‘ปลาส้ม-ไส้กรอกอีสาน’ ระวัง! กรมวิทย์ฯเปิดผลตรวจสอบพบ

ปนเปื้อนเชื้ออาหารเป็นพิษนพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านผลิตภัณฑ์อาหารสู่มาตรฐานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 จนถึงปี 2560 โดยมอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ดำเนินการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตอาหารชุมชน เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 กลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ยังพบปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประเมินสถานที่ผลิตอาหารและสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการทุกปี

นพ.สุขุม กล่าวว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ตั้งแต่ปี 2556 – 2560 จำนวน 442 ตัวอย่าง ได้แก่ ปลาส้ม ไส้กรอกอีสาน แหนม น้ำปลาร้า ปลาหมัก หมูทุบ หมูหวาน ข้าวเกรียบ ชาสมุนไพร เป็นต้น พบคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 89 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.1 ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผลิตภัณฑ์แหนม ปลาส้มและไส้กรอกอีกสาน สาเหตุจากปัญหาการปนเปื้อนเชื้ออาหารเป็นพิษ ได้แก่ E. coli, S. aureus และSalmonella spp

“ผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนประเภทปลาส้ม ซึ่งเป็นอาหารหมักพื้นเมืองที่มีการผลิตในทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 และเป็นอาหารที่ผู้บริโภคนิยมซื้อเป็นของฝาก ยังพบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากกระบวนการเตรียมวัตถุดิบและสุขลักษณะในกระบวนการผลิต ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารที่ดิบและควรนำอาหารเหล่านี้ไปปรุงให้สุกก่อนบริโภค นอกจากนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ข้อมูลผลการสำรวจเพื่อนำไปใช้กำกับดูแล เฝ้าระวัง พร้อมแจ้งให้ผู้ผลิตทราบ และแนะนำแนวทางการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน รวมทั้งปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ถูกต้องตามมาตรฐาน GMP เพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายผู้ผลิตอาหารแปรรูปจากปลาในพื้นที่ต่อไป” นพ.สุขุม กล่าว

นายนัฐวัฒน์ ภูวเกียรติกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า อบต.เนินเพิ่ม, สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก, วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวบ้านใหม่ม้งร่องกล้าและอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เตรียมเปิดตัว ซากุระเมืองไทยขนาดใหญ่ 2,000 ไร่ บานที่ภูลมโล วันที่ 11 มกราคม โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกจะทำพิธีเปิดภายในอุทยานภูหินร่องกล้าและพาไปชมทุ่งนางพญาเสือโคร่งในวันถัดไป เป้าหมายเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวชมความงามดอกซากุระเมืองไทย ณ ยอดเขาภูลมโล และยังมีประกวดภาพถ่าย หัวข้อ ”หอบดวงใจมาฝากไว้ที่ภูลมโล”

โดยทุ่งพญาเสือโคร่งมีอยู่ 4 โซน คือ เริ่มจากที่เห็นคือโซนก้อนหินไปจนถึงแคมป์ซึ่ง ณ วันนี้ ดอกได้บานแล้ว ถัดไปโซนที่ 2 จากแคมป์ไปถึงจุดชมวิว 3 จังหวัด ซึ่งกำลังบาน ส่วนโซน 3 ก้อนหินใหญ่ภายในหุบเพียงแค่เริ่มบาน ส่วนโซนภูขี้เถ้าจะไม่บาน ซึ่งจะเป็นจุดสุดท้ายที่ดอกซากุระบาน โดยภาพรวมแต่ละโซน จะใช้เวลาบานโซนละประมาณ 10 วัน ฉะนั้น ตลอดทั้งภูเขาภูลมโล นักท่องเที่ยวจะได้เห็นดอกซากุระบานจนครบเกิน 1 เดือนแน่นอน คาดถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ วันนี้ภาพรวมดอกซากุระได้บานแล้วเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เพียงแค่โซนแรกก็บานยาวเป็นกิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถมาชื่นชมได้ทันที ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทยอยขึ้นมาชม แม้ไม่ใช่ช่วงวันหยุดก็ตาม ซึ่งทางชุมชนการท่องเที่ยวบ้านใหม่ม้งร่องกล้าได้จัดเตรียมรถกระบะไว้จำนวน 130 คัน เพื่อพานักท่องเที่ยวทัวร์ทุกโซนที่ดอกซากุระบาน

นายมนิตย์ สีฆสัมบันน์ นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือพิษณุโลก กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมทุ่งซากุระเมืองไทยบานที่ยอดเขาภูลมโล ทั้งยังเลือกชม ช้อป ชิม ซื้อ ผลิตภัณฑ์ชาวไทยภูเขา เท่ากับเป็น “การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อชุมชนโดยชุมชน” เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

วันที่ 10 มกราคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านหนองไผ่ ม.3 ต.โนนสูง อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ นายอรัญ สิงห์คำ ผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายวิวัฒน์ รุ้งแก้ว ข้าราชการบำนาญ นายนครินทร์ หนูสวัสดิ์ หน.งานสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ได้เดินทางมาพบกับ นายเฉลา จันทร์ด้วง อายุ 63 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองไผ่ ม.3 ต.โนนสูง ซึ่งจับตัวอีกัวน่าไว้ได้ ขณะนี้ได้นำเอาสุ่มไก่มาขังตัวอีกัวน่าเอาไว้ โดยมีบรรดาชาวบ้านใกล้เคียงที่ทราบข่าวพากันมาชมอีกัวน่ากันอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าอีกัวน่าไม่ใช่สัตว์ป่าที่มีอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งนายอรัญ ได้นำตัวอีกัวน่าที่มีลักษณะค่อนข้างเชื่องมากมาอุ้มเอาไว้ และตรวจสอบดูลักษณะต่างๆ แล้วพบว่า อีกัวน่ายังคงมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยบาดแผลได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ซึ่งนายเฉลา ได้มอบตัวอีกัวน่าให้กับ นายนครินทร์ ที่รับผิดชอบงานสวนสัตว์ เพื่อให้นำเอาไปเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ต่อไป โดยนายอรัญ ได้มอบเงินจำนวน 500 บาทให้กับนายเฉลา เพื่อเป็นการขอบคุณที่มอบอีกัวน่าให้กับทางสวนสัตว์ และปรากฏว่า เมื่อเด็กนักเรียนพบเห็นตัวอีกัวน่าได้พากันมาเฝ้าดูด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก

นายเฉลา จันทร์ด้วง อายุ 63 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองไผ่ ม.3 เล่าว่า เมื่อช่วงใกล้ค่ำของวันที่ 9 มกราคม 2561 เห็นสัตว์คล้ายกับกิ้งก่าแต่ว่ามีขนาดใหญ่กว่ามาก เกาะอยู่บนกิ่งไม้ ดังนั้น ตนจึงได้ใช้บ่วงเอาไปคล้องที่คอจับเอามาไว้ ซึ่งสังเกตดูแล้วพบว่า สัตว์ที่จับมามีลักษณะไม่เหมือนกับสัตว์ที่มีอยู่ในบริเวณนี้ จากนั้นได้ถามชาวบ้านหลายคนทราบว่า สัตว์ที่จับมาคือ อีกัวน่า มีอายุประมาณ 2 ปี ความยาวจากบริเวณปากถึงหางยาวประมาณ 80 ซม. ตนคาดว่าคงจะเป็นของคนแถวนี้ที่เลี้ยงเอาไว้แล้วหลุดออกมา จึงได้แจ้งให้ นายวิวัฒน์ รุ้งแก้ว ซึ่งเป็นญาติได้ทราบ โดยประสงค์ที่จะมอบให้กับสวนสัตว์พระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ เนื่องจากว่า หากเลี้ยงเอาไว้เกรงอาจจะมีความผิดตามกฎหมายได้ และไม่รู้ว่าจะเลี้ยงเอาไว้ทำไมด้วย

นายอรัญ สิงห์คำ ผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ กล่าวว่า อีกัวน่าตัวนี้ตนจะนำเอาไปเลี้ยงภายในบริเวณสวนสัตว์ของโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและและเทคโนโลยีศรีสะเกษ และอีกัวน่าตัวนี้ จะเป็นน้องใหม่ของสวนสัตว์ เนื่องจากว่า มีตัวอีกัวน่าอยู่ก่อนแล้ว 4 ตัว เป็นอีกัวน่า สีแดง 2 ตัว และอีกัวน่าเขียว 2 ตัว และตัวที่ได้รับมอบใหม่นี้เป็นอีกัวน่าสีเขียว ซึ่งจะเป็นน้องใหม่ในการที่จะให้เด็ก ๆ มาเข้าชมในวันเด็กแห่งชาติปีนี้ ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ

นายนครินทร์ หนูสวัสดิ์ หน.งานสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ กล่าวว่า อีกัวน่าเป็นสัตว์ที่พบว่ากระจายพันธุ์ในเม็กซิโก อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย ขณะนี้มีการนำเอามาเลี้ยงอย่างแพร่หลาย การเลี้ยงเอาไว้ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด ตนจะนำเอาอีกัวน่าสีเขียวตัวนี้ไปอยู่ในกรงรวมกับอีกัวน่าที่มีอยู่แล้ว 4 ตัว จะเป็นการเลี้ยงเหมือนธรรมชาติ โดยอีกัวน่าจะชอบกินผักกาดขาว แมลง จิ้งหรีด และนก ซึ่งตนจะเลี้ยงดูอย่างดีเพื่อไว้ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป

จากกรณีชาวบ้านพบความผิดปกติการซื้อปัจจัยการผลิตโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดในหลายพื้นที่ของ จ.กาฬสินธุ์ มีราคาสูงกว่าท้องตลาด โดยเฉพาะ ต.บัวบาน อ.ยางตลาด และ อ.นาคู อ.กุฉินารายณ์ อ.ห้วยผึ้ง เขาวง และ อ.สมเด็จ เนื่องจากมีการจัดซื้อพันธุ์ปลาดุกขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับราคา อีกทั้งยังมีหัวอาหารปลาดุก และปุ๋ยชีวภาพมีราคาแพงกว่าท้องตลาด จนชาวบ้านต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าร้องทุกข์กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์ดำรงธรรมเรียกร้องให้ตรวจสอบ และคณะกรรมการตรวจสอบของ จ.กาฬสินธุ์ ตรวจพบการซื้อพันธุ์ข้าว สารปรับปรุงดินของ ต.บัวบานแพงมีส่วนต่าง กรรมการทำสัญญาซื้อขายเองผิดระเบียบ และจัดส่งพันธุ์กบให้กับเกษตรกรผิดสเปก

ล่าสุด นายผดุงศักดิ์ อิ่มเอิบ นายอำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวทางอำเภอได้รับรายงานแล้ว พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับ พ.อ.มานพ ไขขุนทด รอง ผอ.รมน.กาฬสินธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะการแจกจ่ายพันธุ์กบให้กับเกษตรกรบ้านโคกก่อง หมู่ 7 ต.บัวบาน พบว่ากบที่นำมาแจกนั้นเป็นกบที่ไม่ตรงสเปกจริง เนื่องจากชาวบ้านต้องการพันธุ์ลูกกบเล็กมาเลี้ยง แต่กลับมีการนำกบขนาดอายุ 4-5 เดือนมาให้แทน โดยอ้างว่าเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และยังประสบปัญหากบตายจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น ทางอำเภอจะต้องลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการดำเนินการตามขั้นตอนและถูกระเบียบหรือไม่และให้การช่วยเหลือต่อไป

สำหรับเรื่องกรณีปัญหาการจัดซื้อปัจจัยการผลิตของ ต.บัวบาน ขณะนี้ทางอำเภอยางตลาดในฐานะฝ่ายปกครองบังคับบัญชาได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงขึ้นมาอีก 1 ชุด โดยจะดำเนินการตรวจสอบกรณีการซื้อปัจจัยการผลิตที่ราคาสูง และการทำสัญญาซื้อขายของประธานและคณะกรรมการชุมชนบัวบานทั้ง 2 กลุ่ม ที่เป็นผู้จัดซื้อปัจจัยการผลิตเองงบทั้งหมดรวมแล้วประมาณ 6 ล้านบาท โดยไม่ให้กลุ่มเกษตรที่เดือดร้อนเป็นผู้ซื้อและจัดหา ซึ่งเป็นการผิดระเบียบ รวมทั้งการสอบข้อเท็จจริงเรื่องการจัดส่งพันธุ์กบให้กับชาวบ้านโคกก่อง หมู่ 7 อีกด้วยว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง ซึ่งหากผลการสอบพบว่ามีการทุจริต และแสวงหาผลประโยชน์กับประชาชน โดยเฉพาะผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งข้าราชการจะส่งเรื่องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินการขั้นเด็ดขาดทันทีไม่มีข้อยกเว้น โดยจะไม่เลี้ยงคนทุจริตไว้อย่างเด็ดขาด เพื่อทำให้เป็นเยี่ยงอย่างและทำให้โครงการ 9101 ฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตามนโยบายรัฐบาลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

“ตนได้เซ็นหนังสือคำสั่งย้ายเกษตรตำบลบัวบานไปดำรงดำรงตำแหน่งเกษตรตำบลหัวงัว เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสอบข้อเท็จจริง ประกอบกับมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาว่าไม่สามารถเข้ากับชุมชนได้ และเพื่อประโยชน์ต่อทางราชการจึงต้องย้ายออกนอกพื้นที่” นายผดุงศักดิ์กล่าว

วันที่ 10 มกราคม ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท พบระดับน้ำบริเวณท้ายเขื่อนลดต่ำลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2560 ทำให้ปรากฏเนินทรายลาดลงจากตลิ่งมีระยะทางกว่า100เมตร ทอดไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาหลายกิโลเมตร และยังพบว่าปริมาณน้ำเหลือพื้นที่ทำการประมงเพียงเล็กน้อย ชาวบ้านน้องนำเรือลงไปจับปลากลางแม่น้ำ เพราะพื้นที่ริมตลิ่งเหลือเพียงทราย ตอไม้ และซากวัชพืช และหลายๆ คนตัดสินใจที่จะนำเรือขึ้นฝั่งเพราะไม่คุ้มค่าน้ำมันที่จะนำเรือล่องไปจับปลาในขณะที่น้ำแห้งขอด เพราะจะจับปลาได้น้อยลงกว่าปกติมาก

นายวันชัย ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่า ปีนี้น้ำท้ายเขื่อนลดเร็วมาก จนชาวบ้านตั้งตัวไม่ทัน ชาวประมงเองหาปลาได้แต่พอกินเท่านั้น ไม่เหลือขายเหมือนช่วงมีน้ำ ซึ่งเมื่อสถานการณ์น้ำต้นฤดูแล้งเป็นแบบนี้ ชาวบ้านหวั่นใจว่า ในปีนี้อาจจะเกิดสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงและยาวนานได้

“หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” เป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยและครอบครัว ให้มีที่อยู่และมีรายได้เสริมเพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว

ล่าสุด พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดงาน 10 ปี หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ และ พิธีมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ที่หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เนื้อที่ 230 ไร่ เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา

กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติและธนาคารทหารไทย ร่วมกันดำเนินโครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์บนพื้นที่ 230 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพเสริมจากการเกษตร และให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยเข้าร่วมโครงการ 31 นาย

โครงการ หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์Ž เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 โดยเจ้าสัวธนินท์มีโครงการจัดสรรที่ดินและธุรกิจให้กับตำรวจ สภ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี จากนั้นได้จัดหาที่ดินเนื้อที่กว่า 200 ไร่ พัฒนาจากที่ดินที่แห้งแล้งขาดความสมบูรณ์ในพื้นที่ ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จำนวน 230 ไร่

โครงการจัดสรรที่ดินและธุรกิจแบ่งเป็นที่พักอาศัย 50 ไร่ นำมาจัดสรรเป็นบ้านพัก 2 ชั้น บนที่ดินครอบครัวละ 600 ตารางวา สร้างโรงเรือนไก่พื้นเมือง 1 หลัง และทำธุรกิจการเกษตร มีการสนับสนุนการปลูกผัก เลี้ยงกบและเลี้ยงสุกร ภายใต้การดูแลของบริษัท เกษตรสันติราษฎร์ จำกัด ครอบครัวตำรวจทั้ง 31 ครัวเรือนเป็นผู้ถือหุ้น

สำหรับพื้นที่ปลูกผักตั้งอยู่บนที่ดิน 97 ไร่ ประกอบด้วย โรงเรือนปลูกผัก จำนวน 56 หลัง ช่วงแรกปลูกเมล่อนและองุ่น ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นการผลิตต้นกะเพราครบวงจร และยังส่งเสริมให้เกษตรกรรอบๆ โครงการจำนวน 75 ครอบครัวปลูกต้นกะเพรา

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า กะเพรา 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ถึง 40,000 บาท ผลผลิตจะส่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารแก่บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ในอนาคตจะมีการปลูกผักชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ อาทิผักสลัด มะเขือเทศ และพริก ได้มีการดำเนินการแล้วในพื้นที่บางส่วน

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบบนที่ดิน 13 ไร่ สร้างเป็นบ่อเลี้ยงจำนวน 168 บ่อ ผลผลิตส่งจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศโดยมีตลาดส่งออกสำคัญคือ ฮ่องกง และสิงคโปร์

ส่วนอาชีพการเลี้ยงสุกรดำเนินการบนพื้นที่ 56 ไร่ มีโรงเรือน 10 หลัง เป็นฟาร์มสุกรขุนสายพันธุ์ซีพี คูโรบูตะ สามารถผลิตสุกรขุนได้ 16,000 ตัว/ปี ดำเนินธุรกิจโดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในรูปแบบของการเช่าที่ดิน ปัจจุบันยังมีสัญญาดำเนินธุรกิจต่อไปอีก 5 ปี หลังจากนั้น ทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมสันติราษฎร์ จำกัด ข้าราชการตำรวจที่ได้เข้าร่วมโครงการถือหุ้นทั้งหมด 31 รายจะได้เป็นเจ้าของอีกด้วย

โดยเฉพาะอาชีพเลี้ยงไก่พื้นเมือง yourplanforthefuture.org เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดส่งพ่อไก่และแม่ไก่พื้นเมืองพันธุ์ดี และให้ตำรวจในโครงการไปเพาะพันธุ์เอง มีเจ้าหน้าที่นักวิชาการคอยให้คำแนะนำตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง จากนั้น จะรับซื้อลูกไก่คืน ประกันรายได้ขั้นต่ำอย่างน้อย 3,000 บาทต่อเดือน ผลการดำเนินการผ่านมา 10 ปีเศษ ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ส่งผลให้ข้าราชการตำรวจที่ได้เข้าร่วมโครงการมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามแนวนโยบายของนายธนินท์ เจียรวนนท์

กล่าวสำหรับการมอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ทั้งหมด 31 ราย แม้ว่าหัวหน้าครอบครัวหากเสียชีวิตไปแล้วก็ยังได้รับมรดกสืบทอดอีกด้วย เป็นการสร้างฝันให้กับข้าราชการตำรวจได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต ถึงแม้ว่าจะเกษียณอายุราชการ หรือเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีโอกาสสานต่อธุรกิจที่ครอบครัวดำเนินการมาก่อนหน้านี้

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์เป็นนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับการพัฒนาที่ยั่งยืน การดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายแห่ง อาทิ บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เป็นการจัดสรรที่ดินพร้อม
ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสุกร นอกจากนี้ ยังมีโครงการไก่ไข่ 3 ล้านตัว ผิงกู่-เครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่เขตผิงกู่ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณประชาชนจีน

“โครงการนี้ทำให้ตำรวจได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีธุรกิจเป็นของตนเอง ครั้งแรกได้มีการกู้ยืมเงินจากธนาคารทหารไทย 56.3 ล้านบาท จากการที่ตำรวจทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ต่างลงแรงลงใจทำงานจนประสบความสำเร็จ ทำให้สามารถปลดหนี้ได้ทั้งหมด มีบ้านและที่ดิน รวมทั้งธุรกิจเป็นของตนเองŽ”

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ทำให้ตำรวจมีรายได้เสริม และสามารถมีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองได้
ถือเป็นโครงการต้นแบบในการเพิ่มรายได้ เสริมสวัสดิการแก่ผู้มีรายได้น้อยอีกทางหนึ่งด้วย

พล.ต.ท.จิตติ รอดบางยาง ผบช.ภ.2 กล่าวเสริมว่า โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ส่งผลให้ข้าราชการตำรวจมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตำรวจหลายคนบ่นเสียดายโอกาสที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ในความเป็นจริงก็อยากให้มีการผลักดันโครงการดังกล่าวในพื้นที่สำนักงานตำรวจภาค 2 ขึ้นอีก แต่ติดปัญหาในเรื่องที่ดินแพง ทำให้ขาดโอกาสที่จะผุดโครงการเพิ่มขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม หากข้าราชการตำรวจดำเนินโครงการโดยขาดที่ปรึกษาอย่างซีพี คงประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบตั้งแต่จุดเริ่มต้นตั้งแต่การเพาะเลี้ยง การปลูกพืชผัก จนไปถึงการรับซื้อ และนำไปแปรรูปออกจำหน่าย ทำให้ข้าราชการตำรวจมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พ.ต.อ.ภูริวัจน์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี ประธานหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์กล่าวว่าขอบคุณที่เครือเจริญโภคภัณฑ์นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามาช่วยสร้างรายได้เพิ่มเสริมสวัสดิการแก่ข้าราชการตำรวจตลอด 10 ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์พัฒนาขึ้นตามลำดับได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตตำรวจในทางที่ดีขึ้น

ด้าน ร.ต.ต.โสภณ สุขศรีใส อายุ 70 ปี เจ้าของบ้านเลขที่ 159/7 หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ กล่าวว่า เมื่อได้เข้าร่วมโครงการชีวิตดีขึ้นเรื่อยๆ มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ที่สำคัญดีใจมากที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน

ขณะที่ ร.ต.ท.แสวง จิตต์อารี อายุ 55 ปี เจ้าของบ้านเลขที่ 159/18 หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ กล่าวว่า ทุกวันนี้มีความสุขมากที่ได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ปฏิบัติหน้าที่ตำรวจได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกลัวว่าอนาคตจะลำบาก อยากเห็นบริษัทดีๆ อย่างนี้ช่วยเหลือสังคมต่อไป

กรมส่งเสริมสหกรณ์เผยความคืบหน้าโครงการธนาคารโคมนมทดแทนฝูง รับเลี้ยงลูกโครอไถ่ถอนเป็นโคสาวตามหลักวิชาการ ช่วยสมาชิกลดต้นทุน-เพิ่มราย ได้ประโยชน์แล้วกว่า 431 ราย เล็งขยายผลยกระดับสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมเป็นผู้ประกอบการรายย่อย พร้อมให้สหกรณ์โคนมขนาดเล็กรวมตัว จับมือตั้งฟาร์มกลางเพื่อบริหารจัดการธุรกิจโคนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าจากการดำเนินโครงการธนาคารโคมนมทดแทนฝูง ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า การจัดตั้งธนาคารโคมนมทดแทนฝูง มีเป้าหมายเพื่อทำให้สมาชิกสหกรณ์โคนมบริหารจัดการโคนมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิต ควบคู่กับการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของน้ำนม ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2559 ซึ่งการเลี้ยงโคนมทดแทนฝูงดำเนินการในลักษณะฟาร์มรวมและบริหารโดยสหกรณ์ ในรูปแบบธนาคารโคมนมทดแทนทำหน้าที่รับฝาก ลูกโค – โครุ่นมาบริหารจัดการที่ฟาร์มกลางของสหกรณ์ เพื่อเลี้ยงดูตามหลักวิชาการ การให้อาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยของโค จนโคเติบโตเป็นโคสาวและท้องเป็นเวลา 3 เดือน จึงจะให้สมาชิกมาไถ่ถอนคืนได้ หรือขายให้แก่เกษตรกรรายอื่น ซึ่งการไถ่ถอนคืนโคสาว สมาชิกอาจชำระเป็นเงินสด เป็นสินเชื่อ หรือให้หักจากค่าน้ำนมดิบที่นำมาขายให้สหกรณ์ก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทางสหกรณ์จะกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการและบันทึกข้อมูลอย่างชัดเจน