ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบปัญหาเหมือนกับประเทศไทย

คือเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เพราะคนหนุ่มสาวไม่นิยมทำงานในภาคการเกษตร ดังนั้น เกษตรกรจึงทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยรวมพื้นที่ของเกษตรกรรายย่อยเข้ามา และให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นตัวแทนเจรจากับภาคเอกชนเข้ามาลงทุนทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และใช้เทคโนโลยีความแม่นยำสูงมาพัฒนาภาคการเกษตร เช่น การให้น้ำ ปุ๋ย และการวิเคราะห์สภาพดินในแปลงเพาะปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด พืชผัก ซึ่งทำให้มีความเจริญมาก อีกทั้งยังมีการสร้างโรงเรือนทั้งหมด โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุน กว่า 5 แสนไร่ และมีตลาดรองรับผลผลิตภายในประเทศจีน และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศที่รัสเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับเมืองซานตงถือเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร และรัฐบาลสนับสนุนเอกชนในการเข้ามาลงทุนทำเกษตรแปลงใหญ่ โดยเฉพาะผักที่ปลูกในโรงเรือนและใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคนซึ่งล้ำหน้ากว่าการเกษตรของไทย มีการใช้ดาวเทียมวิเคราะห์ดินและสภาพพื้นที่ และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล Big Data และมีแอปพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรบนคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบูรณาการข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพื้นที่การเกษตรจากทุกหน่วยงาน ซึ่งข้อมูลภายในแอปพลิเคชั่นประกอบด้วย 1. ข้อมูลพื้นที่ด้านการเกษตร

เพื่อให้เกษตรกรเข้าไปดูข้อมูลสภาพพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อให้ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดินในพื้นที่ตัวเอง ซึ่งก่อนจะปลูกพืชแต่ละชนิด เกษตรกรจะต้องลงทะเบียน โดยในหมู่บ้านจะมีอินเตอร์เน็ตตำบลสำหรับให้เกษตรเข้าไปคีย์ข้อมูลในระบบว่าจะเพาะปลูกอะไร ต้นทุน ผลตอบแทนต่อไร่เท่าไร และมีแหล่งรับซื้อจากที่ไหน ซึ่งระบบจากประมวลผลและแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการเกษตรในรูปแบบสถิติ กราฟ ตัวเลข 2. ข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานการผลิตด้านดิน น้ำและพืช 3. ข้อมูลด้านการตลาดและการซื้อขาย

จะมีบริษัทเข้ามาดูข้อมูลที่เกษตรกรปลูกพืชและจะมีการจับคู่ทำการซื้อขายระหว่างกันทันที 4. ข้อมูลด้านการประเมินเพื่อขอสินเชื่อจากธนาคาร กรณีการให้สินเชื่อถ้าไม่เกิน 1 แสนหยวน จะมีระบบตรวจสอบใบหน้าบุคคลโดยไม่ต้องทำสัญญาแต่จะใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบใบหน้าในการประเมินการให้สินเชื่อ 5. ข้อมูลการตรวจสอบสินค้าเกษตร จะมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ตรวจสอบเหมือนกับการตรวจสอบมาตรฐาน GMP ของไทย โดยเข้าไปติดตามตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกรว่ามีสินค้าอะไรบ้าง และจะดูว่าแปลงไหนบ้างที่ทำได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด 6. ข้อมูลด้านการสอนแนะนำการทำการเกษตรว่าควรจะปลูกและดูแลรักษาอย่างไร และรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนปลูกพืช

นายวิศิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-จีนครั้งนี้ เป็นการศึกษาดูงานเพื่อจะนำความรู้มาพัฒนาเกษตรกรของไทย หลังจากที่ได้ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับจีนแล้ว ทางกรมมีแนวคิดว่าจะนำความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการผลิตพืชผักและสินค้าการเกษตรให้กับสหกรณ์ของไทย เพื่อให้สหกรณ์นำไปถ่ายทอดและส่งเสริมกับสมาชิกของแต่ละสหกรณ์เอง ซึ่งการทำเกษตรแปลงใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีความแม่นยำสูง สหกรณ์ต้องลงทุนเองแล้วก็แบ่งผลประโยชน์ให้กับสมาชิก

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของจีนยังพร้อมให้ความร่วมมือ และเสนอแนวคิดว่าหากประเทศไทยจะทำการเกษตรแปลงใหญ่จริงๆ ทางจีนยินดีจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรของไทย ซึ่งตนเห็นว่าสหกรณ์ทั้ง 3 แห่งที่เดินทางไปด้วยกันมีศักยภาพและมีพื้นที่แปลงใหญ่ที่จะทำการเกษตรแบบจีนได้ ดังนั้น จึงจะให้สหกรณ์ทั้ง 3 แห่งนำร่องทดลองทำเกษตรแปลงใหญ่ตามแบบที่ได้ดูงานมาจากประเทศจีน ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะสนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งให้กับสหกรณ์นำไปส่งเสริมสมาชิกทำเกษตรแปลงใหญ่ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาพื้นที่ รวมถึงพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรให้กับสมาชิก ให้เป็นที่ยอมรับและตรงตามความต้องการของตลาด ส่งผลทำให้ธุรกิจของสหกรณ์มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

ปัจจุบัน “อินทผลัม” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจความหวังใหม่ของเกษตรกรจำนวนมาก เพราะอินทผลัมปลูกดูแลง่าย แถมขายได้ราคาสูง ทำให้เกษตรกรแห่ปลูกกันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเป็นเศรษฐีกันได้ทุกราย ขึ้นอยู่กับฝีมือการผลิตและการตลาดของเกษตรกรแต่ละรายเป็นหลัก

ในฉบับนี้ ขอพาไปเยี่ยมชม “อินผลัมไร่เลิศรส” ของ “คุณสนอง กล่อมประเสริฐ” เจ้าของกิจการน้ำผลไม้รายใหญ่ รู้จักกันดีในชื่อ บริษัท เลิศรส เบฟเวอเวจ อินเทสตี้ จำกัด ในพื้นที่ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในปีนี้แปลงปลูกอินทผลัมของคุณสนองเริ่มให้ผลผลิตเป็นปีแรก ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว และมีผลกำไรก้อนโต คุณสนอง บอกว่า เขาปลูกอินทผลัม 1 ไร่ สร้างรายได้เกือบ 1 ล้านบาท ทีเดียว

ปลูกอินทผลัม ต่อยอด
กิจการแปรรูปน้ำผลไม้

คุณสนอง เติบโตในครอบครัวที่มีฐานะยากจน เรียนจบแค่ชั้นมัธยม เขาทำงานสู้ชีวิตมาหลากหลายอาชีพ ก่อนหน้านี้เขาเป็นตัวแทนขายน้ำส้มเกล็ดหิมะที่ขายดิบขายดีมาก แต่มีข่าวออกมาว่า พบเชื้อราและสารปนเปื้อนในน้ำส้มเกล็ดหิมะ ทำให้ขายของไม่ได้

จุดพลิกผันในชีวิตเกิดขึ้น เมื่อเขาหันมาทำน้ำเต้าหู้นมสดออกขาย ปรากฏว่าขายดีมาก ปี 2554 เขาจึงจดทะเบียน บริษัท เลิศรสเบฟเวอเรจ สร้างโรงงานผลิตน้ำผลไม้แปรรูปที่ได้มาตรฐานทั้งแบบพาสเจอไรซ์และแบบสเตอริไลซ์ จำหน่ายในแบรนด์ “เลิศรส” ส่งขายร้านโชห่วยทั่วประเทศ สร้างรายได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว คุณสนอง ได้รู้จัก “อินทผลัม” ในฐานะผลไม้ที่มีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เมื่อนำไปบริโภคจะไม่ทำให้เป็นโรคอ้วน จึงวางแผนปลูกอินทผลัมเพื่อนำผลสดมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะน้ำผลไม้แปรรูป 25% และน้ำอินทผลัม 100% โดยวางเป้าหมายนำอินทผลัมที่ปลูกมาใช้เป็นวัตถุดิบเพิ่มความหวานให้กับกิจการน้ำผลไม้แปรรูป ยี่ห้อเลิศรส ตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นไป

“อินทผลัมผลสด น้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถคั้นเป็นน้ำอินทผลัมได้ประมาณ 4 ขีด ใส่น้ำตาลแค่ 2% ต่อขวด จำหน่ายในราคา ขวดละ 100-150 บาท ขณะที่การแปรรูปน้ำผลไม้โดยทั่วไป มักใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสม 12 กิโลกรัม ต่อน้ำ 70 กิโลกรัม แต่น้ำอินทผลัมแปรรูป ใช้น้ำตาลน้อยกว่าน้ำผลไม้ชนิดอื่น 10 เท่า เพราะผลอินทผลัมมีรสหวานสูงอยู่แล้ว แถมเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวทีดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก” คุณสนอง กล่าว

หลังจากคุณสนองตั้งเป้าหมายที่จะใช้อินทผลัมเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำผลไม้แปรรูป จึงลงทุนปลูกอินทผลัมในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นฐานการผลิตป้อนเข้าสู่โรงงานแล้ว เขายังวางแผนสร้างเครือข่ายผู้ผลิตและแปรรูปอินทผลัมอีกด้วย

ในเบื้องต้นคุณสนองสามารถรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัมจำนวน 25 ราย จากทั่วประเทศ โดยสมาชิกเครือข่ายปลูกอินทผลัมรวมกัน ประมาณ 12,000 ต้น ภายในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า จะมีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดโดยเฉลี่ย ประมาณ 550 กิโลกรัม ต่อต้น

คุณสนอง บอกว่า เครือข่ายอินทผลัมดังกล่าว แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกเกิดความเข้มแข็ง ทั้งนี้ คุณสนองและเพื่อนเกษตรกรได้ร่วมกันลงขันก่อตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อรับซื้ออินทผลัมผลสดจากสมาชิกเพื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำอินทผลัมหลากหลายรสชาติ หลังหักค่าต้นทุนการผลิต การแปรรูป และการขาย จะหักผลกำไรเข้าบริษัท 40% ที่เหลืออีก 60% จะแบ่งปันผลกำไรส่งคืนให้สมาชิกแต่ละราย

“แม้ผมไม่ได้เป็นเกษตรกรตั้งแต่กำเนิด แต่เข้าใจดีว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความเป็นธรรมในการขายผลผลิต เพราะโดนพ่อค้าคนกลางผูกขาดตลาดหรือกดราคารับซื้อผลผลิตในราคาถูก ทำให้เกษตรกรไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ จึงเกิดแนวคิดให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัมเพื่อป้องกันไม่ให้พ่อค้าคนกลางมาบีบด้านการตลาดในอนาคต ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอินทผลัมผลสดได้มากขึ้น” คุณสนอง กล่าว

การปลูกดูแล

ปัจจุบัน ไร่เลิศรส มีพื้นที่ปลูกอินทผลัมอยู่ 2 แห่ง คือ แปลงแรกเป็นสวนอินทผลัมในพื้นที่ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เนื้อที่รวม 11 ไร่ เริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรก ในปี 2561 และแปลงที่สองอยู่ในจังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 120 ไร่ ปลูกอินทผลัมไปแล้วประมาณ 3,000 ต้น จะเริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรกในปี 2562

สำหรับแปลงแรก คุณสนองปลูกอินทผลัมอยู่ใกล้กับโรงงานแปรรูปน้ำผลไม้เลิศรสนั่นเอง ที่นี่แบ่งการปลูกอินทผลัมในลักษณะแปลงทดลอง 3 รูปแบบ คือ ปลูกอินทผลัมในสภาพดินเค็ม แปลงดินจืดปลูกแบบยกร่อง และแปลงดินจืดปลูกแบบไร่ โดยทดลองปลูกในระยะห่างตั้งแต่ 5 เมตร 6 เมตร 7 เมตร และ 8 เมตร

“ผมตั้งใจให้แปลงปลูกอินทผลัมที่อำเภอกระทุ่มแบนเป็นแปลงต้นแบบ ให้ผู้สนใจนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้บนที่ดินทำกินของตัวเอง การปลูกอินทผลัมไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก แค่มีที่ดินทำกินสัก 1-2 ไร่ ก็สามารถปลูกอินทผลัมได้ ในระยะห่าง 5 เมตร แต่ผลผลิตต่อต้นอาจจะน้อยกว่าต้นอินทผลัมที่ปลูกในระยะห่างกว่า ในต่างประเทศนิยมปลูกอินทผลัมในระยะห่าง 8×8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 25 ต้น สำหรับเมืองไทย ผมคิดว่าระยะปลูกที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ปลูกในระยะ 7×7 เมตร เพราะต้นอินทผลัมจะได้แสงแดดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์” คุณสนอง กล่าว

คุณสนอง ตัดสินใจปลูกอินทผลัมพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) เป็นหลัก เพราะอินทผลัมพันธุ์นี้ ปลูกดูแลง่าย ผสมติดง่าย และให้ผลผลิตร้อยเปอร์เซ็นต์ในเมืองไทย เขานำเข้าอินทผลัมบาร์ฮีที่เพาะเนื้อเยื่อจากแล็บอังกฤษ DPD LTD.U.K. เข้ามาปลูก แปลงที่คุณสนองพามาเยี่ยมชมในครั้งนี้ เป็นแปลงปลูกอินทผลัมในพื้นที่ดินจืด ที่ปลูกแบบไร่ จำนวน 111 ต้น ซึ่งให้ผลผลิตครบทุกต้น

“หลังปลูก แค่ดูแลป้องกันเรื่องแมลงศัตรูพืชประเภทด้วงอย่างเดียว เช่น ด้วงกุหลาบ ด้วงแรด ด้วงงวงมะพร้าว และดูแลใส่ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน สำหรับแปลงปลูกแห่งนี้ แม้ให้ผลผลิตเป็นปีแรก ก็จะให้ผลผลิตมากถึง 10 ตัน ผมปลูกอินทผลัม ขายทั้งผลสดและแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ออกขายเอง ปรากฏว่า ผลผลิต 1 ไร่ สร้างรายได้เกือบ 1 ล้านบาททีเดียว” คุณสนอง กล่าว

ฟันธง…ปลูกอินทผลัมคืนทุนไว

คุณสนอง ยืนยันว่า การปลูกอินทผลัมคืนทุนได้เร็วสุด เพราะสวนอินทผลัม อายุ 1.8 ปี เมื่อให้ผลผลิตรุ่นแรก ก็คืนทุนแล้ว แถมยังได้ผลกำไรด้วย เพราะอินผลัมพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 100 กิโลกรัม ต่อต้น จำหน่ายผลสด ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท รายได้เฉลี่ยต่อต้นอยู่ที่ 50,000 บาท

นอกจากนี้ เขายังนำอินทผลัมผลสดส่วนหนึ่งมาผลิตเป็นน้ำผลไม้แปรรูป 25% ขายในราคา 35 บาท หรือ 3 ขวด 100 บาท และน้ำอินทผลัม 100% ขายในราคา ขวดละ 100-150 บาท วางขายในร้านโชห่วยทั่วประเทศ ก็ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายเท่าตัว จึงกล่าวได้ว่า ผลผลิต 1 ไร่ สร้างรายได้เกือบ 1 ล้านบาท” คุณสนอง บอก

พันธุ์อินทผลัมที่น่าปลูก

คุณสนอง บอกว่า อินทผลัมพันธุ์บาร์ฮี นับเป็นพระเอกหลักที่น่าปลูกมากสุดในเมืองไทย เพราะปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตมาก แต่เขาก็เก็บสะสมสายพันธุ์อินทผลัมอีก 7-8 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์กินผลสดหลากสีสัน ทั้งสีเหลือง สีส้ม และสีแดง ที่มีรสชาติอร่อย เพื่อเป็นสินค้าทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ เช่น “อัมเอ็ดดาฮาน (Un ed dahan)” เป็นพันธุ์ที่เติบโตไว โคนต้นใหญ่ ลำต้นแข็งแรง ให้ผลสดสีส้มเข้ม เนื้อกรอบนุ่ม รสหวาน มีเส้นใยน้อย ราคาขายหน้าฟาร์ม อยู่ที่กิโลกรัมละ 800 บาท

“สำหรับคนที่มีเงินทุนทรัพย์มาก อยากซื้ออินทผลัมไว้สะสมพันธุ์ ก็ไม่แปลกอะไร แต่คนที่มีข้อจำกัดเรื่องการเงิน อย่าไปหาซื้ออินทผลัมพันธุ์แปลกๆ มาปลูกสะเปะสะปะ เพราะเสี่ยงเจ๊งได้ เพราะอินทผลัมบางต้นเป็นสายพันธุ์ผลแห้ง ปลูกแล้วผลร่วงระเนระนาด เก็บผลขายก็ไม่ได้ เพราะผลอ่อน มีรสฝาด ท้ายสุดก็จำเป็นต้องถอนต้นทิ้ง เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ไม่คุ้มค่าเลย” คุณสนอง กล่าว

ราคาร่วงเหลือ 30-50 บาท/กิโลกรัม ก็ยังมีกำไร

เนื่องจาก อินทผลัม เป็นไม้ผลเศรษฐกิจตัวใหม่ของเมืองไทย และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ แต่ทุกวันนี้ เมืองไทยยังผลิตอินทผลัมเข้าสู่ตลาดได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการของตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าอินทผลัมผลสด ผลแห้ง จากต่างประเทศมาขายในไทย ในราคากิโลกรัมละ 500-600 บาท อยู่แล้ว

ทำให้เกษตรกรที่ปลูกอินทผลัมออกจำหน่ายสามารถตั้งราคาขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท สร้างแรงจูงใจให้ เกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกอินทผลัมกันอย่างกว้างขวาง จนหลายฝ่ายกังวลว่า ในระยะยาว อาจเผชิญกับวิกฤตผลผลิตล้นตลาดได้

คุณสนอง กล่าวว่า การขยายพื้นที่ปลูกอินทผลัมมากขึ้น ไม่น่าห่วงมากนัก เพราะไทยสามารถส่งออกอินทผลัมผลสดส่งขายกลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้

“หากเกิดกรณีขยายพื้นที่ปลูกมากจนเกิดภาวะผลผลิตล้นตลาดจริงๆ อาจทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัม จำเป็นต้องลดราคาขายลงได้ ในความเป็นจริงหากวิกฤตราคาตกต่ำ จนราคาอินทผลัมเหลือแค่ 30-50 บาท ต่อกิโลกรัม ผมคิดว่า เกษตรกรก็ยังอยู่ได้ เพราะหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ก็มีผลกำไรเหลืออยู่ ไม่น่าห่วงหรอกครับ”คุณสนอง กล่าวในที่สุด

ผู้สนใจ สามารถเยี่ยมชม “ไร่อินทผลัมเลิศรส” ได้ที่ บริษัท เลิศรส เบฟเวอเรจ อินเทสตี้ จำกัด ที่อยู่ เมื่อก่อนเคยได้ยินว่า ที่ประเทศมาเลเซีย สามารถปลูกขนุนให้ออกผลภายในปีเดียวได้ แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อกันนัก

ต่อมาเรื่องนี้เกิดขึ้นกับบ้านเรา มีเกษตรกรนำขนุนจากประเทศมาเลเซียมาแกะกินเนื้อ จากนั้นนำเมล็ดลงเพาะที่จังหวัดจันทบุรี ให้น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก หลังปลูกได้ปีเดียวขนุนให้ผลผลิตกับเจ้าของได้ จึงมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งเผยแพร่ พร้อมกับตั้งชื่อว่า “ทองทวีโชค” ชื่ออื่นๆ ก็มีคือ “ปีเดียวทะวาย” และ “แปดเดือนทะวาย”

ขนุนปีเดียวทะวาย ออกดอกติดผลเร็ว บางครั้งขณะที่ต้นพันธุ์อยู่ในถุง ก็มีดอกให้เห็น

เมื่อนำปลูกลงดิน ดูแลพอสมควร ภายใน 1 ปี มีดอกแน่นอน แต่การไว้ผลนั้นควรดูทรงพุ่มเป็นสิ่งตัดสินใจด้วย หากต้นเล็กอยู่ แต่ไว้ผลน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ต้นก็อาจจะโทรมได้ ขนุนปีเดียวทะวาย ออกผลผลิตต่อเนื่อง หากไว้ผลต่อต้นน้อย ผลมีขนาดใหญ่เหมือนกับขนุนพันธุ์อื่นๆ

เนื้อในขนุนปีเดียวทะวาย สีจำปา หากช่วงฝนอาจจะสีไม่เข้มนัก รสชาติหวาน

แนวทางการผลิตขนุนปีเดียวทะวายให้ได้รสชาติดี เจ้าของควรไว้ผลช่วงปลายฝน คือเดือนกันยายน-ตุลาคม พอถึงเดือนธันวาคม ฝนหยุด ดินแห้ง เมื่อเก็บเกี่ยวขนุน เนื้อขนุนจะแห้ง รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม

ข้อควรระวังนั้น อย่าไว้ผลมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรม ทางที่ดีควรไว้ผลในตำแหน่งกิ่งใหญ่ หรือบริเวณลำต้น

ขนุนปีเดียวทะวาย เหมาะปลูกในพื้นที่ไม่กว้างนัก สามารถตัดแต่งทรงต้นให้อยู่ในระดับที่เจ้าของต้องการได้ การดูแลขนุนที่ปลูก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ส่วนปุ๋ยเพิ่มความหวาน ขนุนมีรสชาติหวานอยู่แล้ว

ต้นพันธุ์ขนุนปีเดียวทะวาย มีจำหน่ายตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป เช่น แถวถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตก เลยห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปทางบางใหญ่ อีกจุดหนึ่งฝั่งตะวันตกของถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เช่นกัน อยู่ตรงข้ามกับอู่รถไฟฟ้าสายสีม่วง

สหกรณ์เดินหน้าโครงการปลูกข้าวโพดหลังนา ลดพื้นที่ปลูกข้าว นำร่อง 2 จังหวัด พื้นที่กว่า 5.8 พันไร่ เชื่อมั่นยกระดับราคาข้าวสูงขึ้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินเครื่องส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์ปลูกข้าวโพดหลังนา เพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าว-ดันราคาให้สูงขึ้น ตลอดจนเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ นำร่องใน 2 จังหวัดพิษณุโลก- อุตรดิตถ์ พื้นที่ร่วม 5.8 พันไร่

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นที่ตลาดต้องการ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสมาชิกมีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อยและแนวโน้มของตลาดมีความต้องการสูง

โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ขานรับนโยบายและเร่งดำเนินการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ปี 2560/61 ในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด รวม 5,800 ไร่ คือ จังหวัดพิษณุโลก 2,800 ไร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ 3,000 ไร่ โดยให้สหกรณ์เป็นตัวกลางในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ส่งเสริมการผลิต การดูแลพื้นที่เพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การรวบรวมผลผลิต ตลอดจนจัดหาตลาดมารองรับ ซึ่งปีฤดูกาลผลิต 2560/61 จะเป็นปีแรกที่เริ่มดำเนินการ เน้นพื้นที่เขตชลประทาน

สำหรับโดยจังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่เป้าหมายปรับเปลี่ยนข้าวโพดหลังนา ใน 4 อำเภอ 18 สหกรณ์ พื้นที่รวม 13,280 ไร่ โดยจะให้สหกรณ์เป็นตัวกลางในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ส่งเสริมการผลิต การดูแลพื้นที่เพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การรวบรวมผลผลิต ตลอดจนจัดหาตลาดมารองรับ ซึ่งปีฤดูกาลผลิต 2560/61 จะเป็นปีแรกที่เริ่มดำเนินการ เน้นพื้นที่เขตชลประทาน

ส่วนจังหวัดพิษณุโลก มีเป้าหมาย การเพาะปลูก รวม 2,800 ไร่ ในพื้นที่สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเพาะปลูกในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2561 โดยแนวทางการดำเนินงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เตรียมการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ นำไปให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อเป็นทุนเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยรายละ 3,000 บาท ต่อไร่ โดยได้เน้นย้ำให้เกษตรกรสมาชิกควบคุมดูแลคุณภาพผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น อีกด้วย
นายพิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยพืชหนึ่ง ผลผลิตร้อยละ 95 ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ เพื่อการบริโภคของประชากรภายในประเทศ และการส่งออก คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ต่อปี ปัจจุบันการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยยังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ กล่าวคือผลิตได้เพียงปีละ 4-5 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการอยู่ที่ 6-8 ล้านตัน ต่อปี และมีแนวโน้มขยายตัวตามปริมาณการเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2559/60 คาดว่าความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีประมาณ 7.41 ล้านตัน

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดและสหกรณ์ ชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกสหกรณ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เป้าหมาย การสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับเรื่องของตลาดและราคารับซื้อผลผลิตที่เป็นธรรม การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการผลิตที่เน้นหลักวิชาการ ซึ่งสหกรณ์จะเข้ามาดูแลพื้นที่แปลงเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อบริหารจัดการในทุกกิจกรรมการผลิตร่วมกับเกษตรกรสมาชิก เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ

อย่างไรก็ตาม อยากเตือนไปยังเกษตรกร จะต้องระมัดระวังเรื่องคุณภาพ การใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว ควบคุมคุณภาพเมล็ดในเรื่องของความชื้นสูง เพราะจะทำให้แตกหักง่าย และระวังการเกิดอะฟลาท็อกซินซึ่งมีผลต่อเสถียรภาพด้านราคาได้
“โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ปี 2560/61 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ และกระจายผลผลิตให้ออกสู่ตลาดสม่ำเสมอไม่กระจุกตัว จากสัดส่วน 72 : 23 : 5 : เป็น 30 : 20 : 50 ตลอดจนเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หมุนเวียนในระบบปลูกข้าว” นายพิเชษฐ์ กล่าว

ด้าน นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า สหกรณ์ได้จัดประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ปี 2560/61 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีรายได้ที่มั่นคง จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สลับกับการทำนา โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก และสมาชิกสหกรณ์ 200 คน ณ สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

โดยสหกรณ์จะทำการคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ตรวจสอบคุณสมบัติและข้อมูลสภาพพื้นที่การเพาะปลูกที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตร การจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรสมาชิก เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การคัดเลือกพันธุ์เพาะปลูกให้เหมาะกับสภาพพื้นที่และรอบการผลิต การตรวจติดตามแปลง การตรวจติดตามคุณภาพ และการบริหารจัดการตลาด โดยสหกรณ์เป็นจุดรวบรวมรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก โดยในเบื้องต้น สหกรณ์ได้เตรียมแผนที่จะสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกรใช้เป็นทุนในการเพาะปลูกข้าวโพดอีกด้วย

ณรงค์ ตนานุวัฒน์ เป็นนักธุรกิจชาวเชียงใหม่ บริหารกิจการของครอบครัวเจริญรุ่งเรืองดีทั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ศูนย์การค้าขนาดกลาง จนต่อมาก็ไปลงทุนทำร้านอาหารใหญ่โตที่เมืองลาว ขายดิบขายดี และมีความสุขกับการทำธุรกิจในลาวจนคิดอยากทำธุรกิจอื่นอีก

ขณะเดียวกันเจ้าตัวเป็นกรรมการในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในภาคเหนือ ทำให้ได้พบครูบาอาจารย์จำนวนมาก และมีโอกาสศึกษาทดลองปลูกกัญชงในพื้นที่สูง ได้พบเห็นว่ากัญชงนั้นมีประโยชน์เพียงใด

“เขาพาไปดูชาวม้งปลูกและแปรรูปกัญชง เห็นเขาลอกเปลือกกัญชงไปทำสิ่งทอ แต่เอาแก่นมาเผาทิ้ง เห็นเรารันทด เลยใช้เงินส่วนตัวร่วมกับทุนของ สวทช. มาวิจัยว่า จะเอาแก่นมาทำอะไรได้บ้าง จนออกมาเป็นแผ่นอัดที่สามารถทำเป็นพาร์ติเคิลบอร์ดหรือเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างดี”

จากนั้นเจ้าตัวยังได้ติดสอยห้อยตามนักวิชาการไปประชุมเฮมพ์หรือกัญชงโลกที่เยอรมนี และพบว่า กัญชง หรือเฮมพ์ นี้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันอยู่ทุกมุมโลก และประเทศส่วนใหญ่ประกาศให้เป็นพืชถูกกฎหมาย นอกจากบางประเทศรวมทั้งไทยที่ยังรวมเอากัญชงนี้เข้าไปอยู่ในหมวดเดียวกันกับกัญชา และจัดเป็นพืชเสพติดผิดกฎหมาย ทำให้เสียประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจนี้อย่างมาก

แต่หลังจากรู้ถึงประโยชน์มหาศาล คือตั้งแต่เมล็ดยันเปลือก ณรงค์ ก็แสวงหาที่ดินที่จะปลูกกัญชงนี้เชิงเศรษฐกิจ และก็ไปเจอที่ดินมหาศาลบนภูเขาควาย นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่ตัวเองทำธุรกิจอยู่แล้ว

จึงขอเช่าที่ดินบนภูเขาควาย 400 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี เพื่อปลูกและทำวิจัยกัญชง ส่งออกจำหน่ายตลาดโลก จดทะเบียนบริษัท ลาวเฮมพ์ จำกัด เริ่มลงมือเมื่อ 2 ปีก่อน ปลูกแล้วราว 200 ไร่

นอกจากปลูกที่ภูเขาควายแล้ว ยังจะส่งเสริมให้ชาวลาวปลูกทั่ว 17 แขวง และ 1 เขตเศรษฐกิจ ลาวมีชาวเขาอยู่มาก คุ้นเคยกับกัญชงเป็นอย่างดี ตอนนี้ก็มีปลูกกันบ้างแล้วทางตอนเหนือคือ แขวงหัวพัน

พืชสารพัดประโยชน์เรื่องไม่มาก

“กัญชง ทำให้ได้เกือบทุกอย่าง สมัคร GClub เส้นใยเหนียวมาก ทำเชือก ทำสิ่งทอได้ทุกอย่าง เมล็ดทำเครื่องสำอาง เครื่องตกแต่ง หมวก รองเท้า ใช้ได้ทุกส่วน เมล็ดใช้ทำยาและอาหารเสริม แกนทำกระดาษ วัสดุก่อสร้าง เป็นไบโอไฟเบอร์คุณภาพสูง ไม่ต้องพึ่งพาเคมี”

ขั้นตอนการทำฟาร์มกัญชง ไม่มีอะไรมากไปกว่าปลูก เก็บเกี่ยว ลอกเปลือก แช่ ล้าง ปั่น ถักทอ แต่ก็ใช่ว่าจะง่าย “ปีแรกปลูกแล้วตายหมด ต้องทำไปเรียนรู้ไป น้ำที่เขาควายดี แต่ดินยังต้องปรับปรุงให้เหมาะกับกัญชง

เอกสารจากสำนักพัฒนาพื้นที่สูงของไทย ลองเปรียบเทียบปริมาณเส้นใย ระหว่างกัญชงกับฝ้าย ในระยะเวลา 1 ปี เท่ากัน พบว่า ปลูกกัญชง 10 ไร่ ให้เส้นใยเท่ากับฝ้าย 20-30 ไร่ เส้นใยกัญชงมีคุณภาพดีกว่าเส้นใยจากฝ้าย เส้นใยกัญชงยาวเป็น 2 เท่า ของเส้นใยฝ้าย มีความแข็งแรงและความนิ่มกว่าฝ้าย ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชง 100% เช่น เสื้อเชิ้ต กางเกง กระเป๋า

ในด้านเทคนิคการเพาะปลูก เมื่อเทียบกับฝ้าย ฝ้ายต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมและน้ำมากกว่าการปลูกกัญชง ฝ้ายยังต้องการสารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ซึ่งนักเกษตรพบว่า ประมาณ 20% ของสาร กำจัดศัตรูพืชที่ใช้อยู่ในโลกถูกใช้ในการเพาะปลูกฝ้าย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมในขณะที่การปลูกกัญชงไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช จะใช้เพียงปุ๋ยและน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าการปลูกกัญชงยังเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินที่ใช้เพาะปลูกอีกด้วย

การปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำกระดาษ จะเป็นตัวอย่างด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมชัดเจน พืชที่ใช้ทำกระดาษคุณภาพดี อาทิ สน ยูคาลิปตัส และปอกระสา ล้วนเป็นพืชยืนต้น การเจริญเติบโตช้ามากเมื่อเทียบกับกัญชง กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ต้องปลูกเป็นลักษณะสวนป่า ใช้เวลานานหลายปี ปอกระสาประมาณไม่น้อยกว่า 3 ปี ยูคาลิปตัสและสน ประมาณ 6-8 ปี การปลูก ก็ต้องใช้พื้นที่มาก และเมื่อตัดไม้แล้ว จะฟื้นคืนคุณภาพพื้นที่ได้ยาก ปลูกซ้ำได้ไม่กี่ครั้ง เพราะจะมีเหง้าและตออยู่ทำให้ดูเป็นลักษณะทำลายสิ่งแวดล้อม