ปลูกกล้วยขายใบ ทำเงินให้ชาวบ้านเริ่มต้น 600-700

ที่หมู่ 4 บ้านสงาว ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นหมู่บ้านทำการเกษตร และประมงจับปลาตามลำแม่น้ำโขง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา และอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกกล้วยน้ำหว้า ปลูกตามเชิงเขา และที่ราบ ปลูกกล้วยแต่ไม่ขายกล้วย ตัดแต่ใบตองกล้วยขายกันทั้งหมู่บ้าน สร้างรายได้แต่ละครอบครัวถึงวันละ 600-700 บาท ส่งลูกเรียนจบถึงปริญญาตรี มีพ่อค้ามารับถึงในบ้าน

นางพัฒนรินทร์ แก้วเศรษฐี ชาวบ้าน หมู่ 4 บ้านสง่าว เผยว่า ตนมีอาชีพทำการเกษตร ถึงฤดูทำนาก็ทำนา แต่ว่างจากการทำนาก็ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวนหลายพันต้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านสง่าว จะหันมาปลูกกล้วยกันทั้งหมู่บ้าน และสร้างได้รายเข้าครอบครัวทุกวัน จากการขายใบกล้วย ซึ่งมีราคาแน่นอนกว่าตัดขายได้ทุกวัน ตลาดมีความต้องการมาก มีเท่าไรพ่อค้ารับซื้อหมด เนื่องจากว่า บ้านสงาว เป็นทางผ่านจากจังหวัดเลยไปจังหวัดหนองคาย และอุดรธานี ซึ่ง 2 จังหวัด มีคนทำอาชีพ ทำแหนม ทำหมูยอ และเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของภาคอีสาน จึงต้องการใบตองกล้วย เพื่อห่อแหนมและหมูยอ เป็นจำนวนมาก

“โชคดีของชาวบ้านสงาว ที่มีภูมิลำเนาเป็นที่ราบเชิงเขา ลมไม่แรง การปลูกกล้วยใบตองกล้วยจึงไม่ถูกลมพัดมากนัก ใบไม่แตก จนเป็นที่ต้องการของร้านทำแหนมทำหมูยอ ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจึงปลูกกล้วย เพื่อขายใบตองกล้วยกัน โดยจะเริ่มไปตัดใบกล้วยตั้งแต่เช้า บ่ายๆนำใบกล้วยมาบ้าน และใช้มีดเลาะเอาก้านออก เหลือแต่ในตองกล้วย นำมามัดกองไว้ และช่วงเย็นก็จะมีพ่อค้ามารับ ซึ่งทุกวันพ่อค้าจะสั่งต้องการใบกล้วยกี่มัด ทางชาวบ้านจะรวมกันและขายให้กับพ่อค้า ซึ่งราคาขายมัดละ 10 บาท โดยเฉลี่ยแต่ละบ้านจะขายได้วันละ 60-70 มัดต่อวัน สร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัว 600-700 บาท ต่อวัน บางบ้านขยันมีพื้นที่ปลูกต้นกล้วยมากขายได้วันละ 1,000 กว่าบาทก็มี จนบางบ้านส่งลูกเรียนจบถึงปริญญาตรี ทำงานดีๆเป็นเจ้าเป็นนายไปหลายคนแล้ว จากเงินที่ตัดใบกล้วยขาย” นางพัฒนรินทร์ กล่าว

ไม่ว่าจะเดินทางไปภูมิภาคไหน มักเห็นชาวบ้านต้มข้าวโพดขายริมถนน ผู้คนก็นิยมซื้อกินกัน
ข้าวโพด เป็นที่นิยมของผู้ปลูกและผู้บริโภคมานานหลายปีแล้ว นอกจากปลูกแล้วซื้อขายกันในประเทศ ทราบว่า ยังปลูกแปรรูปส่งไปต่างประเทศอีกด้วย เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณพิรุณ แสงดวง คุณอุไรพรรณ แสงดวง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดพันธุ์สวีทไวโอเล็ท ประสบผลสำเร็จ อยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 2 ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

คุณพิรุณ เล่าว่า “ปัจจุบัน ประกอบอาชีพทำนา หลังจากทำนาก็จะปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สวีทไวโอเล็ทของศรแดง เป็นพันธุ์ต้านทานโรคได้ดี ทนแล้ง รสชาติอร่อย คนนิยม ลูกค้าเขาชอบพันธุ์สวีทไวโอเล็ทนี้มาก…ข้าวโพดพันธุ์นี้ มีรสชาติหวานเหนียวอยู่ในฝักเดียวกัน เวลาเรารับประทานเข้าไปจะหวานเหนียวอยู่ในปากเลย”

เทคนิคการปลูก
คุณพิรุณ เล่าว่า หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ล้มตอซัง จ้างรถไถมาไถ จากนั้นก็ยกร่องแปลง แล้วก็ขุดหลุม ความกว้างหลังแปลงประมาณ 75 เซนติเมตร ระหว่างต้นระหว่างแถวปลูกข้าวโพด 70 คูณ 70 เซนติเมตร หลุมหนึ่งหยอดเมล็ด 2 เมล็ด หยอดเมล็ดแห้งลงไป กลบดิน ใส่น้ำ ปล่อยน้ำซึมให้ไหลเข้าไปในแปลงให้ไหลไปตามร่อง

“การให้ปุ๋ยก่อนหยอดเมล็ดก็รองก้นหลุมก่อน ประมาณช้อนชาต่อหลุม ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ลงไป หลังจากเมล็ดข้าวโพดงอกแล้ว ประมาณ 10 กว่าวัน ให้น้ำครั้งแรก แล้วก็ใส่ปุ๋ยสูตรเสมออีกรอบหนึ่ง หลังจากนั้นประมาณ20 วัน ใส่ปุ๋ยอีกครั้ง ใส่ครั้งนี้เยอะหน่อย ใส่ 15-15-15 กับ 13-13-21 รวมกันเลย โยนเข้าไปในหลุมเลย แล้วก็ขุดดินกลบ” คุณพิรุณ กล่าว

คุณพิรุณ บอกถึงอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตว่า “อยู่ที่ดินฟ้าอากาศนะครับ รุ่นนี้จะไว ถ้าหน้าหนาวจะนาน โดยช่วงปกติหน้าร้อน ประมาณ 70 วัน ถ้าหน้าหนาว ประมาณ 3 เดือนกว่า 90 กว่าวัน โดยอันนี้ที่ปลูก ปลูก 24 เมษายนจะเก็บแล้วเนี่ย ได้ 2 เดือน กับ 4 วัน”

คุณพิรุณ บอกว่า สภาพอากาศและสภาพดินมีผลต่อขนาดฝัก

“ตอนนี้ที่มันอ่อนแอที่สุดคือ โรคใบลาย การป้องกันเราก็ป้องกันตั้งแต่แรก ใช้ยาพ่นไปประมาณ 2-3 ครั้ง ถ้าเจอโรคระบาดเราก็ต้องพ่นซ้ำ ถ้าโรคใบไหม้ต้องพ่นซ้ำเรื่อยๆ แต่รุ่นนี้ดี โรคใบไหม้ไม่ค่อยมี ลักษณะใบไหม้จะเป็นจุดๆ”

คุณพิรุณ บอก และเล่าต่ออีกว่า

“ปลูกเมล็ดพันธุ์ของศรแดงมา 13 ปีแล้วครับ ไม่เคยเปลี่ยนเลย ข้าวโพดข้าวเหนียวหมดเลย เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะอายุสั้น ขายง่าย ราคาดี ไม่ต้องจ้างคนเก็บด้วย เขามาเก็บเอง เราดูแลให้เขาอย่างเดียว”

คุณพิรุณ กล่าวถึงต้นทุนว่า “ค่ารถไถ ไร่ละ 700 บาท แรงงานจะจ้างช่วงหยอดเมล็ดกับกลบปุ๋ย ค่าแรง วันละ 300 บาท ค่าแรง ปุ๋ยอะไรประมาณ 4,000 บาท ประมาณนี้นะครับ กำไรต่อไร่หักเมล็ดพันธุ์อะไรแล้ว เหลือประมาณ 8,000 บาท ต่อไร่ 1 ปี ปลูกประมาณ 2 รอบ”

“ทางด้านผลผลิตต่อไร่ ไร่หนึ่งได้ผลผลิตประมาณ 2 ตันกว่า ปัจจุบัน ปลูก 3 ไร่ 2 งาน หมดเมล็ดพันธุ์ไปประมาณ5 กิโลกรัม แนวโน้มอนาคตคิดว่ามีการขยายเกิดขึ้น ผลผลิตที่ได้สม่ำเสมอ โดย 2 คน ทำได้ประมาณ 3-4 ไร่ ต่อรอบ” คุณพิรุณ บอก

ทางด้านการตลาด คุณพิรุณ บอก “ช่วงปลูกแรกๆ ก็ 5 บาท 50 สตางค์ แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็น 6 บาท เราจะรู้ราคาตั้งแต่ก่อนปลูก โบรคเกอร์เขาจะประกันราคาให้เลย ส่งขายในจังหวัดเชียงใหม่ กิโลกรัมละ 6 บาท ตลอดทั้งปี เป็นราคาประกัน เป็นราคาที่เราพอใจครับ ทางด้านความเสี่ยงในข้าวโพดแต่ละรุ่นไม่มีครับ”

คุยกับนักส่งเสริม ข้าวโพดข้าวเหนียว
ทางด้าน คุณฐิติพันธ์ จงจิระสวัสดิ์ หรือ คุณอุ๋ย ผู้ส่งเสริมการปลูก-ส่งเสริมการขาย กล่าวว่า “เดิมทีที่บ้านปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว ปลูกเองแล้วก็ไปขายเองตามตลาด เราเป็นพ่อค้า เราก็เห็นว่ามีเพื่อนในตลาดบางคนก็ขายของอันนั้นบ้าง อันนี้บ้าง เราก็ไปแนะนำให้เขาขาย และเราก็ปลูกเผื่อเขา ปลูกเผื่อเรื่อยๆ ณ วันหนึ่ง เราออกมาทำส่งเสริมเกษตรกรดีกว่า แล้วให้กลุ่มเพื่อนๆ หรือกลุ่มแม่ค้าที่เราแนะนำเขาเป็นคนขาย ส่งเสริมเกษตรกรปีนี้เป็นปีที่ 12 พอดีครับ พื้นที่ส่งเสริมอยู่ในอำเภอแม่แตงทั้งหมดครับ ขายที่ตัวเมืองเชียงใหม่

ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ครับ แล้วแต่ว่ากลุ่มแม่ค้าจะอยู่ที่ไหน มีต่างอำเภอบ้าง มีแม่ฮ่องสอนบ้าง มีเชียงรายบ้าง ถ้าเป็นแม่ค้าที่เป็นแม่ค้าประจำของเราเนี่ยอยู่ที่เชียงใหม่ เป็นแม่ค้าที่เราส่งเสริมไว้ เป็นแม่ค้ารายย่อยที่ขายนึ่ง มีแม่ค้าอยู่ประมาณ 60 ราย บางรายส่งสูงถึง 500 กิโลกรัม ต่อวัน แล้วแต่ราย บางรายก็แค่ 20 กิโลกรัม รวมแล้วส่งขายประมาณ วันละ 4-5 ตัน ต่อวัน เราวิ่งส่งตามจุดที่เรานัด ใกล้บ้านเขา เส้นหลักๆ มีสายส่งเพียงสายเดียวครับ รถ 1 คัน วิ่งให้สุด จุดที่เรานัดกันประมาณ 10 จุด จุดหนึ่งก็ประมาณ 5-6 ราย บางจุดใหญ่หน่อยก็ 10 กว่าราย อย่างนี้นะครับ”

คุณอุ๋ย เผยสิ่งที่เกษตรกรจะได้ “เราก็ให้เมล็ดพันธุ์แล้วก็รับซื้อ ส่วนเรื่องพวกยาทางเคมี พวกอะไรเนี่ย ร้านเกษตรเยอะ เราก็ให้บ้าง อย่างถ้าเมล็ด เราก็ให้ยืมก่อน แล้วก็ไปหักตอนเก็บผลผลิตครับ…ราคารับซื้อก็เข้ากระเป๋าเกษตรกรเลยครับ 6 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ไม่มีการขึ้นลงตามฤดูกาล เราประกันราคาซื้อ เพราะเราประกันราคาขาย ราคาก็จะไม่ขึ้นไม่ลง ราคาสม่ำเสมอตลอดทั้งปี แต่ว่า 6 บาทนี่ คือเกษตรกรเขาก็แค่ปลูกนะ ไม่มีคนงานอะไร คนงานเนี่ยเราก็เอาคนงานมาเก็บเอง เอาขึ้นรถเอง เขาก็แค่มาจดดูว่าน้ำหนักเท่าไร ตัวคนงานค่าแรงก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 บาท อยู่แล้ว เพราะว่าเราเก็บตอนเที่ยงคืน”

คุณอุ๋ย เผยว่า “การรับเกษตรกรเพิ่ม อันนี้เป็นส่วนของโบรคเกอร์ เราไม่สามารถตอบได้จริงๆ อันนี้เรารับซื้อผ่านโบรคเกอร์แต่ละหมู่บ้านอยู่ ผมจะจ่ายเงินผ่านโบรคเกอร์ แล้วโบรคเกอร์ก็จ่ายเงินให้เกษตรกร โบรคเกอร์จะเป็นตัวการันตีว่าลูกไร่คนนี้ทำงานดีนะ โบรคเกอร์ก็จะคัดสรรมา โบรคเกอร์จะเป็นตัวไปรับประกันกับลูกไร่อีกทีหนึ่งว่าพ่อค้าคนนี้ดีนะ ก็จะเป็นประมาณนี้ครับ รายได้ของโบรคเกอร์ก็จะมาจากเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเงินของเกษตรกร เกษตรกรก็เข้ากระเป๋า 6 บาท เต็มๆ”

“เราไปขายแม่ค้า ถ้าใกล้หน่อย แถวๆ บ้านเราก็ 8-9 บาท ถ้าไกลแล้วเป็นลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าเรา เราก็จะคิด 10 บาท ไม่คิดค่าขนส่ง แต่ต้องอยู่เชียงใหม่ เวลาเขาไปนึ่งขาย เขาก็จะขายที่ 3 ฝัก 20 บาท ต้นทุนซื้อของเขา 3 ฝัก อยู่ที่ประมาณ 7-8 บาท ก็ถ้าเขาซื้อเราไป 1 หน่วย หรือ 1 กระสอบ ราคา 180 บาท หรือ 200 บาท เขาก็จะขายได้ประมาณ 400-500 บาท ส่วนใหญ่ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ศรแดงแทบจะไม่มีอันเสียเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์เลย ยกตัวอย่าง แปลงนี้พูดได้เลยว่า 99 เปอร์เซ็นต์ครับ” คุณอุ๋ย กล่าว

ในส่วนของมุมมองของพ่อค้าคนกลาง พันธุ์นี้ที่นิยมขายมากกว่าพันธุ์อื่น “คุณภาพการกิน ก็คือ กินแล้วอร่อย คนชอบกิน เวลาขายแล้วเนี่ยได้กำไร เพราะว่าขนาดของฝักเขาแทบจะเท่ากัน ฉะนั้น มาตรฐานของฝักจะเท่ากัน ทำให้วันหนึ่งที่เขารับไป 100 กิโลกรัม ทำให้เขารู้ว่า 100 กิโลกรัม ที่เขารับไปเนี่ยจะได้กำไร 1,000 บาท นะเขารู้ คนซื้อเขาก็เน้นมาว่า เอาพันธุ์นี้นะ ลงพันธุ์นี้นะ” คุณอุ๋ย บอก

สำหรับโรคและแมลง คุณอุ๋ย บอกว่า พันธุ์นี้ถ้าเป็นโรคก็จะพบเจอราน้ำค้างครับ ใบไหม้แผลใหญ่ ราสนิมบ้าง ส่วนแมลงก็จะเป็นหนอนเจาะฝัก หนอนเจาะสมอฝ้าย แล้วก็หนอนกระทู้ วิธีการป้องกันและกำจัด โดยการใช้เคมีพ่นตอนต้นอ่อน ส่วนยาโรคพืชก็ใช้ยาโรคพืชแก้ สารเคมีที่ใช้กำจัดหนอนกระทู้เราใช้อะบาเม็กติน แต่ก็จะเป็นช่วงสั้นๆ นะครับ ถ้าติดฝักแล้วเขาก็จะไม่ขึ้นแล้วครับ ถ้าเป็นพวกราน้ำค้างใช้เป็นพวกแมนโคเซบ

มุมมองในอนาคต
“พันธุ์นี้ใช้ได้นะครับ พันธุ์นี้ผมใช้คำว่า ลอยตัว คือเขามีฐานคนกินของเขาอยู่แล้ว คือถ้ามีพันธุ์อื่นเข้ามาเนี่ยมันอาจจะเพิ่มความหวานหรืออาจจะเพิ่มขนาดของฝัก อันนั้นมันก็จะเป็นกลุ่มคนกินอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ตัวนี้ก็คือความอร่อย เขาได้เกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว ฉะนั้นคือเขาเติมเต็มสำหรับการกินแล้ว ก็อนาคตข้างหน้าก็เชื่อว่ายังอยู่ในตลาดตลอดไป ทาง EAST-WEST-SEED หรือ ศรแดง เขาเก่ง”

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกหรือสนใจสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือผลผลิตข้าวโพด สามารถติดต่อผ่าน คุณอุ๋ย ได้โดยตรง

“ถ้าเป็นเชียงใหม่ ก็ส่งฟรีครับ แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีค่าขนส่งครับ” คุณอุ๋ย บอก

คุณอุ๋ย ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว “ถ้าเกษตรกรอยากปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว…ข้าวโพดข้าวเหนียวเขาต้องการน้ำและปุ๋ยสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ปุ๋ยใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ระยะก็ให้มีวินัยหน่อย ระยะการใส่ปุ่ยก็อย่าให้เกิน 15 วัน ครับ ไม่งั้นผลผลิตก็จะไม่ได้ 15 วันนี่ นับตั้งแต่ปลูกเลยครับ เพราะว่าเกษตรกรก่อนปลูกเขาจะมีการรองก้นหลุมอยู่แล้ว ปุ๋ยที่ให้เป็นปุ๋ยตลาดทั่วไปเลยครับ”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฐิติพันธ์ จงจิระสวัสดิ์ หรือ คุณอุ๋ย โทรศัพท์ 085-008-5885 หรือ Facebook : จงเจริญการเกษตร ข้าวโพดข้าวเหนียวเชียงใหม่ หรือการปลูก การดูแลรักษา คุณพิรุณ แสงดวง คุณอุไรวรรณ แสงดวง โทรศัพท์ 085-036-2791 และ 097-154-5527

บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และ บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือบริษัท ยันม่าร์า เข้าร่วมโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคม ในการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้กับโรบอทแทรกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

“SMARTPILOT” คือชื่อผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติของยันม่าร์หรือโรบอทแทรกเตอร์

โรบอทแทรกเตอร์ คือเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เพื่อเปลี่ยนอนาคตของเกษตรกรรมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแทรกเตอร์ที่มีคนขับกับโรบอทแทรกเตอร์ โรบอทแทรกเตอร์ ทำงานแบบไม่มีคนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บเล็ต

โรบอทแทรกเตอร์สามารถทำงานร่วมกับแทรกเตอร์ปกติ โดยแทรกเตอร์ปกติจะทำงานประสานกันพร้อมกับเฝ้าติดตามโรบอทแทรกเตอร์ สื่อสารผ่านการใช้แท็บเล็ตตั้งค่าขั้นตอนการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์ เช่น การสตาร์ตหรือหยุดได้จากระยะไกล

ตัวอย่างการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์
การใช้แทรกเตอร์ปกติร่วมกับโรบอทแทรกเตอร์ สามารถหว่านเมล็ดหลังไถพรวนได้ทันทีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศ จะทำงานประสานกันโดยแทรกเตอร์ไร้คนขับจะไถพรวนและแทรกเตอร์มีคนขับคอยหว่านเมล็ดตามหลัง

การทำงานปรับได้ 2 โหมด คือ

“โหมดเดินหน้า” สามารถทำงานได้จนถึงขอบแปลงนา โดยจะขับเคลื่อนอัตโนมัติเฉพาะเดินหน้าเท่านั้น เวลาเลี้ยวกลับจะเป็นระบบคนบังคับ สามารถทำงานได้จนสุดขอบแปลงเพาะปลูก ก่อนที่เครื่องจักรจะเลี้ยวกลับ
“โหมดอัตโนมัติ” ที่ทำงานด้วยตัวมันเอง จะทำงานอัตโนมัติในเส้นทางที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ได้แก่ สเตียร์ริง (เลี้ยวกลับ) ยกเครื่องจักรทางเกษตรขึ้นลงและเดินหน้า ถอยหลังหยุดเองได้ เปิด-ปิด PTO เองได้

“โรบอทแทรกเตอร์” มีเซ็นเซอร์ความปลอดภัยที่ตรวจจับคนหรือสิ่งกีดขวาง ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะวัดระยะของวัตถุด้วยเลเซอร์หรือคลื่นอัลตราโซนิก กรณีที่ตรวจเจอคนหรือสิ่งกีดขวางรอบข้าง จะหยุดการขับแบบอัตโนมัติ และมี Safety lamp ที่เห็นแล้วรู้สถานะได้ทันที การติดตั้งไฟเพื่อตรวจสอบสถานะการขับแบบอัตโนมัติได้จากทุกทิศทางจึงสามารถดูสถานะของแทรกเตอร์จากจุดที่ห่างจากตัวเครื่องได้

ตัวอย่างการแสดงสถานะ
สีฟ้า : กำลังขับแบบอัตโนมัติ

สีชมพู : เสร็จสิ้นการขับอัตโนมัติและหยุดฉุกเฉิน ไฟติด 3 สี (สีฟ้า สีชมพู และสีเขียว) : หยุดทำงานชั่วคราว (รอ)

ไฟดับหมด : กำลังขับแบบคนบังคับ

“เซฟตี้เบรก” เมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานระหว่างขับแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการเบรกอัตโนมัติ ข้อดีของแทรกเตอร์อัตโนมัติ/โรบอทแทรกเตอร์
บันทึกพื้นที่เพาะปลูกด้วยแท็บเล็ต (ใช้งานง่าย)
สามารถบันทึกพื้นที่เพาะปลูกหรือเครื่องจักรกลการเกษตรโดยใช้แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน จะสร้างเส้นทางโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ควบคุมแค่แตะปุ่มสั่งการ เครื่องก็สามารถทำงานตามเส้นทางที่ตั้งค่าไว้อย่างอัตโนมัติ ส่วนโรบอทแทรกเตอร์สามารถใช้รีโมตควบคุมหยุดการทำงานหรือหยุดชั่วคราวได้

วัดตำแหน่งด้วย RTK-GNSS (N-trip)
สามารถวัดระยะอย่างแม่นยำได้ในระดับเซนติเมตร ด้วยการตรวจหาตำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตจากดาวเทียมนำทาง GNSS และเสารับสัญญาณมาตรฐาน ทำให้สามารถตรวจหาข้อมูลตำแหน่งในรัศมีที่ใกล้กว่าเสารับสัญญาณมาตรฐานได้

คุณชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน ขออนุญาตแนะนำยันม่าร์ให้ทุกท่านได้รู้จัก เราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ปีนี้ก็เป็นปีที่ 108 และเราก็ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 41 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะครับว่าจากนี้ไปความต้องการทางด้านอาหารนั้นจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในขณะที่แรงงานทางภาคการเกษตรกรรมนั้นจะลดลง ซึ่งหากไม่มีนวัตกรรมทางด้านการเกษตรเราก็จะไม่มีการคงไว้ซึ่งอาหารที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้น คิดว่าภายในอนาคตอันใกล้นี้ การทำให้แทรกเตอร์มีความสามารถในการทำงานได้โดยอัตโนมัตินั้นจึงมีความจำเป็นขึ้นมา และทางยันม่าร์ของเราก็ได้มีการตระหนักถึงข้อนี้เลยได้มีการวิจัยออกมาเป็นรถแทรกเตอร์ไร้คนขับหรือที่เราเรียกว่าโรบอทแทรกเตอร์

โดยโรบอทแทรกเตอร์ที่ได้เห็นถือเป็นเครื่องเทคโนโลยีล่าสุด มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งแทรกเตอร์คันนี้ยังคงได้รับรางวัลโรบอทยอดเยี่ยมครั้งที่ 7 ของประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงถือโอกาสการสาธิตรถโรบอทแทรกเตอร์ในวันนี้เพื่อการแสดงออกให้ทุกท่านได้เห็นว่ายันม่าร์มีความทุ่มเทเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด เป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์โรบอทแทรกเตอร์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้นำตัวโรบอทแทรกเตอร์ตัวนี้มาแสดง บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และ บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือบริษัท ยันม่าร์า เข้าร่วมโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคม ในการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้กับโรบอทแทรกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

“SMARTPILOT” คือชื่อผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติของยันม่าร์หรือโรบอทแทรกเตอร์

โรบอทแทรกเตอร์ คือเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เพื่อเปลี่ยนอนาคตของเกษตรกรรมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแทรกเตอร์ที่มีคนขับกับโรบอทแทรกเตอร์ โรบอทแทรกเตอร์ ทำงานแบบไม่มีคนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บเล็ต

โรบอทแทรกเตอร์สามารถทำงานร่วมกับแทรกเตอร์ปกติ โดยแทรกเตอร์ปกติจะทำงานประสานกันพร้อมกับเฝ้าติดตามโรบอทแทรกเตอร์ สื่อสารผ่านการใช้แท็บเล็ตตั้งค่าขั้นตอนการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์ เช่น การสตาร์ตหรือหยุดได้จากระยะไกล

ตัวอย่างการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์
การใช้แทรกเตอร์ปกติร่วมกับโรบอทแทรกเตอร์ สามารถหว่านเมล็ดหลังไถพรวนได้ทันทีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศ จะทำงานประสานกันโดยแทรกเตอร์ไร้คนขับจะไถพรวนและแทรกเตอร์มีคนขับคอยหว่านเมล็ดตามหลัง

การทำงานปรับได้ 2 โหมด คือ

“โหมดเดินหน้า” สามารถทำงานได้จนถึงขอบแปลงนา โดยจะขับเคลื่อนอัตโนมัติเฉพาะเดินหน้าเท่านั้น เวลาเลี้ยวกลับจะเป็นระบบคนบังคับ สามารถทำงานได้จนสุดขอบแปลงเพาะปลูก ก่อนที่เครื่องจักรจะเลี้ยวกลับ
“โหมดอัตโนมัติ” ที่ทำงานด้วยตัวมันเอง จะทำงานอัตโนมัติในเส้นทางที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ได้แก่ สเตียร์ริง (เลี้ยวกลับ) ยกเครื่องจักรทางเกษตรขึ้นลงและเดินหน้า ถอยหลังหยุดเองได้ เปิด-ปิด PTO เองได้

“โรบอทแทรกเตอร์” มีเซ็นเซอร์ความปลอดภัยที่ตรวจจับคนหรือสิ่งกีดขวาง ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะวัดระยะของวัตถุด้วยเลเซอร์หรือคลื่นอัลตราโซนิก กรณีที่ตรวจเจอคนหรือสิ่งกีดขวางรอบข้าง จะหยุดการขับแบบอัตโนมัติ และมี Safety lamp ที่เห็นแล้วรู้สถานะได้ทันที การติดตั้งไฟเพื่อตรวจสอบสถานะการขับแบบอัตโนมัติได้จากทุกทิศทางจึงสามารถดูสถานะของแทรกเตอร์จากจุดที่ห่างจากตัวเครื่องได้

ตัวอย่างการแสดงสถานะ
สีฟ้า : กำลังขับแบบอัตโนมัติ

สีชมพู : เสร็จสิ้นการขับอัตโนมัติและหยุดฉุกเฉิน ไฟติด 3 สี (สีฟ้า สีชมพู และสีเขียว) : หยุดทำงานชั่วคราว (รอ)

ไฟดับหมด : กำลังขับแบบคนบังคับ

“เซฟตี้เบรก” เมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานระหว่างขับแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการเบรกอัตโนมัติ ข้อดีของแทรกเตอร์อัตโนมัติ/โรบอทแทรกเตอร์
บันทึกพื้นที่เพาะปลูกด้วยแท็บเล็ต (ใช้งานง่าย)
สามารถบันทึกพื้นที่เพาะปลูกหรือเครื่องจักรกลการเกษตรโดยใช้แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน จะสร้างเส้นทางโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ควบคุมแค่แตะปุ่มสั่งการ เครื่องก็สามารถทำงานตามเส้นทางที่ตั้งค่าไว้อย่างอัตโนมัติ ส่วนโรบอทแทรกเตอร์สามารถใช้รีโมตควบคุมหยุดการทำงานหรือหยุดชั่วคราวได้

วัดตำแหน่งด้วย RTK-GNSS (N-trip)
สามารถวัดระยะอย่างแม่นยำได้ในระดับเซนติเมตร ด้วยการตรวจหาตำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตจากดาวเทียมนำทาง GNSS และเสารับสัญญาณมาตรฐาน ทำให้สามารถตรวจหาข้อมูลตำแหน่งในรัศมีที่ใกล้กว่าเสารับสัญญาณมาตรฐานได้

คุณชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน ขออนุญาตแนะนำยันม่าร์ให้ทุกท่านได้รู้จัก เราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ปีนี้ก็เป็นปีที่ 108 และเราก็ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 41 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะครับว่าจากนี้ไปความต้องการทางด้านอาหารนั้นจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในขณะที่แรงงานทางภาคการเกษตรกรรมนั้นจะลดลง ซึ่งหากไม่มีนวัตกรรมทางด้านการเกษตรเราก็จะไม่มีการคงไว้ซึ่งอาหารที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้น คิดว่าภายในอนาคตอันใกล้นี้ การทำให้แทรกเตอร์มีความสามารถในการทำงานได้โดยอัตโนมัตินั้นจึงมีความจำเป็นขึ้นมา และทางยันม่าร์ของเราก็ได้มีการตระหนักถึงข้อนี้เลยได้มีการวิจัยออกมาเป็นรถแทรกเตอร์ไร้คนขับหรือที่เราเรียกว่าโรบอทแทรกเตอร์