ปลูกมะนาวแป้นดกพิเศษ บนต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า

ในปัจจุบันมีข้อมูลใหม่ล่าสุดพบว่าการใช้ต้นตอส้มต่างประเทศที่มีชื่อว่าโวลคา-เมอเรียน่า ซึ่งเป็นพืชตระกูลส้มในกลุ่มของเลมอนเมื่อนำยอดมะนาวแป้นดกพิเศษมาเสียบบนต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่าจะเจริญเติบโตเร็วมากและให้ผลผลิตเร็วมาก ปลูกไปเพียงปีเศษเท่านั้น ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ใช้มะนาวเสียบยอดบนต้นตอโวลคา-เมอเรียน่า ได้รับการยอมรับว่าดีจริงและได้เผยแพร่ให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้

สรุปได้ว่าต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า มีความเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นต้นตอและนำยอดมะนาวมาเสียบ ในปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยประสบปัญหามหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ภาคการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างยับเยิน เกษตรกรที่ปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งตอนน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่วัน พบว่าต้นมะนาวยืนต้นตายเกือบทั้งหมด ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกต้นมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศรอดตายหลายรายเนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง

สรุปข้อดีของการปลูกมะนาวบนต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า ได้ดังนี้ ลำต้นแข็งแรงทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง แม้จะเอาใจใส่น้อยก็ตาม เพราะมีระบบรากที่หากินเก่ง แม้จะเป็นดินลูกรังก็เจริญเติบโตได้ดี หรือในสภาพดินปนหิน, ลดการเกิดโรคแคงเคอร์ โรคนี้ถือเป็นโรคประจำตัวของมะนาว โดยเฉพาะถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ในช่วงปีแรกเกษตรกรต้องเฝ้าดูแลรักษาโรคนี้เพราะพันธุ์มะนาวแป้นจะอ่อนแอต่อโรคมาก

แต่ว่าปลูกด้วยต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่าแล้วเอามะนาวแป้นดกพิเศษมาเสียบ การเกิดโรคนี้ลดลงไปอย่างมาก ลดการใช้ยาป้องกันกำจัดโรคแคงเคอร์ไปได้มาก การใช้สารเคมีพ่นจาก 7-10 วัน อาจห่างเป็น 15 วันต่อครั้ง, ลดการใช้ไม้ค้ำช่วงติดผลดก หากปลูกด้วยกิ่งต้องจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำรอบทรงพุ่ม ถ้าคิดเป็นพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้ไม้นับพันอันคิดเป็นเงิน 5,000 – 6,000 บาท หากปลูกด้วยกิ่งเปลี่ยนยอดแทบจะไม่ต้องใช้ไม้ค้ำ เนื่องจากความแข็งแรงของกิ่งก้าน ทรงต้นสามารถแบกรับน้ำหนักผลมะนาวในต้นได้ โดยมิต้องใช้ไม้ค้ำช่วย และบังคับออกนอกฤดูง่ายติดผลดก

ต้นที่เปลี่ยนยอดจะขยันออกดอกอย่างเห็นได้ชัด โดยเกษตรกรเช็คข้อมูลได้ง่ายๆ โดยนำกิ่งมะนาวเสียบยอดไปปลูกแทรกในแถวมะนาวที่ปลูกด้วยกิ่งตอน ก็จะสังเกตได้ชัดว่าออกดอกง่ายกว่า สันนิษฐานว่าเกิดจากระบบลำเลียงน้ำและอาหารอาจไม่สะดวกโดยเฉพาะตรงรอยต่อ ทำให้มีผลต่อการออกดอกง่ายขึ้น และบริเวณโคนที่เป็นต้นตอส้มเหนือพื้นดินจะทนต่อการใช้ยาฆ่าหญ้า หากฉีดพ่นโดนบ้างก็ไม่เป็นไร กรณีโคนต้นรกมากกำจัดวัชพืชไม่ทันจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าช่วยจะประหยัดแรงงานได้มาก

เป็นที่ทราบกันดีว่าในการปลูกมะนาวในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้ตลาดมีความต้องการมะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษมากที่สุด และการเลือกใช้กิ่งพันธุ์มะนาวได้เปลี่ยนจากการใช้กิ่งตอนมาใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ เนื่องจากต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าปลูกด้วยกิ่งตอน

การจัดการสวนที่ถูกต้องเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการผลิตมะนาวนอกฤดู สิ่งที่ชาวสวนมะนาวและนักวิชาการเกษตรไม่ควรมองข้ามในการบังคับให้มะนาวออกนอกฤดูนั้น เรื่องของการจัดการสวนเป็นหัวใจที่มีความสำคัญ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

หนึ่ง: โครงสร้างของดิน ดินที่มีลักษณะเป็นทราย มีการระบายน้ำที่ดีจะมีผลทำให้การชักนำการออกดอกได้ดีกว่าดินที่อุ้มน้ำสูงและดินเหนียว สอง: ขนาดของพุ่มต้น ควรเตรียมแปลงปลูกในลักษณะของแนวแถวยกสูงเป็นแบบลูกฟูกอันที่จะช่วยให้เกิดการระบายน้ำได้ดีขึ้น การชักนำการออกดอกจะง่ายกว่า

สาม: ขนาดของพุ่มต้น มะนาวที่มีขนาดพุ่มต้นที่เล็กกว่าสามารถชักนำการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดูได้ดีกว่า ต้นตอบสนองต่อสภาพการงดน้ำได้เร็วมากขึ้น (ใช้เวลาสั้นกว่า)

สี่: การปฏิบัติเพื่อชักนำการออกดอก ควรจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติและนิสัยการออกดอก กิ่งมะนาวจะไม่มีการออกดอกหากว่ากิ่งนั้นยังคงมีผลติดอยู่ เมื่อเป็นดังนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำลายดอกหรือผลในช่วงที่ไม่ปรารถนาออกทิ้งไปก่อน กิ่งจึงจะสามารถออกดอกได้ การเปลี่ยนแปลงจากตาใบไปเป็นตาดอกยังสามารถควบคุมได้ด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุโปแตสเซียม (K) สูงในระยะที่ตาผลิก่อนมีความยาวยอดมากกว่า 7.5 เซนติเมตร การพ่นปุ๋ยทางใบที่มี ธาตุ N:P:K ในสัดส่วน 1:1:3 ; 1:1:4 ; 1:1:5 หรือ 1:2:5

ในระยะยอดอ่อนผลิจะมีบทบาทช่วยให้การสร้างตาดอกดีมากยิ่งขึ้น และสุดท้าย การป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ศัตรูพืชที่สำคัญของมะนาว ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ ไรแดง และโรคแคงเคอร์ เป็นต้น หากใบถูกทำลายความสมบูรณ์ของต้นจึงลดลง ทำให้ออกดอกลดลงตามไปด้วย

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบต่างๆ ปัจจุบันมีเทคนิคในการผลิตมะนาวนอกฤดูหลายหลายวิธีทั้งภาคเกษตรกรและนักวิชาการเกษตรจึงจำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ วิธีเข้ามาใช้ร่วมกัน ดังนี้

หนึ่ง: การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว มะนาวมีการออกดอกในฤดูกาลใหญ่ 2 ระยะ รวมทั้ง กิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไปได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ซึ่งไม่ควรตัดลึกมากควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. สามารถกำจัดดอกและผลอ่อนที่เหลือโดยการฉีดพ่นสารเอทธิฟอนที่ความเข้มข้น 300 ppm พ่นในระยะดอกบาน , กลีบดอกโรย รวมถึงระยะผลอ่อน

สอง: การยับยั้งการออกดอกของต้นมะนาวในฤดู สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีชื่อว่า จิบเบอเรลลิกแอซิดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “จิบเบอเรลลิน” มีคุณสมบัติช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางกิ่งใบในไม้ยืนต้น ใช้พ่นเพื่อยับยั้งการออกดอก

สาม: การกำจัดใบ ต้นมะนาวที่สมบูรณ์มากมีพุ่มต้นแน่นทึบหรือมีลักษณะที่เรียกว่า บ้าใบ การปลิดใบออกบ้างบางส่วน อาจมีผลในด้านการลดระดับไนโตรเจนในต้นให้ลดต่ำลง อันเป็นการช่วยปรับระดับของคาร์โบไฮเดรตต่อระดับของไนโตรเจน หรือที่ภาษาวิชาการเรียกว่า ซี/เอ็นเรโช (C/N ratio) ให้สูงขึ้น อาจช่วยให้มีการออกดอกดีขึ้นได้

และสี่: การใช้สารเคมี สารในกลุ่มชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารแพคโคลบิวทราโซล มีบทบาทในการยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินในธรรมชาติของต้นพืช ดังนั้นพืชจึงมีการเจริญทางกิ่งใบลดลงส่งผลให้มีโอกาสในการออกดอกมากขึ้น แนะนำให้ฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลชนิดความเข้มข้น 10% ในอัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หญ้าแฝก เป็นวัชพืชที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาดินเป็นอย่างยิ่ง พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศมักมีปัญหาเรื่องของ “ดิน” กับ “น้ำ” ถ้าแหล่งน้ำ อุดมสมบูรณ์ก็สามารถพัฒนาปรับปรุงบำรุงดินให้ดีง่ายขึ้น แต่หากขาดน้ำการพัฒนาปรับปรุงดินให้ดีก็ยาก จึงมีการพัฒนาแหล่งน้ำโดยนำหญ้าแฝกเข้ามาช่วยกักเก็บน้ำ หรือป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ในพื้นที่ที่ดินไม่กักเก็บน้ำ ปัจจุบันมีการนำหญ้าแฝกเข้าไปปลูกกันมากขึ้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า “หญ้าแฝก” มีความสำคัญต่อการพัฒนาดิน และเกษตรกรก็มองเห็นประโยชน์จากหญ้าแฝกทำให้พื้นที่ไร่นาสวนผสมที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ สามารถทำการเกษตรเอาตัวรอดได้มีตัวอย่างให้เห็นแล้วมากมาย

“หญ้าแฝกกับไร่นาสวนผสม” ในพื้นที่ทำกินของ คุณสุเทพ เพ็งแจ้ง ก็เป็นอีกตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่าหญ้าแฝกมีความสำคัญต่อการพัฒนาดินเป็นอย่างยิ่ง

คุณสุเทพ บอกว่า ในที่ดินทำกินของตนมีอยู่ทั้งหมด 20 ไร่ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ปีหนึ่งทำนาได้ข้าวไร่ละไม่ถึง 10 ถัง สาเหตุเพราะน้ำท่วม พอถึงหน้าแล้งดินก็ไม่ดีไม่กักเก็บน้ำ

ต่อมาได้ฟังโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ก็สนใจพยายามศึกษาว่า “โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่” คืออะไร ในที่สุดก็ได้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของหน่วยงานเกษตร ปรับโครงสร้างการทำเกษตรในพื้นที่ใหม่ เริ่มงานตั้งแต่ปี 2539 ลงทุนเอง แต่ขอการสนับสนุนพันธุ์ไม้ผลจากเกษตร

“เริ่มจากการขุดสระเพื่อยกร่องป้องกันน้ำท่วมก่อน โดยขุดสระทั้งหมด 4 สระ เป็นการขุดแบบไม่มีภูมิรู้ เอาดินก้นสระขึ้นมาโปะข้างบน ผลปรากฎว่าดินที่กองขึ้นมาโปะข้างบนไม่มีธาตุอาหารอะไรเลย ส่วนน้ำที่ซึมออกมาก็ใช้ไม่ได้ อาบก็ไม่ได้ กินก็ไม่ได้รดชาติฝาด พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวได้พอเอาดินพลิกกลับมากลับปลูกข้าวไม่ได้ เพราะดินไม่มีธาตุอาหาร จึงนำความไปปรึกษาหมอดินของกรมพัฒนาที่ดิน ต้องใช้เวลาหมักดินอยู่ 2 ปี”

คุณสุเทพ กล่าวอีกว่า ได้ไปสมัครเป็นหมอดินอาสา เพื่อศึกษาเรื่องดินแล้วก็เกิดปัญหาขึ้นมาอีก คือ สระน้ำที่ขุดนอกจากปลูกต้นไม้ไม่ได้เพราะดินไม่ดีแล้ว และสระยังพังทุกปี เวลาน้ำลดดินรอบสระจะไหลลงไปอยู่ก้นสระหมด พอดีได้ฟังองค์ในหลวงพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝก โดยไม่ต้องหวังผลแต่ วันข้างหน้าจะดีเอง จึงไปขอแฝกจากกรมพัฒนาที่ดินครั้งแรกได้มา 5,000 กล้า เริ่มนำมาปลูกรอบๆ สระ และขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่

การปลูกหญ้าแฝกให้รอบพื้นที่สระน้ำ 4 สระ ต้องใช้กล้าพันธุ์แฝกหลายแสนกล้า จึงใช้วิธีการขยายพันธุ์หญ้าแฝกไปทีละน้อย หลังจากที่หญ้าแฝกโตระดับหนึ่งปัญหาเรื่องดินไหลลงก้นสระก็ไม่เกิดแล้ว ขอบบ่อก็ไม่แตกเป็นเพราะรากของหญ้าแฝกช่วยพยุงไว้ จึงหันมาพัฒนาที่ดินในส่วนอื่นๆ ต่อไป โดยการปลูกหญ้าแฝก

“ผมยืนยันได้เลยครับว่า รากหญ้าแฝกสามารถกักเก็บน้ำได้จริง”

คุณสุเทพ บอกด้วยว่า พอถึงฤดูแล้งหญ้าแฝกจะดึงน้ำที่สะสมไว้ด้านล่างมาเลี้ยงไม้ผลได้ ไม่ต้องกลัวว่ารากหญ้าแฝกจะไปแย่งอาหารจากต้นไม้อื่นๆ เพราะรากหญ้าแฝกจะอยู่ในแนวดิ่ง ไม่มีการแพร่กระจาย รากจะดิ่งตรงลงล่างอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นวัชพืชทั้งหลายระบบรากจะแผ่ ถือว่าเป็นข้อดีของหญ้าแฝก พอช่วงฤดูน้ำไหลหลากรากหญ้าแฝกจะช่วยเก็บน้ำใต้ดินได้ ระบบรากหญ้าแฝกยาวลงไปเกือบ 12 เมตร หรือมากกว่า 12 เมตร ก็มี

ในพื้นที่ทำกินทั้งหมด 20 ไร่ มีบ่อน้ำ 4 บ่อ แบ่งพื้นที่ทำนา 10 ไร่ ปลูกพืชผักและไม้ผลผสมผสานกันไป รอบๆ คันนาปลูกหญ้าแฝก ปีแรกเอาหญ้าแฝกปลูกในแปลงนา คือ เริ่มปลูกราวเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคมก็เกี่ยวแฝกเอาใบหญ้าแฝกไปทำปุ๋ย ในนาก็หว่านปอเทือง พอปอเทืองโตได้อายุการออกดอกก็ไถกลบ จากนั้นจึงหว่านข้าวทำนาเป็นการทำนาปี

หลังจากเกี่ยวข้าวจะใช้น้ำหมักชีวภาพ และสารพด. จากกรมพัฒนาที่ดินฉีดฟางข้าวแล้วไถกลบ เพื่อให้ฟางย่อยสลาย เมื่อฟางย่อยสลายและน้ำในนาแห้งดีแล้วทดลองเอาจอบขุดดินดู ถ้าดินไม่ติดจอบก็ทำการไถทำเทือกได้ จากนั้นจึงหว่านถั่วเขียวลงไปก็จะมีรายได้จากถั่วเขียวอีกทางหนึ่ง

คุณสุเทพ เล่าว่า ช่วงที่ไม้ผลยังไม่ได้ผลผลิตก็มีตัวสำรองในการสร้างรายได้นั่นก็คือ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ จะได้ไข่จากเป็ดและไก่ทุกเดือน ในบ่อน้ำเลี้ยงปลา ปลูกพืชผักไว้ทานเองที่เหลือเก็บขาย จะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงบ้าน พอผลไม้ออกก็จะได้ผลไม้อีกทางหนึ่ง ผลไม้ที่ปลูกไว้ก็มีมะม่วง ขนุน กระท้อน ฝรั่ง มะขามเทศ มะขามเปรี้ยว ฝรั่ง แก้วมังกร หลากหลายชนิดตามหลักทฤษฎีใหม่

“จากนั้นก็หันมาพัฒนากระต่ายขาย การเลี้ยงใช้วิธีเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง ให้สุนัขช่วยเลี้ยงกระต่ายอีกแรง วิธีการก็คือ เอาลูกสุนัขตัวเล็กๆ กับกระต่ายตัวเล็กๆ ให้อยู่ด้วยกัน เลี้ยงในกรงเดียวกันเลย พอโตขึ้นก็ปล่อยตามธรรมชาติสุนัขกับกระต่ายก็จะเป็นเพื่อนกัน สุนัขมีกำลังมากกว่าจะช่วยดูแลป้องกันภัยให้กระต่ายไม่ทำร้ายกัน”

“ผมขายกระต่ายเนื้อตัวใหญ่ๆ ชาวบ้านที่นี่เขาก็ชอบกินเนื้อกระต่าย เพราะกระต่ายป่าหาไม่ได้ เขาก็เลยหันมากินกระต่ายพันธุ์กัน รายได้ดีทีเดียว เรื่องอาหารกระต่ายก็ปล่อยให้กินหญ้าตามธรรมชาติ ส่วนขี้กระต่ายเอามาทำปุ๋ยรวมกับขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ปลาเก็บเอามาทำปุ๋ยหมด”

คุณสุเทพ เล่าต่อว่า ในพื้นที่ยังเลี้ยงกบ ปัจจุบันเลี้ยงได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ทำโรงเรือนเลี้ยงด้วยหัวอาหาร แรกๆ ตั้งใจเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ แต่กังวลว่าจะสู้งูไม่ได้ จึงต้องช่วยกบ โดยการเลี้ยงในโรงเรือน การเลี้ยงกบมีวิธีการเลี้ยงหลากหลายรูปแบบ จะเลี้ยงในกระชังก็ได้ เลี้ยงบนบก ทำโรงเรือนก็ได้ หรือจะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ก็ได้แต่ต้นทุนค่อนข้างสูง ราคากบไม่แน่นอน ถ้าคนเลี้ยงกันน้อยราคากบก็จะสูง แต่ถ้าคนนิยมเลี้ยงกันมากราคาก็ตกต่ำ วิธีการเลี้ยงสุดแล้วแต่เกษตรกรตามอัธยาศัยถนัดอย่างไหนเลี้ยงได้ทุกวิธี

ในเรื่องของปุ๋ย คุณสุเทพ บอกว่า ทำใช้เองสบายๆ ปลูกหญ้าแฝกในนาพอเกี่ยวเอาใบขึ้นมาทำปุ๋ย ในนาใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก หลังเกี่ยวข้าวจะใช้น้ำหมักชีวภาพเข้าไปสลายตอซังข้าว จะไม่ใช้วิธีเผาตอซังเด็ดขาด

“ผมตั้งกลุ่มไม่เผาตอซังขึ้นมาเลย เพราะเผาตอซังจะทำให้จุลินทรีย์ที่หน้าดินถูกทำลาย และก็ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกร้อนด้วย”

มีการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขึ้นมาใช้ คือ ต้องใช้ฟอสเฟต กากถั่วเหลือง รำอ่อน มูลสัตว์นำมาหมัก คุณภาพเทียบเท่าปุ๋ยเคมี หรือดีกว่าตรงที่ดินจะร่วนซุยดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี แต่ราคากากถั่วเหลืองค่อนข้างสูง การหมักปุ๋ยก็ใช้ พด. 1 – 2 – 3 และพด. 9 ทำกองสี่เหลี่ยมสูง 30 ซม. ให้ความชื้นประมาณ 30% หมักไว้ 20 วัน ถ้าจะเอาไปใส่ต้นไม้เลยก็ไม่ต้องตีป่น แต่หากจะเข้ากระบวนการอัดเม็ดแบบปั้นจานก็ต้องตีป่นก่อนแล้วใส่จานปั้นเม็ดปุ๋ย โดยใช้น้ำหมักพด. 2 เป็นตัวปั้นเม็ดปุ๋ย

คุณสุเทพ อธิบายว่า หลายคนก็มักบอกว่าการปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์จะช้ากว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้ช้านานสักเท่าไร ใส่ลงไปเพียงแค่ 2 วันพืชก็เขียว เป็นการเขียวทน เขียวนาน เขียวและสมบูรณ์เป็นปี ต่างกับปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปใบเขียวเพียง 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็แดงต้องใส่กันใหม่ เมื่อใส่มากๆ ดินจะเกิดกรดกำมะถัน ทำให้ต้นพืชไม่กินปุ๋ยแล้วจะยุ่งกันไปใหญ่

“การปลูกพืชทำสวนใช้วิธีหลากหลายจะดีกว่า อย่าเน้นการปลูกเชิงเดี่ยวเพราะไม่รู้ว่า อนาคตในวันข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร”

คุณสุเทพ สู้งานการเกษตรตามวิธีทฤษฎีใหม่ปลูกหญ้าแฝกกับไร่นาสวนผสมมา 10 กว่าปี จนได้รับรางวับเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลแห่งความสำเร็จในชีวิต ทุกวันนี้ คุณสุเทพ บอกว่า

“การทำเกษตรของผมทำแบบบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เหลือจากการบริโภคแจกก็ได้ ขายก็ดี ผมมีอาชีพติดตัวอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นช่างตัดผม ตรงนี้ได้เงินทุกวัน ภรรยามีอาชีพเย็บผ้านี่ก็มีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากไร่นาสวนผสมที่หลากหลาย ก็พออยู่ได้ครับ”

โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมากๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” เป็นมะละกอ ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร 2/395 ถ.ศรีมาลา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 056-613021, 081-8867398 ได้เมล็ดพันธุ์มาจากประเทศทางแถบอเมริกากลางและนำมาคัดเลือกพันธุ์นานกว่า 10 ปี ได้ผลผลิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

“ทรงผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ (หรือบ้านเราเรียกมะละกอฮอลแลนด์ หรือ ปักไม้ลาย) แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามากขนาดผลใหญ่กว่าเท่าตัว น้ำหนักผลเฉลี่ย 3-5 กิโลกรัม เนื้อหนามาก มีสีแดงส้มและรสชาติหวานเหมือนมะละกอแขกดำศรีสะเกษ จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่าต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” มีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกเปรียบเทียบกันในแปลง ลำต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” มีความแข็งแรงอย่างเห็นได้ชัด ลำต้นจะมีขนาดใหญ่ แข็งแรงสอดคล้องกับการรับน้ำหนักผลบนต้นที่มีจำนวนมากและผลมีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ มีการติดผลดกมากและผลมีขนาดใหญ่ เปลือกมีความหนา 0.3-0.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นผลดีในการขนส่งระยะไกล เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลสุกและผลดิบ โดยเฉพาะผลสุก มะละกอมีรสชาติหวาน หอม เนื้อหนา 3-5 เซนติเมตร ทานอร่อยมาก ส่วนผลดิบใช้ตำส้มตำได้”

ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำเมล็ดมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ไปปลูกเพื่อส่งผลผลิตโรงงานแปรรูปผลไม้กระป๋อง เนื่องจากเป็นมะละกอที่มีสีสวย เนื้อหนามากและเนื้อละเอียดเนียน

ได้คัดเลือกพันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” อย่างต่อเนื่องจนสายพันธุ์มีความนิ่งในระดับที่น่าพอใจ และจากการปลูกมะละกอยักษ์เรด แคลิเบียน พบว่าไม่เคยเจอต้นตัวผู้ (หรือเรียก “มะละกอสาย”) เลย จะพบเพียงต้นตัวเมียที่มีลักษณะผลกลมรีบ้างสัก 10-20 เปอร์เซ็นต์ในแปลงปลูกซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยหากเทียบกับมะละกอสายพันธุ์อื่น เช่น มะละกอพันธุ์แขกดำ และเรื่องการทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนนั้น เป็นประเด็นที่เราให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะบางต้นที่ปลูกในแปลงที่เป็นโรคจุดวงแหวน เมื่อมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ได้รับปุ๋ยและน้ำอุดมสมบูรณ์ ต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” เจริญเติบโตได้ดีและยังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไปได้อีก

ส่วนในกรณีที่ต้นอายุเกิน 2 ปีไปแล้ว ต้นมะละกอมีความสูงที่ยากในการเก็บเกี่ยวผลลงจากต้นแล้วนั้น ก็จะใช้วิธีการตัดต้นทำสาวมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ให้ต้นเตี้ยเหมือนต้นที่ปลูกใหม่ และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การจัดการง่ายขึ้น เก็บผลผลิตง่าย และยังได้ต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี และช่วยเก็บรักษาต้นแม่เอาไว้ได้นานอีกหลายปี ยกตัวอย่างต้นแม่พันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ที่ปลูกและตัดต้นทำสาวมีอายุยืน มีผลผลิตให้เก็บต่อเนื่องนานถึง 4 ปีทีเดียว หลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3-4 เดือน ยอดใหม่มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” จะเริ่มออกดอกติดผลต่อไป

การเตรียมดินและปลูก มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ถ้าสภาพดินปลูกมีค่า pH ต่ำกว่า 6.0 ให้หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ในอัตรา 200-300 กก./ไร่ คลุกดินโดยการไถพรวน แล้วตากทิ้งไว้ 10-15 วันเพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรค-แมลงศัตรู และกำจัดวัชพืชไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นไถยกร่องเป็นลอนลูกฟูก สูง 30-50 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3 เมตร การยกร่องดังกล่าวเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงให้แปลงปลูกระบายน้ำดี ในการเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกลางร่องปลูกขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ควรจะพรวนดินเป็นหลังเต่า ตอนพรวนก็ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 3-5 กิโลกรัม ผสมดินในหลุมปลูก รดน้ำให้ชื้นและยุบตัวดี ระหว่างหลุม 2.5-3 เมตร คลุมบริเวณหลุมปลูกด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วันจึงปลูกได้ หรือจะปลูกก่อนแล้วคลุมฟางทีหลังก็ได้ แต่ในปัจจุบันบางสวนก็ใช้พลาสติกคลุมแปลง เพราะลดค่าแรงและเวลาการทำหญ้ากำจัดวัชพืช ที่สำคัญแปลงปลูกจะมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการเพาะต้นกล้ามะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” สำหรับเคล็ดลับเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีและสม่ำเสมอ รศ.ดร.กวิศร์ วานิชกุล ได้ให้ข้อมูลว่า “การเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีสม่ำเสมอนั้นให้นำมะละกอแช่น้ำ 1–2 วัน โดยในช่วงวันแรกให้เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นให้เปลี่ยนน้ำถี่ขึ้น เนื่องจากเมล็ดมะละกอมีการหายใจมากขึ้นทำให้ออกซิเจนในน้ำเหลือน้อยลง หากแช่น้ำแล้วไม่เปลี่ยนน้ำเลยก็จะเหลือออกซิเจนในน้ำน้อยเมล็ดมะละกอนั้นก็จะเกิดการหมักจนเน่าได้ ในวันที่ 3 ให้นำเมล็ดมะละกอนั้นห่อด้วยผ้าเปียกน้ำหมาดๆ นำผ้าใส่ไว้ในกล่องพลาสติกหรือกระติกน้ำเก่า และมีการพรมน้ำอยู่เรื่อยๆ ก็ได้ หากแช่เมล็ดมะละกอในน้ำดังกล่าวแล้วจะทำให้ได้ต้นกล้ามะละกอที่งอกได้ดีและโตสม่ำเสมอกัน”

หรือหากจะลดความยุ่งยากและยังไม่มีความชำนาญในการเพาะกล้า บางท่านก็อาจจะเลือกใช้วิธีของศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงจ.สุพรรณบุรีแนะนำว่า ให้แช่เมล็ดพันธุ์มะละกอในน้ำอุ่น (น้ำธรรมดา 1 ส่วนผสมกับน้ำร้อน 1 ส่วน = น้ำอุ่น) ทิ้งไว้ 1 คืน เช้าขึ้นมานำเมล็ดมะละกอ หยอดปลูกลงถุงดำขนาดเล็กที่เตรียมไว้ โดยอาจจะใช้วัสดุ เช่นขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมัก หรือ ดิน 1 ส่วน หยอดเมล็ดมะละกอ ถุงละ 3 เมล็ด จากนั้นรดน้ำที่ผสมยาป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลคซิล รดให้เพื่อช่วยป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า และผสมยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมดคาบเมล็ดมะละกอที่เพาะไว้ เช่น เซฟวิน-85 วางถุงดำไว้ใต้แสลนพรางแสง 60 % รดน้ำทุกเช้าวันละ 1 ครั้ง

จากนั้นอีก 7 – 10 วัน เมล็ดมะละกอจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงได้ 2 ใบให้เอาแสลนออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อเป็นการปรับตัว ในช่วงที่ต้นกล้าเริ่มงอกควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา พวกแมนโคเซบผสมกับยาแมลง เช่น เซฟวิน-85 และสารจับใบพรีมาตรอน จากนั้นฉีดพ่นให้ทุกๆ 7 วัน เป็นการป้องกันโรคและแมลงทำลาย จากนั้นประมาณ 2-3 อาทิตย์ ต้นกล้ามะละกอก็สามารถย้ายปลูกลงแปลงไว้ได้ หรือเมื่อต้นกล้าอายุ 45 วัน จึงย้ายลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ไม่ควรปลูกต้นกล้ามะละกอลึกจะทำให้รากเน่า

ในการใส่ปุ๋ยระยะก่อนติดผล เว็บคาสิโนออนไลน์ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 เดือนละครั้งๆ ละ 100-150 กรัม/หลุม หลังติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 150 กรัม/หลุม เดือนละครั้ง วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้หว่านลงดินบริเวณรัศมีทรงพุ่มของมะละกอแล้วรดน้ำตาม อย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้นมะละกอ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้

หลังจากปลูกต้นกล้ามะละกอไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ต้นมะละกอจะเริ่มออกดอก ให้เกษตรกรสังเกตดูการออกดอกของต้นมะละกอภายในหลุมทั้ง 3 ต้น ว่าต้นใดเป็นต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทย (ผลยาว) ให้คัดต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทยไว้เพียงต้นเดียว สำหรับต้นตัวเมีย (ผลป้อม) ถ้าไม่ต้องการก็ตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ออกมาจะเป็นลูกป้อมและถ้าเป็นตัวผู้ให้ตัดทิ้งเลย โดยปกติแล้วต้นดอกสมบรูณ์เพศหรือดอกกะเทยนั้น ตลาดจะต้องการมากที่สุด โดยจากการสังเกตการณ์ออกดอกของมะละกอยักษ์ เรด แคลิเบียน พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การออกดอก เป็นต้น กระเทย(ผลยาว)ค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ มีการพบต้นที่ให้ดอกตัว(ผลกลม)เมียเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนต้นตัวผู้ยังไม่พบในแปลงปลูก

การบำรุงรักษา ยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ในฤดูแล้งต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดอย่าให้ดินแห้งในฤดูฝน ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำ แต่ถ้าฝนตกหนักจะต้องดูแลการระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น โดยเสริมร่องปลูกให้สูงอยู่เสมอ ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังปลูกมักพบโรครากเน่าและโคนเน่าจึงควรราดโคนต้นมะละกอด้วยสารอาลีเอท ในช่วงฝนตกชุกก็เช่นเดียวกันจะมีโรครากเน่าโคนเน่าระบาดมาก แม้มะละกอจะออกดอกหรือติดผลแล้ว จำเป็นต้องราดโคนด้วย สารอาลีเอท ทุกๆ 15 วัน

เป็นที่สังเกตว่าการหว่านเชื้อไตรโคเดอร์มาก่อนปลูกและหว่านซ้ำทุกๆ 4 เดือน จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงกว่าครึ่ง การกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้จอบถางบริเวณโคนต้น เพราะรากจะถูกตัดขาด ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตหรือทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ แต่ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีวัชพืชขึ้น นอกทรงพุ่มต้องใช้เครื่องตัดหญ้าหรือมีดตัดให้สั้น การคลุมโคนต้นมะละกอ ใช้ฟางข้าวคลุมโคนต้นมะละกอให้หนาและหมั่นเติมฟางอยู่เสมอจะช่วยลดวัชพืช เพราะการคลุมฟางจะทำให้เมล็ดหญ้าไม่งอกและรักษาความชื้นในดิน หรือหากเป็นสวนมะละกอขนาดใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชในการใช้ต้องมีความระมัดระวัง มะละกออ่อนแอต่อยาฆ่าหญ้า

ในการปลูกมะละกอไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าเลยเป็นดีที่สุด ซึ่งในทางปฏิบัติจริงการใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอมีข้อจำกัดและเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัญหาเรื่องการใช้ยาฆ่าหญ้าในแปลงปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเป็นสารฆ่าหญ้าในกลุ่มไกลโฟเสท และสาร 2,4-ดี ละอองยาสามารถฟุ้งกระจายไปได้นับร้อยเมตร เมื่อต้นมะละกอได้สัมผัสสารฆ่าหญ้าจะทำให้ใบหงิก และมีลักษณะอาการเหมือนกับโรคไวรัสจุดวงแหวน