ปลูกง่าย กินง่าย เหมาะสำหรับคนเมือง มีพื้นที่จำกัดผักต่างถิ่น

ที่มาเจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยเนื่องจากรสชาติถูกปากคนไทยมีหลายชนิด เช่น มะละกอ สับปะรด แครอต และที่ไม่น่าเชื่อคือ พริกขี้หนู ต่างก็เป็นพืชที่เข้ามาในไทยเป็นร้อยปีแล้ว จนเรานึกว่าเป็นพืชประจำถิ่นบ้านเรา เพราะเรานำมาประกอบอาหารตั้งแต่อ้อนแต่ออก ลืมตาก็เห็นพืชผักเหล่านี้แล้ว จะไม่ใช่ของบ้านเราได้อย่างไร

ผักไชยา คะน้าเม็กซิกัน ผักโขมต้น หรือ ชายา (ภาษาสเปน Chaya) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Cnidoscolus chayamansa ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่ม อายุหลายสิบปี อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก มีลำต้นอวบน้ำ มียางขาวออกมาเมื่อถูกหัก ทรงพุ่มตั้งตรง มีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร ใบกว้าง มีแฉกคล้ายใบมะละกอ ผักไชยาเป็นผักกินใบ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

ไชยา น่าจะเป็นผักที่เข้ามาในไทยไม่เกินสิบปีที่ผ่านมา ผมรู้จักไชยาเมื่อสามปีก่อน ในงานมหัศจรรย์พันธุ์พืชของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ทีแรกนึกว่าเป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ จากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่พอได้ยินอีกชื่อ เรียกว่า คะน้าเม็กซิกัน ก็รู้ว่าเป็นพืชต่างถิ่น เห็นรูปที่ถ่ายไว้สามารถนำไปแทนคะน้าโดยผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว ผัดน้ำมันหอยได้ด้วย จึงสนใจไปดู สนนราคาตอนนั้น ขายต้นละ 100 บาท เป็นกระถางเล็กๆ ถ้าเอากิ่งเปล่าๆ ที่ตัดออกมา ยาวประมาณ 1 เมตร ก็ขาย 100 บาท เช่นกัน คนขายบอกว่าไปหั่นเป็นท่อนๆ ยาวสักคืบใหญ่ ก็ปลูกได้หลายกระถาง

จึงซื้อมา 1 กิ่ง เอามาตัดได้ 5 ท่อน ปลูกไป 5 กระถาง แอบเอาไว้ในที่ร่มรำไร หมั่นรดน้ำทุกวัน ไม่ถึงสองสัปดาห์ ไชยาก็แตกกิ่งออกมาทุกกระถาง นับเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่ายเอามากๆ ตอนนั้นยังไม่กิน เพราะยังมีน้อยอยู่ เมื่อต้นมีขนาดใหญ่แล้วก็นำมาลงดินข้างโรงเรือน จนพุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โคนต้นขนาดข้อมือผู้ใหญ่ก็ยังไม่กล้ากิน เพราะหักใบดูเป็นยางสีขาวเหมือนต้นมะละกอ ลังเลอยู่ ไม่กล้ากิน

จนมาถึงคราวคับขันไม่มีผักกิน เอ้า! กินก็กิน ต้องลองดู แต่เขาบอกว่า ให้นำยอดไชยามาลวกก่อน ก็เด็ดยอดไชยามา ความยาวประมาณ 1 ฟุต เด็ดทั้งใบทั้งก้าน แล้วก็ปอกเอาผิวของยอดออกเหมือนลอกต้นคะน้า ให้ความเขียวหมด จะเหลือเนื้อใสๆ หั่นเฉียงเป็นท่อนๆ ตั้งน้ำจนเดือด พอน้ำเดือดใส่ผักลงไปคนให้โดนน้ำร้อนจนทั่ว ประมาณ 1-2 นาที เอาผักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ คราวนี้จะทำอะไรกินก็ทำ ลองชิมผักดูเมื่อลวกแล้ว รสชาติอร่อย มีติดหวานเล็กน้อย ผมเริ่มเมนูแรกที่คะน้าหมูสับใส่พริกขี้หนูลงไปนิดหน่อย รสชาติค่อนข้างดี เหมือนคะน้าทั่วไป แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวหน่อยๆ เหมือนคะน้า แต่ปรากฏว่ามีบางส่วนคือ ก้านล่างแข็งเกินไป คราวต่อไปจึงต้องเลือกก้านเอาเฉพาะจากยอดแรกลงมาแค่สองก้านเป็นพอ ก้านล่างลงจากนั้นให้ตัดทิ้ง เหลือใช้ได้เฉพาะใบ

ตั้งแต่นั้นการปลูกคะน้าปกติเป็นเรื่องยากสำหรับผมเสียแล้ว เพราะศัตรูพืชค่อนข้างมาก โรยเมล็ดไปได้สองสามวันช่วงนี้จะต้องรดน้ำส้มควันไม้ไล่แมลงอยู่เสมอ เผลอเป็นโดนกินเรียบทั้งแปลง พอรู้รสชาติของคะน้าเม็กซิกัน คะน้าจีนเลยเลิกปลูก แต่สำหรับทำการค้าโดยติดยอดไชยาขายค่อนข้างยาก เพราะยอดไชยาเหี่ยวเร็วมาก มาทำเป็นกำแล้วเก้งก้าง โอกาสที่จะปลูกไชยาขายน่าจะยาก แต่เหมาะสำหรับปลูกไว้กินที่บ้านมาก เนื่องจากปลูกครั้งเดียว กินได้ยี่สิบสามสิบปี

นอกจากเมนูคะน้าหมูสับ คะน้าน้ำมันหอย คะน้าเต้าเจี้ยว แล้ว ยังเอามาลวกกินกับน้ำพริก ชุบแป้งทอด ทำราดหน้า ผัดซีอิ๊ว ผัดไข่ หรือสามารถใส่แทนผักได้แทบทุกอย่าง

การปลูก และการขยายพันธุ์
ไชยา ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ จนแพร่หลายมากแล้ว โดยการตัดกิ่งที่เริ่มเป็นสีเขียวเข้มออกขาวมาปักชำ ตัดความยาวขนาด 1 คืบ ก็เพียงพอแล้ว นำมาปักในกระถาง ขนาดประมาณ 5-6 นิ้ว ใส่ดินพร้อมปลูก วางไว้ในที่แดดรำไร ไม่นานไชยาก็แตกกิ่ง เมื่อไชยาเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ค่อยนำลงปลูกในดิน ปัจจุบัน ราคากระถางละ 20-30 บาท เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว และเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว การดูแลรักษาง่ายมาก ไม่มีแมลงรบกวน ชอบดินโปร่งที่ระบายน้ำได้ดี ขออย่าให้มีน้ำท่วมขังนานเกินไป แสงแดดที่ชอบจะเป็นแสงตั้งแต่รำไรจนถึงแสงแดดจัด ผักไชยาปลูกครั้งเดียวกินได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องพึ่งปุ๋ย ยา ใส่แค่มูลสัตว์ ให้นานๆ ครั้งก็เพียงพอ เพียงแต่หมั่นตัดไม่ให้กิ่งสูงเกินสองเมตร เพื่อสะดวกในการเก็บมากิน สำหรับคนที่ชอบเกษตรไร้สารพิษเป็นเรื่องดีมาก และเป็นที่น่ายินดีที่ไชยาสามารถปลูกได้ทั่วประเทศไทยโดยไม่มีข้อรังเกียจภาค

คะน้าเม็กซิกัน เป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน วิตามิน แคลเซียม โพแทสเซียม และเหล็ก แล้วยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ใบคะน้าเม็กซิกันยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใดๆ ที่ปลูกบนดิน 2-3 เท่าอีกด้วย แต่ใบคะน้าเม็กซิกันดิบมีพิษ เนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนกิน โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ในการทำให้สุก เพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย

สถาบันโภชนาการแห่งชาติเม็กซิกัน กล่าวถึงประโยชน์ของ “ผักไชยา” ว่า ช่วยในการหมุนเวียนโลหิต ช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการมองเห็น ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันอาการไอ เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก ป้องกันโลหิตจาง โดยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด เพิ่มประสิทธิภาพความจำ และการทำงานของสมอง ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบและโรคเบาหวาน

จริงๆ แล้ว ผักไชยา เป็นพืชที่เหมาะสำหรับคนเมือง เพราะเจริญเติบโตง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มาก สามารถปลูกในกระถางก็ได้ ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด หมั่นเด็ดยอดเรื่อยๆ ไชยาก็จะแตกยอดให้เรากินได้ตลอดไม่เกี่ยงฤดู หนำซ้ำไม่ค่อยมีศัตรูพืชและโรคพืชรบกวน อาจถือได้ว่าเป็นผักปลอดภัยที่ปลูกได้ดีข้างบ้าน ที่สำคัญอย่าลืมลวกน้ำเดือดเสียก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร

เกษตรกรรมนับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย ที่หล่อเลี้ยงปากท้องคนไทยมาช้านาน แต่ทำไมเกษตรกรในประเทศไทยถึงยังต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จุนเจือครอบครัวอยู่ ซึ่งถ้าหากลองมองย้อนดูดีๆ แล้วจะเห็นช่องว่างอยู่มากมายที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านราคาผลผลิตที่ตกต่ำ หรือในบางปีสภาพฝนฟ้าอากาศไม่เป็นใจ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ส่งผลทำให้ไร่นาเกิดความเสียหาย รวมถึงการที่เกษตรกรรุ่นเก่าเข้าไม่ถึงองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงต้องตั้งความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่หรือเกษตรกรรุ่นลูก ในการเข้ามาพัฒนาผืนดินทำกินของพ่อแม่ ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองและยั่งยืนได้อีกครั้ง ด้วยการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

ซึ่งทางบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของเกษตรกรไทย อยากให้พี่น้องเกษตรกรทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงได้เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” เปิดแห่งแรกในจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้ชื่อ “ณ นา ฟาร์ม” สนับสนุนผู้แทนจำหน่ายคูโบต้า มหาสารคาม ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบมาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน

คุณวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา สยามคูโบต้าได้เปิดคูโบต้าฟาร์มอย่างเป็นทางการ ที่ได้นำเสนอแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา โมเดล รวมถึงการต่อยอดนวัตกรรมการเกษตรมาใช้ เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจการทำเกษตร ได้เข้ามาสัมผัสกับประสบการณ์ในฟาร์ม ก่อนลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งทางสยามคูโบต้ามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ที่ได้มอบให้จะช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น ต้นทุนการเพาะปลูกลดลง รวมถึงช่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อฟาร์มเกษตร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภัยแล้ง น้ำท่วม เพราะว่าทางสยามคูโบต้ามีเทคโนโลยีจัดการบริหารในส่วนของน้ำ ดิน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

“สยามคูโบต้า ได้เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้ และได้ตั้งเป้าหมายว่า จะรุกขยายฟาร์มตัวอย่างให้กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัด เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่ไกลไม่สะดวกเดินทางเข้ามาชมคูโบต้าฟาร์มตัวอย่างที่จังหวัดชลบุรีได้ จึงมองเห็นโอกาสการต่อยอดจากตัวแทนผู้จำหน่ายของสยามคูโบต้า ที่มีอยู่ทุกจังหวัด และได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันเมื่อช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งก็มีตัวแทนผู้จำหน่ายจากจังหวัดมหาสารคามที่ให้ความสนใจและตั้งใจอยากจะนำองค์ความรู้ลักษณะเดียวกันกับทางคูโบต้าฟาร์ม มาพัฒนาประยุกต์ใช้เป็นคลังความรู้ให้กับเกษตรกรภายในจังหวัดอยู่แล้ว โครงการดีๆ อย่างนี้จึงสำเร็จเกิดขึ้นมาได้”

สนับสนุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ คือเรื่องน้ำ จากที่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 1,230 มิลลิเมตรต่อปี มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับน้ำฝนของจังหวัดอื่นๆ ทั้งประเทศ หรือดูจากค่าเฉลี่ยวันที่ฝนตกจะอยู่ที่ประมาณ 90 วัน ทำให้จังหวัดมหาสารคามต้องประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ส่งผลทำให้ในบางฤดูผลผลิตน้อยกว่าที่ควรหรือไม่สามารถเพาะปลูกพืชผสมผสานได้ เพราะไม่มีน้ำสำรอง และอีกส่วนคือปัญหาเรื่องดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีดินเค็มค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นเรื่องของการปรับปรุงบำรุงดิน ถือเป็นเรื่องสำคัญในการเพาะปลูก ถ้าหากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินก่อนปลูก หากใส่ปุ๋ยลงไปการดูดซึมแร่ธาตุก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าปุ๋ยอีกด้วย

สนับสนุนด้านโซลูชั่น ช่วยแก้ปัญหาตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะด้าน นำองค์ความรู้จากคูโบต้าฟาร์มมาใช้ กว่า 20 โซลูชั่น ยกตัวอย่างเช่น โซลูชั่นเรื่องน้ำ ก็จะมีการคำนวณปริมาณน้ำก่อนปลูกว่าพื้นที่ตรงนี้ และชนิดของพืชผักที่ปลูก ต้องการน้ำปริมาณเท่าไหร่ในการเพาะปลูก เพื่อให้ทราบข้อมูลที่จะสามารถขุดบ่อทำพื้นที่กักเก็บน้ำได้ในปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงการนำผ้าใบคอนกรีตมาใช้ เพื่อป้องกันการกัดเซาะของที่ลาดชัน การดาดสระ และการเสริมความแข็งแรงของคันดินเพื่อป้องกันดินไหล น้ำท่วม ร่วมถึงการนำระบบ IoT เข้ามาใช้ในการลดแรงงานคน ใช้เพียงระบบสั่งการเปิด-ปิด รดน้ำผ่านทางโทรศัพท์ง่ายแค่ปลายนิ้ว
สนับสนุนด้านการออกแบบฟาร์ม มีการสำรวจพื้นที่เพื่อดูทิศทางการไหลของน้ำ การขุดบ่อน้ำ รวมถึงเรื่องของขนาดความกว้างของพื้นที่เพาะปลูกให้อยู่ในระยะเหมาะสมในการนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาใช้ภายในแปลง แล้วส่งต่อผู้แทนจำหน่ายเพื่อดำเนินการสร้าง

โดยสยามคูโบต้ามีความคาดหวังว่า ณ นา ฟาร์ม แห่งนี้จะเป็นต้นแบบฟาร์มยอดเยี่ยมได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยทางผู้แทนจำหน่ายที่มีศักยภาพสูง และมีความเข้าใจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ประกอบกับที่พื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร เพราะฉะนั้นทั้งความสามารถและความเหมาะสมของผู้แทนจำหน่ายมีล้นเหลือที่จะสามารถพัฒนาเป็นฟาร์มตัวอย่างได้อย่างแน่นอน รวมไปถึงความคาดหวังไปถึงคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจอาชีพเกษตรมากขึ้น และมองว่าอาชีพเกษตรสามารถเป็นธุรกิจที่สามารถที่จะเติบโตมีผลกำไร ทำแล้วยั่งยืนในระยะยาว เพราะคนรุ่นใหม่คือความหวังของการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย

ทางด้าน คุณธนัญญา พรรักษมณี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท คูโบต้า มหาสารคาม จำกัด ผู้บริหารรุ่นใหม่ กล่าวว่า สาเหตุในการสร้าง ณ นา ฟาร์ม ขึ้นมา เนื่องจากได้มองเห็นถึงศักยภาพพื้นที่ตรงนี้ว่ามีความเหมาะสม รวมถึงกำลังพลที่จะสามารถช่วยดูแลในส่วนของ ณ นา ฟาร์ม ได้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มีโอกาสได้เห็นรูปแบบฟาร์มสมัยใหม่ ที่มีการผสมผสานนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะยังมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงฟาร์มคูโบต้าได้ ซึ่งนับจากนี้เกษตรกรทั้งในจังหวัดและอำเภอใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไหนไกลแล้ว เพราะที่ ณ นา ฟาร์ม แห่งนี้ได้ยกตัวอย่างฟาร์มสมัยใหม่มาไว้ตรงนี้แล้ว เพื่อให้เกษตรกรในจังหวัดมหาสารคามได้มองเห็นว่าเกษตรยุคใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

“ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาบริหารงานของครอบครัว ตั้งแต่ในช่วงแรกที่ได้เข้ามาก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเกษตรที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีไอโอทีแล้ว จึงอยากเชิญชวนให้เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือบางคนที่ทิ้งที่ดินทำกินไปทำงานในต่างจังหวัด ได้กลับมาที่บ้านตัวเอง ได้เห็นว่าในจังหวัดของตัวเองเปลี่ยนไปยังไง ตอนนี้เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกลที่บ้านยังมีอะไรให้น่าทำอีกเยอะ” คุณธนัญญา กล่าว

นอกจากนี้ คุณสุนิษา พรรักษมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะที่ ณ นา ฟาร์ม เราเป็นฟาร์มต้นแบบแห่งแรก ก็รู้สึกตื่นเต้นและภาคภูมิใจมากๆ ว่าอย่างน้อยเราก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยได้ และฟาร์มแห่งนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากขาดผู้สนับสนุนองค์ความรู้ดีๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน (บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด) วิสาหกิจชุมชน และอีกหลายภาคส่วน โดยมีความคาดหวังว่า ณ นา ฟาร์ม แห่งนี้ จะเป็น Smart Farm ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถปลูกพืชได้หลากหลาย ช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก รวมทั้งลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น อีกทั้งหวังสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรต่างๆ ของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น”

โดยภายในส่วนของ ณ นา ฟาร์ม (NANA FARM) จะแบ่งออกเป็น 6 โซน ประกอบด้วย

โซนแกลอรี่น้ำ : ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำภายในฟาร์ม ได้แก่ การคำนวณต้นทุนน้ำ การบริหารจัดการน้ำผิวดิน การใช้นวัตกรรม Cement Fabric การให้น้ำพืชแบบอัจฉริยะด้วยโทรศัพท์มือถือ การใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ การขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร

โซน มีนาแล้ว เมื่อไหร่จะมีใจ (เกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา) : เป็นโซนปลูกข้าว กข 43 เพื่อนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ดีต่อสุขภาพ และข้าวหอมใบเตย
โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ : เป็นการปลูกพืชผสมผสาน ทั้งพื้นผักสวนครัวตามรั้ว ผลไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพรแซม การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช
โซนแกลอรี่ดิน : เป็นอาคารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดินชนิดต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพดินเค็ม การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินทรายด้วยการปลูกปอเทือง การไถกลบตอซังและใช้เป็นพื้นที่รองรับการจัดงานสัมมนา
โซนเกษตรรายได้สูง : มีโรงเรือนที่เป็นระบบอัจฉริยะ การปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่มีราคาสูง

โซน ผักก่อนไหม ถ้าใจเหนื่อยล้า (พืชสลัด พริก และมะเขือ) : เป็นโซนปลูกผักชนิดต่างๆ โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของคูโบต้า ด้วยการนำนวัตกรรมเครื่องยกร่องผัก และเครื่องปลูกผักที่มาช่วยลดต้นทุนแรงงาน อีกทั้งมีอาคารนิทรรศการและร้านอาหาร เป็นพื้นที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของ ณ นา ฟาร์มและจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ณ นา ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำหรับการเข้าเยี่ยมชมจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบรายบุคคล สามารถ Walk in เข้ามาเยี่ยมชม ใช้บริการร้านอาหาร รวมถึงอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนเกษตรกรได้ทุกวัน และแบบหมู่คณะ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มราชการ กลุ่มนักศึกษา สามารถเข้าเยี่ยมชมโดยมีวิทยากรร่วมบรรยายได้สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่ วันอังคารและวันพฤหัสบดี โดยสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง

ในยุคที่เศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ มีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอาชีพการงานจะสร้างกำไรได้มากแค่ไหน ก็มีอันต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดั่งการโดนต้องคำสาปเลยทีเดียว

แต่สำหรับเขาคนนี้ คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย ที่เล็งเห็นถึงทางออก โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางงานเกษตร และเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว

จากนักเรียนนอก
สู่การเป็นเกษตรกรพื้นบ้าน
คุณอภิศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ และปริญญาโทเอกภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาสได้โควต้าไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้รู้จักกับอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ท่านก็มีความรู้ความเข้าใจและค่อนข้างสนใจเรื่องของสหกรณ์การเกษตร ท่านก็มักจะพาไปดูการทำเกษตรในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามีความคิดที่จะกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิดจังหวัดนครราชสีมานั่นเอง เพราะมองว่าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ประเทศไทยดีกว่าประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ก็ตัดสินใจที่จะกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อกลับมาทำการเกษตรที่บ้านทันที

และเนื่องด้วยความที่จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เป็นจำนวนมากใช้ในการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงกลายเป็นแรงสนับสนุนชั้นดีที่ทำให้คุณอภิศักดิ์ กล้าที่จะเดินหน้าทำการเกษตรอย่างเต็มที่

“พอดีที่บ้านทำนากันเยอะ ก็เลยจัดตั้งโรงสีข้าวขึ้นมา พอมีโรงสีเราก็มีรำมีปลายข้าว เราก็เอาสิ่งเหล่านี้ไปเลี้ยงสัตว์ ก็จะเป็นเป็ดไข่ แล้วก็เลี้ยงค่อนข้างเยอะ ก็เลยทำให้หาอาหารไม่ทัน แรกๆ ลำบากหน่อย พอเลี้ยงมาได้ 6 ปีแล้ว ก็เริ่มรู้แนวทาง และก็ประคองมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้” คุณอภิศักดิ์ กล่าว

พอหลังจากที่เขาได้เทคนิคต่างๆ มากมายจากการเลี้ยงเป็ดไข่ จึงทำให้เขามีเวลาว่างมากพอที่จะมีไอเดียว่า จะปลูกพืชผักสวนครัวต่อทันที แล้วก็ได้หาข้อมูลการปลูกผักสวนครัวจากโลกโซเชียลต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ

หลังจากที่ลงมือปลูกผัก พืชชนิดแรกที่คุณอภิศักดิ์ปลูกก็คือ ถั่วฝักยาว ซึ่งในช่วงแรก คุณอภิศักดิ์ ได้บอกว่า ผลจากการที่ปลูกถั่วฝักยาวเพียงอย่างเดียว ทำให้ทุกครั้งเวลาจะนำไปขาย จะทำให้ขายไม่ออก เนื่องจากถั่วฝักยาวที่ผลิตมีจำนวนเยอะเกินความต้องการ ตลาดทั่วไปจึงไม่สามารถรับซื้อได้ทั้งหมด

คุณอภิศักดิ์ จึงเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สมัคร Royal Online ด้วยการใช้พื้นที่ที่ตนเองมีเพียง 2 ไร่นั้น ในการจัดทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในอีกด้านคุณอภิศักดิ์ ยังบอกอีกว่า เขาได้ใช้เกษตรประณีตในการปลูกในพื้นที่จำกัด จะมีพืชที่ใช้ปลูกคือ แคบ้าน เพกา กะเพรา โหระพา และแมงลัก โดยให้เหตุผลถึงการเลือกปลูกพืชเหล่านี้ว่า เนื่องจากช่วงหลังๆ ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่บ่อยมาก นั่นรวมถึงที่โคราชด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกษตรกรหนุ่มคนนี้ เลือกที่จะปลูกพืชที่ทนแล้ง เพราะนอกจากจะสู้ภัยแล้งได้แล้ว ยังเป็นพืชที่ดูแลง่ายและก็สามารถจำหน่ายได้ง่ายด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ คุณอภิศักดิ์ ยังบอกถึงวิธีการจัดตำแหน่งพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรอีกว่า

“ผมมีพื้นที่อยู่ 2 ไร่ ในส่วนของไร่ที่หนึ่ง ผมก็จะแบ่งไว้เลี้ยงสัตว์ ส่วนอีกไร่ก็จะใช้ปลูกพืช…พอดีว่ามันจะมีคลองอยู่ทางด้านหน้าที่ติดถนน ผมก็เลยใช้เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงปลาไป พอมาปีนี้ก็แล้งอีกแล้ว น้ำก็ไม่มี เลยหยุดการเลี้ยงปลาไปก่อน”

จากปัญหาภัยแล้งตรงนี้ทำให้คุณอภิศักดิ์ ต้องทำการเกษตรเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผักสวนครัว วิธีการป้องกันศัตรูพืช
แบบประหยัด
แน่นอนว่าอุปสรรคอันดับต้นๆ ของการทำการเกษตรคือ เรื่องของศัตรูพืชที่พร้อมจะสร้างความเสียหายให้กับพืชผลไร่นา ของเกษตรกรทุกๆ ครัวเรือน ซึ่งถ้าหากเป็นคนทั่วไปอาจจะยังใช้สารเคมีต่างๆ ในการกำจัดศัตรูพืชต่างๆ แต่สำหรับคุณอภิศักดิ์แล้ว เลือกที่จะกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ด้วยการใช้พริกแกงในการป้องกันแมลง ซึ่งเขาก็ได้บอกว่า ได้แนวคิดที่จะใช้พริกแกงในการกำจัดศัตรูพืชมาจากโลกโซเชียล นั่นก็คือ ยูทูป เขาได้ศึกษาวิธีการต่างๆ ในยูทูปอย่างละเอียด ก่อนที่จะลงมือผสมพริกแกงตามสูตร (อัตราส่วน พริกแกง 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน)

โดยเขาบอกว่า ส่วนผสมของเครื่องพริกแกงจะมีสมุนไพร ซึ่งได้แก่ ขิง ข่า จะคอยช่วยป้องกันเชื้อราไม่ให้ขึ้นพืชและตัวพริกจะใช้ป้องกันแมลงได้ไปในตัว ส่วนโรคพืชจะใช้แต่ไตรโคเดอร์มา และเขายังบอกอีกว่ามีรายการหนึ่งของญี่ปุ่น เขาก็บอกว่าพวกน้ำยาล้างจาน หรือที่เรียกว่า สารจับใบ มันจะไปทำลายผิวของแมลงศัตรูพืช ก็เลยใช้ผสมไปในพริกแกงประมาณ 1 ช้อน เมื่อผสมได้แล้วจะใช้ฉีดทุกอาทิตย์ และที่สำคัญพืชผักที่ได้จะปลอดสารพิษอย่างแน่นอน

ในส่วนของปุ๋ยก็ใช้สิ่งของที่ตนเองมี โดยจะเป็นการใช้แกลบที่มีอยู่ในโรงสีอยู่แล้ว นำไปหมักกับอุจจาระของหมูและอุจจาระของเป็ดที่ได้เลี้ยงเอาไว้ เพื่อนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ย นี่เท่ากับว่าสามารถประหยัดได้ทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนของพริกแกงกำจัดแมลง ที่ต้องจ่ายให้กับพริกแกงเพียง กิโลกรัมละ 30 บาทเท่านั้น และในส่วนของค่าปุ๋ยก็ไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียว หรือถ้าเสียจริงๆ ก็ดูจะน้อยมาก

โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะขายได้ดีเกือบทั้งหมด ซึ่งสินค้าที่สร้างรายได้ดีหลักๆ ให้กับคุณอภิศักดิ์ ก็จะเป็นไข่เป็ด แต่ก็จะมีอุปสรรคอยู่ที่หน้าฝน เพราะจะทำให้ผลผลิตไม่สามารถออกได้มากตามที่ต้องการ ส่วนของพืชผักสวนครัวก็สามารถจำหน่ายสู่ตลาดได้เรื่อยๆ นั่นเป็นเพราะการปลูกผักที่หลากหลาย จึงสามารถขายออกได้ทั้งหมด