ปลูกอินทผลัม 150 ต้น ควบคู่ทำสวนผสมผสานดึงดูดนักท่องเที่ยว

เพิ่มช่องทางการตลาดพี่แจ็ค เล่าว่า ที่เทพสถิต สวนอินทผลัม แห่งนี้ เริ่มปลูกอินทผลัมมาเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้ว เรื่องของราคาและสถานการณ์การตลาดขึ้นลงเป็นไปตามกาลเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เจ้าของสวนอย่างตนจะทำได้ดีที่สุดคือการริเริ่มเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ที่จะทำอย่างไรไม่ให้สิ่งที่ตั้งใจทำมาตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี สูญเปล่าก็คือ การเพิ่มแนวคิดจากทำสวนเชิงเดี่ยวก็ปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จัดสรรพื้นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของสวนดั้งเดิมไว้คือ มีอินทผลัมเป็นพระเอกของสวน และมีผลไม้ชนิดอื่นๆ เป็นนางเอกควบคู่กันไป ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นทางรอดที่ดีสำหรับทุกสวนที่กำลังมีแนวคิดอยากจะพัฒนาสวนเพิ่มเติม และนอกเหนือจากการพัฒนาต่อยอดทำสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างยังดำเนินไปได้คือเรื่องของการทำสวนแบบลดต้นทุนให้ได้

โดยที่สวนใช้ระยะเวลาลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ กว่าจะประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง ทั้งในเรื่องของการคัดสรรสายพันธุ์อินทผลัม รวมถึงผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่นำมาปลูกในสวนได้อย่างลงตัว จนสรุปได้ว่า อินทผลัมสายพันธุ์กินผลสดที่เหมาะสำหรับการนำมาปลูกในประเทศไทยที่สุด คือ สายพันธุ์บาฮี ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับการปลูกทุเรียนหมอนทอง และนอกเหนือจากสายพันธุ์บาฮีแล้ว ภายในสวนยังมีสายพันธุ์อื่นๆ เช่น บาฮีแดง ซุคคารี่ อัมเอ็ดดาฮาน ฟาร์ด เป็นต้น ซึ่งเป็นการปลูกแบบเพาะเนื้อเยื่อทั้งหมด โดยสายพันธุ์บาฮี ต้นอายุ 7 ปี ให้ผลผลิตกว่า 130 กิโลกรัม ต่อต้น ราคาขายหน้าสวน ณ ปัจจุบัน กิโลกรัมละ 400 บาท และคาดการณ์ตลาดในอนาคตข้างหน้าราคาอาจจะลดลงมาอีก เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกที่มากขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นับเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนผลไม้ชนิดอื่นๆ เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการ ลดต้นทุนคือเรื่องสำคัญ

ระยะปลูกทั่วไป ประมาณ 8×8 เมตร หรือ 10×10 เมตร ตามความเหมาะสม หลังจากปลูกแล้วต้องให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะน้ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต้องให้สม่ำเสมอ โดยมีการคำนวณการให้น้ำตามอายุต้น หากอายุน้อยจะให้น้ำ ประมาณ 30-40 ลิตร ต่อวัน แต่หากต้นอายุมากขึ้นจะปรับเพิ่มปริมาณน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสม ในหน้าแล้งอินทผลัมจะต้องการน้ำ ประมาณ 150 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน และถ้าจะให้ดีกว่านี้ต้องให้น้ำถึงวันละ 200 ลิตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินของแต่ละที่ด้วย หากพื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียวให้น้ำมากไปก็จะทำให้เกิดโคนเน่าได้

การให้ปุ๋ย ส่วนใหญ่จะเป็นสูตรปุ๋ยที่ผสมขึ้นมาเองจากประสบการณ์ที่ทดลองผิดลองถูก จนได้สูตรที่เหมาะกับของที่สวน เริ่มต้นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เดือนละ 2 กิโลกรัม ต่อต้น ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม แล้วเมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายนจะเริ่มใส่ปุ๋ยสะสมอาหาร สูตร 15-10-25 ปริมาณ 2 กิโลกรัม 1 รอบ สลับใส่กับสูตร 8-24-24 อีก 1 รอบ เพื่อเตรียมต้น ก่อนถึงช่วงออกดอก

เมื่อเข้าสู่ช่วงออกดอก หรือเริ่มแทงจั่น จะใช้ปุ๋ยสูตร 10-10-25 ใส่ตามสถานการณ์ หรือ 10-15-25 ช่วงออกดอก แล้วเมื่อเห็นช่อดอกออกมาจำนวนที่ตั้งเป้าไว้แล้วสักประมาณ 15 ช่อ หรือออกมาได้ประมาณ 8-9 ช่อ จะเริ่มใช้สูตรข้างหน้าสูง ซึ่งสวนอื่นจะไม่นิยมใช้สูตรตัวหน้าสูงในช่วงนี้ แต่ที่สวนได้มีการทดลองมาแล้วว่าได้ผล จึงมีความมั่นใจที่จะใช้สูตร 21-10-21 เพื่อให้ช่อสมบูรณ์

และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณ 120-130 วัน ถ้าขนาดของผล สีผล และความหวานได้ ก็จะใช้สูตร 15-10-25 คือสรุปแล้วปุ๋ยต้องใช้ทุกเดือนเหมือนเดิม เดือนละ 2 กิโลกรัม เท่ากับ 1 ปี พืชต้องได้กินปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 24 กิโลกรัม บวกกับปุ๋ยคอกขี้วัว ประมาณ 4 กระสอบ กระสอบละ 20 กิโลกรัม เริ่มใส่ช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วงเดือนกันยายน และใส่อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ตอนที่เริ่มแทงช่อดอก

ปัญหาโรคแมลง มีโรคทางใบนิดหน่อย เนื่องจากที่สวนจะไม่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อรา และในส่วนของแมลงมีด้วงบ้างเล็กน้อย ซึ่งที่สวนจะกำจัดด้วยวิธีการสังเกตเห็นแล้วค่อยกำจัด และพยายามทำโคนต้นให้สะอาดเพื่อให้สะดวกในการจัดการ มองเห็นโรคและแมลงศัตรูพืชได้ง่าย

“มือใหม่หัดปลูก” บริหารจัดการสวนให้อยู่รอด
ปัจจัยหลักคือองค์ความรู้ และการจัดการแรงงาน
เจ้าของบอกว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้ปลูกอินทผลัมรายเก่าถือว่ารอดตัวไป อยู่ในจุดที่ตลาดไปได้เรื่อยๆ มีลูกค้า หรือพ่อค้าแม่ค้าประจำแล้ว แต่สำหรับมือใหม่ที่กำลังปลูกก็ยังมีหวัง เริ่มต้นปลูก 50-70 ต้น ถือว่ากำลังดี ปลูกไม่เยอะ จัดการได้ง่าย ทำการตลาดก็ง่ายกว่ารายใหญ่ๆ แต่มีข้อแม้ว่าผู้ปลูกอาจต้องอาศัยฝีมือในการบริหารจัดการสวนอย่างไรให้ได้ต้นทุนต่ำ เพื่อรับมือในสถานการณ์ที่ราคาไม่เป็นดั่งใจหวัง เพราะการปลูกถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ตายตัวแล้ว หรืออาจจะดัดแปลงนิดหน่อยก็ไม่ผิดสูตร แต่พอหลังจากผลผลิตออกมาแล้วเกษตรกรต้องประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพตนเองแล้วว่ายังจะไปต่อได้ไหม

และที่สำคัญผู้ปลูกต้องคำนวณตัวเลขออกมาให้ได้ว่า หลังปลูกได้ระยะหนึ่ง ผลผลิตที่ได้คุ้มกับต้นทุนและทำกำไรได้หรือไม่ สองคือ การเลือกสายพันธุ์มาปลูกให้ถูกต้องไม่หลงทาง หากเป็นพันธุ์กินผลสด ให้ดูแหล่งน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ แหล่งน้ำต้องเพียงพอ และสาม ทำการตลาดได้หรือไม่ หรือชุมชนตรงนั้นมีศักยภาพเป็นอย่างไร หากอยู่ที่ใกล้แหล่งชุมชน หรือแหล่งท่องเที่ยวก็ค่อนข้างที่จะได้เปรียบขึ้นมานิดนึง และต้องประเมินตนเองด้วยว่ามีความชำนาญด้านการทำตลาดมากน้อยแค่ไหน หากไม่ชำนาญต้องเรียนรู้เพิ่มเพื่อรับมือ เพราะฉะนั้นการลดต้นทุนในการผลิตถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรมีปัจจัยเบื้องต้นดังนี้

1.สำคัญที่สุดคือด้านแรงงาน สวนไหนมีแรงงานดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ทั้งในด้านของการประหยัดต้นทุนแรงงานแทนที่ต้องใช้คนมาก แต่ถ้าหากแรงงานมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้ก็ไม่ต้องมีหลายคนก็ได้

“ยกตัวอย่างสวนอินทผลัม 2 สวน ที่มีพื้นที่ปลูกเท่ากัน และปลูกสายพันธุ์เดียวกัน สวนที่ 1 ใช้แรงงานจัดการสวน 10 คน แต่สวนที่ 2 ใช้แรงงานจัดการสวนเพียง 5 คน ต้นทุนก็ไม่เท่ากันแล้ว ทั้งนี้ ก็เกิดได้จากการมีทรัพยากรแรงงานที่มีความรู้จึงสามารถใช้แรงงานที่น้อยกว่า และประสิทธิภาพที่มากกว่าเมื่อเทียบกับสวนที่มีแรงงานมากแต่แรงงานยังขาดองค์ความรู้”

และอีกข้อสำคัญคือ แรงงานทุกคนต้องมีวินัย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย “ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือขั้นตอนการผสมเกสร ถ้าเกิดเราไม่มีวิธีจัดการบริหารที่ดี ลูกน้องไม่มีความรู้ ไม่ตั้งใจทำงานในขั้นตอนการผสมเกสรก็จะทำให้เห็นได้ชัดว่า บางครั้งการผสมเกสรชุดเดียวกัน ผสมพร้อมกันวันเดียวกัน แต่คนนึงผสมติดอีกคนผสมไม่ติด ก็ต้องมาดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งผสมแล้วไม่ติดสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งในเรื่องของสภาพอากาศ ทิศทางของลม หรือเกิดจากการละเลยของคนงาน ที่ทำไปแค่ให้งานเสร็จแต่ไม่คำนึงถึงผลที่ตามมาทีหลัง”

เจ้าของสวนจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ประกอบด้วยอีกระดับหนึ่ง หากเจอแมลงศัตรูพืชจะป้องกันอย่างไร
พยายามทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ทำงานซ้ำซ้อน
“ยกตัวอย่างวิธีการมัดช่อของที่สวน จะใช้ถุงขาวห่อชั้นใน ซึ่งวิธีนี้จะถือเป็นการทำงานซ้ำซ้อน เพราะเมื่อต้นสูงขึ้น ถ้าเราไปมัดที่ต้นเขาแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา ลูกที่ร่วงลงมาจะไปตุงที่ก้นถุงแล้วจะทำให้เน่า พอเกิดการเน่าเราก็ต้องเอาคนขึ้นไปคายออก แล้วเอาผลเน่าลงมา นี่คือทำงานซ้ำซ้อนล่ะ ผมเลยคิดวิธีว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งการใช้ถุงมัดช่อก็เพื่อป้องกันแมลงวันทอง แล้วถ้าลองเปลี่ยนวิธีมัดแบบทิ้งไว้ให้มีช่องว่างพอที่ลูกร่วงจะตกลงพื้นเองได้จะดีไหม ผมก็เลยไปนั่งสังเกตดูว่าแมลงวันทองสามารถบินแนวดิ่งขึ้นไปได้ไหม ผลปรากฏว่าแมลงวันทองเข้าไปไม่ได้ เราก็เลยมัดวิธีนี้ จากขึ้นบนทำให้เน่าเสียเนี่ยเขาร่วงลงพื้นเลยเราก็แค่บริหารจัดการที่โคนต้นอย่างเดียว แทนที่จะต้องขึ้นไปเก็บข้างบน ก็น่าจะเป็นอีกวิธีนึงที่ช่วยลดต้นทุนได้”

การพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง และที่สวนเลือกที่จะพัฒนาทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร นับเป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ่ง ทำให้สถานการณ์ภายในสวนดีขึ้นมาก ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นเนื่องจากที่ตนเคยประกอบธุรกิจทัวร์มาก่อน แล้วตกผลึกได้ว่าที่ผ่านมาโดยมากอินทผลัมจะทำแบบเชิงเดี่ยว แต่ในเมื่อที่สวนของเราได้เปรียบเรื่องสถานที่ มีพื้นที่รอบข้างเป็นธรรมชาติที่สวยงาม และอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวดังอย่างทุ่งดอกกระเจียว จึงคิดว่าหากลองเพิ่มศักยภาพตรงนี้ก็น่าจะไปได้สวย และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นแล้วสำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นปลูกก็ยังพอมีหวัง เริ่มต้นปลูกน้อยๆ สามารถอยู่ได้หากแม้ในสถานการณ์ที่ราคาลดมาเหลือ กิโลกรัมละ 100-200 บาท ก็ยังอยู่ได้สบาย คืนทุนตั้งแต่ 2 ปีแรกที่ให้ผลผลิต ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นผลผลิตต้องได้ผลดีด้วย

“เทพสถิต สวนอินทผลัม”
พร้อมเปิดบริการนักท่องเที่ยว
ช็อป ชิม ชิล ตลอดทั้งปี
“สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของที่สวน ณ ตอนนี้ที่สวนค่อนข้างที่จะมีความพร้อมที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะพยายามจัดการให้มีผลผลิตออกมาให้นักท่องเที่ยวได้ชมตลอดทั้งปีสลับหมุนเวียนกันไปตามฤดูกาล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายน ที่สวนจะทำให้ลิ้นจี่และมะม่วงยายกล่ำไว้รอต้อนรับนักท่องเที่ยวก่อน ส่วนอินทผลัมจะเริ่มให้ผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนสิงหาคม และเมื่อหมดฤดูกาลของอินทผลัม ก็ยังมีผลไม้อีกนานาชนิดไว้รองรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี”

สอบถามรายละเอียด สั่งซื้ออินทผลัมคุณภาพได้ที่ คุณภีมพัฒน์ ภาณุพลเพชรรัตน์ หรือ คุณแจ็ค โทรศัพท์ 081-874-5788 หรือดูกิจกรรมต่างๆ ในสวนได้ที่ fb:เทพสถิต สวนอินทผลัมเพจ

รู้หรือไม่ ข้าวโพดที่เราซื้อรับประทานตามท้องตลาด ไม่ว่าจะต้ม ปิ้งย่าง ข้าวโพดอบเนย ข้าวโพดทรงเครื่อง จะข้าวโพดเหนียวหรือข้าวโพดหวาน นั่นมันธรรมดาไปซะแล้ว เมื่อคุณได้รู้จักกับข้าวโพดราชินีทับทับทิมสยาม (Siam Ruby Queen) ข้าวโพดหวานที่สามารถรับประทานสดๆ ได้ โดยไม่ต้องนำไปต้ม แถมคุณประโยชน์ที่บอกได้เลยว่า นอกจากชื่อจะไพเราะแล้ว คุณค่าทางสารอาหารก็มีมากเช่นกัน

ข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาโดย ดร. ทวีศักดิ์ ภู่หลำ อดีตอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ สามารถรับประทานสดได้ รสชาติหวานเหมือนทานผลไม้สุก มีกลิ่นหอมเฉพาะที่ไม่เหมือนกับข้าวโพดทั่วไป สีของผิวเมล็ดจะออกสีแดงสดเหมือนทับทิม ไหมข้าวโพดและซังข้าวโพดสีแดงทับทิมเช่นกัน

ส่วนเนื้อของเมล็ดสีจะออกเหลืองนวลเหมือนข้าวโพดหวานทั่วไป ลำต้นของข้าวโพดจะมีสีม่วงออกแดง ประมาณ 30% หลายคนเข้าใจผิดว่า ข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม กับข้าวโพดเหนียวสีแดงเป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นคนละชนิด ต่างกันตรงที่ข้าวโพดราชินีทับทิมสยามทานสดได้ และมีความหวานมากกว่า

จากงานวิจัยพบว่า ข้าวโพดราชินีทับทิมสยามมีปริมาณสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สูง ซึ่งสารตัวนี้มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอวัย พบทั้งในเมล็ด ซัง และไหมข้าวโพด โดยเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในดอกอัญชัน องุ่นแดง ถั่วแดง ลูกพรุน เชอร์รี่ หอมแดง ข้าวนิล ฯลฯ ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้และตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งของระบบสืบพันธุ์

สำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง ได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรบ้านต้นกอ ทดลองปลูกข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม เมื่อช่วงกลางปี 2563 โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเข้าไปแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ วิธีการปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรคและแมลง โดยการใช้กระบวนการ IPM เช่น การทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันเชื้อราที่อยู่ในดิน การทำน้ำหมักสมุนไพรป้องกันหนอนเจาะลำต้น การปล่อยมวนพิฆาตซึ่งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติ ช่วยกำจัดหนอนในแปลงข้าวโพด

คุณจิรา อิทธิปัญญากุล ประธานกลุ่มส่งเสริมฯ เล่าให้ฟังว่า ก่อนนี้ ตนและชาวบ้านละแวกใกล้เคียงมีอาชีพกรีดยางพาราเป็นหลัก และมีการปลูกผักสวนครัวไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน และบางคนใช้พื้นที่ว่างในสวนยางพาราที่เพิ่งปลูกใหม่เพื่อปลูกข้าวโพด จะเป็นข้าวโพดหวานทั่วไป และข้าวโพดข้าวเหนียว ราคา 20-30 บาท ต่อกิโลกรัม

หลังจากมีเกษตรตำบลเข้ามาส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดสีแดงสายพันธุ์นี้ ตอนนั้นก็ยังไม่เคยรู้จัก จึงได้ปรึกษากับสมาชิกและทดลองปลูกครั้งแรก 300 ต้น ในที่ว่างสวนยางพาราปลูกใหม่ ผ่านไป 60 กว่าวัน ก็เก็บผลผลิตมาให้สมาชิกกลุ่มได้ลองชิม ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติหวาน อร่อย ไม่เคยทานที่ไหนมาก่อน จึงตัดสินใจหันมาปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้มากขึ้น

คุณสรวง พรหมบุญทอง เกษตรอำเภอกันตัง กล่าวว่า “ข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม ที่สำนักงานเกษตรอำเภอกันตังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกนั่น ได้รับการตอบรับดีมาก ลูกค้าให้ความสนใจสั่งซื้อทั้งจากหน้าสวนและทางออนไลน์ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพ และบางส่วน คือ สนใจอยากลองทานข้าวโพดพันธุ์สายใหม่ที่สามารถทานสดได้ ด้วยเห็นว่ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงและรสชาติที่หวานกว่าข้าวโพดทั่วไป สำหรับแผนการปลูกนั่นได้มอบหมายให้เกษตรตำบลเข้าไปดูแล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้ผลผลิตมาจำหน่ายสม่ำเสมอ ราคาขายปัจจุบันกิโลกรัมละ 80 บาท ราคาจะสูงกว่าข้าวโพดทั่วไป 40-50 บาท ด้วยต้นทุนที่สูงกว่าและการดูแลค่อนข้างมากกว่าข้าวโพดพันธุ์อื่น”

วิธีการปลูกข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม เหมือนกับการปลูกข้าวโพดทั่วไป อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ให้รสชาติดีที่สุด จะเก็บในช่วง 20 วัน หลังออกไหม จะได้ข้าวโพดที่รสชาติหวาน อร่อย การรับประทาน นอกจากจากจะทานสดแล้ว ยังสามารถนึ่งได้โดยใช้เวลานึ่งไม่เกิน 10 นาที หรือการย่างด้วยไฟอ่อนๆ สำหรับการต้ม ไม่ค่อยแนะนำ เพราะสารอาหารที่มีประโยชน์จะเจือจางไปกับน้ำ หรืออีกวิธีที่นิยมในหน้าร้อน คือการแช่แข็งทานแบบไอศกรีมก็อร่อยไปอีกแบบ ทั้งอร่อยและมีประโยชน์แบบนี้ อย่าลืมไปหาทานกันเยอะๆ นะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีและไม่แก่ก่อนวัยจ้า

สำหรับท่านที่สนใจผลผลิตข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรบ้านต้นกอ หมู่ที่ 5 ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โทร. 081-526-6476 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง โทร. 075-251-742

กรมวิชาการเกษตร เผยแพร่คู่มือการผลิตฟ้าทะลายโจรสำหรับเกษตรกร ซึ่งในข้อมูลเอกสาร หน้า 38-39 ได้เผยแพร่เทคนิคการปลูกฟ้าทะลายโจร ของ ดร.จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ ข้าราชการบํานาญ กรมวิชาการเกษตร โทร. 089-859-5485 E-mail: ditchaiwong@gmail.com ซึ่งสะสมประสบการณ์ด้านการผลิตฟ้าทะลายโจรมานานหลายปี โดย ดร.จรัลได้สรุปข้อควรระวังในการปลูกฟ้าทะลายโจรไว้ 4 ประการ ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงดินปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ และแหล่งน้ำที่มีสารพิษปนเปื้อน 2.ควรมีแนวบังลม เพราะสภาพลมแรงทำให้ลำต้น กิ่งก้านแขนงฟ้าทะลายโจรฉีกหักได้ง่าย

3.ยกแปลงสููงและมีสม่ำเสมอ เพราะต้นฟ้าทะลายโจรไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง

4.ปลูกฟ้าทะลายโจรในสภาพขาดน้ำ ทำให้ผลผลิตลดลง สำหรับผู้สนใจการปลูกฟ้าทะลายโจร ดร.จรัลมีข้อแนะนำปลูกฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลผลิตที่ดี ดังต่อไปนี้

1.ชั่่งเมล็ดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (ความงอกมากกว่าหรือเท่ากับ( ≥ ) 80% ปลููกแบบย้ายกล้าได้ประมาณ ประมาณ 1 ไร่)

2.แช่เมล็ดในน้ำสะอาดทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง นำขึ้นมาผึ่งลมพอแห้งจึงนำไปเพาะ 3.เพาะเมล็ดลงตะกร้าที่มีดินพรุ (peat) หรือใช้ส่วนผสมของดินร่วน : ปุ๋ยมูลวัวแห้ง : แกลบดำ ในสัดส่วน 1 : 2 : 2 โดยปริมาตรเป็นวัสดุเพาะ

4.ทยอยย้ายกล้า ระยะเริ่มมีใบเลี้ยงลงถาดหลุมที่มีส่วนผสมเหมือนข้อ 3 เป็นวัสดุเพาะ

5.ย้ายกล้าระยะมีใบจริง 6 ใบ (หลังเพาะเมล็ดประมาณ 45 วัน) จากถาดหลุุมลงแปลงปลููก

6.วิเคราะห์ดินก่อนปลูก ดินควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-6.5 และมีอินทรียวัตถุมากกว่าหรือเท่ากับ (≥) 3.5% ฟ้าทะลายโจรต้องปลููกกลางแจ้งใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 60 เซนติเมตร ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร (1 ไร่ = 8,888 ต้น) รองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรการใส่ปุ๋ยตามผลวิเคระห์ดิน

1.ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักครั้งที่ 2 หลังปลููก 1 เดือน หรือตามผลวิเคราะห์ดิน

2.การให้น้ำ น้ำแต่ละหลุุมปลููกก่อนปลูก 1 วันจากนั้นให้น้ำ 80% ของค่าการระเหยสะสมจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว

3.การกำจัดวัชพืช หมั่นกำจัดวัชพืช (โดยใช้แรงงานคน) อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะระยะเจริญเติบโต เมื่อต้นฟ้าทะลายโจรเติบโตชิดกัน ปัญหาวัชพืชจะค่อยๆ หมดไป 4.เก็บเกี่ยวผลผลิตระยะดอกบาน 25-50% (เก็บผลผลิตทั้งแปลง เมื่อแปลงปลูกออกดอกครบ 25-50 ต้นใน 100 ต้น)

5.เก็บผลผลิตช่วงเช้า โดยตัดส่วนเหนือดินห่างจากโคนต้น 4 ข้อ (ประมาณ 10 เซนติเมตร) รีบนำผลผลิตนำไปใช้ในที่ร่ม

6.อายุุเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังปลูกเฉลี่ย 80 วัน 7.ผลผลิตเฉลี่ย 2,960 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตหลังทำให้แห้งเฉลี่ย 740 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราส่วนน้ำหนักสด : น้ำหนักแห้ง = 4 : 1)

มาตรฐานสารสำคัญของฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจรต้องมีปริมาณแล็กโตนรวมไม่น้อยกว่า 6 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม หรือมีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ไม่น้อยกว่า 1 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม หากใครสนใจทำสวนลำไยขนาดใหญ่ หรือมีต้นจำนวนมาก ทาง “สวนคุณลี” จังหวัดพิจิตร ขอแนะนำว่า การราดสารฯ ควรผสมสารในถังน้ำขนาดใหญ่แล้วฉีดพ่นลงดินรอบทรงพุ่ม ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างการใช้สาร จะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 50 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ซึ่งจะไม่ได้ใช้วิธีคำนวณว่าลำไยต้นนี้ทรงพุ่มกี่เมตรจะต้องใช้สารกี่กรัม เนื่องด้วยจำนวนต้นลำไยมีมาก จะทำให้การทำงานช้า ยุ่งยาก และอาจเกิดความผิดพลาดได้หากแรงงานไม่มีประสบการณ์ จึงใช้สารอัตราเดียว แต่การราดสารจะใช้วิธีการฉีดลงดินด้วยเครื่องฉีดพ่นยา

วิธีการจะฉีดพ่นในบริเวณรอบทรงพุ่มลำไย (ชายทรงพุ่ม) เดินฉีดเป็นวงกลม ให้วงกลมมีหน้ากว้างสัก 1 เมตร เพราะบริเวณชายพุ่มจะเป็นบริเวณที่มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ทำให้ตอบสนองสารโพแทสเซียมคลอเรตได้เป็นอย่างดี ส่วนปริมาณสารที่ต้นลำไยแต่ละต้นจะได้รับนั้น ขนาดของรัศมีทรงพุ่มจะเป็นตัวกำหนดเองโดยอัตโนมัติ วิธีการราดสารแบบน้ำจึงทำให้เกษตรกรทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น แต่ข้อดีของการราดสารแบบนี้คือ จะทำให้ต้นลำไยไม่โทรม

หลังการราดสารให้กับต้น “ลำไยบ้านโฮ่ง 60” เรื่องของการให้น้ำแก่ต้นลำไย ควรรักษาความชื้น โดยให้น้ำทุก 3-5 วัน เพื่อให้รากดูดสารเข้าสู่ต้นให้มากที่สุด ประมาณ 3-6 สัปดาห์ หลังใช้สารลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารคลอเรต ได้แก่ ฝนตกชุก และระยะที่ต้นลำไยแตกใบอ่อน

หลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรตเสร็จราว 5 วัน (ใบยังอยู่ในระยะเพสลาด ใบยังไม่แก่) ก็จะต้องฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบเพื่อกดใบไม่ให้ลำไยแตกใบอ่อน ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมกับสารแพคโคลบิวทราโซล 10% จำนวน 1.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดทางใบ เพื่อกดใบไม่ให้ลำไยมันแตกใบอ่อนสัก 3 ครั้ง ห่างกัน 5 วันครั้ง แต่ฉีดกดใบครั้งที่ 2 และ 3 ไม่ต้องใส่สารแพคโคลบิวทราโซล (จะใส่แค่ครั้งแรกเท่านั้น ถ้าใส่หลายครั้งจะทำให้ช่อดอกลำไยสั้น ช่อดอกไม่ยาว)

จากนั้น 21-30 วัน หลังที่เราราดสารจะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การ “ดึงดอก” ช่วย คือถ้าปล่อยให้แทงช่อดอกออกเอง ดอกมักจะออกมาไม่ค่อยพร้อมกัน ออกช่อดอกไม่สม่ำเสมอทั่วต้น เราจะต้องฉีดเพื่อดึงดอกช่วย เราจะใช้ปุ๋ยทางใบโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) ฉีดพ่นเพื่อเปิดตาดอก อัตราที่ใช้ ถ้าเป็นหน้าฝนจะใช้โพแทสเซียมไนเตรต จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งจะต้องใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เพราะหน้าแล้งลำไยมันไม่ค่อยแตกยอด ต้องใช้ปุ๋ยในความเข็มข้นที่สูงขึ้น

หลังจากนั้น ไม่นานลำไยจะแทงช่อดอกออกมาอย่างสม่ำเสมอ GClub ก็จะบำรุงช่อด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนต่างๆ เช่น ปุ๋ยทางใบ สูตร 10-52-17 ผสมแคลเซียมโบรอนและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามสถานการณ์ ฉีดพ่นไปเรื่อยๆ ตามรอบของการดูแลรักษา แต่ถ้ามีฝนตกก็จะออกฉีดหลังจากฝนหยุดตกทันทีในช่วงช่อดอก ดูแลน้ำให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องมาก ดูแลโรคและแมลง เช่น ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส 50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากแทงช่อดอก (ดอกยังไม่บาน)

การแก้ปัญหาต้องรวดเร็ว จะมีสูตร “เด็ดใบอ่อน” คือ เห็นว่ามีใบแซมดอกออกมาแน่ๆ ในช่วงที่ช่อดอกยาวสัก 1 นิ้ว ก็ต้องฉีดพ่นให้ใบอ่อนที่แซมออกมาร่วง สูตรนี้จะใช้โพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 1.5 กิโลกรัม ผสมกับฮอร์โมนโบรอน (B) 15% ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ให้ฉีดช่วงเช้าหรือเย็น การฉีดต้องฉีดเพียงผ่านๆ อย่าฉีดแบบแช่หรือฉีดจนช่อเปียก แค่เป็นละอองผ่านเท่านั้น สูตรนี้ทำให้ใบอ่อนขนาดเล็กที่แซมออกมาร่วงเหลือแต่ดอกเท่านั้น แต่สูตรนี้ถ้าฉีดช้า ถ้าใบอ่อนบานแล้วก็ฉีดเด็ดใบไม่ร่วง แต่ใบก็จะหยุดชะงักไป ต้องสังเกตให้ดี

พอช่อดอกเริ่มโรยก็จะฉีดล้างช่อดอก ก็จะเน้นใช้สารป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มเมโธมิล ผสมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกโปรคลอราซ ช่วยล้างช่อดอกตอนที่ดอกกำลังโรย ช่วงนี้มักจะมีเชื้อราขึ้นพวกดอกที่มันโรยและบวกกับฮอร์โมนพวกจิบเบอเรลลิน และจะใช้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ขึ้นเม็ดไว ขั้วผลเหนียว ไม่สลัดผล ยืดช่อให้ยาวขึ้นไม่ให้ช่อแน่นจนเกินไป ช่วยสร้างเนื้อและขยายผล

ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินจึงจะต้องใส่ผสมไปเรื่อยๆ พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง พอเริ่มติดผลอ่อนก็จะให้ปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 4-5 กิโลกรัม ต่อต้น ปุ๋ยเคมีใส่ทางดินก็จะใช้สูตรที่มีตัวหน้าสูง (N) เช่น สูตร 25-7-7 จำนวน 1 กิโลกรัม ต่อต้น เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างเมล็ด สร้างเปลือก แต่จะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางดินตอนเมล็ดผลลำไยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก็จะใช้เป็นสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ใส่ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม ใส่ 1 ครั้ง

พอเมล็ดลำไยเปลี่ยนเป็นสีดำเป็นช่วงของการสร้างเนื้อ สร้างความหวาน ก็จะต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางดินที่มีตัวท้าย (K) สูง เช่น สูตร 15-5-20 ต้นละ 1 กิโลกรัม (หรือสูตร 13-13-21, 8-24-24) ใส่ให้สัก 2 ครั้ง ก็จะเก็บเกี่ยว ช่วงเวลานี้ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง เช่น เพลี้ยหอยหลังเต่า มวลลำไย ผีเสื้อมวนหวาน โรคผลลาย ผลแตก ผลร่วงให้ฉีดพ่นสารเคมี เช่น คลอไพรีฟอส 50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น สารทีบูโคนาโซล 25% EW