ปลูกมะม่วงมันขุนศรี 28 ต้น โกยรายได้ปีละ 2 แสนเชื่อว่าความสุข

ของเด็กบ้านสวนหลายคนคงจะเหมือนๆ กัน ใช้เวลาช่วงวันหยุด เสาร์ –อาทิตย์ ออกกำลังกายปีนป่ายห้อยโหนต้นไม้เป็นลิงค่างแล้วกับเพื่อนๆ อย่างสนุกสนาน ฝึกหัดว่ายน้ำในร่องสวน โดยใช้ลูกมะพร้าวผูกเป็นทุ่นพยุงตัว ยามหิว ก็ปีนต้นไม้เลือกเก็บผลไม้กินตามความพอใจ ทั้งฝรั่งขี้นก กล้วยหอม กล้วยไข่ มะพร้าว ฯลฯ

พอเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนทุกปี เด็กบ้านสวนจะสนุกสนานกับการเก็บมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณหลายชนิดที่มีรสชาติเอร็ดอร่อย เช่น มะม่วงแขนอ่อน(จำได้แม่น ..ผลยาวมาก ) แก้มแดง (ลูกสีสวยงาม เป็นเอกลักษณ์เด่น ) ลิ้นงูเห่า ( รสชาติหวานหอมเหมือนมะม่วงอกร่อง) ทองดำ (ผลดิบ มีรสมันปนเปรี้ยว ผลสุก หอมหวานอร่อยมาก ) อกร่อง (รสชาติหวานหอม อร่อยที่สุดในกลุ่มมะม่วงกินสุก ) ตลับนาค(กลิ่นหอม รสหวานอร่อย )กำปั้น หรือ กระล่อน ( ลูกเล็ก มีกลิ่นหอม รสหวาน ) พิมเสนมัน (ผลสุกงอมมีรสหวานปนเปรี้ยว ) และมันขุนศรี (อร่อยทั้งผลดิบและสุก ) ฯลฯ

ในอดีต เมืองไทยมีสายพันธุ์มะม่วงไทยโบราณหลายร้อยสายพันธุ์ แต่วันนี้ มะม่วงเหล่านั้น นับวันแทบจะสูญหายไปหมด เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกมะม่วงที่ได้รับความนิยมเชิงการค้าเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์สี่ มหาชนก ฯลฯ ทำให้เด็กรุ่นลูก รุ่นหลานหลายคน ไม่รู้จักว่า ต้นมะม่วงโบราณเหล่านั้น หน้าตา รสชาติเป็นอย่างไร

นับเป็นความโชคดี ที่ผู้เขียนบังเอิญไปรู้จักแหล่งปลูกมะม่วงมันขุนศรี หนึ่งในมะม่วงสายพันธุ์โบราณที่มีรสชาติอร่อยเด็ด ทั้งผลดิบและผลสุก ของ สวนบุญศิริ อำเภอบ้านนา จ.นครนายก จึงอยากเชิญชวนท่านผู้อ่านแวะไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงมันขุนศรีแห่งนี้ด้วยกัน

“ มะม่วงมันขุนศรี ”
จากการพูดคุยกับเพื่อนหลายๆ คนพบว่า สายพันธุ์มะม่วงมัน ที่คนไทยชื่นชอบเป็นพิเศษ อันดับหนึ่ง คือ “ มะม่วงเขียวเสวย ” ซึ่งมีขนาดผลปานกลาง มะม่วงชนิดนี้ ติดผลไม่ค่อยดก ผลดิบมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่จัดจนถึงเนื้อเหลือง มีรสมันอร่อยมาก

มะม่วงยอดนิยมอันดับสอง คือ ” มะม่วงมันขุนศรี ” ซึ่งเป็นมะม่วงสายพันธุ์โบราณ ที่มีถิ่นกำเนิดในย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี และแถบ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

โดยทั่วไป ต้นมะม่วงมันขุนศรี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร หากต้องการกินเนื้อมะม่วงที่มีรสมัน ต้องเลือกผลแก่ที่จัดเท่านั้น เพราะผลดิบที่ยังไม่แก่จัดจะมีเปรี้ยว รสมันของมะม่วงชนิดนี้ อาจมีรสชาติเป็นรองมะม่วงเขียวเสวยสักเล็กน้อย แต่ผลสุกจะมีรสชาติอร่อยกว่ากลุ่มมะม่วงมันทุกชนิด ที่สำคัญมะม่วงชนิดนี้ให้ผลดกและติดผลง่ายทุกปี

สวนบุญศิริ นครนายก“ คุณ จิตร ถือธรรม และภรรยา ชื่อ คุณสัมฤทธิ์ ถือธรรม ” เป็นเจ้าของ “ สวนบุญศิริ ” เล่าให้ฟังว่า เดิมทีครอบครัวถือธรรม มีอาชีพทำนาปลูกข้าวเป็นรายได้หลักเลี้ยงดูครอบครัวมาตลอด แต่รายได้จากการทำนา ไม่เพียงพอสำหรับดูแลครอบครัว คุณจิต จึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากครอบครัวชาวนา มาเป็นครอบครัวชาวสวน เมื่อ 10 กว่าปีก่อน

คุณจิตปรับที่นาเนื้อที่ 48 ไร่มาเป็นสวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ใช้พื้นที่ทุกส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น มะยงชิด มะนาว ส้มโอ ขนุน กระท้อน ทุเรียน เงาะ กระท้อนห่อ ฯลฯ ในช่วงต้นปี สวนแห่งนี้จะมีรายได้จากการขายผลมะยงชิดที่ปลูกไว้จำนวน 300 ต้น เมื่อหน้ามะยงชิดหมด จะมีผลมะม่วงออกขาย เช่น มันบางขุนศรี ทองดำ น้ำดอกไม้ พิมเสน เขียวเสวย ฯลฯ หากเหลือมะม่วงสุกจำนวนมากจนขายไม่ทัน ก็จะนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ทุกวันนี้ “ มะม่วงมันขุนศรี ”เป็นพระเอกหลักของสวน จะเริ่มเก็บผลผลิตออกขายตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม

คุณจิตบอกว่า ต้นมะม่วงมันขุนศรี จะให้ติดผลง่าย ให้ผลดกทุกปี ผล มะม่วงมันขุนศรีจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 3–4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม หากเป็นต้นที่ผลไม่ดกมาก จะได้ผลมะม่วงลูกโตน้ำหนักเกือบลูกละ 1 กิโลกรัม จึงต้องใช้ไม้ค้ำกิ่ง เพื่อช่วยไม่ให้กิ่งหักเสียหาย

ปลูกมันขุนศรี 28 ต้นโกยเงินปีละ 2 แสน
คุณจิตพาไปชมแปลงมะม่วงมันขุนศรีที่ปลูกอยู่ริมถนนทางเข้าบ้าน ก็พบว่า ต้นมะม่วงมันขุนศรี มีลักษณะลำต้นเหมือนกับต้นมะม่วงทั่วไป จุดแตกต่างที่เห็นเด่นชัดคือ มะม่วงมันขุนศรี จะมีลักษณะทรงผล แหลมและงอน ส่วนหัวผลจะป้านไปทางด้านหลังมาก ทำให้ดูคล้ายตัวอักษรภาษา อังกฤษรูปตัว “เอส” ผลดิบสีเขียวมีนวล ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้มนิดๆ ติดผลเป็นพวง 3-5 ผล

มะม่วงมันขุนศรี มีจุดเด่นด้านรสชาติ ทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก สำหรับผลอ่อนที่ยังดิบ จะมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และเนื้อกรอบ นิยมนำมะม่วงผลอ่อนไปปอกเปลือกและสับซอยเป็นเส้นฝอย เพื่อปรุงรสเป็นมะม่วงยำ หรือนำไปฝานเป็นชิ้นๆ เพื่อจิ้มกับพริกเกลือป่น หรือจิ้มน้ำปลาหวาน รับรอง กินอร่อยจนแทบหยุดไม่ได้

มะม่วงมันขุนศรี เมล็ดลีบและบาง ผลสุก เนื้อมีสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย ไม่มีเสี้ยน เนื้อเหนียวไม่เละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานแหลมปนเปรี้ยวนิดๆ หากรับประทานคู่กับข้าวเหนียวมูน รับประกันความอร่อยเด็ด ไม่แพ้มะม่วงกินสุกชนิดใดๆ

“ มะม่วงมันขุนศรี มีรสชาติเด่น 3 รส คือ หวาน มัน เปรี้ยว สำหรับมะม่วงเขียวเสวย แม้ผลที่แก่จัดจะมีรสมันเหมือนกัน แต่เปรียบเทียบรสชาติแล้ว มะม่วงมันขุนศรี จะมีเนื้อกรอบกว่า เนื้อแป้งน้อยกว่ามะม่วงเขียวเสวย เวลาใช้มีดฝานเนื้อมะม่วงมันขุนศรี จะไม่เห็นเนื้อแป้งติดบนใบมีด เลย เวลาปอกจะมีน้ำออกมารสชาติหวาน เนื้อมะม่วงกรอบอร่อย ” คุณสัมฤทธิ์กล่าว

ทุกวันนี้ คุณจิตนำผลผลิตจากสวนบุญศิริออกขายที่ ตลาดนัดโรงเรียนเตรียมทหาร นครนายก ในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ลูกค้าที่สนใจแวะเข้ามาเลือกซื้อเลือกชมได้ทุกวัน อังคาร ศุกร์ และอาทิตย์ เนื่องจาก“ มันขุนศรี ” เป็นมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณ ที่หากินยากในปัจจุบัน ทำให้มะม่วงมันขุนศรีของสวนแห่งนี้ขายดิบขายดี จนผลิตไม่พอขาย เชื่อหรือไม่ คุณจิตปลูกต้นมะม่วงมันขุนศรีแค่ 28 ต้น สร้างรายได้เข้ากระเป๋าถึงปีละ 2 แสน

“ ต้นมะม่วงมันขุนศรี เป็นมะม่วงสายพันธุ์ไทยโบราณที่ปลูกดูแลง่าย ในแต่ละปี เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลต้นมะม่วงมันขุนศรีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ยคอก ซึ่งใส่เพียงปีละ 1 ครั้ง ส่วนสารเคมี ใช้น้อยมากหรือแทบไม่ใช้เลย การปลูกมะม่วงมันขุนศรีจึงให้ผลกำไรแบบเต็มๆ น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรที่อยากปลูกมะม่วงเชิงการค้าในอนาคต เพราะปลูกง่าย ขายคล่อง ให้ผลดก รสชาติอร่อย ที่สำคัญมีคนปลูกมันขุนศรีค่อนข้างน้อย ”

นอกจากจุดเด่นด้านรสชาติแล้ว คุณจิตยังเลือกเก็บผลมะม่วงที่แก่จัด ที่เรียกว่า สุกปากตะกร้อ ออกขายในตลาด ซึ่งเป็นมะม่วงคุณภาพดี ที่ตลาดต้องการเพราะมีรสชาติอร่อย เมื่อคุณจิตนำมะม่วงมันขุนศรีไปวางขายในตลาด ลูกค้าจะแห่กันมาเลือกซื้อจนเต็มหน้าร้าน สินค้าขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว ทุกวันนี้ มะม่วงยังไม่ทันออกผล ลูกค้าหลายรายก็แห่มาโทรสั่งจองมะม่วงกันล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้มั่นใจว่า ปีนี้ได้ทานมะม่วงมันขุนศรีแน่ๆ สำหรับปีนี้ คุณจิตจะเริ่มเก็บมะม่วงออกขายตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม จนถึงปลายเดือนเมษายน

การปลูกดูแล
สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง ดังนั้น เพื่อให้ผลผลิตมะม่วงรุ่นต่อไปเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ หลังหมดฤดูการเก็บเกี่ยวในแต่ละปี คุณจิตจะว่าจ้างคนงาน มาตัดแต่งกิ่ง ใกล้ฝนลงก็จะเริ่มให้ปุ๋ยรอบแรก 1 ครั้ง โดยเน้นให้ปุ๋ยอินทรีย์ หว่านรอบทรงพุ่ม ต้นละไม่เกิน 5 กก. เมื่อหมดฝน จึงเริ่มราดสารแพคโคลบิวทราโซล เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของราก เร่งให้เกิดดอก ทำให้ออกลูกเร็ว

หลังราดสารไปได้ 45 วัน ต้นมะม่วงก็จะเริ่มออกช่อ จะฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกช่อดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด ช่วงที่มีผลมะม่วงลูกเล็ก จะฉีดสารฆ๋าแมลงบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาหนอนเจาะผล เมื่อผลโตมากขึ้น จะใช้สารกระเพาแขวนไว้ที่ต้นมะม่วง เพื่อขับไล่แมลงวันทอง ที่นี่ปลูกมะม่วงโดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ เนื่องจากมะม่วงเป็นพืชที่มีรากลึก จึงสามารถหาแหล่งน้ำได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำอีก

ด้านตลาด
คุณจิต กล่าวว่า ทุกวันนี้ ปลูกมะม่วงมันขุนศรีจำนวน 28 ต้น เก็บผลผลิตได้มากกว่าปีละ 2 ตัน สวนแห่งนี้ ยังปลูกมะม่วงทองดำ เก็บผลผลิตได้ปีละ 4-5 ตัน ขายส่งในราคาก.ก.ละ 17 บาท มะม่วงพิมเสนบ่มสุกขายในราคาก.ก.ละ 20-25 บาท มะม่วงน้ำดอกไม้บ่มสุก ขาย ก.ก.ละ 30-35 บาท มะม่วงเขียวเสวยขาย ก.ก.ละ 30 บาท

ผลผลิตทั้งหมดในสวนแห่งนี้ คุณจิตจะนำออกขายที่ ตลาดนัดโรงเรียนเตรียมทหาร นครนายก เป็นประจำ ทุกวัน อังคาร วันศุกร์ และวันอาทิตย์ ส่วนวันพุธจะขายผลผลิตที่ ตลาดนัด จปร.นครนายก

นอกจากนี้ บุตรสาวชื่อ “ คุณโอ๋ ” ได้เปิดเฟสบุ๊ก ชื่อว่า “ ผลไม้ บ้านสวนบุญศิริ นครนายก ” เป็นช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลผลิตของสวนออกขายในสังคมออนไลน์ ปรากฎว่า ขายได้ผลดี ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าได้จำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเฟสบุ๊ก โอนชำระเงินล่วงหน้า คุณจิตก็จะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ถือได้ว่า เฟสบุ๊ก เป็นช่องทางสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ดีและน่าสนใจสำหรับเกษตรกรไทยในยุคนี้

มะคาเดเมีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่มีนักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา นำไปพัฒนาต่อยอดที่เกาะฮาวาย มะคาเดเมีย ชื่อดั้งเดิมคือ แมคคาเดเมีย ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ แก่ มร.แมคคาดัม ชาวสก๊อตแลนด์ ด้วยท่านได้ทุ่มเทให้กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น แห่งออสเตรเลีย อย่างเต็มความสามารถ

สำหรับประเทศไทยนำเข้ามาทดลองปลูกในปี พ.ศ. 2496 จากฮาวาย มีการวิจัยพันธุ์มาอย่างยาวนาน ระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มพัฒนาการวิจัยอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง จนในที่สุด กรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์มะคาเดเมียให้เป็นพันธุ์แนะนำ จำนวน 3 พันธุ์ คือ

พันธุ์เชียงใหม่ 400 เป็นพันธุ์เบา ทรงต้นขนาดเล็ก เปลือกผลบาง มีเนื้อใน 34-42 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับปลูกบนที่สูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 700 ทรงต้นตั้งตรง ขอบใบเป็นหนามมาก ผลใหญ่ กะลาบาง มีเนื้อผล 32-39 เปอร์เซ็นต์ ปลูกให้ผลดีบนที่สูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 เมตรขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 1000 ทรงต้นเป็นพุ่มกลม ให้เนื้อใน 34-38 เปอร์เซ็นต์ การเจริญเติบโตและให้ผลมีขนาดใหญ่ จึงให้ผลผลิตสูงกว่าอีก 2 พันธุ์ ที่กล่าวมา ปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อวางแผนการปลูกมะคาเดเมียให้ได้ผลดี ประกอบด้วย หน้าดินต้องลึก ระบายน้ำได้ดี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี ต้องการอุณหภูมิ ระหว่าง 10-32 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะต้องผ่านอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน และอุณหภูมิไม่ควรเกิน 32 องศาเซลเซียส เพราะจะมีผลทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว ส่งผลให้เนื้อในมีขนาดเล็กลงไปด้วย ประการสำคัญควรให้ได้รับแสงวันละไม่ต่ำกว่า 10-12 ชั่วโมง และต้องปลูกไม้กันลมให้ด้วย เนื่องจากมะคาเดเมียเป็นไม้ที่มีระบบรากตื้น การหักโค่นมักเกิดขึ้นได้ง่าย

สรุป กาญจนบุรี ยังไม่เหมาะที่จะปลูกมะคาเดเมีย ต้องการพันธุ์ปลูกและรายละเอียดต่างๆ ติดต่อสอบถามที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ

มะคาเดเมีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่มีนักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา นำไปพัฒนาต่อยอดที่เกาะฮาวาย มะคาเดเมีย ชื่อดั้งเดิมคือ แมคคาเดเมีย ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ แก่ มร.แมคคาดัม ชาวสก๊อตแลนด์ ด้วยท่านได้ทุ่มเทให้กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น แห่งออสเตรเลีย อย่างเต็มความสามารถ

สำหรับประเทศไทยนำเข้ามาทดลองปลูกในปี พ.ศ. 2496 จากฮาวาย มีการวิจัยพันธุ์มาอย่างยาวนาน ระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มพัฒนาการวิจัยอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง จนในที่สุด กรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์มะคาเดเมียให้เป็นพันธุ์แนะนำ จำนวน 3 พันธุ์ คือ

พันธุ์เชียงใหม่ 400 เป็นพันธุ์เบา ทรงต้นขนาดเล็ก เปลือกผลบาง มีเนื้อใน 34-42 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับปลูกบนที่สูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 700 ทรงต้นตั้งตรง ขอบใบเป็นหนามมาก ผลใหญ่ กะลาบาง มีเนื้อผล 32-39 เปอร์เซ็นต์ ปลูกให้ผลดีบนที่สูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 เมตรขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 1000 ทรงต้นเป็นพุ่มกลม ให้เนื้อใน 34-38 เปอร์เซ็นต์ การเจริญเติบโตและให้ผลมีขนาดใหญ่ จึงให้ผลผลิตสูงกว่าอีก 2 พันธุ์ ที่กล่าวมา ปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อวางแผนการปลูกมะคาเดเมียให้ได้ผลดี ประกอบด้วย หน้าดินต้องลึก ระบายน้ำได้ดี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี ต้องการอุณหภูมิ ระหว่าง 10-32 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะต้องผ่านอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน และอุณหภูมิไม่ควรเกิน 32 องศาเซลเซียส เพราะจะมีผลทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว ส่งผลให้เนื้อในมีขนาดเล็กลงไปด้วย ประการสำคัญควรให้ได้รับแสงวันละไม่ต่ำกว่า 10-12 ชั่วโมง และต้องปลูกไม้กันลมให้ด้วย เนื่องจากมะคาเดเมียเป็นไม้ที่มีระบบรากตื้น การหักโค่นมักเกิดขึ้นได้ง่าย

สรุป กาญจนบุรี ยังไม่เหมาะที่จะปลูกมะคาเดเมีย ต้องการพันธุ์ปลูกและรายละเอียดต่างๆ ติดต่อสอบถามที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลางบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ

การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะได้อาหารสะอาด ปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย แถมได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย เริ่มแรก ควรเลือกพืชผักที่ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว เช่น ผักบุ้ง ผักชี กระเพรา โหระพา ผักกาดกวางตุ้ง เป็นตัวอย่าง ถ้าในช่วงฤดูหนาว อาจเป็นผักกาดขาว หรือผักสลัดก็ได้ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องใหม่ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ภาชนะปลูกมีให้เลือกได้หลายแบบ ถ้าต้องการให้สวยงาม ทำรางยกระดับเป็นชั้นด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือแคร่ไม้ไผ่กรุภายในด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ทะลวงก้นให้ระบายน้ำได้ดี หรือปลูกในกระถาง หรือกะละมังเจาะก้น เลือกได้ตามความต้องการ ดินปลูกต้องร่วนซุย เก็บความชื้นได้พอเหมาะ และระบายน้ำได้ดี

ตัวอย่าง ใช้ดินร่วน กาบมะพร้าวสับหรือแกลบดิบ คาสิโน UFABET และปุ๋ยคอกเก่า ในอัตรา 3 : 1 : 0.5 ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้หากสามารถหาวัสดุอื่นๆ ได้ง่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในภาชนะปลูก ปรับผิวให้เรียบ หว่านเมล็ดบางๆ ให้ทั่ว กลบด้วยวัสดุปลูกชนิดเดียวกัน ให้กลบเมล็ดแล้วรดน้ำตาม พืชผักบางชนิดอาจจำเป็นต้องเพาะให้งอกก่อน โตพอประมาณแล้วจึงย้ายปลูก เช่น ผักกาดชนิดต่างๆ ในกรณีที่บริเวณบ้านมีหอยทาก หรือมดแดง มีจำนวนมาก หล่อขาชั้นปลูก หรือกระถาง หรือโรยด้วยปูนขาวบางๆ ให้รอบ จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง ในช่วงอากาศร้อนจัดต้องพลางแสงด้วยซาแรนสีดำให้บ้าง หากใช้น้ำประปารด ต้องรองใส่ตุ่มหรือโอ่ง ทิ้งไว้ 2-3 วัน ให้คลอรีนระเหยก่อนนำไปรดต้นไม้

ศัตรูสำคัญของผักสวนครัวคือ หนอนกินใบ กับหนอนชอนใบ ป้องกันกำจัดด้วยน้ำยาฉุนผสมเหล้าขาว ตามที่ผมเคยแนะนำไว้ก่อนแล้ว เมื่อพบแมลงเข้าทำลายให้ฉีดทุกๆ 3 วัน จนครบ 3-4 ครั้ง การระบาดจะหมดไป ถ้าต้องการให้ต้นไม้งามมากขึ้น ละลายปุ๋ยยูเรียในน้ำเจือจาง รดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 2-3 ครั้ง จะได้ผักสวนครัวสดใสสวยงามสมดังตั้งใจครับ

ปกติแล้วกิ้งกือเป็นสัตว์ที่คนทั่วไปทั้งหญิงชาย ต่างพากันเกลียดกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงจะเกลียดและขยะแขยงกิ้งกือเป็นอย่างมาก แต่ว่าที่บ้านเลขที่ 435/12 ถนนกลางเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านของ นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร ได้เพาะเลี้ยงกิ้งกือไว้จำนวนมากกว่า 400 ตัว โดยกิ้งกือขนาดต่าง ๆ ทั้งเล็กใหญ่พากันไต่ยั๊วะเยี๊ยะอยู่ในกะละมังสำหรับเลี้ยงกิ้งกือ ซึ่งนายศิวาวุธ ได้นำเอาเศษผักและใบไม้แห้งมาเป็นอาหารเลี้ยงกิ้งกืออย่างดี และกิ้งกือแต่ละตัวก็กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร หนุ่มศรีสะเกษ ที่ประกอบอาชีพแปลกที่สุดในโลก กล่าวว่า ตนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดมีความคิดอยากทำอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยพบว่า มีการทำวิจัยในการเลี้ยงกิ้งกือเพื่อนำมูลกิ้งกือมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ตนจึงได้เกิดแนวความคิดที่จะเลี้ยงกิ้งกือขึ้นมา โดยเริ่มแรกจะเลี้ยงกิ้งกือเพียงประมาณ 30 ตัวเท่านั้น เนื่องจากว่า หากิ้งกือได้ค่อนข้างยากมาก ตนจึงประกาศผ่านทางสื่อโซเซียล (เฟสบุ๊ค) เพื่อรับซื้อกิ้งกือทุกขนาดในราคากิโลกรัมละ 40-80บาท โดยราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของกิ้งกือว่าตัวเล็กหรือว่าตัวโตเพียงใด

นายศิวาวุธ เล่าต่อไปว่า จะนำกิ้งกือมาเลี้ยงในกล่องพลาสติกขนาดกลางใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ จากนั้น ก็จะเก็บมูลกิ้งกือที่ถ่ายออกมานำเอาไปตากแดด เมื่อมูลกิ้งกือแห้งแล้วก็จะเก็บรวมไว้เป็นปุ๋ยนำมาใส่ต้นไม้ต่างๆ ภายในบ้านของตนเอง ซึ่งในการเพาะเลี้ยงกิ้งกือ ตนจะจับเอากิ้งกือเพศผู้และเพศเมียแยกออกมาไว้ในกล่องต่างหาก เพื่อให้มันผสมพันธุ์กัน เมื่อกิ้งกือฟักเป็นตัวอ่อนก็จะจับแยกตัวอ่อนมาเลี้ยงในกาละมัง ซึ่งเป็นกิ้งกือชั้นอนุบาล และเติบโตได้ประมาณ 1 เดือน ก็จะคัดแยกขนาดจากขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ อาหารที่ให้คือเศษผักต่างๆ และใบไม้แห้ง เมื่อกิ้งกือกินเข้าไปก็จะถ่ายมูลออกมาเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่ากับเม็ดปุ๋ย นำมาใส่ต้นไม้เจริญงอกงามไม่แพ้ปุ๋ยเคมี และยังเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ลดต้นทุนอีกด้วย