต้น และอายุ 21-25 ปี จะให้ผลผลิตถึง 50 กิโลกรัมแห้ง ต่อต้น

การตลาดและผลิตภัณฑ์

เนื่องจากเป็นพืชเครื่องเทศที่ใช้ในอาหารพื้นเมือง ตลาดมะแขว่นส่วนใหญ่จึงอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ราคามะแข่วนที่เกษตรกรขายได้ (เดือนสิงหาคม 2553) อยู่ในช่วง 50-70 บาท ต่อกิโลกรัมแห้ง นอกจากเกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตมะแข่วนแล้ว ยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มะแขว่นดองน้ำเกลือ น้ำพริกลาบ เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ในการประกอบอาหารคือ ใบอ่อนและผลมะแขว่น ใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ ผลเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงน้ำพริกลาบ มีรสเผ็ด นำมาดองน้ำปลา รับประทานกับลาบ ใส่ในยำชิ้นไก่ หลู้ แกงขนุน แกงผักกาด ช่วยทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้น มะแขว่นมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้รับประทานแกล้มสำหรับอาหารจานที่มีเนื้อสัตว์มาก เพราะช่วยย่อยเนื้อได้ ทางภาคใต้นิยมผสมมะแขว่นในเครื่องแกง เช่น แกงฟักทอง แกงปลาไหล เป็นต้น ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอม

สารสำคัญออกฤทธิ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณ

น้ำมันหอมระเหยสกัดจากเมล็ดมะแขว่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจากพิษของสาร formalin และ Carragenin และเมื่อทดลองกับคนสามารถระงับการอักเสบบนผิวหนังได้ เมื่อทาด้วยน้ำมัน น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากผลมีฤทธิ์ในการขับพยาธิลำไส้ และยังไม่มีรายงานวิจัยความเป็นพิษของมะแขว่น

สรรพคุณทางยาแผนโบราณ ใช้รากและเนื้อไม้เป็นยาขับลมในลำไส้ ลมขึ้นเบื้องสูง ทำให้หน้ามืดตาลาย วิงเวียน ลดความดัน เป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี แต่ไม่ใช้กับหญิงมีครรภ์ ใบแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลม การใช้ในตำรายาจีน แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย

มะแขว่นเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นหนึ่งที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรภาคเหนือ ต้นมะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขึ้นในที่สูง โล่งแจ้งและอากาศเย็น มะแข่วนนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเหนือแทบทุกชนิด การส่งเสริมปลูกมะแขว่นควรเป็นพืชหลังบ้าน หรือพืชร่วมกับพืชอื่นๆ ในระบบสวนป่า

เท่านี้ ก็น่าจะเพียงพอกล่าวว่า มะแขว่น เป็นพืชเครื่องเทศสมุนไพรที่น่าสนใจไม่น้อย

บรรณานุกรม

การุณย์ มะโนใจ . 2553. มะแขว่นพันธุ์พื้นเมือง และมะแขว่นพันธุ์ใหม่ พืชพรรณดีเมืองพะเยา. รายงานพิเศษ พะเยา เมืองน่าอยู่.

http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=9904. Retreived 25/7/2553

เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา ภัสรา ชวประดิษฐ์ และปรานี บุญปาน. 2545. คู่มือพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 4 เครื่องเทศ.กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร.

ดรุณ เพ็ชรพลาย. 2541. ชื่อพฤกษศาสตร์สมุนไพรจีนในประเทศไทย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

ปราโมทย์ ฐิติวงศ์ฤทธิ์. 2553. มะแขว่น ผักสมุนไพรของภาคเหนือ อนาคตสดใสในตลาดเฉินตู สาธารณรัฐประชาชนจีน.

http://www.rd1677.com/rd chiangrai/activity_chiangrai.php?id=39697

พรชัย ปรีชาปัญญา. 2550. มะแขว่น ชุดโครงการวิจัยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชป่า. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่.