ปลูกมัลเบอร์รี่ แบบซุ้มอุโมงค์ เทคนิคง่ายๆ ช่วยสวนเป็นระเบียบ

ง่ายต่อการดูแล มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน ผลไม้หนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ ปลูกง่าย แปรรูปเป็นผลิตภัณ์เพื่อสุขภาพสร้างมูลค่าได้หลากหลาย สามารถปลูกได้กับทุกสภาพพื้นที่ มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แดดจัด ผลจะดก โตเร็ว มีข้อเสียคือ ผลจะนิ่ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นผลหม่อนจะออกไม่ดกมาก ข้อดีคือ ผลจะมีความหวาน กรอบ หากจะปลูกเชิงการค้าแนะให้เลือกพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศเย็นและมีแดดส่องถึง

คุณนันทวัน โตอินทร์ หรือ ครูไก่ เจ้าของสวนแม่หม่อน ตั้งอยู่ เลขที่ 201 หมู่ที่ 5 ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เผยเทคนิคการปลูกมัลเบอรร์รี่ แบบซุ้มอุโมงค์ ว่าเริ่มทำเต็มรูปแบบ เมื่อปี 2557 ปลูกทั้งหมด 13 ไร่ แบ่งปลูก 2 พันธุ์ แปลงแรก จำนวน 8 ไร่ ปลูกพันธุ์เชียงใหม่ 60 อีก 5 ไร่ แบ่งปลูกพันธุ์ดำออสตุรกีเป็นพันธุ์ของต่างประเทศ เพื่อสร้างความหลากหลาย ในส่วนของพันธุ์ดำออสตุรกี ตอนนี้ยังผลิตไม่พอขาย

ข้อดีของพันธุ์เชียงใหม่ 60 เหมาะกับทุกสภาพพื้นที่ทั่วประเทศ เพียงแต่มีข้อดี ข้อด้อย ต่างกัน ถ้าปลูกที่อำเภอวังน้ำเขียวเป็นพื้นที่อากาศเย็น เพราะฉะนั้นผลจะหวาน กรอบ ลูกแข็ง โดยธรรมชาติ

ปลูกมัลเบอร์รี่แบบอุโมงค์ ดูแลจัดการง่าย ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ที่สวนแม่หม่อน ใช้วิธีการปลูกแบบแบ่งโซน มีการจัดกิ่งให้โน้มเข้าหากันคล้ายอุโมงค์ เพื่อง่ายต่อการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม เก็บผลสดถ่ายรูปได้ตลอดทั้งปี วิธีการไม่ยาก แบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ถ้าปลูกที่บ้าน ให้ปลูกแค่ 4 ต้น สมมุติว่า ที่สวนมี 400 ต้น ให้แบ่งปลูกเป็นโซน โซนละ 100 ต้น

100 ต้นแรก ให้ตัดแต่งกิ่งและยอด เอาใบออก แล้วจับกางออกให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง แล้วนับตั้งแต่วันตัดแต่งกิ่ง 50 วัน จะเริ่มเก็บลูกได้ ระยะเวลาในการเก็บลูก 20 วัน ถึง 1 เดือน ลูกจะหมด เพราะฉะนั้น 100 ต้นแรก แต่ง วันที่ 1 ของเดือนมกราคม เว้นไว้ 1 เดือน วันที่ 1 ของเดือนกุมภาพันธ์ มาแต่งอีกโซน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 4 โซน พอครบก็จะกลับมาโซนที่ 1 ใหม่ 1 ต้น 1 ปี จะตัดได้ 3 ครั้ง ด้วยวิธีนี้มัลเบอร์รี่ที่นี่จึงไม่ขาดลูกเลยตลอดทั้งปี

ระยะห่างระหว่างแถว 4×4 เมตร ต้นโตดี ให้ผลผลิตดก ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร เพื่อให้กิ่งแผ่รับแสงแดดได้เต็มที่ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทำงานสะดวก เก็บผลง่ายเวลาเดินเก็บไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง” ครูไก่ บอก

ระบบน้ำ เนื่องจากอำเภอวังน้ำเขียว เป็นอำเภอที่มีหมอกหนา น้ำค้างเยอะ ที่สวนจึงใช้สปริงเกลอร์สูง รดจากด้านบนลงมา ตั้งแต่ตี 5 ข้อดีคือ ชุ่มชื้น ล้างใบป้องกันโรคได้ดี แต่ข้อเสียของสปริงเกลอร์คือ เปลืองน้ำ หญ้าขึ้นเยอะ

ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย

เจ้าของบอกว่า ให้นับตั้งแต่วันที่เก็บลูกรุ่นแรกหมด พักไว้แล้วใส่ปุ๋ยคอก รดน้ำ พักทิ้งไว้ให้ต้นเก็บอาหารอย่างน้อย 2 เดือน แล้วตัดใหม่ ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ตามสูตรของวิศวกรรมแม่โจ้ ลงสม่ำเสมอ เยอะไม่เป็นไร จะเป็นมูลอะไรก็ได้ ที่นี่จะใช้มูลวัว เพราะโดยแวดล้อมเกษตรกรเลี้ยงวัวเยอะ ถ้าที่อื่นมีฟาร์มหมูหรือฟาร์มไก่ ก็ใช้ได้เช่นกัน

มีช่องว่างแห่งการงานที่เราแทรกตัวลงไปได้ถ้ามีใจรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อม นี่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้…

เริ่มจากการมีต้นไม้ใหญ่ในเมือง คุณว่าดีไหม บางคนอาจจะตอบว่าไม่ดี เพราะกลัวต้นไม้ล้ม กลัวต้นไม้โค่น มีต้นไม้ข้างบ้านต้องโค่นทิ้ง…นี่เป็นทัศนะเชิงลบต่อต้นไม้

บางคนว่าดี เป็นกระแสโลกที่ต้องมีต้นไม้ในเมืองใหญ่ มีการเพิ่มต้นไม้ในชุมชนจนบางแห่งกลายเป็นป่าในเมือง ซึ่งมันดีมากทีเดียว “ต้นไม้เป็นบุคลิกของเมือง”

มีคำกล่าวว่า ต้นไม้เป็นบุคลิกของเมือง และเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจมากมาย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แต่ประโยชน์เหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ เมื่อคนกลัวและไม่วางใจต้นไม้ใหญ่ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่กลัวได้ เช่น เรื่องกิ่งที่หักลงมา หรือโค่นล้มเมื่อมีลมฝน

ถนนบางสายที่มีต้นไม้ใหญ่และถูกเสนอให้ตัดเพื่อความปลอดภัย แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคัดค้าน เพราะเห็นว่ามันสวยดี มันมีมานาน เป็นประวัติศาสตร์ชุมชน ถกเถียงกันมาหลายสิบปี ในเมืองเชียงใหม่ เช่น ถนนต้นยางสารภี ที่มีต้นยางใหญ่สองขอบทางขนานไปกับถนน

ดังนั้น การมีต้นไม้ใหญ่ต้องมีการจัดการที่ดี ให้ผู้คนรู้สึกเป็นมิตรกับต้นไม้ ผู้คนในชุมชนต้องไว้วางใจต้นไม้ แล้วจะทำอย่างไร ที่มากกว่าคัดค้าน…คำตอบอยู่ตรงนี้ รุกขกร เป็นอาชีพหนึ่งที่ช่วยเรื่องนี้ได้

เมื่อเดือนที่แล้ว ฉันไปดูไปฟังเรื่องการจัดการต้นไม้ใหญ่ในเมืองมา เขาจัดกันที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการจริง เพื่อการดูแลต้นไม้ใหญ่ในหน่วยงานต่างๆ เพื่อภูมิทัศน์เมืองเชียงใหม่

“อย่างที่สามารถประกอบเป็นอาชีพได้เลย” น้องคนหนึ่งบอก

เป็นอาชีพหนึ่งที่เพิ่งรู้จัก วิชาชีพ “รุกขกร” รุกขกร ไม่ค่อยคุ้นกับคำนี้ เคยได้ยินแต่คำว่า รุกขเทวดา หมายถึงเทวดาหรือผีผู้ดูแลต้นไม้ ดังนั้น รุกขกรก็มีความหมายว่า ผู้ดูแลต้นไม้อย่างเป็นผู้รู้และมืออาชีพ – ผู้เขียนเข้าใจดังนั้น

คนแบบไหนที่จะเป็นรุกขกรได้ เผื่อผู้อ่านเทคโนโลยีชาวบ้านสนใจอยากเป็น มีโอกาสสมัครเข้ารับการอบรมในโอกาสต่อไป

คุณสมบัติมีอยู่ทั้งหมด 7 อย่าง

อันดับแรก รักและสนใจธรรมชาติ พรรณไม้ และสภาพแวดล้อม แน่ละถ้าไม่รักไม่สนใจก็ผ่านเรื่องอาชีพนี้ไปไม่ได้เลย สอง การทำงานบนต้นไม้ต้องไม่กลัวความสูง สาม ร่างกายแข็งแรง สี่ มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยสูง ห้า มีความรู้พื้นฐานด้านพืช หก มีศิลปะ และสุดท้ายมีจิตใจเป็นผู้ให้บริการ

เมื่อได้คุณสมบัติแล้วก็ไปฝึกอบรมกันเลยค่ะ เป็นงานอบรมเชิงปฏิบัติการจริงๆ ฉันไปอบรมกับเขาด้วยทั้งที่รู้ว่าอยู่บนต้นไม้ไม่ไหวแล้ว ปีนป่ายไม่ไหว แต่เหตุเพราะว่าที่บ้านมีต้นไม้ใหญ่อยู่จำนวนมาก และสนใจว่าจะทำอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วกิ่งไม้ที่บ้านหักลงมาบ่อย มีต้นแก่มากๆ ที่อยากดูแลไว้นานๆ และนำมาบอกต่อคนอื่นๆ เผื่อเขาไม่ต้องตัดต้นไม้ทิ้งเมื่อพบว่า มันกำลังเจ็บป่วย

มีการอบรมห้าวัน แบบทฤษฎีและลงปฏิบัติจริงๆ กันเลย วันแรก คุณธราดล ทันด่วน หรือ ครูต้อ เป็นผู้บรรยาย ว่าด้วยเรื่องต้นไม้ในเมือง

ครูต้อ บอกว่า การเก็บต้นไม้ไว้จะได้เงิน (นี่เป็นทัศนะเชิงบวกทันที) ได้เงินเพราะอะไร ครูต้ออธิบายต่อว่า เมืองที่มีต้นไม้นักท่องเที่ยวจะมาพักนานๆ ในเมือง โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นดอย เพราะในเมืองมีที่ร่มรื่น มีต้นไม้สวยงามให้พวกเขาได้ถ่ายรูป ในโลกทุนนิยมต้องทำให้ต้นไม้มีคุณค่า

การดูแลต้นไม้ในเมืองไม่ใช่ดูภาพรวมแต่ต้องดูเฉพาะด้าน ถ้าทึบเกินไปก็ต้องแต่งให้โปร่ง ครูเอาวิดีโอแบบก่อนแต่งกับหลังแต่งให้ดู มีต้นไม้ริมทะเล เป็นต้นไม้ใหญ่บังทิวทัศน์ของเกาะ เจ้าของจะเอาออก แต่เมื่อรุกขกรไปถึงเขาใช้วิธีตกแต่งให้โปร่งขึ้น ต้นไม้ก็ยังอยู่ ใครๆ ก็ไปกินอาหารที่โต๊ะใต้ต้นไม้ และในขณะเดียวกันคนอยู่บนตึกก็มองเห็นวิวทิวทัศน์ที่ต้องการด้วย มีอีกหลายแห่งที่เก็บต้นไม้ไว้แล้วเพิ่มคุณค่าอาคาร ด้วยการจัดแต่งรูปทรงต้นไม้ให้ดี และดูแลสุขภาพของต้นไม้ด้วย เช่น ดูแลรูปทรง ตกแต่งกิ่ง บางกิ่งตัดไม่ให้แตก บางกิ่งตัดให้แตก เป็นเรื่องของศิลปะและความรู้

นอกจากนั้นต้องรักษา form เอาไว้ ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีรูปทรงของเขา แต่งสวยแต่ผิดฟอร์มก็ดูไม่ดี (คงต้องกลับไปดูที่บ้านต้นไหนผิดทรงบ้าง เท่าที่พอนึกออก ลั่นทมหน้าบ้านรูปทรงดีมาก ฉำฉาตรงทางเข้าก็ทรงดี ส่วนกระท้อนเสียทรงไปแล้วเพราะการตัดของพี่สาว ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ และคนตัดต้นไม้ไม่รู้ เพราะเท่าที่มีประสบการณ์ คนตัดต้นไม้ที่เราจ้างมามักจะตัดไปเรื่อย เช่น ตัดกิ่งให้แตกแต่ตาย เพราะตัดกิ่งแล้วเน่า น้ำขัง ไม่ได้ตัดให้แฉลบหรือตัดไม่ให้แตก แต่ตัดกิ่งทิ้งเอาไว้ไม่ตัดให้หมดก็จะเกิดกิ่งตายแห้ง และนั่นแหละจะตกลงมาเกิดอันตรายได้ หรือการแต่งกิ่งจากกิ่งล่างไป ซึ่งที่ถูกต้องตัดจากข้างบนหรือเรือนยอด ตัดกิ่งบนเพื่อให้แสงผ่านเข้ามาและแตกพุ่มออกข้าง ถ้าตัดจากกิ่งล่างต้นไม้จะชะลูดขึ้นสูงโต้ลมอาจจะหักโค่นได้

อีกเรื่องที่น่าสนใจยิ่งสำหรับเรา คือการทำให้ต้นไม้ออกดอกพร้อมกันแบบบานสะพรั่ง เช่น พวกดอกไม้ที่สวยอยู่ตามถนน ต้องตัดกิ่งให้เท่ากัน คือปลายกิ่งจะเหลือเท่ากัน ตัดหนักก็ได้ ตัดในช่วงที่ผลัดใบเต็มที่ แต่ถ้าผลัดใบแตกยอดแล้วห้ามตัดมันจะไม่ออกดอก ดังนั้น ต้องดูจังหวะที่ผลัดใบเต็มที่ แต่ยังไม่แตกยอดถ้าออกชุดใหม่แล้วห้ามตัด

เรื่องราวที่น่ารู้อีกหลายอย่างว่าด้วยต้นไม้ที่เราไม่รู้ เช่น การเอาต้นไม้ต่างถิ่นมาปลูก หลังจากฟังครูพูดแล้ว ทำให้คิดได้ว่า เป็นเรื่องไม่ควรท้าทายเพราะต้นไม้ไม่ได้ชอบไม่ควรพยายาม

นี่แค่ครึ่งวันแรกก็ได้รู้มากมาย ตอนเที่ยงออกมานั่งกินข้าวโรงอาหารคณะเภสัชศาสตร์ แล้วแหงนดูต้นไม้ คุยกับน้องที่เข้าอบรมด้วยกันว่า น้องเห็นไหมว่าต้นไม้ที่เรานั่งอยู่ใกล้ๆ นี้มีความเสี่ยง มีกิ่งแห้งที่ต้องเอาลง และมีกิ่งล่างสุดที่พร้อมจะฉีกขาดลงได้

“จริง จริง” เขาบอก สองหนุ่มนี้เป็นพนักงานสวนของโรงแรมแห่งหนึ่ง โรงแรมส่งมาอบรม กินข้าวเสร็จเดินกลับเข้าห้องประชุมอีกครั้งในช่วงบ่าย จะเรียนรู้เรื่องเครื่องมือและการปฏิบัติจริง

“น้องว่าต้นนั้นเรือนยอดของมันบางลงไป ครูว่าถ้าบางลงน่าจะป่วย”

น้องพยักหน้าเห็นด้วย

ผู้เข้าอบรมมีทั้งหมด 22 นอกจากฉันแล้วมีผู้หญิงอีกคน เธอบอกว่า เธออบรมจนครบหลักสูตร เธอโหนเชือกตัดแต่งกิ่งไปกับครูได้ เธอเรียนเพื่อจะบอกให้คนอื่นทำได้ เพราะการทำงานของรุกขกรต้องทำเป็นทีม คนที่อยู่ข้างล่างก็สำคัญ ผ่านวันแรก อบรมอีกสี่วัน มาดูว่าช่องทางอาชีพของรุกขกร โอกาสในวิชาชีพรุกขกรรม แน่นอนมีโอกาสสูง ในกระแสอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีงานต่างๆ ดังนี้

มีงานดูแลรักษาต้นไม้ในเขตเมือง

งานจัดการต้นไม้ในสนาม

ทำฟาร์มต้นไม้

งานอนุรักษ์ต้นไม้ในโครงการก่อสร้าง

“ถ้าคุณเป็นนักปฏิบัติตัวจริงคุณจะมีพื้นที่ยืน” ครูต้อพูดประโยคนี้

นี่เป็นทางเลือกอาชีพหนึ่งที่ยังมีช่องว่างสำหรับผู้แข็งแรง “คุณดำรงค์ จินะกาศ” เจ้าของสวนลำไยแปลงใหญ่ ได้เปิดบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพลำไย หมู่ที่ 1 บ้านท้องฝาย ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน กล่าวว่า ขั้นตอนการผลิตลำไยนอกฤดู ทำได้ไม่ยาก เริ่มจากการเตรียมต้นหลังการเก็บเกี่ยว

ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ใช้ใบลำไยที่ตัดแต่งกิ่งคลุมใต้โคนต้นบางๆ
ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 + ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 1: 2 (ใส่รอบทรงพุ่ม 1 กิโลกรัม ต่อต้น)
รดน้ำให้ชุ่ม ทุกๆ 5-7 วัน จนเริ่มแทงยอดอ่อนใน 21 วัน
พ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 15-15-15 + ฮอร์โมน+ธาตุอาหารรอง
เมื่อใบแก่จัด 45-60 วัน เริ่มปฏิบัติตาม ข้อ 2-4 ใหม่ การเตรียมต้นก่อนราดสาร 1 เดือนนั้น วันที่ 1 คุณดำรงค์ จะพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 + ปุ๋ย สูตร 10-52-10 อย่างละ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร วันที่ 7-21 พ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 + ปุ๋ย สูตร 10-52-10 อย่างละ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร (พ่นอย่างน้อย 2 ครั้ง) วันที่ 10 ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 จำนวน 1 กิโลกรัม ต่อต้น ทำความสะอาดรอบโคนต้นบริเวณที่ต้องการราดสาร กว้าง 1 เมตร

คุณดำรงค์ ใช้เทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดู สูตรราดบนดินโดยใช้โพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 6-8 กิโลกรัม โซเดียมคลอเรต จำนวน 1-2 กิโลกรัม ปุ๋ย สูตร 0-52-34 จำนวน 1 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย หรือ สูตร 15-15-15 จำนวน 300 กรัม และน้ำ จำนวน 200 ลิตร ฉีดพ่นรอบทรงพุ่มที่เตรียมไว้ 8-10 ต้น (ขนาดทรงพุ่ม 6-8 เมตร)

ส่วนเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดู สูตรพ่นทางใบที่แนะนำคือ โซเดียม จำนวน 500 กรัม ไทโอยูเรีย จำนวน 1 กิโลกรัม น้ำตาลทางด่วน จำนวน 1 กิโลกรัม น้ำ จำนวน 200 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง หลังราดสาร 5 วัน ห่างกัน 7 วัน หลังราดสารต้องดูแลโคนต้นให้มีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคหรือแมลงระบาดให้ฉีดพ่นด้วยยากำจัดศัตรูพืช

“การทำลำไยนอกฤดู ให้ผลตอบแทนที่ดี ช่วยสร้างโอกาสทางการตลาด และขายสินค้าได้ราคาที่ดี เมื่อต้นลำไยให้ผลผลิตก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังจากภาครัฐเข้ามาส่งเสริมนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ โดยแนะนำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทำปุ๋ยหมักจากใบลำไย ก็ทำให้สภาพดินดีขึ้น การใช้สารชีวภัณฑ์ สามารถทดแทนการใช้สารเคมีได้ดี นอกจากนี้ การใช้พลังงานสูบน้ำจากไฟฟ้า ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมัน” คุณดำรงค์ กล่าว

เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย

นอกจากนี้ คุณดำรงค์ ยังมีเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คุณดำรงค์ กล่าวว่า การผลิตลำไยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเกษตรกรมักจะตัดแต่งกิ่งลำไยเป็นประจำทุกปี ตนจึงได้นำเศษซากกิ่งลำไยจากการตัดแต่งกิ่งมาทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย

วิธีทำ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่

นำกิ่งลำไยวางเรียงบนพื้นดินใต้ต้นลำไยตามขนาดความกว้างของทรงพุ่มลำไยแต่ละต้น
แบ่งเศษใบลำไยออกเป็น 2 ส่วน ใช้เททับลงไปในทรงพุ่มเป็นกองชั้นแรก 1 ส่วน
ใช้ปุ๋ยคอกโรยลงไป และใช้ใบลำไยส่วนที่เหลือเททับลงไป
ใช้สารเร่งปุ๋ยหมัก ผสมน้ำราดไปให้ทั่ว
รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 3-4 เดือน เศษซากพืชจะสลายตัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์

คุณดำรงค์ กล่าวว่า ข้อดีของการใช้เทคนิคนี้ก็คือ ช่วยลดต้นทุนการผลิตลำไยลงได้ 40-50 เปอร์เซ็นต์ โดยทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมที่ใช้ 6 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ลดเหลือ 3 กิโลกรัม และเนื่องจากมีวัสดุคลุมดินทำให้ประหยัดการใช้น้ำ จากเดิมในฤดูแล้งต้องให้น้ำ 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง ขยายออกเป็น 7 วัน ต่อ 1 ครั้ง โดยสภาพพื้นดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ ข้อดีประการต่อมาคือ ช่วยทำให้การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการออกดอกของลำไยดีขึ้น เนื่องจากบริเวณทรงพุ่มลำไยจะเกิดรากฝอยและรากขนอ่อนใกล้ผิวดิน ทำให้ดูดซับสารซึ่งละลายน้ำฉีดพ่นลงผิวดินในทรงพุ่มลำไยได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาเศษกิ่งและใบลำไย รวมทั้งลดการระบาดของวัชพืชใต้ต้นลำไย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน เกิดความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย

ชะอม เป็นไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว ที่มีอายุยืนนาน เป็นไม้เถาเลื้อย มีฝักเหมือนกระถิน เมล็ดนำมาปลูกได้ กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว และมีวิตามินเอสูง ยอดชะอมจัดเป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าอาหารสูงยิ่ง ทั้งวิตามินเอ โปรตีน และเยื่อใยที่ร่างกายต้องการ ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมหรือไม่มีหนาม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน หรือใบส้มป่อย ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้างต้นหนาแน่น ชะอม เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ไม่ว่าดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ยกเว้นดินเค็มและกรดจัด ปลูกง่าย ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย

“ชะอม” หลายคนจะต้องนึกถึงเมนูอาหารที่แสนอร่อยจากผักพื้นบ้านชนิดนี้ที่มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว อาทิ ชะอมชุบไข่ทอดกับน้ำพริกกะปิ แกงแคไก่อาหารของคนเหนือ แกงลาวของคนอีสาน ฯลฯ ชะอมจึงจัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีคนไทยบริโภคเป็นประจำ และมีความต้องการในแต่ละวันไม่น้อยไปกว่าผักพื้นบ้านชนิดอื่น เกษตรกรไทยมักจะมองว่า การปลูกพืชผักสวนครัวจะเป็นเพียงอาชีพเสริม ไม่สามารถสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวได้

ตัวอย่างแหล่งปลูกชะอมพื้นที่ใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร อยู่ที่อำเภอตะพานหิน ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปลูกชะอมพันธุ์ไร้หนาม ดังคำขวัญของอำเภอตะพานหิน “ถิ่นชะอมไร้หนาม งามหลวงพ่อโต งานประเพณีกำฟ้า ทอผ้าป่าแดง” ตัวอย่างเกษตรกร คุณดอกไม้ อินอ้น หรือ ป้าดอกไม้ วัย 78 ปี ที่ถือเป็นเกษตรกรที่เริ่มปลูกชะอมไร้หนามรายแรกๆ ของอำเภอตะพานหิน และเป็นประธานกลุ่มผู้ปลูกชะอมไร้หนามบ้านคลองข่อย บ้านเลขที่ 31/6 หมู่ที่ 6 บ้านคลองข่อย ซอย 13 ตำบลไผ่หลวง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

การปลูกชะอมไร้หนาม ที่หลายคนมองเป็นเพียงอาชีพรองนั้น กลับสร้างรายได้หลักให้กับ ป้าดอกไม้ และครอบครัวมายาวนานมากกว่า 20 ปี และที่สวนชะอมไร้หนามของป้าดอกไม้ ยังเป็น “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่” ประจำตำบลไผ่หลวง เพื่อเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ เรื่องการปลูกชะอมไร้หนาม สำหรับผู้ที่สนใจหรือเกษตรกร

ปลูกชะอมไร้หนาม เริ่มต้น ในพื้นที่ 3 ไร่ สร้างรายได้ดีกว่าทำนา 10 ไร่ ก่อนที่ป้าดอกไม้จะปลูกชะอมไร้หนามก็ทำนามาก่อน ปัจจุบัน ก็ยังคงทำนาควบคู่ไป ซึ่งนากลายเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น ป้าดอกไม้เล่าย้อนกลับไปว่า ได้พันธุ์ชะอมไร้หนามมาปลูกแบบสวนครัวหลังบ้าน เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว วัตถุประสงค์แรกของการปลูกชะอมไร้หนามในตอนนั้น เพียงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และต่อมาเลยตอนกิ่งชะอมเพื่อขยายต้นปลูกเพื่อเก็บยอดชะอมจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านและตลาดในชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

หลังจากเก็บยอดชะอมขาย ผลปรากฏว่าปริมาณของความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนเกือบทุกวัน ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนา ป้าดอกไม้ บอกว่า ค่อนข้างเหนื่อยกว่ามาก และยังมีค่าใช้จ่ายต่อไร่สูง แล้วการปลูกข้าวยังประสบปัญหาในความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศ และราคา เมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการเก็บยอดชะอมไร้หนามขาย ในพื้นที่เพียง 3 ไร่ ที่เริ่มต้นทำนั้น ดีกว่าปลูกข้าว ในพื้นที่ 10 ไร่ ปัจจุบัน ป้าดอกไม้และครอบครัวได้ขยายพื้นที่ปลูกชะอมไร้หนามออกไปถึง 6 ไร่ หรือราวเกือบ 10,000 ต้น และแปลงปลูกกล้วยกับไผ่ เพื่อนำกาบกล้วยและไม้ไผ่มาใช้ในการมัดกำชะอมที่จะต้องใช้เกือบทุกวัน ป้าดอกไม้ยังได้บอกว่า โรคและแมลงศัตรูชะอมมีน้อยมาก และใช้เพียงแรงงานในครอบครัว ในแต่ละครอบครัวที่ปลูกชะอมไร้หนาม ในพื้นที่ 1-2 ไร่ หรือมากกว่านั้น จะมียอดให้เก็บหมุนเวียนได้ทุกวัน มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว วันละ 200-300 บาท อย่างสบาย

ชนิดของชะอม ที่ปลูกในบ้านเรา

ชะอม ที่ปลูกกันในขณะนี้ GClub V2 จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามลักษณะ คือ ชะอมมีหนาม กับ ชะอมไม่มีหนาม (ชะอมไร้หนาม) ต้นชะอมจะมีหนามทั่วทั้งต้นและกิ่งก้านสาขา รวมถึงส่วนของยอดอ่อนด้วย ในขณะที่ต้นชะอมไร้หนามเกือบจะไม่มีหนามเลย หรือจะพบหนามบ้างเหมือนกันแต่น้อยมาก จะพบเพียงหนามอ่อนห่างๆ เท่านั้น ข้อแตกต่างของชะอมทั้ง 2 ชนิด ป้าดอกไม้ อธิบายว่า ยอดชะอมที่มีหนามจะมีกลิ่นแรงกว่ายอดชะอมไร้หนาม แต่สำหรับรสชาติเมื่อนำไปประกอบอาหารจะใกล้เคียงกันจนแยกไม่ออก แต่กลับรู้สึกว่าชะอมไร้หนามรับประทานง่ายกว่า เพราะไม่มีหนามให้กวนใจเวลารับประทาน สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกชะอมนั้น ชะอมไร้หนามจะสะดวกในเรื่องของการเก็บเกี่ยวยอดเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ต้นหรือกิ่งไม่มีหนาม ทำให้เก็บได้ค่อนข้างรวดเร็ว และไม่ถูกหนามทิ่มแทงมือหรือร่างกาย นิสัยของการแตกยอดพบว่า พันธุ์ที่มีหนามจะให้ยอดน้อยและแตกยอดช้ากว่าชะอมไร้หนาม ป้าดอกไม้ได้ย้ำว่าลักษณะของการแตกยอดจะเห็นได้ชัดมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดชะอมมีราคาแพงที่สุด ราคาจะสูงถึงกำละ 10-15 บาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชะอมในท้องตลาดมีน้อย จะเห็นได้ชัดเลยว่าต้นชะอมไร้หนามให้ยอดที่ดีกว่าอย่างชัดเจน

การขยายพันธุ์ ชะอมไร้หนาม

ป้าดอกไม้ ได้บอกถึงวิธีการขยายพันธุ์ชะอมไร้หนาม จะแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะรวดเร็วและออกรากได้ดี โดยคัดเลือกกิ่งที่จะตอนไม่ให้แก่และอ่อนจนเกินไป ขั้นตอนเหมือนกับการตอนไม้ผลทั่วไป คือเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง ควั่นกิ่งด้านบนและด้านล่าง ให้ห่างกันสัก 3-4 เซนติเมตร ใช้ปลายมีดลอกเอาเปลือกชะอมออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ ออก จะทาด้วยน้ำยาเร่งรากหรือไม่ก็แล้วแต่ เพราะชะอมเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่ถ้าทาด้วยน้ำยาเร่งรากก็จะยิ่งดีขึ้นอีก หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่แช่น้ำมาล่วงหน้าสัก 1 คืน แล้วบีบน้ำออกให้หมาดน้ำ อัดลงในถุงพลาสติก เมื่อทำแผลตอนเสร็จ ผ่าครึ่งถุงพลาสติกที่อัดขุยมะพร้าวและนำไปหุ้มบริเวณที่ลอกเปลือก มัดด้วยเชือกหรือตอกไม้ไผ่ ทั้งบนและล่างรอยแผลตุ้มตอนให้แน่น หลังจากนั้น ประมาณ 40-50 วัน เมื่อกิ่งตอนมีรากเต็มตุ้มตอนและเริ่มแก่เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนรากมากพอ จึงตัดกิ่งตอนได้ ก็สามารถตัดไปปลูกในแปลงได้เลย ไม่ต้องชำลงถุงให้เสียเวลา เมื่อนำกิ่งตอนปลูกลงดิน ต้นชะอมจะตั้งตัวได้เร็ว

คุณศรีนวล ยอพระกลิ่น เจ้าของสวนเกษตรศรีนวล 47/1 ม.7 ต.ไม้เค็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ขนุนไร้เมล็ดมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ลักษณะของขนุนไร้เมล็ดนี้ พี่ศรีนวลบอกว่าคือตรงตามชื่อเลย เป็นขนุนที่ไม่มีเมล็ด ยางน้อย พันธุ์นี้ทุกอย่างดีหมดยกเว้น ขนาดของผลเล็กน้ำหนักไม่เกิน 8 – 15 กิโลกรัม แต่การันตีเรื่องรสชาติคือหวานกรอบ ซังมีรสชาติเดียวกันกับเนื้อ รู้จักขนุนสายพันธุ์นี้จากเมื่อ 3 ปี ที่แล้วพี่ศรีนวลมีโอกาสไปเปิดร้านขายพันธุ์ไม้ที่สวนหลวงเป็นงานเกษตร แล้วเจ้าของร้านขนุนเขาผ่าให้ชิม แล้วชอบในรสชาติ ที่สำคัญคือยางน้อย เพราะตนเป็นคนไม่ชอบยางขนุนเลย จึงกัดฟันซื้อกิ่งพันธุ์มา 2 ต้น เพราะกิ่งพันธุ์ค่อนข้างแพง ซื้อมาแล้วก็มาขยายพันธุ์ขายต่อ ถือว่าขนุนไร้เมล็ด ยังเป็นพันธุ์ใหม่ ผลิตไม่พอขาย เหมาะสำหรับปลูกกินที่บ้านลูกไม่ใหญ่ ปอกง่ายเหมือนแตงโม ทั้งลูกทิ้งแค่เปลือก

ที่สวนของพี่ศรีนวล ไม่ได้ปลูกแค่ขนุนเพียงอย่างเดียว ยังมีพันธุ์ไม้แปลกอีกหลายชนิดลองโทรเข้ามาสอบถามได้ แต่ที่เชี่ยวชาญที่สุดคือเรื่องขนุนเพราะทำขนุนส่งออกประเทศจีนด้วย เรียกได้ว่าหากนำใบขนุนมาให้พี่ศรีนวลดู พี่ศรีนวลสามารถตอบได้เลยว่า ขนุนนี้เป็นสายพันธุ์อะไร