ประโยชน์ของ อะเซโรล่าเชอรี่ผลไม้แห้งการต่อต้านอนุมูลอิสระ

เราทราบกันดีว่า อนุมูลอิสระเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเสื่อมถอยลง เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ต้นเหตุของริ้วรอยเหี่ยวย่นซึ่ง อะเซโรล่าเชอรี่ มีสารที่เรียกว่า ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) สารตัวนี้จะทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินซี ช่วยเกิดกลไกต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกายของคุณเซลล์ของคุณจึงได้รับการปกป้อง มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น

2. ชะลอผิวพรรณให้แลดูอ่อนเยาว์… เป็นผลไม้ที่ควรค่าแก่การบริโภคมากๆ เพราะช่วยให้ผิวกระชับ เต่งตึง ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย เนื่องจากอะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola cherry Extract)จะช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวของคุณมีความยืดหยุ่นนั่นเอง ผิวจึงเนียนละเอียดมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้น รอยเหี่ยวย่นต่างๆ ลดลง

3. สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี… อย่างที่ทราบว่า โรคมะเร็ง ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ อาจเกิดจากการทำงานของเซลล์ที่เสื่อมลง ภูมิคุ้มกันลดลง อะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola cherry Extract) มีสารที่ยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง รวมถึงช่วยยับยั้งเอ็นไซม์ที่ทำให้มะเร็งมีการกระจายตัวอีกด้วยค่ะ ทั้งยังเสริมสร้างภูมิต้านทาน ระดับของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นในเลือดส่งผลให้เกิดการกำจัดเชื้อโรคจากร่างกายได้ดี

4. บรรเทาโรคเบาหวาน… โรคเบาหวาน เป็นอีกโรคหนึ่งที่ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับที่คนเป็นมากที่สุดโรคหนึ่ง…อะเซโรล่าเชอรี่ จะช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานได้เพราะสามารถชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรต และการดูดซึมกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีความคงที่มากขึ้นเรียกว่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ต้องกังวลเหมือนผลไม้ชนิดอื่นๆ

5. มีวิตามินซีที่มหัศจรรย์… อะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola cherry Extract) ประกอบด้วยวิตามินซีที่ทำให้การดูดซึมได้ดีกว่าวิตามินซีทั่วไป เราจึงไม่ต้องแปลกใจกันเลยว่า ทำไม มันจึงถูกนำไปสกัดเป็นอาหารเสริม เพราะการดูดซึมได้ดีนี้ จะทำให้ร่างกายได้วิตามินซีอย่างเต็มที่ทั้งนี้ผงอะเซโรล่าเชอรี่ สามารถเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย (Bioavailable) ได้มากกว่าวิตามินซีที่สังเคราะห์แบบทั่วไปเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับวิตามินซีจากอะเซโรล่าเชอรี่ และวิตามินซีอื่นๆ ในปริมาณเท่าๆ กัน

6. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา… อะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola cherry Extract) มีผลต่อต้านเชื้อรา เพราะมีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราชนิดต่างๆ เมื่อร่างกายได้รับอะเซโรล่าเชอรี่ จะเกิดกระบวนการจากกลไกภายใน เป็นแอนติบอดี้โดยธรรมชาติ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราตามผิวหนัง หรือในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

เพราะฉะนั้น อะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola cherry Extract) จึงเป็นที่นิยมนำมาสกัดสารแอนตี้บอดี้โดยธรรมชาติ ที่ช่วยดูแลระบบการทำงานจากภายใน คุณจึงไม่ใช่เพียงจะมีผิวที่สวย แต่เซลล์ของคุณจะแข็งแรง สุขภาพจะดี

จากข้อมูลทางด้านอาหารดังกล่าวข้างต้น อาจารย์วิเชียร บุญเกิด อยู่บ้านเลขที่ 161/2 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอีกท่านหนึ่งที่สรรหาพืชชนิดนี้มาปลูก อย่างน้อยก็ปลูกไว้เพื่อรับประทานผลสดที่บ้าน นอกเหนือจากความสวยงามของต้นแล้วยังได้ประโยชน์อีกด้วย

อาจารย์ปลูกอะเซโรล่าเชอรี่อย่างไรและสร้างรายได้อย่างไร ผลไม้แต่ละชนิดมีความโดดเด่น ความพิเศษ และคุณลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป

“เชอรี่หวานออสเตรเลีย ที่ผมนำมาเป็นกิ่งพันธุ์นี้ ยังเป็นพืชใหม่ เหมาะสำหรับท่านที่ใช้ปลูกเป็นพืชผสมผสานกับสวนให้มีพืชหลากหลาย ถ้าแนะนำเรื่องรายได้ ถ้าปลูกมากๆ ก็นำมาแปรรูปตากแห้ง นำไปชงดื่ม หรือขายผลสด เพราะพืชชนิดนี้เป็นทั้งอาหารและยา เป็นผลไม้ที่ปลูกแล้วสามารถทำให้คุณยิ้มได้ และสดชื่นในทุกๆ เช้า มีไว้ที่บ้านนะครับ” อาจารย์บอก

วิธีการปลูก… แนะนำให้ขุดหลุมไม่ต้องลึกมาก ประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ใช้ขุยมะพร้าวสับหยาบรองพื้น และปุ๋ยคอก รดน้ำสม่ำเสมอเช้าเย็นในช่วงแรก

การดูแล… ต้นเชอรี่หวานออสเตรเลีย ไม่ค่อยมีโรคพืช นอกจากถ้าขาดน้ำมาก จะมีเพลี้ยแป้งเกาะตามกิ่งหรือก้านของผล ให้ตัดส่วนที่เป็นเพลี้ยทิ้ง และฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ สำหรับผลสดก็ระวังนกกับกระรอกครับ แต่ที่สวนผมก็แบ่งๆ ให้กินครับ เสียงนก ก็เพราะดี ทำให้รู้ได้ว่าต้นไม้ในพื้นที่เรานอกจากคลุมดินแล้ว ยังให้ร่มเงาสัตว์ได้ด้วย

“ผมปลูกเชอรี่หวานออสเตรเลีย เป็นส่วนหนึ่งของพืชที่สวนผสมผสานของผม เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนและยังขายกิ่งพันธุ์แก่ท่านที่สนใจ โทร.สอบถามเพิ่มเติมผมได้ที่ 085-244-1699 สวนสุวรรณีปรางทอง จังหวัดกำแพงเพชร” อาจารย์วิเชียร บอก กลุ่มเกษตรกรบ่อทอง อุตรดิตถ์…สุดยอดชาวนา คว้ารางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 2 ปีซ้อน

ตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นเป็นอันดับ 1 แต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยขั้นตอนการคัดเลือกแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับจังหวัด/ศูนย์ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด พิจารณาคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่น อันดับที่ 1, 2 และ 3 ให้คณะกรรมการระดับเขตที่รับผิดชอบจังหวัดนั้น ก่อนพิจารณาตัดสินในระดับเขต และระดับกรม ตามลำดับ

กรมการข้าว เป็นหน่วยงานหลักในการคัดเลือกชาวนาและองค์กรชาวนา (ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนและกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว) ที่มีศักยภาพ การผลิต การตลาด เพื่อรับรางวัล 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนดีเด่นแห่งชาติ ประเภทข้าวหอมมะลิ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนดีเด่นแห่งชาติ ประเภทข้าวอื่นๆ และกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่นแห่งชาติ โดยผู้ได้รับคัดเลือกแต่ละปีจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรติในวันพระราชพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) ในเวลาต่อมา

ถอดเคล็ดลับความสำเร็จ “กลุ่มชาวนาบ่อทอง อุตรดิตถ์”

กลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรกรต้นแบบที่เข้มแข็ง ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต-การตลาด มีความคิดริเริ่มต่างๆ มากมาย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ทำกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกย่องจากกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประเภท กลุ่มเกษตรกรทำนาถึง 2 ปีซ้อนคือ ประจำปี 2557 และ ปี 2563

กลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง จัดตั้งเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2546 สมาชิกแรกตั้ง 33 คน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 136 คน คุณตุ้น น่วมคำ รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่บ้านเลขที่ 69/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53230 โทรศัพท์ (061) 294-7002

สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทองมีอาชีพทำนา แต่มักประสบปัญหาจากโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคกล้าไหม้ โรคใบไหม้ และศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือสมาชิก ทางกลุ่มได้ดำเนิน “โครงการ ราดีพิทักษ์ทรัพย์” เพื่อจัดอบรมความรู้เรื่องวิธีป้องกันกำจัดโรคพืชให้แก่สมาชิก

โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วยสนับสนุนเรื่องการจัดทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อราขาว) เชื้อราเมตตาไรเซียมและบิวเวอเรีย (เชื้อราเขียว) ซึ่งราทั้ง 2 ชนิดช่วยแก้ปัญหาโรคพืชและแมลงรบกวนในนาข้าวได้ แถมช่วยลดใช้สารเคมี ส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดีขึ้น และรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย สมาชิกจะรวมตัวกัน ณ ที่ทำการกลุ่ม เพื่อร่วมกันทำเชื้อราดังกล่าวก่อนแจกจ่ายให้สมาชิกนำไปใช้ในนาข้าวช่วงฤดูทำนา

โครงการปุ๋ย-น้ำหมักชีวภาพเพื่อชีวิตเกษตรกร

ที่ผ่านมา เกษตรกรใช้สารเคมีในการทำเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทองจึงรณรงค์ให้สมาชิกทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี โดยได้รับสนับสนุนความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ จากสถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์

เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถนำไปแจกจ่ายและใช้ได้จริงในการทำเกษตรกรรมของสมาชิกทุกคน วิธีนี้ช่วย ลดต้นทุนการผลิตและยังส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพแข็งแรงดี และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำในชุมชน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสารอาหารในที่ดินทำกินของสมาชิกอีกด้วย

บริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ

กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน มีคณะกรรมการ 7 คน เจ้าหน้าที่ตำแหน่งพนักงานบัญชี 1 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ซึ่งทุกคนมีความรู้ความสามารถ สามารถปฏิบัติหน้าที่และให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้เป็นอย่างดี มีความเสียสละและทำงานเพื่อกลุ่มเกษตรกรฯ อย่างเต็มความสามารถ โดยมุ่งหวังให้กลุ่มเกษตรกรฯ เป็นที่พึ่งของสมาชิกและชุมชนได้

ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรฯ มีทุนดำเนินงาน 5,754,231.76 บาท ทุนเรือนหุ้น 1,809,300 บาท ทุนสำรอง 1,373,570.32 บาท การดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรฯ มี 4 ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 6,152,190 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 634,620 บาท ธุรกิจรวบรวมผลิตผล จำนวน 11,784,983 บาท และธุรกิจบริการและส่งเสริมการเกษตร จำนวน 234,300 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจเด่นของกลุ่มเกษตรกรฯ

กลุ่มเกษตรกรฯ จัดทำแผนดำเนินงานประจำปี และแผนธุรกิจ โดยขอมติผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญเป็นประจำทุกปี และแจ้งแผนการดำเนินงานให้สมาชิกรับทราบ เน้นการระดมความคิด ปัญหา อุปสรรค จากสมาชิก และนำผลการดำเนินงานในปีก่อนมาพิจารณา เพื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงานประจำปี และแผนธุรกิจในปีถัดไป ซึ่งกลุ่มสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนดไว้

สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำงาน

กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่เฉลี่ยร้อยละ 90.94 คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมเฉลี่ยร้อยละ 91.30 สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกรฯ เฉลี่ยร้อยละ 100 และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร เฉลี่ยร้อยละ 100

โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และการลงความเห็นต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง การจัดสรรผลประโยชน์ การจัดทำแผนงานประจำปีและแผนธุรกิจ การแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรฯ อาทิ การฝึกอบรมให้ความรู้ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ด้วยความสมัครใจเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ

กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินธุรกิจ 4 ประเภท สร้างรายได้โดยรวม 18,806,093 บาท ทางกลุ่มดำเนินธุรกิจตามความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก การดำเนินธุรกิจ 3 ปีย้อนหลังของกลุ่ม มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากทางกลุ่มสามารถกำหนดราคาขายล่วงหน้าจากโรงสีได้ อีกทั้งสมาชิกให้ความร่วมมือและมาทำธุรกิจกับกลุ่มทุกคน กลุ่มเกษตรกรฯ จึงมีกำไรสุทธิ 228,405.21 บาท สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิกในอัตรา ร้อยละ 3 จำนวน 50,117 บาท และจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจ จำนวน 20,770 บาท

ผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการระดมหุ้นจากสมาชิก เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม และมีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี กลุ่มเกษตรกรฯ มีอาคารสำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการสมาชิกและใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุม และมีอุปกรณ์การตลาดเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เครื่องชั่ง ลานตาก อาคารเก็บปัจจัยการผลิตและผลิตทางการเกษตร และเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ โดยกลุ่มเกษตรกรฯ จัดหาเองและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

ทำงานเพื่อสังคม-ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ทางกลุ่มเกษตรกรฯ ร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์กับชุมชน และหน่วยงานราชการในโอกาสต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ มีการร่วมสนับสนุนกิจกรรมและร่วมทำบุญกับวัดในชุมชน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ โดยกลุ่มใช้กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน

นอกจากนี้ ทางกลุ่มเกษตรกรฯ ให้ความสำคัญต่อการทำกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก รณรงค์การทำเกษตรอินทรีย์และลดใช้สารเคมีในภาคเกษตร นำวัสดุที่เหลือทางการเกษตรและในครัวเรือนมาทำปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ

ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มเกษตรกรฯ จัดสรรผลกำไร เป็นเงินสวัสดิการดูแลสมาชิกและครอบครัวสมาชิก ในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมทำบุญ ช่วยเหลืองานศพสมาชิก มอบทุนการศึกษา และจัดกิจกรรมฝึกอบรมความรู้ต่างๆ ให้แก่สมาชิก หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความรู้การทำนาหรือเยี่ยมชมกิจการกลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ติดต่อไปได้ที่ โทรศัพท์ (061) 294-7002

กล้วยไข่ เป็นอีกไม้ผลที่ไม่เพียงมียอดจำหน่ายในประเทศสูง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มตลาดผลไม้ที่ไทยส่งออกต่างประเทศถือว่ากล้วยไข่มียอดสูงในระดับที่น่าพอใจด้วยเช่นกัน

ปัญหาประการหนึ่งของกล้วยไข่คือคุณภาพ ที่ผ่านมาพบว่าคุณภาพกล้วยไข่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าคุณภาพกล้วยไข่จะไม่ได้สร้างปัญหาต่อตลาดในประเทศก็ตาม แต่คงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าชาวสวนปลูกกล้วยไข่ได้คุณภาพส่งขายต่างประเทศเพื่อจะได้ราคาสูง

“กำแพงเพชร” เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกล้วยไข่มาช้านาน เนื่องจากชาวบ้านปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2465 ตลอดเวลานับแต่อดีตคุณภาพกล้วยไข่ของกำแพงเพชรสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัด จนพูดกันติดปากว่า “กล้วยไข่กำแพง” แล้วที่สำคัญผลไม้ประจำถิ่นชนิดนี้ยังผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นคือ งานเทศกาลสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2424 เป็นต้นมา

เมื่อปี 2556 ทีมงานเทคโนฯ ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อจัดทำสกู๊ปพิเศษกล้วยไข่ ในคราวนั้นได้พูดคุยกับนักวิชาการเกษตรของจังหวัดพบว่า แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่นับหลายหมื่นไร่ แต่มาประสบปัญหาภัยธรรมชาติกับโรคพืชจึงทำให้พื้นที่การปลูกลดลงหลักพันไร่ จนทำให้ผลผลิตตกลงอย่างน่าใจหาย

นักวิชาการ ชี้ว่า ปัญหาแรกและเป็นปัญหาหลักสำคัญคือ ลมพายุ ซึ่งภายใน 1 ปี จะเกิดขึ้น 2 ช่วง ที่จะพัดเข้ามาทางจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงแรก เป็นลมพายุช่วงฤดูแล้ง จะพัดผ่านมาประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังเจริญเติบโต ความรุนแรงของลมทำให้ต้นกล้วยไข่หักและโค่นล้ม

ช่วงที่สอง เป็นลมพายุช่วงฤดูฝน จะพัดเข้ามาราวเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังตกเครือ ขณะเดียวกัน เป็นช่วงที่ราคากล้วยไข่มีราคาสูง พอมีลมพายุพัดเข้ามา กล้วยไข่ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เหตุการณ์ทั้งสองช่วงจึงทำให้เกษตรกรชาวสวนเกิดความท้อแท้

ปัญหาประการต่อมาคือเรื่องโรคกล้วยไข่ ที่พบมากคือ โรคใบไหม้ เมื่อโรคนี้เกิดมีการระบาดมาก ขณะเดียวกัน เกษตรกรนำพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่ออีก จึงมีการแพร่ระบาดอย่างหนักขึ้น

และปัญหาประการสุดท้ายคือ เรื่องแรงงาน เพราะกล้วยไข่เป็นไม้ผลที่ต้องเอาใจใส่มากในทุกกระบวนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นการตัดแต่งหน่อ ทางใบ การดูแลเรื่องน้ำ เรื่องดิน และการบริหารจัดการในสวน ดังนั้น หากเกษตรกรมีจำนวนคนดูแลเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไปแล้วไม่สอดคล้องกับเนื้อที่ปลูก ก็จะส่งผลต่อการปลูกและผลผลิตที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เกิดวิกฤตกล้วยไข่กำแพงเพชร มีบางจังหวัด อย่างจันทบุรี ชุมพร เพชรบุรี สามารถปลูกกล้วยไข่ได้อย่างมีคุณภาพ เป็นแหล่งที่ต้องยอมรับว่าปลูกกล้วยไข่ที่เน้นคุณภาพเพื่อการส่งออก แต่ถึงกระนั้นด้วยความมีเสน่ห์ในรสชาติของกล้วยไข่กำแพงเพชรที่มีความหวาน หอม เนื้อละเอียด เปลือกบาง มีขนาดผลที่พอเหมาะต่อการรับประทาน จึงทำให้กล้วยไข่กำแพงเพชรยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วประเทศอย่างไม่เสื่อมคลาย

สิงหาคม 2559 ทีมงานลงพื้นที่กำแพงเพชรอีกเพื่อติดตามดูสถานการณ์กล้วยไข่ แล้วพบว่าคนในจังหวัดกำแพงเพชรมีความเคลื่อนไหวรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หาทางแก้ปัญหาเพื่อหวังจะกลับมาทวงแชมป์คุณภาพกล้วยไข่อีกคราว

หนึ่งในกลุ่มที่ขับเคลื่อนการพัฒนาและอนุรักษ์กล้วยไข่ของจังหวัด มีชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนฟื้นฟูกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร” โดยมี คุณนพพล เทพประถม อยู่บ้านเลขที่ 108/1 หมู่ที่ 2 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รับหน้าที่เป็นประธาน

คุณนพพล กล่าวถึงภาพรวมกล้วยไข่กำแพงเพชรขณะนี้ว่า มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านกลับมาปลูกกล้วยไข่กันใหม่ ทั้งนี้ เพราะตลาดผู้บริโภคหลายแห่งติดใจรสชาติกล้วยไข่กำแพงเพชร แล้วต้องการให้มีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นทางจังหวัดจึงมีการส่งเสริมจัดทำเป็นโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกล้วย GI หรือชูให้เป็นไม้ผลประจำถิ่น แล้วพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกันเพิ่มขึ้น

ประธานกลุ่มเผยถึงแนวทางการอนุรักษ์กล้วยไข่กำแพงเพชร ได้วางแผนพร้อมลงมือปฏิบัติกันมาเป็นเวลา 15 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นทำกันอยู่ในกลุ่มเล็กจำนวน 20 กว่าราย แล้วค่อยๆ ขับเคลื่อนจนกระทั่งได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2554

“วิสาหกิจชุมชนฟื้นฟูกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร” ถือเป็นกลุ่มแรกที่บุกเบิกการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ของจังหวัด โดยมีการแบ่งซอยออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้มีการทำงานแบบครบวงจร

คุณนพพลชี้ถึงสาเหตุที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้ผลผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชรขาดความคงที่คือ เกิดจากภัยธรรมชาติ และรองลงมาคือ โรคใบไหม้ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดที่จะต้องมีลมพายุพัดเข้ามาในช่วงที่กล้วยกำลังมีผลผลิตหรือเป็นกล้วยสาวในทุกปี เป็นช่วงต้นฝน

ส่วนโรคใบไหม้ที่เกิดขึ้น ขณะนี้ทางเกษตรจังหวัดกำลังแก้ไขปัญหา ซึ่งมีชาวบ้านหลายคนชี้ว่าควรย้ายแปลงปลูกไปที่อื่น ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม แต่ในความเป็นจริงคงทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะแต่ละครัวเรือนมีที่ดินน้อย จำต้องปลูกอยู่ที่เดิม ดังนั้น ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาตัวเองด้วยการเลิกปลูกกล้วยไข่แล้วหันไปปลูกพืชไม้ผลอื่นแทน

“อย่างไรก็ตาม เคยอ่านงานวิจัยศึกษาโรคใบไหม้ว่า โรคชนิดนี้จะอยู่กับดินเดิมเป็นเวลานานถึง 3 ปี หากยังคงปลูกพืชชนิดเดิมอยู่ แต่ถ้าหยุดหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนบ้างโรคนี้ก็จะหายไป แล้วก็สามารถกลับมาปลูกกล้วยไข่ได้อีกต่อไปในพื้นที่เดิม ดังนั้น แนวทางแก้ไขคือพยายามชักชวนผู้ปลูกรายใหม่ที่สนใจปลูกกล้วยไข่และใช้พื้นที่จำนวนไม่เกิน 1 ไร่

แนวทางการอนุรักษ์ที่เป็นรูปธรรมวางไว้อย่างไร?
ถ้ามองในเรื่องความคุ้มค่าในตัวเงินแล้ว การปลูกกล้วยไข่ถือว่าคุ้มค่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรักษาชื่อเสียงของจังหวัดไว้ด้วย ดังนั้น ถ้าช่วยกันปลูกเพิ่มขึ้นทีละต้นหรือสองต้นถือว่ามีความหมายในทางที่ดี รวมทั้งยังถือว่าประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ โดยไม่ต้องไปหวังว่าจะต้องปลูกเพิ่มขึ้นจำนวน 100-200 ไร่ หรือแม้แต่การคิดหวังไปถึงการส่งออกต่างประเทศก็ยังไม่จำเป็นต้องคิด

“ตอนนี้ เพียงแค่หวังไว้อย่างเดียวว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านกลับมาปลูกกล้วยไข่เพิ่มขึ้น หรือบางคนที่เลิกปลูกก็ให้หันกลับมาปลูกใหม่ แล้วไม่ต้องไปปลูกมาก ขอให้ใช้พื้นที่ปลูกขนาดเล็กแล้วปลูกแบบมีคุณภาพเต็มที่ จากนั้นให้แต่ละแปลงรวบรวมผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาด”

ประธานกลุ่ม บอกว่า ผลจากการที่กลุ่มได้สร้างคุณภาพผลผลิตตามแผนงานที่วางไว้ ทำให้ที่ผ่านมาเริ่มเห็นรูปธรรมที่ชัดเจน จนในขณะนี้หลายหน่วยงานได้เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ มีการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ แต่ต้องเข้าใจว่าเวลานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และอย่าหวังเรื่องผลผลิตที่สูง คงต้องใช้เวลาค่อยๆ เพิ่มจำนวนไปทีละขั้นตอน

การวางแผนช่องทางการตลาด
มีการกำหนดผู้ปลูกออกเป็น 2 กลุ่มที่ชัดเจน กลุ่มแรกอาจเป็นผู้ปลูกที่มีเนื้อที่จำนวนมาก มีการบริหารจัดการที่ดี เน้นการสร้างคุณภาพเต็มที่ ดังนั้น กลุ่มนี้จะมีพ่อค้าจากตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ที่เป็นขาประจำวิ่งเข้าไปรับซื้อที่สวน อีกกลุ่มเป็นผู้ปลูกรายเล็กก็จะมีคนมารับซื้อไปวางขายตามแผงริมทาง หรืออาจนำไปขายบริเวณตลาดมอกล้วยไข่

ในช่วงแรกถ้าจำนวนผลผลิตทั้งหมดยังมีไม่มากพอ คงวางจำหน่ายเฉพาะภายในพื้นที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี S/P, แม็คโคร ที่แจ้งความต้องการขอรับซื้อผลผลิต แต่คงต้องชะลอไปก่อนเนื่องจากยังไม่สามารถจัดหากล้วยตามฤดูกาลได้ รวมถึงยังต้องมาจัดให้เข้าเป็นระเบียบระบบเสียก่อน ตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บผลผลิต เนื่องจากผู้รับซื้อรายใหญ่จะมีเงื่อนไขรายละเอียดที่เคร่งครัดมาก

รูปแบบการขาย
คุณนพพล เผยว่า แต่เดิมการขายกล้วยของชาวบ้านใช้วิธีนับตั้ง และผู้รับซื้อแต่ละรายก็ไม่มีมาตรฐานในการกำหนดหวี ในแต่ละเครือบ้างกำหนดเป็น 3 หวี บ้างกำหนดเป็น 4 หวี ส่วนหวีขนาดเล็กหรือไม่สวยก็มักแถมไป ทั้งนี้ มักกำหนดราคารับซื้อหวีละ 20 บาท จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้ 60-80 บาท ต่อเครือ ฉะนั้น จึงมองว่าการกำหนดราคาขายเช่นนี้ไม่เกิดมาตรฐานและไม่ยุติธรรมดีพอ

“แต่การกำหนดวิธีขายแบบใหม่ที่ผ่านการตกลงของกลุ่มมาแล้ว เห็นว่าควรมีการกำหนดราคาขายแบบชั่งเป็นกิโล ทั้งนี้ เนื่องจากไม้ผลพืชทั่วไปล้วนใช้หลักการชั่งเป็นกิโลทั้งนั้น และกล้วยไข่ควรใช้แนวทางเดียวกัน เพราะแนวทางนี้มีมาตรฐานที่กิโลซึ่งมีจำนวน 10 ขีดเท่ากันทุกแห่ง จึงไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และเท่าที่ทราบหลายแห่งได้ใช้วิธีเช่นนี้มานานแล้ว”

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักกล้วย 1 ตั้ง จะอยู่ประมาณ 9-11 กิโลกรัม เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วจึงกำหนดราคาขายไว้ที่กิโลกรัมละ 18 บาท (25 สิงหาคม 2559) คุณนพพล ชี้ว่า วิธีการนี้เพิ่งนำมาใช้ และยังไม่ทั่วทุกแห่งในจังหวัด แต่จะค่อยๆ ปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน

สำหรับราคาขายในกรุงเทพฯ ประมาณหวีละ 70 บาท (25 สิงหาคม 2559) ราคานี้วางจำหน่ายทั่วไป แต่ในกรณีที่วางตามห้างหรือเป็นกล้วยไข่ออร์แกนิกจะวางขายในราคาหวีละ 100 บาท ส่วนราคาที่ส่งออกจากสวนเพียงหวีละ 20 กว่าบาทเท่านั้น

ความไม่แน่นอนเรื่องจำนวนผลผลิตกับคุณภาพผลผลิตในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สมาชิกกลุ่มมองเห็นว่ายังไม่ควรตั้งราคาขายให้สูงเกินไป ควรรอให้ทุกอย่างนิ่งเสียก่อน แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างปรับปรุงอย่างได้มาตรฐานในทางที่ดีขึ้นแล้ว เห็นว่าคงต้องขยับราคาเพื่อให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจในการปลูกเพิ่มมากขึ้นด้วย

ปรับคุณภาพการผลิตเข้าสู่ระบบ GAP แล้ว
ประธานกลุ่ม เผยว่า จังหวัดอื่นที่ปลูกกล้วยไข่ สมัครเว็บไฮโล อย่างจันทบุรี ชุมพร เพชรบุรี เป็นแหล่งที่ต้องยอมรับว่าปลูกกล้วยไข่ที่เน้นคุณภาพเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกัน ทางกำแพงเพชรก็ได้มีการไปศึกษาดูงานเพื่อกลับมาวางรูปแบบให้มีมาตรฐานเช่นนั้น แล้วคิดว่าในอนาคตหากกลุ่มมีการสร้างความเข้มแข็งได้อย่างสมบูรณ์ อาจผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกบ้าง เพราะหลายหน่วยงานในจังหวัดเริ่มเห็นความสำคัญและได้ยื่นมือเข้ามาสนับสนุนแล้ว

จึงทำให้ทางกลุ่มได้เร่งพัฒนาคุณภาพผลผลิตกระทั่งสามารถสู่ระบบการผลิตแบบ GAP เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ มีสมาชิกกลุ่มที่ผ่านมาตรฐานแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทางกลุ่มมีจำนวนสมาชิกกว่า 50 ราย มีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่ เฉลี่ยรายละ 3-5 ไร่ มีรายใหญ่ขนาด 70 ไร่ อยู่จำนวน 2 ราย

ส่วนแนวทางอนุรักษ์กำหนดไว้ว่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้พันธุ์ดั้งเดิมของท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งอาจกระทบปัญหาว่าขณะนี้เหลือคนที่ปลูกกล้วยไข่อย่างจริงจังน้อยมาก ผลผลิตยังไม่นิ่งทั้งคุณภาพและปริมาณ ดังนั้น หากจะบุกตลาดตอนนี้ยังคงไม่ได้เพราะพ่อค้าเองก็ยังไม่มั่นใจและไม่กล้าเสี่ยง

“ฉะนั้น ทุกอย่างจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ ปรับปรุงวิธีปลูก แก้ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติกับโรคให้ได้ก่อน แล้วจึงเริ่มปรับองค์กรให้เข้าสู่ระบบตามหลักสากล ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์หรืออะไรก็ตาม เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของมวลสมาชิกทุกคน รวมถึงยังวางแผนว่าโอกาสต่อไปจะสร้างพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ผูกพันกับกล้วยไข่มาช้านาน เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นพืชประจำถิ่น”

คุณนพพล ชี้ว่า ความผูกพันของชาวบ้านกำแพงเพชรกับกล้วยไข่ดูเหมือนจะแยกกันไม่ออก ถึงแม้บางปีจะเกิดปัญหาหรืออุปสรรคกับการปลูก ทั้งภัยทางธรรมชาติและโรคพืช จนสร้างความเสียหายที่เกิดจากขาดทุน แต่พวกเขาก็ยังยืนหยัดที่จะปลูกต่อไปด้วยความเชื่อมั่นที่ว่าความเป็นพืชไม้ผลประจำถิ่น ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากในจังหวัดมีการจัดตั้งกลุ่มการผลิตกล้วยไข่คุณภาพแยกกันหลายกลุ่ม แต่ละพื้นที่ต่างมีแนวทางวิธีการต่างกัน แต่ทุกแห่งมีเป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างคุณภาพกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ดีที่สุด

“พยายามผลักดันคนรุ่นใหม่ให้เป็น SMART FARMER เพื่อเตรียมวางรากฐานขยายตลาดในอนาคต เพราะคนรุ่นใหม่มีแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้น ถ้าพวกเขาเดินเข้ามาสู่กระบวนการปลูก ก็จะสร้างความมั่นคงให้แข็งแรงต่อไป” ประธานกลุ่ม กล่าว