ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวหอมทองบ้านโคกสะอาดเล่าให้ฟัง

ในปี 2522 ได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวหอมทองบ้านโคกสะอาด รหัสทะเบียน เลขที่ 4-39-03-09/1-0006 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552 หน่วยงาน สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสัง ปี 2556 ได้ย้ายที่ทำการและสถานที่ผลิต ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ในปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 24 คน สมาชิกส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นผู้อาศัยภายในชุมชนเดียวกันและเคยรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพร่วมกัน การบริหารจัดการกลุ่มมีลักษณะแยกกันผลิตแล้วนำมาจำหน่ายร่วมกัน โดยมีแหล่งผลิต ณ ที่ตั้งกลุ่มและที่บ้านของสมาชิกทุกคน ซึ่งมีประธานกลุ่มและสมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มผ่านการประชุม

ทุนของกลุ่มส่วนใหญ่เกิดจากการระดมหุ้นของสมาชิก เพื่อนำไปจัดซื้อข้าวเปลือกมาเก็บไว้แจกจ่ายให้สมาชิกผลิตและจำหน่ายร่วมกันเมื่อมียอดสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากและข้าวเปลือกที่เป็นวัตถุดิบของกลุ่มไม่เพียงพอ เพราะสมาชิกกลุ่มมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมกัน ประมาณ 400 ไร่ แบ่งออกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียว ร้อยละ 80 และพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า ร้อยละ 20 ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตในแต่ละปี เนื่องจากข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียวที่ตลาดไม่ต้องการ และสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ทำไร่ จำเป็นต้องซื้อข้าวเปลือกซึ่งเป็นวัตถุดิบจากเกษตรกรและกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง

กระบวนการผลิตข้าวฮาง มีกระบวนการผลิตข้าวฮางของกลุ่มโดยใช้ระยะเวลา 10-15 วัน แรงงานประมาณ 1-3 คน/ข้าวเปลือก 1 ถุง (35 กิโลกรัม) ศักยภาพในการผลิตของกลุ่มอยู่ที่ประมาณ 5,000 กิโลกรัม/เดือน มีการแบ่งปันผลกำไรให้กับสมาชิกเป็นรายปี และเมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแต่ละรอบของการจำหน่าย โดยเฉพาะข้าวซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูงในแต่ละปี โดยเฉพาะข้าวที่ปลอดสารเคมีหรือข้าวอินทรีย์ ยังมีความต้องการสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ดังนั้น ทางกลุ่มพยายามพัฒนาการผลิตข้าวฮางและการแปรรูปข้าวฮาง โดยเริ่มตั้งแต่วัสดุปลูก ส่วนผสมที่ใช้ กรรมวิธีในการบำรุงรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดจำหน่ายต้องปลอดสารเคมี โดยรับซื้อข้าวจากสมาชิกที่ผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายให้แก่กลุ่ม

โดยเน้นที่ข้าวที่นำมาจำหน่ายจะต้องเป็นข้าวปลอดจากสารเคมีเท่านั้น ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโคกสะอาด ที่ได้รับงบพัฒนาจังหวัด ปี 2552 สมาชิกจำนวน 25 ราย มีพื้นที่การผลิตข้าวหอมมะลิ 400 ไร่ โดยให้สมาชิกกลุ่มปลูกข้าวมะลิ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื่อจะป้อนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวฮาง เน้นการผลิตข้าวอินทรีย์ให้ปลอดภัยจากสารเคมี

นอกจากนี้ ทางศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนิคมพัฒนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ได้ให้การสนับสนุนการผลิตข้าวฮางอย่างเต็มที่ โดยได้อนุมัติงบประมาณ ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตข้าวฮาง ในเรื่องการฝึกอบรมการเพิ่มประสิทธิภาพข้าวฮาง สนับสนุนเครื่องสีข้าวฮาง จำนวน 1 เครื่อง และเครื่องซีนถุงบรรจุข้าวฮาง จำนวน 1 เครื่อง

ปี พ.ศ. 2552 ได้รับหนังสือรับรองกลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรเป็นกลุ่มผลิตข้าวฮางจากข้าวอินทรีย์ปลอดภัยจากสารพิษ รหัสทะเบียน เลขที่ 001/พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 หน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู

ปี พ.ศ. 2558 ได้รับเตาเศรษฐกิจประยุกต์แบบร้อยเอ็ด จำนวน 1 เครื่อง โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 1 เครื่อง จากสำนักงานพลังงานจังหวัดหนองบัวลำภู และตะแกรงตากข้าว จำนวน 5 อัน จากสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู

ปี พ.ศ. 2559 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหาร ข้าวหอมทองระดับ 4 ดาว ปี พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 และได้รับสนับสนุนเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็ก จำนวน 1 เครื่อง จากสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู โรงสีข้าวกล้องขนาดใหญ่ จำนวน 1 โรง เครื่องเย็บกระสอบด้วยมือ จำนวน 1 เครื่อง เครื่องวัดความชื้น จำนวน 1 เครื่อง จากกรมการปกครอง

ปี พ.ศ. 2559 ได้รับประกาศเกียรติคุณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมทองบ้านโคกสะอาด เป็นต้นแบบด้านการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนฯ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559 จากหน่วยงาน สำนักงานพลังงานจังหวัดหนองบัวลำภู กระทรวงพลังงาน

ปี พ.ศ. 2560 ได้รับการสนับสนุนเครื่องซีนถุง บรรจุข้าวฮาง จำนวน 1 เครื่อง สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู โครงการเสริมสร้างความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตรและประมง โครงการย่อยส่งเสริมราชินีข้าวเหนียวครบวงจร ปี 2560

ปัจจุบันกลุ่มมีการผลิตข้าวฮางอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาจำหน่ายข้าวฮางรวม ถุงละ 50 บาท ข้าวฮางไรซ์เบอร์รี่ ถุงละ 80 บาท

คุณวีระศักดิ์ พริศักดิ์ เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน รับผิดชอบงานตำบลนิคมพัฒนา ให้ข้อมูลเพิ่มว่า นอกจากผลิตข้าวฮางจำหน่ายแล้ว ทางกลุ่มจึงคิดค้นและหาวิธีการต่างๆ ยังนำสิ่งที่เหลือใช้จากการผลิตข้าวฮาง คือ ผลิตขนมทองม้วนจากข้าวฮาง เพื่อจำหน่าย มีการตอบรับจากชาวบ้านหรือผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทำให้กลุ่มมีรายได้ดี ซึ่งผงข้าวฮางจะมีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารมาก บริโภคเรื่อยๆ ทำให้สุขภาพแข็งแรง โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่มี สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย

นำส่วนผสมทั้งหมดผสมเข้าด้วยกันอย่างละเอียด แล้วนำไปปิ้งในเครื่องทำทองพับ พับให้สวยงามรอให้เย็นจึงบรรจุภัณฑ์ พร้อมจำหน่ายในราคาถุงละ 10, 20, 30 บาท แล้วแต่ขนาดของถุงบรรจุ

คุณวีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน เกษตรอำเภอโนนสัง กล่าวเพิ่มอีกว่า กลุ่มได้กำหนดกฎระเบียบในการบริหารจัดการดังนี้

กลุ่มต้องมีความรักกัน ความสามัคคี และตระหนักถึงการรักษาภูมิปัญญาของท้องถิ่น
กลุ่มจะต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า ผลิตภัณฑ์ ด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบอันเป็นการรักษาชื่อเสียงของกลุ่ม
กลุ่มจะต้องพัฒนาปรับปรุงสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและให้เพียงพอต่อตลาด และขยายสมาชิก พร้อมจะถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชน
สมาชิกต้องมาด้วยความสมัครใจ ยอมรับด้วยเหตุและผล และพร้อมปฏิบัติงานตามระเบียบ
ปัจจุบันนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวหอมทองโคกสะอาด ได้มีแนวความคิดจะพัฒนาการแปรรูปที่จะประกอบอาหารใหม่ๆ ไปเรื่อย และได้มีการผลิตข้าวฮางได้วันละ 700-1,000 กิโลกรัม/เดือน แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการลูกค้า ทางกลุ่มได้ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ได้สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์แก่กลุ่มผลิตข้าวฮาง พร้อมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ภายในอำเภอโนนสัง และกลุ่มผลิตข้าวฮางกับอำเภอต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยเฉพาะศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวอินทรีย์ ทางกลุ่มจะรับซื้อข้าวเปลือกจากกลุ่มในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เพื่อนำมาผลิตข้าวฮางให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้าส่วนมากจะติดต่อซื้อทางโทรศัพท์

เกาะพะงัน เป็นเกาะที่อยู่ในอ่าวไทยในจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยเกาะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศก็ว่าได้ นอกจากเกาะพะงันจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามแล้ว มะพร้าวที่ปลูกบนเกาะแห่งนี้ก็มีรสชาติและความอร่อยเป็นเอกลักษณ์ไม่แพ้กัน

คุณสฤษดิ์ โชติช่วง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนมะพร้าวเกาะพะงัน ให้ข้อมูลว่า มะพร้าวที่ปลูกภายในเกาะพะงันเป็นการปลูกแบบระบบอินทรีย์ โดยทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมกันในการดูแลแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งได้มีการจัดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดแมลงศัตรูพืชในแบบธรรมชาติ คือ การใช้แตนเบียนในการช่วยกำจัดหนอนหัวดำ

“ในส่วนของอำเภอเกาะพะงัน จะเน้นปลูกมะพร้าวในระบบอินทรีย์ทั้งหมด คือจะไม่มีเรื่องการใช้เคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง เรามีนโยบายในเรื่องของมะพร้าวจีไอ(GI) ที่เป็นสินค้าคุ้มครองทางสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และมะพร้าวเกาะพะงันของเรายังได้มาตรฐานอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตรอีกด้วย เราจึงให้มะพร้าวของที่นี่เป็นพืชเอกลักษณ์ และเป็นพืชเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวของเกาะพะงันอย่างยั่งยืน” คุณสฤษดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ คุณสฤษดิ์ ยังบอกอีกด้วยว่ามะพร้าวเปรียบได้กับชีวิตของคนเกาะพะงัน โดยได้มีกุศโลบายที่สร้างกันในชุมชนมาอย่างช้านาน ในเรื่องการปลูกฝังให้ทุกคนบนเกาะพะงันมีใจรักในมะพร้าวที่เป็นอาชีพสืบทอดกันมา จะช่วยให้ทุกคนรักบ้านเกิดไม่ลืมรากเง้าของตนเอง โดยให้มะพร้าวเป็นมะพร้าวคู่บารมีหรือที่เรียกว่า “มะพร้าวฝังรก”

“สมัยก่อนเวลาทำคลอดจะใช้หมอตำแย เมื่อคลอดลูกแม่เด็กอยู่ไฟแบบสมัยโบราณเสร็จแล้ว ก็จะนำรกของทารก มาทำการฝังในดินและก็จะนำต้นมะพร้าวไปปลูกอยู่บนรกนั้น จะเรียกกันว่ามะพร้าวฝังรก เพื่อเป็นสิ่งบ่งบอกให้กับเจ้าของรกนั้นว่า ถ้าเห็นมะพร้าวเจริญเติบโตดี ก็จะเปรียบเสมือนเจ้าของรกก็จะมีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อย้ำเตือนให้เห็นว่า อย่าได้ลืมถิ่นฐานบ้านเกิดของเรา ที่ได้ฝั่งรกรากไว้ที่นี่แล้ว มีรากเง้าอยู่ที่นี่ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการทำแบบนี้กันอยู่ โดยใครที่ต้องการรกก็จะติดต่อขอกับทางโรงพยาบาลไว้ เพื่อนำมาทำในวิธีแบบนี้ต่อๆ กันไป” คุณสฤษดิ์ บอกถึงกุศโลบายของท้องถิ่นที่ทำสืบทอดกันมา

เมื่อต้นมะพร้าวของเจ้าของรกเจริญเติบโต คุณสฤษดิ์ บอกว่า ผู้เป็นเจ้าของก็จะมาดูแลอยู่สม่ำเสมอ เพราะถือว่าเป็นมะพร้าวประจำตัว ทุกคนที่มีมะพร้าวประจำตัวก็จะหมั่นดูแลต้นมะพร้าวของต้นให้เจริญงอกงามอยู่เสมอ ซึ่งทุกคนในชุมชนในเวลานี้ก็ยังมีการบอกและเล่าถึงเรื่องนี้ให้กับเด็กยุคหลังๆ ได้ฟังอยู่เสมอ

จากกุศโลบายของชุมชนชาวเกาะพะงันที่ได้สืบสานกันในครั้งนี้ จึงทำให้ชาวบ้านที่ปลูกมะพร้าวในเกาะพะงันมีความเข้มแข็ง และสามารถฝ่าฟันอุปสรรคที่ประสบพบเจอไปพร้อมกันทั้งชุมชน โดยที่ไม่มีใครหรือคนใดคนหนึ่งต้องเดินตามอยู่ข้างหลังในการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า เพื่อให้ทุกคนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนมีคำพูดที่ชินปากที่ใช้พูดกันว่า “มะพร้าว คือ ชีวิต” สื่อความหมายว่า ตั้งแต่เกิดจนตายมะพร้าวก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตทั้งสิ้นของชาวเกาะพะงัน คือ เมื่อเกิดก็มีมะพร้าวฝังรกที่เป็นจุดเริ่มต้น และเมื่อตายก็ยังไม่พ้นที่จะต้องใช้น้ำมะพร้าวมาใช้ชำระล้างร่างกายของศพ จึงเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดแน่แท้ว่ามะพร้าวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของทุกคนที่อยู่บนเกาะพะงัน โดยที่มะพร้าวไม่ได้เป็นเพียงต้นไม้ที่สร้างรายได้ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและทุกคนบนเกาะมีใจรักบ้านเกิดอย่างแท้จริง

มีหลายหน่วยงานให้งบประมาณสนับสนุนในการทำงานวิจัย เพราะเล็งเห็นศักยภาพของบุคลากรในการศึกษาวิจัย เพื่อให้ผลของงานวิจัยเป็นตัวกระตุ้นหรือต่อยอด นำไปพัฒนาในระบบเพื่อให้ก้าวทันนวัตกรรม และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่จับต้องได้ แต่ไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงน่าเสียดายที่งานวิจัยถูกทิ้งร้างเป็นงานวิจัยที่ค้างอยู่บนหิ้ง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการศึกษานวัตกรรมการเกษตรมากที่สุดแห่งหนึ่ง เมื่อหยิบงานวิจัยที่มีแนวโน้มจับต้องเป็นรูปธรรมออกมาปฏิบัติจริงได้ จึงเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่นิ่งเฉย พร้อมๆ กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่น่าจะรวบรวมงานวิจัยไว้มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง

ความจำเป็นในการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย ศ.ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ประธานคณะกรรมการโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สกว. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย – สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย) ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลจำนวนมากทั้งจากโรงไฟฟ้าตามแผนของ กฟผ. และเอกชน ตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015 : Alternative Energy Development Plan) ปี 2558-2579 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากเดิมร้อยละ 20 เพื่อผลิตไฟฟ้า 37,000 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานจึงได้เตรียมเสนอปรับแผนการเพิ่มพลังงานทดแทนจากชีวมวล ซึ่งเศษเหลือจากภาคเกษตรอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการปลูกพืชพลังงานเข้ามาเสริมเพื่อไปสู่เป้าหมายการผลิตไฟฟ้าที่ตั้งไว้ รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากแก๊สชีวภาพ ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้ในการผลิตพืชพลังงานเพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

“โจทย์วิจัยสำคัญประการหนึ่ง คือ การสนับสนุนการปลูกพืชพลังงานทั้งในส่วนของไม้โตเร็วและหญ้าพลังงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากช่วยสร้างงานและสร้างรายได้แก่เกษตรกร จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ”

ดร. วราวุฒิ ศุภมิตรมงคล อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้วิจัย กล่าวว่า การศึกษาศักยภาพของพื้นที่ดินเสื่อมโทรมในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่ความเหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการนำมาปลูกเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก รวม 5 สกุล ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์-กระถินเทพา กระถินยักษ์ สนประดิพัทธ์ และเสม็ดขาว โดยนอกจากพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่แล้ว ยังต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนการปลูก การจัดการแปลง และเมื่อคำนึงถึงผลกำไรสูงสุด ซึ่งจากการปลูกพบว่าไม้สกุลยูคาลิปตัสถูกแนะนำให้ปลูกเป็นอันดับแรกในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งหมด

ขณะที่ ดร. มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุถึงโครงการ การรวบรวมข้อมูลการปลูกต้นไม้โตเร็วสำหรับจัดทำแผนที่นำทางงานวิจัยการปลูกไม้โตเร็วเพื่อพลังงาน ซึ่งได้ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนและเกษตรกรเพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยแบ่งแผนที่นำทางระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ออกเป็น 7 กลุ่มหลัก คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้โตเร็ว ระบบการปลูกและการเตรียมพื้นที่ การจัดการสวนป่า การตัดฟันและโลจิสติกส์ การประเมินผลผลิตมวลชีวภาพ การวิเคราะห์ผลตอบแทนและการขยายผลการส่งเสริมปลูก และการยอมรับและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการพัฒนาพลังงานชีวมวลอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญที่สุดคือ การขาดแคลนแรงงาน ในระยะสั้นจึงต้องเร่งพัฒนาเครื่องจักรเพื่อทดแทนแรงงานที่มีจำนวนลดลงและแรงงานสูงวัย รวมถึงช่วยลดต้นทุน

ส่วนโครงการ “ระบบการปลูกและการจัดการไม้โตเร็วในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลบนที่ดินเสื่อมโทรม” ดร. มะลิวัลย์ ระบุว่า ได้ศึกษาระบบการปลูกและการจัดการที่เหมาะสมของการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่เสื่อมโทรม โดยเน้นพื้นที่เสื่อมโทรมระดับเฝ้าระวัง และไม่กระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร ซึ่งมีพื้นที่ “โมเดลเชิงสาธิต” ใน 5 จังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ แพร่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และสุราษฎร์ธานี ตลอดจนหารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสม และขยายผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการเติบโต ผลผลิต การหมุนเวียนสารอาหาร การเก็บกักคาร์บอน ค่าพลังงานที่ได้ และผลตอบแทนทางการเงินและเศรษฐศาสตร์

ด้านโครงการ “การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับมันสำปะหลังในระบบวนเกษตรในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ผศ.ดร. รุ่งเรือง พูลสิริ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ได้หารูปแบบที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว (ยูคาลิปตัส) ร่วมกับพืชอาหาร (มันสำปะหลัง) ในแปลงทดลองที่สวนป่าช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหารูปแบบธุรกิจที่นำไปขยายผลได้ และหาแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการส่งเสริมพื้นที่ผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน

สำหรับโครงการ “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพชีวมวลของหญ้าเนเปียร์เชิงพื้นที่เพื่อผลิตไฟฟ้า” ผศ.ดร. นรุณ วรามิตร อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า หญ้าเนเปียร์ เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตชีวมวล สามารถนำไปผลิตเอทานอลและก๊าซมีเทน ซึ่งนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ หญ้าเนเปียร์เป็นพืชอาหารสัตว์เขตร้อนที่นิยมปลูกในหลายประเทศ เนื่องจากโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดีในหลายสภาวะแวดล้อมและทนแล้ง มีผลผลิตเฉลี่ย 40-80 ต้นสด ต่อไร่ ต่อปี ซึ่งมากกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ เกือบ 7 เท่า หญ้าเนเปียร์เป็นพืชชอบแดด ดินดี มีน้ำเพียงพอแต่ไม่ท่วมขัง การเตรียมดินและการปลูกเหมือนการปลูกอ้อย คือ ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้นาน 6-7 ปี

ความสำเร็จในการปลูกหญ้าเนเปียร์ซึ่งเป็นพืชที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ในพื้นที่แห้งแล้ง ดินเลวที่ไม่สามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ดี เพื่อเป็นวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตไฟฟ้า ควรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนหรือความชื้นในดินเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้ ระดับน้ำในดินที่ลดลงส่งผลให้ปริมาณเฮมิเซลลูโลสในชีวมวลของหญ้าเนเปียร์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.5 แต่มีปริมาณเซลลูโลสและลิกนิกลดลง ร้อยละ 6 และร้อยละ 2 ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นผลดีในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ในการหมักก๊าซมีเทนให้สูงขึ้นได้

ข้อมูลไม้โตเร็ว

ในการเก็บข้อมูล พบว่า ไม้โตเร็วที่นิยมปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นไม้ต่างถิ่น ได้แก่ กระถินยักษ์ กระถินอาคาเซีย ยูคาลิปตัส สนประดิพัทธ์ สนทะเล เสม็ดขาว และไผ่

กระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis) ระยะปลูก (เมตร) 1.5×2, 2×2, 2×3, 4×4 อายุการตัดฟัน 4-5 ปี ต้นทุนการปลูก 6,700 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมค่าตัดฟัน) รายได้สุทธิในการตัดฟันครั้งแรก 2,000-3,000 บาท ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ต่อปี 3 ตัน (น้ำหนักสด) ค่าความร้อน 4,700-4,800 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม กระถินเทพา (Acacia mangium) ระยะปลูก (เมตร) 2×2, 2×3, 3×3 อายุการตัดฟัน 6-7 ปี ไม่ไว้หน่อ ต้นทุนการปลูก 3,000-4,500 บาท ต่อไร่ ไม่รวมค่าตัดฟัน รายได้สุทธิในการตัดฟันครั้งแรก 4,000-4,500 บาท ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย ต่อไร่ ต่อปี 11.2 ตัน (น้ำหนักสด) ระยะเวลาการปลูก 5 ปี ค่าความร้อน 4,700-4,900 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม

กระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala, Tarramba) ระยะปลูก (เมตร) 1×1, 1.5×15, 2×1 อายุการตัดฟัน ทุก 1-2 ปี แตกหน่อ ต้นทุนการปลูก 3,000-4,500 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมค่าตัดฟัน) รายได้สุทธิ การตัดฟันครั้งแรก 4,000-5,000 บาท ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย ต่อไร่ ต่อปี 2 ตัน (น้ำหนักแห้ง) ค่าความร้อน 4,200-4,600 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม

4. สนประดิพัทธ์ (Casuarina Junghuhniana) ระยะปลูก (เมตร) 2×2, 2×3 อายุการตัดฟัน 5-7 ปี ต้นทุนการปลูก 3,000-80,000 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมค่าตัดฟัน) ไม่มีข้อมูลรายได้สุทธิ การตัดฟันครั้งแรก ส่วนผลผลิตเฉลี่ย ต่อไร่ ต่อปี 3-5 ตัน (น้ำหนักสด) และมีค่าความร้อน 4,500-4,700 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม
สนทะเล (Casuarina equisetifolia) ระยะปลูก (เมตร) 4×4 อายุการตัดฟัน 5-10 ปี ไม่มีข้อมูลต้นทุนการปลูก รายได้สุทธิหลังตัดฟันครั้งแรก และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี ส่วนค่าความร้อนอยู่ที่ 4,900-5,000 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม
ยูคาลิปตัส (E. camaldulensis, E. urophylla, E. pellita) ระยะปลูก (เมตร) 2×1, 2×2, 2×3, 2×4 อายุการตัดฟัน ทุก 3-5 ปี แตกหน่อ 2-3 รอบ ต้นทุนการปลูก 6,000-7,000 บาท ต่อไร่ รายได้สุทธิ การตัดฟันครั้งแรก 2,000-3,000 บาท ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 3-5 ตัน (น้ำหนักสด) และมีค่าความร้อน 4,200-4,500 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม

เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) ระยะปลูก (เมตร) 3×4, 4×4 อายุการตัดฟัน 3-6 ปี ต้นทุนการปลูก 15,000 บาท ต่อไร่ 6 ปี รายได้สุทธิ การตัดฟันครั้งแรก 10,000-15,000 บาท ต่อไร่ 6 ปี ไม่มีตัวเลขผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี มีค่าความร้อน 4,400-4,500 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม
ไผ่ (Bambusa, Dendrocalamus) ระยะปลูก (เมตร) 4×4 อายุการตัดฟัน ตัดครั้งแรก 3 ปี จากนั้นตัดทุกปี ต้นทุนการปลูก 6,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี รายได้สุทธิ การตัดฟันครั้งแรก 21,000 บาท ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 7-11 ตัน (3-5 ปี) ค่าความร้อน 4,500-4,600 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม

เทคนิคทำให้เป็นดอกตัวเมียเยอะ

การทำลำไยนอกฤดู หัวใจที่สำคัญก็คือ การทำอย่างไร ให้ลำไยออกดอกเต็มต้น ถ้าทำได้ นั่นหมายความว่าประสบความสำเร็จไปมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปต้องทำให้ดอกลำไยเป็นดอกตัวเมียมาก เทคนิคที่จะให้ดอกลำไยเป็นดอกตัวเมีย อันดับแรกเราจะต้องบำรุงช่อดอกให้สมบูรณ์ มีช่อดอกอวบอ้วนช่อยาว โดยเราจะต้องเริ่มบำรุงรักษาช่อดอกตั้งแต่ลำไยแทงช่อดอกออกมาให้เราเห็น

โดยแนะนำ ฉีดพ่นด้วย ปุ๋ยเกล็ด สูตร 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรต) อัตรา 500 กรัม+สาหร่ายสกัด (เช่น แอ๊คกรีน) อัตรา 200 ซีซี+แคลเซียม-โบรอน (เช่น โกลแคล, แคลเซียม-โบรอนอี, โบร่า) อัตรา 100-200 ซีซี ผสมยาป้องกันกำจัดแมลง เช่น สารคลอร์ไพริฟอส (เช่น มัคฟอส) เลือกอัตราใช้ต่ำ แค่ 100 ซีซี ก็พอ เพื่อเป็นการประหยัด พ่นเพื่อเป็นการป้องกันแมลง เพลี้ยต่างๆ รวมถึงหนอนไว้ก่อนล่วงหน้า ทั้งหมด ต่อน้ำ 200 ฉีดพ่นทุก 7 วัน พ่นก่อนที่ดอกลำไยจะบาน วิธีนี้ก็ช่วยให้ได้ดอกลำไยตัวเมียเยอะขึ้น

เทคนิคทำสีผิวลำไยให้ได้ราคาดี พ่อค้าลำไยส่วนมากต้องการลำไยที่มีสีผิวเหลืองสวย และจะให้ราคาดีกว่า ลำไยที่มีเปลือกสีไม่สวย เช่น ออกสีเหลืองคล้ำ หรือแดง แม้จะมีขนาดลูกผลโตกว่าก็ตาม ราคาก็จะสู้ลำไยที่มีสีผิวเหลืองสวยไม่ได้ เทคนิควิธีที่เกษตรกรจะทำให้ลำไยผิวสวยก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลลำไย ประมาณ เดือนครึ่งเราจะต้องเร่งทำสีเปลือกลำไยให้เหลืองสวย โดยใช้ยาเชื้อรา จำนวน 50-80 ซีซี ต่อน้ำ 200 ฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง และควรงดเว้นการฉีดพ่นสารอาหารจำพวกสาหร่าย อาหารเสริมต่างๆ หรือสารอาหารทางใบในกลุ่มน้ำตาล (เป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา) ก่อนการเก็บเกี่ยว เพราะจะมีคราบติดอยู่ที่ผล ทำให้ผิวไม่สวยได้

ก่อนเก็บเกี่ยวลำไย 1 เดือน Royal Online เกษตรกรผู้ปลูกลำไยควรบำรุงด้วยสูตรเร่งหวาน-เร่งสี ทางใบฉีดพ่นด้วยปุ๋ยสูตรที่มีตัวท้ายสูง เช่น สูตร 0-0-50 พร้อมธาตุรอง ธาตุเสริม เน้นกำมะถันเพื่อให้ผิวสวย โบรอนแคลเซียม เพื่อป้องกันผลแตก ควรฉีดพ่นสารป้องกันเชื้อรา จะทำให้ลำไยมีผิวสีสวย พ่นประมาณ 2 ครั้ง ก่อนเก็บผลผลิต ส่วนทางดิน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ทรงพุ่ม 3-5 เมตร หรือแล้วแต่ขนาดทรงพุ่ม ถ้าใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 ลำไยจะแก่และสุกเร็วขึ้น ทำให้เก็บขายได้เร็วตอนราคาดี แต่อาจจะทำให้ต้นโทรมบ้าง

หลังเก็บเกี่ยวต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมบูรณ์กลับมาทันที ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีลูกผลไม่สม่ำเสมอกัน จะช่วยบำรุงผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน หลังจากเก็บผลผลิตแล้วต้นจะไม่ค่อยโทรม และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไป

ในกรณีที่ต้นลำไยติดลูกผลดกมาก เปลือกผลหนาดี ไม่บางจนเกินไป ควรใส่ปุ๋ย สูตร 0-0-60 จะทำให้ลูกผลลำไยขยายขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าใส่ปุ๋ยสูตรอื่นๆ โดยเลือกใส่ในช่วงเข้าระยะประมาณ 180-190 วัน หลังจากราดสารจะทำให้ลูกผลโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และต้องให้น้ำตลอดอย่างสม่ำเสมอจนถึงเก็บเกี่ยวด้วย

วิธีการผลิตลำไยนอกฤดู

ลำไย จัดเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถทำรายได้จากการส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท แหล่งผลิตลำไยที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา เป็นต้น และทางภาคตะวันออก เช่น จังหวัดจันทบุรี ระยอง เป็นต้น โดยเฉพาะที่จังหวัดจันทบุรี จะเห็นว่าในบัจจุบันพื้นที่จังหวัดจันทบุรีจะมีล้งรับซื้อลำไยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งคนจีนที่เข้ามาลงทุนเองและล้งของคนไทยด้วย