ประธานกลุ่มชาวนาตำบลคลองประสงค์ เล่าให้ฟังว่ามีการอพยพ

มาอยู่ที่นี่ประมาณ 200 ปีแล้ว ปู่ของแม่เล่าให้ฟังว่า ปู่เป็นชาวมุสลิมมาจากรัฐไทรบุรี (ก่อนนี้รัฐไทรบุรีเป็นดินแดนหนึ่งของไทย ปัจจุบันอยู่ในประเทศมาเลเซีย) มีชาวพุทธไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ มาจากจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นชาวประมง ส่วนพวกเราทำนา อยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน มีการแลกข้าวกับปลาซึ่งเป็นผลผลิตของแต่ละคน” ปัจจุบันชาวไทยพุทธไม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเพราะมีการย้ายรกรากไปอยู่บนฝั่งเมื่อมีครอบครัว แต่ชาวไทยมุสลิมของคลองประสงค์ยังอยู่ที่เดิมและขยายครอบครัวกันในผืนดินแห่งนี้ ด้วยความรักและผูกพันในเกาะเดิม

การทำนาเพื่อปลูกข้าวไว้กินเองจึงเป็นเรื่องราววิถีชีวิตของที่นี่ พร้อมๆ กับการทำประมงเพื่อหารายได้ ในช่วงก่อนข้าวที่ได้มีราคาถูกมาก ถ้าเราเอาข้าวไปแลกกับสิ่งอื่นหรือไปขายจะได้ไม่คุ้มกับการยังชีพ จึงมีคำกล่าวของชาวบ้านที่นี่ว่า “ทำงานเอาเงินซื้อสารดีกว่า” (สารหมายถึงข้าวสาร) ความหมายคือทำงานแล้วเอาเงินมาซื้อข้าวกินดีกว่า เพราะทำงานอย่างอื่นได้เงินมากกว่า การทำนาจึงลดน้อยลงและบ้างก็ใช้ที่นาในการปลูกพืชอย่างอื่น ต่อมา 10 กว่าปีให้หลัง ทางราชการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร เข้ามาส่งเสริมให้ปลูกข้าวเพื่อกินกันเองในชุมชน พื้นที่ปลูกข้าวจึงขยายกลับมามากขึ้นกว่าเดิม

จากพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่ชาวบ้านเก็บไว้คือ ข้าวนางพญา ข้าวลูกหมี ข้าวยาคู ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์หนักต้องใช้เวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตนาน 6 เดือน และผลผลิตต่อไร่ก็ได้จำนวนไม่มาก ราคาก็สู้ข้าวจากภาคอื่นไม่ได้ เมื่อกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเกษตรกรที่นี่ไปอบรมเรื่องการปลูกข้าวสังข์หยดของจังหวัดพัทลุง จึงมีการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวจากพันธุ์ข้าวเดิมมาเป็นพันธุ์ข้าวสังข์หยด จนกระทั่งในปัจจุบันชาวนาที่นี่เลือกปลูกแต่ข้าวพันธุ์สังข์หยดเพียงอย่างเดียว

คุณประวัติ กล่าวว่า เนื่องจากปริมาณฝนและช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงไป ถ้าใช้พันธุ์ข้าวเดิมปลูกซึ่งเป็นพันธุ์หนักจะต้องใช้เวลาถึง 6 เดือนในการเก็บเกี่ยว ช่วงข้าวใกล้เก็บเกี่ยวถ้าเกิดน้ำท่วมจะทำให้ข้าวเสียหายเพราะในระยะออกรวงถึงเก็บเกี่ยวก็จะนานทำให้เสี่ยงต่อที่ผลผลิตจะเสียหาย แต่เมื่อเปลี่ยนจากเป็นพันธุ์ข้าวสังข์หยดซึ่งเป็นข้าวเบาใช้เวลาแค่ 4 เดือน ความเสี่ยงก็น้อยลงไป เนื่องจากระยะเวลาจนถึงเวลาเก็บเกี่ยวสั้น อีกอย่างหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจเนื่องจากราคาขายข้าวสังข์หยดแพงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ตอนอาหารมื้อเที่ยงผู้เขียนได้มีโอกาสกินข้าวสังข์หยดที่ร้านอาหารบนเกาะ พบว่าข้าวสังข์หยดที่นี่นุ่มและมีกลิ่นหอมคล้ายข้าวเม่า ไม่เหมือนกันข้าวสังข์หยดที่ปลูกในจังหวัดอื่น

กลุ่มชาวนาของตำบลคลองประสงค์มีสมาชิกอยู่จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นทำนาแบบอินทรีย์ได้รับการรับรองแล้ว 10 ราย ไม่ต้องการรับรอง 40 ราย จากจำนวนพื้นที่นาของกลุ่มทั้งหมด 300 กว่าไร่ และเป็นแปลงนาอินทรีย์ประมาณไม่ถึง 100 ไร่ ส่วนที่เหลือ 200 กว่าไร่ ทำนาแบบธรรมชาติตามวิถีชีวิตแบบเก่า ไม่ได้ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีเช่นกัน แต่ไม่ต้องการรับรองเนื่องจากมีความยุ่งยากในการทำเอกสาร นาอินทรีย์ของที่นี่แปลงใหญ่สุดมีขนาด 8 ไร่ และเล็กสุดประมาณ 2 ไร่ ส่วนใหญ่ชาวนาของที่นาทั้งหมดปลูกไว้กินก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำมาขาย

ทำนาดีกว่าซื้อสาร

จากคำกล่าวที่ว่า “ทำงานเอาเงินซื้อสารดีกว่า” ของชาวบ้านที่นี่ ตามที่ขายข้าวสารได้ในราคาแพง สืบเนื่องจากความอร่อยของข้าวและเป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้คำกล่าวนี้หายไป เป็นคำใหม่ว่า “ทำนาดีกว่าซื้อสาร” เนื่องจากข้าวสารสังข์หยดที่ปลูกกันในเกาะมีราคาแพงจึงต้องทำนากันเอง และเมื่อเหลือกินแล้วยังสามารถขายได้ราคาแพงอีกด้วย จริงแล้วบนชุมชนนี้ยังมีพื้นที่นาอีกประมาณ 300 กว่าไร่ของชาวบ้านนอกกลุ่ม ซึ่งมีพื้นที่เท่ากับที่นาของคนในกลุ่ม พื้นนาจริงๆ รวมกันแล้วในชุมชนนี้จึงมีประมาณ 700 ไร่

การทำนาของที่นี่เป็นแบบวิถีธรรมชาติตามแบบเก่าที่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วก็จะปล่อยให้ควายซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงอนุรักษ์ของเกาะเข้ามากิน ถ่ายใส่ ย่ำแปลงนา ตามแบบวิถีชาวบ้านเก่าๆ ควายที่นี่ไม่ได้เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้ขายเป็นตัว เมื่อมีขนาดโตเต็มที่ สนนราคาอยู่ที่ตัวละ 30,000 กว่าบาท ส่วนใหญ่จะขายไปในจังหวัดกระบี่หรือจังหวัดใกล้เคียง คนที่ซื้อมักจะเป็นชาวไทยพุทธที่นำไปทำอาหารจัดเลี้ยงเมื่อมีงานแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานรื่นเริงต่างๆ

เมื่อใกล้ถึงฤดูปลูกข้าวก็จะไถแปรไถดะด้วยรถไถเดิมตาม หลังจากนั้น ก็จะเพาะกล้า ราวเดือนสิงหาคม ก็จะดำนาด้วยวิธีการลงแขกตามแบบเก่าซึ่งมีเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง เป็นการผลัดกันเอาแรง แต่คนที่ไม่มีนาก็สามารถมาลงแขกดำนาได้เนื่องจากจะได้ข้าวเปลือกวันละ 1 ปี๊บ เมื่อเก็บเกี่ยวเป็นการตอบแทน และตอนเก็บเกี่ยวก็จะได้ค่าแรงวันละ 1 ปี๊บเช่นกัน 1 ปี๊บจะมีน้ำหนักข้าวเปลือก 10 กิโลกรัม ระยะเวลาของการปลูกข้าวคือ ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ

ความเชื่อของชาวนาที่นี่ว่าการเริ่มทำนาจะไม่ทำในวันอังคารและวันเสาร์ ส่วนใหญ่จะเริ่มในวันพุธ โดยถือว่า วันอังคารและวันเสาร์เป็นวันของควาย ซึ่งถ้าปลูกในวันดังกล่าวข้าวจะถูกควายเหยียบย่ำกัดกินต้นข้าวจนเสียหายหมด ผู้เขียนได้สอบถามคำถามหนึ่งที่แปลกใจว่า ทำไมที่นี่เลี้ยงควายแต่ไม่เลี้ยงวัว เพราะเท่าที่เห็นคนไทยมุสลิมชอบเลี้ยงวัว จึงได้ความเชื่ออีกอย่างซึ่งสอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศที่นี่คือ เชื่อว่าควายทำด้วยขี้ผึ้ง วัวทำด้วยดินเหนียว ขยายความได้ว่าที่นี่น้ำจะท่วมบ่อย ส่วนฝนแล้งไม่เคยมี พื้นที่ก็จะเฉอะแฉะ ควายชอบน้ำพื้นที่เป็นเทือกเป็นเลนก็อยู่ได้ นิสัยควายชอบน้ำมากกว่าแดดเหมือนขี้ผึ้งโดนแดดจะละลายแต่โดนน้ำจะแข็งตัว ส่วนวัวไม่ชอบพื้นที่เฉอะแฉะชอบที่แห้งเหมือนดินเหนียวถ้าโดนน้ำจะละลาย โดนแดดจะแข็ง จึงเป็นที่มาของคำกล่าวนี้ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบเพราะวัวจะเลี้ยงยากบนพื้นที่เฉอะแฉะ แต่ควายจะเลี้ยงในนาได้ง่ายกว่า

ข้าวสังข์หยดของเกาะกลางมีผลผลิตต่อไร่แค่ 450 กิโลกรัม ส่วนหนึ่งได้เก็บไว้สำหรับกินเอง ส่วนที่เหลือจึงจะขาย ทำให้เหลือไม่มากพอที่จะจำหน่ายได้ตลอดปี พอเข้าเดือนตุลาคมของทุกปีข้าวก็จะหมด และจะเริ่มเก็บเกี่ยวอีกทีก็เดือนธันวาคม ถ้าอยากชิมข้าวสังข์หยดของเกาะกลางให้ติดต่อ

มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 ชื่อนี้มีที่มาคือ เลข “80” นั้น เป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่มีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และ “ขอนแก่น” เพื่อบอกที่มาของแหล่งปรับปรุงพันธุ์

มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นลูกผสมระหว่าง มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแรนต์ กับ พันธุ์แขกดำ มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ดอกเริ่มบาน เมื่ออายุ 74 วัน หลังปลูก ลำต้นสูง 132 เซนติเมตร เมื่ออายุครบ 7 เดือน ผลมีรูปทรงยาวรี ส่วนก้นป่องออกมามากกว่าส่วนหัว น้ำหนักเฉลี่ย ประมาณ 700 กรัม ต่อผล ผลสุกแก่ เนื้อสีแดงเข้ม รสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 13-14 องศาบริกซ์ ให้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดี จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยที่ใบ แต่ไม่ปรากฏให้เห็นที่ผล เปลือกหนา ผิวมัน ไม่บอบช้ำง่ายในขณะขนส่ง ด้วยมีขนาดผลเล็กพอเหมาะ

ลักษณะเด่น มะละกอ “ขอนแก่น 80”

มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 มีการเจริญเติบโตทั่วไปดีและสม่ำเสมอ ดอกแรกบานเมื่ออายุ 74 วัน และติดผลแรกเมื่ออายุ 81 วัน ความสูงของต้นเมื่ออายุ 7 เดือน เฉลี่ย 132 เซนติเมตร ผลแรกเริ่มสุก เมื่ออายุ 7 เดือน หลังย้ายปลูก (ซึ่งมะละกอสายพันธุ์อื่นจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 9-10 เดือน) มีรูปร่างผลสม่ำเสมอเป็นรูปรี ส่วนหัวเล็กก้นป่อง น้ำหนักผลเฉลี่ย 700 กรัม โดยประมาณ

ผลสุกเนื้อสีแดงส้ม รสชาติหวาน หอม อร่อยมาก และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ความหวานเฉลี่ย 13-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตเท่ากับ 6,000 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 6 ตัน/ไร่ มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดี คือ แสดงอาการเหลืองด่างที่ใบ แต่ไม่มีอาการที่ผล

นอกจากนี้ ผลมีผิวเป็นมัน เปลือกหนา จึงทนทานต่อการขนส่งได้ดี เนื้อแน่น และหลังการเก็บเกี่ยวสุกช้ากว่าพันธุ์แขกดำและแขกดำท่าพระ ผลมีขนาดเล็ก เหมาะที่จะผ่าและใช้ช้อนตักรับประทาน เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีมาก มีศักยภาพที่จะเป็นพันธุ์แนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าทางเลือกหนึ่งได้

มะละกอสายพันธุ์ขอนแก่น 80 มีคุณภาพดีเด่นกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ในกรณีของการบริโภคสุก จะว่าไปแล้ว มะละกอ “ขอนแก่น 80” เมื่อบริโภคสุก มีรสชาติหวาน หอม และอร่อยกว่าพันธุ์เรดมาราดอร์ด้วยซ้ำไป ปัจจุบันทั้งคนไทยและต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอสุกผลเล็ก เนื้อสีแดงหนา มะละกอสายพันธุ์ “ขอนแก่น 80” ที่มีความดีเด่นในด้านความหวานและขนาดของผลที่เล็กกว่า อาจใช้เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับบริโภคสุก

มะละกอพันธุ์ “ขอนแก่น 80” ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือร่วนปนเหนียวที่มีการระบายน้ำดี ต้นมะละกอไม่ชอบน้ำขัง จะทำให้โคนต้นเน่าตายได้ ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง การทำสวนขนาดใหญ่ควรปลูกไม้กันลมไว้ เช่น ไผ่ กล้วยหิน มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ จึงไม่ควรปลูกถี่หรือชิดเกินไป

การเตรียมดินและการปลูก ไถพื้นที่เพื่อปราบวัชพืช 2 ครั้ง ครั้งแรกไถกลบ ครั้งที่ 2 ไถพรวนย่อยดินให้ร่วน โดยทั่วไปใช้ระยะ 2.5×2.5 เมตร ขุดหลุมสี่เหลี่ยม ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกประมาณครึ่งปี๊บ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/หลุม ไม่ควรปลูกลึก จะทำให้รากเน่า ปลูกหลุมละ 2-3 ต้น เมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยกทีหลัง ให้เหลือต้นกะเทยไว้ หลุมละ 1 ต้น

การเก็บเกี่ยว

เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 7-8 เดือน ปกตินิยมเก็บเกี่ยวเมื่อต้นอายุได้ประมาณปีครึ่ง ถึง 2 ปี แล้วปลูกใหม่ เนื่องจากต้นจะสูงขึ้น ผลเล็กลง และผลผลิตก็ลดลงเช่นกัน การเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรหรือมีดตัดขั้วผลให้ติดต้น ไม่ควรบิดผลมะละกอ จะทำให้ขั้วช้ำ และเชื้อราเข้าทำลาย ทำให้ต้นเน่าเสียหายได้ ผลที่ใช้รับประทานสุกควรเก็บเมื่อผิวมีสีส้ม หรือเหลือง ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิว

ในระยะนี้มีอากาศเย็น และมีอุณหภูมิลดต่ำลง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่เฝ้าระวังการระบาดของ 2 โรค คือ โรคราแป้ง และโรคแอนแทรกโนส สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ สำหรับโรคราแป้งจะพบเชื้อรามีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งขึ้นกระจัดกระจายตามส่วนต่างๆ ของพืช เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้เกิดแผลใต้ใบสตรอเบอรี่เปลี่ยนเป็นสีม่วง และใบบิดม้วนขึ้น ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลมีขนาดเล็กและสีไม่สม่ำเสมอกัน

เกษตรกรต้องหมั่นดูแลและบำรุงรักษาต้นสตรอเบอรี่ให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการระบาดของโรค และควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้รีบเก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5–7 วัน

ส่วนโรคแอนแทรกโนส มักพบอาการบนก้านใบและลำต้น มีแผลสีม่วงแดงขนาดเล็กขยายลุกลามไปตามความยาวของก้านใบและลำต้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบริเวณแผลแห้งทำให้เกิดรอยคอด หากอาการรุนแรงต้นจะเหี่ยว และตายในที่สุด อาการบนผล พบแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบขอบแผลสีซีด แผลยุบตัวลง

หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่จนทำให้ผลเน่า และในสภาพที่มีอากาศชื้นอาจพบกลุ่มสปอร์สีส้มของเชื้อราอยู่บริเวณแผล และยังสามารถพบอาการของโรคได้ที่ใบ ก้านใบ โคนต้น และรากได้ อาการบนไหลจะมีแผลเล็กสีม่วงแดงขยายลุกลามไปตามความยาวของสายไหล ต่อมาแผลที่ขยายยาวจะเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล ทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล

เมื่อย้ายต้นจากไหลที่มีการติดเชื้อมาปลูก หากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อ สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉา ต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็วและพบว่ากอด้านในมีลักษณะเน่าแห้งสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันกำจัด เกษตรกรต้องตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟลูโอไพแรม+ไตรฟลอกซีสโตรบิน 25%+25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูโอไพแรม+ทีบูโคนาโซล 20%+20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน กรณีพบโรคเริ่มระบาดให้งดการให้น้ำแบบพ่นฝอย ควรให้น้ำแบบระบบน้ำหยด

ส่วนแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตสตรอเบอรี่แล้ว ให้เก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และเลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค

การปลูกไผ่เพื่อขายหน่อ จัดเป็นรูปแบบเกษตรกรรมอินทรีย์และปลอดสารพิษ เนื่องจากไม่ได้มีการใช้สารเคมีเลย นอกจากนั้น การปลูกไผ่ยังช่วยลดโลกร้อนได้ดีกว่าต้นไม้หลายชนิด

อย่างกรณีของ คุณภัทรา จันทร์ศรี เจ้าของ “บ้านสวนไผ่หวาน” เลขที่ 77/4 หมู่ที่ 13 ตำบลด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ปลูกไผ่บงหวานมานานเกือบ 14 ปี ปลูกไผ่บงหวาน 10 กว่าไร่ไว้ที่จังหวัดแพร่

ต่อมาได้ต่อยอดมาเปิดร้านอาหาร นำหน่อไผ่บงหวานมาประกอบเป็นอาหารในร้านทั้งหมด ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างมาก

คุณภัทรา เล่าย้อนกลับไปว่า ตนเองทำงานบนเส้นทางของข้าราชการครูมานานถึง 14 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ก็ได้รับการแนะนำจากน้องสาวให้ลองปลูกไผ่บงหวาน ก็ได้ศึกษาเรื่องไผ่บงหวานและก็ได้ตัดสินใจไปซื้อพันธุ์ไผ่บงหวานที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 500 กล้า เป็นเงิน 25,000 บาท และก็ได้นำมาปลูกและขยายมาเรื่อยๆ

ในช่วงที่ปลูกไผ่บงหวานช่วงแรกๆ นั้น เนื่องจากต้นไผ่ยังเล็กมาก จึงมีพื้นที่เหลือว่างระหว่างแปลงอยู่ ได้ปลูกผักแซมตามแปลงไผ่ ซึ่งได้แก่ ผักบุ้ง พริก มะเขือ เพื่อให้มีรายได้ในช่วงแรกๆ

หลังจากปลูกมาประมาณ 10 เดือน เริ่มเก็บหน่อไม้ขายได้บ้างแล้ว ในตอนแรกได้นำไปวางขายในตลาด แต่ประสบปัญหาคือ คนซื้อไม่เชื่อว่าหน่อไม้จะรับประทานดิบได้จริงๆ และไม่เชื่อว่าจะหวานจริงๆ

“เพราะในตอนนั้นไม่ว่าหน่อไม้อะไร คนขายก็มักจะโฆษณาว่าเป็นหน่อไม้หวานเสมอ ทำให้คนซื้อไม่แน่ใจ เราจึงได้แจกให้ชิม เพื่อจะทำตลาด และก็ได้นำเอาหน่อไม้หวานไปประชาสัมพันธ์ในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเกษตรธรรมชาติที่จังหวัดสระบุรี นิทรรศการงานต่างๆ ที่หน่วยงานราชการต่างๆ จัดขึ้น เพื่อเปิดตัวหน่อไม้หวานสายพันธุ์ใหม่ คือ ไผ่บงหวาน ที่หวาน หอม กรอบ อร่อย และรับประทานสดๆ ได้” คุณภัทรา กล่าว

ปี 2550 ปีแรกที่จำหน่ายหน่อไม้ จากต้นไผ่ 1,700 กอ จากสมุดบันทึกที่จดไว้พบว่า สามารถสร้างรายได้ถึง 60,000 กว่าบาท ทำให้มีแรงบันดาลใจที่จะทำให้ไผ่บงหวานเป็นพืชตัวหลักของสวน และมีความคิดที่จะขยายจนเต็มพื้นที่ 9 ไร่ เพราะคิดว่าพืชตัวนี้ได้ผลตอบแทนเร็ว ลงทุนน้อย และใช้สารชีวภาพ อีกทั้งโรคและศัตรูพืชไม่มี ยิ่งกว่านั้นก็ได้กระแสตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดีมาเรื่อยๆ

จากคำบอกเล่าของคุณภัทรา ได้ชี้ให้เห็นว่า รายได้ที่มาจากไผ่บงหวานที่ปลูกไว้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยยกตัวอย่าง ในปี 2551 มีรายได้ถึง 250,000 บาท จึงทำให้ตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกไผ่เพิ่มจนเต็มทั้ง 14 ไร่ มาถึงปัจจุบัน

“อย่าง ปี 2557 ทิศทางตลาดของหน่อไม้บงหวานมีกระแสตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ราคาขายหน้าสวนของแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่กิโลกรัมละ 50-200 บาท มีร้านอาหารหลายร้านติดต่อเข้ามาขอซื้อ เพื่อนำไปเป็นเมนูอาหารประจำร้าน ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำหน่อไม้ ยำหน่อไม้หวาน ผัดหน่อไม้หวานน้ำมันหอย ห่อหมกหน่อไม้ และอีกหลากหลายเมนู

จากที่ตลาดได้ให้ความสนใจและมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ครอบครัวจันทร์ศรีได้มีการต่อยอดทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ด้วยการเปิดร้าน “บ้านสวนไผ่หวาน” ขึ้น ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นการใช้จุดเด่นของไผ่บงหวาน คือความอร่อย มาเป็นสารพัดเมนูประจำร้าน

นับเป็นการต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้ไผ่บงหวานอีกทางหนึ่ง ซึ่งได้การตอบรับเป็นอย่างดี และสวนไผ่บงหวานได้ย้ายมาปลูกใหม่ในส่วนของหลังร้าน ราวๆ 2 ไร่ เพื่อนำผลผลิตมาใช้ที่ร้านและแบ่งขายเป็นหน่อไม้สด ซึ่งจำหน่ายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 80-100 บาท

พันธุ์ที่ปลูก “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” คุณภัทรา เล่าประสบการณ์ว่า ผลิตหน่อไม้ไผ่บงหวานออกจำหน่าย ผลปรากฏว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ด้วยลักษณะเด่นอยู่ที่หน่อไผ่มีรสชาติหวาน ไม่ขม สามารถรับประทานเป็นหน่อไม้ดิบเหมือนผักสด และไม่ขมติดลิ้นเหมือนหน่อไม้ไผ่พันธุ์อื่นๆ นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอด และต้มจืดกระดูกหมู เป็นต้น คุณภัทรายังได้บอกถึงเทคนิคในการบริโภคไผ่บงหวานให้ได้รสชาติอร่อย จะต้องต้มน้ำให้เดือดแล้วค่อยใส่ไผ่บงหวานลงไปในน้ำเดือด เฉลี่ย 5-7 นาที เท่านั้น นำมารับประทานได้เลย ไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง

สำหรับพันธุ์ไผ่บงที่ปลูก คือ พันธุ์เพชรน้ำผึ้ง ประวัติความเป็นมาของ ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เป็นการพัฒนาพันธุ์ไผ่บงหวานเมืองเลย นำเมล็ดมาเพาะเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ เป็นต้นที่คัดมาจากต้นที่เพาะเมล็ด เมื่อ ปี 2549 และขุดแยกเหง้าจากต้นแม่มาขยายพันธุ์ ทำให้มีอายุอยู่ได้มากกว่า 50 ปี แน่นอน และลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ

ลักษณะเด่น คือสามารถทำหน่อนอกฤดูได้ หน่อดก หน่อใหญ่เต็มที่มีน้ำหนัก 300 กรัม ขึ้นไป สามารถขุดหน่อได้ตั้งแต่ 8 เดือน ขึ้นไป มีรสชาติหวาน หอม กรอบ อร่อย และที่สำคัญรับประทานสดๆ ได้ ทำให้สามารถนำไปประกอบเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น ส้มตำ ยำ สลัด ห่อหมก ผัด ชุบแป้งทอด ต้มจืด ไม่มีสารไซยาไนด์ ปลูกง่าย ดูแลจัดการง่าย ไม่มีโรคและแมลงรบกวน

ปัจจุบัน ได้คัดเลือกออกมาหลายเบอร์ ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เบอร์ 1, 2, 3, 9 เป็นต้น สร้างงานในครอบครัว
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการปลูกไผ่บงหวานที่คุณภัทราได้ให้ข้อมูลคือ สามารถทำได้ในครอบครัว ไม่ต้องจ้างคนงานเยอะ ในครอบครัวมีลูกสาวอยู่ 2 คน ช่วงเวลาปิดเทอมฤดูร้อน ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงในการทำหน่อไม้นอกฤดู และเป็นช่วงที่มีรายได้ดีมากๆ ในช่วงนี้รายได้ตกอยู่ที่เดือนละแสนกว่าบาท เมื่อหักต้นทุนแล้ว

“สามารถมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมเสริมสัมพันธ์ของครอบครัว เพราะดิฉันและแฟนเป็นคนขุดหน่อไม้ แล้วนำมาให้ลูกสาวคนเล็กเป็นคนล้างและแพ็กใส่ถุง ส่วนลูกสาวคนโตเป็นคนตัดแต่งและแพ็กหน่อไม้ใส่ถุง ขายในตลาดหมู่บ้าน และที่ตลาดอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่”

“บางส่วนก็เริ่มมีลูกค้าโทร.สั่งตามโทรศัพท์ ครั้งละ 10-20 กิโลกรัม เพื่อนำไปเป็นของฝาก เพราะถือว่าเป็นของที่ไม่เหมือนใคร และเป็นของฝากที่น่าประทับใจ” คุณภัทรา กล่าว

1 ไร่ ปลูกได้ 200 กอ
ในการปลูกไผ่บงหวานนั้น แนะให้ปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น ที่เว้นให้ระยะระหว่างแถวให้กว้าง เพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำงานได้สะดวก เช่น นำขี้เถ้าแกลบไปใส่ได้ง่าย

สำหรับการปลูกก็ไม่ยุ่งยาก ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า หลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม เคล็ดลับในการปลูกไผ่บงหวาน ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ปลูกเสมอกับดินเดิม แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องปลูกให้ต่ำกว่าดินเดิม หรือทำเป็นแอ่งกระทะ

หลังจากปลูกไผ่บงหวานเสร็จ จะต้องหมั่นตัดหญ้า ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการให้ปุ๋ยและให้น้ำเฉลี่ย เดือนละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกจะใช้ได้ทั้งขี้วัวเก่าหรือขี้ไก่ หรือแม้แต่เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรใช้ได้หมด เช่น ซังข้าวโพด กากอ้อย เปลือกถั่วต่างๆ กากยาสูบ ขี้เถ้าแกลบ

สิ่งที่มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือนคือ จะต้องมีการสางลำไผ่ขนาดเล็กที่แตกมาจากตาหน่อเก่าหรือแตกมาจากตาบนลำไผ่เดิมออก โดยใช้มีดพร้าสับออกเลย เพื่อให้ข้างล่างโล่ง ให้ใบไผ่อยู่ส่วนบนเท่านั้น

เกษตรกรที่ปลูกไผ่บงหวานใหม่ๆ สมัครเว็บ UFABET จะมีหน่อเกิดขึ้นข้างใน ประมาณ 5-6 หน่อ ให้ขุดหน่อข้างในไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ ส่วนหน่อที่ออกมานอกกอก็สามารถเก็บขายได้ พอเมื่อเข้าฝนก็ต้องปล่อยให้หน่อนอกกอโตให้มันขึ้นเป็นลำไผ่

ส่วนความต้องการของตลาดโดยทั่วไปแล้ว ตลาดมีความต้องการหน่อไม้ไผ่บงหวานที่มีขนาดน้ำหนักของหน่อ 6-8 หน่อ ต่อกิโลกรัม เนื่องจากเมื่อซื้อเป็นของฝากแล้วจะดูน่าซื้อ คือขนาดไม่เล็กเกินไป จริงแล้วหน่อไม้ไผ่บงหวานจะมีคุณภาพและรสชาติดีที่สุด เมื่อนำมาบริโภคสดๆ และเร็วที่สุด ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันความหวานจะลดลงเช่นเดียวกับข้าวโพดหวาน ดังนั้น การเก็บหน่อไม้จะมีการขุดขายกันแบบวันต่อวัน ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น ความหวานก็จะลดลง แต่จะเก็บไว้บริโภคนานวันควรจะต้มให้สุก แล้วนำมาแช่แข็งจะดีกว่า

ให้ออกตลอดทั้งปี
ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง
คุณภัทรา กล่าวต่อไปว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกไผ่บงหวานมักจะปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยง น้ำก็ไม่ให้ หญ้าก็ไม่กำจัด ไม่มีการสางกอ แต่ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการจัดการสวนที่ดี และมีการปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือน อาทิ ภายในกอจะต้องโล่ง จะต้องขุดหน่อที่อยู่ภายในกอออกมาบริโภคหรือจำหน่าย ในการให้ปุ๋ยกับต้นไผ่บงหวาน จะให้ปุ๋ยเคมีเพียง 10% เท่านั้น ที่เหลือเป็นปุ๋ยคอกทั้งสิ้น ในแต่ละเดือนจะนำปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัม นำมาผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 90 กิโลกรัม แล้วใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพรดตามลงไป หมักทิ้งไว้ 1 คืน นำไปใส่ให้กับต้นไผ่บงหวาน ต้นละ 5-10 กิโลกรัม

สิ่งสำคัญในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูก็คือ การจัดการเรื่องการให้น้ำ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นมาก

“การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าร่องก็ได้ แต่ก่อนปลูกเกษตรกรจะต้องมีการปรับพื้นที่ปลูกเพื่อให้ไล่ระดับน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ถ้ามีการติดระบบการให้น้ำอย่างดีและมีประสิทธิภาพ จะมีการวางระบบน้ำแบบแถวเดี่ยวหรือแถวคู่ก็ได้ โดย 1 หัวน้ำ จะได้ 4 ต้น วางให้ห่าง ระยะ 3 เมตร ใช้สปริงเกลอร์หัวสูง” คุณภัทรา กล่าวทิ้งท้าย