ปลูกผักสวนครัวในกระถาง ไอเดียง่ายๆ ทำได้แม้มีพื้นที่จำกัด

การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะได้อาหารสะอาด ปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย แถมได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย เริ่มแรก ควรเลือกพืชผักที่ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว เช่น ผักบุ้ง ผักชี กระเพรา โหระพา ผักกาดกวางตุ้ง เป็นตัวอย่าง ถ้าในช่วงฤดูหนาว อาจเป็นผักกาดขาว หรือผักสลัดก็ได้ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องใหม่ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง

ภาชนะปลูกมีให้เลือกได้หลายแบบ ถ้าต้องการให้สวยงาม ทำรางยกระดับเป็นชั้นด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือแคร่ไม้ไผ่กรุภายในด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ทะลวงก้นให้ระบายน้ำได้ดี หรือปลูกในกระถาง หรือกะละมังเจาะก้น เลือกได้ตามความต้องการ ดินปลูกต้องร่วนซุย เก็บความชื้นได้พอเหมาะ และระบายน้ำได้ดี ตัวอย่าง ใช้ดินร่วน กาบมะพร้าวสับหรือแกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่า ในอัตรา 3 : 1 : 0.5 ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้หากสามารถหาวัสดุอื่นๆ ได้ง่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในภาชนะปลูก ปรับผิวให้เรียบ

หว่านเมล็ดบางๆ ให้ทั่ว กลบด้วยวัสดุปลูกชนิดเดียวกัน ให้กลบเมล็ดแล้วรดน้ำตาม พืชผักบางชนิดอาจจำเป็นต้องเพาะให้งอกก่อน โตพอประมาณแล้วจึงย้ายปลูก เช่น ผักกาดชนิดต่างๆ ในกรณีที่บริเวณบ้านมีหอยทาก หรือมดแดง มีจำนวนมาก หล่อขาชั้นปลูก หรือกระถาง หรือโรยด้วยปูนขาวบางๆ ให้รอบ จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง ในช่วงอากาศร้อนจัดต้องพลางแสงด้วยซาแรนสีดำให้บ้าง หากใช้น้ำประปารด ต้องรองใส่ตุ่มหรือโอ่ง ทิ้งไว้ 2-3 วัน ให้คลอรีนระเหยก่อนนำไปรดต้นไม้

ศัตรูสำคัญของผักสวนครัวคือ หนอนกินใบ กับหนอนชอนใบ ป้องกันกำจัดด้วยน้ำยาฉุนผสมเหล้าขาว ตามที่ผมเคยแนะนำไว้ก่อนแล้ว เมื่อพบแมลงเข้าทำลายให้ฉีดทุกๆ 3 วัน จนครบ 3-4 ครั้ง การระบาดจะหมดไป ถ้าต้องการให้ต้นไม้งามมากขึ้น ละลายปุ๋ยยูเรียในน้ำเจือจาง รดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 2-3 ครั้ง จะได้ผักสวนครัวสดใสสวยงามสมดังตั้งใจครับ

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้ามะพร้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (AFTA) โดยมีกำหนดตรวจสอบภายในสิ้นปีนี้จำนวน 11 ราย และได้เริ่มตรวจสอบไปแล้ว 7 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี กรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี และมีกำหนดจะตรวจสอบอีก 4 บริษัทในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ภายในเดือนธ.ค.2561 นี้

ทั้งนี้ ผลจากการตรวจสอบพบว่า โรงงานในพื้นที่จังหวัดราชบุรี กรุงเทพฯ และปทุมธานี มี 2 ใน 4 บริษัท มีโรงงานพร้อมเครื่องจักรผลิตกะทิ และมะพร้าวเกร็ดอบแห้งตามลำดับ แต่ในช่วงเวลานี้ยังไม่มีการผลิต เนื่องจากรอคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนโรงงานย่านจอมทอง แจ้งว่าได้เลิกกิจการไปแล้ว ส่วนโรงงานแถวคลอง 11 ได้ย้ายเครื่องจักรไปผลิตในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งกรมฯ จะประสานกรมโรงงานให้ช่วยตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) อีกครั้งว่าได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่

“การดำเนินการตรวจสอบโรงงานที่ขออนุญาตนำเข้ามะพร้าวภายใต้ AFTA ดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามนโยบายของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้กรมฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัทที่ขอนำเข้ามะพร้าว โดยให้ไปดูว่ามีการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเข้ามา แล้วส่งไปขายต่อหรือเอาไปทำอย่างอื่นที่ไม่ตรงตามที่ได้ขออนุญาตนำเข้า เพราะจะกระทบต่อราคามะพร้าวที่เกษตรกรขายได้ ซึ่งกรมฯ ยืนยันว่าหากผลการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิด ก็จะดำเนินการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด” นายอดุลย์ กล่าว

นายอดุลย์ กล่าวว่า ส่วนการดูแลการลักลอบนำเข้า กรมฯ อยู่ระหว่างการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้มะพร้าวเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. … โดยจะกำหนดให้นำเข้ามะพร้าวได้เพียง 2 ด่าน คือ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังเท่านั้น และยังได้ออกประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับเมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าว ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เพื่อบริหารจัดการการนำเข้ามะพร้าวไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย

โดยประกาศดังกล่าวฯ ได้เพิ่มเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนสินค้ามะพร้าวทั้งกะลา มะพร้าวอ่อน และมะพร้าวฝอย ต้องได้รับอนุญาตจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ที่ตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชก่อน และกำหนดให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องให้คำรับรองว่าจะไม่นำมะพร้าวนำเข้าไปจำหน่าย จ่าย โอน ให้นิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไปแปรสภาพโดยการกะเทาะภายนอกโรงงานของตนเอง และแก้ไขบทลงโทษ โดยให้พักหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ซึ่งหากเป็นการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า จะไม่สามารถขอหนังสือรับรองได้จากเดิม 2 ปี เป็น 5 ปี

ก่อนหน้านี้ กรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ามะพร้าว แจ้งข้อมูลปริมาณการใช้มะพร้าวผล การกะเทาะเปลือก และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตในกิจการของตนเองประกอบการพิจารณาลงพื้นที่ตรวจสอบ โดยมีผู้ประกอบการ 9 ราย ไม่แจ้งข้อมูล และ 2 ราย แจ้งข้อมูลไม่ครบถ้วน จากทั้งหมด 32 ราย และกรมฯ ได้นำร่องตรวจสอบผู้ประกอบการในส่วนที่ไม่แจ้งข้อมูลและแจ้งข้อมูลไม่ครบก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 02:23 น. วันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตามเวลามาตรฐานจีน จรวดลองมาร์ช 3 บี ของจีนได้ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยจรวดซีฉ่าง สัมภาระที่จรวดลำนี้นำขึ้นไปคือ ยานฉางเอ๋อ 4 โดยยานลำนี้จะไปปฏิบัติภารกิจที่ท้าทายอย่างมาก จนแม้แต่สหรัฐอเมริกาหรืออดีตสหภาพโซเวียตก็ยังไม่กล้าทำ นั่นคือ การนำยานไปลงจอดที่ด้านไกลของดวงจันทร์

แม้ในอดีตจะมียานไปสำรวจดวงจันทร์ถึงพื้นผิวมาแล้วหลายลำ แต่ทุกลำล้วนแต่ลงจอดดวงจันทร์ที่ด้านใกล้ หรือด้านที่หันเข้าหาโลก ไม่เคยมีลำใดเลยที่ลงจอดด้านไกล ที่ไม่เคยมีคนบนโลกเคยมองเห็น โดยด้านไกลของดวงจันทร์มีสภาพภูมิประเทศต่างจากด้านใกล้มาก ด้านใกล้ที่ทุกคนคุ้นเคยมีบริเวณที่เป็นที่ราบมาก การเลือกทำเลให้ยานลงจอดก็ทำได้ง่าย ส่วนด้านไกลแทบไม่ปรากฏที่ราบเลย พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยภูเขาระเกะระกะ พรุนไปด้วยหลุมอุกกาบาต

โจนาทาน แมคโดเวลล์ นักดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีนในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา เป็นการเดินตามรอยสิ่งที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทำไว้ตั้งแต่สมัย 40-50 ปีก่อน แต่นี่เป็นครั้งแรกที่จีนจะทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำ โดย
ความยากลำบากของภารกิจนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการลงจอดแล้ว ยังมีเรื่องของการติดต่อสื่อสารกับยาน เนื่องจากตำแหน่งที่ยานจอดมองไม่เห็นจากโลก การสื่อสารโดยตรงกับโลกจึงทำไม่ได้ ในการนี้จีนจึงได้ส่งดาวเทียม เชวี่ยเฉียว ขึ้นไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณระหว่างโลกกับยานลงจอดที่ด้านไกล ตำแหน่งของเชวี่ยเฉียวอยู่ใกล้จุดแอล-2 ซึ่งอยู่ห่างจากดวงจันทร์ออกไป 60,000 กิโลเมตร

โดย ตำแหน่งที่ยานจะลงจอดคือ แอ่งเอทเกน ซึ่งเป็นแอ่งขนาดใหญ่ ใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ แอ่งนี้มีความกว้างถึง 2,500 กิโลเมตร โดยยานฉางเอ๋อ 4 เป็นยานลำที่สองของจีนที่ลงจอดบนดวงจันทร์ ก่อนหน้านี้ในปี 2556 จีนได้ส่งยานฉางเอ๋อ 3 ไปลงจอดดวงจันทร์และปล่อยรถสำรวจชื่อ อวี่ทู่ ออกไปด้วย

ภารกิจของยานฉางเอ๋อ 4 มียานลงจอดและรถสำรวจเช่นเดียวกับฉางเอ๋อ 3 รูปร่างของยานทั้งสองชุดก็คล้ายกัน แต่ฉางเอ๋อ 4 มีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ภารกิจเช่นการศึกษาด้านดาราศาสตร์วิทยุความถี่ต่ำ การตรวจสอบแร่และรังสี ศึกษาคลื่นไหวสะเทือน ศึกษารังสีคอสมิก นอกจากนี้ ยังมีการทดลองฟักไข่ของหนอนไหม และปลูกเมล็ดพืชบางชนิดรวมถึงมันฝรั่ง เพื่อศึกษาว่าพืชมีการเจริญเติบโตอย่างไรในสภาพความโน้มถ่วงบนดวงจันทร์

การส่งยานลงไปสำรวจดวงจันทร์มีอุปสรรคที่ท้าทายเทคโนโลยีอย่างมาก เมื่อเป็นเวลากลางคืน ซึ่งยาวนานสองสัปดาห์ อุณหภูมิจะลดลงต่ำถึง -173 องศาเซลเซียส ส่วนเมื่อถึงเวลากลางวัน ซึ่งยาวนานสองสัปดาห์เช่นเดียวกัน อุณหภูมิก็จะพุ่งสูงได้ถึง 127 องศาเซลเซียส ดังนั้น อุปกรณ์บนยานจะต้องทนต่อสภาพความผันแปรอย่างสุดขั้วนี้ให้ได้ และยังจะต้องสร้างพลังงานเพื่อล่อเลี้ยงยานในช่วงที่เป็นกลางคืนอันยาวนานให้ได้อีกด้วย ภารกิจฉางเอ๋อ 3 ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีจีนเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้ ยานฉางเอ๋อ 4 ทั้งยานลงจอดและรถมีแผงเซลล์สุริยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ส่วนเวลากลางคืนจะมีระบบให้ความร้อนด้วยพลูโตเนียม-238 เพื่อรักษาความอบอุ่นให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

รถสำรวจของฉางเอ๋อ 4 ไม่ได้มีชื่อว่า อวี่ทู่ ขณะนี้ทางจีนกำลังจัดประกวดชื่อของรถลำนี้อยู่ คาดว่าชื่อเพราะจะได้รับการเปิดเผยในเร็วๆ นี้

ในปีหน้าจีนจะส่งยานฉางเอ๋อ-5 ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์อีก ในภารกิจนี้จะมีการเก็บตัวอย่างดินบนดวงจันทร์และนำกลับโลกด้วย ฉางเอ๋อ 4 เป็นบันไดขั้นหนึ่งที่จะพาจีนไปสู่เป้าหมายที่สูงยิ่งกว่า นั่นคือ การส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์

ขณะนี้ ฉางเอ๋อ 4 กำลังมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ คาดว่ายานจะไปถึงดวงจันทร์ในวันที่ 3 มกราคม นางสุวรรณา จิวัฒนไพบูลย์ ผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสุพรรณบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เปิดเผยว่า สุพรรณบุรีเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จะมีข้าวใหม่ให้ได้รับประทานกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด คือ แห้วอินทรีย์ ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้เห็นและไม่เคยได้รับประทาน เพราะส่วนใหญ่ปลูกกันแบบใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่ง นายสามารถ หนูทอง เกษตรกรบ้านวังพลับใต้ ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ เป็นผู้ที่ปลูกแห้วอินทรีย์รายหนึ่งในจำนวนกว่าสิบราย

“ตอนนี้แห้วดังกล่าว สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ดังนั้นทางบริษัทประชารัฐฯ และกลุ่มเกษตรกร จะเชิญนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี มาเป็นประธาน เปิดงานงมแห้วอินทรีย์ใน วันที่ 13 ธันวาคมนี้ ที่แปลงแห้วของ นายสามารถ” นางสุวรรณาว่า ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วม เกี่ยว งม ชม ชิม ช็อป ข้าวใหม่ที่หอมนุ่มและแห้วอินทรีย์ ในช่วงเช้าของวันดังกล่าว ที่บ้านวังพลับใต้ ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์

นางสุวรรณา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันถือว่าการเพาะปลูกแห้วใน ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะที่ อ.ศรีประจันต์ ปลูกมากสุดที่ ต.วังยาง เกือบ 3,000 ไร่ รองลงมา ต.มดแดง 2,000 ไร่ และมีพื้นที่ใกล้เคียงที่ปลูกกันอีกบ้างคือ อ.เมือง และ อ. สามชุก รวมเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ มูลค่าผลผลิตนับร้อยล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ใน ต.วังยาง ผลิตหัวพันธุ์แห้วเอง และมีการแลกเปลี่ยนหัวพันธุ์แห้วภายในชุมชน จากเดิมในยุคแรกมีการสั่งซื้อหัวพันธุ์แห้วจากประเทศจีน โดยทำเกษตรหมุนเวียนคือ การใช้พื้นที่นาปลูกพืชหมุนเวียนเปลี่ยนกันแบบไม่ซ้ำตามฤดูกาล เช่น ทำนาข้าว นาแห้วจีน นาเผือก และแปลงมันเทศ

ต้นยางนา ต้นไม้หมายเมืองของเมืองเชียงใหม่นะคะ เข้าใจผิดคิดว่าเป็นชัยพฤกษ์ ที่แท้คือต้นยางนาต้นไม้ใหญ่ ต้นยางนา ไม้ที่มีอายุยืนยาวกว่าสองร้อยปีอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง

เชียงใหม่มีถนนสายต้นไม้ใหญ่ สายพิเศษที่ใครๆ ก็รู้จักคือ ถนนสายต้นยางนาวันนี้จะชวนไปเดินเล่นบนถนนสายต้นยางนากันค่ะ อย่าเพิ่งทำหน้าฉงนสงสัย ไปเดินเล่นได้จริงๆ แต่ต้องระวังรถนิดหนึ่ง เคยมีผู้เสนอว่า อยากให้ถนนสายนี้เป็นถนนสายคนเดิน ที่ไม่ต้องมีรถผ่านเข้ามา ส่วนรถที่ผ่านเข้าออกได้ก็เป็นรถของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนเท่านั้น-เรื่องนี้ก็ไม่รู้ว่าเป็นไปได้หรือเปล่า

แต่การชวนไปเดินครั้งนี้ ไม่ได้ไปเดินเล่นเฉยๆ นะคะ ไปดูเด็กๆ ทำกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับต้นยางนากันด้วย กิจกรรมนี้ชื่อว่า…เยาวชนหมอต้นไม้ค่ะ

วันก่อนฉันเห็นประกาศว่า…รับสมัครเยาวชนหัวใจสีเขียว มุ่งมั่น พลังเกินร้อย เข้าอบรมหมอต้นไม้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติ เยาวชนหมอต้นไม้อาสา 15-16 กันยายน 2561 เป็นเยาวชนในพื้นที่ เทศบาลนครเชียงใหม่ หนองหอย หนองผึ้ง ยางเนิ้ง สารภี และแขวงกาวิละ

เอาละ…ไปดูกันว่าพวกเขาทำอะไรกันบ้าง เด็กๆ กับการเป็นหมอต้นไม้เราไปที่ถนนสายต้นยางนาใหญ่ที่ยาวเหยียด เมื่อเดินทางมาถึง เห็นพวกเขากำลังปีนป่ายขึ้นต้นยางนา ด้วยบันไดที่พาดกับต้นยางใหญ่ ปลูกต้นเอื้องผึ้งกับต้นไม้…ที่ปีนอยู่นั่นเป็นผู้หญิงแข็งแรงและกล้าหาญ

หมอต้นไม้ต้องมีจิตใจที่ระลึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ นี่เป็นหัวใจสำคัญของงาน และน้องๆ ก็ป้องกันตัวเองอย่างดีในการปีน อีกทั้งมีพี่ๆ คอยเป็นพี่เลี้ยง และมีเพื่อนๆ เป็นทีมคอยบอก

“กล้วยไม้ที่เอาขึ้นไปชื่ออะไร”

“เอื้องผึ้ง” เด็กๆ ที่เชียร์เพื่อนอยู่ใต้โคนต้นตอบพร้อมๆ กัน คนหนึ่งอธิบายต่อว่า ดอกสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน “ช่วงฤดูร้อน เราจะมาดูกันนะว่ามันจะออกดอกสวยแค่ไหน”

เด็กๆ ตอบตกลง เป็นสัญญากันอย่างมั่นเหมาะ “น้องๆ ทำอะไรกันบ้าง” พลอย นักเรียนโรงเรียนสารภีพิทยาคม เป็นคนตอบว่า “วันแรกเข้าฐานการอบรมการเรียนรู้เกี่ยวกับต้นยาง วันนี้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นโครงการหมอต้นไม้”

“แบบเข้าค่ายใช่ไหมค่ะ”

“ทำนองนั่นค่ะ ใช้เวลาสองวัน”

“กี่คน”

“สี่สิบกว่าค่ะ”

“เยอะทีเดียว เราจะมีหมอต้นไม้เยอะเลย หมอต้นไม้ต้องทำอะไรบ้าง”

“รับผิดชอบดูแลต้นยางนา เพราะต้นยางนาอยู่หน้าโรงเรียน” เธอตอบ

“รับผิดชอบอย่างไร” ถามต่อ

“ทำอย่างไรให้ต้นไม้ปลอดภัย เราก็มีหน้าที่สอดส่องดูแล แล้วแจ้งเทศบาล แจ้งพี่ๆ เขียว สวย หอม หรือพี่ๆ ที่มาอบรมมาจากแม่โจ้”

พี่ๆ แม่โจ้ คือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยืนอยู่ใต้ต้นไม้และคอยบอกน้องๆ ให้ปฏิบัติการ

“เรื่องหมอต้นไม้เป็นวิชาเรียนด้วยหรือเปล่า”

หนุ่มคนหนึ่งตอบว่า “ไม่ใช่วิชาเรียนแต่เป็นกิจกรรมอาสา ตอนนี้เราจะพยายามถอนตะปูเดิมออกมาให้หมด เอาตะปูที่ไม่ขึ้นสนิมมาใช้ ตะปูเป็นสนิมทำให้ต้นไม้เกิดโรคได้” “ตะปูมาจากไหน ป้ายโฆษณาหรือเปล่า มีเยอะไหมที่ตอกเอาไว้”

“ต้นหนึ่งสี่สิบถึงร้อยที่ถูกตอกติดไว้”

“เยอะ…เป็นตะปูขึ้นสนิมทั้งหมด”

เมื่อถามว่า ยางจะล้มบ้างไหม จำได้ว่าเคยมีข่าวล้ม

เขาตอบว่า อยู่ที่สภาพอากาศด้วย ต้องดูแลเช็คสภาพกิ่ง ดูแลระบบรากด้วย

ในช่วงที่สรุปกิจกรรม เยาวชนที่หนองผึ้ง ได้บอกว่า พวกเขาได้รู้ลักษณะของต้นยางมากขึ้น วันที่สองได้เห็นความเจ็บป่วย เช่น เห็นมีตะปูตามต้นยาง พวกเขาคิดว่าน่าจะมีการจัดการประกวดต้นยางหน้าบ้านของแต่ละคนว่าใครดูแลต้นยางนาได้ดี

เยาวชนยางเนิ้ง

สิ่งที่พวกเขาได้ คือ รู้ท่าจากอดีต และสภาพปัจจุบันสภาพของต้นยาง และวิธีการรักษาต้นยาง เช่น มีคนดูแลเอาใส่ใจ ไม่มีตะปู ไม่มีกาฝาก และอยากเห็นคนมาปลูกต้นยางกันอีกครั้ง

เยาวชนสารภี สรุปว่าได้รู้จักข้อดี ข้อเสีย และคิดว่าจะต้องเผยแพร่ให้คนในชุมชนได้รู้ หากพบเห็นปัญหาหรือคนที่จะมาทำร้าย แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เขียว สวย หอม หรือเทศบาล

ส่วนน้องๆ เทศบาลอื่นๆ มีบทสรุปที่น่าสนใจว่า ต้นยางนามีความสำคัญยิ่ง เป็นไม้หมายเมือง ไม้หมายทาง แนวทางในการพัฒนานั้น ต้องสร้างแกนนำ รณรงค์ให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเช่นในโซเชียล

จำนวนต้น สีที่ติดอยู่ตามต้นไม้ รู้ถึงไม้เมือง ไม้หมายทาง แนวทางในการพัฒนา สร้างกลุ่มแกนนำ พี่ๆ เข้ามาอบรมทุกเดือน และทำประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นโดยใช้ออนไลน์ โซเชียล เน็ตเวิร์ค

จบกิจกรรมหมอต้นไม้ ปลูกต้นเอื้องผึ้งกับต้นยางนา เด็กๆ อาจจะไม่ได้เป็นหมอต้นไม้ทุกคน แต่สิ่งหนึ่งคือพวกเขาได้รู้จักและเข้าใจต้นไม้ประจำถิ่นมากขึ้น และพวกเขาจะเป็นนักสื่อเรื่องต้นไม้ เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีในวันนี้ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นมันสมองในส่วนที่ดีในการดูแลบ้านเมืองนี้อย่างเข้าใจ

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีไว้หลายต้น ผมซื้อมาจากตลาดนัดแห่งหนึ่ง ก่อนนำมาเลี้ยงได้สอบถามผู้ขายอย่างละเอียด แต่เมื่อนำมาเลี้ยงที่บ้านอีกไม่นาน ปรากฏว่าความสดใสสวยงามค่อยๆ จางหายไป ผมจึงขอคำแนะนำจาก คุณหมอเกษตรว่า ผมจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำให้กล้วยไม้รองเท้ารีของผมกลับมาสวยงามได้อีก ผมขอสูตรวัสดุปลูกด้วยครับ

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady Slipper) นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกไว้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก เป็นประเภทที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่มีเศษซากใบไม้ผุทับถมกันอยู่ ตัวอย่าง รองเท้านารีคางกบ กลุ่มที่สอง เป็นประเภทอิงอาศัยอยู่ตามร่มเงาบนคาคบต้นไม้ ตัวอย่าง รองเท้านารีอินทนนท์ และกลุ่มที่สาม เจริญเติบโตอยู่ตามหน้าผาหินปูน ที่มีเศษซากพืชติดค้างทับถมกัน แทรกอยู่ตามรอยแยกของผาหิน ตัวอย่าง รองเท้านารีเหลืองตรัง

ดังนั้น การเตรียมวัสดุปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีแต่ละชนิดจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่ม หรือชนิดที่จำแนกไว้ข้างต้น ทั้งนี้ วัสดุปลูกกล้วยไม้รองเท้านารี ต้องทำเป็น 2 ชั้น ตามความสูงของกระถาง หรือภาชนะปลูก หากใช้กระถางดินเผาที่มีรูรอบข้าง ข้อดีคือ สามารถรักษาความชื้นได้ดี แต่มีข้อเสียที่มีน้ำหนักมากและราคาแพง กระถางพลาสติก ข้อดีคือ หาง่ายและน้ำหนักเบา ข้อเสีย ความสามารถการระเหยน้ำเกิดขึ้นได้น้อย และ กระเช้า หรือกระถางไม้ เหมาะสำหรับกลุ่มอิงอาศัยอยู่ตามคาคบไม้

ส่วนผสมของวัสดุปลูกที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มกล้วยไม้ กลุ่มอาศัยตามพื้นดิน ให้ใส่วัสดุเป็น 2 ชั้น ตามที่อธิบายมาแล้ว ชั้นล่างใส่วัสดุปลูก ปริมาณ 2 ใน 3 ส่วน ตามความสูงของกระถาง วัสดุปลูกประกอบด้วยโฟมหักเป็นชิ้นเล็กๆ กระถางดินเผาแตก และอิฐหัก อัตรา 1 : 1 : 1 ส่วนบนของกระถาง ใช้ปริมาณ 1 ใน 3 ของกระถาง หรือภาชนะปลูก มีกาบมะพร้าวสับ ใบก้ามปูหมัก และพีทมอสส์ ในอัตราส่วน 2 : 2 : 1 วัสดุปลูกทุกชิ้นต้องคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนใส่ลงในภาชนะปลูก

กลุ่มอิงอาศัยตามคาคบไม้ ปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มแรก วัสดุปลูกด้านล่างของกระถาง ใช้ส่วนผสมของรากเฟิร์นออสมันด้า เปลือกต้นสน และโฟมหักเป็นชิ้นเล็กๆ อัตราส่วนผสม 1 : 1 : 1 วัสดุปลูกส่วนบนมีกาบมะพร้าวสับ และเปลือกถั่ว อัตรา 1 : 1 และ กลุ่มที่สาม อาศัยอยู่ตามซอกหินตามหน้าผาหินปูน วัสดุปลูกด้านล่างใช้ส่วนผสมของหินภูเขาไฟ ถ่านไม้ และกระถางแตก อัตรา 1 : 1 : 1 ส่วนบนใช้กาบมะพร้าวสับ ใบก้ามปูหมัก และเปลือกถั่ว อัตรา 1 : 1 : 1

กล้วยไม้รองเท้านารีทุกกลุ่ม ต้องการแสงแดดไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ จึงควรปลูกให้หลังคามีซาแรนพรางแสงให้ ภายในโรงเรือนรักษาอุณหภูมิไว้ที่ 24-28 องศาเซลเซียส การให้ปุ๋ย แนะนำให้ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ละลายน้ำเจือจาง เดือนละ 1-2 ครั้งก็พอ ระวังอย่าให้ปุ๋ยไปสัมผัสกับดอก หรือใบของต้นกล้วยไม้ หากสมบูรณ์ดีแล้วให้เว้นไป

การให้น้ำควร เป็นตอนเช้าจะดีที่สุด แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนเวลา แต่อย่าให้เกินเวลา 18.00 น. หากปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น รองเท้านารีของคุณจะกลับมางามอีกครั้งอย่างแน่นอน

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) เปิดเผยว่า การแก้ไขวิกฤตราคายางพารา ตามแนวทางช่วยเหลือชาวสวนยาง จากโครงการสร้างความเข้มแข็งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพ โดยเฉพาะการใช้น้ำยางสดสร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ทุกหมู่บ้าน ใช้งบกว่า 1 แสนล้านบาท อาจจะมีผลกระทบกับการกำหนดราคาซื้อขายยางพารากับประเทศมาเลเซีย หากรัฐบาลทำให้โครงการมีผลเป็นรูปธรรมจะทำให้ราคายางสูงขึ้น ขณะที่ประเทศมาเลเซียได้เปลี่ยนจากผู้ผลิตเป็นผู้บริโภคน้ำยางข้นจากไทยปีละประมาณ 7 แสนตัน ทำให้ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยางพาราของโลก และไม่ต้องการให้ราคายางในประเทศไทยสูงขึ้น เพราะต้องซื้อน้ำยางข้นจากไทยในราคาสูง

“ระหว่าง วันที่ 11-14 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมไตรภาคียางพาราที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีตัวแทนจากไทยเข้าร่วมประชุม ตามแถลงการณ์ร่วมบาหลีระดับรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ให้มีการจัดตั้งองค์การความร่วมมือไตรภาคียางพารา 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีกลไกความร่วมมือจากบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารจัดการราคายางในตลาดโลก โดยมีรัฐบาลของทั้ง 3 ประเทศ เป็นผู้ถือหุ้นและจดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อ 2547 และมีสภาไตรภาคียางพารา ทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรการรักษาสภาพราคายางพารา ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว”