“ปรับตัว-ต่อยอด” เคล็ดลับสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดคุณละเอียด

เผยว่า ก้าวสำคัญของการผลิต “เมล็ดพันธุ์ข้าว” ให้ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่เกษตรกรจะฝากความหวังผลผลิตไว้ที่เมล็ดพันธุ์ของเรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

โดยสิ่งหนึ่งที่ช่วยยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพขึ้นอย่างชัดเจนคือ การนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาใช้ เช่น การเลือกใช้ “รถดำนา” เนื่องจากรถดำนานั้นสามารถปรับตั้งระยะปลูกได้ ทำให้ต้นข้าวเป็นระเบียบ อีกหนึ่งข้อดีคือมองเห็นวัชพืชและทำให้สามารถจัดการกับวัชพืชที่จะเจริญเติบโตไปพร้อมกับข้าวที่ปลูกได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการใช้ “รถเกี่ยวข้าว” เก็บเกี่ยวผลผลิต ก็สามารถควบคุมพันธุ์ปนได้ง่ายกว่าการเกี่ยวโดยใช้แรงงานคนเช่นกัน (หากทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนเก็บเกี่ยวทุกครั้ง)

นอกจากนี้ ในมุมของการตลาด ก็ได้ลูกๆเข้ามาช่วยดูเรื่องช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก “ปัทมาพันธุ์ข้าว” และก็ได้มีการสร้างทางเลือกใหม่ เพื่อเพิ่มจุดขายมากขึ้น เช่น จากเดิมที่เน้นการผลิตข้าวพันธุ์ กข41, กข57 และปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้ายอดนิยม ก็ได้เพิ่มการผลิต “พันธุ์ กข85” ขึ้นมา เนื่องจากเริ่มมีกระแสความต้องการของเกษตรกรมากขึ้น และหากจับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้ ก็อาจจะขยายตลาดได้มากขึ้นเช่นกัน

กว่าจะมาเป็น “ผลผลิตที่มีคุณภาพ” เบื้องหลังคือ “เมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ที่ผ่านกระบวนการปลูก การดูแลอย่างพิถีพิถัน และการบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพในทุกช่วงการเจริญเติบโต ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ “ปัทมาพันธุ์ข้าว” กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน สามารถรักษาตลาดมาได้อย่างยาวนานกว่า 10 ปี

การลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรุ่นใหม่ “นายดิลก ชมพูมิ่ง” ภายใต้โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรของรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ “นายอัชฌา สุวรรณนิตย์” สหกรณ์จังหวัดแพร่ “นายเฉลิมพล ชัยศิลบุญ” และคณะเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางการทำเกษตรแบบผสมผสาน การบริหารจัดการพื้นที่ ระบบน้ำ และจัดการผลผลิตภายในสวนที่บ้านแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ นอกจากการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในวิถีเกษตรกรรมอย่างเต็มเปี่ยมแล้วยังให้คำแนะนำองค์ความรู้ด้านการจัดการแปลงที่มิอาจประเมินค่าได้

นายดิลก ชมพูมิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่ในวัย 31 ปี ได้เริ่มต้นทำสวนเกษตรผสมผสานอย่างจริงจังเมื่อปลายปี 2562 ด้วยเหตุอยากมีรายได้เสริมควบคู่กับรายได้จากงานประจำ แม้ปัจจุบันเขายังรั้งตำแหน่งพนักงานฝ่ายขายอาหารสัตว์บก บริษัทธุรกิจเกษตรยักษ์ใหญ่ที่จังหวัดสระบุรี หลังจบปริญญาตรีสาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่มีแนวคิดอยากทำอาชีพเกษตรควบคู่ไปด้วย หลังได้เนรมิตเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ที่บ้านแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ เป็นสวนเกษตรผสมผสาน

โดยมีพืชเศรษฐกิจอย่างทุเรียนพันธุ์มูซังคิงและไผ่กิมซุง เป็นตัวชูโรง โดยทุเรียนลงไว้จำนวน 147 ต้น ส่วนไผ่กิมซุง จำนวน 110 ต้น พร้อมปลูกแซมด้วยพืชผัก สมุนไพร และไม้ผล อาทิ กล้วย น้อยหน่า มะม่วง ฝรั่งกิมจู ชมพู่ มะละกอแขกดำ พืชสมุนไพรและผักสวนครัว จำพวก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หวังให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

“ตอนนี้งานประจำก็ยังทำอยู่ แต่อยากจะทำอะไรที่เป็นของตัวเองจะได้มีรายได้ เมื่อเกษียณจากงานประจำ บังเอิญได้ซื้อที่มาจากญาติจำนวน 4 ไร่ กับ 2 ไร่ เมื่อก่อนที่ตรงนี้ปลูกข้าวโพด (เลี้ยงสัตว์) แต่พอไม่มีใครทำก็ปล่อยทิ้งให้รกร้าง ผมก็เลยซื้อต่อเพื่อเอามาทำสวนเกษตรผสมผสาน อย่างที่เห็นทุกวันนี้” นายดิลก ชมพูมิ่ง พนักงานฝ่ายขายอาหารสัตว์บก บริษัทธุรกิจเกษตรยักษ์ใหญ่ที่หันมาสวมหมวกเกษตรกรเต็มขั้นควบคู่กันไปด้วย โดยมุ่งเป้าไปที่ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นไม้ผลที่มีความต้องการของตลาดสูง โดยเฉพาะตลาดจีน

“เหตุที่คิดปลูกมูซังคิง มองว่าตอนนี้ตลาดหมอนทองกำลังจะเริ่มจะถดถอย เพราะปลูกกันมาก ราคาก็เริ่มลง แต่มูซังคิงราคาไม่ตกเลย ตอนนี้ราคาหน้าสวนตกกิโล 500 บาท ผลผลิตออกมาเท่าไหร่ส่งออกหมด มาเลเซียทำตลาดไว้ให้แล้วส่งไปจีน ฮ่องกง และไต้หวันได้ราคาสูงมาก” เกษตรกรคนเดิมเผยถึงสาเหตุที่ปลูกทุเรียนพันธุ์มูซังคิง โดยมองเรื่องตลาดและราคาเป็นจุดเด่น เมื่อเทียบกับทุเรียนสายพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังข้อดีเป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย ทนต่อโรค และเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบเชิงเขาและมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นอย่างจังหวัดแพร่ ที่สำคัญใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยปกติมูลซังคิงจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 50 ลูกต่อต้น โดยแต่ละลูกจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม

“ของผมที่ปลูก มี 2 รุ่น รุ่นแรกอายุ 3 ปีกว่า บางต้นเริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว แต่ก็จะปลิดทิ้งให้เหลือต้นละ 2-3 ลูก อีกรุ่นสองมีอายุเกือบ 2 ปีแล้ว ส่วนการให้น้ำจะนำระบบโซลาร์เซลล์มาใช้วางระบบในสวนเพื่อประหยัดไฟฟ้า” นายดิลก เผย

นอกจากทุเรียนแล้ว เขายังนำไผ่กิมซุงมาปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อกันลมพัดทำลายต้นทุเรียน ทั้งยังป้องกันตลิ่ง เนื่องจากรากไผ่จะยึดดินไว้ป้องกันตลิ่งพัง ขณะเดียวกัน ผลผลิตหน่อไผ่ก็ยังสร้างรายได้อีกด้วย ส่วนสาเหตุที่ปลูกไผ่ชนิดนี้ เพราะเหตุว่าให้หน่อเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งต่างจากไผ่หวานที่ให้ผลผลิตหน่อเฉลี่ยปีละ 2 เดือน ที่สำคัญยังออกมาตรงกับหน่อไม้ไผ่ป่าที่หาได้ไม่ยากนักในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ส่งผลทำให้ราคาจำหน่ายลดลง เนื่องจากหน่อไม้ไผ่ป่ามาตีตลาด

ขณะเดียวกัน ภายในสวนก็ยังปลูกพืชผัก สมุนไพร ผลไม้นานาชนิดเน้นพืชอายุสั้นที่สร้างรายได้รายวัน อาทิ ผักหวานป่า กล้วย น้อยหน่า มะม่วง ชมพู่ ฝรั่งกิมจู มะละกอแขกดำ พืชสมุนไพรและผักสวนครัว เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะเขือ พริก เป็นต้น โดยมีตลาดชุมชนอำเภอหนองม่วงไข่ รองรับผลผลิต อีกทั้งยังมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงหน้าสวนและบางส่วนจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์

เกษตรกรคนเดิมยังได้ตั้งเป้าหมายวางแผนการผลิตภายในสวน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนและสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายผักสวนครัว ประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน จากนั้นใน 1 ปีแรก มีรายได้จากการจำหน่ายกล้วยและพืชผักสวนครัว 2,000-3,000 บาทต่อเดือน และช่วง 1 ปีครึ่งถึง 4 ปี มีรายได้จากการขายหน่อไม้ กล้วย และพืชผักสวนครัว 7,000-9,000 บาทต่อเดือน ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานมาแล้ว 4 ปี คาดว่าถ้าทุเรียนให้ผลผลิต จะมีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียน และหน่อไม้ประมาณ 30,000-70,000 บาทต่อเดือน

“ที่สวนจะไม่มีจ้างแรงงาน แต่จะให้พ่อแม่และญาติๆ ช่วยกันดูแลสวนทุเรียน ส่วนการปลูกไผ่ ผลไม้ พืชผักสวนครัวก็เพื่อให้พวกเขามีรายได้แทนที่จะจ้างแรงงานมาดูแลสวน ส่วนเราจะมุ่งเป้าที่ทุเรียนอย่างเดียว คาดว่าปีหน้าทุเรียนชุดแรกก็จะให้ผลผลิตแล้ว จากนั้นต่อด้วยชุดที่สอง หากทุเรียนให้ผลผลิตทั้งสองชุด คำนวณจากราคามูซังคิงขั้นต่ำกิโลละ 200 บาท คาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาทต่อปี ส่วนตลาดไม่กังวล มีบริษัทส่งออกพร้อมรับซื้ออยู่แล้ว” เจ้าของสวนทุเรียนมูซังคิงกล่าวย้ำ

ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่ ได้ดำเนินโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีเกษตรกรรุ่นใหม่สมัครเข้าร่วม จำนวน 38 ราย ซึ่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ด้านการผลิต สามารถสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ มีเครือข่ายด้านอาชีพเพิ่มมากขึ้น เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่มีการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และขยายผลไปสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ต่อไป

“เกษตรกรรม เป็นชีวิตในวัยเกษียณ ถ้าผมแก่ตัวจะใช้ชีวิตต่างจังหวัด ทำโฮมสเตย์เล็กๆ อาศัยวิถีชุมชนในการเบรกดาวน์ชีวิตจากกรุงเทพฯ ที่พีกแล้ว มาอยู่ตรงนี้” เจ้าของพื้นที่ราว 50 ไร่ ที่ดูจะรวมความสดชื่นของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เกือบทั้งหมดไว้ที่นี่ บอกกับเรา

บุคลิกนอบน้อมถ่อมตน ที่ติดตัว คุณสุรเดช ศิลปวิจิตรการ หรือ คุณแจ๊ค มาแต่ไหนแต่ไร ทำให้การพูดคุยในวันนั้นออกอรรถรสอย่างดี สัมผัสได้ถึงความตั้งใจสร้างพื้นที่นี้ให้เหมือนภาพในจินตนาการของเขา

คุณแจ๊คมีงานและครอบครัวอยู่กรุงเทพฯ ตลอดวันทำงานเขาตั้งใจทำ โดยไม่ละจากหน้าที่แม้แต่น้อย แต่เมื่อถึงวันหยุด เขาจะทุ่มเทให้กับสิ่งที่เขาเรียกว่า เกษตรหลังเกษียณอย่างเต็มที่

แท้จริงก็เฉกเช่นมนุษย์เงินเดือนหรือการทำงานในระบบทั่วไป ที่เมื่อท้ายที่สุดจะมองหาการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนและมีความสุข คุณแจ๊คไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมแม้แต่น้อย แค่มีความตั้งใจผนวกกับการวางแผนและลงมือเริ่มทำตั้งแต่ยังมีแรง ทำให้เขาเริ่มได้เร็วกว่า

“ผมวางพิมพ์เขียวไว้ในหัวผมหมดแล้วตั้งแต่ผมอายุ 27 ปี และผมต้องเริ่มจากการวางแลนด์สเคปก่อน จากนั้นเตรียมผังรอในอนาคตว่าตรงไหนเป็นอะไร เป็นการแพลนเพื่อทำการเกษตรในอนาคต”

ที่ดินผืนนี้ คุณแจ๊ค บอกว่า เขาใช้เวลาตัดสินใจซื้อในเวลาไม่ถึง 15 นาที เพราะภาพแปลนแปลงเกษตร การจัดวางทุกอย่างอยู่ในหัวเขาทั้งหมด เมื่อมาเห็นที่ดินผืนนี้ในช่วงเวลาที่มาท่องเที่ยวกับเพื่อน จึงติดต่อขอซื้อและเปลี่ยนมือมาเป็นคุณแจ๊คในที่สุด

คุณแจ๊ค เล่าว่า เดิมที่ตรงนี้น่าจะเป็นรีสอร์ตหรือที่พักเก่า ทำให้มีโครงสร้างบางอย่างหลงเหลืออยู่ เขาจึงเข้ามาปรับปรุงโครงสร้างใหม่ และพยายามปล่อยพื้นที่ให้โล่งมากที่สุดก่อน โดยสิ่งที่ทำได้สิ่งแรกคือ บ้านพักสำหรับครอบครัว เมื่อมาพักผ่อนที่นี่ในวันหยุด ทำแปลงผัก และเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งเบื้องต้นเขาแน่ใจตนเองว่า จะยังไม่ลงมือการเกษตรแบบมืออาชีพ ควรค่อยๆ เริ่ม เรียนรู้และลงมือทำ เพื่อให้ท้ายที่สุดของการเกษียณตนเองออกมาทำการเกษตรที่นี่ จะเป็นการต่อยอดที่ราบรื่น มีช่องทางสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในวัยเกษียณอย่างแน่นอน

แรกเริ่มเป็นเพียงบ้านพัก มีแปลงผัก เลี้ยงไก่ไข่ เท่านั้น

คุณแจ๊คหยิบความถนัดของตนเองมาสร้างให้แลนด์สเคปแห่งนี้มีชีวิตชีวา

คุณแจ๊คชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นกลุ่ม การวิ่งเทรล การแคมปิ้ง เขาจึงนำส่วนที่เขาถนัดมาทำให้สถานที่แห่งนี้โลดแล่นได้ เริ่มต้นจากการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ออกแบบมาโดยธรรมชาติตั้งแต่แรกเริ่ม มีลำธารเล็กไหลโอบล้อมครึ่งหนึ่งของพื้นที่ เป็นลำธารที่มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาตะนาวศรี และอีกฝั่งของลำธารเป็นเขาภูเล็กๆ ที่ยังคงความสมบูรณ์ตามความหมายของคำว่าภูเขา ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคุณแจ๊คในการปลูกต้นไม้ให้มีความร่มรื่นกลมกลืนไปกับธรรมชาติที่มีอยู่

ระยะแรกเป็นเพียงบ้านพักของครอบครัวสำหรับพักผ่อนเท่านั้น ระยะหลังเริ่มมีเพื่อนที่มาพักค้างอ้างแรมด้วยการกางเต็นท์บริเวณสนามหญ้าโล่ง ริมน้ำ ใครใคร่อยากทำกับข้าวด้วยตนเองก็เดินไปเก็บผักที่แปลงมาประกอบอาหารกินเองได้ หรือต้องการไข่ไก่ก็มีให้เก็บมาทำอาหารได้อย่างง่าย และทั้งหมดเป็นสิ่งที่เพื่อนและคนรู้จักคุณแจ๊คนำไปบอกต่อ จนกระทั่งมีคนมาขอกางเต็นท์โดยเช่าพื้นที่ จึงเกิดไอเดียสร้างรายได้จากสิ่งที่มีอยู่

พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ที่มีอยู่ คุณแจ๊คเคยคำนวณ หากกางเต็นท์แน่นแบบสวยงาม จะสามารถรับคนได้ถึง 250 คน แต่คุณแจ๊คไม่ทำ เขาไม่รับจำนวนคนมากถึง 250 คนสำหรับการกางเต็นท์ เพราะต้องการให้พื้นที่กางเต็นท์แต่ละหลัง แต่ละกลุ่ม มีพื้นที่ห่างมากพอให้ผู้ที่มากางเต็นท์พักที่นี่มีพื้นที่ส่วนตัว ไม่รู้สึกเหมือนอยู่ในศูนย์อพยพ

“ผมแบ่งพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ไว้ 13 โซน แต่ละโซนกางเต็นท์ได้ 1-3 หลัง มีระยะห่างที่เหมาะสม เรียกได้ว่าส่วนตัว ทำให้คนที่มากางเต็นท์พักที่นี่ รู้สึกว่าพิเศษ ผมมองจากตัวผมเอง ผมเป็นคนกางเต็นท์ เราชอบอะไรคนที่มาก็อยากได้แบบนั้น ได้เงินมากมาก็ไม่คุ้ม ต้องให้เกียรติกับคนที่จองพื้นที่กางเต็นท์ด้วย”

ลานกางเต็นท์ที่นี่ มีให้เช่าลาน นำเต็นท์มากางเอง หรือต้องการเช่าลานกางเต็นท์พร้อมเต็นท์ก็ทำได้

ความถนัดอีกประการที่คุณแจ๊คนำมาผนวกเข้าด้วยกันคือ การวิ่งเทรล คุณแจ๊คเป็นหนุ่มนักวิศวกร แต่รักการวิ่งเทรลมายาวนาน เขาบอกว่า จริงๆ สายแคมป์กับสายวิ่งเทรล ก็คล้ายๆ กัน คือการได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติ เข้าหาธรรมชาติโดยไม่ทำลาย

พื้นที่ 50 ไร่แห่งนี้ ด้านท้ายของพื้นที่อยู่ติดกับภูเขาเล็กๆ มีผู้ดูแลเป็นหน่วยงานทางภาครัฐสักแห่ง เส้นทางวิ่งเทรลเส้นทางใหม่กำลังจะเริ่มขึ้นโดยคุณแจ๊คเอง ประสานขอเข้าพื้นที่อย่างถูกต้องไว้เรียบร้อย ก่อนจะเข้าสำรวจภูเขาลูกนี้ ซึ่งเขาเรียกว่า เขาหลังบ้าน เป็นภูเขาลูกเล็กๆ ระยะทางขึ้นและลงรวมราว 7-8 กิโลเมตร ความชันเกือบ 700 เมตร ถือว่าหนักหนาพอควร สำหรับนักวิ่งเทรลมือใหม่

“ผมแค่คิดว่า ที่สวยติดธรรมชาติ ทำเป็นสนามซ้อมหลังบ้านก็ได้ ลองสำรวจและได้รับอนุญาตให้สำรวจเชิงท่องเที่ยวธรรมชาติ ทำให้มีเส้นทางประมาณ 7-8 กิโลเมตร เพื่อตอบโจทย์นักวิ่งเทรล เพราะปัญหาที่ผมพบมาคือ คนที่ติดตามเรามา แต่ไม่ได้ซ้อมเทรล ไม่มีที่พัก เลยอยากให้ที่นี่เป็นแบบนั้น”

จากการเล่าสู่กันฟัง แล้วนำมาถ่ายทอดให้อ่าน อาจจะดูไม่มีอะไรพิเศษ แต่คุณแจ๊คทำให้สถานที่แห่งนี้พิเศษขึ้นได้ นอกเหนือจากการไว้เนื้อเชื่อใจให้การพักผ่อนเสมือนบ้านส่วนตัว จริงๆ แล้ว ลูกค้าทุกคนผ่านการกรองโดยไม่รู้ตัว โดยข้อตกลงง่ายๆ ที่คุณแจ๊คขอพูดคุยกับลูกค้าก่อนเข้าพักไม่กี่ประโยค ถึงอย่างนั้นก็ยังมีลูกค้าราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เคารพกติกา ซึ่งส่วนนี้คุณแจ๊คยอมรับว่า จัดการได้ยาก เพราะเป็นเรื่องจิตสำนึกที่ไม่สามารถร้องขอกันได้

ที่นี่เปิดให้จองพื้นที่กางเต็นท์และเข้าพักก่อนล่วงหน้า 2 เดือน เต็มแล้วคือปิดรับ และแน่นอนว่าเต็มอย่างที่คาดการณ์ไว้แน่นอน ถึงตอนนี้ คุณแจ๊คยังไม่เพิ่มการทำเกษตรกรรมใดๆ บนพื้นที่ เขาให้เหตุผลว่า ผมยังทำงานประจำอยู่ และมีเวลาให้กับตรงนี้เฉพาะในวันหยุด และที่สำคัญ “เกษตรกรรม” สำหรับเขา คือสิ่งที่เขาวางไว้บั้นปลายชีวิตหลังเกษียณตัวเองออกจากโลกที่วุ่นวาย แต่วันนี้ก็สามารถสร้างรายได้เล็กๆ มาพร้อมๆ กับความสุขให้กับครอบครัวคุณแจ๊คได้ทุกวันไม่มีหมด

หากต้องการพื้นที่และความเป็นกันเองที่หาได้จากธรรมชาติรอบตัว ที่นี่น่าจะตอบโจทย์

Jacook Basecamp & CookAdoodledo Farm ตั้งอยู่บ้านถ้ำหิน หมู่ที่ 5 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีคุณแจ๊ค – สุรเดช ศิลปวิจิตรการ ดำเนินงานแต่เพียงผู้เดียว ป้าอร หรือ คุณสุจิตรา ฉ่ำเพชร หญิงเหล็กของวงการผักอินทรีย์จังหวัดลพบุรี เมื่อปี 2551 ป้าอรได้มีโอกาสอบรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์รุ่นแรก ของมูลนิธิ MOA และได้ยืนหยัดทำเกษตรอินทรีย์ต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่คนร่วมรุ่นเลิกรากันไปหมดแล้ว

โรงเรือนปลูกผักกางมุ้ง

ปี 2557 ป้าอรได้ไปอบรมโครงการเกษตรของจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ 4 จังหวัดภาคกลางตอนบน คือ ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี ป้าอรได้สนับสนุนโรงเรือนปลูกผักกางมุ้งจากจังหวัดลพบุรีและสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี จำนวน 2 โรงเรือน ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 30 เมตร รวมถึงอินทรียวัตถุและปัจจัยการผลิตอื่นๆ อีกด้วย ปรุงดินดี พืชผักเติบโตดี

ป้าอร กล่าวว่า ดินเป็นปัจจัยสำคัญของการปลูกพืช ปรับปรุงดินดี คือเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้การปลูกพืชผักอินทรีย์เติบโตดีไปด้วย สวนผักของป้าอร เลี้ยงหมูป่าไว้เพื่อนำฉี่หมูป่ามาใส่ถังขนาด 20 ลิตร ส่วนมูลหมูป่าตักใส่ถุงปุ๋ยปิดปากถุง นำมาใส่ในถังนี้ด้วย ใส่สาร พด.1 จำนวน 1 ซอง เติมฉี่หมูลงไปเรื่อยๆ ลงเต็มถัง ปิดฝาไว้ในที่ร่มนาน 1 เดือน จึงนำมาใช้ในแปลงเพาะปลูกได้ โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมัก 150 กรัม หรือขนาดบรรจุเท่ากับ 1 ปลากระป๋องต่อน้ำ 20 ลิตร

ปุ๋ยน้ำหมักที่ผลิตได้นำมาใส่รวมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 กระป๋อง และน้ำส้มควันไม้อีก 2-3 กระป๋อง นำวัตถุดิบทั้ง 3 อย่างรวมกันแล้วนำมาราดบนดิน จากนั้นใช้จอบพรวนดินให้เข้ากันจึงค่อยหว่านเมล็ดผักได้เลย

ส่วนมูลหมูในถุงก็เอามาหว่านในแปลงเช่นกัน เมล็ดพันธุ์ผักซองที่ซื้อมาให้ล้างด้วยน้ำเปล่า ใส่ลงในโถส้วมเพื่อไม่ให้สารที่เคลือบเมล็ดมาปะปนในแหล่งน้ำหรือในดินของเราอีก ส่วนเมล็ดที่มีขนาดเล็ก เช่น ผักขม ผักสลัด ผักชีลาวไม่ต้องล้าง

ป้าอรสามารถเก็บพืชผักที่ปลูกในโรงเรือนกางมุ้งได้ 2 รอบ หลังจากนั้น จะนำน้ำลายปลวกซึ่งป้าอรได้ทำไว้ โดยนำเศษกิ่งไม้มาวางกองไว้เรื่อยๆ จนกองสูงประมาณ 1.5 เมตร ก็จะทำกองใหม่เป็นหย่อมๆ ไว้ ใช้สาร พด.1 ผสมน้ำราดไว้ หมั่นดูแลอย่าให้กองแห้งมาก จะมีปลวกเข้ามากัดกินเนื้อไม้จนผุกร่อนเป็นผงหล่นลงมาใต้กองไม้ ป้าอรจะตักเอาผงไม้ส่วนนี้มาโรยลงในแปลงเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน

ผักชีไทยซึ่งปกติใช้เวลาปลูก 45 วัน แต่การดูแปลงเพาะปลูกด้วยวิธีของป้าอร ช่วยผักชีไทยเติบโตสมบูรณ์ได้ไว ใช้เวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถถอนผักชีขายได้แล้ว นอกจากนี้ การใช้จุลินทรีย์และน้ำส้มควันไม้ยังช่วยให้แปลงเพาะปลูกผักของป้าอรแทบไม่ต้องพักแปลงเลยเนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อซื้อผลผลิตได้โดยตรงกับ ป้าอร หรือ คุณสุจิตรา ฉ่ำเพชร โทร. 084-706-1995 คงไม่ต้องเสียเวลาแนะนำกันอีกแล้ว สำหรับสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 หรือที่รู้จักกันดีในนามสับปะรดฉีกตา ผลงานการวิจัยของศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้เพราะมีปลูกและบริโภคกันมากขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน

คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบันคือเจ้าของ “ไร่ส่งตะวัน” บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ปลูกสับปะรดพันธุ์นี้อย่างจริงจัง สามารถนำผลผลิตออกจำหน่ายหมุนเวียนทั้ง 12 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 5 ตัน

คุณบุญส่ง เป็นคนเพชรบุรีโดยกำเนิด หลังเรียนจบก็ทำงานคลุกคลีกับเกษตรกรมายาวนาน สุดท้ายได้ลงหลักปักฐาน ทำงานเกษตรที่บ้านห้วยเกษม ในพื้นที่ 100 ไร่ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับอาทิจันท์ผา ลีลาวดี (ลั่นทม) เฮลิโคเนีย (ธรรมรักษา) ทางด้านไม้ผล มีขนุนทองประเสริฐ กล้วยหายากร่วม 100 สายพันธุ์ รวมทั้งพืชผักสมุนไพรหายาก เช่นข้าวไร่ในท้องถิ่น สมุนไพรเขยตายแม่ยายปก มะแข่วน(พริกพราน) เป็นต้น

สำหรับสับปะรด คุณบุญส่งเรียนรู้มานานแล้ว i-army.org ช่วงที่รับราชการอยู่ ได้แต่ศึกษาและวิจัย จนกระทั่งเออรี่จากงาน จึงทำจริงจัง ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจมาก ผลผลิตที่ออกสู่ตลาด คนถามหากันอย่างต่อเนื่อง เขาจึงผลิตไม่ให้ขาดช่วง ปัจจัยหนึ่งที่หนุนส่งให้นักวิชาการเกษตรท่านนี้ประสบผลสำเร็จ เพราะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จึงนำมารดต้นไม้ได้อย่างดี

“ในฐานะคนเพชรบุรี อยากให้สับปะรดพันธุ์นี้อยู่คู่กับเพชรบุรี คนผ่านไปผ่านมาได้ชิม หรืออยากปลูกก็ทดลองปลูกกันได้ หมายถึงจังหวัดอื่น ภาคอื่น” คุณบุญส่ง บอก

สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 มาจากไหน?
สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 เป็นสับปะรดกลุ่มควีนที่มีการปรับปรุงสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นสับปะรดพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2541 ทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี (ชื่อเดิม) เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะต่อการรับประทานผลสด ให้ผลผลิตสูง
และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ดังกล่าวได้

ลักษณะเด่นของพันธุ์เพชรบุรี คือ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ภูเก็ตร้อยละ 17.7 และสูงกว่าพันธุ์สวีร้อยละ 23.2 อยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน รสชาติหวานอมเปรี้ยวปริมาณและสัดส่วนของน้ำตาลสูงถึง 16.9 องศาบริกซ์ และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำราวร้อยละ 0.45 มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวีและพันธุ์ภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา (fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทานแกนผลได้ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขัง

ทยอยปลูกหมุนเวียน 12 ไร่
คุณบุญส่ง เล่าว่า พื้นที่ปลูกสับปะรดของตนเอง ลาดเทเล็กน้อย ก่อนปลูกไถพรวน แล้วปลูกสับปะรดด้วยหน่อ พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ต้นพันธุ์ 7,500 ต้น

ที่มาของต้นพันธุ์นั้น คุณบุญส่งสะสมมานาน ปลูกครั้งแรกไม่กี่ต้น จากนั้นขยายเพิ่มขึ้น หากมีการซื้อขายกัน หน่อสับปะรดเพชรบุรี 1 ตกหน่อละ 10-15 บาท เป็นหน่อขนาดใหญ่ คุณภาพดี เมื่อนำลงปลูก ให้ผลผลิตตามระยะเวลาที่ต้องการ สนนราคาหน่อพันธุ์ หากมีการซื้อขายกันมากๆ ราคาก็มีการขยับได้

อดีตนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบอกว่า ตนเองปลูกสับปะรด 12 ไร่ ทั้งนี้เพื่อให้มีผลผลิตทยอยเก็บเดือนละ 1 ไร่ ในทางปฏิบัติ อาจจะปลูกพร้อมกันครั้งละ 3 ไร่ แต่ระยะเวลาที่กำหนดได้คือการหยอดแก๊สที่ยอด จะหยอดเดือนละ 1 ไร่