ประเทศไทยปลูกอบเชยในลักษณะที่มีการตัดแต่งให้ต้นอบ

มีหลายต้นต่อกอ อบเชยเป็นพืชที่เอาส่วนของเปลือกลำต้น และเปลือกกิ่งมาใช้ประโยชน์ การตัดแต่งกิ่งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนกิ่งต่อต้นให้มากขึ้น ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2 เมตร และระหว่างแถว 2 เมตร เมื่ออบเชยมีอายุ 2-3 ปี ให้ตัดลำต้นออก ให้เหลือตอสูงจากพื้นดิน 10-15 เซนติเมตร แล้วกลบดินให้มิดเพื่อเร่งการแตกกิ่งใหม่ เมื่อกิ่งแตกออกมาแล้วให้เลือกกิ่งที่ตรง และมีการเจริญเติบโตที่ดีไว้เพียง 4-6 กิ่ง เลี้ยงกิ่งเหล่านี้ไว้จนมีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-5 เซนติเมตร จึงเก็บเกี่ยว ในระหว่างนี้ต้องคอยตัดกิ่งข้างออก เพื่อให้ได้กิ่งกระโดงที่ตรงดี ทำเช่นนี้ไปจนผลผลิตต่ำลงจึงรื้อแปลงปลูกใหม่

ดูแลรักษาอย่างไร

ควรให้น้ำในฤดูแล้ง และคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น กำจัดวัชพืชเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะประเภทเถาเลื้อย ให้ปุ๋ยผสม อัตราส่วน 2:1:1 ในช่วงปีที่ 1 ปริมาณ 32 กิโลกรัม ต่อไร่ ปีที่ 4 ใช้อัตรา 64 กิโลกรัม ต่อไร่ และอัตรา 96 กิโลกรัม ต่อไร่ ในปีที่ 3 แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและปลายฤดูฝน และควรใช้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง เช่นกัน ข้อควรระวัง คือหากใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อกลิ่นของเปลือกอบเชยได้

วิธีการเก็บเกี่ยวและการลอกเปลือกอบเชย

อบเชย เก็บเกี่ยวในฤดูฝน สังเกตใบอ่อนสีแดงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ควรตัดกิ่งตอนเช้า ใช้มีดตัดทดสอบกิ่งดูจะพบว่ามีน้ำเมือกออกมาจากรอยตัด แสดงว่าเป็นช่วงที่เหมาะสม หรืออาจทดสอบโดยใช้ปลายมีดแงะเปลือกว่าลอกง่ายหรือไม่ กิ่งที่เหมาะสมในการตัดควรมีอายุกิ่งประมาณ 9-12 เดือน มีเส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งประมาณ 3 เซนติเมตร มีเปลือกสีน้ำตาลอ่อน มีกระขาวที่เปลือก ตัดเหนือดินประมาณ 6-10 เซนติเมตร กิ่งยาวประมาณ 2 เมตร ลิดกิ่งข้างและใบออก ส่วนที่ลิดออกสามารถนำไปกลั่นน้ำมันหอมระเหยได้

ลอกเปลือกโดยนำกิ่งที่ตัดมาขูดผิวเปลือกออกด้วยมีดโค้ง ทำด้วยสแตนเลสหรือทองเหลือง นวดเปลือกที่ขูดผิวแล้วด้วยแท่งทองเหลืองเพื่อให้เปลือกลอกออกจากส่วนของเนื้อไม้ได้ง่าย และช่วยให้เกิดการแตกตัวของเซลล์เปลือก ทำให้มีกลิ่นหอม ใช้มีดควั่นรอบกิ่งเป็นช่วงๆ ด้านบนและล่างห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ถ้าสามารถลอกเป็นแผ่นยาวได้ตลอด ก็ไม่ต้องควั่นเป็นช่วง ใช้ปลายมีดกรีดตามยาวจากรอยควั่นด้านบนมาด้านล่างทั้งสองข้างของกิ่ง ใช้มีดปลายมนค่อยๆ แซะเปลือกให้หลุดจากเนื้อไม้ จะได้เปลือกขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ชิ้น ทำเช่นนี้จนหมดกิ่ง ในการลอกแต่ละครั้งจะมีเศษของเปลือกซึ่งไม่สามารถลอกให้เป็นแผ่นได้ เช่น ตามรอยข้อของกิ่งหรือปุ่มปม ส่วนนี้จะใช้บรรจุอยู่ในเปลือกที่ลอกได้อีกครั้ง ในการตัดกิ่งแต่ละครั้งควรลอกให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว ถ้าทิ้งข้ามวันจะทำให้ลอกเปลือกยาก

การบ่ม และการม้วนเป็นแท่ง (quill)

นำเปลือกที่ลอกได้มามัดเป็นกำและห่อด้วยกระสอบป่านเพื่อเก็บความชื้นและทิ้งไว้ในร่ม 1 คืน เพื่อบ่มให้เปลือกเกิดการเหี่ยวและหดตัว นำเปลือกที่เป็นแผ่นสมบูรณ์เรียงซ้อนเกยต่อๆ กัน โดยใช้ปลายเล็กซ้อนปลายใหญ่ และใช้เศษเปลือกที่ลอกได้ชิ้นเล็กๆ บรรจุภายในเปลือกเรียงต่อกันไปจนได้ความยาวแท่งประมาณ 42 นิ้ว ใช้มือคลึงม้วนให้เป็นแท่งตรง ลักษณะการม้วนตัวของเปลือกแห้งนี้เรียกว่า quill ผึ่งในร่มที่มีลมโกรกดี และหมั่นนำมานวดคลึงและกดให้แน่นทุกวันจนแห้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน อบเชยจึงแห้งสนิท ไม่ควรนำไปตากแดดในช่วงนี้ เพราะจะทำให้เปลือกแห้งเร็วเกินไป และเกิดการโก่งงอไม่เป็นแท่งตรง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดี หลังจากนั้น นำแท่งอบเชยนี้ไปตากแดดอีก 1 วัน เพื่อให้แห้งสนิท โดยใช้กระสอบป่านคลุมเพื่อป้องกันความร้อนที่อาจมีผลต่อน้ำมันหอมระเหยได้

ผลผลิตเปลือกอบเชยแห้ง 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ เปลือกที่ลอกออกจากส่วนกลางของลำต้นที่ขึ้นอยู่บริเวณกลางของกอ จะให้อบเชยแห้งที่มีคุณภาพดีที่สุด

ตลาด และคุณภาพ อบเชย ที่ใช้เพื่อบริโภคในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เป็นต้น ในรูปอบเชยไม่บดหรือป่นและอบเชยบดหรือป่น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้แต่งกลิ่นขนม เหล้า เภสัชภัณฑ์ สบู่ ยาขับลม ยาหอม ยานัตถุ์

ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีการส่งออกอบเชย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอบเชยบดหรือป่น ประเทศคู่ค้าหลักคือ สหรัฐอเมริกา คุณภาพของอบเชยที่ตลาดต้องการขึ้นอยู่กับขนาด ความยาว สี กลิ่น ความสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน แมลง และเชื้อราทำลาย มีสีเหลืองเข้มสม่ำเสมอ ไม่ดำคล้ำ แท่งอบเชยควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีความหนาเปลือกสม่ำเสมอ หากเรามีการปลูกอบเชยได้จะสามารถทดแทนการนำเข้าได้หลายสิบล้านบาท ตลาดและผู้รับซื้อในประเทศ ได้แก่ ตลาดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ

การซื้อขายในตลาดโลกนอกจากเปลือกแห้งแล้ว ยังมีน้ำมันอบเชยเทศ (Cinnamon bark oil) ได้จากเปลือกอบเชยเทศ นำมากลั่นด้วยไอน้ำ ให้น้ำมันร้อยละ 0.5-1 ใช้แต่งกลิ่นขนม เป็นยาขับลม น้ำมันใบอบเชยเทศ (Cinnamon leaf oil) ได้จากใบสดกลั่นด้วยไอน้ำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและสบู่ เป็นแหล่งที่มาของยูจีนอล (Eugenol) เพื่อนำไปสังเคราะห์สารวานิลลิน (Vanillin) หรือวานิลลาสังเคราะห์

ฝรั่งเชื่อว่า อบเชย เป็นเครื่องเทศที่เหมาะแก่การเชื่อมช่องว่างระหว่างรสหวานและรสเปรี้ยว อบเชยใช้ผสมกับกาแฟ ช็อกโกแลต และชงกินเป็นน้ำชาอบเชย ใส่อบเชยในอาหารหรือเครื่องดื่มบ้าง…ช่วยทำให้รู้สึกมีงานฉลองและหรูหราดี!!

สภาพอากาศเย็น มีความชื้น มีหมอกลงจัด และอาจจะมีฝนตกในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยอาการเริ่มแรกด้านบนใบเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำ สีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาจุดกลางแผลขยายเป็นแผลแห้งขนาดใหญ่สีน้ำตาล ขอบแผลฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบในบริเวณตรงกัน บริเวณขอบแผลจะพบละอองน้ำเล็กๆ สีขาวใสติดอยู่ และแผลขยายลุกลามออกไปจนทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

กรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็น มีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่นๆ ทำให้มองเห็นใบมันฝรั่งไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อมในแปลง ส่วนลำต้นและกิ่งก้านที่พบอาการของโรค แผลมีสีน้ำตาลหรือสีดำ หากระบาดรุนแรง จะทำให้ลำต้นหรือกิ่งหักพับและแห้งตายอย่างรวดเร็ว ถ้าโรคเข้าทำลาย ที่หัว จะทำให้หัวมันฝรั่งเน่าเสียได้

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนต้นแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไซมอกซานิล+แมนโคแซบ 8%+64% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม 64% + 4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไอโพรวาลิคาร์บ + โพรพิเนบ 5.5% + 61.3% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ พ่นทุก 5-7 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และควรใช้สารสลับชนิดกัน เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค ส่วนการให้น้ำควรงดให้น้ำในตอนเย็นและการให้น้ำที่มากเกินไป

สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และใส่ปูนขาวเพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก เกษตรกรควรใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

ส้มโอ จัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ปลูกส้มโอต้องดูแลอย่างไร ตลาดดีแค่ไหน สามารถหาคำตอบได้จาก กิจการสวนส้มโอเงินล้าน ของ คุณปรีชา-คุณพจมาน เศรษฐโภคิน สองสามีภรรยาเจ้าของกิจการส้มโอสวนสระแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 4 ถนนสุวรรณศร ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว

ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมกิจการได้ทุกวัน การเดินทางไปสวนแห่งนี้ไม่ยาก เพราะแค่ใช้เส้นทางถนนสาย 33 หลัก กม. ที่ 223 เกือบจะ 224 ค่ะ สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านหลัง อบต.บ้านแก้ง อ. เมือง จ. สระแก้ว หากไม่มั่นใจในเส้นทาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 089-984-2621 หรือค้นหาข้อมูลจากเฟซบุ๊ก “ส้มโอ สวนสระแก้ว”

จากมนุษย์เงินเดือนสู่อาชีพเกษตรกร

คุณปรีชา เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า ผมเรียนสายสัตวบาล ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังเรียนจบก็ทำงาน ซีพี เมื่อ ปี 2515 นับเป็นพนักงานสัตวบาลรุ่นแรกที่บุกเบิกธุรกิจฟาร์มหมูของซีพี ต่อมาจีนเปิดประเทศ ถูกย้ายไปคุมโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่จีนนาน 18 ปี การงานก้าวหน้าจนได้ตำแหน่ง รองประธานเขตประเทศจีน ก่อนตัดสินใจลาออกก่อนเกษียณอายุ เพื่อทำอาชีพเกษตรกรรมตามความฝันของตัวเอง ที่จังหวัดสระแก้ว

เมื่อ 12 ปีก่อน คุณปรีชา เริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมโดยการลงทุนทำฟาร์มหมู จำนวน 6,000 ตัว เนื้อที่ 30 ไร่ ควบคุมการเลี้ยงด้วยระบบอัตโนมัติ ควบคุมอากาศ ระบบน้ำ และการให้อาหาร ใช้คนดูแลฟาร์มหมูแค่ 5 คน ต่อมาได้ซื้อที่ดินรอบฟาร์มเพิ่มเป็น 300 ไร่ เพราะเป็นเขตกันชนป้องกันกลิ่นระหว่างฟาร์มหมูกับบ้านเรือนประชาชน และแบ่งพื้นที่ 200 ไร่ ทำสวนส้มโอ ใช้ขี้หมูที่เลี้ยงในฟาร์มมาใช้เป็นปุ๋ยคอกบำรุงต้นส้มโออีกทางหนึ่ง

เมื่อคุณปรีชาอาศัยการเรียนรู้เรื่องการปลูกดูแลส้มโอจากสวนส้มโอส่งออกของกลุ่มพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งแสลงพันธุ์ จ.ลพบุรี และเกษตรกรที่เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกส้มโอในจังหวัดต่างๆ

คุณปรีชา เล่าว่า ผมลงทุนทำสวนส้มโอโดยใช้หลักการเดียวกับการทำฟาร์มหมู เริ่มจากคัดเลือกส้มโอพันธุ์ดีมาปลูก ผมเลือกส้มโอพันธุ์ทองดี เพราะมีคุณภาพดี ขนาดลูกพอเหมาะ 1 ตู้ สามารถส่งออกได้ถึง 20 ตัน ส้มโอทองดี มีลำต้นแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี จำนวนลูกต่อต้นมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แถมมีรสชาติอร่อย สามารถส่งขายได้ทั่วโลก

ใช้ปุ๋ยขี้ไก่บำรุงต้นส้มโอ คุณปรีชาได้เลือกซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดีไร้เมล็ดของเครือซีพี จึงซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอของซีพีมาปลูกที่สวนสระแก้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ ซีพี มาช่วยดูแลจัดระบบการปลูก โดยปลูกในลักษณะแปลงยกร่อง เพราะต้นส้มโอไม่ชอบน้ำขัง ต้นส้มโอชอบดินที่ค่าความเป็นกรดอ่อนๆ ประมาณ 5.5-6.5 เนื่องจากสภาพดินของสวนแห่งนี้ มีสภาพเป็นกรดสูงทำให้ต้นส้มโอที่ปลูกในระยะแรกเจอโรคและแมลงเยอะมาก จึงใช้ปุ๋ยขี้หมูที่มีสภาพเป็นด่าง ประมาณ 8 มาปรับสภาพดินทำให้ต้นส้มโอเติบโตสมบูรณ์ ทนทานต่อโรคแมลงมากขึ้น

คุณปรีชา จะยึดหลักจัดการสวนส้มโอ โดย “ขึ้นน้ำวันพ่อ และเก็บเกี่ยววันแม่” เริ่มจากขึ้นน้ำต้นส้มโอในวันพ่อ คือ 5 ธันวาคม ช่วงเดือนมกราคม ต้นส้มโอก็จะผลิดอก ต้องใช้เวลาอีก 7 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บผลผลิตออกขายได้ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ต้นส้มโอจะเริ่มเก็บผลผลิตรุ่นแรก 30 ลูก/ต้น ก้าวสู่ปีที่ 5 ได้ผลผลิตเพิ่มเป็นปีละ 50 ลูก/ต้น ปีที่ 6 ได้ปีละ 80 ลูก /ต้น ปีที่7 ก็บได้ปีละ 100 ลูก/ต้น ก้าวเข้าสู่ปีที่ 8-10 เก็บได้ผลผลิตได้ปีละ 120-150 ลูก/ต้น ปีที่ 12 เก็บได้ปีละ 200 ลูก/ต้น

คุณปรีชา คาดหวังว่า ส้มโอสวนสระแก้วจะสามารถเก็บผลผลิต 200 ลูก/ต้น/ปี ไปอย่างต่อเนื่องไปอีก 20 ปี เพราะเคยไปเยี่ยมชมสวนส้มโอของเกษตรกรรายหนึ่งที่จังหวัดปราจีนบุรียังให้ผลผลิตที่ดี เฉลี่ยปีละ 500 ลูก/ต้น แม้จะเป็นต้นส้มโอเก่า อายุ 25 ปี แต่มีสภาพต้นสมบูรณ์ปลูกในระยะห่าง 12X12 เมตร และมีระบบบริหารจัดการที่ดี ทั้งปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ต่อวัน ให้น้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 100 ลิตร

การปลูกส้มโอให้มีคุณภาพดีและมีรสชาติอร่อย หัวใจสำคัญไม่ได้แค่ให้ปุ๋ย ให้น้ำแก่ต้นส้มโอ แต่ต้องรู้จักธรรมชาติของต้นส้มโอด้วย โดยทั่วไป ต้นส้มโอไม่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะต้นส้มโอไม่ชอบสภาพอากาศที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หากฝืนปลูก จะได้ผลส้มโอที่มีเปลือกเหลืองและมีรสชาติเปรี้ยว

คุณปรีชา ยกตัวอย่าง เช่น ส้มโอเวียงแก่น ก็เจอปัญหาในลักษณะนี้ กลุ่มตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอเวียงแก่นเคยเดินทางมาเยี่ยมชมสวนส้มโอคุณปรีชาหลายครั้งแล้ว เพื่อพูดคุยแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งคุณปรีชาเสนอทางเลือกในหลายแนวทาง เช่น เปลี่ยนสายพันธุ์ส้มโอ หรือดูแลจัดการไม่ให้ต้นส้มโอผลิดอกในช่วงฤดูหนาว โดยใช้วิธีการยกคันดินขึ้นมา เพื่อควบคุมการให้น้ำ

สวนส้มโอทั่วไปจะได้ผลผลิตลดลงเพราะผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากต้นส้มโอไม่ชอบสภาพอากาศร้อน ทำให้ต้นส้มโอติดดอกออกผลน้อยลง คุณปรีชา พยายามลดความสูญเสียหาย โดยเสี่ยงไม่ให้ต้นส้มโอผลิดอกในช่วงหน้าแล้ง โดยอาศัยหลักการควบคุมน้ำ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวหน้าสูงแทน

ส้มโอทองดี ให้ผลตอบแทนสูง

การลงทุนทำสวนส้มโอเนื้อที่ 200 ไร่ แห่งนี้ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 60 ล้านบาท เป็นค่าที่ดิน ค่าขุดบ่อน้ำ ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าวางระบบน้ำ ฯลฯ กิจการนี้ สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 10 ปี ปัจจุบัน ส้มโอสวนสระแก้วใช้เงินลงทุนหมุนเวียนในบริหารจัดการสวน (เงินเดือนคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าปุ๋ย) อีกปีละ 6 ล้านบาท ขายผลผลิตได้ปีละ 20 ล้านบาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด เหลือผลกำไรปีละ 14 ล้านบาท เฉลี่ยผลตอบแทน ไร่ละ 100,000 บาท ถือว่า ส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในการลงทุนจริงๆ เพราะใช้เงินลงทุนปลูกเพียงครั้งเดียว แต่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานถึง 25 ปี แถมให้ผลตอบแทนต่อปีสูงมาก เมื่อเทียบกับไม้ผลเมืองร้อนชนิดอื่นๆ

คุณปรีชา ได้น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาใช้เป็นพิมพ์เขียวบริหารจัดการสวนแห่งนี้ คือ ขุดบ่อน้ำ สำหรับเลี้ยงปลาและมีน้ำใช้สอย ทำนา ปลูกป่า ปลูกผัก ปลูกบ้าน และปลูกไม้ผล

ปัจจุบัน สวนสระแก้วแบ่งเนื้อที่ 6 ไร่ สำหรับทำนาข้าว สร้างป่าไม้ 40 ไร่ รอบสวน โดยให้เหตุผลว่า ผืนป่า 1 ไร่ เนื้อที่ 1,600 ตร.ม. ปลูกไม้ยืนต้น รวมทั้งต้นหญ้าจะช่วยเก็บกักน้ำไว้ใต้ดิน 400 ตัน ที่นี่พัฒนาแหล่งน้ำเนื้อที่ 24 ไร่ ตามทฤษฎีแก้มลิง คือ ขุดบ่อน้ำในพื้นที่ต่ำ ตามสภาพภูมิประเทศ

คุณปรีชา บอกว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้ใช้น้ำจากบ่อบาดาล จำนวน 3 บ่อ แต่ละวันหมู 6,000 ตัว ต้องใช้น้ำ 230 ลิตร สวนส้มโอเนื้อที่ 200 ไร่ ปลูกส้มโอประมาณ 5,000 ต้น โดยทั่วไป ต้นส้มโอจะใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน สำหรับส้มโอที่ปลูกในพื้นที่ภาคกลางจะต้องให้น้ำ เฉลี่ยปีละ 200 วัน

ปลูกส้มโอ เน้นเจาะตลาดคนรวย

“ผลไม้ เป็นสินค้าตลาดคนรวย ผมปลูก ส้มโอ ขายคนมีเงิน ที่สำคัญ ส้มโอเป็นผลไม้ที่ผู้คนทั่วโลกกินได้ หากเก็บส้มโอที่อุณหภูมิ 5-10 องศาเซลเซียส จะมีอายุการเก็บรักษานานถึง 2 เดือน โดยรสชาติยังดีอยู่ จึงไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องตลาดมากนัก เพราะส้มโอมีอายุการขายที่ยาวนานกว่าผลไม้ชนิดอื่น สามารถส่งออกทางเรือนาน 1 เดือน ยังเหลือเวลาการขายอีกเกือบเดือน รัฐบาลควรส่งเสริมเกษตรกรปลูกส้มโอ เป็นผลไม้เศรษฐกิจ” คุณปรีชา กล่าว

หากปลูกส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ จะกลายเป็นสินค้าส่งออกขายผู้คนทั่วโลก 7 พันล้านบาท แต่ละประเทศมีจำนวนเศรษฐีไม่เท่ากัน แค่ขายคนรวยทั่วโลก สัก 5 เปอร์เซ็นต์ ก็เท่ากับมีลูกค้า 1,300 ล้านคนแล้ว เท่ากับหนึ่งประเทศไทย ปัจจุบันส้มโอของสวนสระแก้ว ส่งออกไปขายตลาดจีน ญี่ปุ่น

ปัจจุบัน ส้มโอสวนสระแก้ว กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกส้มโอส่งออกให้กับเกษตรกรที่สนใจและนักศึกษาสาขาเกษตรได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องการปลูกและบริหารจัดการสวนแบบมืออาชีพ คุณปรีชาได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพปลูกพืชไร่ ประเภทมันสำปะหลังเป็นหลัก แต่รายได้ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว

“ผมส่งเสริมความรู้แนวคิด เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่น โดยให้แต่ละครอบครัวปลูกพืชผักอย่างน้อยครอบครัวละ 1 ไร่ เช่น มะละกอ ผักกุยช่าย ฯลฯ จะมีรายได้ไร่ละ 50,000 บาท และส่งเสริมปลูกส้มโอ เพราะเป็นผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ถึงไร่ละ 100,000 บาท” คุณปรีชา กล่าวในที่สุด

“แอปเปิ้ลเมล่อน” พืชตระกูลแตง SaGame เป็นไม้ผลที่ชอบอากาศร้อน เติบโตได้ดีในสภาพดินทราย แถมให้ผลผลิตที่ดีคุ้มค่ากับการลงทุน ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี หันมาปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนอย่างแพร่หลาย

แอปเปิ้ลเมล่อน เป็นผลไม้ที่ขายง่ายและมีช่องทางตลาดกว้าง เพราะผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ไม่นิยมบริโภคเมล่อนผลใหญ่ แค่ต้องการเมล่อนผลเล็กสำหรับใช้ไหว้พระ ไหว้เจ้า ซึ่งแอปเปิ้ลเมล่อนตอบโจทย์ตลาดในประเด็นดังกล่าวได้อย่างดี เพราะแอปเปิ้ลเมล่อนมีผลขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ยลูกละ 400-500 กรัม หรือประมาณ 2-3 ผล/ก.ก.

นอกจากนี้ แอปเปิ้ลเมล่อน ยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวและมีความหวาน 12-14 บริกซ์ แอปเปิ้ลเมล่อนมีเนื้อสีเขียวอมขาวรสชาติหวานกรอบ แถมใช้เวลาปลูกดูแลแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 65 วัน หลังหยอดเมล็ด เรียกว่า ให้ผลผลิตไว และให้ผลตอบแทนที่ดี คุ้มค่ากับการลงทุน แถมเป็นผลไม้ที่มากคุณประโยชน์ ครองใจกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกต่างหาก

แอปเปิ้ลเมล่อน ปลูกได้ 2 รูปแบบ

เกษตรกรในจังหวัดราชบุรี ปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนใน 2 รูปแบบ คือ 1. ปลูกในระบบโรงเรือน โดยทำค้างเพื่อให้ผลแอปเปิลเมล่อนห้อยลงมาทำให้มีผิวสวยได้ขนาดไม่มีตำหนิ และยังเป็นการป้องกันแมลง ป้องกันฝน รูปแบบที่ 2 คือ ปลูกกลางแจ้งนอกโรงเรือน ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่มีจุดอ่อนคือ ผลแอปเปิ้ลเมล่อนอยู่ติดดิน เสี่ยงทำให้ผิวผลผลิตไม่ค่อยสวยเหมือนกับการปลูกในโรงเรือน เกษตรกรนิยมวางแผนการผลิตเป็นรุ่นๆ ละ 2-3 ไร่ ทยอยปลูกห่างกันประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี

การปลูกดูแล เมล็ดพันธุ์ เป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญมาก เกษตรกรนิยมเลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดเชื้อโรค สามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ได้ทันที หลายรายนิยมเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์แอปเปิ้ลเมล่อน จาก บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีต้นทุนการผลิต ประมาณ 1 บาทกว่า ต่อเมล็ด